อิบน์ ค็อลลิกาน
อิบน์ ค็อลลิกาน | |
---|---|
คำนำหน้าชื่อ | หัวหน้าผู้พิพากษา |
ส่วนบุคคล | |
เกิด | 22 กันยายน ค.ศ. 1211 อัรบีล (ปัจจุบันอยู่ในประเทศอิรัก) |
มรณภาพ | 30 ตุลาคม ค.ศ. 1282 ดามัสกัส (ปัจจุบันอยู่ในประเทศซีเรีย) | (71 ปี)
ศาสนา | อิสลาม |
ภูมิภาค | ตะวันออกกลาง |
นิกาย | ซุนนี |
สำนักคิด | ชาฟิอี[1] |
ลัทธิ | อัชอะรี[2] |
ผลงานโดดเด่น | วะฟะยาตุลอะอ์ยานวะอันบาอ์อับนาอัซซะมาน |
อะห์มัด อิบน์ มุฮัมมัด อิบน์ อิบรอฮีม อิบน์ อะบูบักร์ อิบน์ ค็อลลิกาน[a][3] (อาหรับ: أحمد بن محمد بن إبراهيم بن أبي بكر ابن خلكان; 22 กันยายน ค.ศ. 1211 – 30 ตุลาคม ค.ศ. 1282) รู้จักกันในชื่อ อิบน์ ค็อลลิกาน เป็นนักประวัติศาสตร์อิสลามที่มีชื่อเสียง ซึ่งเป็นผู้รวบรวมสารานุกรมชีวประวัติของนักวิชาการมุสลิม และบุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์มุสลิมไว้ใน วะฟะยาตุลอะอ์ยานวะอันบาอ์อับนาอัซซะมาน[4] จากความสำเร็จนี้ ทำให้เขาได้รับการยกย่องว่าเป็นนักเขียนชีวประวัติที่มีชื่อเสียงที่สุดในประวัติศาสตร์อิสลาม[5]
ประวัติ
[แก้]อิบน์ ค็อลลิกานเกิดที่อัรบีลในวันที่ 22 กันยายน ค.ศ. 1211 (11 เราะบีอุษษานี ฮ.ศ. 608) จากครอบครัวที่น่านับถือ ซึ่งอ้างว่าสืบเชื้อสายจากแบร์แมคียอน[3] ตระกูลในกลุ่มชนอิหร่านที่มีต้นกำเนิดในภูมิภาคแบลค์[6] ส่วนข้อมูลอื่นระบุเขาเป็นชาวเคิร์ด[7]
การศึกษาขั้นต้นนำพาเขามาจากอัรบีล ไปยังอะเลปโป และไปยังดามัสกัส[8] ก่อนที่เขาให้ความสนใจต่อนิติศาสตร์ที่โมซุล และค่อยตั้งถิ่นฐานที่ไคโร[9] เขามีชื่อเสียงในฐานะนักกฎหมาย นักเทววิทยา และนักไวยากรณ์[9] นักเขียนชีวประวัติในยุคแรก ๆ อธิบายว่า เขาเป็น "ชายผู้เคร่งศาสนา มีคุณธรรม และเรียนรู้ มีอัธยาศัยดี พูดจาจริงจังและให้คำแนะนำ ภายนอกของเขาเป็นที่น่าพอใจ หน้าตาหล่อเหลา และกิริยามารยาทน่าชวนมอง"[10]
เขาแต่งงานใน ค.ศ. 1252[9] และเป็นผู้ช่วยหัวหน้าผู้พิพากษาในอียิปต์จนกระทั่งเขารับตำแหน่งหัวหน้าผู้พิพากษาที่ดามัสกัสใน ค.ศ. 1261[8] เขาสูญเสียตำแหน่งใน ค.ศ. 1271 และกลับไปที่อียิปต์ จนกระทั่งได้รับแต่งตั้งเป็นผู้พิพากษาที่ดามัสกัสใน ค.ศ. 1278[8] เขาเกษียณใน ค.ศ. 1281[9] และเสียชีวิตที่ดามัสกัสในวันที่ 30 ตุลาคม ค.ศ. 1282 (26 เราะญับ ฮ.ศ. 681)[8]
หมายเหตุ
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ Lewis, B.; Menage, V.L.; Pellat, Ch.; Schacht, J. (1986) [1st pub. 1971]. Encyclopaedia of Islam. Vol. III (H-Iram) (New ed.). Leiden, Netherlands: Brill. p. 832. ISBN 978-9004081185.
- ↑ Schmidtke, Sabine (2016). The Oxford Handbook of Islamic Theology. Oxford University Press. p. 556. ISBN 9780199696703.
- ↑ 3.0 3.1 J.W., Fück. "Ibn Khallikan" (ภาษาอังกฤษ). Brill. doi:10.1163/1573-3912_islam_sim_3248.
{{cite journal}}
: Cite journal ต้องการ|journal=
(help) - ↑ "Ibn Khallikan". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-06-17. สืบค้นเมื่อ 2023-05-25.
- ↑ El Hareir, Idris; Mbaye, Ravane (2011). The Spread of Islam Throughout the World. UNESCO Pub. p. 295.
- ↑ Frye, R. N.; Fisher, William Bayne; Frye, Richard Nelson; Avery, Peter; Boyle, John Andrew; Gershevitch, Ilya; Jackson, Peter (1975-06-26). The Cambridge History of Iran. ISBN 9780521200936.
- ↑ "Ibn Khallikan's Biographical Dictionary, Volumes 1 and 2". Library of Congress, Washington, D.C. 20540 USA. สืบค้นเมื่อ 2022-09-11.
- ↑ 8.0 8.1 8.2 8.3 "Encyclopædia Britannica Online, Ibn Khallikān". 2010. สืบค้นเมื่อ May 22, 2010.
- ↑ 9.0 9.1 9.2 9.3 "Ibn Khallikan". Humanistic Texts.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 20, 2010. สืบค้นเมื่อ May 22, 2010.
- ↑ Ludwig W. Adamec (2009), Historical Dictionary of Islam, p.139. Scarecrow Press. ISBN 0810861615.
บรรณานุกรม
[แก้]- Ibn Khallikan (1842–1871). Ibn Khallikan's Biographical Dictionary, Translated from the Arabic (4 vols.). แปลโดย Baron Mac Guckin de Slane. Paris: Oriental Translation Fund of Great Britain and Ireland.