โอเพนซอร์ส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก โอเพนซอร์ซ)
การใช้ประโยชน์จากหลักการต้นทางเปิด

โอเพนซอร์ส[a] (อังกฤษ: open source) เป็นการเปิดเผยรหัสต้นทางเพื่อให้แก้ไข และแจกจ่ายได้อย่างเสรี ผลิตภัณฑ์ได้รับอนุญาตให้ใช้รหัสต้นทาง[4] ออกแบบเอกสาร[5] หรือเนื้อหาของผลิตภัณฑ์ ตัวแบบต้นทางเปิด (อังกฤษ: open-source model) เป็นตัวแบบการพัฒนาซอฟต์แวร์แบบกระจายอำนาจที่สนับสนุนให้มีการร่วมมือกันอย่างเสรี[6][7]

หลักของการพัฒนาซอฟต์แวร์ต้นทางเปิดคือการผลิตแบบเสมอกัน (อังกฤษ: peer production) โดยมหาชนสามารถเข้าถึงผลิตผล เช่น รหัสต้นทาง, พิมพ์เขียว และเอกสารกำกับโปรแกรมได้อย่างเสรี การเคลื่อนไหวด้านต้นทางเปิดทางด้านซอฟต์แวร์เริ่มโดยเป็นการตอบโต้ข้อจำกัดของซอฟต์แวร์จำกัดสิทธิ์ ตัวแบบถูกใช้สำหรับโครงการ เช่น ใน เทคโนโลยีเหมาะสมต่อต้นทางเปิด (อังกฤษ: open-source appropriate technology)[8] และการคิดค้นยาแบบโอเพนซอร์ซ[9][10]

ต้นทางเปิดส่งเสริมการเข้าถึงอย่างเสรีผ่านสัญญาอนุญาตต้นทางเปิดหรือสัญญาอนุญาตเสรีต่อการออกแบบหรือพิมพ์เขียวของผลิตผล และส่งเสริมให้แจกจ่ายการออกแบบหรือพิมพ์เขียวนั้นอย่างสากล[11][12] ก่อนคำว่า ต้นทางเปิด จะถูกใช้อย่างแพร่หลาย ผู้พัฒนาและผู้ผลิตใช้คำศัพท์อื่น ทว่าคำว่า โอเพนซอร์ซ ได้รับความนิยมหลังอินเทอร์เน็ตเริ่มแพร่หลาย[13] การเคลื่อนไหวซอฟต์แวร์ต้นทางเปิดเริ่มขึ้นเพื่อสร้างความชัดเจนด้านลิขสิทธิ์ สัญญาอนุญาต ชื่อโดเมน และประเด็นเกี่ยวกับผู้บริโภค

โดยทั่วไปแล้ว ต้นทางเปิดหมายถึงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่มีรหัสต้นทางซึ่งเข้าถึงได้โดยสาธารณะ เพื่อใช้ หรือเปลี่ยนแปลงจากต้นฉบับ รหัสที่ถูปเปิดเผยได้รับการเผยแพร่ภายใต้เงื่อนไขของสัญญาอนุญาตซอฟต์แวร์ โดยเงื่อนไขดังกล่าวอาจจะให้สิทธิ์นักเขียนโปรแกรมที่จะร่วมมือกันพัฒนารหัสต้นทาง และแบ่งปันการเปลี่ยนแปลงกับชุมชน

การใช้ประโยชน์[แก้]

การเคลื่อนไหวเกี่ยวกับต้นทางเปิด ยังจุดประกายให้งานวิจัยด้านเทคโนโลยีชีวภาพมีความโปร่งใสและเสรีภาพมากขึ้น ตัวอย่างเช่น CAMBIA[14] แม้กระทั่งวิธีวิทยาทางงานวิจัยเองก็สามารถได้ประโยชน์จากการประยุกต์ใช้หลักต้นทางเปิด[15] การเคลื่อนไหวเกี่ยวกับต้นทางเปิด ยังจุดประกายให้เกิดการเคลื่อนไหวเกี่ยวกับฮาร์ดแวร์ต้นทางเปิดอีกด้วย

ซอฟต์แวร์[แก้]

เบลนเดอร์ทำงานอยู่บน Windows 7

ซอฟต์แวร์ต้นทางเปิดคือซอฟต์แวร์ที่เผยแพร่รหัสต้นทางของมันสู่สาธารณะ เปิดโอกาสในการคัดลอก, ดัดแปลง และแจกจ่ายรหัสต้นทางซ้ำได้โดยไม่ต้องเสียต่าใช้จ่าย[16] LibreOffice และ GIMP เป็นตัวอย่างของซอฟต์แวร์ต้นทางเปิด

เริ่มต้นจากการเคลื่อนไหวภายใต้ชื่อซอฟต์แวร์เสรี (free software) ในช่วง พ.ศ. 2526 จนกระทั่งในปี 2531 คำว่าซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ซได้ถูกนำมาใช้แทนคำว่า "ฟรี" เพื่อให้ง่ายต่อการเข้าใจและให้ความรู้สึกสบายใจต่อทั้งผู้ใช้และผู้พัฒนา รวมถึงคำว่า ฟรี ในลักษณะของคำว่าเสรีนอกเหนือจากคำว่าฟรีในลักษณะไม่เสียค่าใช้จ่าย[17] ผู้ใช้งานรวมถึงผู้พัฒนาสามารถนำซอฟต์แวร์มาใช้งาน แก้ไข แจกจ่าย โดยสามารถนำมาปรับปรุงทั้งในลักษณะส่วนตัว หรือในหน่วยงานเอกชนได้ ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ซอนุญาตให้ทุกคนสามารถนำซอฟต์แวร์ไปพัฒนา รวมถึงวางขายและทำการตลาด ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ซที่เป็นที่รู้จักกันดีได้แก่ เพิร์ล, ไฟร์ฟอกซ์, ลินุกซ์, อะแพชี เว็บเซิร์ฟเวอร์ ลักษณะเงื่อนไขทางลิขสิทธิ์ที่นิยมได้ สัญญาอนุญาตสาธารณะทั่วไปของกนู (จีพีแอล) และ สัญญาอนุญาตแจกจ่ายซอฟต์แวร์ของเบิร์กลีย์ (บีเอสดี) จากรายงานของกลุ่มสแตนดิชประมาณการประหยัดงบประมาณจากการใช้งานซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ซได้ 6 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐต่อปี[18]

หมายเหตุ[แก้]

  1. นอกจากคำว่า ต้นทางเปิด และ โอเพนซอร์ส แล้ว ยังมีหลายคำที่สามารถใช้แทนกันได้ เช่น ต้นฉบับเปิด (ระบบศัพท์บัญญัติ สำนักงานราชบัณฑิตยสภา บัญญัติทั้งคำว่า "รหัสต้นทาง" และ "รหัสต้นฉบับ"[1] ส่วน WeChat ใช้คำว่า "รหัสต้นทาง" [2]) และ โอเพนซอร์ซ (โอเพนซอร์ซ เป็นการสะกดตามการถอดศัพท์ราชบัณฑิตยสถาน ส่วน โอเพนซอร์ส เป็นการสะกดตามระบบศัพท์บัญญัติ สำนักงานราชบัณฑิตยสภา[1] และศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ[3]) เป็นต้น

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 "ศัพท์บัญญัติ ๔๐ สาขาวิชา สำนักงานราชบัณฑิตยสภา".{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  2. "WeChat - รหัสต้นทาง". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 พ.ค. 2560.
  3. "โครงการโอเพนซอร์ส".{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  4. "The Open Source Definition". Open Source Org. 7 July 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-06-11. สืบค้นเมื่อ 2020-01-22. Open source doesn't just mean access to the source code.
  5. "What is Open Source Software". Diffingo Solutions Inc. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-10-28. สืบค้นเมื่อ 2023-03-09. Open source software differs from other software because it has a less restrictive license agreement: Instead of using a restrictive license that prevents you from modifying the program or sharing it with friends for example, sharing and modifying open-source software is encouraged. Anyone who wishes to do so may distribute, modify or even create derivative works based on that source code!
  6. Levine, Sheen S.; Prietula, M. J. (2013). "Open Collaboration for Innovation: Principles and Performance". Organization Science. 25 (5): 1414–1433. arXiv:1406.7541. doi:10.1287/orsc.2013.0872. ISSN 1047-7039. S2CID 6583883. SSRN 1096442.
  7. Raymond, Eric S. (2001). The cathedral and the bazaar: musings on Linux and Open Source by an accidental revolutionary. OReilly. ISBN 978-0-596-00108-7.[ต้องการเลขหน้า]
  8. Pearce, Joshua M (2012). "The Case for Open Source Appropriate Technology". Environment, Development and Sustainability. 14 (3): 425–431. doi:10.1007/s10668-012-9337-9. ISSN 1387-585X.
  9. Menon, Sreelatha (1 March 2009). ""Science 2.0 is here as CSIR resorts to open-source drug research for TB"". Business Standard India – โดยทาง Business Standard.
  10. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ OpenWetWare
  11. Lakhani, K.R.; von Hippel, E. (June 2003). "How Open Source Software Works: Free User to User Assistance". Research Policy. 32 (6): 923–943. doi:10.1016/S0048-7333(02)00095-1. hdl:1721.1/70028. ISSN 0048-7333. SSRN 290305.
  12. Gerbe, Aurona; Molefo, Onkgopotse; Van der Merwe, Alta (2010). "Documenting open-source migration processes for re-use". ใน Kotze, P.; Gerber, A.; van der Merwe, A.; และคณะ (บ.ก.). Proceedings of the SAICSIT 2010 Conference — Fountains of Computing Research. ACM Press. pp. 75–85. CiteSeerX 10.1.1.1033.7791. doi:10.1145/1899503.1899512. ISBN 978-1-60558-950-3. S2CID 11970697.
  13. Weber 2004[ต้องการเลขหน้า]
  14. "'Open-Source Practices for Biotechnology' — Cambia — Enabling Innovation". Cambia. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-01. สืบค้นเมื่อ 2012-10-25.
  15. Pearce, Joshua M. (1 August 2012). "Open Source Research in Sustainability". Sustainability: the Journal of Record. 5 (4): 238–243. doi:10.1089/sus.2012.9944.
  16. "FAQ | LucidWorks". Lucidimagination.com. 8 August 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 April 2011. สืบค้นเมื่อ 2012-10-25.
  17. ""Frequently Asked Questions". Open Source Initiative". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-04-23. สืบค้นเมื่อ 2006-04-23.
  18. Standish Newsroom - Open Source. เก็บถาวร 2012-01-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Press release. 2008-04-16

ดูเพิ่ม[แก้]