ภาวะมีโซเดียมในเลือดน้อยเกิน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มีโซเดียมในเลือดน้อยเกิน
(Hyponatremia)
ชื่ออื่นHyponatraemia, low blood sodium, hyponatræmia
Na-TableImage.svg
Sodium
สาขาวิชาอายุรศาสตร์
อาการDecreased ability to think, headaches, nausea, poor balance, confusion, seizures, coma[1][2]
ประเภทLow volume, normal volume, high volume[3]
วิธีวินิจฉัยSerum sodium < 135 mmol/L[2]
โรคอื่นที่คล้ายกันHigh protein levels, high blood fat levels, high blood sugar[4][5]
การรักษาBased on underlying cause[3]
ความชุกRelatively common[5][6]

ภาวะมีโซเดียมในเลือดน้อยเกิน (อังกฤษ: hyponatremia, hyponatraemia) คือ ภาวะเกลือแร่ในร่างกายไม่สมดุลอย่างหนึ่ง โดยร่างกายมีความเข้มข้นของโซเดียมในเลือดน้อยกว่าระดับปกติ โซเดียมเป็นไอออนบวกในสารน้ำนอกเซลล์ที่พบมากที่สุดและไม่สามารถเคลื่อนที่ผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ได้โดยอิสระ ภาวะธำรงดุลของโซเดียมถูกควบคุมและส่งผลต่อการทำงานของเซลล์ตามปกติโดยตรง ค่าปกติของระดับความเข้มข้นของโซเดียมในเลือดอยู่ที่ 135-145 mEq/L (มิลลิอีควิวาเลนท์ต่อลิตร) จึงให้นิยามของภาวะมีโซเดียมในเลือดน้อยเกินเอาไว้ว่ามีความเข้มข้นของโซเดียมในเลือดน้อยกว่า 135 mEq/L และหากน้อยกว่า 125 mEq/L ถือว่าเป็นรุนแรง[7]

ภาวะโซเดียมในเลือดน้อยส่วนใหญ่เป็นภาวะแทรกซ้อนจากอาการป่วยอื่นๆ ที่ทำให้มีน้ำส่วนเกินคั่งในร่างกายมากเกินกว่าที่ร่างกายจะกำจัดได้ (เช่น หัวใจวาย กลุ่มอาการหลั่งฮอร์โมนต้านปัสสาวะไม่เหมาะสม หรือดื่มน้ำมากเกินไป เป็นต้น) บางครั้งเป็นผลจากการมีน้ำเกินในร่างกายได้

แทบไม่เคยพบว่ามีผู้ป่วยภาวะโซเดียมในเลือดน้อยที่เป็นผลมาจากการขาดโซเดียม แม้การขาดโซเดียมอาจจะทำให้ภาวะโซเดียมในเลือดน้อยที่เป็นอยู่แล้วนั้นแย่ลงได้โดยอ้อมก็ตาม โดยการขาดโซเดียมมักทำให้เกิดภาวะขาดน้ำ ซึ่งการขาดน้ำจะกระตุ้นให้มีการหลั่งฮอร์โมนต้านการปัสสาวะ ซึ่งทำให้ร่างกายเก็บน้ำเอาไว้ไม่ขับออก โซเดียมจึงเจือจางลงเกิดเป็นภาวะโซเดียมในเลือดน้อยได้

อ้างอิง[แก้]

  1. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Wil2016
  2. 2.0 2.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Ann2015
  3. 3.0 3.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ CMAJ2014
  4. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Fil2016
  5. 5.0 5.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Ros2013
  6. Ball, SG; Iqbal, Z (March 2016). "Diagnosis and treatment of hyponatraemia". Best Practice & Research. Clinical Endocrinology & Metabolism. 30 (2): 161–73. doi:10.1016/j.beem.2015.12.001. PMID 27156756.
  7. "Hyponatremia". MayoClinic.com. สืบค้นเมื่อ 2010-09-01.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

การจำแนกโรค
ทรัพยากรภายนอก