ดินแดนคัมชัตคา
ดินแดนคัมชัตคา | |
---|---|
Камча́тский край | |
![]() ภูเขาไฟทั้งสามแห่งเมืองปิตราปัฟลัฟสค์-คัมชัตสกี (ภูเขาไฟกอร์ยักสกี อวาชินสกี และโคเซลสกี) | |
เพลง: สรรเสริญดินแดนคัมชัตคา | |
![]() | |
ประเทศ | รัสเซีย |
เขตสหพันธ์ | ตะวันออกไกล[1] |
เขตเศรษฐกิจ | ตะวันออกไกล[2] |
สถาปนา | 1 กรกฎาคม ค.ศ. 2007[3] |
ศูนย์กลางการบริหาร | ปิตราปัฟลัฟสค์-คัมชัตสกี |
การปกครอง | |
• องค์กร | Legislative Assembly[4] |
• ผู้ว่าราชการ[4] | วลาดีมีร์ โซโลดอฟ[5] |
พื้นที่[6] | |
• ทั้งหมด | 472,300 ตร.กม. (182,400 ตร.ไมล์) |
อันดับพื้นที่ | 10th |
ประชากร (สำมะโนครัวปี 2010)[7] | |
• ทั้งหมด | 322,079 คน |
• ประมาณ (2018)[8] | 315,557 (−2%) คน |
• อันดับ | 76 |
• ความหนาแน่น | 0.68 คน/ตร.กม. (1.8 คน/ตร.ไมล์) |
• เขตเมือง | 77.35% คน |
• นอกเมือง | 22.65% คน |
เขตเวลา | UTC+12 (UTC+12:00 ![]() |
รหัส ISO 3166 | RU-KAM |
ทะเบียนรถ | 41, 82 |
รหัส OKTMO | 30000000 |
ภาษาราชการ | รัสเซีย[10] |
เว็บไซต์ | http://www.kamchatka.gov.ru |
ดินแดนคัมชัตคา (รัสเซีย: Камча́тский край) เป็นเขตการปกครองของประเทศรัสเซีย ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 2007 โดยรวมตัวกันของแคว้นคัมชัตคากับเขตปกครองตนเองกอร์ยักโดยมีการออกเสียงประชามติในวันที่ 23 ตุลาคม ค.ศ. 2005
ดินแดนคัมชัตคามีเนื้อที่ทั้งหมด 472,300 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรทั้งหมด 322,079 คนตามข้อมูลจากการสำรวจสำมะโนประชากรเมื่อปี ค.ศ. 2010 โดยมีศูนย์กลางการบริหารคือ ปิตราปัฟลัฟสค์-คัมชัตสกี[7]
ลักษณะทางภูมิศาสตร์
[แก้]ดินแดนคัมชัตคาเป็นเขตการปกครองที่อยู่ทางตะวันออกไกลของรัสเซีย ครอบคลุมคาบสมุทรคัมชัตคาและเกาะใกล้เคียง ได้แก่ เกาะคารากินสกีและหมู่เกาะคอมแมนเดอร์ พื้นที่ดังกล่าวมีอาณาเขตติดกับทะเลเบริงทางทิศตะวันออก และทะเลโอฮอตสค์ทางทิศตะวันตก โดยมีแนวชายฝั่งรวมกันยาวกว่า 4,000 กิโลเมตร
ภูมิประเทศของคัมชัตคาประกอบด้วยเทือกเขาสำคัญหลายแห่ง เช่น เทือกเขาซเรดินนึย์ (ยาวประมาณ 900 กิโลเมตร), เทือกเขาวอสตอชนึย์ (ยาวประมาณ 600 กิโลเมตร) รวมถึงเทือกเขากอร์ยัก, อูกเลยัต, เวตเวย์, เปนจินสกี, ปึกลิน และโอลูย์ตอร์ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีภูเขาที่มีความสูงโดดเด่น เช่น เขาฮูฟฮอยตุน (2,613 เมตร), เขาเลดยานายา (2,562 เมตร), เขา Acute (2,552 เมตร), เขาชิเชล (2,531 เมตร) และภูเขาไฟตืย์เลเล (2,234 เมตร) เป็นต้น
แม่น้ำสายสำคัญในภูมิภาคนี้ ได้แก่ แม่น้ำวือเวนกา, เปนจีนา, ทาลอฟคา, อาพูคา, คัมชัตคา และอูกเลยัต เป็นต้น
นอกจากนี้ยังมีทะเลสาบน้ำจืดหลายแห่ง เช่น ทะเลสาบคอร์นอตสโกเย, ทาลอฟสโกเยและปาลานสโกเยเป็นต้น ทะเลสาบขนาดเล็กที่สำคัญได้แก่ทะเลสาบฮาลักตืร์สโกเย ที่ซึ่งตั้งอยู่ใกล้เมืองเปตรอฟลาฟลอฟสค์-คัมชัตสกี
แม้ว่าดินคัมชัตคาจะตั้งอยู่บนคาบสมุทรคัมชัตคา แต่ยังมีคาบสมุทรขนาดเล็กอื่น ๆ อยู่ภายในนั้นด้วย ซึ่งรวมถึงคาบสมุทรโอลูย์ตอร์, กาเนวา, อิลปินสกี, โอเซร์นอย, คัมชัตสกี, ชีปุนสกีและคาบสมุทรเยลีสตราโตวา เป็นต้น
บริเวณนี้ยังประกอบด้วยเกาะหลายแห่ง เช่น เกาะเวร์โฮตูรอฟ, คารากินสกี, หมู่เกาะคอมแมนเดอร์, เกาะพตีชือ, เกาะโคนุส, เกาะซุบชาตือ, เกาะรอฟนือ, เกาะโดบราเชนสโกโว, เกาะวโตรอย, เกาะไครนืย์ และเกาะเตรตือ เป็นต้น โดยเรียงจากทิศตะวันตกเฉียงเหนือมายังทิศตะวันออกเฉียงเหนือตามเข็มนาฬิกา โดยถึงแม้ว่าหมู่เกาะคูริลจะอยู่ใกล้เคียงกับดินแดนคัมชัตคา แต่หมู่เกาะคูริลนั้นก็ถูกนับเป็นส่วนหนึ่งของแคว้นซาฮาลิน
ดินแดนคัมชัตคานั้นตั้งอยู่ในเขตวงแหวนแห่งไฟของมหาสมุทรแปซิฟิก ทำให้มีภูเขาไฟขนาดต่าง ๆ มากกว่า 300 ลูกตั้งอยู่ โดยในจำนวนนี้ 29 ลูกยังคงมีพลังอยู่ หนึ่งในนั้นคือภูเขาไฟคลูเชฟสกายา ซึ่งเป็นภูเขาไฟที่สูงที่สุดในทวีปยูเรเชียด้วยความสูงประมาณ 4,750 เมตร
ภูมิประเทศของคัมชัตคามีลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่คล้ายคลึงกับพื้นที่บางส่วนของสกอตแลนด์ แต่มีภูมิอากาศแบบกึ่งอาร์กติก (subarctic) นอกจากนี้ พื้นที่ดังกล่าวยังได้รับอิทธิพลมรสุมจากมหาสมุทรแปซิฟิกมากกว่าภูมิภาคอื่น ๆ ของรัสเซีย
![]() |
ธรรมชาติ
[แก้]



พื้นที่ส่วนใหญ่ของคาบสมุทรคัมชัตคานั้นปกคลุมไปด้วยป่าไม้เบิร์ช ในขณะที่ไม้แอลเดอร์ และต้นสนซีดาร์จะพบได้ทั่วไปในพื้นที่สูง ในบริเวณตอนกลางของคาบสมุทร โดยเฉพาะหุบเขาของแม่น้ำคัมชัตคาจะสามารถพบต้นสนที่ไม้แข็งหรือต้นลาร์ชและต้นสปรูซได้มากมาย ในบริเวณที่ราบน้ำท่วมถึงจะมีต้นพอปลาร์ไม้หอม แอลเดอร์ Salix arbutifolia และ Salix udensis เจริญเติบโตอยู่อย่างทั่วไป อนึ่ง ไม้พุ่มต่าง ๆ หลายชนิด[ชนิดอะไรบ้าง?] ก็สามารถพบได้ทั่วไปในบริเวณนี้ด้วยเช่นกัน
เนื้อที่กว่าร้อยละ 14.5 ถูกสงวนไว้เป็นพิเศษเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ โดยในกว่าร้อยละ 14.5 นั้นมีพื้นที่สงวนระดับสหพันธุ์ 6 แห่ง วนอุทยานระดับภูมิภาค 4 แห่ง พื้นที่สงวนระดับภูมิภาค 22 แห่ง อนุสรณ์สถานทางธรรมชาติ 116 แห่ง และพื้นที่สงวนทั่วไปอีก 4 แห่ง
บนชายฝั่งติดกับมหาสมุทรแปซิฟิกจะมีพื้นที่สงวนโครนอตสกีตั้งอยู่ ที่ซึ่งเป็นพื้นที่สงวนหรืออนุรักษ์ทางธรรมชาติที่สงวนไว้เพื่อการศึกษาธรรมชาติในพื้นที่ชนบทของรัสเซียตะวันออกไกล[11] พื้นที่สงวนแห่งนั้นถูกจัดตั้งขึ้นในปีคริสต์ศักราช 1934 และมีพื้นที่อยู่ที่ 10,990 ตารางกิโลเมตร[11] พื้นที่สงวนแห่งนี้ยังเป็นพื้นที่แอ่งนํ้าพุร้อนแห่งเดียวของประเทศรัสเซีย และมีเทือกเขาต่าง ๆ ที่มีภูเขาไฟหลายลูกตั้งอยู่ ทั้งยังมีและไม่มีพลังแล้ว เนื่องจากสภาพอากาศในพื้นที่นั้นมีความโหดร้ายอยู่บ่อยครั้งและการอยู่ร่วมกันของน้ำพุร้อนและภูเขาไฟ พื้นที่แห่งนั้นได้รับสมญานามว่า "แดนแห่งไฟและน้ำแข็ง" อยู่บ่อยครั้ง[12]
บุคคลที่สามารถเข้าไปยังพื้นที่แห่งนั้นได้ส่วนมากจะเป็นนักวิทยาศาสตร์และนักท่องเที่ยวอีกกว่า 3000 คนต่อปีที่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเข้ากว่า 700 เหรียญสหรัฐฯ หรือประมาณ 23,700 บาทไทยเพื่อที่จะได้ท่องเที่ยวทางเฮลิคอปเตอร์ในพื้นที่สงวนแห่งนั้นโดยกินระยะเวลายาวทั้งสิ้นเพียงหนึ่งวันเท่านั้น[12] เขตสงวนโครนอตสกีเป็นส่วนหนึ่งของภูเขาไฟแห่งคัมชัตคาที่ซึ่งถูกตั้งขึ้นให้เป็นมรดกโลกโดยองค์การ UNESCO[13]
สถาพภูมิอากาศ
[แก้]เมือง | เดือนกรกฎาคม (°C) | เดือนมกราคม (°C) |
---|---|---|
คลูย์ชี | 20.7/11.1 | -12.9/-20.4 |
คาเมนสโคเย | 19.1/8.8 | −20.8/−28.2 |
ออซโซรา | 16.4/9.3 | −11/−20.1 |
ปิตราปัฟลัฟสค์-คัมชัตสกี | 16.5/10 | −4.4/−9.2 |
เกาะเบริง | 10.7/7.7 | −2/−5.5 |
การปกครองส่วนท้องถิ่น
[แก้]
ดินแดนคัมชัตคาถูกก่อตั้งขึ้นมาเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม คริสต์ศักราช 2007 (พ.ศ. 2550) หลังจากการรวมกันระหว่างแคว้นคัมชัตคาและเขตปกครองตนเองกอร์ยัก
ดินแดนคัมชัตคานั้นสามารถแบ่งการปกครองส่วนท้องถิ่นได้เป็น 11 เขต (район) โดยจะมีทั้งสิ้น 4 เขตอยู่ในเขตพิเศษกอร์ยักหรือกอร์ยาเกีย (Коря́кский о́круг; Корякия)
- ✪ - ส่วนหนึ่งของเขตพิเศษกอร์ยัก (Корякский о́круг)
หมายเลขบนแผนที่ | ชื่อ | รูปแบบ | ศูนย์กลางการปกครอง | รหัส OKATO ของเขต | รหัส OKTMO ของเขต | |
---|---|---|---|---|---|---|
- | วีลูย์ชินสค์ (Вилючинск) | เมือง (เมืองปิดตาย) | - | 30 535 | 30 735 | |
- | ปิตราปัฟลัฟสค์-คัมชัตสกี (Петропавловск-Камчатский) | เมือง | - | 30 401 | 30 701 | |
- | เอียลีโซโว (Елизово) | เมือง | - | 30 402 | 30 607 | |
1 | อะเลอูตสกี (Алеутский) | เขต | นิกอลสโกเย (Никольское) | 30 201 | 30 601 | |
2 | บืยสตรินสกี (Быстринский) | เขต | เอสโซ (Эссо) | 30 204 | 30 604 | |
3 | เอียลีซอฟสกี (Елизовский) | เขต | เอียลีโซโว (Елизово) | 30 207 | 30 607 | |
5 | มิลคอฟสกี (Мильковский) | เขต | มิลโกโว (Мильково) | 30 210 | 30 610 | |
8 | โซโบเลฟสกี (Соболевский) | เขต | โซโบเลโว (Соболево) | 30 213 | 30 613 | |
10 | อุสต์-โบลเชเรซสกี (Усть-Большерецкий) | เขต | อุสต์-โบลเชเรซค์ (Усть-Большерецк) | 30 216 | 30 616 | |
11 | อุสต์-คัมชัตสกี (Усть-Камчатский) | เขต | อุสต์-คัมชัตสค์ (Усть-Камчатск) | 30 219 | 30 619 | |
4 | ✪ | คารากินสกี (Карагинский) | เขต | ออสโซรา (Оссора) | 30 124 | 30 824 |
6 | ✪ | โอลูย์ตอร์สกี (Олюторский) | เขต | ตีลีชีกี (Тиличики) | 30 127 | 30 827 |
7 | ✪ | เปนจินสกี (Пенжинский) | เขต | คาเมนสโกเย (Каменское) | 30 129 | 30 829 |
9 | ✪ | ตีกิลสกี (Тигильский) | เขต | ทีกิล (Тигиль) | 30 132 | 30 832 |
- | ✪ | ปาลานา (Палана) | (ภายใต้เขตตีกิลสกี) | - | 30 132 | 30 851 |
เศรษฐกิจ
[แก้]เศรษฐกิจหลักของดินแดนคัมชัตคานั้นคือการประมงและการป่าไม้ ถ่านหินและวัตถุดิบต่าง ๆ ในรัสเซียก็ถูกขุดหรือนำเข้ามาจากที่นี่ เนื่องด้วยตำแหน่งทางภูมิศาสตร์ที่ตั้งอยู่ให้เส้นทางเดินเรือหลักหลายสาย คัมชัตคานั้นเป็นศูนย์กลางในการต่อเรือ ซ่อมเรือ และงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกัน[19] อีกประการหนึ่ง คัมชัตคาเป็นหนึ่งในสถานที่ที่มีน้ำมันและแร่ต่าง ๆ อยู่มากมายในรัสเซีย แต่ทว่าแหล่งทรัพยากรณ์เหล่านั้นยังไม่ได้รับการพัฒนามากพอที่จะให้ได้มาซึ่งประสิทธิภาพสูงสุด[20]
ลักษณะทางประชากรศาสตร์
[แก้]ปี | ประชากร | ±% |
---|---|---|
1926 | 34,958 | — |
1939 | 109,300 | +212.7% |
1959 | 220,753 | +102.0% |
1970 | 287,612 | +30.3% |
1979 | 378,491 | +31.6% |
1989 | 466,096 | +23.1% |
2002 | 358,801 | −23.0% |
2010 | 322,079 | −10.2% |
2021 | 291,705 | −9.4% |
แหล่งอ้างอิง: ข้อมูลทางสำมะโนประชากร |
ดินแดนคัมชัตคามีประชากรอยู่ที่ 322,079 คน (การสำรวจสำมะโนประชากรในปี ค.ศ. 2010);[21] 358,801 คน (สำมะโน ค.ศ. 2002);[22] 466,096 คน (สำมะโน ค.ศ. 1989).[23]
ข้อมูลทางสถิติที่สำคัญในปี 2024:[24]
- เกิด: 2,736 คน (9.5 คนต่อ 1,000 คน)
- เสียชีวิต: 3,698 (12.8 คนต่อ 1,000 คน)
อัตราการเกิดโดยรวม (2024):[25]
เด็ก 1.58 ต่อผู้หญิงหนึ่งคน
การคาดหมายคงชีพ (2021):[26]
โดยรวม — 68.09 ปี (ผู้ชาย — 63.76 ปี, ผู้หญิง — 72.93 ปี)
องค์ประกอบทางชาติพันธุ์
[แก้]ตามข้อมูลเมื่อปี 2021 มีกลุ่มชาติพันธุ์จำนวน 110 กลุ่มที่ได้รับการยอมรับถึงการมีอยู่โดยรัฐบาลรัสเซีย โดยกลุ่มประชากรที่เป็นคนพื้นเมืองนั้นมีอยู่เพียงแค่ร้อยละ 5 ของประชากร[27]
กลุ่มชาติพันธุ์ | ประชากร | ร้อยละ |
---|---|---|
ชาวรัสเซีย | 233,198 | 88.3% |
ชาวกอร์ยัก | 6,413 | 2.4% |
ชาวยูเครน | 3,873 | 1.5% |
ชาวอีเทิลเมน | 1,910 | 0.7% |
ชาวอีเวน | 1,777 | 0.7% |
ชาวอุซเบก | 1,706 | 0.6% |
ชาวคีร์กีซ | 1,407 | 0.5% |
ชาวตาตาร์ (ตาด) | 1,351 | 0.5% |
ชาวคัมชาดัล | 1,311 | 0.5% |
ชาวชุกชี | 1,222 | 0.5% |
อื่น ๆ | 9,934 | 3.8% |
- ประชากรจำนวน 27,603 คนถูกบันทึกไว้ในฐานข้อมูลของหน่วยบริหารของดินแดนและไม่สามารถบอกได้ว่าคนกลุ่มนั้นอยู่ชนชาติไหน โดยบ้างก็มีสันนิฐานว่าคนกลุ่มนั้นจะเป็นชนหรือเชื้อชาติเดียวกันกับ 110 กลุ่มชาติพันธุ์ที่รัฐบาลให้การยอมรับถึงการมีอยู่[28]
ศาสนา
[แก้]ตามข้อมูลสำรวจเมื่อปีคริสต์ศักราช 2012 ประชากรของดินแดนคัมชัตคานั้นนับถือศาสนาคริสต์นิกายรัสเซียออร์ทอดอกซ์คิดเป็นร้อยละ 31.2 ร้อยละ 4.4 ของประชากรคือคริสต์ศาสนิกชนที่ไม่มีนิกาย ร้อยละ 0.8 คือผู้ที่อยู่ในนิกายออร์ทอดอกซ์อื่น ๆ ที่ไม่ใช่รัสเซียออร์ทอดอกซ์ ร้อยละ 2 ของประชากรมีความเชื่อดั้งเดิมของชาวสลาฟหรือลัทธิแชแมนของภูมิภาคไซบีเรีย ร้อยละ 1.2 นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 0.6 นับถือศาสนาคริสต์นิกายโปรเตสแตนต์ และร้อยละ 0.4 นับถือศาสนาพราหมณ์ฮินดู อนึ่ง ประชากรจำนวนร้อยละ 22.8 มีธรรมในจิตใจแต่ไม่นับถือศาสนาหรือ SBNR ร้อยละ 21.0 เป็นอเทวนิยมและไม่มีศาสนา และอื่น ๆ อีกร้อยละ 14.8 ที่ยังไม่ได้รับการบันทึกหรือนับถือศาสนาอื่นนอกจากที่ได้กล่าวมา[29]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Президент Российской Федерации. Указ №849 от 13 мая 2000 г. «О полномочном представителе Президента Российской Федерации в федеральном округе». Вступил в силу 13 мая 2000 г. Опубликован: "Собрание законодательства РФ", No. 20, ст. 2112, 15 мая 2000 г. (President of the Russian Federation. Decree #849 of May 13, 2000 On the Plenipotentiary Representative of the President of the Russian Federation in a Federal District. Effective as of May 13, 2000.).
- ↑ Госстандарт Российской Федерации. №ОК 024-95 27 декабря 1995 г. «Общероссийский классификатор экономических регионов. 2. Экономические районы», в ред. Изменения №5/2001 ОКЭР. (Gosstandart of the Russian Federation. #OK 024-95 December 27, 1995 Russian Classification of Economic Regions. 2. Economic Regions, as amended by the Amendment #5/2001 OKER. ).
- ↑ Law #2-FKZ, Article 4
- ↑ 4.0 4.1 Charter of Kamchatka Krai, Article 13
- ↑ Official website of Kamchatka Krai. Vladimir Viktorovich Solodov เก็บถาวร 16 กรกฎาคม 2015 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Acting Governor of Kamchatka Krai (ในภาษารัสเซีย)
- ↑ Федеральная служба государственной статистики (Federal State Statistics Service) (2004-05-21). "Территория, число районов, населённых пунктов и сельских администраций по субъектам Российской Федерации (Territory, Number of Districts, Inhabited Localities, and Rural Administration by Federal Subjects of the Russian Federation)". Всероссийская перепись населения 2002 года (All-Russia Population Census of 2002) (ภาษารัสเซีย). Federal State Statistics Service. สืบค้นเมื่อ 2011-11-01.
- ↑ 7.0 7.1 Russian Federal State Statistics Service (2011). "Всероссийская перепись населения 2010 года. Том 1" [2010 All-Russian Population Census, vol. 1]. Всероссийская перепись населения 2010 года (2010 All-Russia Population Census) (ภาษารัสเซีย). Federal State Statistics Service. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-07-24. สืบค้นเมื่อ June 29, 2012.
- ↑ "26. Численность постоянного населения Российской Федерации по муниципальным образованиям на 1 января 2018 года". สืบค้นเมื่อ 23 มกราคม 2019.
- ↑ "Об исчислении времени". Официальный интернет-портал правовой информации (ภาษารัสเซีย). 3 June 2011. สืบค้นเมื่อ 19 January 2019.
- ↑ ภาษาอย่างเป็นทางการของสหพันธ์ตามมาตรา 68.1 ของรัฐธรรมนูญแห่งสหพันธรัฐรัสเซีย
- ↑ 11.0 11.1 Encyclopædia Britannica (2009) Kronotsky Nature Reserve เก็บถาวร 25 มิถุนายน 2011 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Encyclopædia Britannica, retrieved 12 March 2009, from Encyclopædia Britannica Online
- ↑ 12.0 12.1 Quammen, David (2009) Fragile Russian Wilderness: The Kronotsky Nature Reserve Is Best Appreciated From Afar เก็บถาวร 16 มีนาคม 2009 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, National Geographic, p.62, January 2009, Vol. 215, No.1
- ↑ Wild Russia: Centre For Nature Conservation website เก็บถาวร 7 มีนาคม 2009 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, retrieved 11 March 2009
- ↑ "CLIMATE Klyuchi". pogodaiklimat.ru. สืบค้นเมื่อ 25 April 2020.
- ↑ "CLIMATE Kamenskoie". pogodaikilmat.ru. สืบค้นเมื่อ 25 April 2020.
- ↑ "CLIMATE Ossora". pogodaiklimat.ru. สืบค้นเมื่อ 25 April 2020.
- ↑ "CLIMATE Petropavlovsk Kamchatsky". pogodaiklimat.ru. สืบค้นเมื่อ 25 April 2020.
- ↑ "CLIMATE Bering Ostrovie". pogodaiklimat.ru. สืบค้นเมื่อ 25 April 2020.
- ↑ "Kamchatka Region". Kommersant. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 November 2013. สืบค้นเมื่อ 18 August 2013.
- ↑ Rahr, III, Guido. "Bountiful Breed". PBS. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 June 2013. สืบค้นเมื่อ 18 August 2013.
- ↑ Russian Federal State Statistics Service (2011). "Всероссийская перепись населения 2010 года. Том 1" [2010 All-Russian Population Census, vol. 1]. Всероссийская перепись населения 2010 года (2010 All-Russia Population Census) (ภาษารัสเซีย). Federal State Statistics Service. สืบค้นเมื่อ June 29, 2012.
- ↑ Russian Federal State Statistics Service (May 21, 2004). "Численность населения России, субъектов Российской Федерации в составе федеральных округов, районов, городских поселений, сельских населённых пунктов – районных центров и сельских населённых пунктов с населением 3 тысячи и более человек" [Population of Russia, Its Federal Districts, Federal Subjects, Districts, Urban Localities, Rural Localities—Administrative Centers, and Rural Localities with Population of Over 3,000] (XLS). Всероссийская перепись населения 2002 года [All-Russia Population Census of 2002] (ภาษารัสเซีย). สืบค้นเมื่อ August 9, 2014.
- ↑ Demoscope Weekly (1989). "Всесоюзная перепись населения 1989 г. Численность наличного населения союзных и автономных республик, автономных областей и округов, краёв, областей, районов, городских поселений и сёл-райцентров" [All Union Population Census of 1989: Present Population of Union and Autonomous Republics, Autonomous Oblasts and Okrugs, Krais, Oblasts, Districts, Urban Settlements, and Villages Serving as District Administrative Centers]. Всесоюзная перепись населения 1989 года [All-Union Population Census of 1989] (ภาษารัสเซีย). Институт демографии Национального исследовательского университета: Высшая школа экономики [Institute of Demography at the National Research University: Higher School of Economics]. สืบค้นเมื่อ August 9, 2014.
- ↑ "Естественное движение населения в разрезе субъектов российской федерации за декабрь 2024 года". Rosstat. 21 February 2025. สืบค้นเมื่อ 25 February 2025.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "Рейтинг рождаемости в регионах: кто в лидерах, а кто в аутсайдерах | Москва". ФедералПресс (ภาษารัสเซีย). 2025-02-25. สืบค้นเมื่อ 2025-02-26.
- ↑ "Демографический ежегодник России" [The Demographic Yearbook of Russia] (ภาษารัสเซีย). Federal State Statistics Service of Russia (Rosstat). สืบค้นเมื่อ 2022-06-01.
- ↑ "Национальный состав населения". Federal State Statistics Service. สืบค้นเมื่อ 30 December 2022.
- ↑ "Перепись-2010: русских становится больше". Perepis-2010.ru. 19 December 2011. สืบค้นเมื่อ 27 September 2012.
- ↑ 29.0 29.1 "Arena: Atlas of Religions and Nationalities in Russia" เก็บถาวร 22 กันยายน 2015 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Sreda, 2012.
- ↑ 2012 Arena Atlas Religion Maps. "Ogonek", № 34 (5243), 27 August 2012. Retrieved 21 April 2017. Archived.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Правительство Камчатского Края เก็บถาวร 2012-09-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- История Камчатского края
- Камчатский край в фотографиях: пейзажи, природа, люди, события
- Законодательство Камчатского края
- «Камчатский край, Петропавловск-Камчатский — краеведческий сайт Камчатки»
- Камчатка в книге: Н. А. Гвоздецкий, Н. И. Михайлов. Физическая география СССР. М., 1978.