กษัตริย์ผู้ศักดิ์สิทธิ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รูปพระคริสต์จากแท่นบูชาเกนต์ (ค.ศ. 1432)

ในสังคมประวัติศาสตร์หลายแห่ง ตำแหน่งของกษัตริย์มีความหมายศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งเหมือนกับมหาปุโรหิตและผู้พิพากษา แนวคิดของเทวาธิปไตยนั้นมีความเกี่ยวข้องกัน ถึงแม้ว่ากษัตริย์ผู้ศักดิ์สิทธิ์ไม่จำเป็นต้องปกครองผ่านผู้มีอำนาจทางศาสนา แต่ตำแหน่งทางโลกนั้นมีความสำคัญทางศาสนาอยู่เบื้องหลัง

ประวัติกษัตริย์ผู้ศักดิ์สิทธิ์[แก้]

เซอร์เจมส์ จอร์จ เฟรเซอร์ใช้แนวคิดเรื่องกษัตริย์ผู้ศักดิ์สิทธิ์ในการศึกษาเรื่อง คาคบทองคำ (The Golden Bough) (ค.ศ. 1890 – 1915) ซึ่งเป็นเรื่องที่อ้างถึงตำนานของเร็กซ์ เนโมเรนซิส[1] เฟรเซอร์ได้ยกตัวอย่างจำนวนมากที่อ้างถึงข้างด้านล่าง และเป็นแรงบันดาลใจให้กับการศึกษาตำนานและพิธีกรรม[2] อย่างไรก็ตาม "ตำนานและพิธีกรรม หรือตำนาน-ผู้ประกอบพิธีกรรม, ทฤษฎี" ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่[3] ปัจจุบัน นักวิชาการหลายคนเชื่อว่าตำนานและพิธีกรรมมีกระบวนทัศน์ร่วมกัน แต่ไม่ใช่สิ่งที่พัฒนามาจากอีกสิ่งหนึ่ง[4]

จากข้อมูลของเฟรเซอร์ แนวคิดดังกล่าวมีรากฐานมาจากสมัยยุคก่อนประวัติศาสตร์และเกิดขึ้นทั่วโลกบนเกาะชวาและในแอฟริกาตอนใต้ของทะเลทรายซาฮารา โดยมีกษัตริย์นักบวชมีความเกี่ยวข้องกับการขอฝนและรับประกันความอุดมสมบูรณ์และความโชคดี กษัตริย์อาจจะทรงได้รับมอบหมายให้ทนทุกข์และชดใช้ให้กับประชาชนของพระองค์ ซึ่งหมายความว่ากษัตริย์อันศักดิ์สิทธิ์สามารถทรงเป็นเหยื่อที่กำหนดไว้ล่วงหน้าในการสังเวยมนุษย์ ไม่ว่าจะถูกสังหารเมื่อสิ้นสุดตำแหน่งหรือบูชายัญพระองค์เองในช่วงเวลาวิกฤต (เช่น บล็อตแห่งโดมัลเด)

ชนเผ่าอะซันติทรงเฆี่ยนตีกษัตริย์ที่ทรงได้รับเลือกใหม่ (อะซันเตเฮเน) ก่อนที่จะทรงขึ้นครองราชย์ เพื่อที่พระองค์จะทรงจดจำได้ว่ารู้สึกอย่างไรที่ต้องทนทุกข์ทรมานในฐานะบุรุษ เพื่อยับยั้งพระองค์ไว้ หลังจากนั้นพระองค์จึงได้รับพลังที่เหมือนเทพเจ้า ขณะที่เอาริกาเตือนให้นึกถึงวีรบุรุษผู้พิชิตที่กลับมายังกรุงโรมในชัยชนะของเขา เสียงชื่นชมยินดีของฝูงชนที่หลั่งไหลเข้ามากระทบอัตตาของเขา ว่าเขายังคงอยู่เป็นเพียงมนุษย์และต้องตาย

ตั้งแต่สมัยสัมฤทธิ์ในบริเวณตะวันออกใกล้ การขึ้นครองราชย์และการเจิมของพระมหากษัตริย์เป็นพิธีกรรมทางศาสนาที่สำคัญ ซึ่งสะท้อนให้เห็นในพระนาม "พระเมสสิยาห์" หรือ "พระคริสต์" ซึ่งแยกออกจากการเป็นกษัตริย์ทางโลก ดังนั้น กษัตริย์ซาร์กอนแห่งแอกแคดจึงเรียกตัวพระองค์เองว่าเป็น "ผู้แทนแห่งอิชตาร์" เช่นเดียวกับที่สมเด็จพระสันตะปาปาคาทอลิกสมัยใหม่รับบทบาทเป็น "ตัวแทนของพระคริสต์"[5]

กษัตริย์ทรงได้รับการขนานนามว่าเป็นผู้เลี้ยงแกะตั้งแต่ช่วงสมัยแรกๆ เช่น คำที่ใช้กับผู้ปกครองแห่งสุเมเรียน เช่น ลูกัลบันดา ในสหัสวรรษที่ 3 ก่อนคริสตกาล ภาพลักษณ์ของผู้เลี้ยงแกะได้รวมเอาประเด็นของการเป็นผู้นำและความรับผิดชอบในการจัดหาอาหารและการคุ้มครอง ตลอดจนความเหนือกว่า

ในฐานะผู้ไกล่เกลี่ยระหว่างประชาชนและเทพเจ้า กษัตริย์อันศักดิ์สิทธิ์ได้รับการยกย่องด้วยภูมิปัญญาพิเศษ (เช่น โซโลมอนหรือกิลกาเมช) หรือการมองเห็น (เช่น ผ่านการหยั่งรู้หรือทำนายจากความฝัน)

อ้างอิง[แก้]

  1. Frazer, James George, Sir (1922). The Golden Bough. Bartleby.com: New York: The Macmillan Co. http://www.bartleby.com/196/1.html.
  2. R Fraser ed., The Golden Bough (Oxford 2009) p. 651
  3. Segal, Robert A. (2004). Myth: A Very Short Introduction. Oxford: Oxford UP. pp. 61. ISBN 978-0-19-280347-4.
  4. Meletinsky, Eleazar Moiseevich (2000). The Poetics of Myth. Routledge. p. 117. ISBN 0-415-92898-2.
  5. "CATHOLIC ENCYCLOPEDIA: Vicar of Christ". www.newadvent.org. สืบค้นเมื่อ 2017-08-23.