เจอรัลด์ ฟอร์ด
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
เจอรัลด์ ฟอร์ด | |
---|---|
Gerald Ford | |
ฟอร์ด ใน ค.ศ. 1974 | |
ประธานาธิบดีสหรัฐ คนที่ 38 | |
ดำรงตำแหน่ง 9 สิงหาคม ค.ศ. 1974 – 20 มกราคม ค.ศ. 1977 | |
รองประธานาธิบดี | ไม่มี (ส.ค. – ธ.ค. 1974) เนลสัน รอกกีเฟลเลอร์ (ธ.ค. 1974 – 1977) |
ก่อนหน้า | ริชาร์ด นิกสัน |
ถัดไป | จิมมี คาร์เตอร์ |
รองประธานาธิบดีสหรัฐ คนที่ 40 | |
ดำรงตำแหน่ง 6 ธันวาคม ค.ศ. 1973 – 9 สิงหาคม ค.ศ. 1974 | |
ประธานาธิบดี | ริชาร์ด นิกสัน |
ก่อนหน้า | สปิโร แอกนิว |
ถัดไป | เนลสัน รอกกีเฟลเลอร์ |
ผู้นำเสียงข้างน้อยในสภาผู้แทนราษฎร | |
ดำรงตำแหน่ง 3 มกราคม ค.ศ. 1965 – 6 ธันวาคม ค.ศ. 1973 | |
ก่อนหน้า | ชาร์ล เอ. ฮอลเลคต์ |
ถัดไป | จอห์น จาคอป โรห์เดส |
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐ จาก รัฐมิชิแกน เขต 5 | |
ดำรงตำแหน่ง 3 มกราคม ค.ศ. 1949 – 6 ธันวาคม ค.ศ. 1973 | |
ก่อนหน้า | บาร์เทล เจ. จังค์แมน |
ถัดไป | ริชาร์ด แวนเดอร์ วีน |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | เลสลี ลีนช์ คิง จูเนียร์ 14 กรกฎาคม ค.ศ. 1913 โอมาฮา รัฐเนแบรสกา สหรัฐ |
เสียชีวิต | 26 ธันวาคม ค.ศ. 2006 แรงโก้ มิราดจ์ รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐ | (93 ปี)
พรรคการเมือง | รีพับลิกัน |
คู่สมรส | เบ็ตตี บลูมเมอร์ (สมรส 1948) |
อาชีพ | นักการเมือง นักกฎหมาย |
ลายมือชื่อ | |
เจอรัลด์ รูดอล์ฟ ฟอร์ด จูเนียร์ (อังกฤษ: Gerald Rudolph Ford Jr. /ˈdʒɛrəld/ jerr-əld, เกิด เลสลี ลีนช์ คิง จูเนียร์ (อังกฤษ: Leslie Lynch King Jr.); 14 กรกฎาคม ค.ศ. 1913 – 26 ธันวาคม ค.ศ. 2006) เป็นนักการเมืองชาวอเมริกันที่ดำรงตำแหน่งเป็นประธานาธิบดีสหรัฐคนที่ 38 ตั้งแต่เดือนสิงหาคม ค.ศ. 1974 จนถึงเดือนมกราคม ค.ศ. 1977 ก่อนที่เขาจะเข้าสู่ตำแหน่งประธานาธิบดี ฟอร์ดดำรงตำแหน่งรองประธานาธิบดีสหรัฐคนที่ 40 ตั้งแต่เดือนธันวาคม ค.ศ. 1973 จนถึงเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1974 ฟอร์ดเป็นเพียงคนเดียวที่ได้ดำรงตำแหน่งทั้งรองประธานาธิบดีและประธานาธิบดีโดยไม่ได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งใดๆ จากคณะผู้เลือกตั้ง (Electoral College)
ฟอร์ดเกิดในโอมาฮา รัฐเนแบรสกา และเติบโตในแกรนด์ แรพิดส์ รัฐมิชิแกน ฟอร์ดจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยมิชิแกนและโรงเรียนกฎหมายเยล ภายหลังจากการโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์ เขาได้เข้าประจำการในกองทัพเรือสำรองสหรัฐ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1942 ถึง ค.ศ. 1946 เขาได้ละทิ้งยศตำแหน่งนาวาตรี ฟอร์ดเริ่มต้นอาชีพทางการเมืองในปี ค.ศ. 1949 ในฐานะที่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฏร์สหรัฐจากเขตรัฐสภาที่ 5 ของรัฐมิชิแกน เขาได้ทำหน้าที่นี้มาเป็นเวลา 25 ปี เก้าคนสุดท้ายในฐานะผู้นำเสียงข้างน้อยในสภา ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1973 สองเดือนภายหลังจากการลาออกของ Spiro Agnew ฟอร์ดกลายเป็นบุคคลแรกที่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเป็นรองประธานาธิบดีภายใต้เงื่อนไขของการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งที่ 25 โดยประธานาธิบดี ริชาร์ด นิกสัน ภายหลังในเวลาต่อมา การลาออกของประธานาธิบดี ริชาร์ด นิกสันในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1974 ฟอร์ดได้เข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีทันที การดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีในช่วงตลอด 895 วันของเขานั้นช่างสั้นที่สุดในประวัติศาสตร์สหรัฐสำหรับประธานาธิบดีคนใดก็ตามที่ไม่เสียชีวิตในตำแหน่งนี้
ในขณะที่ดำรงตำแหน่งเป็นประธานาธิบดี ฟอร์ดได้ลงนามข้อตกลงเฮลซิงกิ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการนำไปสู่การผ่อนคลายความตึงเครียดในสงครามเย็นพร้อมกับการล่มสลายของเวียดนามใต้ในเวลาเก้าเดือนในการดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีของเขา การมีส่วนร่วมของสหรัฐในเวียดนามจึงสิ้นสุดลง ภายในประเทศ ฟอร์ดได้ดำรงตำแหน่งในช่วงท่ามกลางเศรษฐกิจที่เลวร้ายที่สุดในรอบสี่ทศวรรษนับตั้งแต่ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ ด้วยอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มมากขึ้นและภาวะเศรษฐกิจที่ถดถอยในช่วงระหว่างดำรงตำแหน่ง[1] หนึ่งในกฎหมายที่เป็นทำให้เป็นขัดแย้งมากที่สุดของเขา เขาได้ประกาศอภัยโทษแก่ประธานาธิบดี ริชาร์ด นิกสัน สำหรับบทบาทของเขาในคดีวอเตอร์เกตที่อื้อฉาว ในช่วงการดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีของฟอร์ด นโยบายต่างประเทศนั้นมีลักษณะตามขั้นตอนของวาระโดยบทบาทที่เพิ่มขึ้นของสภาคองเกรสที่เริ่มจะมีบทบาท และโดยการควบคุมที่สอดคล้องในอำนาจของประธานาธิบดี[2] ในการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งชิงตำแหน่งประธานาธิบดีของพรรครีพับลิกันในปี ค.ศ. 1976 ฟอร์ดได้เอาชนะอดีตผู้ว่าการรัฐแคลิฟอร์เนีย โรนัลด์ เรแกน จากการถูกเสนอชื่อการเลือกตั้งของพรรครีพับลิกัน เขาได้พ่ายแพ้อย่างน่าเสียดายในการเลือกตั้งชิงตำแหน่งประธานาธิบดีให้กับผู้ท้าชิงจากพรรคเดโมแครต อดีตผู้ว่าการรัฐจอร์เจีย จิมมี คาร์เตอร์
ภายหลังจากการดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีของเขาอยู่หลายปี ฟอร์ดยังคงทำงานอยู่ในพรรครีพับลิกัน มุมมองความคิดเห็นปานกลางของเขาเกี่ยวกับประเด็นทางสังคมต่างๆ ทำให้เขามีความขัดแย้งกับสมาชิกอนุรักษ์นิยมภายในพรรคในปี ค.ศ. 1990 และต้นปี ค.ศ. 2000 ในการเกษียณอายุ ฟอร์ดได้เลิกที่จะเป็นศัตรูที่เขารู้สึกที่มีต่อคาร์เตอร์ในภายหลังจากการเลือกตั้ง ปี ค.ศ. 1976 และอดีตประธานาธิบดีทั้งสองต่างได้พัฒนาความสัมพันธ์แบบมิตรภาพ ภายหลังจากประสบปัญหาสุขภาพหลายอย่าง เขาจึงเสียชีวิตที่บ้าน เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม ค.ศ. 2006
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Frum, David (2000). How We Got Here: The '70s. New York City: Basic Books. pp. xxiii, 301. ISBN 978-0-465-04195-4.
- ↑ George Lenczowski (1990). American Presidents, and the Middle East. Duke University Press. pp. 142–143. ISBN 978-0-8223-0972-7.
ก่อนหน้า | เจอรัลด์ ฟอร์ด | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
ริชาร์ด นิกสัน | ประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา คนที่ 38 (9 สิงหาคม พ.ศ. 2517 - 20 มกราคม พ.ศ. 2520) |
จิมมี คาร์เตอร์ | ||
สปิโร แอกนิว | รองประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา คนที่ 40 (6 ธันวาคม พ.ศ. 2516 - 9 สิงหาคม พ.ศ. 2517) |
เนลสัน รอกกีเฟลเลอร์ |