ศุนทัร ปิจไช
ศุนทัร ปิจไช | |
---|---|
![]() ปิจไชในปี 2014 | |
เกิด | ปิจไช ศุนทรราชัน 12 กรกฎาคม ค.ศ. 1972 มทุไร รัฐทมิฬนาฑู ประเทศอินเดีย |
ศิษย์เก่า | IIT Kharagpur (ปริญญาตรี วิศวกรรมโลหการ) มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด (ปริญญาโท) The Wharton School (ปริญญาโท) |
อาชีพ | ประธานบริหารของกูเกิล[1] |
นายจ้าง | กูเกิล |
คู่สมรส | อัญชลี ปิจไช |
ปิจไช ศุนทรราชัน (ทมิฬ: பிச்சை சுந்தரராஜன்; เกิด 12 กรกฎาคม ค.ศ. 1972) หรือรู้จักกันในชื่อ ศุนทัร ปิจไช (ทมิฬ: சுந்தர் பிச்சை) เป็นบุคคลเชื้อสายอินเดีย ประธานบริหารของบริษัทกูเกิล และแอลฟาเบต อิงก์[2] แลรี เพจเป็นคนที่ใกล้ชิดกับปิจไชมากที่สุด เดิมปิจไชเคยเป็นหัวหน้าฝ่ายผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ของกูเกิลและเป็นผู้ที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของ Chrome[3] ปิจไชได้เข้ามาร่วมงานในกูเกิลตั้งแต่ปี 2004
ประวัติ[แก้]
ปิจไชเกิดในรัฐทมิฬนาฑู ประเทศอินเดีย จบการศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาเทคโนโลยีจาก Indian Institute of Technology Kharagpur หลังจากนั้น ปิจไชศึกษาระดับปริญญาโทที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด และ Wharton School ในเพนซิลเวเนีย ซึ่งเป็นที่ที่เขาได้รับทุนการศึกษา Siebel Scholar และทุน Palmer Scholar ปี 2004 ปิจไชเริ่มงานกับ Google ในตำแหน่ง Vice President of Product Management ดูแลทีมงานพัฒนา Google Chrome และระบบปฏิบัติการ ด้วยระยะเวลาไม่นานนัก ปิจไชก็ได้รับมอบหมายให้ดูแลรับผิดชอบหลาย Project มากขึ้น แต่โดยทั่วไปแล้วก็ยังเกี่ยวข้องกับบริการใน Google search ตั้งแต่ Firefox, Google Toolbar, Desktop Search, และ Gadget ต่าง ๆ ของ Google
เดือนกันยายนปี 2008 ปิจไชเป็นผู้อยู่เบื้องหลังการเปิดตัวที่ถือได้ว่าประสบความสำเร็จของ Chrome และในปี 2012 เขาก็รับหน้าที่เป็นผู้ดูแล Google Apps หลังจาก Dave Girouard แยกตัวออกไปตั้งบริษัทของตัวเอง และหลังจากนั้นไม่นาน ปิจไชก็ได้เข้ามาดูแล Android หลังจากผู้ร่วมก่อตั้งและซีอีโอแอนดี รูบินก้าวลงจากตำแหน่งในปี 2013 โดย Chris Beckmann อดีต Product Manager ของ Google กล่าวชื่นชมความสามารถของปิจไชว่าเขามีศักยภาพในการเป็นผู้นำทีมที่แข็งแกร่งไปพิชิต Project ที่ยาก ๆ ได้โดยไม่ย่อท้อ[4]
ปิจไชะเลือกคนเข้ามาในทีมเอง เป็นคนสอนงานและยังเป็นคนที่สร้างความแข็งแกร่งให้กับทีมด้วย โดยสรุปแล้ว ชื่อเสียงใน Google ของปิจไช เรียกได้ว่าเป็นสุดยอดทั้งในด้านการจัดการบริการต่าง ๆ ของ Google และ Software engineering เพื่อสร้างคุณภาพให้กับการ Search ซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญของ Google และนอกจากนี้ Beckman ยังบอกอีกว่าปิจไชมักหลีกเลี่ยงการสร้างความขัดแย้งในออฟฟิศ และเขาจะทำให้ประเด็นความขัดแย้งเหล่านั้นมาเป็นตัวผลักดันให้งานของเขาประสบความสำเร็จ
อ้างอิง[แก้]
- ↑ "India-born Sundar Pichai is new CEO of Google". The Times of India. สืบค้นเมื่อ 13 August 2015.
- ↑ http://www.manager.co.th/Cyberbiz/ViewNews.aspx?NewsID=9580000090822[ลิงก์เสีย]
- ↑ http://www.siliconindia.com/shownews/Sundar_Pichai_man_who_runs_Chrome_at_Google-nid-83441-cid-3.html
- ↑ http://www.businessinsider.com/sundar-pichais-historic-rise-at-google-2014-10#ixzz3HM0rGmn1