ข้ามไปเนื้อหา

การถอดเป็นอักษรโรมันแบบไปรษณีย์จีน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การถอดเป็นอักษรโรมันแบบไปรษณีย์
郵政式拼音邮政式拼音
ชนิด ระบบการถอดเป็นอักษรโรมันสำหรับ
ช่วงยุค
ค.ศ. 1892–2002
ภาษาพูดจีน
 บทความนี้ประกอบด้วยสัญกรณ์การออกเสียงในสัทอักษรสากล (IPA) สำหรับคำแนะนำเบื้องต้นเกี่ยวกับสัญลักษณ์ IPA โปรดดู วิธีใช้:สัทอักษรสากล สำหรับความแตกต่างระหว่าง [ ], / / และ ⟨ ⟩ ดูที่ สัทอักษรสากล § วงเล็บเหลี่ยมและทับ
การถอดเป็นอักษรโรมันแบบไปรษณีย์จีน
แผนที่ประเทศจีนพร้อมถอดรูปอักษรโรมัน ตีพิมพ์ใน ค.ศ. 1947
อักษรจีนตัวเต็ม郵政式拼音
อักษรจีนตัวย่อ邮政式拼音
ความหมายตามตัวอักษรระบบการถอดเป็นอักษรโรมันแบบไปรษณีย์

การถอดเป็นอักษรโรมันแบบไปรษณีย์ (อังกฤษ: Postal romanization)[1] เป็นระบบทับศัพท์ชื่อสถานที่ในประเทศจีนที่พัฒนาโดยหน่วยงานไปรษณีย์ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 สำหรับหลายเมือง อักษรโรมันแบบไปรษณีย์เป็นรูปแบบที่ใช้ในการเขียนชื่อเมืองในภาษาอังกฤษมากที่สุดในคริสต์ทศวรรษ 1890 จนถึงคริสต์ทศวรรษ 1980 ที่มีการแทนที่อักษรโรมันแบบไปรษณีย์ด้วยพินอิน แต่ยังคงมีการใช้งานในไต้หวันจนถึง ค.ศ. 2002

ใน ค.ศ. 1892 เฮอร์เบิร์ต ไจลส์สร้างระบบการถอดเป็นอักษรโรมันที่มีชื่อว่าชุดตัวหนังสือพยางค์หนานจิง ที่ทำการไปรษณีย์ศุลกากรทางทะเลจักรวรรดิ (Imperial Maritime Customs Post Office) จะยกเลิกไปรษณียากรพร้อมประทับตราที่ระบุเมืองต้นทางเป็นอักษรละติน ส่วนใหญ่แปลงเป็นอักษรโรมันด้วยระบบของไจลส์ ต่อมาใน ค.ศ. 1896 ไปรษณีย์ศุลกากรถูกควบรวมเข้ากับบริการไปรษณีย์อื่น ๆ และเปลี่ยนชื่อเป็นไปรษณีย์จักรวรรดิจีน (Chinese Imperial Post) ในฐานะหน่วยงานระดับชาติ ไปรษณีย์จักรวรรดิจึงเป็นผู้มีอำนาจในเรื่องชื่อสถานที่ของจีน[2]

เมื่อระบบเวด-ไจลส์เริ่มมีการใช้งานแพร่หลาย บางคนโต้แย้งว่าหน่วยงานไปรษณีย์ควรใช้งานระบบนี้ แนวคิดนี้ถูกปัดตกไปในการประชุมที่จัดขึ้นที่เซี่ยงไฮ้ใน ค.ศ. 1906 โดยทางการประชุมนำชุดตัวหนังสือพยางค์หนานจิงมาใช้งานอย่างเป็นทางการแทน[3] การตัดสินครั้งนี้อนุญาตให้หน่วยงานไปรษณีย์ยังคงใช้ระบบการถอดเป็นอักษรโรมันหลายแบบทีมีการใช้งานมาก่อนหน้านี้ การถอดเป็นอักษรโรมันแบบเวด–ไจลส์อิงจากสำเนียงปักกิ่งที่เป็นรูปสะกดมาตรฐานตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1850 การใช้ชุดตัวหนังสือพยางค์หนานจิงไม่ได้เสนอแนะว่าหน่วยงานไปรษณีย์ถือว่ารูปสะกดแบบหนานจิงเป็นรูปมาตรฐาน แต่เป็นความพยายามที่จะรองรับรูปสะกดภาษาจีนกลางที่หลากหลายด้วยระบบการถอดเป็นอักษรโรมันเพียงระบบเดียว

ตารางเปรียบเทียบ[แก้]

อักษรจีน D'Anville (1790)[4] ไปรษณีย์ เวด–ไจลส์[5] พินอิน[6]
1907[a] 1919,[7] 1947[b]
北京 Peking
  • Peking
  • Pehking
Peking (1919) Pei-ching Běijīng
北平 Peiping (1947) Pei-pʻing Běipíng
成都 Tching-tou-fou Ch'êngtu Chengtu Ch’êng-tu Chéngdū
重慶;重庆 Tchong-kin-fou Ch'ungk'ing Chungking Ch’ung-ch’ing Chóngqìng
廣東;广东 Quang-tong Kwangtung Kwangtung Kuang-tung Guǎngdōng
廣州;广州
  • Quang-tcheou
  • Canton
Kwangchow
  • Canton
  • Kwangchow
Kuang-chou Guǎngzhōu
桂林 Quei-li-ng-fou Kweilin Kuei-lin Guìlín
杭州 Hang-tcheou Hangchow Hang-chou Hángzhōu
江蘇;江苏 Kiang-nan Kiangsu Chiang-su Jiāngsū
濟南;济南 Tci-nan-fou Tsinan Chi-nan Jǐnán
南京 Nan-king Nanking Nan-ching Nánjīng
青島青岛 Ts'ingtao Tsingtao Ch’ing-tao Qīngdǎo
四川 Se-tchuen Szechw'an Szechwan Ssu-ch’uan Sìchuān
蘇州;苏州 Sou-tcheou-fou
  • Soochow
  • Suchow
Soochow Su-chou Sūzhōu
天津 Tien-king-oei T'ientsin Tientsin T’ien-chin Tiānjīn
廈門厦门
  • Hia-men
  • Emoui
Hsiamên Amoy Hsia-mên Xiàmén
西安 Si-ngan-fou Singan
  • Sianfu
  • Sian
Hsi-an Xī'ān

รูปสะกด "Amoy" อิงตามการอ่านชื่อเมืองเซี่ยเหมินจากภาษาฮกเกี้ยนสำเนียงจางโจวว่า 廈門; Ēe-mûi ซึ่งในอดีตมีส่วนในการจัดตั้งสำเนียงอามอยแห่งฮกเกี้ยนในเซี่ยเหมิน รูปสะกด "Peking" นำมาจากแผนที่ของ d'Anville ซึ่งมาจากตำราก่อนหน้า เช่น De Bello Tartarico Historia (1654) และ Novus Atlas Sinensis (1655) ของมาร์ติโน มาร์ตินี เยซูอิตชาวอิตาลี ส่วนชุดตัวหนังสือพยางค์หนานจิง ชื่อนครนี้เขียนเป็น Pehking[8] อักขรวิธี oo ใน "Soochow" ที่เขียนไม่ตามกฎ เพื่อแยกนครนี้จากซูโจวในมณฑลเจียงซูตอนเหนือ[9] การถอดเป็นอักษรโรมันแบบไปรษณีย์อื่น ๆ อิงจาก "ภาษาจีนกลางตอนใต้" สำเนียงราชสำนักในอดีตที่อิงจากสำเนียงหนานจิง ซึ่งใช้เป็นภาษากลางราชสำนักในสมัยราชวงศ์หมิงตอนปลายถึงราชวงศ์ชิงตอนต้น รูปสะกดพินอินอิงจากภาษาจีนมาตรฐานที่มีฐานจากสำเนียงปักกิ่งที่ใช้ในระบบการศึกษาจีน

หลังก๊กมินตั๋งขึ้นมามีอำนาจใน ค.ศ. 1927 จึงย้ายเมืองหลวงจากปักกิ่ง ('เมืองหลวงทางเหนือ') ไปยังหนานจิง ('เมืองหลวงทางใต้') ปักกิ่งจึงถูกเปลี่ยนชื่อเป็น "Peiping" ('สันติภาพทางเหนือ')[10]

ประวัติ[แก้]

หมายเหตุ[แก้]

  1. Richard, Louis, Kennelly, M, L. Richard's Comprehensive geography of the Chinese empire and dependencies Shanghai: Tusewei press, 1908, pp. 590 and ff. Cites the Government Red Book of April 1907.
  2. 1947 Chinese Republic, Outer Mongolia," 1947. p. 6. This map uses postal romanization, but with some misspellings.

อ้างอิง[แก้]

  1. Postal Romanization. Taipei: Directorate General of Posts. 1961. OCLC 81619222.
  2. Harris (2009), p. 96.
  3. Harris (2009), p. 101.
  4. Anville, Jean Baptiste Bourguignon, Atlas général de la Chine, de la Tartarie chinoise, et du Tibet : pour servir aux différentes descriptions et histoires de cet empire (1790). This is an expanded edition of an atlas first published in 1737.
  5. "Mongolia and China", Pergamon World Atlas, Pergamon Press, Ltd, 1967).
  6. "China.," United States. Central Intelligence Agency, 1969.
  7. Jacot-Guillarmod (1919).
  8. Richard, p. 618.
  9. Richard, p. 625.
  10. Harris, Lane J. (2009). "A "Lasting Boon to All": A Note on the Postal Romanization of Place Names, 1896–1949". Twentieth-Century China. 34 (1): 96–109. doi:10.1353/tcc.0.0007. S2CID 68653154.

บรรณานุกรม[แก้]

  • China Postal Working Map 大清郵政公署備用輿圖, Shanghai: Oriental Press, 1903.
  • China Postal Album: Showing the Postal Establishments and Postal Routes in Each Province (1st ed.), Shanghai: Directorate General of Posts, 1907.
  • Jacot-Guillarmod, Charles, บ.ก. (1919), China Postal Album: Showing the Postal Establishments and Postal Routes in Each Province (2nd ed.), Beijing: Directorate General of Posts.
  • Postal Atlas of China 中華郵政輿圖, Nanjing: Directorate General of Posts, 1933.
  • China Postal Atlas 中華民國郵政輿圖, Nanjing: Directorate General of Posts, 1936.
  • Playfair, G.M.H. (1910), The Cities and Towns of China: A Geographical Dictionary (2nd ed.), Shanghai: Kelly & Walsh.
  • Stanford, Edward (1917), Complete Atlas of China (2nd ed.), London: China Inland Mission.
  • Stoneman, Elvyn A.; และคณะ, บ.ก. (July 1979), Gazetteer of the People's Republic of China, Washington, DC: United States Board on Geographic Names.
  • "邮政式拼音 Postal-Style Spelling", 中国大百科全书 (ภาษาจีน), Beijing: Encyclopedia of China Publishing House, 1998.