สกุลเสือลายเมฆ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สกุลเสือลายเมฆ
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: ไพลสโตซีนตอนต้นถึงปัจจุบัน
เสือลายเมฆ (Neofelis nebulosa)
เสือลายเมฆบอร์เนียว (Neofelis diardi)
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอตา
อาณาจักร: สัตว์
ไฟลัม: สัตว์มีแกนสันหลัง
ชั้น: สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
อันดับ: อันดับสัตว์กินเนื้อ
อันดับย่อย: เฟลิฟอเมีย
วงศ์: เสือและแมว
วงศ์ย่อย: วงศ์ย่อยเสือใหญ่
สกุล: สกุลเสือลายเมฆ
Gray, 1867
ชนิดต้นแบบ
Felis macrocelis[1]
ชนิด
ขอบเขตของสกุลเสือลายเมฆ

สกุลเสือลายเมฆ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Neofelis) เป็นสกุลของเสือ 2 ชนิดเพิ่มเติมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คือ: เสือลายเมฆ (Neofelis nebulosa) ในเอเชียภาคพื้นทวีป และเสือลายเมฆบอร์เนียว (Neofelis diardi) ในเกาะสุมาตราและเกาะบอร์เนียว[2][3]

โดยคำว่า Neofelis นั้น มาจากภาษากรีกคำว่า neo- (νέος-) หมายถึง "ใหม่" และภาษาละตินคำว่า fēles หมายถึง "แมว" รวมความแล้วหมายถึง "แมวใหม่"[4][5]

ประวัติทางอนุกรมวิธาน[แก้]

สกุลนี้ตั้งขึ้นโดย จอห์น เอ็ดเวิร์ด เกรย์ นักสัตววิทยาชาวอังกฤษ ใน ค.ศ. 1867 ซึ่งประกอบด้วยสัตว์ 2 ชนิด คือ Neofelis macrocelis ที่ปรากฏในหิมาลัย, มะละกา และไทย กับNeofelis brachyurus ที่พบในอดีตฟอร์โมซา[6] เรจินัลด์ อินเนส โพค็อกยอมรับการจัดอันดับอนุกรมวิธานของ Neofelis ใน ค.ศ. 1917 แต่ยอมรับเพียงชนิด Neofelis nebulosa กับชนิดย่อยบางส่วน และถือให้ macrocelis เป็นตัวอย่างต้นแบบแรก[7] เป็นเวลาเกือบ 90 ปีที่มีการยอมรับการจัดอันดับ Neofelis ในฐานะสกุลชนิดเดียวอย่างกว้างขวาง[8] ใน ค.ศ. 2006 มีผู้พบว่า Neofelis diardi มีความแตกต่างจากญาติบนพื้นทวีป Neofelis nebulosa และจัดให้เป็นชนิดต่างหาก[2][3]

คุณลักษณะ[แก้]

ลักษณะเด่นของเสือในสกุลนี้ คือ มีกะโหลกส่วนใบหน้าที่กว้าง หน้าผากมีขนาดใหญ่และจมูกยาว ขากรรไกรล่างและขากรรไกรบนมีฟันเขี้ยวที่คมและปลายขอบตัดขวาง ซึ่งกะโหลกลักษณะนี้คล้ายคลึงกับเสือเขี้ยวดาบที่สูญพันธุ์ไปแล้วตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ นอกจากนี้แล้วเสือลายเมฆที่พบในภูมิภาคซุนดามีเขี้ยวบนยาวและมีเพดานปากที่แคบระหว่างเขี้ยวนั้น[9] [10]

โดยรวมแล้ว เสือลายเมฆเป็นเสือขนาดใหญ่ที่มีรูปร่างเล็กกว่าเสือขนาดใหญ่ชนิดอื่น ๆ พบกระจายพันธุ์เฉพาะภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ไปจนถึงเกาะบอร์เนียว และพบได้ในพื้นที่ภาคกลางและภาคใต้ของจีน

ลักษณะกะโหลกและฟันเขี้ยวของเสือลายเมฆ

การจำแนก[แก้]

  • เสือลายเมฆ (Neofelis nebulosa) พบกระจายพันธุ์อย่างกว้างขวางตั้งแต่ภูมิภาคจีนตอนกลางและตอนใต้ จนถึงภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ ที่เป็นผืนแผ่นดินใหญ่
  • เสือลายเมฆบอร์เนียว (Neofelis diardi) เป็นชนิดที่เพิ่งได้รับการยอมรับว่าเป็นชนิดใหม่ แยกออกมาในปี ค.ศ. 2006 พบได้ในหมู่เกาะต่าง ๆ ของอินโดนีเซีย และภูมิภาคซุนดา มีลักษณะเด่น คือ มีฟันเขี้ยวที่ยาวมาก จนนับได้ว่ายาวที่สุดในบรรดาสัตว์ประเภทเสือและแมวทั้งหมด[11]

อ้างอิง[แก้]

  1. Wilson, D.E.; Reeder, D.M., บ.ก. (2005). Mammal Species of the World: A Taxonomic and Geographic Reference (3rd ed.). Johns Hopkins University Press. ISBN 978-0-8018-8221-0. OCLC 62265494.
  2. 2.0 2.1 Buckley-Beason, V.A.; Johnson, W.E.; Nash, W.G.; Stanyon, R.; Menninger, J.C.; Driscoll, C.A.; Howard, J.; Bush, M.; Page, J.E.; Roelke, M.E.; Stone, G.; Martelli, P.; Wen, C.; Ling, L.; Duraisingam, R.K.; Lam, V.P.; O'Brien, S.J. (2006). "Molecular Evidence for Species-Level Distinctions in Clouded Leopards". Current Biology. 16 (23): 2371–2376. doi:10.1016/j.cub.2006.08.066. PMC 5618441. PMID 17141620.
  3. 3.0 3.1 Kitchener, A.C.; Beaumont, M.A.; Richardson, D. (2006). "Geographical Variation in the Clouded Leopard, Neofelis nebulosa, Reveals Two Species". Current Biology. 16 (23): 2377–2383. doi:10.1016/j.cub.2006.10.066. PMID 17141621. S2CID 6838593.
  4. Liddell, H.G. & Scott, R. (1940). "νέος". A Greek-English Lexicon (Revised and augmented ed.). Oxford: Clarendon Press.
  5. Lewis, C.T. & Short, C. (1879). "fēles". A Latin Dictionary (Revised, enlarged ed.). Oxford: Clarendon Press.
  6. Gray, J.E. (1867). Notes on the skulls of the Cats. 5. Neofelis. Page 265–266 in: Proceedings of the Scientific Meetings of the Zoological Society of London for the year 1867.
  7. Pocock, R. I. (1917). "The classification of existing Felidae". The Annals and Magazine of Natural History: Including Zoology, Botany, and Geology, 8th ser. vol. 20 no. 119: 329–350.
  8. Wozencraft, W. C. (2005). "Order Carnivora". ใน Wilson, D. E.; Reeder, D. M. (บ.ก.). Mammal Species of the World: A Taxonomic and Geographic Reference (3rd ed.). Johns Hopkins University Press. pp. 545–546. ISBN 978-0-8018-8221-0. OCLC 62265494.
  9. Gray, J.E. (1867). Notes on the skulls of the Cats. 5. Neofelis. Page 265–266 in: Proceedings of the Scientific Meetings of the Zoological Society of London for the year 1867.
  10. Species distinction and evolutionary differences in the clouded leopard (Neofelis nebulosa) and Diard's clouded leopard (Neofelis diardi)
  11. "เสือลายเมฆบอร์เนียว". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-09-03. สืบค้นเมื่อ 2012-10-14.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Neofelis ที่วิกิสปีชีส์