บงกช คงมาลัย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก บงกช เบญจรงคกุล)
บงกช เบญจรงคกุล
สารนิเทศภูมิหลัง
เกิด15 เมษายน พ.ศ. 2528 (39 ปี)
บงกช คงมาลัย
คู่สมรสบุญชัย เบญจรงคกุล (2556–ปัจจุบัน)
บุตร1 คน
อาชีพ
  • นักแสดง
  • นางแบบ
  • ผู้กำกับ
  • พิธีกร
  • นักธุรกิจ
ปีที่แสดงพ.ศ. 2540–ปัจจุบัน
ผลงานเด่นสา – บางระจัน (2543)
บัวบุษยา – นิราศสองภพ (2545)
สมทรง – ไอ้ฟัก (2547)
ปลา – ต้มยำกุ้ง (2548)
กุหลาบ – ไฉไล (2549)
มารศรี – สาวน้อย (2555)
รางวัล
พระสุรัสวดีรางวัลตุ๊กตาเงินดาวรุ่งฝ่ายหญิง
บางระจัน (2543)
โทรทัศน์ทองคำรางวัลนักเเสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม
สาวน้อย (2555)

บงกช เบญจรงคกุล (สกุลเดิม คงมาลัย; เกิด 15 เมษายน พ.ศ. 2528) ชื่อเล่น ตั๊ก เป็นนักแสดงและพิธีกรชาวไทย

ประวัติ[แก้]

บงกช เป็นบุตรสาวของศิริชัย คงมาลัย กับธนาภา ชีพนุรักษ์ เป็นชาวสุพรรณบุรี[1] ครอบครัวฝ่ายบิดามีเชื้อสายจีนและอินเดีย ส่วนครอบครัวฝั่งมารดามีเชื้อสายลาวโซ่งและมอญ[2] บงกชสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนลาดปลาเค้าพิทยาคม จากนั้นพักการเรียนมหาวิทยาลัยรามคำแหง เข้าวงการบันเทิงเพื่อต้องการหาเงินเลี้ยงครอบครัว มีผลงานแจ้งเกิดด้วยวัยเพียง 15 ปี จากบท "อีสา" ในภาพยนตร์ย้อนยุคเรื่อง บางระจัน ต่อมามีผลงานภาพยนตร์เรื่อง ขุนแผน แล้วมาพลิกบทบาทเป็น "สมทรง" ในเรื่อง ไอ้ฟัก ตามด้วย อำมหิตพิศวาส รับบทเป็น แพรว[3]

ทางด้านผลงานละครแสดงละครเรื่อง ซุ้มสะบันงา, ลูกแม่ ทางช่อง 7 นิราศสองภพ, รักแผลงฤทธิ์ ทางช่อง 3 เสน่ห์จันทร์ ทางช่อง 5 และยังเคยเป็นพิธีกรรายการ "ตอกไข่ใส่จอ" ทางไอทีวี[4]

ชีวิตส่วนตัวและชีวิตครอบครัว[แก้]

คุณแม่ของบงกช คงมาลัยได้กล่าวในรายการชิงร้อยชิงล้าน ชะชะช่า ว่าได้ตั้งชื่อเล่น "ตั๊ก" ตามมยุรา เศวตศิลา ซึ่งมีชื่อเล่นเดียวกัน เคยเปลี่ยนชื่อจริงเป็น อจลา คงมาลัย เนื่องในโอกาสอายุครอบเบญจเพส[5] นอกจากนี้แล้วยังมีศักดิ์เป็นลูกพี่ลูกน้องกับอาทิวราห์ คงมาลัย นักร้องนำวงบอดี้สแลม เป็นหลานของยืนยง โอภากุล และยิ่งยง โอภากุล สมาชิกวงคาราบาว[6]

และได้สร้างความฮือฮาในสังคมเมื่อปลายปี พ.ศ. 2555 เมื่อจู่ ๆ ก็ได้ประกาศหมั้นและแต่งงานกับบุญชัย เบญจรงคกุล นักธุรกิจสื่อสารที่มีชื่อเสียง ประธานบริษัทดีแทค ซึ่งมีอายุมากกว่าคราวพ่อ อย่างกะทันหัน แม้กระทั่งแอ๊ด คาราบาว ซึ่งมีศักดิ์เป็นลุง ก็ยังเพิ่งทราบ[6] โดยทั้งสองได้เข้าสู่พิธีสมรสที่โรงแรมโอเรียลเต็ล เมื่อวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2556[7] และได้ให้กำเนิดบุตรชายเมื่อวันที่ 8 กันยายน 2556 เวลา 9:49 น.ด้วยวิธีการผ่าคลอดโดยตั้งชื่อว่า ด.ช.ชีวกิตติ์ สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (ช่วง วรปุญฺโญ) ตั้งชื่อให้โดยมีความหมายว่า "ผู้ทรงเกียรติ" และมีชื่อเล่นว่า ข้าวหอม[8]

กระแสการถูกวิจารณ์[แก้]

เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2555 บงกช ได้ลงข้อความบนเฟซบุ๊กของเธอ แสดงความชื่นชมยินดีต่อการเสียชีวิตของนายอำพล ตั้งนพกุล[9] เป็นเหตุให้ต่อมาในวันที่ 12 พฤษภาคม ขณะที่เธอจะเดินทางเข้าเมืองพัทยา เพื่อถ่ายทำภาพยนตร์ เธอถูกคนเสื้อแดงจำนวนมาก ชุมนุมร้องขับไล่ตลอดทาง จนต้องยกเลิกการถ่ายทำในวันนั้น[10]

ผลงาน[แก้]

ภาพยนตร์[แก้]

ปีพ.ศ. เรื่อง รับบทเป็น แสดงคู่กับ
2543 บางระจัน อีสา วินัย ไกรบุตร
2545 ขุนแผน วันทอง/พิมพิลาไลย วัชระ ตังคะประเสริฐ
2547 ไอ้ฟัก สมทรง ปิติศักดิ์ เยาวนานนท์
เอ็กซ์แมน แฟนพันธุ์เอ็กซ์ จ๋า ลีโอ พุฒ
2548 ซุ้มมือปืน ชบา ฉัตรชัย เปล่งพานิช/ศรัณยู วงศ์กระจ่าง/สันติสุข พรหมศิริ/ปิติศักดิ์ เยาวนานนท์
คนเห็นผี 10 ผีหญิงสาว เรย์ แมคโดนัลด์
ต้มยำกุ้ง ปลา ทัชชกร (จา พนม) ยีรัมย์
2549 ไฉไล กุหลาบ กฤษณ์ ศรีภูมิเศรษฐ์
อำมหิต...พิศวาส แพรว ศรัณยู วงศ์กระจ่าง
2551 เทวดาท่าจะเท่ง ฟ้า เท่ง เถิดเทิง
คนไฟลุก โมนา ชลัฏ ณ สงขลา
2553 ดวงอันตราย นุ้ย มณฑล จิรา
2555 แม่นาค 3D นาค รังสิโรจน์ พันธุ์เพ็ง
ปล้นนะยะ 2 อั๊ยยยย่ะ ปู ธนา สุทธิกมล/สมชาย เข็มกลัด
2556 จันดารา ปฐมบท วาด/วาด ทวีศักดิ์ ธนานันท์/ทวีศักดิ์ ธนานันท์
จันดารา ปัจฉิมบท
นางฟ้า เฟิร์น ชลัฏ ณ สงขลา

ละครโทรทัศน์[แก้]

พ.ศ. เรื่อง บทบาท ออกอากาศ
2540 ซุ้มสะบันงา กุ้ง ช่อง 7
2542 ลูกแม่ ไหม
2545 นิราศสองภพ บัวบุษยา ช่อง 3
2547 เสน่ห์จันทร์ เสน่ห์จันทร์ นฤบดินทร์ ช่อง 5
รักแผลงฤทธิ์ พุก บายศรี ช่อง 3
2554 เฮฮาหน้าซอย แก้ว ช่อง 7
2555 สาวน้อย มารศรี ช่อง 9
2560 ศรีอโยธยา เจ้าจอมมารดาเจ้าหญิงปราง ช่อง TRUE4U
2562 ศรีอโยธยา 2
2565 เมียหลวง ดร.วิกันดา พันธ์ภากร (วิ) WeTV
ช่อง 8

มิวสิกวิดีโอ[แก้]

เพลง[แก้]

  • จะบอกก็ไม่บอก (ประกอบละครเรื่อง รักแผลงฤทธิ์)

ผลงานกำกับ[แก้]

ปีพ.ศ. ชื่อเรื่อง ร่วมด้วย
2552 ปายอินเลิฟ ปรัชญา ปิ่นแก้ว, ธนิตย์ จิตนุกูล, ศักดิ์ชาย ดีนาน, ดุลยสิทธิ์ นิยมกุล, บัณฑิต ทองดี, ฐิติพงษ์ใช้สติ
2556 นางฟ้า วิโรจน์ ศรีสิทธ์เสรีอมร
2561 "Sad Beauty" เพื่อนฉัน...ฝันสลาย

รางวัล[แก้]


เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "ตั๊ก บวชชีพราหมณ์อาการป่วยแม่ดีขึ้น". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-08. สืบค้นเมื่อ 2012-01-26.
  2. "ตั๊ก บงกช เพิ่งรู้ 'ดีเอ็นเอ' ผสมหลายเชื้อชาติ ไม่แปลกใจที่สวยราวเทพปั้น". The Thaiger. 8 มกราคม 2567. สืบค้นเมื่อ 8 มกราคม 2567. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. อำมหิตพิศวาส เก็บถาวร 2008-10-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน deknang.com
  4. ชีวประวัติ บงกช คงมาลัย nangdee.com
  5. "อุ่นอิ่มรักหลากรสกับบรรยากาศเมืองหนาวใน ปายอินเลิฟ". SIAMZONE.COM. 10 Dec 2009.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  6. 6.0 6.1 "'แอ๊ด คาราบาว' ร่วมเป็นผู้ใหญ่ฝ่าย 'ตั๊ก' เชื่อโตแล้วไม่ขอยุ่ง". www.thairath.co.th. 2012-11-10.
  7. "งานแต่งงาน ตั๊ก บงกช-เจ้าสัวบุญชัย ยิ่งใหญ่อลังการ". kapook.com. 2013-03-28. สืบค้นเมื่อ 16 Jun 2022.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  8. "'ตั๊ก บงกช'ผ่าคลอด'น้องข้าวหอม'แล้วถือฤกษ์09.49น". www.thairath.co.th. 2013-09-08.
  9. "ตั๊ก บงกช วิจารณ์อากงเดือด". posttoday.com. 2012-05-10. สืบค้นเมื่อ 16 Jun 2022.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  10. "'แดง'โอดถูกต้านที่ภูเก็ตวอนใจกว้าง". คมชัดลึกออนไลน์. 2012-05-13. สืบค้นเมื่อ 16 Jun 2022.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  11. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี 2564 เก็บถาวร 2022-06-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 139 ตอนพิเศษ 2 ข หน้า 20, 14 กุมภาพันธ์ 2565