วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีนครศรีธรรมราช สถาบันการอาชีวศึกษาเกษตรภาคใต้

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีนครศรีธรรมราช (อังกฤษ : Nakhon Si Thammarat College of Agriculture and Technology  ) เป็นศูนย์กลางบริหารของสถาบันการอาชีวศึกษาเกษตรภาคใต้ ตั้งอยู่ในจังหวัดนครศรีธรรมราช โดยศูนย์กลางฯ นี้เปิดสอน 2 หลักสูตร คือ ประกาศนียบีตรวิชาชีพ (ปวช.), ประกาศนียบีตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)

วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีนครศรีธรรมราช
สถาบันการอาชีวศึกษา
เกษตรภาคใต้
ชื่อย่อวษท.นศ. / NSCAT
คติพจน์"เปิดโอกาสให้บุคคลได้ฝึกฝนในสิ่งที่ตนถนัดและสนใจ เพื่อพัฒนาให้บรรลุขีดความสามารถสูงสุดของตน"
ประเภทรัฐบาล - วิทยาลัย
สังกัดสถาบันการอาชีวศึกษาเกษตรภาคใต้
สถาปนา1 มกราคม 2522
ผู้อำนวยการวิทยาลัยนายประสิทธิ์ สุวรรณา
ที่ตั้ง
เลขที่ 244/72 หมู่ 7 ตำบลช้างกลาง
อำเภอช้างกลาง จังหวัดนครศรีธรรมราช 80250
เว็บไซต์วษท.นครศรีธรรมราช อกท.หน่วยนครศรีธรรมราช

ประวัติ[แก้]

 วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีนครศรีธรรมราช แรกเริ่มก่อตั้งขึ้นโดยได้รับการประกาศจัดตั้งเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2522 ในชื่อ วิทยาลัยเกษตรกรรมนครศรีธรรมราช

ต่อมาเมื่อวันที่ 26 กันยายน 2539 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีนครศรีธรรมราช เป็นสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา  กระทรวงศึกษาธิการ

ต่อมาเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2556 กระทรวงศึกษาธิการ ประกาศกฎกระทรวง เรื่อง "การรวมสถานศึกษาอาชีวศึกษา เพื่อจัดตั้งสถาบันการอาชีวศึกษาเกษตร พ.ศ. 2556"

โดยให้จัดตั้งสถาบันการอาชีวศึกษาเกษตรออกเป็น 4 แห่ง ประกอบด้วย ดังต่อไปนี้

  1. สถาบันการอาชีวศึกษาเกษตรภาคเหนือ
  2. สถาบันการอาชีวศึกษาเกษตรภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
  3. สถาบันการอาชีวศึกษาเกษตรภาคกลาง
  4. สถาบันการอาชีวศึกษาเกษตรภาคใต้ 

จึงมีผลทำให้ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีนครศรีธรรมราช ยกฐานะขึ้นเป็น สถาบันการอาชีวศึกษาเกษตรภาคใต้ เพื่อจัดการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรีสายปฏิบัติการ และได้รวมเอาวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีในกลุ่มภาคใต้ จำนวน 9 แห่ง และวิทยาลัยประมง จำนวน 2 แห่ง ควบรวมเข้าเพื่อจัดตั้งเป็น สถาบันการอาชีวศึกษาเกษตรภาคใต้ โดยมีศูนย์กลางบริหารอยู่ที่ 244 หมู่ที่ 7 ตำบลช้างกลาง อำเภอช้างกลาง จังหวัดนครศรีธรรมราช รหัสไปรษณีย์ 80250 หมายเลขโทรศัพท์ 075-445734 หมายเลขโทรสาร 075-445735 ระยะทางห่างจากจังหวัด 52 กิโลเมตร ระยะทางห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 764 กิโลเมตร มีพื้นที่ทั้งหมด 783 ไร่ 300 ตารางวา

เปิดสอน[แก้]

ปัจจุบันทำการเรียนการสอน ดังนี้

หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ[แก้]

รับนักเรียนจบ ม.3 เรียนต่อ 3 ปี

  • สาขาวิชาเกษตรศาสตร์
  • สาขาวิชาพณิชยการ

หลักสูตรประกาศนียบีตรวิชาชีพชั้นสูง[แก้]

รับนักเรียนจบ ม.6 หรือ ปวช. เรียนต่อ 2 ปี

  • สาขาวิชาการตลาด
  • สาขาวิชาการบัญชี
  • สาขาวิชาพืชศาสตร์
  • สาขาวิชาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
  • สาขาวิชาสัตวศาสตร์
  • สาขาวิชาช่างกลเกษตร เกษตร[1]
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการธุรกิจดิจิทัล

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-07-09. สืบค้นเมื่อ 2017-05-10.