เจ้าพลศึกซ้ายไชยสงคราม
พระเจ้าพลศึกซ้ายไชยสงคราม | |||||
---|---|---|---|---|---|
เจ้าผู้ครองนครน่าน ภายใต้การปกครองของพม่า | |||||
ครองราชย์ | 29 สิงหาคม พ.ศ. 2146 - 18 เมษายน พ.ศ. 2158 | ||||
รัชกาล | 12 ปี | ||||
ก่อนหน้า | พระเจ้าเจตบุตรพรหมมินทร์ (ครั้งที่ 2) | ||||
ถัดไป | พระเจ้าอุ่นเมือง | ||||
พระเจ้าเชียงใหม่ ภายใต้การปกครองของพม่า | |||||
ครองราชย์ | พ.ศ. 2158 - พ.ศ. 2175 (17 ปี) | ||||
ก่อนหน้า | พระช้อย (ครั้งที่ 2) | ||||
ถัดไป | พญาแสนหลวง (รักษาการ) | ||||
พิราลัย | พ.ศ. 2175 ณ กรุงหงสาวดี | ||||
| |||||
พระบิดา | พระยาหน่อคำเสถียรไชยสงคราม | ||||
พระมารดา | พระนางแสดพลัวเทวี |
พระเจ้าพลศึกซ้ายไชยสงคราม ทรงเป็นเจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 42 และเป็นพระโอรสองค์ที่ 3 ในพระยาหน่อคำเสถียรไชยสงคราม เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 40 ต่อมาในปี พ.ศ. 2146 เจ้าฟ้าสารวตี กษัตริย์พม่า โปรดเกล้าแต่งตั้งให้เป็น "เจ้าพระยาพลศึกซ้ายไชยสงคราม เจ้าผู้ครองนครน่าน " ทรงครองเมืองน่าน ระหว่างปี พ.ศ. 2146 - พ.ศ. 2158 รวมระยะเวลา 17 ปี ต่อมาในปี พ.ศ. 2158 กษัตริย์พม่าโปรดเกล้าแต่งตั้งให้เป็น พระเจ้าศรีสองเมือง พระเจ้านครเชียงใหม่ ทรงครองเมืองเชียงใหม่ ระหว่างปี พ.ศ. 2158 - พ.ศ. 2175 รวมระยะเวลา 17 ปี
พระประวัติ
[แก้]เจ้าพลศึกซ้ายไชยสงคราม[1] เป็นพระโอรสในพระญาหน่อคำไชยเสถียรสงคราม เจ้าเมืองน่าน ทรงครองราชย์เวียเชียงใหม่ใน พ.ศ. 2158-2175 ในกำกับของพม่าเป็นระยะเวลา 16 ปี เจ้าฟ้าสารวตีรับเป็นพระโอรสบุญธรรม และทรงเป็นเจ้าเมืองน่านมาก่อนที่พระองค์จะถูกตั้งให้เป็นพระเจ้าเชียงใหม่แทนที่พระช้อยซึ่งถูกประหารพระชนม์ชีพหลังจากกองทัพของพระเจ้าอะเนาะเพะลูนกษัตริย์พม่าตีเมืองเชียงใหม่แตก กองทัพพม่าเข้าควบคุมสถานการณ์ในเขตล้านนาจนถึงปี พ.ศ. 2159 จึงยกทัพกลับไป แต่กษัตริย์พม่ายังทรงประทับที่เชียงใหม่เพื่อทำการซ่อมแซมพระนคร จนแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2160 จึงเสด็จกลับหงสาวดี ในปี พ.ศ. 2171 พระเจ้าอะเนาะเพะลูนถูกลอบปลงพระชนม์และเกิดสงครามแย่งชิงบัลลังก์ขึ้น เจ้าพลศึกซ้ายไชยสงครามทรงคิดนำล้านนากลับมามีเอกราชอีกครั้งโดยประกาศเอกราชจากพม่า หลังจากพระเจ้าตาลูนขึ้นครองบัลลังก์อาณาจักรพม่าในปีถัดมาพม่าบุกตีนครเชียงใหม่อีก พระองค์ก็ถูกจับกุมไปไว้ที่กรุงหงสาวดีในปี พ.ศ. 2175[2]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ รุ่งพงษ์ ชัยนาม. ประวัติศาสตร์ล้านนา : ประวัติศาสตร์ไทยที่คนไทยไม่ค่อยมีโกาสได้ศึกษา. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
- ↑ ประชุมพงษาวดาร ภาคที่ 10 เรื่องราชวงษปกรณ์ พงษาวดารเมืองน่าน ฉบับพระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช พระเจ้านครน่านให้แสนหลวงราชสมภารแต่งไว้สำหรับบ้านเมือง. พระนคร : โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร, 2461. 210 หน้า. หน้า 100-101.
ก่อนหน้า | เจ้าพลศึกซ้ายไชยสงคราม | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
พระเจ้าเจตบุตรพรหมมินทร์ (ครั้งที่ 2) |
เจ้าผู้ครองนครน่าน (พ.ศ. 2146 - พ.ศ. 2158) |
พระเจ้าอุ่นเมือง | ||
พระช้อย (ครั้งที่ 2) |
พระเจ้าเชียงใหม่ (พ.ศ. 2158 - พ.ศ. 2175) |
พญาแสนหลวง (รักษาการ) |