ข้ามไปเนื้อหา

วินโดวส์ 11

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วินโดวส์ 11
รุ่นของระบบปฏิบัติการวินโดวส์เอ็นที
หน้าจอแสดงผลของวินโดวส์ 11 รุ่น 21H2 แสดงการติดตั้งระบบปฏิบัติการใหม่พร้อมแถบงานที่ถูกจัดกลุ่มตรงกลางและเมนูเริ่มต้นในธีมสว่าง
ผู้พัฒนาไมโครซอฟท์
เขียนด้วย
ตระกูลระบบปฏิบัติการไมโครซอฟท์ วินโดวส์
รหัสต้นฉบับ
พร้อมใช้งาน
โดยทั่วไป
5 ตุลาคม 2021; 2 ปีก่อน (2021-10-05)
รุ่นทดลองล่าสุด10.0.26080 (15 มีนาคม 2024; 5 เดือนก่อน (2024-03-15))
กลุ่มเป้าหมาย
ทางการตลาด
คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล
พร้อมใช้ใน88 ภาษา[5][6]
รายชื่อภาษา
อาฟรีกานส์, แอลเบเนีย, อัมฮารา, อาหรับ, อาร์มีเนีย, อัสสัม, อาเซอร์ไบจาน, เบงกอล (บังกลาเทศ), เบงกอล (อินเดีย), บาสก์, เบลารุส, บอสเนีย, บัลแกเรีย, คาตาลัน, เคิร์ดกลาง, เชอโรคี, จีน (ประยุกต์), จีน (ดั้งเดิม), โครเอเชีย, เช็ก, เดนมาร์ก, ดารี - เปอร์เซีย (อัฟกานิสถาน), ดัตช์, เยอรมัน, กรีก, อังกฤษ (สหราชอาณาจักร), อังกฤษ (สหรัฐ), เอสโตเนีย, ฟินแลนด์, ฟิลิปีโน, ฝรั่งเศส (แคนาดา), ฝรั่งเศส (ฝรั่งเศส), กาลิเซีย, จอร์เจีย, คุชราต, เฮาซา, ฮีบรู, ฮินดี, ฮังการี, ไอซ์แลนด์, อิกโบ, อินโดนีเซีย, ไอริช, อิตาลี, ญี่ปุ่น, กันนาดา, คาซัค, เขมร, คีเช, คินยาร์วานดา, กอนกานี, เกาหลี, คีร์กีซ, ลาว, ลัตเวีย, ลิทัวเนีย, ลักเซมเบิร์ก, มาซิโดเนีย, มลายู, มาลายาลัม, มอลตา, เมารี, มราฐี, มองโกเลีย, เนปาล, โซโทเหนือ, นอร์เวย์ (บ็อกมาล), นอร์เวย์ (ไนนอสก์), โอเดีย, เปอร์เซีย (อิหร่าน), ปัญจาบ (อาหรับ), ปัญจาบ (กูร์มูคี), โปแลนด์, โปรตุเกส (บราซิล), โปรตุเกส (โปรตุเกส), เคชวา, โรมาเนีย, รัสเซีย, เกลิกสกอต, เซอร์เบีย (ซิริลลิก บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา), เซอร์เบีย (ซิริลลิก เซอร์เบีย), เซอร์เบีย (ละติน), สินธิ (อาหรับ), สิงหล, สโลวัก, สโลวีเนีย, สเปน (สเปน), สเปน (เม็กซิโก), สวาฮีลี, สวีเดน, ทาจิก, ทมิฬ, ตาตาร์, เตลูกู, ไทย, ทิกรินยา, เซ็ตสวานา, ตุรกี, เติร์กเมน, ยูเครน, อูรดู, อุยกูร์, อุซเบกิสถาน, วาเลนเซีย, เวียดนาม, เวลส์, โวลอฟ, โคซา, โยรูบา, ซูลู
วิธีการอัปเดต
แพลตฟอร์มx64, ARM64
ชนิดเคอร์เนลผสม (วินโดวส์เอ็นที เคอร์เนล)
ยูเซอร์แลนด์วินโดวส์เอพีไอ
ดอตเน็ตเฟรมเวิร์ก
ยูนิเวอร์แซลวินโดวส์แพลตฟอร์ม
วินโดวส์ซับซิสเท็มฟอร์ลินุกซ์
วินโดวส์ซับซิสเท็มฟอร์แอนดรอยด์
ส่วนต่อประสานกับผู้ใช้ปริยายวินโดวส์ เชลล์ (กราฟิก)
รุ่นก่อนหน้าวินโดวส์ 10 (2015)
เว็บไซต์ทางการhttps://www.microsoft.com/th-th/windows/windows-11
สถานะการสนับสนุน
ดูที่ §ภาพรวมรุ่นในการพัฒนาในแต่ละเวอร์ชัน

วินโดวส์ 11[7][8] (อังกฤษ: Windows 11, วินโดวส์อีเลฟเว่น, วินโดวส์สิบเอ็ด) เป็นระบบปฏิบัติการวินโดวส์เอ็นทีรุ่นใหม่ ที่พัฒนาโดยไมโครซอฟท์ เปิดตัวอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2021 มีกำหนดอัปเดตระบบให้ผู้ใช้งานอุปกรณ์วินโดวส์ 10 ที่รองรับการใช้งานโดยไม่คิดมูลค่าอย่างเป็นทางการตั้งแต่วันที่ 5 ตุลาคม 2021 เป็นต้นไปผ่านวินโดวส์อัปเดต วินโดวส์ 11 ถือเป็นวินโดวส์รุ่นใหม่ถัดจากวินโดวส์ 10 ซึ่งเปิดตัวมานานกว่า 6 ปี

การพัฒนา

[แก้]

หลังจากการเปิดตัววินโดวส์ 10 ไมโครซอฟท์ระบุว่าวินโดวส์ 10 จะเป็นวินโดวส์ "เวอร์ชันสุดท้าย"[9][10] โดยจะเป็นระบบปฏิบัติการที่ให้บริการอัปเดตใหม่ ๆ เมื่อเวลาผ่านไปแทน อย่างไรก็ตาม หลังจากที่ไมโครซอฟท์ประกาศรับสมัครงานซึ่งมีการพูดถึง "การฟื้นฟูครั้งใหญ่" ของวินโดวส์[11] ก็มีการคาดเดาเกี่ยวกับเวอร์ชันใหม่ของวินโดวส์ โดยวินโดวส์เวอร์ชันใหม่ถูกพัฒนาขึ้นภายใต้ชื่อรหัส "ซันแวลลีย์" ได้รับการตั้งค่าให้ปรับปรุงอินเทอร์เฟซผู้ใช้ของระบบให้ทันสมัยขึ้น[12]

เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2021[13] มีรูปภาพหน้าจอที่อ้างว่าเป็นวินโดวส์ 11 รุ่นเบตา ปรากฏบนโลกออนไลน์ หลังจากนั้นก็มีข้อมูลที่เกี่ยวกับวินโดวส์ 11 รั่วไหลออกมา และต่อมาในวันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2564 ข้อมูลรุ่นชื่อ วินโดวส์ 11 เอสอี ก็รั่วไหลออกมา[14] โดยทั้งสองรุ่นต้องมีชิป TPM 2.0 และ UEFI เนื่องจากเป็นวินโดวส์แบบโออีเอ็ม[15][16] ซึ่งภาพหน้าจอและรุ่นที่หลุดออกมาแสดงให้เห็นว่า อินเทอร์เฟซของวินโดวส์ 11 มีความคล้ายคลึงกับ วินโดวส์ 10 เอกซ์ ที่ถูกยกเลิก พร้อมกับการออกแบบใหม่ของ out-of-box experience (OOBE) และแบรนด์วินโดวส์ 11[17]

วันที่ 21 มิถุนายน 2021 ไมโครซอฟท์ได้เปิดเผยว่ากำลังพัฒนาระบบปฏิบัติการวินโดวส์ 11 ในเอกสารสนับสนุนโดยบังเอิญ[8][18]

วินโดวส์ 11 ถือเป็นระบบปฏิบัติการไมโครซอฟท์ วินโดวส์รุ่นแรกที่หยุดการสนับสนุนสถาปัตยกรรม ไอเอ-32 และเออาร์เอ็มวี 7 อย่างเป็นทางการ โดยตัวระบบปฏิบัติการจะรองรับสถาปัตยกรรม เอกซ์86-64 และ เออาร์เอ็ม 64 เท่านั้น

การเปิดตัว

[แก้]

ในการประชุมนักพัฒนาที่ไมโครซอฟท์ บิลด์ 2021 สัตยา นาเดลลา ซีอีโอของไมโครซอฟท์ ได้เกริ่นถึงวินโดวส์รุ่นถัดไปในระหว่างการนำเสนอ ตามคำบอกเล่าของนาเดลลา เขาได้เตรียมการเป็นเวลาหลายเดือน และบอกใบ้ว่า จะมีการประกาศอย่างเป็นทางการเร็วๆ นี้[19] หลังจากการนำเสนอของนาเดลลาเพียงหนึ่งสัปดาห์ ไมโครซอฟท์ก็เริ่มส่งคำเชิญร่วมงานของวินโดวส์โดยเฉพาะในวันที่ 24 มิถุนายน 2021 เวลา 11.00 น.[20][21] ซึ่งการที่งานเริ่มเวลา 11.00 น. ถือเป็นเวลาที่ไม่ปกติสำหรับไมโครซอฟท์ นอกจากนี้ไมโครซอฟท์ยังเผยแพร่วิดีโอบนยูทูบเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน โดยเป็นเสียงเริ่มต้นใช้งานวินโดวส์ที่มีความยาว 11 นาที ทำให้หลายคนคาดเดาว่าชื่อระบบปฏิบัติการใหม่จากไมโครซอฟท์นั้น คือ วินโดวส์ 11[22][23]

ในวันที่ 24 มิถุนายน 2021 ไมโครซอฟท์ได้เปิดตัว วินโดวส์ 11 อย่างเป็นทางการ โดยชูจุดขายหลักว่าเป็น "วินโดวส์ที่ถูกคิดใหม่ทำใหม่ทั้งหมด" พร้อมกับการเปิดเผยรายละเอียดฟังก์ชันใหม่ในส่วนของนักพัฒนาโปรแกรมประยุกต์ เช่น ไมโครซอฟท์ สโตร์, ชุดพัฒนาซอฟต์แวร์ วินโดวส์ เอสดีเค "โปรเจกต์ รียูเนียน", แนวทางการออกแบบส่วนต่อประสาน ฟลูเอนท์ ดีไซน์ ซิสเท็ม, และหัวข้ออื่น ๆ อีกมากมาย

คุณสมบัติ

[แก้]

ส่วนต่อประสานกับผู้ใช้และการออกแบบ

[แก้]

บิลด์รุ่นพัฒนาของวินโดวส์ 11 ที่หลุดออกมานั้นแสดงให้เห็นว่ามีการอัปเดตส่วนต่อประสานกับผู้ใช้ให้เป็นไปตามแนวทางระบบฟลูเอนต์ดีไซน์ของไมโครซอฟท์ โดยมีลักษณะโปร่งแสง เงา และขอบโค้งให้พบได้อยู่ทั่วไปในระบบ[24] มีการออกแบบเมนูเริ่มต้นใหม่ ซึ่งเลิกการใช้งานลักษณะแถบด้านขวาไป และทาสก์บาร์ยังถูกปรับให้มีลักษณะทันสมัยและอยู่ตรงกลางเป็นค่าเริ่มต้นด้วย อย่างไรก็ตาม ผู้ใช้สามารถเลือกปรับให้ทาสก์บาร์ชิดซ้ายดังเดิมได้[17][25] คุณสมบัติทาสก์วิวที่ถูกเพิ่มเข้ามาในวินโดวส์ 10 ได้รับการออกแบบแบบรีเฟรช การเปลี่ยนแปลงอื่น ๆ ในระบบ ได้แก่ ไอคอนระบบใหม่ แอนิเมชัน เสียง และวิดเจ็ต[26][27] โดยส่วนมากของส่วนต่อประสานและเมนูเริ่มต้นนั้นได้รับแรงบัลดาลใจอย่างมามาจากวินโดวส์ 10 เอ็กซ์ที่เพิ่งถูกยกเลิกไป[25]

วินโดวส์ 11 นั้นยังมีฟอนต์ใหม่ด้วย นั่นคือ Segoe UI Variable ซึ่งเป็นฟอนต์ที่ถูกออกแบบให้มีสเกลที่ดีขึ้นและรองรับกับหน้าจอที่มี DPI สูงในยุคใหม่ ซึ่งเป็นสิ่งที่ฟอนต์ Segoe UI เดิมไม่รองรับ[28]

วิดเจ็ต

[แก้]

วินโดวส์ 11 มีแถบวิดเจ็ตที่สามารถเข้าถึงได้โดยการคลิกที่ปุ่มวิดเจ็ตที่อยู่บนทาส์กบาร์ ตัววิดเจ็ตจะแสดงข่าวสาร กีฬา สภาพอากาศ และหุ้นจากเอ็มเอสเอ็น ในรุ่นนักพัฒนาที่หลุดออกมานั้น ไม่สามารถลากวิดเจ็ตหรือจัดเรียงวิดเจ็ตใหม่ได้ และการเข้าถึงแถบวิดเจ็ตนั้นจำเป็นต้องลงชื่อเข้าใช้คอมพิวเตอร์ด้วยบัญชีของไมโครซอฟท์ ซึ่งคุณสมบัตินี้มาแทนที่เมนูข่าวสารและความสนใจบนทากส์บาร์ ซึ่งปรากฏในวินโดวส์ 10 รุ่นล่าสุด[29][25]

วินโดวส์ ซับซิสเท็ม ฟอร์ แอนดรอยด์

[แก้]

วินโดวส์ 11 จะอนุญาตให้ผู้ใช้สามารถติดตั้งแอปพลิเคชันแอนดรอยด์ลงในระบบได้โดยตรง โดยรองรับแอปพลิเคชันจาก แอมะซอน แอปสโตร์ผ่านไมโครซอฟท์ สโตร์ ตัวติดตั้งแอปพลิเคชันบนวินโดวส์จากแอมะซอน แอปสโตร์ และการติดตั้งแอปพลิเคชันโดยตรงบนวินโดวส์ 11 ด้วยไฟล์แพ็คเกจของแอนดรอยด์ คุณสมบัตินี้จะทำงานบนแอนดรอยด์ซับซิสเท็ม ซึ่งถูกพัฒนาต่อยอดขึ้นมาจาก ลินุกซ์ซับซิสเท็ม ที่ใช้งานอยู่เดิมในวินโดวส์ 10 ร่วมกับการใช้งานแอนดรอยด์ โอเพนซอร์ส โปรเจ็กต์ หรือ AOSP จนเกิดเป็นสภาพแวดล้อมของแอนดรอยด์ในวินโดวส์ 11 โดยตรง

ราคาการอัปเกรด

[แก้]

การอัปเกรดแบบอัตโนมัติจะอนุญาตให้คอมพิวเตอร์ที่มีอายุไม่เกิน 4 ปี และใช้วินโดวส์ 10 รุ่น 21H1 ได้สิทธิ์อัปเกรดไปวินโดวส์ 11 โดยอัตโนมัติผ่านอัปเดตในช่วงเดือนมกราคม 2022 แต่หากคอมพิวเตอร์ไม่สามารถอัปเกรดได้ ก็สามารถอัปเกรดได้ด้วยตนเองภายใต้ใบอนุญาตแบบดิจิทัลเดิมที่ใช้งานร่วมกับวินโดวส์ 10 แต่อาจจะได้ความสามารถไม่เต็มที่เท่าคอมพิวเตอร์ที่สามารถรันวินโดวส์ 11 ได้สมบูรณ์

ทั้งนี้การอัปเกรดจะเป็นการอัปเกรดแบบใช้รุ่นไหนรุ่นนั้น เช่นหากใช้ วินโดวส์ 10 โฮม จะได้รับอัปเกรดเป็น วินโดวส์ 11 โฮม หรือหากใช้ วินโดวส์ 10 โปร ก็จะได้รับอัปเดตเป็น วินโดวส์ 11 โปร เช่นกัน ทั้งนี้ เอส โหมด จะมีให้ใช้งานในเวอร์ชันโฮมเท่านั้น นั่นคือหากอัปเกรดจาก วินโดวส์ 10 เอส จะถูกอัปเกรดให้เป็น วินโดวส์ 11 โฮมเอส แต่หากใช้งาน วินโดวส์ 10 โปรเอส จะไม่สามารถอัปเกรดได้นอกจากต้องออกจาก เอส โหมด กลับเป็น วินโดวส์ 10 โปร ก่อนถึงจะสามารถอัปเกรดได้

ภาพรวมรุ่นในการพัฒนาในแต่ละเวอร์ชัน

[แก้]
รุ่นของวินโดวส์ 11
รุ่น ชื่อการค้า บิลด์ (Build) วันที่เปิดตัว สนับสนุนจนถึง (และสถานะการสนับสนุนตามสี)
  • Home, Pro, SE,
  • Pro Education,
  • Pro for Workstations
  • Enterprise,
  • Education,
  • IoT Enterprise
21H2 2021 Update 22000 5 ตุลาคม 2564 10 ตุลาคม 2566 8 ตุลาคม 2567
22H2 2022 Update[a] 22621 20 กันยายน 2565 14 ตุลาคม 2567 14 ตุลาคม 2568
23H2 2023 Update 22631 31 ตุลาคม 2566 11 พฤศจิกายน 2568 10 พฤศจิกายน 2569
คำอธิบาย:        รุ่นเก่า ยุติการสนับสนุนแล้ว[b]        รุ่นเก่า ยังสนับสนุนอยู่[c]        รุ่นล่าสุด[d]        รุ่นตัวอย่างล่าสุด[e]
หมายเหตุ:
  1. มีอัปเดตย่อยอีก 4 เวอร์ชัน:
    "Moment 1" บิลด์ 22621.675 ปล่อยเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2565
    "Moment 2" บิลด์ 22621.1344 ปล่อยเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2566
    "Moment 3" บิลด์ 22621.1778 ปล่อยเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2566
    "Moment 4" บิลด์ 22621.2361 ปล่อยเมื่อวันที่ 26 กันยายน 2566
  2. บิลด์ของวินโดวส์ 11 ที่แสดงด้วยสีนี้ถึงวันหมดอายุแล้วและจะไม่ได้รับการสนับสนุนจากไมโครซอฟท์อีกต่อไป
  3. บิลด์ของวินโดวส์ 11 ที่แสดงด้วยสีนี้ไม่ใช่รุ่นล่าสุดของวินโดวส์ 11 แต่ยังคงได้รับการสนับสนุนจากไมโครซอฟท์อยู่
  4. บิลด์ของวินโดวส์ 11 ที่แสดงด้วยสีนี้เป็นรุ่นสาธารณะล่าสุด (โดย SKU) ของวินโดวส์ 11
  5. บิลด์ของวินโดวส์ 11 ที่แสดงด้วยสีนี้เป็นรุ่นตัวอย่างของอินไซเดอร์ (Insider Preview) และไม่ใช่รุ่นสาธารณะล่าสุด

ความต้องการระบบ

[แก้]
ความต้องการฮาร์ดแวร์ของวินโดวส์ 11[30][31]
ส่วนประกอบ ความต้องการขั้นต่ำ
หน่วยประมวลผลกลาง หน่วยประมวลผลกลางแบบ 64 บิต (เอกซ์86-64 หรือ เออาร์เอ็ม 64) ความเร็วสัญญาณนาฬิกาขั้นต่ำ 1 กิกะเฮิร์ตซ์ ขั้นต่ำ 2 คอร์
แรม ขั้นต่ำ 4 กิกะไบต์
พื้นที่เก็บข้อมูล ขั้นต่ำ 64 กิกะไบต์
โปรแกรมระบบ UEFI
ความปลอดภัย ซีเคียวบูต ต้องถูกเปิดใช้งาน
Trusted Platform Module (TPM) เวอร์ชัน 2.0
หน่วยประมวลผลกราฟิก หน่วยประมวลผลกราฟิกที่รองรับ ไดเรกต์เอกซ์ 12 ขึ้นไป และไดร์เวอร์แบบ WDDM 2.0
แสดงผล หน้าจอขนาด 9 นิ้วขึ้นไปบนความละเอียด 720p และค่าสีแบบ 8 บิต
การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตและบัญชีไมโครซอฟท์ ต้องมีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตและบัญชีไมโครซอฟท์ในการตั้งค่าครั้งแรก
ความต้องการเสริมสำหรับคุณสมบัติบางประการ
คุณสมบัติ ความต้องการขั้นต่ำ
5G โมเด็มที่รองรับ 5G
Auto HDR หน้าจอแสดงผลที่รองรับ HDR
การยืนยันตนแบบชีวภาพ และวินโดวส์ ฮัลโหล กล้องอินฟราเรดที่เรืองแสงได้ในที่มืด หรือตัวอ่านลายนิ้วมือ
BitLocker to Go อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลแบบยูเอสบี (ใช้งานได้เฉพาะวินโดวส์ 11 โปร หรือรุ่นสูงกว่า)
Hyper-V Second Level Address Translation (SLAT)
DirectStorage หน่วยจัดเก็บข้อมูลแบบ เอ็นวีเอ็ม เอกซ์เพรส เอสเอสดี (NVMe SSD)
ไดเรกต์เอกซ์ 12 อัลติเมต หน่วยประมวลผลกราฟิกต้องรองรับและทำงานบนแอปพลิเคชันที่รองรับ
ระบบเสียงสามมิติรอบทิศทาง อุปกรณ์และแอปพลิเคชันต้องรองรับ
การยืนยันตนแบบหลายทาง ต้องใช้งานคู่กับ รหัสประจำตัวบุคคล (PIN) การยืนยันตนแบบชีวภาพ หรืออุปกรณ์โทรศัพท์เคลื่อนที่ที่รองรับไว-ไฟ และ/หรือ บลูทูธ
การรู้จำคำพูด ไมโครโฟน
ไว-ไฟ 6E ตัวรับสัญญาณไว-ไฟที่รองรับ ควบคู่กับอุปกรณ์เครือข่ายที่รองรับ
วินโดวส์ โปรเจกต์ชัน ตัวรับสัญญาณไว-ไฟที่รองรับ ไว-ไฟ ไดเรกต์ และ WDDM 2.0
วินโดวส์ซับซิสเท็ม ฟอร์ แอนดรอยด์ (การใช้งานและความสามารถ) แรมขั้นต่ำ 8 กิกะไบต์ สำหรับการเรียกใช้งาน
แรมขั้นต่ำ 16 กิกะไบต์ สำหรับการใช้งานแบบเต็มประสิทธิภาพ

ความต้องการระบบของวินโดวส์ 11 มีส่วนคล้ายกับวินโดวส์ 10 แต่วินโดวส์ 11 จะรองรับสถาปัตยกรรมแบบ 64 บิต เท่านั้น อันได้แก่สถาปัตยกรรม เอกซ์86-64 หรือ เออาร์เอ็ม 64 และได้ตัดการสนับสนุนสถาปัตยกรรม 32 บิต อันได้แก่สถาปัตยกรรม ไอเอ-32 และ เออาร์เอ็มวี 7 ออกไป ไม่รองรับโปรแกรมไบออสแบบดั้งเดิม และกำหนดว่าต้องใช้ UEFI ควบคู่กับซีเคียวบูต และ TPM 2.0[32][33][34][35] ในทำนองเดียวกัน ระบบปฏิบัติการเรียกแรมและหน่วยความจำมากขึ้น นั่นคือต้องมีแรมขั้นต่ำ 4 กิกะไบต์ และพื้นที่จัดเก็บข้อมูล 64 กิกะไบต์ และ S mode จะรองรับเฉพาะเวอร์ชันโฮมเท่านั้น ไม่รองรับในเวอร์ชันอื่น ๆ อีกต่อไป[36] โดยในวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2564 ไมโครซอฟท์ได้เปิดเผยว่าหน่วยประมวลผลที่รองรับการใช้งานร่วมกับวินโดวส์ 11 จะประกอบไปด้วย อินเทล คอร์ เจนเนอเรชั่นที่ 8 (คอฟฟี่เลค แคนนอนเลค และวิสกี้เลค) ขึ้นไป, เอเอ็มดี เซนพลัส (ยกเว้น ไรเซน เจนเนอเรชันที่ 1), และควอลคอมม์ สแน็ปดรากอน 850 ขึ้นไป[37] ทั้งนี้ ไมโครซอฟท์ อยู่ระหว่างการพิจารณาให้วินโดวส์ 11 รองรับหน่วยประมวลผล อินเทล คาบี้ เลค และเอเอ็มดี เซน ซึ่งใช้มาตรฐาน TPM เวอร์ชัน 1.2 ด้วยเช่นกัน หลังจากที่ได้รับการตอบรับจากผู้ใช้ว่าการตัดการรองรับซีพียูสองรุ่นนี้ออกไป จะทำให้อายุขัยคอมพิวเตอร์ในรอบ 3 ปีสั้นลง

การรองรับ TPM 2.0 มีขึ้นเพื่อเพิ่มความปลอดภัยของระบบ ป้องกันการโจมตีในระดับเฟิร์มแวร์และฮาร์ดแวร์ รวมถึงการโจมตีจากช่องโหว่ซีโร่เดย์เป็นต้น รวมถึงเพิ่มความปลอดภัยให้กับการยืนยันตนทางชีวภาพผ่านวินโดวส์ ฮัลโหล การเข้ารหัสฮาร์ดดิสก์และพื้นที่จัดเก็บข้อมูลด้วยบิตล็อกเกอร์ และเพื่อเพิ่มความมั่นใจในความเป็นส่วนตัวของข้อมูลซึ่งเป็นแนวคิดหลักในการพัฒนาวินโดวส์ 11 ตั้งแต่ต้น โดย TPM ที่รองรับมีทั้งแบบชิปติดตั้งแยกบนเมนบอร์ดสำหรับเครื่องที่ไม่รองรับตั้งแต่ต้น และแบบที่ผนวกมากับหน่วยประมวลผลรุ่นใหม่ ๆ ที่สามารถเปิดใช้งานได้ผ่านโปรแกรม UEFI โดยตรง ทั้งนี้ไมโครซอฟท์ยังอนุญาตให้ผู้ผลิตสามารถออกคอมพิวเตอร์รันวินโดวส์ 11 โดยไม่ต้องติดตั้งหรือเปิดใช้งาน TPM ตั้งแต่โรงงานได้ตามปกติ แต่ตัวเครื่องจะต้องได้รับการอนุมัติจากไมโครซอฟท์ก่อนเสมอ

อนึ่ง ไมโครซอฟท์อนุญาตให้ติดตั้ง วินโดวส์ 11 บนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ไม่รองรับ TPM 2.0 โปรแกรม UEFI รวมถึงซีเคียวบูตเพื่อใช้ในการทดสอบหรือการทดลองใช้งานได้โดยการดัดแปลงค่ารีจิสทรีเพื่อบายพาสตัวตรวจสอบความต้องการของตัวติดตั้งในระหว่างขั้นตอนการติดตั้ง หรือระหว่างการอัปเดตด้วยตนเอง โดยมีข้อกำหนดว่าผู้ใช้จะต้องรับความเสี่ยงของอุปกรณ์ด้วยตนเอง หากเกิดปัญหาใด ๆ ไมโครซอฟท์จะไม่รับผิดชอบหรือช่วยเหลือในการแก้ปัญหาทุกกรณี และจะไม่ได้รับอัปเดตรุ่นประกาศใหม่โดยอัตโนมัติ จะได้รับเพียงแค่อัปเดตที่เป็นรุ่นปรับปรุงประสิทธิภาพของรุ่นประกาศที่ใช้งานในปัจจุบันแทน

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Programming language tools: Windows gets versatile new open-source terminal". ZDNet. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 3, 2020. สืบค้นเมื่อ August 31, 2020.
  2. "Microsoft is open-sourcing Windows Calculator on GitHub". ZDNet. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 3, 2019. สืบค้นเมื่อ August 31, 2020.
  3. "GitHub - microsoft/Windows-Driver-Frameworks". Microsoft. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 14, 2017. สืบค้นเมื่อ August 31, 2020.
  4. "windows forms". Microsoft. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 13, 2020. สืบค้นเมื่อ August 31, 2020.
  5. "Available Language Packs for Windows 11". January 7, 2022.
  6. "Language Packs for Windows 11".
  7. Baxter, Daryl (June 16, 2021). "Windows 11 will let you switch back to the classic Start menu - here's how". TechRadar. สืบค้นเมื่อ June 17, 2021.
  8. 8.0 8.1 "Microsoft once again confirms Windows 11 name in support document". MSPoweruser. 2021-06-20. สืบค้นเมื่อ 2021-06-23.
  9. "Windows forever: Windows 10 builds will continue even after Microsoft ships it". PCWorld (ภาษาอังกฤษ). 2015-04-30. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 2, 2021. สืบค้นเมื่อ 2021-06-16.
  10. "Windows 10 Takes Its Place as Microsoft's 'Forever OS' -- Redmondmag.com". Redmondmag (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 9, 2021. สืบค้นเมื่อ 2021-06-16.
  11. Warren, Tom (2021-01-04). "Microsoft planning 'sweeping visual rejuvenation of Windows'". The Verge (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 10, 2021. สืบค้นเมื่อ 2021-06-16.
  12. "Everything we know about Windows' big Sun Valley release so far". Windows Central. 2021-06-03. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 9, 2021. สืบค้นเมื่อ 2021-06-16.
  13. "传说中的Windows11,测试版/The legendary Windows 11, beta version". Baidu. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 15, 2021. สืบค้นเมื่อ June 17, 2021.
  14. Allan, Darren (June 17, 2021). "Windows 11 SE could take cues from the worst version of Windows 10". TechRadar (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-06-17.
  15. Buria, Taras (2021-06-16). "How to install Windows 11 without TPM 2.0". Winaero (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2021-06-17.
  16. Mott, Nathaniel (June 17, 2021). "Windows 11: Everything We Know About Microsoft's Next OS". Tom's Hardware. สืบค้นเมื่อ June 17, 2021.
  17. 17.0 17.1 "Windows 11 Build Leaks, Shows a New Desktop UI, Start Menu, and More". reviewgeek. June 15, 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 16, 2021. สืบค้นเมื่อ June 15, 2021.
  18. Parmar, Mayank (2021-06-20). "Windows 11 confirmed in a new Microsoft support document". Windows Latest (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2021-06-21.
  19. "Satya Nadella teases major updates coming soon to Windows during Build 2021 keynote". Windows Central. May 25, 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 5, 2021. สืบค้นเมื่อ June 15, 2021.
  20. "Microsoft to reveal its next generation of Windows on June 24th". The Verge. June 2, 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 11, 2021. สืบค้นเมื่อ June 15, 2021.
  21. "Microsoft Windows Event - Watch the June 24 LIVE stream". Microsoft. June 2, 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 16, 2021. สืบค้นเมื่อ June 15, 2021.
  22. "Windows Startup Sounds – Slo-fi Remix". YouTube. Microsoft. June 10, 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 12, 2021. สืบค้นเมื่อ June 15, 2021.
  23. "Microsoft teases new Windows 11 startup sound with 11-minute video". The Verge. June 10, 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 12, 2021. สืบค้นเมื่อ June 15, 2021.
  24. "Windows 11 Leaks Indicate a Dramatic New Look Is Coming Soon". Gizmodo (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 16, 2021. สืบค้นเมื่อ June 16, 2021.
  25. 25.0 25.1 25.2 Warren, Tom (June 15, 2021). "Windows 11 leak reveals new UI, Start menu, and more". The Verge.
  26. "Leak Shows Off 'Windows 11' Ahead of Next Week's Microsoft Event". PCMAG (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 16, 2021. สืบค้นเมื่อ June 16, 2021.
  27. Arif Bacchus (June 16, 2021). "Microsoft Windows 11 preview: 11 new features we are most excited for". Digital Trends. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 17, 2021. สืบค้นเมื่อ June 19, 2021.
  28. "Windows 11 features already in preview: Everything you can try right now". XDA Developers. 18 June 2021.
  29. Bowden, Zac (16 June 2021). "Windows 11: This is the new 'Widgets' panel with news, weather, and more". Windows Central.
  30. "Windows 11: Minimum Hardware Requirements" (PDF). Microsoft. June 2021. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ June 24, 2021. สืบค้นเมื่อ June 25, 2021.
  31. "Compatibility for Windows 11- Compatibility Cookbook". Microsoft Docs. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 24, 2021. สืบค้นเมื่อ June 24, 2021.
  32. "Windows 11 Specifications - Microsoft". Windows (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ June 24, 2021.
  33. Hanson, Matt (June 24, 2021). "Windows 11 system requirements are bad news for old laptops and PCs". TechRadar. สืบค้นเมื่อ June 24, 2021.
  34. Paul Thurrott (June 24, 2021). "Microsoft Unveils Windows 11". Thurrott.com. สืบค้นเมื่อ June 24, 2021.
  35. "Compatibility for Windows 11- Compatibility Cookbook". docs.microsoft.com.
  36. greg-lindsay. "Windows 11 requirements - What's new in Windows". docs.microsoft.com (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ June 24, 2021.
  37. "Windows Processor Requirements". docs.microsoft.com (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ June 26, 2021.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)