ข้ามไปเนื้อหา

วินโดวส์ 10

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Windows 10
รุ่นของระบบปฏิบัติการวินโดวส์เอ็นที
หน้าจอแสดงผล Windows 10 รุ่น 21H1 แสดงเมนูเริ่มต้นและศูนย์ปฏิบัติการในธีมสว่าง
ผู้พัฒนาไมโครซอฟท์
เขียนด้วย
ตระกูลระบบปฏิบัติการไมโครซอฟท์ วินโดวส์
รหัสต้นฉบับ
เผยแพร่สู่
กระบวนการผลิต
15 กรกฎาคม 2015; 9 ปีก่อน (2015-07-15)
พร้อมใช้งาน
โดยทั่วไป
29 กรกฎาคม 2015; 9 ปีก่อน (2015-07-29)
รุ่นล่าสุด10.0.19045.4170 (12 มีนาคม 2024; 8 เดือนก่อน (2024-03-12)[5])
รุ่นทดลองล่าสุด10.0.21390.2025 (14 มิถุนายน 2021; 3 ปีก่อน (2021-06-14)[6])
กลุ่มเป้าหมาย
ทางการตลาด
คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล
พร้อมใช้ใน110 ภาษา[7][8] (ชุดภาษาเฉพาะที่รวมอยู่ในอุปกรณ์นั้นขึ้นอยู่กับผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ (หรืออุปกรณ์ที่เชื่อมต่อกับเซลลูลาร์) หรือผู้ผลิตอุปกรณ์นั้น ชุดภาษาเพิ่มเติมสามารถดาวน์โหลดได้ผ่านไมโครซอฟท์สโตร์ ตามการสนับสนุนของผู้ผลิตและผู้ให้บริการ)
รายชื่อภาษา
อาฟรีกานส์, แอลเบเนีย, อัมฮารา, อาหรับ, อาร์มีเนีย, อัสสัม, อาเซอร์ไบจาน, เบงกอล (บังกลาเทศ), เบงกอล (อินเดีย), บาสก์, เบลารุส, บอสเนีย, บัลแกเรีย, คาตาลัน, เคิร์ดกลาง, เชอโรคี, จีน (ประยุกต์), จีน (ดั้งเดิม), โครเอเชีย, เช็ก, เดนมาร์ก, ดารี - เปอร์เซีย (อัฟกานิสถาน), ดัตช์, เยอรมัน, กรีก, อังกฤษ (สหราชอาณาจักร), อังกฤษ (สหรัฐ), เอสโตเนีย, ฟินแลนด์, ฟิลิปีโน, ฝรั่งเศส (แคนาดา), ฝรั่งเศส (ฝรั่งเศส), กาลิเซีย, จอร์เจีย, คุชราต, เฮาซา, ฮีบรู, ฮินดี, ฮังการี, ไอซ์แลนด์, อิกโบ, อินโดนีเซีย, ไอริช, อิตาลี, ญี่ปุ่น, กันนาดา, คาซัค, เขมร, คีเช, คินยาร์วานดา, กอนกานี, เกาหลี, คีร์กีซ, ลาว, ลัตเวีย, ลิทัวเนีย, ลักเซมเบิร์ก, มาซิโดเนีย, มลายู, มาลายาลัม, มอลตา, เมารี, มราฐี, มองโกเลีย, เนปาล, โซโทเหนือ, นอร์เวย์ (บ็อกมาล), นอร์เวย์ (ไนนอสก์), โอเดีย, เปอร์เซีย (อิหร่าน), ปัญจาบ (อาหรับ), ปัญจาบ (กูร์มูคี), โปแลนด์, โปรตุเกส (บราซิล), โปรตุเกส (โปรตุเกส), เคชวา, โรมาเนีย, รัสเซีย, เกลิกสกอต, เซอร์เบีย (ซิริลลิก บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา), เซอร์เบีย (ซิริลลิก เซอร์เบีย), เซอร์เบีย (ละติน), สินธิ (อาหรับ), สิงหล, สโลวัก, สโลวีเนีย, สเปน (สเปน), สเปน (เม็กซิโก), สวาฮีลี, สวีเดน, ทาจิก, ทมิฬ, ตาตาร์, เตลูกู, ไทย, ทิกรินยา, เซ็ตสวานา, ตุรกี, เติร์กเมน, ยูเครน, อูรดู, อุยกูร์, อุซเบกิสถาน, วาเลนเซีย, เวียดนาม, เวลส์, โวลอฟ, Xhosa, โยรูบา, ซูลู
วิธีการอัปเดต
แพลตฟอร์มIA-32, x86-64, ARMv7,[9][10] ARM64[11][12][13]
ชนิดเคอร์เนลผสม (เช่น วินโดวส์เอ็นที เคอร์เนล; และตั้งแต่ May 2020 Update มีลินุกซ์ เคอร์เนลเพิ่มเติม)
ยูเซอร์แลนด์วินโดวส์ เอพีไอ
ดอตเน็ตเฟรมเวิร์ก
ยูนิเวอร์แซล วินโดวส์ แพลตฟอร์ม
วินโดวส์ซับซิสเตมสำหรับลินุกซ์
ส่วนต่อประสานกับผู้ใช้ปริยายวินโดวส์ เชลล์ (กราฟิก)
สัญญาอนุญาตไทรอัลแวร์,[14] วินโดวส์ ซอฟต์แวร์ แอสชูแรนซ์, การสมัครรับข้อมูล MSDN, Microsoft Imagine
รุ่นก่อนหน้าวินโดวส์ 8.1 (2556)
รุ่นถัดไปวินโดวส์ 11 (2564)
เว็บไซต์ทางการwww.microsoft.com/ru-ru/software-download/windows10,%20https://www.microsoft.com/it-it/windows
สถานะการสนับสนุน
ทุกรุ่นยกเว้น LTSB และ LTSC: ได้รับการสนับสนุนจนถึง 14 ตุลาคม พ.ศ. 2568 เมื่อมีการติดตั้งฟีเจอร์อัปเกรดตลอด
LTSB/LTSC รุ่น IoT และ LTSB/LTSC รุ่นก่อนปี 2019: ขยายระยะเวลาการสนับสนุนเป็น 10 ปี นับจากวันเปิดตัวรุ่น
LTSC รุ่นปี 2021 เป็นต้นไป (ยกเว้น IoT) : ได้รับการสนับสนุน 5 ปี นับจากวันเปิดตัวรุ่น
ทุกรุ่นสามารถซื้อบริการซัพพอร์ต (ESU) เพิ่มได้แบบปีต่อปี ยกเว้นรุ่นสำหรับผู้ใช้งานทั่วไปสามารถซื้อเพิ่มได้จนถึง 14 ตุลาคม พ.ศ. 2569

นอกเหนือจากนั้น ดูที่ §ภาพรวมรุ่นในการพัฒนาในแต่ละเวอร์ชัน

วินโดวส์ 10 (อังกฤษ: Windows 10 วินโดวส์เท็น, วินโดวส์สิบ) เป็นระบบปฏิบัติการของไมโครซอฟท์ ใช้สถาปัตยกรรมวินโดวส์เอ็นที โดยประกาศการพัฒนาเมื่อ 30 กันยายน 2557 และวางจำหน่ายเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2558[15] โดยจะทำการอัปเดตระบบให้ผู้ใช้วินโดวส์ 8.1 และวินโดวส์ 7 โดยไม่คิดมูลค่า ภายในในปีแรกของการจัดจำหน่าย

วินโดวส์ 10 มีแนวทางการออกแบบที่สืบทอดจากวินโดวส์ 8 โดยมีหน้าต่างแบบจอสัมผัส และแบบดั้งเดิมที่ใช้เมาส์และคีย์บอร์ด สถาปัตยกรรมของระบบเอื้อให้สามารถใช้ได้ทั้งคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ, แท็บเล็ต, เครื่องเกมคอนโซล และโทรศัพท์มือถือ ภายใต้แนวคิด "แอปฯ เดียว ใช้ได้ทุกรูปแบบ" โดยเพิ่มแอปจากร้านค้าไมโครซอฟท์ หรือ ไมโครซอฟท์สโตร์ (อังกฤษ: Microsoft Store) เพื่อการรองรับแอปพลิเคชันเพิ่มเติม[16]

บันทึกการพัฒนา

[แก้]

ก่อนเปิดตัว

[แก้]

โครงการวินโดวส์ 10 เริ่มต้นต่อเนื่องจากการพัฒนา วินโดวส์ 8.1 ที่ไมโครซอฟท์ตั้งเป้าพัฒนาเป็น วินโดวส์ 8.2 โดยมีเป้าหมายหลักคือการลดความสำคัญของหน้าจอเริ่มและกลับมาใช้เมนูเริ่มตามเดิม ซึ่งเป็นหนึ่งในเสียงตอบรับหลักของผู้ใช้วินโดวส์ 8 อย่างไรก็ดีในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2557 ก็เริ่มปรากฎว่าวินโดวส์ 8.2 จะถูกนับรุ่นเป็น วินโดวส์ 9 และจะออกรุ่นทดสอบในเดือนสิงหาคมแต่ได้มีการเลื่อนออกมาอย่างไม่มีกำหนด ต่อมาในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2557 ไมโครซอฟท์จัดงานแถลงข่าวเปิดตัววินโดวส์รุ่นนี้อย่างเป็นทางการในชื่อ วินโดวส์ 10 พร้อมออกรุ่นทดลองในวันเดียวกัน

สาเหตุที่ไมโครซอฟท์เลือกใช้ชื่อ วินโดวส์ 10 แทน วินโดวส์ 9 ตามหลักการนับเลขรุ่นที่ควรจะเป็น นั่นคือการก้าวเข้าสู่ยุคใหม่ของวินโดวส์ที่หลังจากนี้ วินโดวส์ 10 จะใช้แนวทางการเป็น "แพลตฟอร์ม" ที่สามารถทำงานได้บนอุปกรณ์ทุกประเภทตั้งแต่ อุปกรณ์ไอโอทีขนาดเล็ก พีซี โทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต ทีวีและเครื่องเอกซ์บอกซ์วัน ไปจนถึงเซิร์ฟเวอร์ในศูนย์ข้อมูลขนาดใหญ่ รองรับการทำงานบนอุปกรณ์หน้าจอขนาดเล็กสุด 4 นิ้ว ไปจนถึง 80 นิ้ว รวมถึงอุปกรณ์ที่ไม่มีหน้าจอ รองรับการนำเข้าข้อมูล (อินพุต) หลากหลายทาง ทั้งการสัมผัส ปากกา คีย์บอร์ด เมาส์ คอนโทรลเลอร์ และท่าทางโดยร่างกาย ก่อนหน้านี้ไมโครซอฟท์มีตัวเลือกชื่อ วินโดวส์วัน (Windows One) ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางของนโยบาย One Microsoft แต่สุดท้ายชื่อนี้ก็ไม่ได้ถูกเลือกใช้งานจริง

อีกสาเหตุหนึ่งที่ยังไม่มีเอกสารยืนยันอย่างเป็นทางการจากไมโครซอฟท์ คือการใช้วินโดวส์ 9 จะทำให้โปรแกรมประยุกต์บางตัวมีปัญหาการทำงานร่วมกัน สืบเนื่องจากในยุคก่อน นักพัฒนาภายนอกมักจะใช้ "Windows 9" ในการตรวจสอบรุ่นวินโดวส์ว่าผู้ใช้กำลังใช้งาน วินโดวส์ 95 หรือ วินโดวส์ 98 อยู่หรือไม่ แต่การเขียนวินโดวส์ 9 แบบไม่มีอักษรประกอบ ทำให้คำสั่งนี้เหมารวมทั้ง วินโดวส์ 95/วินโดวส์ 98 และวินโดวส์ 9 ทั้งหมด ซึ่งอาจจะทำให้โปรแกรมทำงานผิดพลาดไปได้ และไมโครซอฟท์อาจจะเจอปัญหานี้ระหว่างการทดสอบภายใน จึงทำให้ไมโครซอฟท์ตัดสินใจข้ามรุ่นวินโดวส์ 9 เป็นวินโดวส์ 10 แทน

รุ่นทดสอบ

[แก้]

รุ่นวินโดวส์ 10 ที่ทำการทดสอบใช้ชื่ออย่างเป็นทางการว่า "Windows Technical Preview" โดยเปิดทดลองใช้ในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2557[17][18][19][18][19] ต่อมา ไมโครซอฟท์ประกาศเปลี่ยนชื่อรุ่นทดสอบจาก "Windows Technical Preview" มาเป็น "Windows Insider Preview" ในบิลด์ 10074 โดยให้เหตุผลว่า พวกเขาต้องการรับฟังผลตอบรับจากทางผู้ใช้ที่เข้าร่วมโครงการ Windows Insider (โครงการสำหรับการทดสอบรุ่นถัดไปของวินโดวส์) [20]

รุ่นเผยแพร่ Threshold 1 (1507)

[แก้]

วินโดวส์ 10 ได้วางจำหน่ายเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2558[15][17][21] โดยใน 1 ปีแรก สามารถอัปเดตจากรุ่นก่อนหน้าได้ ทั้งวินโดวส์ 7 และ วินโดวส์ 8.1 ตามเงื่อนไข Software Assurance แต่ไม่รวมถึง Windows RT[22]

ทั้งนี้เพราะระบบไม่สามารถรองรับได้ทั้งหมด จะมีการอัปเดตความสามารถต่างหากให้เป็นรอบการปรับปรุงปกติ[23][21][24]

เวอร์ชันและการพัฒนาฟีเจอร์

[แก้]

รุ่น Threshold 2 (1511) หรือชื่อรุ่นว่า November Update

[แก้]

โดยรุ่นนี้ ปล่อยให้อัปเดต เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2558 โดยมีการปรับปรุงเรื่องประสิทธิภาพของระบบ , เพิ่มฟิวเจอร์ พรีวิวแท็บ บน Microsoft Edge , แอพ สไกป์ มาแทนแอพข้อความ , การค้นหาอุปกรณ์ , แอพสำหรับธุรกิจ และ Windows Update สำหรับธุรกิจ

รุ่น Redstone 1 (1607) หรือชื่อรุ่นว่า Anniversary Update

[แก้]

โดยรุ่นนี้ ปล่อยให้อัปเดตเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2559 เป็นการอัปเดตครบรอบ 1 ปีของ Windows 10 โดยมีการเพิ่มฟิวเจอร์ ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่ม Windows Ink Workspace (เข้าทางลัดได้ โดยการกด Windows + I) , แอพ สไกป์ มาอยู่ในแบบ UWP (Universal Windows Platform Apps) (รุ่นพรีวิว) , ปรับปรุงการเล่นเกม เมื่อเล่นอยู่ในแอพแบบ UWP (Universal Windows Platform Apps) , สแกนแบบออฟไลน์ บน Windows Defender , ระบบ Bash ของ Ubuntu (ชื่อจะเป็น Windows Subsystem for Linux) , Secure Boot จะเปิดเป็นค่าเริ่มต้น พร้อมทั้งนี้ ยังเปลี่ยนหน้าตาเล็กน้อย เช่น ปุ่ม Action Center จะอยู่ขวาสุด (ข้างขวาของแถบแสดงเวลาแต่จะอยู่ข้างซ้ายของแถบ Snap Desktop) , Start Menu แบบใหม่ ให้ใช้งานง่ายขึ้น โดยมัดรวมกับ All Programs ไปเลย โดยที่ไม่แยก , เปลี่ยนอีโมจิใหม่ทั้งหมด และใช้อีโมจิตามมาตรฐาน Unicode 9.0 , เพิ่มโหมดสีดำ[25][26][27]

รุ่น Redstone 2 (1703) หรือชื่อรุ่นว่า Creators Update

[แก้]

โดยรุ่นนี้ ปล่อยให้อัปเดตเมื่อวันที่ 11 เมษายน 2560 เป็นการอัปเดตครั้งที่ 3 ของ Windows 10 โดยจะไปเน้นทางด้านเกมเป็นส่วนใหญ่ อาทิ รองรับสตีมมิ่งเกมต่าง ๆ โดยใช้แอพ XBOX ในการสตีมและใช้บริการ Beam เป็นบริการสตีม , เพิ่มประสิทธิภาพเมื่อขณะเล่นเกม หรือ Game Mode โดยจะเอาประสิทธิภาพทั้งหมดจาก CPU GPU แรม และอื่น ๆ มาใช้บนในเกมทั้งหมด และลดความสำคัญกับแอพอื่น ๆ , เพิ่ม การเล่นเกม บนการตั้งค่า

แต่จะมีบ้าง สำหรับผู้ใช้ทั่วไป โดยจะมีอาทิ เพิ่มแอพ Paint3D สำหรับวาดรูป แทนโปรแกรม Paint เดิม , เพิ่มฟิวเจอร์บน Microsoft Edge อาทิ เปิดไฟล์ .EPUB ได้ ' ดูพรีวิวแท็บได้ และสามารถบันทึกแท็บแล้วเอามาเปิดใหม่ได้ ' ปิด Flash Player เป็นค่าเริ่มต้น , Compact Overlay (คล้ายฟิวเจอร์ Picture In Picture บน macOS และ iOS) , เพิ่มโฟล์เดอร์บน Start Menu ได้ , ปรับปรุงอีโมจิ และเพิ่มธงสีรุ้ง , เพิ่มโหมดถนอมสายตา (Night Light) , Windows Update ไอคอนใหม่ , ปรับปรุง Windows Ink Workspace , Windows Defender มาอยู่ใน UWP (Universal Windows Platform Apps) , ปุ่มแชร์ใหม่ , USB Audio 2.0 , ปรับปรุงแอพต่าง ๆ อาทิ แผนที่ คอร์ทานา เป็นต้น

พร้อมทั้งนี้ แอพ สไกป์ (รุ่นพรีวิว) นั้น ได้ออกมาเป็นรุ่นจริงด้วย โดยปลดคำว่า Preview ออกไป

รุ่น Redstone 3 (1709) หรือชื่อรุ่นว่า Fall Creators Update

[แก้]
รูปแบบ Fluent Design บนการแจ้งเตือน

โดยรุ่นนี้ ปล่อยให้อัปเดตเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2560 เป็นการอัปเดตครั้งที่ 4 ของ Windows 10 ซึ่งเวอร์ชันนี้ จะเริ่มเปลี่ยนการใช้ธีมแบบ Fluent Design System[28][29] , ปรับปรุงแกน OneCore , ระบบ Windows Subsystem for Linux , เพิ่มความสามารถของ Windows Defender ให้สามารถป้องกัน Ransomware ได้ , เพิ่มอิโมจิและเปลี่ยนอิโมจิใหม่[30] , เพิ่มฟอนต์ Bahnschrift[31] , เพิ่มแท็บ GPU ในหมวด Performance ใน Task Manager เป็นต้น

รุ่น Redstone 4 (1803) หรือชื่อรุ่นว่า April 2018 Update

[แก้]

โดยรุ่นนี้ ปล่อยให้อัปเดตเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2561 ซึ่งเวอร์ชันนี้ เป็นการอัปเดตครั้งที่ 5 ของ Windows 10 จะมีเปลี่ยนการใช้ธีมแบบ Fluent Design System เพิ่มมากขึ้น , ระบบ Cortana , ระบบ Windows Subsystem for Linux รองรับการทำงานแบบ Background Task , เพิ่มท่าทางล้างทั้งหมดบนการแจ้งเตือน , เปลี่ยนจาก Task View เป็น Timeline โดยจะเป็นการดูว่า คุณเปิดไฟล์อะไรไปบ้าง แต่ยังสามารถดูหน้าต่างปัจจุบันได้ตามปกติ , ปรับปรุงประสิทธิภาพและแก้ไขปัญหาบนแอพ Microsoft Edge พร้อมทั้งนี้มีการเพิ่มฟิวเจอร์ อาทิ ปิดเสียงบนแท็บ ' บันทึกไฟล์ .epub ' บุ๊คมาร์คบนหนังสือ epub , ย้ายส่วน Startup ไปที่หน้า Settings พร้อมทั้งนี้ ยังเพิ่มในส่วน Sound ' Font และเปลี่ยนแท็บจาก Windows Defender เป็น Windows Security , เพิ่มความสามารถในส่วน Ease of Access , เพิ่ม Nearby Sharing , ปรับปรุงแป้นพิมพ์บนหน้าจอ , ปรับปรุงการพิมพ์บนภาษาจีน ญี่ปุ่น , ปรับปรุงการพิมพ์อิโมจิ ให้สามารถพิมพ์หลายตัว , เพิ่ม "edit in Paint 3D" บน Snipping Tools , Registry Process ใน Task Manager , ปรับปรุง Game bar , เพิ่มการตั้งค่ากราฟิค ในกรณีที่มีกราฟิค 2 ตัวขึ้นไป (รวม On-Board ด้วย) , ปรับปรุงการควบคุมโดยการใช้ตา (Eye Control) เป็นต้น[32][33][34][35][36][37][38][39][40]

ในขณะเดียวกัน ฟีเจอร์ HomeGroup ที่อยู่ใน Windows 7 ขึ้นไปนั้น จะถูกเอาออกไปในเวอร์ชั้นนี้ รวมถึงการนำเอา XPS Viewer , การตั้งค่าภาษาบน Control Panel ออกไปด้วยเช่นกัน เป็นต้น[41]

รุ่น Redstone 5 (1809) หรือชื่อรุ่นว่า April 2018 Update

[แก้]

รุ่นนี้ ได้ปล่อยให้อัปเดตเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2561 โดยได้เพิ่ม Snip & Sketch , คลิปบอร์ด , คีย์บอร์ดเสมือนแบบใหม่ มาจาก SwiftKey และเพิ่มโหมดมืด ในแอพ File Explorer

รุ่น 19H1 หรือชื่อรุ่นว่า May 2019 Update

[แก้]

รุ่นนี้ ได้ปล่อยให้อัปเดตเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2562 ซึ่งเวอร์ชันนี้ ได้เพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานให้เพิ่มมากขึ้น , ผู้ใช้งาน Home Edition จะสามารถหยุดการอัปเดตได้ชั่วคราวถึง 7 วัน , หน้าตาสีสันมีความโปร่งใสสบายตามากขึ้นหลายส่วน (Light Theme) , ผู้ใช้สามารถลบแอปที่ติดมาโดยพื้นฐานได้มากขึ้น , Windows Sandbox แยกสภาพแวดล้อมออกจากการใช้งานจริง , ช่องค้นหากับ Cortana แยกออกจากกัน , ปรับปรุงแอพ Notepad

เมื่อมีการติดตั้งใหม่ หรือ Clean Install จะมีการจองพื้นที่ไว้ 7 GB เพื่อป้องกันการอัปเดตผิดพลาด หากอัพเกรดจากรุ่นเก่ามา จะไม่มีการจองพื้นที่ในส่วนนั้น[42]

รุ่น 19H2 หรือชื่อรุ่นว่า November 2019 Update

[แก้]

รุ่นนี้ ได้ปล่อยให้อัปเดตเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2562 ในเวอร์ชันใหม่นี้ จะเน้นแก้ไขเรื่องประสิทธิภาพ และการทำงานบน Windows โดยไม่มีการเพิ่มฟิวเจอร์ใด ๆ

รุ่น 20H1 หรือชื่อรุ่นว่า May 2020 Update

[แก้]

รุ่นนี้ ได้ปล่อยให้อัปเดตเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2563 โดยไปเน้นของใหม่เช่น ไมโครซอฟท์ เอดจ์ ไปใช้เอนจินโครมเนี่ยมตัวใหม่ , ปรับปรุงประสิทธิภาพในการใช้งาน , ระบบ Windows Subsystem for Linux อัปเดตเป็นเวอร์ชัน 2 , รองรับ DirectX12 Ultimate

การพัฒนาฟีเจอร์

[แก้]

เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2559 ที่ผ่านมา Microsoft ได้ทำพาทเนอร์ให้กับ Qualcomm โดยจะทำในเรื่องของแอพบน Windows นั้น สามารถรันได้บนซีพียู Qualcomm Snapdragon ได้เลย โดยที่ไม่ต้องทำการแปลงโค๊ด หรือดัดแปลงแอพ (เรียกจากแอพ แบบ Win32 (x86) บนสถาปัตยกรรมแบบ ARM ผ่านระบบจำลอง และไม่เหมือนกับ Windows RT ที่รับแอพได้แค่จาก Windows Store เท่านั้น)

หลังจากนั้นได้เปิดตัว Windows on ARM โดยออกแบบมาเพื่อซีพียูบนสถาปัตยกรรมแบบ ARM ทำงานบนวินโดวส์โดยเฉพาะ

รุ่น Insider Preview

[แก้]

รุ่น Insider Preview นี้ เหมาะสำหรับคนที่ต้องการทดสอบระบบปฏิบัติการรุ่นใหม่ โดยเหมาะสำหรับการทดสอบระบบและทดสอบการใช้งานแอปพลิเคชัน เป็นต้น แต่อาจมีปัญหากับรุ่นนี้ เพราะอาจมีบั๊คต่าง ๆ อยู่ ซึ่งจะเกิดปัญหาในโปรแกรมและระบบ หรืออาจเกิด จอเขียวมรณะ (เดิมจอฟ้า) หรืออาจไม่สามารถใช้งานได้เลย

รุ่น Skip Ahead

[แก้]

รุ่น Skip Ahead นี้ จะเป็นการข้ามในรุ่นที่จะออกจริง โดยปกตินั้น ในรุ่น Insider Preview จะทยอยออกรุ่นต่อ ๆ ไป จนถึงรุ่นออกจริง (Release To Manufacturing) แล้วก็จะไปรุ่นทดสอบต่อไปทันที แต่ใน Skip Ahead จะเป็นการข้ามรุ่นที่จะออกจริงไป โดยจะทยอยออกในรุ่น Insider Preview ต่อไป ส่วนปัญหาในโปรแกรม จะเจอเดียวกันกับรุ่น Insider Preview

ภาพรวมรุ่นในการพัฒนาในแต่ละเวอร์ชัน

[แก้]
รุ่นของวินโดวส์ 10
รุ่น โค้ดเนม ชื่อการค้า บิลด์ (Build) วันที่เปิดตัว สนับสนุนจนถึง (และสถานะการสนับสนุนตามสี)
GAC[a] LTSC[b] โทรศัพท์เคลื่อนที่
  • Home
  • Pro
  • Pro Education
  • Pro for Workstations
  • Education
  • Enterprise
  • IoT Enterprise
Enterprise IoT Enterprise
1507 Threshold 1 10240 29 กรกฎาคม 2558 9 พฤษภาคม 2560 14 ตุลาคม 2568
1511 Threshold 2 November Update 10586 10 พฤศจิกายน 2558 10 ตุลาคม 2560 10 เมษายน 2561 9 มกราคม 2561
1607 Redstone 1 Anniversary Update 14393 2 สิงหาคม 2559 10 เมษายน 2561[c] 9 เมษายน 2562[c] 13 ตุลาคม 2569 9 ตุลาคม 2561
1703 Redstone 2 Creators Update 15063 5 เมษายน 2560[d] 9 ตุลาคม 2561[e] 8 ตุลาคม 2562[e] 11 มิถุนายน 2562
1709 Redstone 3 Fall Creators Update 16299[f] 17 ตุลาคม 2560 9 เมษายน 2562 13 ตุลาคม 2563[g] 14 มกราคม 2563
1803 Redstone 4 April 2018 Update 17134 30 เมษายน 2561 12 พฤศจิกายน 2562 11 พฤษภาคม 2564[h]
1809 Redstone 5 October 2018 Update 17763 13 พฤศจิกายน 2561[i] 10 พฤศจิกายน 2563[j] 9 มกราคม 2572
1903 19H1 May 2019 Update 18362 21 พฤษภาคม 2562 8 ธันวาคม 2563
1909 19H2 November 2019 Update 18363 12 พฤศจิกายน 2562 11 พฤษภาคม 2564 10 พฤษภาคม 2565
2004 20H1 May 2020 Update 19041 27 พฤษภาคม 2563 14 ธันวาคม 2564
20H2 20H2 October 2020 Update 19042 20 ตุลาคม 2563 10 พฤษภาคม 2565 9 พฤษภาคม 2566
21H1 Iron May 2021 Update 19043 18 พฤษภาคม 2564 13 ธันวาคม 2565
21H2 21H2 November 2021 Update 19044 16 พฤศจิกายน 2564 13 มิถุนายน 2566 11 มิถุนายน 2567 12 มกราคม 2570 13 มกราคม 2575[k]
22H2 22H2 2022 Update 19045 18 ตุลาคม 2564 14 พฤษภาคม 2567 13 พฤษภาคม 2568
คำอธิบาย:        รุ่นเก่า ยุติการสนับสนุนแล้ว[l]        รุ่นเก่า ยังสนับสนุนอยู่[m]        รุ่นล่าสุด[n]
หมายเหตุ:
  1. General Availability Channel เดิมคือ Semi-Annual Channel (SAC) และ Current Branch for Business (CBB)
  2. Long-Term Servicing Channel เดิมคือ Long-Term Servicing Branch (LTSB)
  3. 3.0 3.1 10 มกราคม 2566 สำหรับ Intel Clover Trail based systems
  4. 11 เมษายน 2560 สำหรับ Enterprise, Education และ IOT Enterprise editions
  5. 5.0 5.1 9 มีนาคม 2564 สำหรับอุปกรณ์ Surface Hub
  6. Windows 10 Mobile: 15254
  7. แต่เดิมมีกำหนดยุติการสนับสนุนในวันที่ 14 เมษายน 2563 แต่ถูกเลื่อนเนื่องจากสถานการณ์ของโควิด-19
  8. แต่เดิมมีกำหนดยุติการสนับสนุนในวันที่ 10 พฤศจิกายน 2563 แต่ถูกเลื่อนเนื่องจากสถานการณ์ของโควิด-19
  9. แต่เดิมมีกำหนดปล่อยในวันที่ 2 ตุลาคม 2561 แต่ถูกถอนออกเนื่องจากข้อผิดพลาด
  10. แต่เดิมมีกำหนดยุติการสนับสนุนในวันที่ 12 พฤษภาคม 2563 แต่ถูกเลื่อนเนื่องจากสถานการณ์ของโควิด-19
  11. สนับสนุนแพตช์ ฟีเจอร์ใหม่ และการแก้ไขบั๊ก (Mainstream Support) จนถึง 12 มกราคม 2570
  12. บิลด์ของวินโดวส์ 10 ที่แสดงด้วยสีนี้ถึงวันหมดอายุแล้วและจะไม่ได้รับการสนับสนุนจากไมโครซอฟท์อีกต่อไป
  13. บิลด์ของวินโดวส์ 10 ที่แสดงด้วยสีนี้ไม่ใช่รุ่นล่าสุดของวินโดวส์ 10 แต่ยังคงได้รับการสนับสนุนจากไมโครซอฟท์อยู่
  14. บิลด์ของวินโดวส์ 10 ที่แสดงด้วยสีนี้เป็นรุ่นสาธารณะล่าสุด (โดย SKU) ของวินโดวส์ 10

ความสามารถWindows 10

[แก้]

ระบบออนไลน์

[แก้]

มีฟังก์ชันการสั่งการด้วยเสียง คอร์ทานา เช่นเดียวกับใน Windows Phone,[43] และระบบสามารถค้นหาได้ทั้งไฟล์ในเครื่องและเว็บไซต์ต่าง ๆ [44]

ระบบคำสั่งข้อความ ถูกนำออกไป และใช้ได้เพียงในโปรแกรม สไกป์ เพียงอย่างเดียว แต่ได้มีการรวมกันให้เป็นระบบเดียวกันจึงทำให้สามารถใช้ได้ทั่งการค้นหาเบอร์โทร โปรแกรมบันทึกเสียง รับสายโทรศัพท์ โทรออก[45]

มาพร้อมกับ web rendering engine โดยมีการออกมาเพื่อรองรับ "Edge" โดยเป็นเว็บในระบบใหม่ แต่ก็ยังไร web browser ตัวเดิม Internet Explorer โดย "ไมโครซอฟท์ เอดจ์" เป็นการรองรับ มาตราฐานใหม่ MSHTML รวมถึง รองรับมาตราฐานเก่ากว่าอีกด้วย[46][47][48]

ระบบความบันเทิง

[แก้]

รองรับไฟล์เพลงและภาพยนตร์เพิ่มเติมคือ FLAC, HEVC, และ Matroska ให้สามารถเล่นและแสดงผลในโปรแกรมวินโดวส์มีเดียเพลเยอร์ รวมถึงโปรแกรมแวดล้อมอื่น ๆ [49][50][51]

สามารถอ่านเอกสาร .EPUB ได้บน ไมโครซอฟท์ เอดจ์ และได้ทำการเอาออกไปในเวอร์ชัน May 2020 Update เนื่องจากไม่เป็นที่นิยมแล้ว และถูกแทนที่ด้วยเอนจินใหม่

เพิ่มความสามารถในการใช้ VR ในแบบ Mixed Reality โดยใช้สเปกเครื่องที่ไม่สูง

ระบบเกมมิ่ง

[แก้]

ได้พัฒนาด้านการแสดงภาพในเกมด้วยไดเรกต์เอกซ์ 12[52] ซึ่งเปิดตัวในงาน GDC เมื่อเดือนมีนาคม 2557 ที่ผ่านมา และให้เพียงแค่ Windows 10 และ Xbox One เท่านั้น[53][54]

ได้มีการผนวกบริการเอกซ์บอกซ์ โดยสามารถทำให้เล่นเกมใน Windows รวมถึงเกมอื่น ๆ ในระบบออนไลน์ได้ พร้อมรองรับกล้อง DVR โดยใช้ทางลัดบนคีย์บอร์ด (Windows + G) [55][56] นอกจากนี้ยังมีระบบเชื่อมต่อ Remote หรือสตีมมิ่ง จาก เอกซ์บอกซ์ วัน ไปยัง Windows 10 ได้ รองรับการใช้ XBOX Controler สร้างกลุ่มสำหรับเกมต่าง ๆ และสามารถดวลผ่าน Arena จากเกมต่าง ๆ ได้อีกด้วย โดยผ่านการเชื่อมต่อกับ Xbox Live แอดเค้าท์[57]

ได้พัฒนาเกมต่าง ๆ ให้สามารถเล่นเกมจากพีซีได้ โดยที่ไม่ต้องสตีมมิ่งจากตัวเกมคอนโซล XBOX ไปยัง Windows 10 โดยใช้ XBOX Play Everywhere โดยเพียงแค่ซื้อเกมจาก Xbox Store หรือ Windows Store ในรูปแบบ Digital Title ก็สามารถเอาเกมส์ที่ซื้อไปนั้น มาเล่นได้ทั้ง Xbox และ Windows 10 ได้ทันที โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม และสามารถโอนข้อมูลต่าง ๆ ไปได้ รวมถึงการซื้อต่าง ๆ บนเกมด้วย[58]

มาพร้อมกับการบริการสตรีมมิ่งและสังคมออนไลน์เกมมิ่งอย่าง Mixer (ชื่อเดิม Beam) ที่สามารถถ่ายทอดสด และแชร์ให้คนอื่น ๆ ดูได้

ระบบอัปเดต

[แก้]

Windows 10 มาพร้อมกับระบบอัปเดตอัตโนมัติกับเว็บของไมโครซอฟท์ พร้อมทั้งนี้ จะมีการอัปเดตต่อไป ในขณะที่มีการเชื่อมต่อผ่านข้อมูลเซลลูล่าร์ สามารถดาวโหลดผ่านเว็บไมโครซอฟท์ได้[59][60]

รายการอ้างอิง

[แก้]
  1. "Programming language tools: Windows gets versatile new open-source terminal". ZDNet. สืบค้นเมื่อ August 31, 2020.
  2. "Microsoft is open-sourcing Windows Calculator on GitHub". ZDNet. สืบค้นเมื่อ August 31, 2020.
  3. "GitHub - microsoft/Windows-Driver-Frameworks". Microsoft. สืบค้นเมื่อ August 31, 2020.
  4. "windows forms". Microsoft. สืบค้นเมื่อ August 31, 2020.
  5. "June 11, 2021—KB5004476 (OS Builds 19041.1055, 19042.1055, and 19043.1055)". Microsoft Support. June 11, 2021.
  6. "Announcing Windows 10 Insider Preview Build 21390". Windows Experience Blog. May 26, 2021.
  7. "Local Experience Packs - Microsoft Store". microsoft.com. Microsoft.
  8. "Microsoft Volume Licensing Center". microsoft.com. Microsoft.
  9. saraclay. "SoCs and Custom Boards for Windows 10 IoT Core - Windows IoT". docs.microsoft.com (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ June 13, 2019.
  10. ".NET Core 3.0 - Supported OS versions". .NET Foundation. June 5, 2019. สืบค้นเมื่อ June 13, 2019.
  11. Thurrottfeed (November 16, 2018). "Microsoft Opens Its Store to 64-Bit ARM Apps". Thurrott.com (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ June 13, 2019.
  12. "HP, Asus announce first Windows 10 ARM PCs: 20 hour battery life, gigabit LTE". Ars Technica. Condé Nast. December 5, 2017.
  13. "2017-10 Cumulative Update for Windows 10 Version 1709 for ARM64-based Systems (KB4043961)". Microsoft Update Catalog. Microsoft. October 16, 2017.
  14. "Windows 10". Windows Evaluations. Microsoft. สืบค้นเมื่อ November 27, 2015.
  15. 15.0 15.1 "Hello World: Windows 10 Available on July 29". สืบค้นเมื่อ 1 June 2015.
  16. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-02-23. สืบค้นเมื่อ 2015-01-25.
  17. 17.0 17.1 "Windows 10: Microsoft hits a turbo button to get back to business". The Verge. สืบค้นเมื่อ 1 October 2014.
  18. 18.0 18.1 "Windows 10 Technical Preview now available to download". The Verge. สืบค้นเมื่อ 1 October 2014.
  19. 19.0 19.1 "Microsoft launches Windows Insider Program to get Windows betas". Ars Technica. สืบค้นเมื่อ 1 October 2014.
  20. "New Windows 10 Insider Preview Build 10074 now available". สืบค้นเมื่อ 29 April 2015.
  21. 21.0 21.1 "Windows 10 free for all Windows 8.1 and Windows 7 users for first year". Ars Technica. สืบค้นเมื่อ 21 January 2015.
  22. "Windows 10 will be a free upgrade for Windows 7 and Windows 8 users". PCWorld. IDG. สืบค้นเมื่อ 22 January 2015.
  23. "Microsoft's Windows RT isn't dead ... yet". CNET. CBS Interactive. สืบค้นเมื่อ 21 January 2015.
  24. Myerson, Terry. "The next generation of Windows: Windows 10". Windows blog. Microsoft. สืบค้นเมื่อ 21 January 2015.
  25. https://blogs.windows.com/windowsexperience/2016/04/06/announcing-windows-10-insider-preview-build-14316/
  26. http://blogs.windows.com/windowsexperience/2016/04/22/announcing-windows-10-insider-preview-build-14328-for-pc-and-mobile/
  27. https://blogs.windows.com/windowsexperience/2016/04/22/announcing-windows-10-insider-preview-build-14328-for-pc-and-mobile
  28. "Announcing Windows 10 Insider Preview Build 16215 for PC + Build 15222 for Mobile". Microsoft. สืบค้นเมื่อ 6 กรกฎาคม 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  29. "Microsoft Fluent Design System". Youtube.
  30. "Announcing Windows 10 Insider Preview Build 16226 for PC".
  31. "Announcing Windows 10 Insider Preview Build 16273 for PC".
  32. https://blogs.windows.com/windowsexperience/2017/10/13/announcing-windows-10-insider-preview-build-17017-pc
  33. https://blogs.windows.com/windowsexperience/2017/10/25/announcing-windows-10-insider-preview-build-17025-pc
  34. https://blogs.windows.com/windowsexperience/2017/11/08/announcing-windows-10-insider-preview-build-17035-pc
  35. https://blogs.windows.com/windowsexperience/2017/11/16/announcing-windows-10-insider-preview-build-17040-pc
  36. https://blogs.windows.com/windowsexperience/2017/11/22/announcing-windows-10-insider-preview-build-17046-pc/
  37. https://blogs.windows.com/windowsexperience/2017/12/19/announcing-windows-10-insider-preview-build-17063-pc/
  38. https://blogs.windows.com/windowsexperience/2018/01/11/announcing-windows-10-insider-preview-build-17074-pc
  39. https://blogs.windows.com/windowsexperience/2018/01/24/announcing-windows-10-insider-preview-build-17083-for-pc
  40. https://blogs.windows.com/windowsexperience/2018/02/07/announcing-windows-10-insider-preview-build-17093-pc
  41. "Features removed or planned for replacement starting with Windows 10, version 1803".
  42. "ของใหม่ใน Windows 10 April 2019 Update". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-08-22. สืบค้นเมื่อ 22 สิงหาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  43. "Cortana for Windows 10 demonstrated on video". The Verge. สืบค้นเมื่อ 8 January 2015.
  44. "Microsoft unveils Cortana for Windows 10". The Verge. สืบค้นเมื่อ 21 January 2015.
  45. Warren, Tom (January 22, 2015). "Microsoft is turning Skype into its own version of iMessage in Windows 10". The Verge. Vox Media. สืบค้นเมื่อ April 22, 2019.
  46. "Living on the Edge – our next step in helping the web just work". IEBlog. Microsoft. สืบค้นเมื่อ January 23, 2015.
  47. "Project Spartan and the Windows 10 January Preview Build". IEBlog. Microsoft. สืบค้นเมื่อ January 23, 2015.
  48. "Microsoft officially announces Project Spartan, its new web browser for Windows 10". The Verge. สืบค้นเมื่อ 21 January 2015.
  49. Gabe Aul (November 12, 2014). "New build available to the Windows Insider Program". Microsoft. สืบค้นเมื่อ November 15, 2014.
  50. "Audio snobs rejoice: Windows 10 will have system-wide FLAC support". PC World. IDG. สืบค้นเมื่อ 14 December 2014.
  51. "Windows 10 will play your .MKV and .FLAC files all on its own". Engadget. สืบค้นเมื่อ 14 December 2014.
  52. Langley, Bryan. "DirectX 12 and Windows 10". DirectX Developer Blog. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-10-04. สืบค้นเมื่อ October 3, 2014.
  53. "Windows 10 will woo gamers with supercharged DirectX 12 graphics API". PCWorld. สืบค้นเมื่อ October 3, 2014.
  54. "Microsoft details DirectX 12 for better Xbox One, PC performance". Techradar. สืบค้นเมื่อ October 3, 2014.
  55. "Xbox on Windows 10: social features, game DVR and more". Engadget. AOL. สืบค้นเมื่อ 21 January 2015.
  56. "Xbox app coming to Windows 10, Microsoft confirms". Polygon. Vox Media. สืบค้นเมื่อ 21 January 2015.
  57. "Windows 10 will let you stream Xbox One games to any Windows 10 PC or tablet". Polygon. Vox Media. สืบค้นเมื่อ 21 January 2015.
  58. http://www.xbox.com/en-US/games/xbox-play-anywhere
  59. "Microsoft reveals biggest-ever change in Windows updates". Computerworld. สืบค้นเมื่อ 4 October 2014.
  60. "Introducing Windows 10 for Business". Windows Blog. สืบค้นเมื่อ 4 October 2014.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]