สแกมจ่ายเงินล่วงหน้า

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สแกมจ่ายเงินล่วงหน้า (อังกฤษ: advance-fee scam) เป็นกลฉ้อฉลวิธีหนึ่งที่มิจฉาชีพหลอกให้เหยื่อจ่ายเงินล่วงหน้าเพื่อจะได้รับอะไรอย่างอื่นอันมีค่ามากกว่าโดยจริงๆ ก็จะไม่ได้ เหยื่อมักจะได้รับข้อความทางสื่อสังคม ข้อความเอสเอ็มเอส อีเมล โทรศัพท์ หรือจดหมาย ที่ระบุว่าเหยื่อได้เงิน ได้รางวัล ของขวัญ เงินกู้ คริปโทเคอร์เรนซี หุ้น บริการ ผลิตภัณฑ์ หรือถูกลอตเตอรี่ โดยเหยื่อจะต้องจ่ายค่าธรรมเนียม ภาษี หรือค่าใช้จ่ายอะไรอื่นๆ ล่วงหน้า เมื่อเหยื่อจ่ายเงินแล้ว มิจฉาชีพก็อาจจะหายตัวไปโดยเหยื่อไม่ได้รับอะไรๆ เลย[1][2] หรืออาจจะอ้างว่ายังมีค่าธรรมเนียมอื่นๆ อีก

ในประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (สง.ก.ตร.) ระบุว่าเป็นการหลอกลวงด้วยเรื่องราวต่าง ๆ ให้เหยื่อโอนเงินให้คนร้าย เช่น เป็นผู้โชคดีได้รับรางวัล ได้ซื้อสินค้าราคาพิเศษ ได้โรงแรมที่พักฟรี ได้สิทธิ์พิเศษต่างๆ เป็นต้น แต่ต้องชำระค่าธรรมเนียมก่อนล่วงหน้าให้คนร้าย ซึ่งแอบอ้างเป็นหน่วยงาน เช่น ธนาคาร การไปรษณีย์ กรมศุลกากร เป็นต้น[3]

มีสแกมหลายอย่างเช่นนี้รวมทั้งสแกมต้นตำรับเดิมคือ สแกมเจ้าชายไนจีเรีย (ไนจีเรียนพรินซ์) หรือที่เรียกว่า สแกม 419 โดยหมายเลข 419 หมายถึงประมวลกฎหมายอาญาไนจีเรียข้อที่ 419 ซึ่งเกี่ยวกับกลฉ้อฉล บทลงโทษและค่าปรับสำหรับผู้ฝ่าฝืนกฎหมาย[4] แม้สแกม 419 จะเคยทำโดยใช้โทรสารกับไปรษณีย์ แต่ปัจจุบันก็มักใช้วิธีการสื่อสารออนไลน์ เช่น อีเมล[1]

รูปแบบอื่นๆ ของการฉ้อฉลนี้รวม Spanish Prisoner ที่เหยื่อจ่ายค่าช่วยนักโทษที่ร่ำรวยออกจากคุกโดยหวังรางวัล และ black money scam ที่เหยื่อจ่ายค่าอุปกรณ์เพื่อชำระสิ่งสกปรกออกจากธนบัตรโดยหวังส่วนแบ่ง

แม้ประเทศไนจีเรียมักจะมีชื่อในสแกมที่กล่าวมา ปัจจุบันมิจฉาชีพมักจะมาจากประเทศอื่นๆ รวมทั้งประเทศโกตดิวัวร์[5] โตโก[6] แอฟริกาใต้[7] เนเธอร์แลนด์[8] สเปน[9] โปแลนด์[10] จาเมกา[11][12] และประเทศไทยเอง[13]

ประวัติสแกม 419[แก้]

สแกม 419 ในปัจจุบันเหมือนกับสแกมนักโทษชาวสเปนที่เริ่มทำมาตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18[14][15] โดยมิจฉาชีพจะติดต่อกับเหยื่อนักธุรกิจว่า กำลังจะช่วยนักโทษตระกูลร่ำรวยให้หนีออกจากคุกในสเปน ถ้าเหยื่อช่วยจ่ายเงินใต้โต๊ะจำนวนเล็กน้อยให้แก่ผู้คุมนักโทษ ก็จะได้รับส่วนแบ่งรางวัลจากตระกูลนักโทษ[16]

รูปแบบหนึ่งของสแกมซึ่งเริ่มตั้งแต่ประมาณปี 1830 มีเนื้อความคล้ายกับที่พบในอีเมลสแกมทุกวันนี้คือ "คุณอาจจะแปลกใจที่ได้รับจดหมายจากคนที่คุณไม่รู้จัก ผู้กำลังจะขอความช่วยเหลือจากคุณ..." แล้วกล่าวถึงหีบสมบัติที่มีทองและเพชรมีมูลค่า 16,000 ฟรังค์ฝรั่งเศส ซึ่งเป็นของท่านผู้หญิงที่เสียชีวิตไปแล้วผู้หนึ่ง[17]

สแกมข้ามประเทศรูปแบบปัจจุบันสามารถสืบสาวไปถึงสแกมในเยอรมนีปี 1922[18] โดยกลายเป็นที่นิยมในช่วงทศวรรษ 1980 มีรูปแบบจดหมายหลายอย่าง โดยรูปแบบหนึ่งซึ่งส่งทางไปรษณีย์ จะส่งไปให้สามีของผู้หญิงเพื่อถามถึงสุขภาพของเขา แล้วจึงถามว่าจะทำอะไรกับผลกำไรมูลค่า 24.6 ล้านเหรียญสหรัฐโดยระบุเบอร์โทรศัพท์ไว้ที่ท้ายจดหมาย[19]

อีกรูปแบบหนึ่งเป็นจดหมายที่มิจฉาชีพระบุว่าเป็นผู้บริหารบริษัทปิโตเลียมไนจีเรียแห่งชาติ และกล่าวว่าต้องการจะโอนเงิน 20 ล้านเหรียญสหรัฐซึ่งเป็นเงินงบประมาณที่ไม่ได้ใช้ไปยังบัญชีของเหยื่อ โดยเหยื่อจะได้รับเงิน 30% เป็นส่วนแบ่ง มิจฉาชีพจะเริ่มโดยขอให้เหยื่อส่งกระดาษมีตราบริษัท เลขบัญชี และข้อมูลส่วนตัวอื่นๆ[20][21] ยังมีรูปแบบอื่นๆ อีกที่อ้างเจ้าชายไนจีเรีย หรือราชตระกูลพระองค์อื่นๆ ที่มีพระประสงค์จะโอนเงินจำนวนมากออกจากประเทศ ดังนั้น สแกมเช่นนี้จึงมีชื่อว่า อีเมลไนจีเรียนพรินซ์ (Nigerian Prince email)[22][23]

ต่อมาการใช้อีเมลและโปรแกรมล่าที่อยู่อีเมลอย่างแพร่หลาย ได้ลดค่าใช้จ่ายการส่งจดหมายสแกมโดยใช้อินเทอร์เน็ตแทนไปรษณีย์ข้ามประเทศ[24][25] แม้ไนจีเรียจะเป็นประเทศที่กล่าวถึงในสแกมนี้ แต่ก็อาจมาจากประเทศอื่นๆ ได้เช่นกัน[26] ตัวอย่างเช่น ในปี 2007 หัวหน้าหน่วยตำรวจกลาง EFCC ของไนจีเรียระบุว่า อีเมลสแกมเหล่านี้มักจะมาจากประเทศแอฟริกาหรือประเทศยุโรปตะวันออก[27] ในสหภาพยุโรป มีการฉ้อฉลเช่นนี้มากในประเทศเนเธอร์แลนด์[8] และสเปน[9]

นักค้นคว้าของไมโครซอฟต์ระบุว่า "เพราะส่งแต่อีเมลที่ไม่น่าสนใจต่อคนโดยมากยกเว้นคนที่เชื่อง่าย มิจฉาชีพจึงเท่ากับให้บุคคลเหล่านี้เลือกตัวเองเป็นเหยื่อ"[28] ส่วนผู้บริหารองค์กรความมั่นคงแห่งชาติไนจีเรียระบุว่า มิจฉาชีพที่อ้างว่าตนเป็นคนไนจีเรียโดยมากจะไม่ใช่ แต่เพราะประเทศมีชื่อเสียงเกี่ยวกับคอร์รัปชั่น การอ้างว่าเป็นคนไนจีเรียจึงทำให้สแกมน่าเชื่อถือยิ่งขึ้น[29] ไนจีเรียมีชื่อเสียงฉาวโฉ่ว่าเป็นศูนย์กลางสแกมอีเมล[30][31]

งานศึกษาปี 2018 พบว่า ดนตรีไนจีเรียแบบฮิปฮอปได้ทำกลฉ้อฉลทางไซเบอร์แบบนี้ให้ดูเหมือนเป็นเรื่องดี[32] มิจฉาชีพบางพวกจะมีผู้สมรู้ร่วมคิดในสหรัฐและประเทศอื่นๆ ที่จะคอยช่วยทำการฉ้อฉลให้สำเร็จเมื่อติดต่อกับเหยื่อได้แล้ว[33]

แรงจูงใจ 419[แก้]

มิจฉาชีพ 419 มักจะมีพื้นเพเป็นคนยากจนที่มีการศึกษาและเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ เพราะไม่สามารถซื้อหาปัจจัยสี่ได้ จึงทำให้เริ่มการฉ้อฉลออนไลน์ ทั้งยังได้รับอิทธิพลจากคนดังทางสื่อสังคมที่ทำให้การฉ้อฉลดูเหมือนเป็นเรื่องดี เพราะทำให้ได้ของมีค่าเช่นรถสปอรต์และแฟชั่นหรูได้ง่ายๆ[34]

ในประเทศไนจีเรีย การฉ้อฉลได้เพิ่มขึ้นเพราะเหตุความเจริญรุ่งเรืองของร้านบริการอินเทอร์เน็ต และเพราะปัญหาทางเศรษฐกิจในช่วงทศวรรษ 1980 ซึ่งทำให้เยาวชนไม่มีงานทำ[35][36]

ปฏิบัติการ 419[แก้]

การสแกมจะเริ่มที่มิจฉาชีพติดต่อกับเหยื่อทางอีเมล ระบบส่งข้อความทันที หรือสื่อสังคม ด้วยบัญชีอีเมลหรือบัญชีสื่อสังคมปลอม[37] แล้วจึงเสนอแผนการโดยหลอกเหยื่อว่าจะได้เงินจำนวนมาก[16][38] หัวเรื่องและรายละเอียดเนื้อหาอาจจะต่างๆ กัน แต่ปกติจะกุเรื่องว่าตนเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือของธนาคาร ที่รู้ว่ามีเงินทองที่ไม่มีใครรู้แต่ตนเองไม่สามารถยึดเอาได้เองโดยไม่มีคนช่วย[39]

คนที่มิจฉาชีพแอบอ้างว่าเป็นตน อาจเป็นบุคคลที่มีอยู่จริงหรือบุคคลที่สร้างขึ้น อาจเป็นภรรยาหรือบุตรของผู้นำแอฟริกาผู้ได้สะสมทรัพย์สมบัติอย่างไม่ถูกต้อง หรือเป็นพนักงานของธนาคารที่รู้จักคนไข้ร่ำรวยผู้รอวันตายโดยไม่มีญาติพี่น้อง หรือคนรวยต่างชาติที่ได้ฝากเงินไว้กับธนาคารก่อนจะเสียชีวิตเพราะเครื่องบินตกโดยไม่มีพินัยกรรมหรือญาติพี่น้อง[40] อาจเป็นทหารสหรัฐผู้ได้พบที่ซ่อนสมบัติในประเทศอิรัก หรือเป็นหัวหน้าธุรกิจที่รัฐบาลกำลังตรวจสอบ เป็นพนักงานบริษัทที่ต้องการแก้แค้นบริษัท หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ได้ขโมยงบประมาณของรัฐ หรือเป็นผู้ลี้ภัย[41] เป็นต้น

ทรัพย์อาจระบุว่าอยู่ในรูปแบบแท่งทอง ผงทอง เงินในบัญชีธนาคาร เพชรสงคราม เช็คหรือตั๋วแลกเงินธนาคาร เป็นต้น โดยอาจมีค่าเป็นล้านๆ เหรียญสหรัฐ (สิบๆ ล้านบาท) เหยื่อจะได้ส่วนแบ่งโดยปกติระหว่าง 10-50% เพื่อนำทรัพย์นั้นออกมา แม้คนโดยมากจะไม่ตอบรับอีเมลเช่นนี้ แต่ก็จะมีส่วนน้อยที่ตอบรับ พอให้คุ้มเวลามิจฉาชีพเพราะส่งข้อความได้เป็นล้านๆ ข้อความต่อวัน[42]

เพื่อหลอกเหยื่อให้ตกลงส่งเงิน มิจฉาชีพมักจะส่งเอกสารปลอมที่มีตราหรือเครื่องหมายทางการของรัฐ[43] มิจฉาชีพมักจะให้ที่อยู่ปลอมและใช้รูปภาพที่ได้มาจากอินเทอร์เน็ตหรือนิตยสารเพื่อยืนยันว่าเป็นตน[ต้องการอ้างอิง] ภาพบุคคลที่ใช้ก็มักจะไม่เกี่ยวกับการฉ้อฉลนั้นโดยประการทั้งปวง อาจจะมี "หลายคน" ที่ติดต่อกับเหยื่อ แต่จริงๆ ก็จะเป็นคนปลอมๆ ทั้งหมด บ่อยครั้ง จะมีแค่มิจฉาชีพเพียงคนเดียวที่ปลอมเป็นคนที่เกี่ยวข้องทั้งหมด[5]

เมื่อเหยื่อเริ่มเชื่อใจแล้ว มิจฉาชีพก็จะอ้างเหตุการณ์หรือปัญหาการเงินที่ทำให้แผนไม่เป็นไปตามกำหนด เช่น "เพื่อจะส่งเงิน ต้องให้สินบนแก่เจ้าหน้าที่ธนาคาร คุณให้ยืมเงินหน่อยได้ไหม" หรือว่า "เพื่อจะเป็นฝ่ายร่วมในธุรกรรม คุณจะต้องมีเงินฝากกับธนาคารไนจีเรียโดยมีมูลค่าแสนเหรียญสหรัฐหรือเกินกว่านั้น" หรืออะไรเช่นกันอื่นๆ[ต้องการอ้างอิง] นี่จะเป็นเงินที่เหยื่อจะถูกโกง เพราะเหยื่อปกติจะส่งเงินให้ด้วยวิธีที่เอาคืนไม่ได้ เช่น การโอนเงินผ่านสถาบันการเงินบางประเภท จึงเป็นการส่งเงินเข้ากระเป๋าของมิจฉาชีพโดยตรง[5]

บ่อยครั้งแต่ไม่เสมอไป มิจฉาชีพจะกุอุปสรรคและค่าใช้จ่ายยิ่งๆ ขึ้น เป็นการล่อเหยื่อว่าจะได้เงินก้อนใหญ่ต่อไปเรื่อยๆ โดยล่อเหยื่อว่าเงินที่ได้คืนจะมากกว่าที่กำลังใช้จ่ายเป็นหลายเท่า[ต้องการอ้างอิง] และเพราะเงินที่เหยื่อจ่ายระบุว่าจะใช้ทำกิจที่ผิดกฎหมาย เช่น ติดสินบน หรือว่าเงินที่ได้เป็นเงินที่ขโมยมาจากรัฐบาลหรือจากตระกูลคนรวยหรือราชตระกูล เหยื่อจึงไม่กล้าบอกผู้อื่นถึง "ธุรกรรม" เหล่านี้ เพราะเท่ากับสารภาพว่ามีส่วนร่วมในอาชญากรรม[5]

บางครั้งมิจฉาชีพจะสร้างความกดดันโดยระบุว่า สำหรับค่าใช้จ่ายของตน มิจฉาชีพต้องขายของใช้และบ้าน หรือเทียบระดับเงินเดือนของตนหรือความเป็นอยู่ของตนกับความเป็นอยู่ของเหยื่อ[44][45] แต่โดยมากเหยื่อก็จะกดดันตัวเองเพราะเมื่อได้ให้เงินแล้ว ก็จะรู้สึกว่าต้องทำให้ธุรกรรมนี้สำเร็จ เหยื่อบางคนถึงกับเชื่อว่า จะสามารถโกงอีกฝ่ายหนึ่งแล้วเอาเงินไปทั้งหมดได้ ไม่ใช่เพียงแค่ส่วนแบ่งที่ระบุไว้แต่ตอนต้นเท่านั้น[5]

สิ่งที่แน่นอนในสแกม 419 ก็คือ การโอนเงินให้เหยื่อจะไม่เกิดขึ้นเพราะเงินนั้นไม่มีจริงๆ มิจฉาชีพจะอาศัยว่า กว่าเหยื่อจะรู้ตัวว่าถูกโกง (โดยมากเพราะมีบุคคลที่สามซึ่งเห็นการติดต่อสื่อสาร เห็นธุรกรรมทางการเงิน แล้วเข้าใจว่าเป็นสแกม) เหยื่อก็ได้ส่งเงินให้แก่มิจฉาชีพไปเรียบร้อยแล้ว เหยื่อบางคนถึงกับกู้เงินหรือขโมยเงินส่งไปให้แก่มิจฉาชีพ[5] แล้วในที่สุดมิจฉาชีพก็จะหายตัวไป โดยเหยื่อจะต้องรับผิดชอบกับเงินที่ตนส่งไปให้ทั้งหมด

บางครั้ง มิจฉาชีพจะขอให้เหยื่อส่งข้อมูลบัญชีธนาคารไปให้ นี่เป็นการวัดใจเหยื่อว่า จะหลงเชื่อได้ง่ายและมากแค่ไหน[8] โดยมิจฉาชีพจะไม่ได้ใช้ข้อมูลนั้นโดยตรงเพราะการลอบถอนเงินจากบัญชีธนาคารตรวจสอบได้ง่ายกว่า เอาคืนได้ง่ายกว่า และติดตามได้ง่ายกว่า ดังนั้น มิจฉาชีพปกติจะขอให้ส่งเงินไปทางบริการการเงินเช่น Western Union และ MoneyGram[46] เหตุผลที่อ้างมักจะเป็นเรื่องความรวดเร็วในการรับและการจัดการเงิน เพื่อให้นำเอาทรัพย์สินที่ว่าออกมาได้เร็วที่สุด แต่เหตุผลจริงๆ ก็คือ วิธีการส่งเงินทางบริการเช่นนี้จะเอาคืนไม่ได้และตรวจติดตามไม่ได้ อนึ่ง บริการเช่นนี้ไม่จำเป็นต้องตรวจบันทึกรายละเอียดบุคคลเกินกว่าที่จำเป็นในธุรกรรม ทำให้การรับเงินด้วยบริการนี้แทบเป็นนิรนาม[5] อย่างไรก็ดี ข้อมูลบัญชีธนาคารที่มิจฉาชีพได้ไปบางครั้งจะเหมาขายไปให้มิจฉาชีพอื่นผู้ก็จะรอเป็นเดือนๆ ให้เหยื่อแก้ปัญหาทางการเงินที่เกิดขึ้นเนื่องกับสแกมเบื้องต้น ก่อนที่จะโอนเงินออกจากบัญชีที่เหยื่อไม่ได้ปิด

เบอร์โทรศัพท์ที่มิจฉาชีพใช้มักจะเป็นเบอร์ใช้ชั่วคราว ในประเทศโกตดิวัวร์ มิจฉาชีพสาสามารถซื้อมือถือราคาถูกกับซิมการ์ดโดยไม่ต้องแสดงบัตรประจำตัวโดยประการทั้งปวง ถ้าเชื่อว่ากำลังถูกเจ้าหน้าที่ติดตาม ก็เพียงแค่ทิ้งมือถือแล้วซื้อเครื่องใหม่[5] สแปมอีเมลมักจะส่งที่ร้านบริการอินเทอร์เน็ตที่รับส่งข้อมูลผ่านดาวเทียม[ต้องการอ้างอิง] ที่อยู่อีเมลและเนื้อความที่ส่งจะก๊อปมาจากหน่วยเก็บข้อมูลต่างหากๆ เช่นเมมโมรี่การ์ด[ต้องการอ้างอิง] บริเวณต่างๆ ของเมืองเลกอสจะมีร้านบริการอินเทอร์เน็ตที่ให้บริการกับมิจฉาชีพ โดยมักจะปิดล็อกประตูนอกเวลาบริการ เช่น ระหว่าง 22:30-7:00 เพื่อให้มิจฉาชีพที่อยู่ข้างในทำการได้โดยไม่ถูกตรวจพบ[47]

ไนจีเรียยังมีธุรกิจต่างๆ ที่จำหน่ายเอกสารปลอมที่ใช้ในสแกม หลังจากมีการปลอมลายเซ็นของประธานาธิบดีไนจีเรียในปี 2005 เจ้าหน้าที่ก็ได้บุกจับมิจฉาชีพในตลาดเมืองเลกอส[48] โดยยึดหนังสือเดินทางทั้งของไนจีเรียและของต่างประเทศได้เป็นพันๆ เล่ม ได้บอร์ดดิ้งพาสสายการบินบริติชแอร์เวย์เป็นหมื่น ได้ธนาณัติไปรษณีย์สหรัฐเป็นหมื่น ได้เอกสารเข้าเมือง ได้ใบปริญญามหาวิทยาลัยปลอม ได้แผ่นแม่พิมพ์ 500 แผ่น และได้คอมพิวเตอร์กว่า 500 เครื่อง[47]

อัตราความสำเร็จของมิจฉาชีพรู้ได้ยาก เพราะทำการผิดกฎหมายจึงไม่มีการบันทึกข้อมูลที่ดี แต่ก็มีมิจฉาชีพอยู่คนหนึ่งที่ได้ประเมินว่า วันหนึ่งจะส่งอีเมลได้ประมาณ 500 ฉบับโดยจะได้คำตอบ 7 ฉบับ และเมื่อได้รับคำตอบ ก็จะได้รับเงินประมาณร้อยละ 70[33] ดังนั้น ถ้ามีการส่งอีเมลเป็นหมื่นๆ ฉบับต่อวันโดยคนเป็นพันๆ ก็จะไม่ต้องได้อัตราความสำเร็จที่สูงเพื่อให้คุ้มค่าเวลา[49]

การรับมือ[แก้]

ในปีที่ผ่านๆ มา ทั้งรัฐบาล บริษัทอินเทอร์เน็ต และผู้ใช้ต่างพยายามหาทางสู้กับมิจฉาชีพในเรื่องสแกมจ่ายเงินก่อนและสแกม 419 เช่น ในปี 2004 รัฐบาลไนจีเรียได้ก่อตั้งคณะกรรมการอาชญากรรมทางเศรษฐกิจและการเงิน (Economic and Financial Crimes Commission ตัวย่อ EFCC)[50] ในปี 2009 EFCC ประกาศว่าได้เริ่มใช้เทคโนโลยีของไมโครซอฟต์เพื่อติดตามอีเมลฉ้อฉล โดยตั้งใจจะมีบริการ "Eagle Claw" เพื่อส่งข้อความเตือนให้แก่บุคคลที่อาจกลายเป็นเหยื่อเป็นล้านๆ คน[30]

บุคคลบางพวกเข้าร่วมทำการที่เรียกว่า การตกเบ็ดสแกม (scam baiting) โดยแสดงตัวให้เหมือนเหยื่อแล้วติดต่อคุยกับมิจฉาชีพโดยใช้เวลานานๆ เพื่อทำให้มิจฉาชีพเสียเวลาและมีเวลาน้อยลงในการติดต่อกับเหยื่อจริงๆ[51] ยังมีกลุ่มอาสาสมัครเช่น Artists Against 419 ที่ดำรงฐานข้อมูลเกี่ยวกับเว็บไซต์ที่ทำการสแกม โดยทำงานร่วมกับกลุ่ม Anti-Phishing Working Group ซึ่งแชร์ข้อมูลกับสถาบันการเงินและบริษัทความมั่นคงทางไซเบอร์

องค์ประกอบที่เหมือนๆ กัน[แก้]

การจ่ายเงินแบบเอาคืนไม่ได้[แก้]

วิธีหลักของสแกมจ่ายเงินก่อนก็คือ ธุรกรรมในการจ่ายเงินให้แก่มิจฉาชีพจะต้องติดตามและเอาคืนไม่ได้ ไม่เช่นนั้นแล้ว เมื่อเหยื่อรู้ตัวว่าถูกสแกมแล้ว ก็จะเอาเงินคืนได้ และแจ้งเจ้าหน้าที่ให้ติดตามบัญชีของมิจฉาชีพ[ต้องการอ้างอิง] การโอนเงินผ่านบริการเช่น Western Union และ MoneyGram มักจะเข้ากับกระบวนการเช่นนี้ การโอนเงินธนาคารข้ามประเทศก็ไม่สามารถยกเลิกหรือเอาคืนได้เช่นกัน และคนที่รับเงินก็ติดตามไม่ได้ วิธีการจ่ายเงินที่ยกเลิกไม่ได้อื่นๆ รวมทั้งธนาณัติและแคชเชียร์เช็ค (เช็คที่ธนาคารเป็นผู้ออก)[ต้องการอ้างอิง]

การสื่อสารแบบนิรนาม[แก้]

เพราะธุรกรรมของมิจฉาชีพต้องติดตามไม่ได้เพื่อไม่ให้จับตัวบุคคลได้ และเพราะมิจฉาชีพมักจะอ้างว่าตนเป็นคนอื่น การสื่อสารกับเหยื่อจึงต้องผ่านช่องทางที่อำพรางตัวบุคคลได้[ต้องการอ้างอิง] มิจฉาชีพมักจะใช้วิธีการดังต่อไปนี้

อีเมลทางเว็บ[แก้]

เพราะบริการอีเมลหลายแห่งไม่ขอข้อมูลที่ระบุตัวบุคคล แล้วยังให้สื่อสารกับเหยื่อหลายๆ คนในช่วงระยะเวลาสั้นๆ จึงมักเป็นช่องทางสื่อสารที่นิยมสำหรับมิจฉาชีพ[ต้องการอ้างอิง][52] บริการบางแห่งถึงกับซ่อนเลขที่อยู่ไอพีของผู้ส่งอีเมล (โดยนิยมจีเมล) จึงทำให้สืบหาประเทศต้นตอไม่ได้ มิจฉาชีพยังสามารถตั้งบัญชีหลายบัญชีได้ตามที่ต้องการ ถึงแม้เมื่อผู้ให้บริการจะรู้ถึงธุรกรรมที่ผิดกฎหมายของมิจฉาชีพแล้วระงับบัญชี การตั้งบัญชีขึ้นใหม่ก็เป็นเรื่องง่าย[ต้องการอ้างอิง]

การแฮ็กยึดบัญชีอีเมล/หลอกว่าเป็นเพื่อน[แก้]

มิจฉาชีพบางพวกจะแฮ็กยึดบัญชีอีเมลที่มีอยู่แล้วใช้ในสแกมจ่ายเงินล่วงหน้า ยกตัวอย่างเช่น อาจใช้บัญชีจริงๆ ของบุคคลเหล่านั้นเพื่อหลอกว่าเป็นเพื่อนร่วมงาน เป็นเพื่อน เป็นสมาชิกครอบครัว เมื่อจะหลอกเอาเงิน[53] โดยอาจใช้เทคนิคต่างๆ เช่น ฟิชชิง การบันทึกการกดคีย์ และไวรัสคอมพิวเตอร์ เพื่อแฮ็กเข้าบัญชีอีเมลเหล่านั้น

การส่งโทรสาร[แก้]

เครื่องโทรสารเป็นอุปกรณ์ที่ธุรกิจมักใช้เมื่อลูกค้าต้องการได้เอกสารที่เป็นรูปธรรม[ต้องการอ้างอิง] แต่ก็มีบริการเว็บ หรือโทรศัพท์มือถือที่ใช้ซิมจ่ายค่าบริการล่วงหน้าโดยต่อกับเครื่องโทรสารเคลื่อนที่ได้ หรือใช้เครื่องโทรสารในร้านให้บริการธุรกรรม ซึ่งทำให้สืบติดตามต้นตอได้ยาก ดังนั้น มิจฉาชีพที่แสดงตนเป็นธุรกิจอาจใช้โทรสารเป็นวิธีการสื่อสารนิรนาม ซึ่งแม้จะแพงกว่าเพราะโทรศัพท์มือถือบวกกับเครื่องโทรสารมีค่าใช้จ่ายมากกว่าอีเมล แต่สำหรับเหยื่อที่ช่างสงสัย นี่ก็อาจทำให้เชื่อได้ง่ายขึ้น[ต้องการอ้างอิง]

ข้อความเอสเอ็มเอส[แก้]

ในประเทศที่มีบริการส่งข้อความสั้น (เอสเอ็มเอส) มิจฉาชีพสามารถสมัครใช้บริการโดยใช้ข้อมูลเท็จและจ่ายค่าบริการด้วยเงินสดหรือเลขบัตรเครดิตที่ถูกขโมยมา[ต้องการอ้างอิง] แล้วส่งข้อความสั้นเป็นจำนวนมากไปยังโทรศัพท์มือถือ โดยโฆษณาว่าเหยื่อได้ชนะการชิงรางวัล ถูกล็อตเตอรี่ หรือได้ของขวัญ โดยให้ติดต่อกับใครคนหนึ่งเพื่อรับสิ่งนั้นๆ ปกติแล้วคนที่ต้องติดต่อก็จะมีที่อยู่อีเมลหรือเบอร์โทรศัพท์ที่ติดตามไม่ได้[ต้องการอ้างอิง] โดยอาจจะส่งข้อความสั้นในช่วงสุดสัปดาห์ที่พนักงานของผู้ให้บริการข้อความสั้นไม่ทำงาน จึงทำให้ส่งข้อความเป็นจำนวนมากได้ตลอดสุดสัปดาห์

การชวนให้ไปเที่ยว[แก้]

บางครั้ง มิจฉาชีพจะชวนให้เหยื่อไปเที่ยวที่ประเทศของตนเพื่อพบกับเจ้าหน้าที่รัฐบาล กับผู้ร่วมทำการของมิจฉาชีพ หรือพบกับมิจฉาชีพเอง มิจฉาชีพอาจจะบอกว่าเหยื่อไม่จำเป็นต้องได้วีซ่า หรือว่าจะช่วยจัดการให้[54] ซึ่งเพิ่มช่องทางการเรียกเงินจากเหยื่อ[54]

บางครั้งเหยื่อจะถูกจับเรียกค่าไถ่ หรือแม้แต่ถูกฆ่า ตามรายงานกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐปี 1995 มีคน 20 คนที่ถูกฆ่าระหว่างปี 1992-1995 ในไนจีเรียเมื่อเดินทางไปติดตามผลงาน[54] ในปี 1999 มีเศรษฐีชาวนอร์เวย์ที่ถูกล่อไปยังประเทศแอฟริกาใต้แล้วถูกฆ่า[55] ในปี 2004 มีเศรษฐีชาวกรีกอีกคนที่ถูกล่อให้ไปแอฟริกาใต้แล้วถูกฆ่า[56]

รูปแบบอื่นๆ[แก้]

มีรายละเอียดต่างๆ กันเกี่ยวกับเรื่องที่ใช้ในสแกม โดยสแกมเองก็สามารถผันไปได้หลายรูปบบ เช่น การหลอกขายสินค้า การหลอกให้ทำงานเสริมออนไลน์ เงินกู้ออนไลน์ หลอกลวงให้ลงทุน หลอกให้รักแล้วลงทุน หลอกให้รักแล้วโอนเงิน เป็นผู้โชคดีได้รับรางวัล ได้ซื้อสินค้าราคาพิเศษ ได้โรงแรมที่พักฟรี ได้สิทธิ์พิเศษต่างๆ เป็นต้น แต่ต้องชำระค่าธรรมเนียมก่อนล่วงหน้าให้คนร้าย ซึ่งแอบอ้างเป็นหน่วยงาน เช่น ธนาคาร การไปรษณีย์ กรมศุลกากร เป็นต้น[3]

การหลอกให้รัก[แก้]

รูปแบบหนึ่งของสแกมจ่ายเงินล่วงหน้าก็คือ การหลอกให้รัก โดยแน่นอนว่าจะต้องมีเรื่องเงินๆ ทองๆ มาร่วมด้วย[57] มิจฉาชีพจะหาเหยื่อทางแอปหาคู่ หรือทางสื่อสังคม หรือทางบัญชีออนไลน์อื่นๆ[3] โดยปลอมโพรไฟล์ของตนเป็นคนหน้าตาดี แล้วทำทีเป็นสนใจเหยื่อ[58] เมื่อเหยื่อเชื่อใจหลงรักแล้วก็จะขอเงินหรือยืมเงิน[57] หรือทำทีจะส่งทรัพย์สินมาให้จากต่างประเทศ โดยลวงเอาค่าธรรมเนียมต่างๆ และอ้างว่าจะได้เงินคืนหลายเท่าตัว[3]

มิจฉาชีพอาจทำทีอยากจะมาพบกับเหยื่อ แต่ต้องหาเงินเพื่อซื้อตั๋วเครื่องบิน ตั๋วรถทัวร์ เช่าโรงแรม หรือเสียค่าใช้จ่ายอื่นๆ เช่น ค่าน้ำมัน ค่าเช่ารถ[59] บางครั้งอาจอ้างว่าติดอยู่ในต่างประเทศและจำเป็นต้องได้ความช่วยเหลือ เช่น หนีจากการกักกันของเจ้าหน้าที่กินสินบน หรือต้องเสียค่าหมอเพราะเจ็บป่วย[58] หรือแม้อาจจะอาศัยความเชื่อใจแล้วส่งจดหมาย 419 ดั้งเดิมในรูปแบบต่างๆ มา[58] โดยกล่าวว่าจะขนเงินหรือของมีค่าอื่นๆ ออกนอกประเทศ แล้วจะแบ่งให้กับเหยื่อ ซึ่งจะทำให้เหยื่อมีแรงจูงใจให้ช่วยลอบออกจากประเทศยิ่งๆ ขึ้น

สแกมมักจะมาจากการเจอกับใครคนหนึ่งทางแอปหาคู่[57] มิจฉาชีพจะติดต่อกับเหยื่อที่ไม่อยู่ในพื้นที่เพื่อให้ขอค่าเดินทางได้[58] โดยจะให้ส่งเงินทางธนาณัติหรือทางการโอนเงินเพื่อการเดินทาง หรือเพื่อค่าใช้จ่ายไปหาหมอหรือค่าใช้จ่ายทางธุรกิจ[60]

กรณีสุดๆ อย่างหนึ่งเป็นเรื่องหญิงชาวออสเตรเลียอายุ 67 ปีชื่อว่า เจ็ต เจคอปส์ (Jette Jacobs) ในปี 2013 เธอได้เดินทางไปยังประเทศแอฟริกาใต้เพื่อจะไปพบแล้วแต่งงานกับมิจฉาชีพที่คอยหลอกเธอ คือ เจสซี่ โอโมโกห์ หลังจากที่ได้ส่งเงินให้เขาแล้วถึง 90,000 เหรียญสหรัฐ (ประมาณ 2.8 ล้านบาท)[61] ต่อมาจึงพบซากศพของเธอโดยเป็นการตายแบบปริศนาหลังจากได้พบกับโอโมโกห์แล้วสองวัน ผู้ต่อมาได้หนีไปยังไนจีเรีย แต่ในที่สุดก็ถูกจับ พบว่า เขาปลอมตัวเป็นคนออนไลน์ถึง 32 คน แต่เพราะไร้หลักฐาน จึงไม่ได้ถูกจับเนื่องกับฆาตกรรม แต่ถูกจับเพราะทำการฉ้อฉล[62][63]

สแกมอื่นๆ[แก้]

รูปแบบหนึ่งของสแกมจ่ายเงินล่วงหน้าก็คือ การแสดงตนเป็นนักเลงโดยบอกเหยื่อว่า ตนได้รับจ้างให้ฆ่าเหยื่อ แต่รู้ว่าโทษที่เหยื่อถูกปรักปรำเป็นเรื่องเท็จ แล้วจึงขอเงินเพื่อแลกกับการแสดงหลักฐานให้เหยื่อดูว่าใครเป็นผู้จ้าง[64]

อีกรูปแบบหนึ่งเป็นสแกมที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า ขนมล่อนกพิราบ (pigeon drop) เป็นการหลอกเหยื่อ คือ "นกพิราบ" ให้ให้เงินแก่มิจฉาชีพเพื่อจะได้เงินก้อนที่ใหญ่กว่า หรือได้อะไรที่มีค่ายิ่งกว่า[ต้องการอ้างอิง] จริงๆ แล้วมิจฉาชีพก็จะเอาเงินไปทั้งหมดโดยเหยื่อไม่ได้อะไร

วิธีการก็คือ มิจฉาชีพจะเอาเงินของตนรวมไว้กับเงินของเหยื่อโดยฝากไว้กับเหยื่อ ไม่ว่าจะใส่ไว้ในซองจดหมาย ในกระเป๋าเอกสาร หรือในกระเป๋าอื่นๆ โดยบอกว่าเชื่อใจเหยื่อ แต่จริงๆ แล้วได้สลับสิ่งที่ใส่เงินไว้กับสิ่งที่ใส่กระดาษหนังสือพิมพ์หรือของไม่มีค่าอื่นๆ แล้วสร้างสถานการณ์ที่เหยื่อสามารถหนีไปกับเงินได้โดยที่มิจฉาชีพจะไม่รู้ตัว แต่จริงๆ เหยื่อเท่ากับทิ้งเงินของตนไว้กับมิจฉาชีพ ผู้อาจจะให้เงินนั้นไปแก่ผู้สมรู้ร่วมคิดแล้ว[65]

มิจฉาชีพบางพวกจะล่าเหยื่อเฉพาะที่ถูกหลอกมาก่อน ซึ่งเรียกว่า สแกมรับเอาเงินคืน (recovery scam)[66] เช่น จะติดต่อกับเหยื่อโดยบอกว่า จะสามารถติดตามและจับมิจฉาชีพคนก่อนแล้วเอาเงินที่เสียไปคืนมาได้โดยเป็นการรับจ้าง หรืออาจจะบอกว่า มีกองทุนที่รัฐบาลไนจีเรียได้ตั้งไว้ช่วยเหลือเหยื่อสแกม 419 โดยเหยื่อจะต้องให้หลักฐานว่าสูญเงิน ให้ข้อมูลส่วนตัว และค่าธรรมเนียม มิจฉาชีพพวกนี้มักจะซื้อรายชื่อเหยื่อมาจากมิจฉาชีพตั้งต้น[67]

ความเสียหาย[แก้]

ค่าเสียหายที่เกิดจากสแกมจ่ายเงินล่วงหน้ารู้ได้ยาก เพราะเหยื่อหลายคนอายโดยยอมรับไม่ได้ว่า เชื่อง่ายจนถูกหลอก จึงไม่แจ้งความ ในปี 2006 รัฐบาลกลางสหรัฐรายงานว่า ชาวอเมริกันสูญทรัพย์สินมูลค่า 198.4 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 7,500 ล้านบาท) เนื่องกับการฉ้อฉลทางอินเทอร์เน็ต โดยเสียหายประมาณ 5,100 เหรียญต่อราย (ประมาณ 193,000 บาท)[27] ในปีเดียวกัน รัฐบาลสหราชอาณาจักรระบุว่า สแกมเช่นเดียวกันนี้ทำให้เศรษฐกิจเสียหายมีมูลค่า 150 ล้านปอนด์ต่อปี (ประมาณ 10,476 ล้านบาท) โดยแต่ละรายเสียโดยเฉลี่ย 31,000 ปอนด์ (ประมาณ 2.2 ล้านบาท)[68] ในปี 2019 สแกม 419 ทำให้ชาวอเมริกันเสียหายรวมๆ กัน 7 แสนเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 21.7 ล้านบาท) หรือ 2,133 เหรียญสหรัฐต่อราย (ประมาณ 66,000 บาท)[69]

นอกจากการสูญทรัพย์ เหยื่อยังอาจเกิดปัญหาทางจิตใจ เช่น ไม่เชื่อใจคน ในปี 2004 ชายคนหนึ่งจากสหราชอาณาจักรเผาตัวเองตายหลังจากรู้ว่า ลอตเตอรี่อินเทอร์เน็ตที่ตนชนะความจริงเป็นสแกม[70] ในปี 2007 นักศึกษาหญิงชาวจีนคนหนึ่งที่มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในอังกฤษได้ฆ่าตัวตายหลังจากรู้ตัวว่า ตกเป็นเหยื่อสแกมล็อตเตอรี่อินเทอร์เน็ตเช่นกัน[71]

บางคนนอกจากสูญทรัพย์แล้วยังเสียเพื่อน เสียสมาชิกครอบครัว ต้องหลอกคู่ครอง ต้องหย่ากับคู่ครอง หรือก่ออาชญากรรมเพื่อทำตามสัญญาที่ให้ไว้แก่มิจฉาชีพ หรือเพื่อให้ได้เงินมาเพิ่ม[72] ในปี 2008 หญิงอเมริกันคนหนึ่งเสียเงิน 4 แสนเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 13 ล้านบาท) ให้แก่มิจฉาชีพ 419 หลังจากที่ได้อีเมลว่า ได้สืบทอดมรดกมาจากคุณปู่ที่หายไปนานแล้ว เธอใส่ใจในเรื่องนี้ก็เพราะจริงๆ มีคุณปู่ที่ครอบครัวของเธอไม่ได้ติดต่อด้วย โดยอักษรแรกของชื่อที่ให้ก็ยังตรงกับความจริงอีกด้วย เธอจึงได้ส่งเงินเป็นแสนๆ เหรียญเป็นเวลาสองปี ทั้งๆ ที่เจ้าหน้าที่ธนาคารและเจ้าหน้าที่ตำรวจต่างก็แนะนำให้หยุดทำ[73]

คนชรามักตกเป็นเหยื่อง่าย เพราะมาจากรุ่นที่คนเชื่อถือกันได้มากกว่า[74] และมักอายเกินกว่าที่จะแจ้งความ เพราะกลัวว่าญาติอาจเห็นว่าความคิดอ่านของตนเริ่มเสียหาย แล้วจะทำให้เสียอิสรภาพ[75]

มิจฉาชีพอาจชวนให้เหยื่อยืมเงินหรือโกงเงินเพื่อนำมาเป็น "ค่าใช้จ่าย" ในสแกมได้ เพราะเหยื่อคิดว่าจะได้เงินที่มากยิ่งกว่าอีกไม่นานโดยจะสามารถคืนเงินที่นำมาใช้ได้ อาชญากรรมที่เหยื่ออาจจะทำรวมทั้งโกงบัตรเครดิต โกงด้วยเช็ค หรือยักยอกทรัพย์[76][77][78]

ในปี 2000 นักธุรกิจชาวอเมริกันผู้หนึ่งสูญทรัพย์กว่า 5 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 207 ล้านบาท) เพราะสแกม 419 จากไนจีเรีย แม้ศาลอุทธรณ์สหรัฐจะตัดสินว่า เจ้าหน้าที่ต่างๆ ของไนจีเรีย (รวมทั้งผู้ว่าการธนาคารกลางคนหนึ่ง) ได้มีส่วนร่วมในสแกม ไม่ว่าจะโดยตรงหรือโดยอ้อม และจะสามารถฟ้องศาลเจ้าหน้าที่บางคนได้ในสหรัฐ แต่เหยื่อก็ไม่สามารถเอาเงินคืนมาได้เพราะได้เข้าร่วมในสัญญาที่ผิดกฎหมาย[79][80]

สแกม 419 บางกรณีอาจเกิดอาชญากรรมที่ร้ายแรงยิ่งกว่า เช่น จับตัวเรียกค่าไถ่ หรือว่าฆาตกรรม ในปี 2008 มีนักธุรกิจชาวญี่ปุ่นที่ถูกล่อไปยังนครโจฮันเนสเบิร์ก ประเทศแอฟริกาใต้ แล้วถูกจับตัวไปเรียกค่าไถ่ 5 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 166 ล้านบาท) โดยเรียกกับครอบครัวเหยื่อ ต่อมาจึงมีคนถูกจับในคดีนี้ 7 คน[81]

ในปี 2001 อดีตนายกเทศบาลของสหราชอาณาจักรผู้หนึ่งถูกจับตัวในนครโจฮันเนสเบิร์กเพื่อเรียกค่าไถ่ 20,000 ปอนด์ (ประมาณ 1.3 ล้านบาท) ต่อมามิจฉาชีพเกิดกลัวภัยแล้วจึงปล่อยเหยื่อ[82]

มีสแกม 419 ที่เกิดฆาตกรรมในปี 2003 ที่เหยื่อชาวเช็ก (ประเทศเช็กเกีย) ยิงเจ้าหน้าที่สถานทูตไนจีเรียในกรุงปรากตาย และทำให้เจ้าหน้าที่อีกผู้หนึ่งบาดเจ็บ หลังจากที่กงสุลใหญ่อธิบายว่า เขาไม่สามารถเอาคืนเงิน 6 แสนเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 24 ล้านบาท) ที่เหยื่อได้เสียให้แก่มิจฉาชีพชาวไนจีเรีย[83][84][85]

เพราะเป็นอาชญากรรมข้ามประเทศ บวกกับว่าเหยื่อไม่อยากจะยอมรับว่าได้เข้าร่วมในธุรกรรมที่ผิดกฎหมาย จึงทำให้ติดตามและจับกุมอาชญากรได้ยาก อนึ่ง รัฐบาลไนจีเรียก็ไม่ปรากฏว่าเร่งรีบทำการ ทำให้เจ้าหน้าที่ประเทศอื่นๆ เชื่อว่าเจ้าหน้าที่รัฐบาลไนจีเรียเองบางส่วนก็มีส่วนร่วมในสแกมเหล่านี้[86] แม้รัฐบาลไนจีเรียจะได้ตั้งหน่วยตำรวจกลาง Economic and Financial Crimes Commission (EFCC) ขึ้นในปี 2004 เพื่อช่วยจัดการปัญหาเรื่องนี้ แต่ก็ไม่อาจแก้ปัญหาคอร์รัปชั่นได้[50][87]

ถึงกระนั้น ก็มีคดีที่สามารถจับกุมแล้วฟ้องศาลมิจฉาชีพได้บ้างโดยเฉพาะในประเทศอื่นๆ ในปี 2004 เจ้าหน้าที่ได้บุกจับผู้ต้องสงสัย 52 รายในกรุงอัมสเตอร์ดัม ซึ่งหลังจากนั้น ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตก็รายงานว่า ไม่มีอีเมล 419 ถูกส่งอีก[88] ในปี 2004 เจ้าหน้าที่ออสเตรเลียได้จับชายหัวโจกที่อ้างว่าตนเป็นหัวหน้าคุมสแกมเช่นนี้ในออสเตรเลียโดยมีเพื่อนสมรู้ร่วมคิดชาวแอฟริกา 220 คนทั่วโลก[89] ในปี 2008 เจ้าหน้าสหรัฐได้จับกุมหญิงผู้ศาลได้ตัดสินจำคุก 2 ปีบวกกับการภาคทัณฑ์อีก 5 ปี สำหรับการมีส่วนร่วมในแสกม 419 โดยมีผู้สมรู้ร่วมคิดในไนจีเรียผู้ส่งเช็คปลอมและธนาณัติปลอมมีมูลค่า 1.1 ล้านเหรียญสหรัฐให้กับทั้งระบุว่าจะให้ส่งเช็คเหล่านี้ไปที่ใด[90]

วัฒนธรรมประชานิยม[แก้]

มิจฉาชีพที่ทำการเช่นนี้และมีชื่อฉาวโฉ่พวกหนึ่งในไนจีเรีย มีชื่อเรียกว่ายาฮูบอยส์ (Yahoo boys)[91] งานวิจัยแสดงว่า นักดนตรีฮิปฮอปชาวไนจีเรียได้แสดงความเห็นใจแก่กลุ่มยาฮูบอยส์ไว้มาก[45][42] สแกม 419 เกิดขึ้นมากทางอินเทอร์เน็ตจนกระทั่งได้ทำเป็นโครงเรื่องในภาพยนตร์ รายการทางทีวี และหนังสือ มีเพลง "I Go Chop Your Dollar" ที่นักแสดงตัวตลกชาวไนจีเรียได้ร้อง ได้กลายเป็นเพลงสดุดีของพวกสแกมเมอร์ 419 โดยมีวลีว่า "419 is just a game, I am the winner, you are the loser" (419 เป็นเพียงแค่เกม ฉันสิเป็นผู้ชนะ ส่วนคุณน่ะเป็นผู้แพ้)[92]

เชิงอรรถและอ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 "advance fee fraud". Encyclopædia Britannica. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-05-27.
  2. "Advance Fee Scams". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-11-01. FBI.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 "18 กลโกงมิจฉาชีพ ใช้หลอกลวงเหยื่อบนโลกออนไลน์". สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (สง.ก.ตร.). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-09-15.
  4. "Nigeria Laws: Part 6: Offences Relating to property and contracts". Nigeria Law. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2005-03-08. สืบค้นเมื่อ 2012-06-22.
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 5.4 5.5 5.6 5.7 "West African Advance Fee Scams". United States Department of State. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-06-14. สืบค้นเมื่อ 2012-06-23.
  6. "Togo: Country Specific Information". United States Department of State. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-02. สืบค้นเมื่อ 2012-06-23.
  7. "Advance Fee Fraud". Hampshire Constabulary. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-02-09. สืบค้นเมื่อ 2012-06-23.
  8. 8.0 8.1 8.2 "Fraud Scheme Information". United States Department of State. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-02-13. สืบค้นเมื่อ 2012-06-23.
  9. 9.0 9.1 "Advance Fee Fraud". BBA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-06-28. สืบค้นเมื่อ 2012-06-23.
  10. "Jak uniknąć "oszustwa nigeryjskiego"". Polska Policja. สืบค้นเมื่อ 2019-04-16.
  11. Jackman, Tom (2019-02-12). "William Webster, ex-FBI and CIA director, helps feds nab Jamaican phone scammer". The Washington Post. สืบค้นเมื่อ 2019-02-12.
  12. Vasciannie, Stephen (2013-03-14). "Jamaica Comes Down Tough on 'Lottery Scams'". Huffington Post. สืบค้นเมื่อ 2019-02-12.
  13. "Advance Fee Scam! This is Ongoing!". scamwarners.com. สืบค้นเมื่อ 2023-09-15.
  14. "An old swindle revived; The "Spanish Prisoner" and Buried Treasure Bait Again Being Offered to Unwary Americans". The New York Times. 1898-03-20. p. 12. สืบค้นเมื่อ 2010-07-01.
  15. Old Spanish Swindle Still Brings In New U.S. Dollars, Sarasota Herald-Tribune, October 2, 1960, pg 14
  16. 16.0 16.1 Mikkelson, David (2010-02-01). "Nigerian Scam". Snopes. สืบค้นเมื่อ 2012-06-22.
  17. Harris, Misty (2012-06-21). "Nigerian email scams royally obvious for good reason, study says". The Province. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-01-04. สืบค้นเมื่อ 2019-01-04 – โดยทาง Canada.com.
  18. "Danielson And Putnam News: Danielson". Norwich Bulletin. 1922-11-16. p. 6. สืบค้นเมื่อ 2016-05-07.
  19. Buse, Uwe (2005-11-07). "Africa's City of Cyber Gangsters". Der Spiegel. สืบค้นเมื่อ 2012-06-22.
  20. Lohr, Steve (1992-05-21). "'Nigerian Scam' Lures Companies". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 2012-06-22.
  21. "International Financial Scams". United States Department of State, Bureau of Consular Affairs. สืบค้นเมื่อ 2015-01-12.
  22. "The Nigerian Prince: Old Scam, New Twist". Better Business Bureau. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-02-26. สืบค้นเมื่อ 2015-02-26.
  23. "Get smart on cybersecurity". Mozilla (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2016-02-09.
  24. Andrews, Robert (2006-08-04). "Baiters Teach Scammers a Lesson". Wired. สืบค้นเมื่อ 2012-06-22.
  25. Stancliff, Dave (2012-02-12). "As It Stands: Why Nigeria became the scam capital of the world". Times-Standard. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-02-16. สืบค้นเมื่อ 2012-06-22.
  26. Ibrahim, Suleman (December 2016). "Social and contextual taxonomy of cybercrime: Socioeconomic theory of Nigerian cybercriminals". International Journal of Law, Crime and Justice. 47: 44–57. doi:10.1016/j.ijlcj.2016.07.002. S2CID 152002608.
  27. 27.0 27.1 Rosenberg, Eric (2007-03-31). "U.S. Internet fraud at all-time high". San Francisco Chronicle. สืบค้นเมื่อ 2012-06-22.
  28. Herley, Cormac (2012). "Why do Nigerian Scammers Say They are from Nigeria?" (PDF). Microsoft. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-06-22. สืบค้นเมื่อ 2012-06-23.
  29. "Blatancy and latency". The Economist.
  30. 30.0 30.1 Staff Writer (2009-10-22). "Nigeria's anti graft police shuts 800 scam websites". Agence France-Presse. สืบค้นเมื่อ 2012-06-22.
  31. "Nigeria shuts 800 scam websites".
  32. Lazarus, Suleman (August 2018). "Birds of a Feather Flock Together: The Nigerian Cyber Fraudsters (Yahoo Boys) and Hip Hop Artists". Criminology, Criminal Justice, Law & Society. 19 (2).
  33. 33.0 33.1 Dixon, Robyn (2005-10-20). ""I Will Eat Your Dollars"". Los Angeles Times. Festac. สืบค้นเมื่อ 2012-06-22.
  34. Clinton, Helen; Abumere, Princess (2021-09-14). "Hushpuppi - the Instagram influencer and international fraudster". BBC News. สืบค้นเมื่อ 2022-05-16.
  35. Lin, Sharon. "The Long Shadow of the 'Nigerian Prince' Scam". Wired. สืบค้นเมื่อ 2022-05-16.
  36. Akinwotu, Emmanuel (2021-06-14). "Young, qualified and barely scraping by - inside Nigeria's economic crisis". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 2022-05-16.
  37. Ibrahim, Suleman (2016-12-01). "Social and contextual taxonomy of cybercrime: Socioeconomic theory of Nigerian cybercriminals". International Journal of Law, Crime and Justice. 47: 44–57. doi:10.1016/j.ijlcj.2016.07.002. S2CID 152002608.
  38. Loriggio, Paola (2017-03-17). "Toronto woman loses $450,000 from life savings, sale of condo to online dating scam: police". Edmonton Journal. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-03-24. สืบค้นเมื่อ 2017-03-23.
  39. Wild, Jonathan (2017-02-01), "Department of Internal Affairs: England and the Countryside", Literature of the 1900s, Edinburgh University Press, doi:10.3366/edinburgh/9780748635061.003.0006, ISBN 978-0-7486-3506-1, สืบค้นเมื่อ 2020-11-15
  40. "Latest e-mail uses Alaska Airlines crash victims to scam | Consumer News - seattlepi.com". Blog.seattlepi.nwsource.com. 2007-11-09. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-12-24. สืบค้นเมื่อ 2012-02-22.
  41. "Zimbabwe appeal". Department of Commerce - WA ScamNet. สืบค้นเมื่อ 2015-11-09.
  42. 42.0 42.1 Lazarus, Suleman; Okolorie, Geoffrey U. (2019). "The bifurcation of the Nigerian cybercriminals: Narratives of the Economic and Financial Crimes Commission (EFCC) agents". Telematics and Informatics. Elsevier BV. 40: 14–26. doi:10.1016/j.tele.2019.04.009. ISSN 0736-5853.
  43. Longmore-Etheridge, Ann (August 1996). "Nigerian scam goes on". Security Management. 40 (8): 109. ProQuest 231127826.
  44. Ibrahim, Suleman (2016). "Social and contextual taxonomy of cybercrime: Socioeconomic theory of Nigerian cybercriminals". International Journal of Law, Crime and Justice. Elsevier BV. 47: 44–57. doi:10.1016/j.ijlcj.2016.07.002. ISSN 1756-0616.
  45. 45.0 45.1 Lazarus, S. (2018). Birds of a feather flock together: the Nigerian cyber fraudsters (Yahoo Boys) and hip hop artists. Criminology, Criminal Justice, Law & Society, 19(2), 63-80. https://ccjls.scholasticahq.com/article/3792
  46. "Advance Fee Loan Scams| DirectLendingSolutions.com®". www.directlendingsolutions.com. สืบค้นเมื่อ 2015-09-24.
  47. 47.0 47.1 "I Will Eat Your Dollars". 2005-10-29. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2005-10-29. สืบค้นเมื่อ 2012-02-22.
  48. "'I Will Eat Your Dollars' - Yahoo! News". 2005-10-29. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2005-10-29. สืบค้นเมื่อ 2020-11-20.
  49. Grinker, Roy R.; Lubkemann, Stephen C.; Steiner, Christopher B. (2010). Perspectives on Africa: A Reader in Culture, History and Representation. New York City: John Wiley & Sons. pp. 618–621. ISBN 978-1-4443-3522-4.
  50. 50.0 50.1 "Economic and Financial Crimes Commission (Establishment) Act of 2004" (PDF). Economic and Financial Crimes Commission (Nigeria). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-06-28. สืบค้นเมื่อ 2012-06-22.
  51. Cheng, Jacqui (2009-05-11). "Baiting Nigerian scammers for fun (not so much for profit)". Ars Technica. สืบค้นเมื่อ 2012-06-22.
  52. Arehart, Christopher; Schmookler, Scott; Nemeth, Taylor (June 2021). "Guarding Against Email Social Engineering Fraud: Re-examining a Global Problem" (PDF). Chubb.com. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-06-30.
  53. Gallagher, David F. (2007-11-09). "E-Mail Scammers Ask Your Friends for Money". Bits.blogs.nytimes.com. สืบค้นเมื่อ 2012-02-22.
  54. 54.0 54.1 54.2 "Nigerian Advance Fee Fraud (DEPARTMENT OF STATE PUBLICATION 10465)" (PDF). State Dept. Bureau of International Narcotics and Law Enforcement Affairs. April 1997. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-08-08. สืบค้นเมื่อ 2019-01-04.
  55. "The 419 Scam, or Why a Nigerian Prince Wants to Give You Two Million Dollars". informit.com.
  56. de Braun, Philip (2004-12-31). "SA cops, Interpol probe murder". News24. สืบค้นเมื่อ 2010-11-27.
  57. 57.0 57.1 57.2 "Online Romance Scams Continue To Grow - Project Economy News Story". Kmbc.com. 2006-05-19. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-19. สืบค้นเมื่อ 2012-02-22.
  58. 58.0 58.1 58.2 58.3 "Singles seduced into scams online". NBC News. 2005-07-28. สืบค้นเมื่อ 2012-02-22.
  59. Lazarus, Suleman (2018-08-01). > "Birds of a Feather Flock Together: The Nigerian Cyber Fraudsters (Yahoo Boys) and Hip Hop Artists". Criminology, Criminal Justice, Law & Society. 19 (2). S2CID 150040643.
  60. "Attorney general: Beware of romance scams on Valentine's Day". Sentinel-Tribune. 2017-02-11. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-07-26. สืบค้นเมื่อ 2017-03-23.
  61. AFP (2014-02-03). "Nigerian arrested over WA woman Jette Jacobs death". WAtoday (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2023-02-22.
  62. "Jette Jacobs' son visits the scene of his mother's alleged murder by a love scammer in South Africa". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-06-21. สืบค้นเมื่อ 2016-02-08.
  63. "EFCC Arraigns Suspected Conman for $90,000 Romance Scam".
  64. Mikkelson, Barbara (2007-01-14). "Hitman Scam". Snopes. สืบค้นเมื่อ 2012-06-23.
  65. Zak, Paul J. (2008-11-13). "How to Run a Con". Psychology Today. สืบค้นเมื่อ 2012-06-23.
  66. "Recovery Scams". Seon Technology. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-06-10.
  67. Mikkelson, David (2004-08-11). "Scam Me Twice, Shame On Me, ..." Snopes. สืบค้นเมื่อ 2012-06-24.
  68. "Nigeria scams 'cost UK billions'". BBC News. 2006-11-20. สืบค้นเมื่อ 2012-06-22.
  69. Leonhardt, Megan (2019-04-18). "'Nigerian prince' email scams still rake in over $700,000 a year—here's how to protect yourself". CNBC. สืบค้นเมื่อ 2022-07-22.
  70. "Suicide of internet scam victim". BBC News. 2004-01-30. สืบค้นเมื่อ 2012-06-22.
  71. "Web scam drove student to suicide". BBC News. 2008-05-02. สืบค้นเมื่อ 2012-06-22.
  72. "Nigerian scam victims maintain the faith". Sydney Morning Herald. 2007-05-14. สืบค้นเมื่อ 2012-06-22.
  73. Song, Anna (2008-11-11). "Woman out $400K to 'Nigerian scam' con artists". KATU. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-06-18. สืบค้นเมื่อ 2012-06-22.
  74. "FBI — Seniors". Federal Bureau of Investigation. 2016-03-22. สืบค้นเมื่อ 2016-05-12.
  75. Harzog, Beverly Blair (2012-05-25). "Protect Elderly Relatives from Credit Card Fraud". ABC News. สืบค้นเมื่อ 2012-06-23.
  76. Hills, Rusty; Frendewey, Matt (2007-06-12). "Former Alcona County Treasurer Sentenced to 9-14 Years in Nigerian Scam Case". State of Michigan. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-02-14. สืบค้นเมื่อ 2012-06-23.
  77. Krajicek, David. "A "Perfect" Life: Mary Winkler Story". TruTV. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-25. สืบค้นเมื่อ 2012-06-23.
  78. Liewer, Steve (2007-07-05). "Navy officer gets prison for stealing from ship safe". San Diego Union Tribune. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-06-27. สืบค้นเมื่อ 2012-06-23.
  79. "Adler v. Federal Republic of Nigeria | Ninth Circuit". anylaw.com. 2000-05-17. สืบค้นเมื่อ 2023-03-06.
  80. Soto, Onell R. (2004-08-15). "Fight to get money back a loss". San Diego Union Tribune. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-12-02. สืบค้นเมื่อ 2012-06-22.
  81. "Seven in court for 419 kidnap". News 24. 2008-09-30. สืบค้นเมื่อ 2012-06-22.
  82. "Kidnapped Briton tells of terror". BBC News. 2001-07-14. สืบค้นเมื่อ 2012-06-22.
  83. Glenny, Misha (2009). McMafia. Vintage Books. pp. 138–141. ISBN 978-0-09-948125-6.
  84. Sullivan, Bob (2003-03-05). "Nigerian scam continues to thrive". NBC News. สืบค้นเมื่อ 2012-06-22.
  85. Delio, Michelle (2003-02-21). "Nigerian Slain Over E-Mail Scam". Wired. สืบค้นเมื่อ 2012-06-22.
  86. Sine, Richard (May 2–8, 1996). "Just Deposit $28 Million". Metroactive. สืบค้นเมื่อ 2012-06-23.{{cite news}}: CS1 maint: date format (ลิงก์)
  87. Oluwarotimi, Abiodun (2012-05-26). "Nigeria: Police Force Is Corrupt, EFCC Not Sincere - U.S." AllAfrica.com. สืบค้นเมื่อ 2012-06-23.
  88. Libbenga, Jan (2004-07-05). "Cableco 'inside job' aided Dutch 419ers". The Register. สืบค้นเมื่อ 2012-06-23.
  89. Haines, Lester (2012-11-08). "Aussie 419 ringleader jailed for four years". The Register. สืบค้นเมื่อ 2012-06-23.
  90. "Woman gets prison for 'Nigerian' scam". United Press International. 2008-06-26. สืบค้นเมื่อ 2012-06-23.
  91. "8 Signs Of A Yahoo Boy Every Lady Must Watch Out For". Dating Reporter's Blog (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-04-10. สืบค้นเมื่อ 2021-04-05.
  92. Libbenga, Jan (2007-07-02). "'I Go Chop Your Dollar' star arrested". The Register. สืบค้นเมื่อ 2012-06-23.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]