หางโจว
หางโจว 杭州市 | |
---|---|
สถานที่ต่าง ๆ ในนครหางโจว | |
ที่ตั้งของนครหางโจวในมณฑลเจ้อเจียง | |
พิกัด (ศาลาว่าการมณฑลเจ้อเจียง): 30°16′01″N 120°09′11″E / 30.267°N 120.153°E | |
ประเทศ | สาธารณรัฐประชาชนจีน |
มณฑล | เจ้อเจียง |
ศูนย์กลางการปกครอง | เขตเจียงกั้น (江干区) |
การปกครอง | |
• ประเภท | นครกึ่งมณฑล |
• เลขาธิการพรรค | โจว เจียงหย่ง (周江勇) |
• นายกเทศมนตรี | หลิว ซิน (刘忻)[1] |
พื้นที่ | |
• นครระดับจังหวัด และนครระดับกิ่งมณฑล | 16,596 ตร.กม. (6,408 ตร.ไมล์) |
• เขตเมือง | 8,000 ตร.กม. (3,000 ตร.ไมล์) |
• รวมปริมณฑล | 34,585 ตร.กม. (13,353 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2019) | |
• นครระดับจังหวัด และนครระดับกิ่งมณฑล | 10,360,000 คน |
• ความหนาแน่น | 620 คน/ตร.กม. (1,600 คน/ตร.ไมล์) |
• เขตเมือง | 9,119,000 (ปี 2,019) คน |
• รวมปริมณฑล | 22,594,000 เขตมหานครหางโจว (ได้แก่ หางโจว, เช่าซิง, เจียซิง, หูโจว)[2] คน |
• อันดับในประเทศ | อันดับที่ 5 |
เดมะนิม | Hangzhouians |
เขตเวลา | UTC+8 (เวลามาตรฐานจีน) |
รหัสไปรษณีย์ | 310000 |
รหัส ISO 3166 | CN-ZJ-01 |
GDP (ราคาตลาด) | 2018 |
- รวม | 1.35092 ล้านล้านเหรินหมินปี้ (204.15 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) |
- ต่อหัว | 140,180 เหรินหมินปี้ (21,184 ดอลลาร์สหรัฐ) |
- เติบโต | 6.7% |
- เขตมหานคร (2018) | 2.6517 ล้านล้านเหรินหมินปี้[2] (400.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) |
ป้ายทะเบียนรถ | 浙A |
ภาษาถิ่น | ภาษาอู๋ (สำเนียงหางโจว) |
ต้นไม้ประจำนคร | การบูร (Cinnamomum camphora) |
ดอกไม้ประจำนคร | หอมหมื่นลี้ (Osmanthus fragrans) |
เว็บไซต์ | www |
หางโจว | |||||||||||||||||||||||||
"หางโจว" เขียนด้วยตัวอักษรจีน | |||||||||||||||||||||||||
ภาษาจีน | 杭州 | ||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ภาษาอู๋ | ɦaŋ-tsei (สำเนียงหางโจว) | ||||||||||||||||||||||||
ไปรษณีย์ | Hangchow | ||||||||||||||||||||||||
ความหมายตามตัวอักษร | "จังหวัดหาง" | ||||||||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||||||||
เฉียนถัง | |||||||||||||||||||||||||
อักษรจีนตัวย่อ | 钱塘 | ||||||||||||||||||||||||
อักษรจีนตัวเต็ม | 錢塘 | ||||||||||||||||||||||||
|
หางโจว (จีน: 杭州; พินอิน: Hángzhōu) เป็นเมืองหลวงของมณฑลเจ้อเจียง สาธารณรัฐประชาชนจีน เมืองหางโจว ซึ่งเป็นเมืองเก่าแก่ 1 ใน 6 ของประเทศจีน ปัจจุบันหางโจว ถือเป็นเมืองที่อยู่ในเขตภาคตะวันออกที่ได้รับการพัฒนาอย่างสูงสุดแล้ว ดังนั้นหางโจวจึงเป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดีว่า เป็นเมืองที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ มีวัฒนธรรมที่ยาวนาน และเป็นเมืองที่มีทัศนียภาพที่สวยสดงดงามเมืองหนึ่งของประเทศจีน รวมทั้งมั่งคั่งไปด้วยเภสัชอุตสาหกรรม และสถาบันศิลปะมากมาย เมืองหางโจวถือว่าเมืองดิจิทัลไร้สายได้ครอบคลุมถึงทางหลวงและตรอกเล็กซอยน้อยต่าง ๆ ในเมือง[3]
ประวัติศาสตร์
[แก้]ประวัติศาสตร์อันยาวนานถึง 2,100 ปี สมัยราชวงศ์สุย (ค.ศ. 581-618) จากคำสั่งขุด คลองต้ายุ่นเหอ (Grand Canal) ขององค์ฮ่องเต้สุยหยางตี้ รัชกาลที่ 349 ของราชวงศ์สุย เพื่อเชื่อมดินแดนทางเหนือกับทางใต้ จากปักกิ่งมายังหางโจว ได้ผลักดันให้เมืองหางโจวเจริญรุ่งเรืองเป็นอย่างมาก ในหน้าประวัติศาสตร์จีน หางโจว เจริญถึงขีดสุดเมื่อ ราชวงศ์ซ่งได้ตัดสินใจย้ายเมืองหลวงจากเมืองไคเฟิง ที่อยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำเหลือง ลงมายัง หางโจว ที่อยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำแยงซีเกียง เพื่อความปลอดภัยจากการกรุกรานของชนเผ่าจิน และได้ตั้งราชวงศ์ซ่งใต้ (ค.ศ. 1127-1279) ขึ้น การย้ายเมืองหลวงดังกล่าวได้ผลักดันให้ชื่อของ 'หางโจว' ติดอยู่ในทำเนียบ 1 ใน 7 เมืองหลวงเก่าของจีน ร่วมกับอันหยาง ซีอาน ลั่วหยาง ไคเฟิง หนานจิง และปักกิ่ง
และยังถูกกล่าวไว้ในบทกวีหลายบทที่แต่งขึ้นสมัยราชวงศ์พระร่วง (ค.ศ. 618-907) โดยได้รับแรงบัลดาลใจจากความงามอันหลากสีสันของเมืองหางโจว แต่จากเหตุการณ์ "กบฏไท่ผิง" (ช่วงครึ่งหลังของศตวรรษที่ 19) ทำให้ เมืองที่สวยงามนี้ถูกทำลายแทบจะไม่เหลือร่องรอยของเมืองที่เคยมีนามก้องโลกให้หลงเหลืออยู่เลย
แม้ว่าในเวลาต่อมา ชนเผ่ามองโกลจะเข้ามาปกครองแผ่นดินจีนในนามของราชวงศ์หยวน (ค.ศ. 1206-1368) โดยยึดเอาต้าตู (ปักกิ่ง) ที่อยู่ทางภาคเหนือเป็นเมืองหลวง เป็นศูนย์กลางทางการเมือง-การปกครอง แต่ด้วยความอุดมสมบูรณ์ของทางใต้หางโจวก็ยังคงความเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจอยู่
ไม่น่าสงสัยเลยว่า Kinsai (เป็นชื่อที่ มาร์โค โปโล ใช้เรียกหางโจว) เป็นเมืองที่ยอดเยี่ยมและงดงามที่สุดในโลก เมือง (หางโจว) มีความเส้นรอบวงประมาณ 100 ไมล์ และเกือบทุกส่วนของเมืองสามารถไปถึงได้ด้วยทางบก หรือ คลอง" กล่าวกันว่า มีสะพานอยู่ 12,000 แห่ง โดยสะพานที่ทอดผ่านลำคลองสายสำคัญนั้นจะถูกสร้างไว้สูงตระหง่าน และออกแบบอย่างดีให้เรือลำใหญ่ที่ปลดเสาเรือลงแล้ว สามารถลอดผ่านได้ ขณะที่ด้านบนสะพานก็มีเกวียนและม้าสัญจรผ่านไปมา
ภูมิศาสตร์
[แก้]หางโจวตั้งอยู่ทางตอนเหนือของมณฑลเจ้อเจียง ทางตะวันออกของจีน บนที่ราบน้ำท่วมถึงริมฝั่งแม่น้ำแยงซี พื้นที่ส่วนใหญ่ถูกล้อมรอบด้วยเทือกเขา มีทะเลสาบซีหู เป็นสัญลักษณ์ของเมืองตั้งอยู่ใจกลางเมือง ในสมัยราชวงศ์ฉิน หางโจวถือเป็นศูนย์กลางการค้า มีการขุดคลองเชื่อมระหว่างปักกิ่งและหางโจวสำเร็จ ต่อมาได้เป็นเมืองหลวงในสมัยราชวงศ์ซ่ง ปี ค.ศ. 1230 มาร์โค โปโล ได้เดินทางมาถึงเมืองหางโจว และได้ขนานนามเมืองนี้ว่าเป็นเมืองที่งดงามที่สุดในโลก สมัยราชวงศ์หมิงหางโจวยังคงเป็นศูนย์กลางการค้ามีการติดต่อกับต่างชาติ โดยมีผ้าไหมเป็นสินค้าหลัก จนกระทั่งเกิดเหตุการณ์กบฏไท่ผิงในช่วง ค.ศ. 1860-1862 ทำให้ความสวยงามลดลงไป ปัจจุบันหางโจวเป็นเมืองอุตสาหกรรมสมัยใหม่ มีใบชาและผ้าไหมเป็นสินค้าส่งออกหลักที่มีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลก
นอกจากนั้นหางโจวยังมีทะเลสาบใหญ่อันสวยงาม และเป็นสัญลักษณ์ของเมืองชื่อว่า ทะเลสาบซีหู (West Lake) ดังบทกวีอันมีชื่อเสียงของจีนที่ว่า "หากฟากฟ้ามีสรวงสวรรค์ บนผืนปฐพีก็มี ซู หัง (ซู คือ ซูโจว หัง คือ หางโจว) ซึ่งนักท่องเที่ยวที่มาเยือนหางโจวในแต่ละปี มักไม่พลาดที่จะไปเยือนทะเสาบแห่งนี้ ตั้งอยู่ห่างจากนครเซี่ยงไฮ้ไปทางตะวันตกเฉียงใต้ 180 กิโลเมตร เมื่อสิ้นปี พ.ศ. 2546 จำนวนประชากรที่บันทึกได้อยู่ 6.4 ล้านคน โดยที่ในเขตเมืองมีผู้อยู่อาศัยประมาณ 3.9 ล้านคน เมืองหางโจวเป็นเมืองที่ขึ้นชื่อว่ามีธรรมชาติงดงามราวกับจิตรกรฝีมือดีบรรจงวิจิตรขึ้น ตัวอาคารบ้านเรือน ไม่สูงมากนัก ตึกใหญ่จะสูงแค่ 7-8 ชั้น เนื่องจากเกรงว่าจะไปบดบังทิวทัศน์ที่สวยงามโดยรอบ หางโจวเป็นเมืองเก่าแก่โบราณติด 1 ใน 7 ของจีน ที่ประกอบไปด้วย ซีอาน ลั่วหยาง เจ้อโจว ปักกิ่ง นานกิง หางโจว เสฉวน
ในเมืองหางโจวมีทะเลซีหู (Xihu) เป็นแหล่งท่องเที่ยว ที่นักท่องเที่ยว ให้ความสนใจมากที่สุด โดยทะเลสาบซีหู เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ ของชาวเมืองทั่วไปรวมไปถึง นักท่องเที่ยวที่มักจะไม่พลาดโปรกแกรมล่องเรือชมทะเลสาบ โดยเรือที่พานักท่องเที่ยว ล่องทะเลสาบนั้นถูกตกแต่งอย่างสวยงาม ราวกับย้อนอดีตไปสมัยที่ยังใช้กำลังภายในกันอยู่ เข้ากับบรรยากาศโดยรอบ แตกต่างกับภายในตัวเมืองหางโจว ซึ่งมีความทันสมัยไม่น้อย เพราะมีทั้งสนามบินนานาชาติ ทางด่วน ห้างสรรพสินค้า แหล่งชอปปิ้ง อีกทั้งยังเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยเจ้อเจียงที่โด่งดังของประเทศจีน อีกด้วย
ภูมิอากาศ
[แก้]มีภูมิอากาศที่ดี อากาศจะเย็นสบายและฝนตกบ่อย ช่วงอุณหภูมิที่ดีที่สุด คือ ราวเดือนเมษายนจนถึง เดือนพฤษภาคม เนื่องจากเป็นช่วงฤดูใบไม้ผลิในช่วงกันยายนถึงเดือนพฤศจิกายน ซึ่งเป็นช่วงฤดูใบไม้ร่วง
ข้อมูลภูมิอากาศของนครหางโจว (1981–2010) | |||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
เดือน | ม.ค. | ก.พ. | มี.ค. | เม.ย. | พ.ค. | มิ.ย. | ก.ค. | ส.ค. | ก.ย. | ต.ค. | พ.ย. | ธ.ค. | ทั้งปี |
อุณหภูมิสูงสุดที่เคยบันทึก °C (°F) | 25.4 (77.7) |
28.5 (83.3) |
32.8 (91) |
34.8 (94.6) |
37.6 (99.7) |
39.7 (103.5) |
41.3 (106.3) |
41.6 (106.9) |
38.7 (101.7) |
35.0 (95) |
31.2 (88.2) |
26.5 (79.7) |
41.6 (106.9) |
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) | 8.3 (46.9) |
10.3 (50.5) |
14.8 (58.6) |
21.1 (70) |
26.3 (79.3) |
29.1 (84.4) |
33.6 (92.5) |
32.8 (91) |
28.2 (82.8) |
23.2 (73.8) |
17.3 (63.1) |
11.3 (52.3) |
21.36 (70.45) |
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F) | 4.6 (40.3) |
6.4 (43.5) |
10.3 (50.5) |
16.2 (61.2) |
21.4 (70.5) |
24.7 (76.5) |
28.9 (84) |
28.2 (82.8) |
24.0 (75.2) |
18.8 (65.8) |
12.9 (55.2) |
7.0 (44.6) |
16.95 (62.51) |
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) | 1.8 (35.2) |
3.5 (38.3) |
7.0 (44.6) |
12.4 (54.3) |
17.5 (63.5) |
21.4 (70.5) |
25.2 (77.4) |
24.9 (76.8) |
20.9 (69.6) |
15.4 (59.7) |
9.3 (48.7) |
3.7 (38.7) |
13.58 (56.45) |
อุณหภูมิต่ำสุดที่เคยบันทึก °C (°F) | −8.6 (16.5) |
−9.6 (14.7) |
−3.5 (25.7) |
0.2 (32.4) |
7.3 (45.1) |
12.8 (55) |
17.3 (63.1) |
18.2 (64.8) |
12.0 (53.6) |
1.0 (33.8) |
−3.6 (25.5) |
−8.4 (16.9) |
−9.6 (14.7) |
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) | 79.8 (3.142) |
86.1 (3.39) |
143.7 (5.657) |
122.5 (4.823) |
128.2 (5.047) |
211.8 (8.339) |
180.3 (7.098) |
156.1 (6.146) |
130.1 (5.122) |
78.6 (3.094) |
72.3 (2.846) |
48.6 (1.913) |
1,438.1 (56.618) |
ความชื้นร้อยละ | 75 | 75 | 75 | 74 | 74 | 80 | 76 | 78 | 79 | 76 | 74 | 72 | 75.7 |
วันที่มีหยาดน้ำฟ้าโดยเฉลี่ย (≥ 0.1 mm) | 12.4 | 12.1 | 15.3 | 14.5 | 13.8 | 14.6 | 12.4 | 13.8 | 11.7 | 9.0 | 9.3 | 8.5 | 147.4 |
จำนวนชั่วโมงที่มีแดด | 102.0 | 97.2 | 116.4 | 140.6 | 164.7 | 136.6 | 212.7 | 193.0 | 143.9 | 144.6 | 129.0 | 128.7 | 1,709.4 |
แหล่งที่มา: China Meteorological Administration (precipitation days and sunshine 1971-2000)[4][5] |
เขตการปกครอง
[แก้]หางโจวประกอบด้วย 10 เขต (เป็นเขตในเมือง 4 เขต และเขตชานเมือง 6 เขต), 1 นครระดับอำเภอ, และ 2 อำเภอ
แผนที่ | ||||||
---|---|---|---|---|---|---|
1
2
3
เขตซีหู
เขตเซียวชาน
เขตยฺหวีหาง
เขตฟู่หยาง
เขตหลินอัน
เขตเฉียนถัง
เขตหลินผิง
อำเภอ
ถงหลู อำเภอ
ฉุนอัน นครเจี้ยนเต๋อ
1. เขตช่างเฉิง
3. เขตก่งชู่
4. เขตปินเจียง
| ||||||
เขตปกครองย่อย | อักษรจีน | พินอิน | ประชากร (สำมะโนปี 2020) | พื้นที่ (km2) | ความหนาแน่น | |
เขตในเมือง | ||||||
เขตช่างเฉิง | 上城区 | Shàngchéng Qū | 1,323,467 | 119.68 | 13,238.68 | |
เขตก่งชู่ | 拱墅区 | Gǒngshù Qū | 1,120,985 | 98.58 | 8,288.81 | |
เขตซีหู | 西湖区 | Xīhú Qū | 1,112,992 | 309.41 | 2,876.44 | |
เขตปินเจียง | 滨江区 | Bīnjiāng Qū | 503,859 | 72.22 | 5,427.86 | |
เขตชานเมือง | ||||||
เขตเซียวชาน | 萧山区 | Xiāoshān Qū | 2,011,659 | 1000.64 | 1,212.42 | |
เขตยฺหวีหาง | 余杭区 | Yúháng Qū | 1,226,673 | 942.38 | 1,304.94 | |
เขตหลินผิง | 临平区 | Línpíng Qū | 1,175,841 | 286.03 | 17,933.86 | |
เขตเฉียนถัง | 钱塘区 | Qiántáng Qū | 769,150 | 523.57 | 5,930.00 | |
เขตฟู่หยาง | 富阳区 | Fùyáng Qū | 832,017 | 1,821.03 | 407.46 | |
เขตหลินอัน | 临安区 | Lín'ān Qū | 634,555 | 3,118.77 | 190.14 | |
อำเภอ | ||||||
อำเภอถงหลู | 桐庐县 | Tónglú Xiàn | 453,106 | 1,829.59 | 236.12 | |
อำเภอฉุนอัน | 淳安县 | Chún'ān Xiàn | 328,957 | 4,417.48 | 81.04 | |
นครระดับอำเภอ | ||||||
นครเจี้ยนเต๋อ | 建德市 | Jiàndé Shì | 442,709 | 2,314.19 | 192.72 |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-03-18. สืบค้นเมื่อ 2020-10-21.
- ↑ 2.0 2.1 Economic and Social Development Report of Hangzhou Metropolitan Circles (2007–2012) (ภาษาจีนตัวย่อ). Social Sciences Academic Press(China). ตุลาคม 1, 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ พฤษภาคม 12, 2013. สืบค้นเมื่อ กุมภาพันธ์ 20, 2013.
- ↑ http://thai.cri.cn/81/2008/08/05/42s130523.htm
- ↑ 中国气象数据网 - WeatherBk Data (ภาษาChinese (China)). China Meteorological Administration. สืบค้นเมื่อ 2020-04-15.
- ↑ 中国地面国际交换站气候标准值月值数据集(1971-2000年). China Meteorological Administration. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-09-21. สืบค้นเมื่อ 2010-05-25.