เทพเจ้าอียิปต์โบราณ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก เทพปกรณัมอียิปต์)
Painted relief of a seated man with green skin and tight garments, a man with the head of a jackal, and a man with the head of a falcon
เทพโอซิริส, เทพอะนูบิส และเทพฮอรัสบนหลุมฝังพระบรมศพของฟาโรห์ฮอร์เอมเฮบ (เควี 57) ในหุบเขากษัตริย์

เทพเจ้าอียิปต์โบราณ เป็นเทพและเทพีที่ได้รับการเคารพบูชาในช่วงสมัยอียิปต์โบราณ ความเชื่อและพิธีกรรมเกี่ยวกับเทพเจ้าดังกล่าวก่อตัวเป็นแกนหลักของศาสนาอียิปต์โบราณ ซึ่งถือกำเนิดขึ้นในช่วงยุคก่อนประวัติศาสตร์ เทพเป็นตัวแทนของพลังธรรมชาติและปรากฏการณ์ต่างๆ และชาวอียิปต์ได้เคารพบูชาและเอาใจทวยเทพผ่านการเซ่นไหว้และพิธีกรรม เพื่อให้พลังเหล่านี้ยังคงทำงานต่อไปตามมาอัตหรือบัญชาจากสวรรค์ หลังจากการก่อตั้งรัฐอียิปต์ประมาณ 3100 ปีก่อนคริสตกาล อำนาจในการดำเนินการดังกล่าวถูกควบคุมโดยฟาโรห์ ซึ่งอ้างพระองค์ว่าทรงเป็นตัวแทนของเทพเจ้าและทรงเป็นผู้จัดการวิหารที่ประกอบพิธีกรรม

ลักษณะที่ซับซ้อนของเทพเจ้าถูกแสดงออกมาในตำนานและในความสัมพันธ์ที่สลับซับซ้อนระหว่างเทพเจ้า เช่น ความสัมพันธ์ในครอบครัว ความสัมพันธ์แบบกลุ่มและลำดับชั้นอย่างหลวม ๆ และการรวมกันของเทพเจ้าที่แยกจากกันเป็นหนึ่งเดียว รูปลักษณ์ที่หลากหลายของเทพในงานศิลปะ เช่น สัตว์ มนุษย์ สิ่งของ และการผสมผสานรูปแบบต่างๆ กัน ยังเกี่ยวถึงคุณลักษณะที่สำคัญของเทพเหล่านั้นผ่านสัญลักษณ์ด้วย

ในยุคต่างๆ เทพเจ้าทั้งหลายได้รับการกล่าวขานว่าทรงดำรงตำแหน่งสูงสุดในสังคมศักดิ์สิทธิ์ รวมถึงสุริยเทพรา เทพอามุนผู้ลึกลับ และเทพีไอซิสผู้เป็นพระมารดา เทพสูงสุดมักจะให้มีความเกี่ยวข้องกับการสร้างโลกและมักเกี่ยวข้องกับพลังแห่งชีวิตของดวงอาทิตย์ นักวิชาการบางคนโต้แย้งว่าชาวอียิปต์รับรู้ถึงอำนาจอันศักดิ์สิทธิ์หนึ่งเดียวที่อยู่เบื้องหลังทุกสิ่งและมีอยู่ในตัวเทพพระองค์อื่นทั้งหมด โดยอ้างอิงจากงานเขียนของชาวอียิปต์ ถึงกระนั้นก็ไม่เคยละทิ้งมุมมองที่นับถือพระเจ้าหลายพระองค์ดั้งเดิมที่มีต่อโลก เว้นแต่เป็นไปได้ว่าในช่วงสมัยของลัทธิอาเตนนิยมในศตวรรษที่ 14 ก่อนคริสต์ศักราช เมื่อศาสนาอย่างเป็นทางการมุ่งความสนใจไปที่เทพสุริยะที่เป็นนามธรรมเท่านั้น ซึ่งก็คือ เทพอาเตน

สันนิษฐานว่า เทพเจ้ามีอยู่ทั่วโลกสามารถมีอิทธิพลต่อเหตุการณ์ทางธรรมชาติและวิถีชีวิตของมนุษย์ ผู้คนมีปฏิสัมพันธ์กับพระองค์ในวิหารและศาลเจ้าด้วยเหตุผลส่วนตัว เช่นเดียวกับเป้าหมายที่ใหญ่กว่าของพิธีกรรมของรัฐ ชาวอียิปต์สวดอ้อนวอนขอความช่วยเหลือจากสวรรค์ ใช้พิธีกรรมเพื่อบังคับให้เทพเจ้าทำตาม และขอคำแนะนำจากพระองค์ และความสัมพันธ์ของมนุษย์กับเทพเจ้าเป็นส่วนสำคัญของสังคมอียิปต์

การนิยามเทพเจ้าอียิปต์โบราณ[แก้]

"เทพเจ้า" ในไฮเออโรกลีฟ
R8Z1A40

or
R8G7

or
R8

nṯr
"เทพ"[1]
R8D21
X1
I12

nṯr.t
"เทพี"[1]

การปรากฏอยู่ของสิ่งหนึ่งในวัฒนธรรมอียิปต์โบราณที่อาจจะถูกนิยามว่าเป็นเทพเจ้านั้นยากที่จะนับ ตำราอียิปต์ระบุพระนามเทพเจ้าหลายพระองค์ที่ไม่ทราบลักษณะ และอ้างอิงทางอ้อมถึงเทพพระองค์อื่นที่คลุมเครือซึ่งไม่ได้ระบุพระนามด้วยซ้ำ[2] เจมส์ พี. อัลเลน นักไอยคุปต์วิทยาประเมินว่ามีเทพเจ้ามากกว่า 1,400 พระองค์ที่มีพระนามอยู่ในตำราอียิปต์[3] ในขณะที่คริสเตียน ลีตซ์ ได้กล่าวว่ามีเทพเจ้าเป็น "พันๆ ต่อพัน"[4]

คำศัพท์ในภาษาอียิปต์สำหรับสิ่งหนึ่งดังกล่าว คือ nṯr, "เทพ" และคำศัพท์ในเพศหญิงคือ nṯrt, "เทพี"[5] นักวิชาการได้พยายามแยกแยะธรรมชาติดั้งเดิมของเทพเจ้าจากรากศัพท์ของคำดังกล่าว แต่ไม่มีข้อสันนิษฐานใดที่เป็นที่ยอมรับ และที่มาของคำดังกล่าวนั้นยังคงคลุมเครือ อักษรอียิปต์โบราณที่ใช้เป็นสัญลักษณ์และตัวกำหนดในการเขียนคำเหล่านั้นได้แสดงลักษณะบางอย่างที่ชาวอียิปต์เชื่อมโยงกับความเป็นพระเจ้า[6] สัญลักษณ์ที่พบบ่อยที่สุดคือ สัญลักษณ์ธงที่สะบัดบนเสา ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ที่แสดงถึงวัตถุที่คล้ายกันนี้ถูกวางไว้ที่ทางเข้าของวิหาร และแสดงถึงการมีอยู่ของเทพเจ้าตลอดประวัติศาสตร์อียิปต์โบราณ อักษรอียิปต์โบราณอื่นๆ เช่น นกเหยี่ยว ซึ่งชวนให้นึกถึงเทพเจ้าในยุคแรกหลายพระองค์ที่ถูกพรรณนาว่าเป็นนกเหยี่ยว และเทพหรือเทพีในท่าอิริยาบถประทับนั่ง[7] เทพในรูปสตรีสามารถเขียนได้ด้วยใช้สัญลักษณ์รูปไข่เป็นตัวกำหนด และเชื่อมโยงเทพีเข้ากับการสร้างและกำเนิด หรือกับงูเห่า สะท้อนถึงการใช้งูเห่าเพื่อพรรณนาเทพสตรีหลายพระองค์[6]

ชาวอียิปต์ได้แยกแยะคำว่า nṯrw "เทพเจ้า" จาก rmṯ ซึ่งแปลว่า "มนุษย์" แต่ความหมายของคำในภาษาอียิปต์และภาษาอังกฤษไม่ตรงกันมากนัก โดยคำว่า nṯr อาจจะใช้กับสิ่งหนึ่งใดๆ ก็ตามที่อยู่นอกขอบเขตของชีวิตประจำวันในทางใดทางหนึ่ง[8] มนุษย์ที่ตายแล้วถูกเรียกว่า nṯr เพราะถือว่าเป็นเหมือนเทพเจ้า[9] ในขณะที่คำดังกล่าวไม่ค่อยใช้กับสิ่งเหนือธรรมชาติที่ด้อยกว่าของอียิปต์จำนวนมาก ซึ่งนักวิชาการสมัยใหม่มักจะเรียกสิ่งมีชีวิตดังกล่าวว่า "ปีศาจ"[4] ศิลปะทางศาสนาของอียิปต์ยังแสดงสถานที่ วัตถุ และแนวคิดในรูปแบบของมนุษย์ ความคิดที่เป็นตัวเป็นตนดังกล่าวปรากฏขึ้นนับตั้งแต่เทพเจ้าที่มีความสำคัญในตำนานและพิธีกรรมไปจนถึงสิ่งมีชีวิตที่คลุมเครือ ซึ่งถูกกล่าวถึงเพียงครั้งหรือสองครั้งเท่านั้น ซึ่งอาจจะเป็นเพียงคำอุปมาอุปมัยเพียงเล็กน้อยเท่านั้น[10]

ปัญหากับความแตกต่างที่คลุมเครือเหล่านี้ระหว่างเทพเจ้าและการปรากฏอยู่ของสิ่งหนึ่งอื่นๆ โดยนักวิชาการได้เสนอคำจำกัดความต่างๆ ของ "เทพ" คำจำกัดความที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางข้อสันนิษฐานแรก[4] ซึ่งเสนอโดยแจน อัสมันน์ ได้กล่าวว่าเทพพระองค์หนึ่งมีลัทธิบูชา ทรงมีส่วนร่วมในบางแง่มุมของจักรวาล และทรงอธิบายไว้ในตำนานหรือรูปแบบอื่นๆ ของประเพณีที่เป็นลายลักษณ์อักษร[11] ตามคำจำกัดความที่แตกต่างกันโดยดิมิทรี มีกส์ ซึ่งไม่ใช้กับสิ่งหนึ่งใดๆ ที่เป็นจุดสนใจของพิธีกรรม จากข้อสันนิษฐานดังกล่าว "เทพเจ้า" รวมถึงกษัตริย์ ซึ่งถูกเรียกว่าเทพเจ้า หลังจากประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกแล้ว และวิญญาณผู้ล่วงลับที่เข้าสู่อาณาจักรอันศักดิ์สิทธิ์ผ่านพิธีศพ ในทำนองเดียวกัน ความยิ่งใหญ่ของเหล่าทวยเทพยังคงรักษาไว้ได้ด้วยการอุทิศตนตามพิธีกรรมที่กระทำเพื่อพระองค์ทั่วอียิปต์[12]

ที่มาของเทพเจ้าอียิปต์โบราณ[แก้]

ฟาโรห์นาร์เมอร์ ซึ่งทรงเป็นผู้ปกครองในช่วงสมัยก่อนยุคราชวงศ์ พร้อมด้วยบุรุษที่ถือธงของเทพเจ้าในท้องถิ่นต่างๆ

หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษรชิ้นแรกเกี่ยวกับเทพเจ้าในอียิปต์มาจากช่วงสมัยราชวงศ์ตอนต้น (ประมาณ 3100 – 2686 ปีก่อนคริสตกาล)[13] โดยเทพเจ้าอียิปต์โบราณจะต้องปรากฏขึ้นแล้วในช่วงสมัยก่อนยุคราชวงศ์ (ก่อน 3100 ปีก่อนคริสตกาล) และพัฒนามาจากความเชื่อทางศาสนาในยุคก่อนประวัติศาสตร์ งานศิลปะก่อนยุคราชวงศ์ได้แสดงให้เห็นรูปร่างสัตว์และมนุษย์ที่หลากหลาย ภาพดังกล่าวบางภาพ เช่น ดวงดาวและฝูงวัว ซึ่งชวนให้นึกถึงลักษณะสำคัญของศาสนาอียิปต์ในช่วงเวลาต่อมา แต่ในกรณีส่วนใหญ่ ไม่ปรากฏหลักฐานเพียงพอที่จะอธิบายว่าภาพเหล่านั้นเกี่ยวข้องกับเทพเจ้าหรือไม่ เมื่อสังคมอียิปต์เจริญเติบโตขึ้น สัญลักษณ์ที่ชัดเจนของกิจกรรมทางศาสนาก็ปรากฏขึ้น[14] วิหารที่เก่าแก่ที่สุดที่ทราบนั้นปรากฏในช่วงศตวรรษสุดท้ายของสมัยก่อนยุคราชวงศ์[15] พร้อมกับภาพที่คล้ายกับสัญลักษณ์ของเทพเจ้า เช่น นกเหยี่ยว ซึ่งเป็นตัวแทนของเทพฮอรัสและเทพเจ้าอื่นๆ หลายพระองค์ สัญลักษณ์ลูกศรไขว้ที่หมายถึงเทพีนิอิธ[16] และ "สัตว์เซธ" อันลึกลับก็แสดงถึงเทพเซธ[17]

Crude stone statue of a baboon
รูปสลักเทพเฮดจ์-เวอร์ ซึ่งเป็นเทพเจ้าลิงบาบูน ที่ปรากฏพระนามของฟาโรห์นาร์เมอร์

นักไอยคุปต์วิทยาและนักมานุษยวิทยาหลายคนได้เสนอข้อสันนิษฐานเกี่ยวกับพัฒนาการของเทพเจ้าในสมัยแรก ๆ นี้[18]ตัวอย่างเช่น กุสตาฟ เยควิเออร์ เชื่อว่าชาวอียิปต์นับถือเครื่องรางดั้งเดิมมาเป็นอันดับแรก จากนั้นจึงนับถือเทพเจ้าในร่างสัตว์ และสุดท้ายก็นับถือเทพเจ้าในร่างมนุษย์ ในขณะที่เฮนรี แฟรงฟอร์ทได้โต้แย้งว่าเทพเจ้าจะต้องถูกจินตนาการให้อยู่ในร่างมนุษย์มาตั้งแต่ต้นแล้ว[16] ข้อสันนิษฐานเหล่านี้บางส่วนถูกมองว่าสรุปง่ายเกินไป[19] และข้อสันนิษฐานอื่น ๆ ในปัจจุบัน เช่น สมมติฐานของซิกฟรีด โมเรนซ์ ที่ว่าเทพถือกำเนิดขึ้นเมื่อมนุษย์เริ่มแยกแยะตัวเองออกจากสิ่งแวดล้อม และเพื่อ 'แสดงตัวตน' ความคิดเกี่ยวกับเทพ ซึ่งทฤษฎีดังกล่าวนั้นกลับพิสูจน์ได้ยาก[16]

อียิปต์ในช่วงสมัยก่อนยุคราชวงศ์นั้นเดิมที่แล้วประกอบด้วยหมู่บ้านเล็กๆ ที่อยู่อย่างอิสระ[20] ทำให้เทพเจ้าหลายพระองค์ในช่วงเวลาต่อมามีความผูกผันอย่างมากกับเฉพาะแต่ละเมืองและภูมิภาค นักวิชาการหลายคนเสนอความเห็นว่าวิหารแพนธีออนก่อตัวขึ้น เมื่อชุมชนที่แตกต่างกันรวมกันเป็นรัฐที่ใหญ่ขึ้น แพร่กระจายและผสมผสานการบูชาเทพเจ้าในท้องถิ่นแบบเก่า ส่วนคนอื่นก็ได้โต้แย้งว่าเทพเจ้าที่สำคัญที่สุดในช่วงสมัยก่อนยุคราชวงศ์ก็เหมือนกับองค์ประกอบอื่นๆ ของวัฒนธรรมอียิปต์มีอยู่ทั่วพื้นที่ ถึงแม้จะมีความแตกแยกทางการเมืองก็ตาม[21]

ช่วงสุดท้ายในการก่อตัวของศาสนาอียิปต์โบราณ คือ การรวมอาณาจักรอียิปต์เข้าด้วยกัน ซึ่งผู้ปกครองจากอียิปต์บนได้ทรงตั้งพระองค์เป็นฟาโรห์ปกครองทั้งอาณาจักร[14] กษัตริย์ผู้ศักดิ์สิทธิ์และผู้ใต้บังคับบัญชาดังกล่าวได้ทรงถือสิทธิ์ในการติดต่อกับเทพเจ้า[22] และความเป็นกษัตริย์ก็กลายเป็นจุดรวมของศาสนา[14]

เทพพระองค์ใหม่ได้ปรากฏขึ้นอย่างต่อเนื่องหลังจากการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว เทพสำคัญบางพระองค์เช่น ไอซิสและอามุน ซึ่งไม่เคยปรากฏมาก่อนจนกระทั่งมาปรากฏในช่วงสมัยราชอาณาจักรเก่า (ประมาณ 2686–2181 ปีก่อนคริสตกาล)[23] สถานที่และแนวคิดสามารถสร้างแรงบันดาลใจในการสร้างเทพเจ้าเพื่อเป็นตัวแทน[24] และบางครั้งเทพเจ้าก็ถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นเพศตรงข้ามกับเทพหรือเทพีที่เป็นที่เคารพบูชา[25] กษัตริย์ได้รับการกล่าวขานว่าเป็นพระเจ้า ถึงแม้ว่าจะมีเพียงไม่กี่พระองค์เท่านั้นที่ยังคงได้รับการเคารพบูชาต่อไปอีกนานหลังจากการเสด็จสวรรคต สามัญชนบางคนก็ได้รับการกล่าวขานว่าเป็นที่โปรดปรานของเทพเจ้าและได้รับการเคารพตามนั้น[26] ความเลื่อมใสดังกล่าวมักจะอยู่เป็นระยะเวลาสั้น ๆ แต่สถาปนิกในราชสำนักอย่างอิมโฮเทปและอเมนเอมฮัต บุตรแห่งฮาปุ กลับได้รับการบูชาว่าเป็นเทพเจ้าเป็นระยะเวลาหลายศตวรรษหลังจากมรณกรรม[27] เช่นเดียวกับขุนนางคนอื่นๆ[28]

ชาวอียิปต์ยังรับเอาเทพเจ้าจากต่างแดนด้วยการติดต่อกับอารยธรรมใกล้เคียง เทพเดดูน ซึ่งถูกกล่าวถึงเป็นครั้งแรกในสมัยราชอาณาจักรเก่า ซึ่งอาจจะมีที่มาจากนิวเบีย และเทพเจ้าบาอัล, เทพีอะนัต และเทพีอัสตาร์เต และเทพเจ้าอื่น ๆ ซึ่งเป็นเทพเจ้าจากศาสนาคานาอันที่รับเข้ามาในช่วงสมัยราชอาณาจักรใหม่ (ประมาณ 1550 – 1070 ปีก่อนคริสตกาล)[29] ในสมัยกรีกและโรมัน ตั้งแต่ 332 ปีก่อนคริสตกาลจนถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ อียิปต์ได้นับถือเทพเจ้าจากดินแดนบริเวณทะเลเมดิเตอร์เรเนียน แต่ยังคงบูชาเทพเจ้าพื้นเมืองอยู่ และบ่อยครั้งที่จะรับเอาลัทธิของผู้มาใหม่ดังกล่าวมาใช้ในการบูชาของตนเอง[30]

ลักษณะเฉพาะเทพเจ้าอียิปต์โบราณ[แก้]

ความรู้ในสมัยใหม่ที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อของชาวอียิปต์เกี่ยวกับเทพเจ้าส่วนใหญ่มาจากงานเขียนทางศาสนาที่บันทึกโดยอาลักษณ์และนักบวช ซึ่งผู้คนเหล่านี้เป็นชนชั้นสูงของสังคมอียิปต์และแตกต่างจากประชาชนทั่วไป ซึ่งส่วนใหญ่แล้วไม่รู้หนังสือ และไม่ค่อยทราบว่าประชากรในวงกว้างนี้รู้หรือเข้าใจความคิดที่ซับซ้อนที่ชนชั้นสูงที่พัฒนาขึ้นได้ดีเพียงใด[31] การรับรู้ของคนทั่วไปเกี่ยวกับพระเจ้าอาจจะแตกต่างในแต่ละนักบวช ประชาชนอาจจะนำมาปฏิบัติต่อข้อความเชิงสัญลักษณ์ของศาสนาเกี่ยวกับเทพเจ้าและการกระทำว่าเป็นความจริงโดยแท้[32] แต่โดยรวมแล้ว สิ่งที่ไม่ค่อยมีใครทราบเกี่ยวกับความเชื่อทางศาสนาที่เป็นที่นิยมนั้นได้สอดคล้องกับประเพณีของชนชั้นสูง ทั้งสองประเพณีก่อให้เกิดวิสัยทัศน์ที่เหนียวแน่นของเทพเจ้าและธรรมชาติของเทพเจ้า[33]

บทบาท[แก้]

เทพีไอซิสทรงเป็นพระเทพีมารดาและผู้ทรงอุปถัมภ์ของกษัตริย์ จากรูปทรงอุ้มฟาโรห์เซติที่ 1ไว้บนพระเพลาของพระองค์
เทพีมุตกำลังทรงพยาบาลฟาโรห์เซติที่ 1 ตามที่ปรากฏบนจารึกในห้องโถงอันโอ่อ่าห้องที่สองของวิหารเก็บพระบรมศพของพระองค์ในอไบดอส

ตัวอย่างเทพในศาสนาฮินดู (จากบน): พระวิษณุ พระพิฆเนศ พระศิวะ พระทุรคา พระกาลี และพระสรัสวดี เทพอียิปต์ส่วนใหญ่เป็นตัวแทนของปรากฏการณ์ทางธรรมชาติหรือทางสังคม ซึ่งกล่าวกันโดยทั่วไปว่าเทพเจ้าทั้งหลายไม่ดำรงอยู่ในปรากฏการณ์ดังกล่าว แต่จะสถิตอยู่ในธรรมชาติแทน[34] ประเภทของปรากฏการณ์ที่เทพเจ้าทรงเป็นตัวแทนนั้น ได้แก่ สถานที่และวัตถุทางกายภาพ ตลอดจนแนวคิดและแรงที่เป็นนามธรรม[35] เช่น เทพชู ซึ่งเป็นเทพเจ้าแห่งอากาศทั้งหมดของโลก เทพีเมเรตเซเกอร์ ซึ่งทรงปกครองพื้นที่สุสานหลวงแห่งธีบส์ และเทพซิอา ซึ่งทรงเป็นบุคลาธิษฐานของการรับรู้ที่เป็นนามธรรม[36] เทพเจ้าที่สำคัญมักเกี่ยวข้องกับปรากฏการณ์หลายประเภท ตัวอย่างเช่น เทพคนุมทรงเป็นเทพเจ้าแห่งเกาะเอเลแฟนไทน์ที่อยู่ท่ามกลางแม่น้ำไนล์ ซึ่งเป็นแม่น้ำที่มีความสำคัญต่ออารยธรรมอียิปต์ พระองค์ได้รับการยกย่องจากการสร้างน้ำท่วมในแม่น้ำไนล์ประจำปี ซึ่งให้ปุ๋ยแก่พื้นที่เพาะปลูกของดินแดนอียิปต์ และบางทีอาจจะเป็นผลพลอยได้จากที่ทรงมีหน้าที่ให้ชีวิต ว่ากันว่าพระองค์ทรงสร้างสิ่งมีชีวิตทั้งหมดโดยปั้นรูปร่างของสิ่งมีชีวิตเหล่านั้นบนวงล้อของช่างปั้นหม้อ[37] เทพเจ้าสามารถมีส่วนร่วมในบทบาทเดียวกันในธรรมชาติ เช่น เทพรา, เทพอาตุม, เทพเคปริ, เทพฮอรัส และเทพอื่น ๆ ทำหน้าที่เป็นเทพแห่งดวงอาทิตย์[38] ถึงแม้ว่าจะมีหน้าที่หลากหลาย แต่เทพเจ้าส่วนใหญ่ก็มีบทบาทสำคัญเหมือนกัน นั่นคือการรักษามาอัต ซึ่งเป็นระเบียบสากลที่เป็นหลักการสำคัญของศาสนาอียิปต์โบราณและทรงเป็นบุคลาธิษฐานในฐานะเทพี[39] ถึงกระนั้นเทพบางพระองค์ก็เป็นตัวแทนของการรบกวนมาอัต โดยเทพที่โดดเด่นที่สุด คือ เทพอะเปป ซึ่งเป็นพลังแห่งความโกลาหล และคุกคามอย่างต่อเนื่องที่จะทำลายล้างระเบียบของจักรวาล และเทพเซธ เป็นเทพที่คลุมเครือของสังคมศักดิ์สิทธิ์ที่สามารถต่อสู้กับความวุ่นวายและปลุกระดมความวุ่นวายได้[40]

ไม่ใช่ทุกทุกสิ่งถูกมองว่าเป็นเทพเจ้า ถึงแม้ว่าเทพเจ้าหลายพระองค์จะเกี่ยวข้องกับแม่น้ำไนล์ แต่กลับไม่ปรากฏเทพเจ้าพระองค์ใดที่แสดงให้เห็นในลักษณะที่เทพราทรงเป็นบุคลาธิษฐานของพระอาทิตย์[41] และปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นระยะเวลาสั้นๆ เช่น ปรากฏการณ์รุ้งกินน้ำหรือสุริยุปราคาก็ไม่ได้เป็นตัวแทนใดของเทพเจ้า[42] รวมทั้งไฟ น้ำ หรือส่วนประกอบอื่นๆ ของโลก[43]

บทบาทของเทพแต่ละพระองค์นั้นมีความลื่นไหล และเทพแต่ละพระองค์ก็ทรงสามารถพัฒนาธรรมชาติเพื่อรับลักษณะใหม่ได้ เป็นผลให้บทบาทของเทพเจ้าเป็นเรื่องยากที่จะจัดหมวดหมู่หรือให้คำจำกัดความ ถึงแม้จะมีความลื่นไหลในบทบาท แต่เหล่าทวยเทพก็ทรงมีความสามารถและอิทธิพลที่จำกัด แม้แต่เทพเจ้าผู้สร้างก็ทรงไม่สามารถไปถึงขอบเขตของจักรวาลที่พระองค์ทรงสร้างขึ้นมาได้ และแม้แต่เทพีไอซิส แม้ว่าพระองค์จะถูกกล่าวว่าเป็นเทพเจ้าที่ฉลาดที่สุด แต่ก็กลับไม่ได้เป็นสัพพัญญู (ผู้รู้ทุกสิ่งทุกอย่าง)[44] อย่างไรก็ตาม ริชาร์ด เอช. วิลกินสันได้โต้แย้งว่าข้อความบางส่วนจากสมัยราชอาณาจักรใหม่ตอนปลายที่บันทึกว่า เมื่อความเชื่อเกี่ยวกับเทพเจ้าอามุนได้พัฒนาขึ้น พระองค์กลับทรงมีความคิดที่จะเข้าใกล้ความเป็นสัพพัญญูและอุตรภาพ (การอยู่ทั่วไปทุกหนทุกแห่ง) และก้าวข้ามขีดจำกัดของโลกในแบบที่เทพเจ้าพระองค์อื่นทำไม่ได้[45]

เทพเจ้าที่ทรงมีขอบเขตจำกัดและเชี่ยวชาญที่สุด มักจะเรียกว่า "เทพเจ้ารอง" หรือ "ปีศาจ" ในงานเขียนสมัยใหม่ ถึงแม้ว่าจะไม่มีคำจำกัดความที่ชัดเจนสำหรับคำศัพท์เหล่านี้ก็ตาม[46] ปีศาจบางตัวได้เป็นผู้พิทักษ์สถานที่บางแห่ง โดยเฉพาะในดูอัต ซึ่งเป็นดินแดนแห่งความตาย ผู้อื่นที่ท่องไปในโลกมนุษย์และดูอัต ไม่ว่าจะเป็นคนรับใช้และผู้ส่งสารของเทพเจ้าที่ยิ่งใหญ่กว่าหรือเป็นวิญญาณเร่ร่อนที่ก่อให้เกิดความเจ็บป่วยหรือความโชคร้ายอื่น ๆ ในหมู่มวลมนุษย์[47] ส่วนตำแหน่งของปีศาจในลำดับชั้นของเทพเจ้านั้นไม้ได้ถูกจำกัด เดิมทีแล้วเทพผู้คุ้มครองอย่างเบสและทาเวเรต ซึ่งทรงมีบทบาทเล็กน้อยที่มีลักษณะคล้ายปีศาจ แต่เมื่อเวลาผ่านไปก็กลับได้รับอิทธิพลเป็นอย่างมาก[46] และสิ่งที่น่ากลัวที่สุดในดูอัต ซึ่งถูกมองว่าน่ารังเกียจและเป็นอันตรายต่อมนุษย์[48] ตลอดประวัติศาสตร์อียิปต์ก็ถูกมองว่าเป็นสมาชิกที่ต่ำต้อยโดยพื้นฐานในสังคมแห่งสวรรค์[49] และเป็นตัวแทนที่ตรงกันข้ามกับเทพเจ้าหลักที่เป็นประโยชน์และเป็นผู้ทรงให้ชีวิต[48] ถึงกระนั้นเทพผู้เป็นที่เคารพสูงสุดในบางครั้งยังสามารถแก้แค้นมนุษย์หรือเทพเจ้าซึ่งกันและกันได้ โดยแสดงด้านที่เหมือนกับปีศาจและทำให้ขอบเขตระหว่างปีศาจกับเทพเจ้าจางไป[50]

พฤติกรรม[แก้]

เชื่อว่าพฤติกรรมของพระเจ้าจะควบคุมธรรมชาติทั้งหมด[51] ยกเว้นเทพเจ้าเพียงไม่กี่พระองค์ที่จะทำลายระเบียบสวรรค์[40] การกระทำของเหล่าทวยเทพยังคงรักษามาอัตและสร้างและค้ำจุนสิ่งมีชีวิตทั้งหมด[39] เหล่าทวยเทพทรงกระทำเช่นนี้โดยทรงใช้กำลังที่ชาวอียิปต์เรียกว่า เฮคา ซึ่งเป็นคำที่มักแปลว่า "เวทมนตร์" โดยที่เฮคาเป็นพลังพื้นฐานที่เทพเจ้าผู้สร้างใช้สร้างโลกและตัวของเทพเจ้าเอง[52]

Fresco of a woman with stars on her body and a red sun near her mouth
เทพีนุต ผู้ทรงเป็นเทพีแห่งท้องฟ้า ทรงกลืนดวงอาทิตย์ ซึ่งเดินทางผ่านร่างกายของพระองค์ในเวลากลางคืนเพื่อไปเกิดใหม่ในตอนเช้า

การกระทำของเทพเจ้าในปัจจุบันได้รับการอธิบายและยกย่องในเพลงสวดและข้อความเกี่ยวกับพิธีศพ[53] ในทางตรงกันข้าม เทพปกรณัมส่วนใหญ่ที่เกี่ยวข้องกับการกระทำของเหล่าทวยเทพในช่วงอดีตที่จินตนาการอย่างคลุมเครือ ซึ่งทวยเทพที่สถิตอยู่บนโลกและมีปฏิสัมพันธ์โดยตรงกับมนุษย์ เหตุการณ์ในครั้งอดีตดังกล่าวได้กำหนดรูปแบบสำหรับเหตุการณ์ในปัจจุบัน เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นระยะเชื่อมโยงกับเหตุการณ์ในอดีตที่เป็นตำนาน การสืบราชสันตติวงศ์ของฟาโรห์พระองค์ใหม่แต่ละองค์เป็นการจำลองการขึ้นครองพระราชบัลลังก์ของเทพโอซิริสผู้เป็นบิดาอีกครั้งของเทพฮอรัส[54]

ตำนานเป็นคำอุปมาสำหรับการกระทำของเทพเจ้า ซึ่งมนุษย์ไม่สามารถเข้าใจได้ทั้งหมด ซึ่งปรากฏความคิดที่ดูเหมือนขัดแย้งกัน โดยแต่ละตำนานได้แสดงมุมมองเฉพาะเกี่ยวกับเหตุการณ์อันศักดิ์สิทธิ์ ความขัดแย้งในตำนานเป็นส่วนหนึ่งของความเชื่อทางศาสนาของชาวอียิปต์ที่มีหลายแง่มุม ซึ่งเป็นสิ่งที่เฮนรี แฟรงก์ฟอร์ตเรียกว่า "แนวทางที่หลากหลาย" เพื่อทำความเข้าใจเทพเจ้า[55] ในตำนานเทพเจ้ามีพฤติกรรมเหมือนมนุษย์มาก เหล่าทวยเทพสามารถรู้สึกถึงอารมณ์ กิน ดื่ม ต่อสู้ ร้องไห้ เจ็บป่วย และตายได้[56] บางพระองค์ก็ทรงมีลักษณะนิสัยเฉพาะพระองค์[57] เช่น เทพเซธที่ทรงก้าวร้าวและหุนหันพลันแล่น และเทพธอธ ผู้ทรงอุปถัมภ์งานเขียนและความรู้ ทรงมีแนวโน้มที่จะใช้สุนทรพจน์ยืดยาว แต่โดยรวมแล้ว เหล่าทวยเทพเป็นเหมือนแม่แบบมากกว่าตัวละครที่วาดมาอย่างดี[58] ตำนานในรุ่นที่ต่างกันก็สามารถพรรณนาถึงเทพต่างๆ ที่มีบทบาทตามแบบฉบับเดียวกันได้ ดังเช่นในตำนานเรื่องพระเนตรแห่งรา ซึ่งเป็นลักษณะสตรีของเทพแห่งดวงอาทิตย์ ซึ่งมีเทพีหลายพระองค์เป็นตัวแทน[59] พฤติกรรมที่เป็นเทพปกรณัมไม่สอดคล้องกัน และความคิดและแรงจูงใจของเหล่าทวยเทพกลับไม่ค่อยมีการกล่าวถึง[60] นิทานปรัมปราส่วนใหญ่ไม่ปรากฏตัวละครและโครงเรื่องที่มีการพัฒนาอย่างสูง เนื่องจากความหมายเชิงสัญลักษณ์นั้นมีความสำคัญมากกว่าการเล่าเรื่องที่ละเอียดซับซ้อน[61]

การกระทำอันศักดิ์สิทธิ์ประการแรก คือ การสร้างจักรวาล ซึ่งอธิบายไว้ในตำนานการสร้างโลกหลายเรื่อง โดยมุ่งเน้นไปที่เทพเจ้าที่แตกต่างกัน ซึ่งแต่ละพระองค์อาจจะทำหน้าที่เป็นเทพผู้สร้าง[62] เช่น เทพเจ้าทั้งแปดของอ็อกโดอัด ซึ่งเป็นตัวแทนของความโกลาหลที่เกิดขึ้นก่อนการสร้างโลก ได้ทรงให้กำเนิดเทพเจ้าแห่งดวงอาทิตย์ ผู้ซึ่งสร้างระเบียบในโลกที่ก่อตัวขึ้นใหม่ เทพพทาห์ ผู้รวบรวมความคิดและความคิดสร้างสรรค์ ทรงสร้างรูปแบบให้กับทุกสิ่งโดยการจินตนาการและตั้งชื่อสิ่งเหล่านั้น[63] เทพอาตุม ทรงสร้างทุกสิ่งโดยการปล่อยให้งอกออกมาจากตัวพระองค์เอง[3] และเทพอามุนตามเทววิทยาที่ได้รับการสนับสนุนโดยปุโรหิตของพระองค์ ผู้ทรงก่อนกาลและทรงสร้างเทพผู้สร้างพระองค์อื่นๆ[64] เหตุการณ์การสร้างเหล่านี้และรูปแบบอื่นๆ ไม่ถูกมองว่าขัดแย้งกัน แต่ละคนได้ให้มุมมองที่แตกต่างกันเกี่ยวกับกระบวนการที่ซับซ้อนซึ่งจักรวาลที่มีการจัดระเบียบและเทพจำนวนมากเกิดขึ้นจากความโกลาหลที่ไม่แตกต่างกัน[65] ช่วงเวลาหลังการทรงสร้างโลก ซึ่งเทพเจ้าหลายพระองค์ปกครองในฐานะกษัตริย์เหนือสังคมแห่งสวรรค์ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของตำนานส่วนใหญ่ เหล่าทวยเทพต่อสู้กับกองกำลังแห่งความโกลาหลและระหว่างกันก่อนที่จะถอนตัวออกจากโลกมนุษย์และแต่งตั้งกษัตริย์ในประวัติศาสตร์ของอียิปต์ขึ้นปกครองแทน[66]

เรื่องราวที่เกิดขึ้นซ้ำๆ ในตำนานเหล่านี้ คือ ความพยายามของเหล่าทวยเทพในการดูแลรักษามาอัตจากพลังแห่งความยุ่งเหยิง เหล่าทวยเทพต่อสู้กับการต่อสู้ที่เลวร้ายด้วยกองกำลังแห่งความโกลาหลในช่วงเริ่มต้นของการสร้างโลก ส่วนเทพราและเทพอะเปปทรงต่อสู้กันทุกคืน และการต่อสู้ดังกล่าวก็ดำเนินต่อไปจนถึงปัจจุบัน[67] ประเด็นสำคัญอีกประการหนึ่ง คือ ความตายและการฟื้นคืนชีพของเหล่าทวยเทพ ตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุดที่เทพเจ้าสิ้นพระชนม์ คือ ตำนานเกี่ยวกับการลอบพระชนม์ของเทพโอซิริส ซึ่งทรงฟื้นคืนชีพในฐานะผู้ปกครองแห่งดูอัต[68][Note 1] และยังกล่าวกันว่าเทพแห่งดวงอาทิตย์ทรงชราขึ้นในระหว่างการเดินทางข้ามฟากฟ้าในแต่ละวัน และจมลงไปใน ดูอัตในเวลากลางคืนและทรงกลายเป็นเด็กในตอนเช้า ในกระบวนการดังกล่าว พระองค์ได้สัมผัสกับน้ำแห่งการฟื้นฟูของเทพนูน ซึ่งเป็นความโกลาหลในสมัยแรกเริ่ม ข้อความเกี่ยวกับพิธีศพที่ได้บรรยายถึงการเดินทางของเทพราผ่านดินแดนดูอัตยังได้แสดงให้เห็นซากศพของเทพเจ้าที่ฟื้นคืนชีพไปพร้อมกับพระองค์ด้วย แทนที่จะเป็นอมตะอย่างไม่มีวันเปลี่ยนแปลง เหล่าทวยเทพมักจะตายและเกิดใหม่ตามเหตุการณ์การสร้างซ้ำๆ ซึ่งได้สร้างโลกทั้งใบขึ้นใหม่[69] อย่างไรก็ตาม เป็นไปได้เสมอที่วัฏจักรนี้จะหยุดชะงักและความวุ่นวายจะกลับมา ตำราอียิปต์บางเล่มที่เข้าใจได้ไม่ดีถึงกับบันทึกว่าภัยพิบัติดังกล่าวถูกกำหนดไว้แล้วว่าสักวันหนึ่งเทพเจ้าผู้สร้างจะสลายระเบียบของโลก เหลือเพียงตัวพระองค์เองและเทพโอซิริสท่ามกลางความโกลาหลในสมัยบรรพกาล[70]

สถานที่[แก้]

Relief showing four people with varying sets of hieroglyphs on their heads
เทพที่เป็นตัวแทนของเขตปกครองท้องถิ่นต่างๆ ของอียิปต์

เทพเจ้าได้เชื่อมโยงกับภูมิภาคเฉพาะของจักรวาล ตามความเชื่อของชาวอียิปต์ โลกประกอบด้วยดิน ท้องฟ้า และยมโลก สิ่งรอบตัวคือความไร้รูปแบบอันมืดมนที่มีอยู่ก่อนการสร้างโลก[71] กล่าวกันว่าเทพเจ้าโดยทั่วไปอาศัยอยู่บนท้องฟ้า ถึงแม้ว่าเทพเจ้าที่ทรงมีบทบาทเชื่อมโยงกับส่วนอื่น ๆ ของจักรวาลจะอาศัยอยู่ในสถานที่เหล่านั้นแทน เหตุการณ์ในตำนานส่วนใหญ่เกิดขึ้นในช่วงเวลาก่อนที่เทพเจ้าจะถอนตัวจากอาณาจักรมนุษย์ โดยเกิดขึ้นในสภาพแวดล้อมบนโลก เทพเจ้าในที่แห่งนั่นบางครั้งมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ที่อยู่บนท้องฟ้า ตรงกันข้าม ยมโลกถือเป็นสถานที่ห่างไกลและไม่สามารถเข้าถึงได้ และเทพเจ้าที่อาศัยอยู่ที่นั่นมีปัญหาในการสื่อสารกับผู้ที่อยู่ในโลกของสิ่งมีชีวิต[72] พื้นที่นอกจักรวาลยังกล่าวได้ว่าห่างไกลมาก ซึ่งก็เป็นที่อยู่ของเทพเช่นกัน บางพระองค์เป็นศัตรูและบางพระองค์ก็เป็นมิตรต่อเทพอื่น ๆ และโลกที่เป็นระเบียบ[73]

ในช่วงเวลาหลังตำนานกล่าวกันว่า เทพเจ้าส่วนใหญ่ทรงอยู่บนท้องฟ้าหรืออยู่ในโลกที่มองไม่เห็น วิหารถือเป็นสื่แกลางหลักในการติดต่อกับมนุษย์ ในแต่ละวัน เชื่อกันว่า เหล่าทวยเทพจะย้ายจากแดนสวรรค์มายังวิหารอันเป็นที่อยู่ของพระองค์ในโลกมนุษย์ ที่นั่นเหล่าทวยเทพทรงอาศัยอยู่ในรูปเคารพบูชา รูปสลักที่แสดงถึงเทพเจ้าและอนุญาตให้มนุษย์มีปฏิสัมพันธ์กับพระองค์ในพิธีกรรมของวิหาร การย้ายไปมาระหว่างอาณาจักรเช่นนี้บางครั้งถูกอธิบายว่าเป็นการเดินทางระหว่างท้องฟ้าและโลก เนื่องจากวิหารเป็นจุดศูนย์กลางของเมืองอียิปต์ เทพเจ้าในวิหารหลักของเมืองจึงเป็นเทพผู้ทรงอุปถัมภ์ของเมืองและบริเวณโดยรอบ[74] ขอบเขตอิทธิพลของเทพเจ้าบนโลกมีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองและภูมิภาคที่พระองค์ทรงปกครอง[71] เทพเจ้าหลายพระองค์ทรงมีศูนย์กลางลัทธิบูชามากกว่าหนึ่งแห่งและความสัมพันธ์ในท้องถิ่นของพระองค์ก็เปลี่ยนไปตามกาลเวลา พระองค์ทรงสามารถจัดตั้งพระองค์เองในเมืองใหม่หรือขอบเขตอิทธิพลของพระองค์อาจจะลดขนาดลง ดังนั้น ศูนย์กลางลัทธิหลักของเทพพระองค์ใดพระองค์หนึ่งในสมัยประวัติศาสตร์ จึงไม่จำเป็นต้องเป็นแหล่งกำเนิดของเทพพระองค์นั้นเสมอไป[75] อิทธิพลทางการเมืองของเมืองอาจจะส่งผลต่อความสำคัญของเทพผู้ทรงอุปถัมภ์ เมื่อกษัตริย์จากธีบส์เข้าควบคุมประเทศในช่วงเริ่มต้นของสมัยราชอาณาจักรกลาง (ประมาณ 2055 – 1650 ปีก่อนคริสตกาล) ก็ทรงได้ยกระดับเทพเจ้าผู้ทรงอุปถัมภ์ของธีบส์ อันดับแรกคือเทพเจ้าแห่งสงครามนามว่า มอนตู และจากนั้นก็เป็นเทพอามุนให้เป็นที่เคารพบูชาทั่วพระราชอาณาจักร[76]

พระนามและฉายา[แก้]

ในความเชื่อของชาวอียิปต์ ชื่อจะแสดงถึงลักษณะพื้นฐานของสิ่งที่พวกเขาอ้างถึง เพื่อให้สอดคล้องกับความเชื่อดังกล่าว พระนามของเทพเจ้าก็มักจะเกี่ยวข้องกับบทบาทหรือต้นกำเนิดของพระองค์ เช่น พระนามของเทพีแห่งผู้ล่าพระนามว่า เซคเมต (Sekhmet) หมายถึง "ผู้ทรงพลัง" พระนามของเทพเจ้าลึกลับอย่างเทพอามุน หมายถึง "ผู้ซ่อนเร้น" และพระนามของเทพีเนคเบต ซึ่งได้รับการบูชาในเมืองเนเคบ หมายถึง "พระองค์แห่งเนเคบ" ส่วนพระนามอื่น ๆ มากมายไม่มีความหมาย ถึงแม้ว่าเทพเจ้าจะทรงเชื่อมโยงอย่างใกล้ชิดกับบทบาทเพียงบทบาทเดียว เช่น พระนามของเทพีแห่งท้องฟ้าพระนามว่า นุต และเทพเกบ ซึ่งเป็นเทพเจ้าแห่งดินที่ไม่ปรากฏพระนามที่พ้องกับคำศัพท์อียิปต์ของท้องฟ้าและพื้นดิน[77]

สำเนาของข้อความขนาดสั้นจากบันทึกปาปิรุสแห่งอานิได้แสดงภาพเทพเซเคอร์-โอซิริส ทรงประทับยืนอยู่ในศาลเจ้า

ชาวอียิปต์ยังคิดค้นประดิษฐ์คำ ซึ่งให้ความหมายเพิ่มเติมแก่พระนามอันศักดิ์สิทธิ์[77] ข้อความในข้อความโลงศพได้บันทึกพระนามของเทพเจ้าแห่งพิธีศพ คือ เทพโซคาร์ (Soka) เป็น sk r ซึ่งหมายถึง "การทำความสะอาดปาก" เพื่อเชื่อมโยงพระนามของพระองค์กับบทบาทของพระองค์ในพิธีกรรมเปิดปาก[78] ในขณะที่หนึ่งในข้อความพีระมิด กล่าวว่าพระนามดังกล่าวมาจากคำที่เทพโอซิริสตะโกนในช่วงเวลาแห่งความทุกข์ใจ โดยเชื่อมโยงให้เทพโซคาร์เป็นเทพเจ้าแห่งพิธีศพที่สำคัญที่สุด[79]

เชื่อกันว่าเทพเจ้าทรงมีหลายพระนาม ในหมู่ทวยเทพต่างก็มีพระนามลับที่สื่อถึงธรรมชาติที่แท้จริงอย่างลึกซึ้งกว่าพระองค์อื่นๆ หากต้องการทราบพระนามที่แท้จริงของเทพเจ้าจะต้องมีอำนาจเหนือเทพนั้น ความสำคัญของพระนามก็ได้แสดงให้เห็นโดยตำนานที่เทพไอซิสทรงวางยาพิษเทพผู้เหนือกว่าอย่างเทพรา และปฏิเสธที่จะรักษาพระองค์เว้นแต่พระองค์จะเปิดเผยพระนามลับของพระองค์แก่พระนางไอซิส เมื่อทราบพระนามแล้ว พระองค์ก็ทรงบอกกับเทพฮอรัส เทพผู้ทรงเป็นพระโอรสของพระองค์ และเมื่อทราบพระนามดังกล่าวแล้ว ทั้งสองพระองค์ก็ทรงได้รับความรู้และพลังที่มากขึ้น[80]

นอกจากพระนามแล้ว เทพเจ้ายังได้รับฉายาต่างๆ เช่น "ผู้ครอบครองความสง่างาม" "เจ้าแห่งอไบดอส" หรือ "เจ้าแห่งท้องฟ้า" ซึ่งอธิบายลักษณะบางอย่างของบทบาทหรือการบูชา เนื่องจากทวยเทพทรงมีบทบาทที่หลากหลายและทับซ้อนกัน ทวยเทพสามารถมีฉายาได้หลายพระนาม โดยเฉพาะทวยเทพที่ทรงสำคัญกว่าจะได้รับฉายามากขึ้น และฉายาเดียวกันนี้ก็สามารถนำไปใช้กับเทพหลายพระองค์ได้เช่นกัน[81] ในที่สุดคำบางคำก็กลายเป็นเทพที่แตกต่างกัน[82] เช่นเดียวกับฉายา เวเรตเฮคาอู (Werethekau) ซึ่งเป็นคำที่ใช้เรียกเทพีหลายพระองค์ซึ่งมีความหมายว่า "แม่มดผู้ยิ่งใหญ่" ซึ่งจะได้รับการปฏิบัติบูชาเสมือนเป็นเทพีอิสระ[83] เทพเจ้าของพระนามและยศศักดิ์เป็นการแสดงออกถึงธรรมชาติอันหลากหลายของเทพเจ้า[84]

เพศและลักษณะทางเพศ[แก้]

เทพีนาอูเนตและเทพนูจากเดียร์ อัลเมดินา

ชาวอียิปต์ถือว่าการแบ่งแยกระหว่างเพศชายและเพศหญิงเป็นพื้นฐานของทุกสรรพสิ่ง รวมทั้งเทพเจ้าด้วย[85] เทพเจ้าที่ทรงเป็นบุรุษมักจะทรงมีสถานะที่สูงกว่าเทพีและมีความเกี่ยวพันอย่างใกล้ชิดกับการสร้างโลกและความเป็นกษัตริย์ ในขณะที่เทพีมักจะเชื่อว่าทรงเป็นเทพแห่งการช่วยเหลือและหล่อเลี้ยงมนุษย์เสียมากกว่า[86][87] เทพบางพระองค์ทรงเป็นเทพที่ทรงเป็นทั้งสองเพศ แต่ตัวอย่างส่วนใหญ่พบในบริบทของตำนานการสร้างโลก ซึ่งเทพเจ้าเหล่านี้เป็นตัวแทนของสถานะที่ปราศจากความแตกต่างที่ปรากฏอยู่ก่อนโลกถูกสร้างขึ้น[85] อ็อกโกอัด เป็นกลุ่มของเทพเจ้าในยุคบรรพกาลทั้งแปดพระองค์ล้วนมีรูปร่างที่เป็นสตรีและเป็นพระมเหสี เทพอาตุมซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะทรงมีความเป็นบุรุษแต่มีความเป็นผู้หญิงอยู่ในตัวพระองค์ด้วยเช่นกัน[88] ซึ่งบางครั้งทรงถูกมองว่าเป็นเทพี ซึ่งรู้จักกันในพระนาม อิอูซาอาเซต (Iusaaset) หรือ เนเบตเฮเทปเอต (Nebethetepet)[89] ซึ่งตำนานการสร้างโลกเริ่มต้นขึ้นเมื่อเทพอาตุมทรงสร้างเทพเจ้าคู่หนึ่งที่มีความแตกต่างทางเพศ คือ เทพชูและเทพีเทฟนุต ซึ่งเป็นพระมเหสีของพระองค์[85] ในทำนองเดียวกัน เทพีนิอิธ ซึ่งบางครั้งทรงถูกมองว่าเป็นเทพีผู้สร้าง และได้รับการกล่าวขานว่ามีลักษณะที่เป็นบุรุษ แต่ส่วนใหญ่แล้วมักมองว่าเป็นสตรี[88]

เพศสรีระและเพศวิถีนั้นมีความเกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดกับการสร้างโลกและการเกิดใหม่[90] โดยเชื่อว่าเทพเจ้าที่ทรงเป็นบุรุษทรงมีบทบาทอย่างแข็งขันในการให้กำเนิดบุตร และเทพสตรีมักจะถูกผลักไสให้มีบทบาทสนับสนุนในการกระตุ้นความเป็นชายของพระสวามีและเลี้ยงดูพระโอรสและพระธิดา ถึงแม้ว่าเทพีจะได้รับบทบาทที่ใหญ่กว่าในการให้กำเนิดแล้วในช่วงปลายประวัติศาสตร์อียิปต์[91] เทพีที่มีทำหน้าที่เป็นมารดาและภรรยาในตำนานของกษัตริย์และเป็นแบบอย่างของการเป็นพระราชินีของมนุษย์[92] เทพีฮัตฮอร์ ซึ่งเป็นพระมารดาหรือพระชายาของเทพฮอรัสและทรงเป็นเทพีที่สำคัญที่สุดในประวัติศาสตร์อียิปต์[93] พระองค์ทรงได้ยกตัวอย่างความสัมพันธ์ระหว่างเทพกับกษัตริย์[92]

เทพสตรีก็ยังมีแง่มุมที่รุนแรงที่สามารถมองได้ทั้งในแง่บวก เช่นเดียวกับเทพีวาดเจตและเทพีเนคเบตที่ทรงปกป้องกษัตริย์ หรือในแง่ลบ[94] อย่างเช่น ตำนานเรื่องพระเนตรแห่งรา ซึ่งเปรียบเทียบความก้าวร้าวของสตรีกับเรื่องเพศและการเลี้ยงดู ขณะที่เทพีเหล่านั้นออกอาละวาดในรูปแบบของเทพีเซคเมตหรือเทพที่อันตรายอื่น ๆ จนกระทั่งเทพเจ้าพระองค์อื่น ๆ ทรงเอาใจพระองค์ เมื่อถึงจุดนั้นเทพีก็ทรงกลายเป็นเทพีที่จิตใจดี เช่น เทพีฮัตฮอร์ ซึ่งในบางครั้งก็ทรงเป็นเช่นนั้น แล้วต่อมากก็ทรงกลายเป็นพระมเหสีของเทพเจ้าบุรุษ[95][96]

แนวคิดเรื่องเพศของชาวอียิปต์ได้เน้นหนักไปที่การสืบพันธุ์กับเพศตรงข้าม และการกระทำแบบรักร่วมเพศมักจะถูกไม่ยอมรับ ถึงแม้ว่าบางข้อความได้กล่าวถึงพฤติกรรมรักร่วมเพศระหว่างเทพบุรุษ[97] ในบางกรณี โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเทพเซธทรงล่วงละเมิดทางเพศเทพฮอรัส ซึ่งการกระทำเหล่านี้ใช้เพื่อยืนยันการครอบงำและทำให้ผู้ยอมจำนนอับอายขายหน้า การมีเพศสัมพันธ์ระหว่างเทพบุรุษพระองค์อื่นๆ อาจจะถูกมองในเชิงบวกและถึงแม้กระทั่งทรงให้กำเนิดลูกหลาน ดังเช่นในข้อความหนึ่งที่กล่าวว่าเทพคนุมทรงประสูติจากการรวมตัวกันของเทพราและเทพชู[98]

เชิงอรรถ[แก้]

  1. ตำราอียิปต์ไม่ได้ระบุอย่างชัดเจนว่าเทพโอซิริสสิ้นพระชนม์ และเทพเจ้าพระองค์อื่นก็เช่นเดียวกัน ชาวอียิปต์หลีกเลี่ยงการกล่าวโดยตรงเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่ไม่เป็นมงคล เช่น การตายของเทพผู้ให้ประโยชน์ อย่างไรก็ตาม ตำนานระบุชัดเจนว่าเทพโอซิริสถูกปลงพระชนม์ และหลักฐานชิ้นอื่นๆ เช่น การปรากฏตัวของพระบรมศพอันศักดิ์สิทธิ์ในดูอัต ซึ่งบ่งชี้ว่าเทพเจ้าอื่นๆ ก็ตายเช่นกัน ในช่วงสมัยปลายแห่งอียิปต์โบราณ (ราว 664–323 ปีก่อนคริสตกาล) ว่ากันว่าสถานที่ต่างๆ ทั่วอียิปต์เป็นสถานที่ฝังพระศพของเทพเจ้าพระองค์ใดพระองค์หนึ่งหนึ่ง[69]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 Allen 2014, p. 523.
  2. Wilkinson 2003, p. 72.
  3. 3.0 3.1 Allen 1999, pp. 44–54, 59.
  4. 4.0 4.1 4.2 Leitz 2004, pp. 393–394.
  5. Hornung 1982, p. 42.
  6. 6.0 6.1 Dunand & Zivie-Coche 2004, pp. 8–11.
  7. Wilkinson 2003, pp. 26–28.
  8. Baines 2001, p. 216.
  9. Hornung 1982, p. 62.
  10. Baines 2001, pp. 76–79.
  11. Assmann 2001, pp. 7–8, 83.
  12. Dunand & Zivie-Coche 2004, pp. 11–12.
  13. Wilkinson 1999, pp. 225–226.
  14. 14.0 14.1 14.2 Wilkinson 2003, pp. 12–15.
  15. Gundlach 2001, p. 363.
  16. 16.0 16.1 16.2 Traunecker 2001a, pp. 25–26.
  17. Hart 2005, p. 143.
  18. Silverman 1991, pp. 10–13.
  19. David 2002, p. 57.
  20. David 2002, p. 50.
  21. Wilkinson 1999, pp. 264–265.
  22. Traunecker 2001a, p. 29.
  23. Wilkinson 2003, pp. 92, 146.
  24. Hornung 1982, p. 74.
  25. Wilkinson 2003, p. 74.
  26. Wildung 1977, pp. 1–3, 31.
  27. Wildung 1977, pp. 31, 83.
  28. Baines 1991, pp. 158–159.
  29. Silverman 1991, p. 58.
  30. Frankfurter 2004, p. 160.
  31. Englund 1989a, pp. 9–10.
  32. Tobin 1989, p. 18.
  33. Englund 1989a, pp. 19–20, 26–27.
  34. Allen 2014, pp. 54–55.
  35. Dunand & Zivie-Coche 2004, p. 26.
  36. Hart 2005, pp. 91, 147.
  37. Hart 2005, pp. 85–86.
  38. David 2002, pp. 58, 227.
  39. 39.0 39.1 Tobin 1989, pp. 197–200.
  40. 40.0 40.1 Traunecker 2001a, pp. 85–86.
  41. Hornung 1982, pp. 77–79.
  42. Assmann 2001, p. 63.
  43. David 2002, pp. 57–58.
  44. Hornung 1982, pp. 98–99, 166–169.
  45. Wilkinson 2003, p. 39.
  46. 46.0 46.1 Meeks 2001, p. 375.
  47. Lucarelli 2010, pp. 2–5.
  48. 48.0 48.1 Frandsen 2011, pp. 59–62.
  49. Roccati 2011, pp. 93–96.
  50. Ritner 2011, pp. 3–5.
  51. Assmann 2001, p. 68.
  52. Hornung 1982, pp. 207–209.
  53. Assmann 2001, pp. 57–64.
  54. Pinch 2002, pp. 57, 68, 84, 86.
  55. Traunecker 2001a, pp. 10–12.
  56. Meeks & Favard-Meeks 1996, pp. 63, 70–72, 80.
  57. Wilkinson 2003, p. 31.
  58. Meeks & Favard-Meeks 1996, pp. 101–102, 107.
  59. Graves-Brown 2010, pp. 161, 169.
  60. Assmann 2001, p. 112.
  61. Tobin 1989, pp. 38–40.
  62. David 2002, pp. 81–83.
  63. Lesko 1991, pp. 91–96.
  64. Lesko 1991, pp. 104–106.
  65. Tobin 1989, pp. 58–59.
  66. Pinch 2002, pp. 76, 85.
  67. Meeks & Favard-Meeks 1996, pp. 16–17, 19–22.
  68. Meeks & Favard-Meeks 1996, pp. 21–22, 78–80.
  69. 69.0 69.1 Hornung 1982, pp. 152–162.
  70. Dunand & Zivie-Coche 2004, pp. 66–70.
  71. 71.0 71.1 Hornung 1982, pp. 166–169.
  72. Meeks & Favard-Meeks 1996, pp. 81–82, 87–90.
  73. Hornung 1982, pp. 178–182.
  74. Assmann 2001, pp. 17–19, 43–47.
  75. Silverman 1991, pp. 38–41.
  76. David 2002, pp. 154–155.
  77. 77.0 77.1 Hornung 1982, pp. 66–68, 72.
  78. Graindorge 2001, pp. 305–307.
  79. Wilkinson 2003, p. 210.
  80. Meeks & Favard-Meeks 1996, pp. 97–100.
  81. Hornung 1982, pp. 90–91.
  82. Budde 2011, pp. 6–7.
  83. Wilkinson 2003, p. 228.
  84. Hornung 1982, p. 86.
  85. 85.0 85.1 85.2 Hornung 1982, p. 171.
  86. Baines 2011, p. 52.
  87. Graves-Brown 2010, pp. 129–130.
  88. 88.0 88.1 Graves-Brown 2010, p. 164.
  89. Wilkinson 2003, pp. 150, 156.
  90. Troy 1986, pp. 20, 25.
  91. Graves-Brown 2010, p. 105.
  92. 92.0 92.1 Troy 1986, pp. 53–54.
  93. Pinch 2002, pp. 138–139.
  94. Graves-Brown 2010, pp. 36–37, 131.
  95. Graves-Brown 2010, pp. 169–170.
  96. Pinch 2002, p. 130.
  97. Graves-Brown 2010, pp. 99–100, 103.
  98. Meeks & Favard-Meeks 1996, pp. 68–69.

ผลงานที่อ้างถึง[แก้]

  • Allen, James P. (Jul–Aug 1999). "Monotheism: The Egyptian Roots". Archaeology Odyssey. 2 (3).
  • Allen, James P. (2014). Middle Egyptian: An Introduction to the Language and Culture of Hieroglyphs, Third Edition. Cambridge University Press. ISBN 978-1-107-05364-9.
  • Allen, James P. (2001). "Ba". ใน Redford, Donald B. (บ.ก.). The Oxford Encyclopedia of Ancient Egypt. Vol. 1. Oxford University Press. pp. 161–162. ISBN 978-0-19-510234-5.
  • Andrews, Carol A. R. (2001). "Amulets". ใน Redford, Donald B. (บ.ก.). The Oxford Encyclopedia of Ancient Egypt. Vol. 1. Oxford University Press. pp. 75–82. ISBN 978-0-19-510234-5.
  • Assmann, Jan (2001) [German edition 1984]. The Search for God in Ancient Egypt. Translated by David Lorton. Cornell University Press. ISBN 0-8014-3786-5.
  • Baines, John (2001) [First edition 1985]. Fecundity Figures: Egyptian Personification and the Iconology of a Genre. Griffith Institute. ISBN 978-0-8014-3786-1.
  • Baines, John (1991). "Society, Morality, and Religious Practice". ใน Shafer, Byron E. (บ.ก.). Religion in Ancient Egypt: Gods, Myths, and Personal Practice. Cornell University Press. pp. 123–200. ISBN 978-0-8014-9786-5.
  • Baines, John (2011). "Presenting and Discussing Deities in New Kingdom and Third Intermediate Period Egypt". ใน Pongratz-Leisten, Beate (บ.ก.). Reconsidering the Concept of Revolutionary Monotheism. Eisenbrauns. pp. 41–89. ISBN 978-1-57506-199-3.
  • Bonhême, Marie-Ange (2001). "Divinity". ใน Redford, Donald B. (บ.ก.). The Oxford Encyclopedia of Ancient Egypt. Vol. 1. Oxford University Press. pp. 401–406. ISBN 978-0-19-510234-5.
  • Borgeaud, Philippe (2004). "Deities and Demons: Introduction". ใน Johnston, Sarah Iles (บ.ก.). Religions of the Ancient World: A Guide. The Belknap Press of Harvard University Press. pp. 392–393. ISBN 978-0-674-01517-3.
  • Budde, Dagmar (2011). "Epithets, Divine". ใน Wendrich, Willeke (บ.ก.). UCLA Encyclopedia of Egyptology. Department of Near Eastern Languages and Cultures, UC Los Angeles. ISBN 978-0615214030. สืบค้นเมื่อ 4 April 2015.
  • David, Rosalie (2002). Religion and Magic in Ancient Egypt. Penguin. ISBN 978-0-14-026252-0.
  • Dunand, Françoise; Zivie-Coche, Christiane (2004) [French edition 1991]. Gods and Men in Egypt: 3000 BCE to 395 CE. Translated by David Lorton. Cornell University Press. ISBN 978-0-8014-8853-5.
  • Englund, Gertie (1989a). "Gods as a Frame of Reference: On Thinking and Concepts of Thought in Ancient Egypt". ใน Englund, Gertie (บ.ก.). The Religion of the Ancient Egyptians: Cognitive Structures and Popular Expressions. S. Academiae Ubsaliensis. pp. 7–27. ISBN 978-91-554-2433-6.
  • Englund, Gertie (1989b). "The Treatment of Opposites in Temple Thinking and Wisdom Literature". ใน Englund, Gertie (บ.ก.). The Religion of the Ancient Egyptians: Cognitive Structures and Popular Expressions. S. Academiae Ubsaliensis. pp. 77–87. ISBN 978-91-554-2433-6.
  • Enmarch, Roland (2008). "Theodicy". ใน Wendrich, Willeke (บ.ก.). UCLA Encyclopedia of Egyptology. Department of Near Eastern Languages and Cultures, UC Los Angeles. ISBN 978-0615214030. สืบค้นเมื่อ 4 April 2015.
  • Frandsen, Paul John (1989). "Trade and Cult". ใน Englund, Gertie (บ.ก.). The Religion of the Ancient Egyptians: Cognitive Structures and Popular Expressions. S. Academiae Ubsaliensis. pp. 95–108. ISBN 978-91-554-2433-6.
  • Frandsen, Paul John (2011). "Faeces of the Creator or the Temptations of the Dead". ใน Kousoulis, Panagiotis (บ.ก.). Ancient Egyptian Demonology: Studies on the Boundary between the Demonic and the Divine in Egyptian Magic. Peeters. pp. 25–62. ISBN 978-90-429-2040-8.
  • Frankfurter, David (1998). Religion in Roman Egypt: Assimilation and Resistance. Princeton University Press. ISBN 978-0-691-07054-4.
  • Frankfurter, David (2004). "Histories: Egypt, Later Period". ใน Johnston, Sarah Iles (บ.ก.). Religions of the Ancient World: A Guide. The Belknap Press of Harvard University Press. pp. 159–164. ISBN 978-0-674-01517-3.
  • Graindorge, Catherine (2001). "Sokar". ใน Redford, Donald B. (บ.ก.). The Oxford Encyclopedia of Ancient Egypt. Vol. 3. Oxford University Press. pp. 305–307. ISBN 978-0-19-510234-5.
  • Graves-Brown, Carolyn (2010). Dancing for Hathor: Women in Ancient Egypt. Continuum. ISBN 978-1-8472-5054-4.
  • Griffiths, J. Gwyn (2001). "Isis". ใน Redford, Donald B. (บ.ก.). The Oxford Encyclopedia of Ancient Egypt. Vol. 2. Oxford University Press. pp. 188–191. ISBN 978-0-19-510234-5.
  • Gundlach, Rolf (2001). "Temples". ใน Redford, Donald B. (บ.ก.). The Oxford Encyclopedia of Ancient Egypt. Vol. 3. Oxford University Press. pp. 363–379. ISBN 978-0-19-510234-5.
  • Hart, George (2005). The Routledge Dictionary of Egyptian Gods and Goddesses, Second Edition. Routledge. ISBN 978-0-203-02362-4.
  • Hornung, Erik (1982) [German edition 1971]. Conceptions of God in Egypt: The One and the Many. Translated by John Baines. Cornell University Press. ISBN 978-0-8014-1223-3.
  • Kadish, Gerald E. (2001). "Wisdom Tradition". ใน Redford, Donald B. (บ.ก.). The Oxford Encyclopedia of Ancient Egypt. Vol. 3. Oxford University Press. pp. 507–510. ISBN 978-0-19-510234-5.
  • Kockelmann, Holger (2012). "Philae". ใน Wendrich, Willeke (บ.ก.). UCLA Encyclopedia of Egyptology. Department of Near Eastern Languages and Cultures, UC Los Angeles. ISBN 978-0615214030. สืบค้นเมื่อ 4 April 2015.
  • Kozloff, Arielle P. (2001). "Sculpture: Divine Sculpture". ใน Redford, Donald B. (บ.ก.). The Oxford Encyclopedia of Ancient Egypt. Vol. 3. Oxford University Press. pp. 242–246. ISBN 978-0-19-510234-5.
  • Leitz, Christian (2004). "Deities and Demons: Egypt". ใน Johnston, Sarah Iles (บ.ก.). Religions of the Ancient World: A Guide. The Belknap Press of Harvard University Press. pp. 393–396. ISBN 978-0-674-01517-3.
  • Lesko, Barbara S. (1999). The Great Goddesses of Egypt. University of Oklahoma Press. ISBN 978-0-8061-3202-0.
  • Lesko, Leonard H. (1991). "Ancient Egyptian Cosmogonies and Cosmology". ใน Shafer, Byron E. (บ.ก.). Religion in Ancient Egypt: Gods, Myths, and Personal Practice. Cornell University Press. pp. 89–122. ISBN 978-0-8014-9786-5.
  • Lorton, David (1999). "The Theology of Cult Statues in Ancient Egypt". ใน Dick, Michael B. (บ.ก.). Born in Heaven, Made on Earth: The Making of the Cult Image in the Ancient Near East. Eisenbrauns. pp. 123–210. ISBN 978-1-57506-024-8.
  • Lucarelli, Rita (2010). "Demons (benevolent and malevolent)". ใน Wendrich, Willeke (บ.ก.). UCLA Encyclopedia of Egyptology. Department of Near Eastern Languages and Cultures, UC Los Angeles. ISBN 978-0615214030. สืบค้นเมื่อ 4 April 2015.
  • Luft, Ulrich H. (2001). "Religion". ใน Redford, Donald B. (บ.ก.). The Oxford Encyclopedia of Ancient Egypt. Vol. 3. Oxford University Press. pp. 139–145. ISBN 978-0-19-510234-5.
  • Luiselli, Michela (2008). "Personal Piety (modern theories related to)". ใน Wendrich, Willeke (บ.ก.). UCLA Encyclopedia of Egyptology. Department of Near Eastern Languages and Cultures, UC Los Angeles. ISBN 978-0615214030. สืบค้นเมื่อ 4 April 2015.
  • Meeks, Dimitri; Favard-Meeks, Christine (1996) [French edition 1993]. Daily Life of the Egyptian Gods. Translated by G. M. Goshgarian. Cornell University Press. ISBN 978-0-8014-8248-9.
  • Meeks, Dimitri (2001). "Demons". ใน Redford, Donald B. (บ.ก.). The Oxford Encyclopedia of Ancient Egypt. Vol. 1. Oxford University Press. pp. 375–378. ISBN 978-0-19-510234-5.
  • Mills, Anthony J. (2001). "Western Desert". ใน Redford, Donald B. (บ.ก.). The Oxford Encyclopedia of Ancient Egypt. Vol. 3. Oxford University Press. pp. 497–501. ISBN 978-0-19-510234-5.
  • Montserrat, Dominic (2000). Akhenaten: History, Fantasy, and Ancient Egypt. Routledge. ISBN 978-0-415-18549-3.
  • Morenz, Siegfried (1973) [German edition 1960]. Ancient Egyptian Religion. Translated by Ann E. Keep. Methuen. ISBN 978-0-8014-8029-4.
  • Melton, J. Gordon (2009). Encyclopedia of American Religions (8th ed.). Gale Cengage Learning. ISBN 978-0-7876-9696-2.
  • Morkot, Robert G. (2012). "Kings and Kingship in Ancient Nubia". ใน Fisher, Marjorie M.; Lacovara, Peter; Ikram, Salima; และคณะ (บ.ก.). Ancient Nubia: African Kingdoms on the Nile. The American University in Cairo Press. pp. 118–124. ISBN 978-977-416-478-1.
  • Naerebout, Frederick (2007). "The Temple at Ras el-Soda. Is It an Isis Temple? Is It Greek, Roman, Egyptian, or Neither? And So What?". ใน Bricault, Laurent; Versluys, Miguel John; Meyboom, Paul G. P. (บ.ก.). Nile into Tiber: Egypt in the Roman World. Proceedings of the IIIrd International Conference of Isis Studies, Faculty of Archaeology, Leiden University, May 11–14 2005. Brill. pp. 506–554. ISBN 978-90-04-15420-9.
  • Naguib, Saphinaz-Amal (2008). "Survivals of Pharaonic Religious Practices in Contemporary Coptic Christianity". ใน Wendrich, Willeke (บ.ก.). UCLA Encyclopedia of Egyptology. Department of Near Eastern Languages and Cultures, UC Los Angeles. ISBN 978-0615214030. สืบค้นเมื่อ 4 April 2015.
  • Ockinga, Boyo (2001). "Piety". ใน Redford, Donald B. (บ.ก.). The Oxford Encyclopedia of Ancient Egypt. Vol. 3. Oxford University Press. pp. 44–47. ISBN 978-0-19-510234-5.
  • Pinch, Geraldine (2002). Egyptian Mythology: A Guide to the Gods, Goddesses, and Traditions of Ancient Egypt. Oxford University Press. ISBN 978-0-19-517024-5.
  • Ritner, Robert K. (2001). "Magic: An Overview". ใน Redford, Donald B. (บ.ก.). The Oxford Encyclopedia of Ancient Egypt. Vol. 2. Oxford University Press. pp. 321–326. ISBN 978-0-19-510234-5.
  • Ritner, Robert K. (2011). "An Eternal Curse upon the Reader of These Lines". ใน Kousoulis, Panagiotis (บ.ก.). Ancient Egyptian Demonology: Studies on the Boundary between the Demonic and the Divine in Egyptian Magic. Peeters. pp. 3–24. ISBN 978-90-429-2040-8.
  • Robins, Gay (2001). "Color Symbolism". ใน Redford, Donald B. (บ.ก.). The Oxford Encyclopedia of Ancient Egypt. Vol. 1. Oxford University Press. pp. 291–293. ISBN 978-0-19-510234-5.
  • Roccati, Alessandro (2011). "Demons as Reflections of Human Society". ใน Kousoulis, Panagiotis (บ.ก.). Ancient Egyptian Demonology: Studies on the Boundary between the Demonic and the Divine in Egyptian Magic. Peeters. pp. 89–96. ISBN 978-90-429-2040-8.
  • Sfameni Gasparro, Giulia (2007). "The Hellenistic Face of Isis: Cosmic and Saviour Goddess". ใน Bricault, Laurent; Versluys, Miguel John; Meyboom, Paul G. P. (บ.ก.). Nile into Tiber: Egypt in the Roman World. Proceedings of the IIIrd International Conference of Isis Studies, Faculty of Archaeology, Leiden University, May 11–14, 2005. Brill. pp. 40–72. ISBN 978-90-04-15420-9.
  • Silverman, David P. (1991). "Divinity and Deities in Ancient Egypt". ใน Shafer, Byron E. (บ.ก.). Religion in Ancient Egypt: Gods, Myths, and Personal Practice. Cornell University Press. pp. 7–87. ISBN 978-0-8014-9786-5.
  • Sternberg, Heike (2004). "Illnesses and Other Crises: Egypt". ใน Johnston, Sarah Iles (บ.ก.). Religions of the Ancient World: A Guide. The Belknap Press of Harvard University Press. pp. 453–456. ISBN 978-0-674-01517-3.
  • Struck, Peter T. (2004). "Esotericism and Mysticism: Hermeticism". ใน Johnston, Sarah Iles (บ.ก.). Religions of the Ancient World: A Guide. The Belknap Press of Harvard University Press. pp. 650–652. ISBN 978-0-674-01517-3.
  • Teeter, Emily (2011). Religion and Ritual in Ancient Egypt. Cambridge University Press. ISBN 978-0-521-61300-2.
  • Thompson, Stephen E. (2001). "Cults: An Overview". ใน Redford, Donald B. (บ.ก.). The Oxford Encyclopedia of Ancient Egypt. Vol. 1. Oxford University Press. pp. 326–332. ISBN 978-0-19-510234-5.
  • Tobin, Vincent Arieh (1989). Theological Principles of Egyptian Religion. P. Lang. ISBN 978-0-8204-1082-1.
  • Traunecker, Claude (2001a) [French edition 1992]. The Gods of Egypt. Translated by David Lorton. Cornell University Press. ISBN 978-0-8014-3834-9.
  • Traunecker, Claude (2001b). "Kamutef". ใน Redford, Donald B. (บ.ก.). The Oxford Encyclopedia of Ancient Egypt. Vol. 2. Oxford University Press. pp. 221–222. ISBN 978-0-19-510234-5.
  • Troy, Lana (1986). Patterns of Queenship in Ancient Egyptian Myth and History. Acta Universitatis Upsaliensis. ISBN 978-91-554-1919-6.
  • Versluys, Miguel John (2007). "Aegyptiaca Romana: The Widening Debate". ใน Bricault, Laurent; Versluys, Miguel John; Meyboom, Paul G. P. (บ.ก.). Nile into Tiber: Egypt in the Roman World. Proceedings of the IIIrd International Conference of Isis Studies, Faculty of Archaeology, Leiden University, May 11–14, 2005. Brill. pp. 1–14. ISBN 978-90-04-15420-9.
  • Wildung, Dietrich (1977). Egyptian Saints: Deification in Pharaonic Egypt. New York University Press. ISBN 978-0-8147-9169-1.
  • Wilkinson, Richard H. (2003). The Complete Gods and Goddesses of Ancient Egypt. Thames & Hudson. ISBN 978-0-500-05120-7.
  • Wilkinson, Toby (1999). Early Dynastic Egypt. Routledge. ISBN 978-0-203-02438-6.
  • Yellin, Janice W. (2012). "Nubian Religion". ใน Fisher, Marjorie M.; Lacovara, Peter; Ikram, Salima; และคณะ (บ.ก.). Ancient Nubia: African Kingdoms on the Nile. The American University in Cairo Press. pp. 125–144. ISBN 978-977-416-478-1.