วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีพัทลุง สถาบันการอาชีวศึกษาเกษตรภาคใต้

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีพัทลุง (อังกฤษ : Phatthalung College of Agriculture and Technology  ) เป็นวิทยาลัยด้านการเกษตร สังกัดสถาบันการอาชีวศึกษาเกษตรภาคใต้ ตั้งอยู่ในจังหวัดพัทลุง โดยเปิดสอน 3 หลักสูตร คือ ปวช., ปวส. และปริญญาตรี (ต่อเนื่อง)

วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีพัทลุง
สถาบันการอาชีวศึกษา
เกษตรภาคใต้
ชื่อย่อวษท.พท. / PTCAT
คติพจน์เรียนเด่น งานดี มีวินัย ใฝ่คุณธรรม
ประเภทรัฐบาล - วิทยาลัย
สังกัดสถาบันการอาชีวศึกษาเกษตรภาคใต้
ผู้อำนวยการวิทยาลัยนายวิกรม พงศ์จันทรเสถียร
ที่ตั้ง
เลขที่ 211 หมู่ที่ 15
ตำบลควนมะพร้าว
อำเภอเมืองพัทลุง
จังหวัดพัทลุง 93000
เว็บไซต์วษท.พัทลุง

ประวัติ[แก้]

 วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีพัทลุง[1] แรกเริ่มก่อตั้งเป็น โรงเรียนเกษตรกรรม จังหวัดพัทลุง เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2516 ต่อมา  15  พฤษภาคม พ.ศ. 2522 ยกฐานะเป็นวิทยาลัยเกษตรกรรมพัทลุง สังกัด กองวิทยาลัยเกษตรกรรม  กรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ได้เปิดสอนหลักสูตร ปวท. และ ปวช.พิเศษ ตามโครงการ อศ.กช. พุทธศักราช 2527

วันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2537 ประกาศเป็นวิทยาลัยชุมชนชื่อ วิทยาลัยชุมชนควนกุฎ วิทยาลัยฯ เปิดสอนหลักสูตร ปวช. สาขาวิชาพาณิชยการ

และช่างยนต์ หลักสูตร 3 ปี

วันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2539 เปลี่ยนชื่อเป็นวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีพัทลุง ตามประกาศของกระทรวงศึกษาธิการ โดยมีพื้นที่ทั้งหมด 1,967 ไร่  2 งาน 7 ตารางวา พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่มเหมาะแก่การทำนา พื้นที่บางส่วนได้รับ  การปรับปรุงเพื่อทำการปลูกพืชไร่   พืชสวนและทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์   (เดิมพื้นที่ทั้งหมดของวิทยาลัย คือ  2,011 ไร่ 3 งาน 23 ตารางวา  ในปี 2552 กรมธนารักษ์ได้อนุญาตให้ กรมชลประทาน โดยสำนักชลประทานที่ 16  ใช้พื้นที่ (ที่ราชพัสดุแปลงหมายเลขทะเบียนที่ พท. 239 (บางส่วน))  เนื้อที่ 44-1-16 ไร่ ทำการก่อสร้างโครงการพัฒนาแหล่งน้ำและบรรเทาอุทกภัยเมืองพัทลุง (โครงการคลองลำเบ็ด))[2] และเป็นส่วนงานหนึ่งของ สถาบันการอาชีวศึกษาเกษตรภาคใต้ และได้เปิดทำการสอนหลักสูตรปริญญาตรี เมื่อปีการศึกษา 2557 ในหลักสูตรปริญญาตรี (ต่อเนื่อง) เทคโนโลยีบัณฑิต (ทล.บ.)

รับนักศึกษาจบปวส. พืชศาสตร์

  • สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช

เปิดสอน[แก้]

ปัจจุบันทำการเรียนการสอน ดังนี้

หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ[แก้]

รับนักเรียนจบ ม.3 เรียนต่อ 3 ปี

  • สาขาวิชาเกษตรศาสตร์
  • สาขางานพืชศาสตร์
  • สาขางานการผลิตสัตว์
  • สาขางานอุตสาหกรรมเกษตร
  • สาขาวิชาเกษตรศาสตร์
  • สาขางานการผลิตสัตว์ (อศ.กช.)

หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง[แก้]

รับนักเรียนจบ ม.6 หรือ ปวช. เรียนต่อ 2 ปี

  • สาขาวิชาพืชศาสตร์

สาขางานพืชสวน

  • สาขาวิชาสัตวศาสตร์

สาขางานการผลิตสัตว์

  • สาขาวิชาเทคโนโลยีและนวัตกรรมการเกษตร

สาขางานเทคโนโลยีและนวัตกรรมการเกษตร

หลักสูตรทวิภาคี ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง[แก้]

รับนักเรียนจบ ม.6 หรือ ปวช. เรียนต่อ 2 ปี

  • สาขาวิชาพืชศาสตร์

สาขางานพืชสวน (ทวิภาคี)

  • สาขาวิชาสัตวศาสตร์

สาขางานการผลิตสัตว์ (ทวิภาคี) โคนม

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-06-17. สืบค้นเมื่อ 2017-05-10.
  2. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-06-13. สืบค้นเมื่อ 2017-05-10.