ข้ามไปเนื้อหา

สุรเชษฐ์ ประวีณวงศ์วุฒิ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สุรเชษฐ์ ประวีณวงศ์วุฒิ
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
แบบบัญชีรายชื่อ
เริ่มดำรงตำแหน่ง
24 มีนาคม พ.ศ. 2562
(6 ปี 34 วัน)
รองเลขาธิการพรรคก้าวไกล
ดำรงตำแหน่ง
14 มีนาคม พ.ศ. 2563 – 7 สิงหาคม พ.ศ. 2567
(4 ปี 146 วัน)
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2521 (47 ปี)
กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
พรรคการเมืองอนาคตใหม่ (2561–2563)
ก้าวไกล (2563–2567)
ประชาชน (2567–ปัจจุบัน)
ทรัพย์สินสุทธิ21 ล้านบาท (พ.ศ. 2566)[1]

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สุรเชษฐ์ ประวีณวงศ์วุฒิ หรือ อาจารย์เชษฐ์ (เกิด 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2521) เป็นนักวิชาการและนักการเมืองชาวไทย ปัจจุบันดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคประชาชน และประธานคณะกรรมาธิการศึกษาการจัดทำและติดตามการบริหารงบประมาณ สภาผู้แทนราษฎร นอกจากนี้เคยเป็นอาจารย์ประจำสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชียโดยมีประสบการณ์ในการทำงานที่มีความเชี่ยวชาญเป็นพิเศษทางด้านการคมนาคม

ประวัติ

[แก้]

สุรเชษฐ์ เกิดเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2521 ที่กรุงเทพมหานคร สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี วิศวกรรมโยธา วิศวกรรมศาสตร์ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (พ.ศ. 2542) ระดับปริญญาโท การวางแผนและบริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐาน จากสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (พ.ศ. 2544) และระดับปริญญาเอก วิศวกรรมขนส่งและจราจร จากมหาวิทยาลัยรัฐยูทาห์ ประเทศสหรัฐ โดยผลการเรียนเฉลี่ย 4.00

การทำงาน

[แก้]

สุรเชษฐ์เคยเป็นนักวิจัยและอาจารย์พิเศษในมหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัยหลายแห่ง อาทิ ประเทศไทย ประเทศนอร์เวย์ และสหรัฐ เป็นต้น อีกทั้งยังเคยได้รับตำแหน่ง ประธาน เลขานุการและกรรมการโครงการหรือคณะทำงาน มากกว่า 20 คณะ ทั้งในลักษณะของการจัดซื้อจัดจ้าง การตรวจการจ้าง หรือการทำงานเพื่อให้บรรลุผลตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด โดยจากประสบการณ์การลงมือทำงานจริงที่มีความหลากหลายในภาคปฏิบัติ รวมถึงการทำงานในตำแหน่งหัวหน้าแผนกวิจัยและพัฒนาระบบจราจร การทางพิเศษแห่งประเทศไทย ส่งผลให้สุรเชษฐ์ ได้รับเลือกให้มาเป็นอาจารย์ประจำที่สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย โดยดำรงตำแหน่งอาจารย์ประจำสาขาวิชาวิศวกรรมขนส่ง สำนักวิชาวิศวกรรมและเทคโนโลยี สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย และเคยได้รับรางวัลอาจารย์ดีเด่น

เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2561 สุรเชษฐ์ ได้ลาออกจากสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย (Asian Institute of Technology : AIT) และร่วมงานกับธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ และผู้ที่มีความคิดเห็นแนวทางทางการเมืองอีกจำนวนหนึ่ง เพื่อจัดตั้งพรรคการเมืองชื่อ พรรคอนาคตใหม่ และได้รับเลือกเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 8 ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 ต่อมาพรรคถูกยุบได้ย้ายไปสังกัดพรรคก้าวไกล โดยดำรงตำแหน่งรองเลขาธิการพรรค และได้รับเลือกเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอีกครั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 ต่อมาพรรคก้าวไกลถูกยุบ ได้ย้ายไปสังกัดพรรคประชาชน

ระหว่างการดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสมัยแรกสุรเชษฐ์ ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านคมนาคมของพรรคได้รับบทบาทสำคัญในการอภิปรายและติดตามผลการดำเนินงานของกระทรวงคมนาคมมาอย่างต่อเนื่อง ในรัฐบาลพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่มีศักดิ์สยาม ชิดชอบ เป็นรัฐมนตรี มีการอภิปรายสำคัญที่เป็นที่กล่าวถึงหลายครั้ง ไม่ว่าจะเป็นการอภิปรายความเหลื่อมล้ำในการจัดสรรงบประมาณให้กับจังหวัดบุรีรัมย์มากกว่าจังหวัดอื่น การอภิปรายการทุจริตโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม การอภิปรายโครงการ MR-Map ของรัฐบาล เป็นต้น ต่อมาในรัฐบาลเศรษฐาและแพทองธาร ที่มีรัฐมนตรีคือสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ ได้มีการอภิปรายนโยบาย 20 บาทตตลอดสายของรัฐบาล การติดตามโครงการแลนด์บริดจ์ การเสนอร่าง พ.ร.บ.ถนน และร่าง พ.ร.บ.กระจายอำนาจขนส่ง เป็นต้น

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

[แก้]

สุรเชษฐ์ ประวีณวงศ์วุฒิ ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 2 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคอนาคตใหม่พรรคก้าวไกล
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคก้าวไกลพรรคประชาชน (พ.ศ. 2567)

ตำแหน่งในปัจจุบัน

[แก้]
  • ประธานคณะกรรมาธิการศึกษาการจัดทำและติดตามการบริหารงบประมาณ สภาผู้แทนราษฎร
  • ประธานกลุ่มมิตรภาพ สมาชิกรัฐสภาไทย – สวิตเซอร์แลนด์
  • รองประธานคณะกรรมาธิการการคมนาคม

ประสบการณ์การทำงาน

[แก้]
  • หัวหน้าแผนกวิจัยและพัฒนาระบบจราจร การทางพิเศษแห่งประเทศไทย
  • หัวหน้าแผนกวางแผนระบบความปลอดภัยและการจราจร การทางพิเศษแห่งประเทศไทย
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ด้านวิศวกรรมจราจรและขนส่ง สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT)
  • สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ

กรรมาธิการ

[แก้]

สภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 25

[แก้]
  • คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาการขยายสัญญาสัมปทานทางด่วนและรถไฟฟ้าบีทีเอส (BTS) สภาผู้แทนราษฎร (กรกฎาคม – สิงหาคม พ.ศ. 2562)
  • รองประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 งบประมาณแผ่นดินของไทย พ.ศ. 2563[2]สภาผู้แทนราษฎร (ตุลาคม – ธันวาคม พ.ศ. 2562)
  • ที่ปรึกษาคณะอนุกรรมาธิการครุภัณฑ์ ที่ดิน สิ่งก่อสร้าง และรัฐวิสาหกิจ สภาผู้แทนราษฎร (พฤศจิกายน – ธันวาคม พ.ศ. 2562)
  • รองประธานคณะอนุกรรมาธิการเพื่อพิจารณาศึกษาความปลอดภัยทางถนนและคมนาคม (2562)
  • ที่ปรึกษาคณะอนุกรรมาธิการศึกษาการบริหารงบประมาณการดำเนินโครงการก่อสร้าง อาคารผู้โดยสารหลังที่ ๒ ของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (2562)
  • อนุกรรมาธิการและที่ปรึกษาคณะอนุกรรมาธิการครุภัณฑ์ ที่ดิน สิ่งก่อสร้าง และรัฐวิสาหกิจ (2562)
  • รองประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาการขยายสัญญาสัมปทานทางด่วนและรถไฟฟ้า (บีทีเอส) (2562)
  • คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาญัตติด่วน เรื่องขอให้สภาผู้แทนราษฎรตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษากรณีการต่อสัญญาสัมปทานให้กับบริษัททางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (2562)
  • รองประธานคณะกรรมาธิการการคมนาคม (2562)
  • ประธานคณะอนุกรรมาธิการศึกษาการจัดทำและติดตามการบริหารงบประมาณโครงการโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ (2563)
  • รองประธานคณะอนุกรรมาธิการพิจารณาศึกษาการแก้ปัญหาการรถไฟแห่งประเทศไทย (2563)
  • รองประธานคณะอนุกรรมาธิการที่ดิน และสื่งก่อสร้าง (2563)
  • รองประธานคณะกรรมาธิการศึกษาการจัดทำและติดตามการบริหารงบประมาณ (2563)
  • รองประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาติดตาม ตรวจสอบ การใช้เงินตามพระราชกำหนด 3 ฉบับ เพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยาและฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
  • รองประธานคณะวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563
  • คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาติดตาม ตรวจสอบการใช้เงินตามพระราชกำหนด 3 ฉบับเพื่อแก้ไขปัญหาเยียวยาและฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (2563)
  • ที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษา การขุดคลองไทยและพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ (2563)
  • ประธานคณะอนุกรรมาธิการศึกษาและวางแนวทาง การพัฒนานวัตกรรมเพื่อแก้ปัญหาการ จราจรและขนส่ง ในคณะกรรมาธิการการคมนาคม สภาผู้แทนราษฎร (2564)
  • รองประธานคณะอนุกรรมาธิการแผนงานบูรณาการ 1 (2565)
  • รองประธานคณะอนุกรรมาธิการพิจารณาติดตามการเสนอและบังคับใช้กฎหมายด้านความปลอดภัยทางถนน (2565)
  • รองประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติสถาปนิก (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2566
  • รองประธานคณะอนุกรรมาธิการเพื่อพิจารณาศึกษาความปลอดภัยทางถนนและคมนาคม

สภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 26

[แก้]
  • กรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
  • กรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568
  • ประธานคณะกรรมาธิการศึกษาการจัดทำและติดตามการบริหารงบประมาณ
  • ประธานคณะอนุกรรมาธิการศึกษาการจัดทำและติดตามการบริหารงบประมาณโครงการโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่
  • ประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติการขนส่งทางราง

อื่นๆ

[แก้]
  • กรรมการคณะกรรมการประสานงานพรรคการเมืองฝ่ายค้าน (พ.ศ. 2563 – ปัจจุบัน)
  • กรรมการและเลขานุการคณะกรรมการบริหารกลุ่มมิตรภาพสมาชิกรัฐสภาไทย-สวิตเซอร์แลนด์ (พ.ศ. 2564 – ปัจจุบัน)
  • กรรมการบริหารกลุ่มมิตรภาพสมาชิกรัฐสภาไทย-สหรัฐอเมริกา (พ.ศ. 2565 – ปัจจุบัน)

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "เปิดเซฟ 17 สส.ก้าวไกล 'ภัณฑิล' ไม่ธรรมดา รวย 111 ล้าน 'โตโต้' มีรถ 5 คัน ทั้งโฟล์ค-มินิคูเปอร์". matichon.co.th. 2023-09-22.
  2. งบประมาณแผ่นดินของไทย พ.ศ. 2563
  3. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๔, เล่ม ๑๓๙ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๕, ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]