ภาษาซีชาร์ป
เนื้อหาในบทความนี้ล้าสมัย โปรดปรับปรุงข้อมูลให้เป็นไปตามเหตุการณ์ปัจจุบันหรือล่าสุด ดูหน้าอภิปรายประกอบ |
บทความนี้อาจขยายความได้โดยการแปลบทความที่ตรงกันในภาษาอังกฤษ คลิกที่ [ขยาย] เพื่อศึกษาแนวทางการแปล
|
กระบวนทัศน์ | Multi-paradigm: structured, imperative, object-oriented, event-driven, task-driven, functional, generic, reflective, concurrent |
---|---|
ตระกูล | C |
ผู้ออกแบบ | Anders Hejlsberg (Microsoft) |
ผู้พัฒนา | Mads Torgersen (Microsoft) |
เริ่มเมื่อ | 2000[1] |
รุ่นเสถียร | 12.0[2]
/ 14 พฤศจิกายน 2023 |
ระบบชนิดตัวแปร | Static, dynamic,[3] strong, safe, nominative, partially inferred |
แพลตฟอร์ม | Common Language Infrastructure |
สัญญาอนุญาต | |
นามสกุลของไฟล์ | .cs , .csx |
เว็บไซต์ | learn |
ตัวแปลภาษาหลัก | |
Visual C#, .NET, .NET Framework (discontinued), Mono, DotGNU (discontinued), Universal Windows Platform | |
ภาษาย่อย | |
Cω, Polyphonic C#, Enhanced C# | |
ได้รับอิทธิพลจาก | |
C++,[6] Cω, Eiffel, F#,[a] Haskell, Scala, Icon, J#, J++, Java,[6] ML, Modula-3, Object Pascal,[7] VB | |
ส่งอิทธิพลต่อ | |
Chapel,[8] Clojure,[9] Crystal,[10] D, J#, Dart,[11] F#, Hack, Java,[12][13] Kotlin, Nemerle, Oxygene, Rust,[14] Swift,[15] Vala, TypeScript | |
|
ภาษาซีชาร์ป (C# Programming Language) เป็นภาษาโปรแกรมระดับสูง ที่ใช้ระบบชนิดข้อมูลแบบรัดกุม (strong typing) และสนับสนุนการเขียนโปรแกรมเชิงคำสั่ง การเขียนโปรแกรมเชิงประกาศ การเขียนโปรแกรมเชิงฟังก์ชัน การเขียนโปรแกรมเชิงกระบวนการ การเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ (แบบคลาส) และการเขียนโปรแกรมเชิงส่วนประกอบ
ภาษานี้พัฒนาเริ่มแรกโดยโดยมีอนัส ไฮลส์เบิร์ก (Anders Hejlsberg) จากบริษัทไมโครซอฟท์ ในปีพ.ศ. 2543 ต่อมามีการรับรองให้เป็นมาตรฐานโดยเอ็กมาอินเตอร์เนชันแนล (ECMA-334) ในปีพ.ศ. 2545 และองค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน (ISO/IEC 23270) ในปีพ.ศ. 2546 ไมโครซอฟท์ได้เปิดตัวภาษาซีชาร์ปพร้อมกับดอตเน็ตเฟรมเวิร์ก และVisual Studio ซิ่งเป็นผลิตภัณฑ์โคลสซอร์ส (closed-source) ทั้งหมด เนื่องจากตอนนั้นไมโครซอฟต์ไม่มีผลิตภัณฑ์ที่เป็นโอเพ่นซอร์ส. ต่อมาไมโครซอฟท์ได้เปิดตัว Visual Studio Code, Roslyn และ ดอตเน็ตคอร์ ซี่งทั้งหมตนั้นรองรับภาษาซีชาร์ป เป็นซอฟต์แวร์ฟรีและโอเพ่นซอร์ส และทำงานแบบครอสแพลตฟอร์ม
ปัจจุบันภาษาซีชาร์ปมีรุ่นล่าสุดคือ C# 11.0 ที่ออกมาพร้อมกับ .NET 7.0 ในปี พ.ศ. 2565[16][17]
ตัวอย่าง
[แก้]ตัวอย่างต่อไปนี้ คือตัวอย่างโปรแกรม Hello world ใน C# ซึ่งใช้ฟีเจอร์ top-level statement ที่เริ่มมีให้ใช้ได้ตั้งแต่ C# 9.0
using System;
Console.WriteLine("Hello, world!");
แต่สำหรับ C# 8.0 หรือก่อนหน้านั้น การเขียนจะต้องเป็นฟังก์ชันที่อยู่ในคลาสดังทำนองนี้
public class ExampleClass
{
public static void Main()
{
System.Console.WriteLine("Hello, world!");
}
}
ผลของการทำงานคือมีการแสดงคำว่า Hello, world! ในหน้าต่างคอนโซล โดยในแต่ละบรรทัดมีความหมายดังนี้:
public class ExampleClass
บรรทัดนี้คือการประกาศคลาส โดย public หมายถึงวัตถุที่สร้างในโครงการ (project) อื่น ๆ สามารถเข้าใช้งานคลาสนี้ได้ ไม่จำกัด ข้อมูลต่าง ๆ ที่อยู่ผ่านใต้หน่วยของบรรทัดนี้ จะใช้ในการทำงานของคลาสนี้
public static void Main()
บรรทัดนี้เป็นจุดที่ใช้ในการเริ่มการทำงานของโปรแกรม เมื่อโปรแกรมทำงาน โดยสามารถเรียกใช้จากโปรแกรมอื่นได้โดยการใช้ไวยากรณ์ ExampleClass.Main()
. (public static void
เป็นส่วนที่ใช้ในการทำงาน ซึ่งต้องเรียนรู้ในการเขียนขั้นสูง)
System.Console.WriteLine("Hello, world!");
ในบรรทัดนี้ เป็นการทำงาน เพื่อแสดงผลออกมา Console คือโปรแกรมระบบ, ซึ่งก็คือ โปรแกรมระบบแบบสั่งคำสั่งที่ละบรรทัด (เช่น DOS) ที่สามารถรับข้อมูลและแสดงผลเป็นข้อความได้. จากที่เราเขียนโปรแกรมจะทำการเรียก Console โดยใช้คำสั่ง WriteLine, ซึ่งทำให้สามารถส่งค่าข้อความออกมาแสดงผลได้
มาตรฐาน
[แก้]ไมโครซอฟท์ส่งมาตรฐานภาษาซีชาร์ปให้กับ Ecma และได้รับการยอมรับเป็นมาตรฐาน ECMA ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2001 ในชื่อว่า ECMA-334 C# Language Specification ใน ค.ศ. 2003 ภาษาซีชาร์ปได้รับการยอมรับเป็นมาตรฐาน ISO (ISO/IEC 23270)
มาตรฐาน ISO/IEC 23270:2003 ระบุรูปแบบ และกำหนดการแปล (ตีความ) โปรแกรมที่เขียนด้วยภาษาซีชาร์ป โดยตัวมาตรฐานได้ระบุ:
- รูปแบบการนำเสนอ (the representation of C# programs)
- ไวยากรณ์ (the syntax and constraints of the C# language)
- กฎการตีความสำหรับแปลโปรแกรมภาษาซีชาร์ป (the semantic rules for interpreting C# programs)
- ข้อห้าม และข้อจำกัด ของเครื่องมือที่สร้างตามข้อกำหนดของซีชาร์ป (the restrictions and limits imposed by a conforming implementation of C#)
ISO/IEC 23270:2003 ไม่ได้ระบุ:
- กลไกในการแปลงโปรแกรมภาษาซีชาร์ป เพื่อใช้ในระบบประมวลผลข้อมูล (the mechanism by which C# programs are transformed for use by a data-processing system)
- กลไกในการเรียกให้โปรแกรมภาษาซีชาร์ปทำงาน เพื่อใช้ในระบบประมวลผลข้อมูล (the mechanism by which C# applications are invoked for use by a data-processing system)
- กลไกในการแปลงข้อมูลเข้า เพื่อใช้กับโปรแกรมภาษาซีชาร์ป (the mechanism by which input data are transformed for use by a C# application)
- กลไกในการแปลงข้อมูลออก หลังจากถูกประมวลผลโดยโปรแกรมภาษาซีชาร์ป (the mechanism by which output data are transformed after being produced by a C# application)
- the size or complexity of a program and its data that will exceed the capacity of any specific data-processing system or the capacity of a particular processor;
- all minimal requirements of a data-processing system that is capable of supporting a conforming implementation.
นอกจากนี้ตัวมาตรฐานไม่ได้กล่าวถึงโครงสร้างข้อมูล และตัวไลบรารีกลางของ .NET Framework ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการเขียนโปรแกรมด้วยภาษาซีชาร์ปเลย[18]
หมายเหตุ
[แก้]- ↑ for async
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "InfoQ eMag: A Preview of C# 7".
- ↑ "Announcing C# 12". สืบค้นเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2023.
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อdynamic
- ↑ "The Roslyn .NET compiler provides C# and Visual Basic languages with rich code analysis APIs.: dotnet/roslyn". November 13, 2019 – โดยทาง GitHub.
- ↑ "CoreCLR is the runtime for .NET Core. It includes the garbage collector, JIT compiler, primitive data types and low-level classes.: dotnet/coreclr". November 13, 2019 – โดยทาง GitHub.
- ↑ 6.0 6.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อinfluenced by CPP
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อinfluenced by op
- ↑ "Chapel spec (Acknowledgments)" (PDF). Cray Inc. 2015-10-01. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-02-05. สืบค้นเมื่อ 2016-01-14.
- ↑ "Rich Hickey Q&A by Michael Fogus". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-01-11. สืบค้นเมื่อ 2017-01-11.
- ↑
Borenszweig, Ary (June 14, 2016). "Crystal 0.18.0 released!".
It's heavily inspired by Ruby, and other languages (like C#, Go and Python).
- ↑ "Web Languages and VMs: Fast Code is Always in Fashion. (V8, Dart) - Google I/O 2013". YouTube. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-12-21. สืบค้นเมื่อ 22 December 2013.
- ↑ Java 5.0 added several new language features (the enhanced for loop, autoboxing, varargs and annotations), after they were introduced in the similar (and competing) C# language [1] [2]
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อinfluenced
- ↑ "Influences - The Rust Reference". The Rust Reference. สืบค้นเมื่อ 2023-04-18.
- ↑ Lattner, Chris (2014-06-03). "Chris Lattner's Homepage". Chris Lattner. สืบค้นเมื่อ 2020-05-12.
The Swift language is the product of tireless effort from a team of language experts, documentation gurus, compiler optimization ninjas, and an incredibly important internal dogfooding group who provided feedback to help refine and battle-test ideas. Of course, it also greatly benefited from the experiences hard-won by many other languages in the field, drawing ideas from Objective-C, Rust, Haskell, Ruby, Python, C#, CLU, and far too many others to list.
- ↑ "Welcome to C# 11". November 11, 2022.
- ↑ "Announcing .NET 7 -- the Fastest .NET Yet". November 11, 2022.[ลิงก์เสีย]
- ↑ "ISO/IEC 23270:2003 Information technology".
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Microsoft Developer Network - Visual C#
- เทคนิคการเขียนโปรแกรมขั้นสูง C# เก็บถาวร 2010-12-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- บทความ (ภาษาไทย) สอนภาษา C#
- บทความ (ภาษาไทย) สอนภาษา C# และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง