วิกิพีเดีย:หน้าผู้ใช้

หน้าถูกกึ่งป้องกัน
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

หน้านี้เป็นแนวปฏิบัติแก่หน้าผู้ใช้และคุยกับผู้ใช้ ระวังสับสนกับ หน้าผู้ใช้ของคุณเอง

หน้าผู้ใช้ คือหน้าต่าง ๆ ที่อยู่ในเนมสเปซ "ผู้ใช้" และ "คุยกับผู้ใช้" มีประโยชน์ในการจัดการและช่วยเหลือการทำงานของผู้ใช้บนวิกิพีเดีย ตลอดจนอำนวยความสะดวกแก่ปฏิสัมพันธ์และการแบ่งปันระหว่างผู้ใช้ หน้าผู้ใช้มีไว้เพื่อการอภิปรายระหว่างบุคคล ประกาศ การทดสอบและร่าง (รวมถึงอัตชีวประวัติและข้อมูลส่วนบุคคลที่มีจำกัด ตามความประสงค์) เป็นสำคัญ ผู้ใช้วิกิพีเดียทุกคนมีหน้าผู้ใช้เป็นของตนเพื่อความมุ่งหมายที่เหมาะกับโครงการวิกิพีเดียและที่ชุมชนยอมรับ วิกิพีเดียมิใช่บล็อก ผู้ให้บริการเว็บสเปซ หรือโซเชียลเน็ตเวิร์ก นโยบายวิกิพีเดียว่าด้วยเนื้อหาของหน้าใช้กับหน้าผู้ใช้ได้ตามปกติ และผู้ใช้ต้องปฏิบัติตามนโยบายเหล่านี้ ผู้ใช้ที่เชื่อว่าละเมิดนโยบายเหล่านี้ควรได้รับการแนะนำก่อนทางหน้าคุยกับผู้ใช้ หากเห็นว่ามาตรการทันด่วนนั้นยังไม่จำเป็น

ศัพท์เฉพาะและที่ตั้งหน้า

สมมุติว่าชื่อผู้ใช้ของคุณคือ "ตัวอย่าง"

หน้าผู้ใช้
หน้าผู้ใช้ของคุณ คือ ผู้ใช้:ตัวอย่าง (ลิงก์ไปยังหน้าผู้ใช้ของคุณ) การใช้ตามปกติเพื่อให้ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับตัวคุณเองหรือกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับวิกิมีเดียของคุณ หากคุณต้องการ คุณไม่จำเป็นต้องเล่าทุกอย่างเกี่ยวกับตัวคุณก็ได้ หากคุณไม่ต้องการเขียนอะไร คุณสามารถเปลี่ยนทางไปยังหน้าคุยกับผู้ใช้ของคุณได้ เพื่อความสะดวกแก่ผู้ใช้คนอื่น
ห้องสนทนาของฉัน
ห้องสนทนาของคุณ (หรือ "หน้าคุยกับผู้ใช้") คือ คุยกับผู้ใช้:ตัวอย่าง (ลิงก์ไปยังหน้าห้องสนทนาของคุณ) การใช้ตามปกติเพื่อรับข้อความจาก หรือสนทนากับผู้ใช้คนอื่น ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ วิธีใช้:หน้าอภิปราย
หน้าย่อย
คุณสามารถสร้างหน้าย่อยของหน้าผู้ใช้ได้ เช่น [[ผู้ใช้:ตัวอย่าง/ร่างบทความไวโอลิน]] หรือ [[ผู้ใช้:ตัวอย่าง/ทดลองเขียน]] และหน้าอภิปรายที่เกี่ยวข้อง โดยการนำไปยังหน้าลิงก์แดง (ยังไม่มีผู้ใดสร้าง) รายการหน้าย่อยที่มีอยู่แล้วสามารถดูได้โดยใช้ พิเศษ:Prefixindex (ตัวอย่างเช่น พิเศษ:Prefixindex/คุยกับผู้ใช้:ตัวอย่าง/) โดยทั่วไป คุณสามารถมีทุกอย่างในหน้าย่อยได้เช่นเดียวกับที่จะมีได้ในหน้าผู้ใช้หรือคุยกับผู้ใช้ ยกเว้นบางรายการ (ดูด้านล่าง) ที่จะต้องให้ผู้อื่นเห็นได้หากคุณโพสต์ การจัดลำดับชั้นของหน้าย่อยเองก็สามารถทำได้เช่นกัน คุณสามารถมีหน้าย่อยได้มากเท่าที่คุณต้องการ แต่พึงระลึกว่า วิกิพีเดียมิใช่ที่ฝากไฟล์ (web host) ไม่เสียค่าใช้จ่าย โปรดใช้หน้าย่อยอย่างมีเหตุผล
หน้าผู้ใช้หรือสเปซผู้ใช้ (user space)
ทั้งหมดนี้เป็นหน้าผู้ใช้หรือสเปซผู้ใช้ของคุณ แม้คุณมิได้ "เป็นเจ้าของ" พวกมัน แต่โดยปฏิบัติ หากคุณใช้อย่างสมเหตุสมผลและอยู่ภายใต้แนวปฏิบัติเหล่านี้แล้ว ส่วนมากคุณจะมีอิสระในการจัดการและสร้างหน้าผู้ใช้คุณทั้งหมดตามต้องการ

คุณยังมีหน้าย่อยที่ลงท้ายด้วย .js และ .css เพื่อเก็บสคริปต์ผู้ใช้ (user script) และการปรับแต่งสกิน (skin customization) ใด ๆ ที่คุณอาจต้องการสำหรับแก้ไขวิกิพีเดีย แม้ว่าทุกคนสามารถมองเห็นได้ แต่ก็มีเพียงคุณและผู้ดูแลระบบเท่านั้นที่สามารถแก้ไขหน้าประเภทนี้ได้

แจ้งข้อความเข้า

คุณจะได้รับแจ้งหากมีผู้มาแก้ไขหน้าคุยกับผู้ใช้ของคุณ และ/หรือ ฝากข้อความไว้ให้คุณในหน้านั้น

คุณมี ข้อความใหม่ (ดูข้อความที่เข้ามาใหม่)

การแจ้งเตือนและลิงก์ด้านบนนี้จะถูกแสดงในทุกหน้าโดยอัตโนมัติกระทั่งคุณเปิดดูหน้าคุยกับผู้ใช้ของคุณ ผลต่างระหว่างรุ่น (diff) ของหน้าคุยกับผู้ใช้ของคุณ หรือประวัติของหน้านั้น

ข้อยกเว้น: หากบอตที่มี bot flag แก้ไขหน้าผู้ใช้ของคุณ และทำเครื่องหมายว่าแก้ไขเล็กน้อย จะไม่ขึ้นการแจ้งเตือนดังกล่าว

ลิงก์ พิเศษ:MyPage และ พิเศษ:MyTalk เป็นทางลัดซึ่งนำผู้ใช้ใด ๆ ไปยังหน้าผู้ใช้และคุยกับผู้ใช้ของตัวเอง หากผู้ใดต้องการไปยังหน้าผู้ใช้หรือคุยกับผู้ใช้ของคุณหรือของคนอื่น จำเป็นจะต้องเขียนลิงก์ให้เหมาะสม (นั่นคือ คุยกับผู้ใช้:ตัวอย่าง) ในทางปฏิบัติ ผู้ที่จะเข้าไปยังหน้าผู้ใช้และคุยกับผู้ใช้ส่วนมากโดยคลิกที่ลายมือชื่อผู้ใช้ในการอภิปราย ลิงก์ที่แสดงในประวัติของหน้าและผลต่างระหว่างรุ่น

ทางเลือกที่มีจากหน้าผู้ใช้

นอกเหนือไปจากข้อมูลปกติที่เข้าถึงได้จากหน้าบทความ เช่น ประวัติหน้า "อภิปรายหน้านี้" และอื่น ๆ ที่คล้ายกันแล้ว ผู้ใช้ที่เข้าชมหน้าผู้ใช้หรือคุยกับผู้ใช้ยังสามารถคลิก "เรื่องที่ผู้ใช้รายนี้เขียน" (แถบด้านซ้ายมือหรือที่ด้านล่างของหน้า) เพื่อดูว่าช่วงที่ผ่านมาคุณได้แก้ไขอะไรในวิกิพีเดียไปบ้าง และ "ปูม" เพื่อดูบันทึกของเหตุการณ์อื่นที่เกี่ยวข้องกับการเขียนของคุณ ทั้งที่คุณและผู้อื่นกระทำ (หมายเหตุว่า เมื่อหน้าผู้ใช้ของคุณถูกลบ มิได้หมายความว่ารายการหน้าอื่น ๆ ที่คุณร่วมเขียนจะถูกลบไปด้วย)

ผู้เข้าชมหน้าผู้ใช้ของคุณยังสามารถคลิก "ส่งอีเมลหาผู้ใช้รายนี้" หากคุณเลือกในการตั้งค่าผู้ใช้ของคุณให้สามารถส่งและรับอีเมลได้ ที่อยู่อีเมลของคุณจะยังเก็บเป็นความลับเว้นแต่คุณเลือกจะเปิดเผยด้วยตัวเอง เลือกทางเลือกในการเปิดเผยอีเมล (ในการตั้งค่า) หรือตอบโดยใช้ระบบอีเมลนอกวิกิพีเดีย

อะไรที่มีได้ในหน้าผู้ใช้

หน้าผู้ใช้ไม่มีวิธีใช้ตายตัว แต่ตามปกติ หน้าผู้ใช้ของผู้หนึ่งมีข้อมูลอะไรก็ตามที่เกี่ยวกับผู้นั้นเอง และหน้าคุยกับผู้ใช้ของผู้หนึ่งใช้สำหรับส่งข้อความ หากผู้ใช้คนอื่นสามารถหาหน้าที่พวกเขาต้องการได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย ผู้ใช้อาจสามารถจัดการหน้าผู้ใช้ของตัวได้อย่างอิสระตามการเลือกของตนอย่างมีเหตุผล

หน้าผู้ใช้ของคุณอาจถูกเว็บไซต์อื่นคัดลอกไปได้ ดังนั้น หากคุณมีเนื้อหาที่ไม่ต้องการให้ถูกคัดลอก โพสต์ซ้ำ หรือนำไปใช้ใหม่ อย่าโพสต์ในหน้าผู้ใช้

ข้อมูลบางประเภทจะต้องไม่ค้างอยู่อย่างไม่มีกำหนดในสเปซผู้ใช้ ดูรายละเอียดด้านล่าง การใช้สเปซผู้ใช้อย่างอื่น นอกเหนือไปจากการสื่อสารแล้ว ยังรวมถึง แต่ไม่จำกัดเฉพาะ:

  • การเปิดเผยการเขียนอย่างสำคัญ (เลือกได้ว่าจะใส่หรือไม่ แต่แนะนำ)
    • สิ่งที่ผู้เขียนอื่นอาจเห็นว่ามีประโยชน์ที่จะเข้าใจ เช่น บัญชีผู้ใช้ทางเลือก (หากเปิดเผยต่อสาธารณะ)
    • ถ้าคุณกำลังแก้ไขเพื่อหรือในนามของบริษัท องค์การ กลุ่ม ผลิตภัณฑ์ หรือบุคคล ฯลฯ ซึ่งคุณต้องการเปิดอกเพื่อให้ได้ความสัมพันธ์ในการทำงานที่ดีกับชุมชน

      (การแก้ไขต้องเป็นกลางและอยู่ในบรรทัดฐานสารานุกรมเสมอ ผู้เขียนมักไม่ไว้ใจผลประโยชน์ทับซ้อนปกปิดและวาระแฝง การเปิดเผยประโยชน์เหล่านี้ทำให้ได้ความเคารพ เชื้อเชิญผู้อื่นให้ช่วยเหลือและแสดงความปรารถนาที่จะแก้ไขอย่างเหมาะสม)

  • บันทึกเกี่ยวข้องกับงานและกิจกรรมวิกิพีเดียของคุณ
    • บทความ ขอบเขตหัวเรื่อง รายการที่จะทำ บันทึกช่วยจำปัจจุบันหรือที่วางแผนจะทำ รางวัลหรือความสำเร็จอื่น งานความร่วมมือ เสนอร่าง ความคิด (เชิงก่อ) ว่าด้วยบทความหรือนโยบายวิกิพีเดีย และวิธีที่ควรเปลี่ยนแปลง เป็นต้น
    • การขยายหรือสำรองรายละเอียดแก่จุดยืนที่คุณเสนอ (หรือที่คุณอาจเสนอ) ในการอภิปรายที่อื่นบนวิกิพีเดีย
  • งานที่กำลังดำเนินอยู่หรือเนื้อความที่คุณอาจย้อนกลับมาในอนาคต (โดยปกติอยู่ในหน้าย่อย)
    • ร่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งตรงที่คุณต้องการอภิปรายหรือความเห็นของผู้ใช้อื่นก่อน ตัวอย่างเช่น เนื่องจากผลประโยชน์ทับซ้อนหรือข้อเสนอเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่
    • ร่างที่เขียนในสเปซผู้ใช้ของคุณเองเพราะหน้าเป้าหมายถูกล็อก ตลอดจนบันทึกและเนื้อความงานสำหรับบทความ (เนื้อหาบางส่วนอาจไม่ถูกเก็บไว้ตลอดไป)
  • ลิงก์ เครื่องมือ และสคริปต์ที่มีประโยชน์
  • กรุสเปซผู้ใช้
    • หน้าพูดคุยเก่า ฯลฯ (เนื้อหาบางอย่างอาจไม่ถูกเก็บในสเปซผู้ใช้ตลอดไปหากไม่ใช้)
  • สารที่ยาวพอสมควร หรือมีการเปลี่ยนแปลงอยู่พอสมควร เพียงพอที่จะจัดสรรสารเหล่านี้ไปยังหน้าที่ถูกต้อง
  • งานเขียนส่วนตัวที่เหมาะสมภายในชุมชนวิกิพีเดีย
    • สารวิกิพีเดียที่มิใช่บทความอย่างเรื่องขบขัน เรียงความและทัศนะวิกิพีเดียที่สมเหตุสมผล ปรัชญาส่วนตัว ความเห็นต่อปัญหาวิกิพีเดีย
    • การเปิดเผยสารสำคัญอย่างการไม่อยู่ หรือการแก้ไขตัวเองที่คุณอยากให้ผู้อื่นรู้ ฯลฯ
    • ข้อความแสดงความยินดีหรือแสดงความเสียใจต่อเหตุการณ์สำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเกี่ยวข้องกับงานเขียนวิกิพีเดียหรือเหตุการณ์สำคัญในชีวิต

      (ให้แน่ใจว่าผู้ใช้ต้องการเปิดเผยข้อความเหล่านี้ต่อสาธารณะบนวิกิพีเดีย เพราะพวกเขาอาจต้องการเก็บไว้เป็นความลับ)

  • การทดลอง (โดยทั่วไปในหน้าย่อย)
    • หน้าทดลองสำหรับแม่แบบ มาร์กอัพที่ไม่คุ้นเคยหรือต้องอาศัยความชำนาญเฉพาะ (รวมทั้ง LaTeX ฯลฯ เป็นหน้าทดลองเขียนส่วนตัวประเภทหนึ่ง)
    • หน้าเพื่อใช้ทดสอบบอตและสคริปต์โดยไม่ก่อให้เกิดผลเสีย

      หน้าผู้ใช้และหน้าย่อยของผู้ใช้อื่นสามารถรวมผ่าน (transclude) และ subsitute จนประพฤติเช่นเดียวกับแม่แบบได้ และสามารถทดลองอย่างแม่แบบได้เช่นกัน

  • เนื้อหาอัตชีวประวัติแต่พองาม
  • การนอกเรื่องอย่างเหมาะสมในปริมาณน้อยและได้สัดส่วน
    • ผู้ใช้จำนวนหนึ่งมีเนื้อหาวิกิพีเดียและโครงการพี่น้อง อย่างรูปภาพ (ใช้เสรี) จากวิกิมีเดียคอมมอนส์ บทความวิกิพีเดียโปรด หรือคำคมที่พวกเขาชอบ

      หน้าที่ใช้เพื่อการส่งเสริมอย่างโจ่งแจ้งหรือใช้เป็นแท่นปราศรัย หรือเป็นสนามรบแก่สารที่ไม่เกี่ยวข้องมักถูกนับว่าอยู่นอกเกณฑ์นี้ ตัวอย่างเช่น เรซูเม 5 หน้าและการโฆษณาวงดนตรีของคุณอาจมากเกินไป แต่สรุปย่อสั้น ๆ สามประโยคว่า คุณทำงานในสาขา ก และมีวงดนตรีชื่อ ข นั้นยอมรับได้

คุณยังสามารถระบุลิงก์ง่าย ๆ ไปยังโฮมเพจส่วนตัวของคุณได้ หากคุณไม่ควรเขียนด้วยภาษาชวนเชื่อส่งเสริมให้เข้าไปชม

หน้าผู้ใช้ยังใช้เพื่อจุดประสงค์ในการบริหารได้ เพื่อให้ผู้ใช้ตระหนักถึงการบล็อก การเตือนและการลงโทษอื่นหากเกิดขึ้น และเพื่อแจ้งสารที่อาจกระทบต่อบทความที่คุณกำลังเขียนอยู่หรือปัญหางานเขียนที่คุณเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้อง ผู้อื่นยังอาจแก้ไขหน้าผู้ใช้ของคุณ ตัวอย่างเช่น ให้ดาวเกียรติยศหรือฝากบันทึกและภาพไว้แก่คุณ หรือเพิ่มความเห็นและคำถาม แม้คุณมีอิสระกว้างขวางในการแก้ไขหน้าผู้ใช้ของคุณ สารเหล่านี้จำนวนหนึ่งไม่ควรนำออก

สเปซผู้ใช้และสเปซหลัก

รายละเอียดเกี่ยวกับตัวคุณตามปกติไม่ควรมีอยู่ในเนมสเปซสารานุกรมหลัก (ซึ่งสงวนไว้เฉพาะบทความสารานุกรมเท่านั้น) และบทความสารานุกรมไม่ควรลิงก์มายังหน้าในสเปซผู้ใช้

ในบางกรณีที่พบไม่บ่อยครั้งที่คุณหรือบางสิ่งที่เชื่อมโยงกับคุณอย่างใกล้ชิดอาจมีบทความในวิกิพีเดีย บทความนั้นจะถูกปฏิบัติแยกจากคุณในฐานะที่เป็นผู้ใช้อย่างสมบูรณ์เสมอ คุณควรอ่านคำแนะนำเกี่ยวกับผลประโยชน์ทับซ้อนอย่างระมัดระวัง และโดยทั่วไปให้หลีกเลี่ยงการแก้ไขเกี่ยวกับตัวคุณเองหรือสิ่งที่เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดกับคุณไม่ว่าในบทความใด ๆ

หากคุณต้องการร่างบทความใหม่ กระทำได้โดยสร้างหน้าย่อยของตนขึ้นมา แล้วบันทึกเป็นร่างบทความก่อน จากนั้นค่อยย้ายไปลงสเปซบทความหลักภายหลัง

กล่องผู้ใช้

กล่องผู้ใช้ทั้งหมด ดูได้ที่ วิกิพีเดีย:กล่องผู้ใช้

อะไรที่ ไม่ควร มีในหน้าผู้ใช้

โดยทั่วไป คุณควรหลีกเลี่ยงการมีเนื้อหาที่ไม่เกี่ยวข้องกับวิกิพีเดียปริมาณมากบนหน้าผู้ใช้ วิกิพีเดียมิใช่บริการที่ฝากไฟล์ทั่วไป ดังนั้น หน้าผู้ใช้ของคุณจึงมิใช่เว็บไซต์ส่วนตัว หน้าผู้ใช้ของคุณนั้นเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับคุณในฐานะชาววิกิพีเดีย และหน้าในสเปซผู้ใช้ของคุณควรถูกใช้เป็นส่วนหนึ่งของความพยายามในการพัฒนาโครงการ

นอกเหนือจากนี้ มีความตกลงทั่ว ๆ ไปว่า คุณไม่ควรมีเนื้อหาในสเปซผู้ใช้ที่โน้มเอียงเสื่อมเสียต่อโครงการ หรือโน้มเอียงให้กระทำผิดอย่างกว้างขวาง (เช่น การแก้ต่างพวกนิยมโรคใคร่เด็ก [pedophilia]) ไม่ว่าจะจริงจังหรือแค่ "เกรียน" ก็ตาม โดยทั่วไป ข้อที่ว่า "วิกิพีเดียไม่ใช่แท่นปราศรัย" ถูกตีความว่าใช้ได้กับสเปซผู้ใช้เช่นเดียวกับตัวสารานุกรมเอง และ "วิกิพีเดียไม่มีการเซ็นเซอร์" เกี่ยวข้องกับหน้าบทความและรูปภาพ ในเนมสเปซอื่นมีข้อจำกัดซึ่งมีเป้าหมายเพื่อประกันความเกี่ยวข้อง คุณค่า และไม่กระทบต่อชุมชน คุณมีความเป็นอิสระในสเปซผู้ใช้มากกว่าที่อื่นใด แต่ให้คำนึงถึงผู้อื่นด้วย เนื้อหาที่ก้าวร้าวสุดขั้วอาจถูกผู้ใช้คนไหนลบไปให้พ้นจากสายตาก็ได้

โดยทั่วไป ชุมชนวิกิพีเดียค่อนข้างยอมผ่อนผันให้และให้อิสระค่อนข้างมากในการบังคับใช้แนวปฏิบัติเหล่านี้แก่ผู้ใช้ทั่วไป การบังคับใช้แนวปฏิบัติเหล่านี้ไม่เข้มงวดมากนัก โดยเฉพาะกับผู้ใช้ที่มีประวัติการเขียนดี แต่ในขณะเดียวกัน หากกิจกรรมในหน้าผู้ใช้เริ่มรบกวนต่อชุมชนหรือขวางงานในการสร้างสารานุกรม ก็จำเป็นจะต้องมีการดัดแปลงเพื่อป้องกันการขัดขวาง

เนื้อหานอกเรื่องมากเกินพอดี

เนื้อหานอกเรื่องมากเกินพอดี เช่น...

งานเขียน ข้อมูล การอภิปราย และกิจกรรมที่ไม่ใกล้เคียงกับเป้าหมายของวิกิพีเดีย
  • บล็อกบันทึกกิจกรรมที่ไม่เกี่ยวข้องกับวิกิพีเดียของคุณ
  • การอภิปรายนอกเรื่องวิกิพีเดียเกินพอดี
  • ความเห็นส่วนตัวนอกเรื่องวิกิพีเดีย ปรัชญาวิกิ การร่วมมือ เนื้อหาเสรี สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ ฯลฯ มากเกินพอดี
  • งานเขียนและเนื้อหาเกี่ยวกับหัวเรื่องที่แทบไม่มีประโยชน์โดยตรงต่อวิกิพีเดีย ชุมชนวิกิพีเดีย หรือบทความวิกิพีเดีย (ยกตัวอย่างในกรณีหลัง เพราะเป็นงานค้นคว้าต้นฉบับล้วน เพิกเฉยต่อแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถืออย่างสมบูรณ์ หรือชัดเจนว่าไม่เป็นสารานุกรมด้วยเหตุผลที่ชัดเจนอื่น ๆ) มากเกินพอดี
  • การสื่อสารที่ไม่เกี่ยวข้องกับวิกิพีเดีย กับคนที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับวิกิพีเดียหรืองานที่เกี่ยวข้อง
  • เกม ช่วงสวมบทบาท หน้าลับ หรือสิ่งอื่นที่เหมาะแก่ "การให้ความบันเทิง" มากกว่า "การเขียนสารานุกรม" โดยทั่วไป ชุมชนไม่ยอมรับกิจกรรมเช่นนั้น
เนื้อหาและลิงก์ที่ส่งเสริมและสนับสนุนหรือแก้ต่าง
  • โฆษณาประชาสัมพันธ์หรือส่งเสริมปัจเจกบุคคล ธุรกิจ องค์การ กลุ่มหรือแนวคิดที่ไม่เกี่ยวข้องกับวิกิพีเดีย (เช่น เว็บพาณิชย์ หรือลิงก์ธุรกิจแบบลูกโซ่)
  • เนื้อหาส่งเสริมตัวเองมากเกินพอดี โดยเฉพาะที่ไม่เกี่ยวข้องกับวิกิพีเดียโดยตรง
เนื้อหาที่ทำให้แตกแยกหรือก้าวร้าวอย่างมากและไม่เกี่ยวข้องกับวิกิพีเดีย
  • ข้อความบทโจมตีที่ไม่เกี่ยวข้องกับวิกิพีเดีย หรือข้อความโจมตีหรือใส่ความกลุ่มผู้เขียน บุคคล หรือสิ่งอื่น (ซึ่งโดยทั่วไปถูกพิจารณาว่าทำให้แตกแยกและนำออก และการใส่กลับเข้ามาอีกมักถูกมองว่าเป็นการรบกวน)
  • เนื้อหาที่มองได้ว่าโจมตีผู้เขียนคนอื่น รวมทั้งการบันทึกข้อบกพร่องที่ได้รับรู้ การรวบรวมหลักฐานข้อเท็จจริง (ผลต่างระหว่างรุ่น) ในหน้าย่อยของผู้ใช้ เพื่อจุดประสงค์เช่น เตรียมไปใช้ประกอบอย่างใดอย่างหนึ่ง ได้รับอนุญาต หากต้องใช้ในเวลาอันเหมาะสม ไม่นานเกินไป
  • โดยทั่วไป ผู้ใช้ไม่ควรเก็บข้อมูลด้านลบเกี่ยวกับผู้อื่นต่อสาธารณะโดยปราศจากเหตุผลที่ดี หลักฐานด้านลบ รายการสิ่งผิด การตรวจเทียบผลต่างระหว่างรุ่นและข้อวิจารณ์ที่เกี่ยวข้องกับปัญหา ฯลฯ ควรนำออก ทำว่าง หรือเก็บไว้เป็นส่วนตัว (นอกวิกิพีเดีย) หากสิ่งข้างต้นจะไม่ถูกใช้อย่างชัดแจ้ง
ข้อมูลส่วนบุคคล
  • ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้อื่นโดยปราศจากความยินยอม
  • ข้อมูลส่วนบุคคลที่ไม่เหมาะสมหรือที่นอกเรื่องวิกิพีเดียมากเกินพอดี
เนื้อหาวิกิพีเดียที่ไม่เหมาะสมต่อสเปซผู้ใช้
  • รูปภาพซึ่งคุณไม่สามารถใช้ได้อย่างเสรี (มักเป็นภาพประเภทชอบธรรม)
  • หมวดหมู่และแม่แบบที่สร้างขึ้นมาเพื่อใช้อย่างอื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หมวดหมู่และแม่แบบสำหรับบทความและนโยบาย

โดยทั่วไป ถ้าคุณมีเนื้อความที่ไม่อยากให้คนอื่นแก้ไข หรือมิฉะนั้นก็ไม่เหมาะสมต่อวิกิพีเดีย ก็ควรที่จะเก็บไว้ในเว็บไซต์ส่วนตัว มีที่ฝากไฟล์ไม่เสียค่าใช้จ่ายหรือราคาถูกจำนวนมาก อีเมล และบริการบล็อกก็มีให้เลือกใช้บริการอย่างกว้างขวาง และเป็นที่ที่เหมาะสมแก่เนื้อหาที่นอกเรื่องวิกิพีเดีย สำหรับความร่วมมือชุมชนแบบวิกิ คุณสามารถดาวน์โหลดซอฟต์แวร์มีเดียวิกิและติดตั้งไว้บนเซิร์ฟเวอร์ของคุณเองได้หากคุณต้องการควบคุมเต็มที่ หรือใช้เว็บวิกิออนไลน์อื่นที่มีอยู่มากมายก็ได้

การแก้ต่างหรือสนับสนุนพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมอย่างยิ่งโดยไม่มีประโยชน์ต่อโครงการ

ข้อความหรือหน้าซึ่งดูเหมือนแก้ต่าง กระตุ้นหรือไม่เอาผิดต่อพฤติกรรมดังนี้ การก่อกวน การละเมิดลิขสิทธิ์ สงครามแก้ไข การรังควาน การละเมิดความเป็นส่วนตัว การหมิ่นประมาท และพฤติการณ์รุนแรง (รวมถึงความรุนแรงในทุกรูปแบบแต่ไม่ใช่เพียงข้อความสนับสนุนกลุ่มหรือระบอบ [regime] อันก่อให้เกิดการโต้แย้งที่บางคนอาจตีความว่าสนับสนุนความรุนแรง)

ข้อความหรือหน้าเหล่านี้อาจถูกผู้ใช้คนใดก็ได้นำออก แก้ไขหรือยุบเลิก เพื่อมิให้เป็นปัญหาในความยอมรับได้ และเกณฑ์การลบทันทีที่มีอยู่ก็สามารถใช้ได้

หมวดหมู่ แม่แบบหรือหน้าเปลี่ยนทาง

ห้ามจัดหน้าผู้ใช้หรือหน้าย่อย รวมทั้งบทความร่าง อยู่ในหมวดหมู่สำหรับบทความหลัก

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง แม่แบบและป้ายโครงที่มักจัดหมวดหมู่ด้วยตัวมันเอง คุณสามารถป้องกันมิให้เกิดกรณีเช่นนี้ขึ้นได้ขณะกำลังร่างบทความอยู่ โดยใส่ tlx| ระหว่าง {{ กับชื่อแม่แบบ ดังนี้ {{tlx|โครง|พารามิเตอร์ใด ๆ}}

คุณยังสามารถบังคับให้ข้อความบางส่วนไม่แสดงผลได้โดยเพิ่มเครื่องหมาย <!-- และ --> คร่อมข้อความส่วนนั้นไว้ หรือโดยการเพิ่มเครื่องหมายทวิภาค : หน้า "หมวดหมู่" เช่น [[:หมวดหมู่:ประเทศไทย]] เพื่อบังคับให้ลิงก์หมวดหมู่แสดงเหมือนวิกิลิงก์ธรรมดา

หน้าคุยกับผู้ใช้ไม่ควรเปลี่ยนทางไปยังหน้าอื่นใดนอกเหนือจากบัญชีอื่นที่ผู้ใช้คนเดียวกันควบคุมอยู่

หน้าที่ดูเหมือนบทความ คัดลอกหน้า หน้าโครงการ

สเปซผู้ใช้มิใช่ที่ฝากไฟล์ไม่เสียค่าใช้จ่ายและไม่ควรใช้เก็บหน้าที่ดูเหมือนบทความ รุ่นเก่า หรือเนื้อหาที่ถูกลบ หรือรุ่นของเนื้อหาที่พิพาทที่คุณชื่นชอบอย่างไม่มีกำหนด การคัดลอกหน้าที่ถูกใช้เพื่อจุดประสงค์ในการเก็บระยะยาวเป็นการส่วนตัวเพียงอย่างเดียวอาจเป็นเหตุให้ลบได้ การเก็บบทความและเนื้อหาที่สมเหตุสมผลอย่างอื่นที่กำลังอยู่ในระหว่างการพัฒนาหรือกำลังใช้งานอยู่ในระยะสั้นมักยอมรับได้ เมื่อหน้าสเปซผู้ใช้ถึงจุดที่สามารถรวมเข้าเป็นบทความ พิจารณาย้ายหน้านั้นไปยังสเปซหลักหรือใช้เนื้อหาในหน้านั้นอย่างเหมาะสมในบทความที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ สำหรับบทความที่ร่างไม่เสร็จหรือผู้เขียนคนแรกไม่ต้องการเขียนต่อไปหรือดูเหมือนจะหยุดเขียน อาจส่งให้ผู้ใช้คนอื่นเขียนต่อ

สเปซผู้ใช้ยังมิใช่ตัวแทนของสเปซโครงการ (วิกิพีเดีย:...) และไม่ควรใช้หน้าสเปซผู้ใช้เป็นเอกสารประกอบหลักของนโยบาย แนวปฏิบัติ หรือมโนทัศน์ที่เป็นที่ยอมรับ ถ้าหน้าผู้ใช้ของคุณที่เกี่ยวข้องกับโครงการกลายมาเป็นที่ใช้หรือลิงก์มาถึงอย่างมากในสเปซโครงการ หรือมีการใช้งานคล้ายกับหน้าโครงการ ให้พิจารณาย้ายมายังสเปซโครงการหรือรวมเข้ากับหน้าอื่นที่คล้ายกันที่มีอยู่แล้วเดิม

ภาพ

อย่าใส่ภาพไม่เสรี (ภาพมีลิขสิทธิ์ที่ขาดสัญญาอนุญาตเสรี) บนหน้าผู้ใช้ของคุณหรือในหน้าย่อยใด ๆ ที่เป็นของคุณ (มีนโยบายการใช้ภาพอย่างเป็นทางการ และความเป็นอิสระในหน้าผู้ใช้อย่างกว้างขวางตามปกติใช้ไม่ได้ในกรณีนี้) ภาพไม่เสรีที่พบในหน้าผู้ใช้ (รวมทั้งหน้าคุยกับผู้ใช้) จะถูกนำออก (ซึ่งอาจแทนที่ด้วยลิงก์ไปยังภาพนั้นแทน) โดยไม่มีการเตือนล่วงหน้า และหากภาพนั้นไม่มีใช้ในบทความวิกิพีเดีย ภาพนั้นจะถูกลบทันที)

นอกจากนี้ คุณไม่ควรใส่ภาพที่อาจเสื่อมเสียต่อโครงการและอาจถูกร้องขอให้นำออกได้เอาไว้ในสเปซผู้ใช้ของคุณ ผู้ใช้คนใดจะนำออกหรือลบทิ้งซึ่งเนื้อหา (ไม่ว่าจะเป็นภาพหรือเป็นข้อความ) ที่ปรากฏชัดว่า มุ่งหมายให้เร้าอารมณ์ทางเพศ อาจสร้างความรำคาญใจหรือตื่นตระหนกโดยที่มีประโยชน์แก่โครงการน้อยหรือไม่มีเลย หรือเป็นการใช้วิกิพีเดียเป็นที่ฝากไฟล์หรือหน้าแก้ต่างส่วนตัวก็ย่อมได้ และเจ้าของเนื้อหาจะอุทธรณ์การลบก็ได้ ในการนี้ ให้คำนึงถึงบริบทแห่งเนื้อหานั้น ๆ ด้วย แต่ไม่กระทบกระเทือนถึงการเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวโดยทั่วไปซึ่งไม่มีลักษณะเป็นการยั่วยุประเด็นทางเพศ (เช่น กล่องผู้ใช้ที่มีความหลากหลายทางเพศและสถานะทางความสัมพันธ์)

การละเมิดลิขสิทธิ์

กฎลิขสิทธิ์มีผลกับหน้าผู้ใช้เหมือนกับที่มีผลต่อหน้าบทความ ข้อความจะต้องไม่มีลิขสิทธิ์ หรือลิขสิทธิ์ต้องหมดอายุแล้ว มิฉะนั้นก็ใช้ข้อความคัดลอกมาเพียงสั้น ๆ เท่านั้น ถ้าคุณใช้ข้อความจากแหล่งอื่นในหน้าผู้ใช้ของคุณ คุณก็ควรจะยังให้เครดิตแก่ผู้แต่งเช่นเดิม ไม่ว่าจะอยู่ภายใต้ลิขสิทธิ์หรือไม่ก็ตาม

ความเป็นเจ้าของและการแก้ไขหน้าผู้ใช้

ส่วนนี้ใช้กับทุกหน้าในสเปซผู้ใช้ของคุณ ตามหลัก วิกิพีเดียให้อิสระอย่างกว้างขวางแก่ผู้ใช้ในการจัดการสเปซผู้ใช้ตามที่เห็นสมควร อย่างไรก็ดี หน้าในสเปซผู้ใช้เองก็เป็นส่วนหนึ่งของชุมชนใหญ่เช่นกัน หน้าเหล่านี้มิใช่โฮมเพจส่วนตัว และมิได้เป็นของผู้ใช้ หน้าเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของวิกิพีเดีย และมีไว้เพื่อให้ความร่วมมือระหว่างผู้ใช้ง่ายขึ้น

ผู้ใช้อื่นและบอตอาจแก้ไขหน้าในสเปซผู้ใช้ของคุณหรือฝากข้อความไว้ให้คุณ แม้ตามธรรมเนียม ผู้อื่นมักจะไม่แก้ไขหน้าผู้ใช้ของคุณโดยตรง นอกเหนือไปจากการแจ้งความกังวลอย่างสำคัญหรือวางแท็กที่เกี่ยวข้องกับโครงการ (พบไม่บ่อยนัก) เนื้อความที่ชัดเจนว่า มิได้ส่งเสริมเป้าหมายของวิกิพีเดียอาจถูกนำออก ดังเช่น กรณีการแก้ไขจากผู้ใช้ที่ถูกแบน (ban) นโยบายชุมชนส่วนมาก ทั้งอย่าว่าร้ายผู้อื่นและชีวประวัติของบุคคลที่มีชีวิตอยู่ใช้ได้กับสเปซผู้ใช้ของคุณเช่นเดียวกับที่อื่น (นโยบายด้านเนื้อหาโดยตรง อย่าง งดงานค้นคว้าต้นฉบับ มุมมองที่เป็นกลาง มักไม่มีผลใช้กับหน้าในสเปซผู้ใช้ เว้นแต่เมื่อย้ายไปยังสเปซหลักแล้ว)

เช่นเดียวกับการแก้ไขอื่นทั้งหมด การแก้ไขในสเปซผู้ใช้อยู่ภายใต้สัญญาอนุญาตซึ่งเปิดให้คัดลอกและนำไปใช้ใหม่ภายใต้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ แบบแสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน และสัญญาอนุญาตเอกสารเสรีของกนู

ท้ายสุด ประกาศและแท็กจำนวนหนึ่ง หากติดแล้ว ไม่อาจนำออกไปยังหน้าย่อยที่มีมองเห็นได้น้อยกว่าหรือลบทิ้งโดยปราศจากการอภิปราย

การนำความเห็น ประกาศ หรือคำเตือนออก

ไม่มีนโยบายห้ามมิให้ผู้ใช้ทั้งลงทะเบียนและไม่ลงทะเบียนนำความเห็นออกจากหน้าคุยกับผู้ใช้ของตน แม้ควรจะหากรุใส่แทน การนำเนื้อความออกจากหน้าผู้ใช้โดยทั่วไปหมายความว่า ผู้ใช้นั้นได้อ่านและรับทราบเนื้อหาของเนื้อความที่ลบออกนั้นแล้ว ไม่มีความจำเป็นที่จะเก็บแสดงไว้หรือผู้ใช้ไม่ควรถูกบังคับให้กระทำเช่นนั้นตามปกติ หากปัญหาไม่ยุติหรือเกิดปัญหาขึ้น เช่นนั้นบันทึกคำเตือนและการอภิปรายในอดีตจะสามารถพบได้ในประวัติของหน้าหากต้องการ และผลต่างระหว่างรุ่นเหล่านั้นก็เป็นหลักฐานที่ดีแก่ปัญหาที่ผ่านมา ถ้าจำเป็น

การแก้ไขหน้าผู้ใช้และคุยกับผู้ใช้ของผู้ใช้อื่น

โดยทั่วไป ควรหลีกเลี่ยงการแก้ไขหน้าผู้ใช้หรือคุยกับผู้ใช้ของผู้อื่นเป็นการใหญ่ นอกเสียจากมีแนวโน้มว่าการแก้ไขนั้นจะเป็นที่คาดหวัง และ/หรือ จะเป็นประโยชน์ หากคุณไม่มั่นใจ ให้ถามก่อน ถ้าผู้ใช้ขอร้องมิให้คุณแก้ไขหน้าผู้ใช้ของเขา ก็ค่อนข้างมีเหตุผลที่ควรเคารพคำขอของเขา (แต่ผู้ใช้ไม่อาจหลีกเลี่ยงความสนใจของผู้ดูแลระบบหรือประกาศของโครงการที่เหมาะสม และการสื่อสาร เพียงเพราะต้องการไม่ให้ผู้ใดโพสต์ในหน้าคุยกับผู้ใช้ได้)

การจัดการกับเนื้อหาที่ไม่เหมาะสม

บนหน้าผู้ใช้ของคุณ

หากชุมชนแจ้งให้คุณทราบว่า เขาอยากให้คุณลบเนื้อหาบางส่วนออกจากสเปซผู้ใช้ของคุณ คุณก็ควรพิจารณาปฏิบัติตามนั้น เพราะเนื้อหาเช่นนั้นจะได้รับอนุญาตให้มีอยู่ได้เฉพาะตามที่ชุมชนยินยอม หรืออีกทางหนึ่ง คุณสามารถนำเนื้อหาส่วนนั้นออกไปยังเว็บไซต์อื่น แล้วทำลิงก์ไปแทน

แม้ผู้ใช้อื่นเคารพสเปซผู้ใช้ของคุณ หากต้องมีการแก้ไข แต่ไม่มีการรับผิดชอบ เนื้อหาที่ไม่เหมาะสมจะถูกนำออก ไม่ว่าจะโดยการแก้ไขหน้า (หากส่วนใดส่วนหนึ่งของหน้านั้นไม่เหมาะสม), โดยการเปลี่ยนทางหน้าไปยังหน้าผู้ใช้หลักของคุณ (หากหน้านั้นไม่เหมาะสมทั้งหมด), หรือโดยการอภิปรายของชุมชนให้ลบโดยสิ้นเชิง เนื้อหาที่ไม่เหมาะสมจะถูกนำออกจากทุกหน้าในสเปซผู้ใช้และคุยกับผู้ใช้ของคุณ

บนหน้าผู้ใช้ของผู้อื่น

ทางเลือกดีที่สุดหากเกิดความกังวลกับหน้าผู้ใช้ คือ การดึงให้เขาหันมาสนใจกับปัญหาทางหน้าคุยกับผู้ใช้ของเขา และให้เขาแก้ไขมันด้วยตัวเอง หากเขาตกลง ในบางกรณี ผู้ใช้ที่มีประสบการณ์มากกว่าอาจแก้ไขที่ไม่ใช่เล็ก ๆ น้อย ๆ ในสเปซผู้ใช้ของผู้อื่น ในกรณีนั้น ผู้ใช้ควรระบุหมายเหตุอธิบายว่าเหตุใดจึงต้องทำเช่นนั้น ซึ่งไม่ควรทำด้วยเหตุผลเล็ก ๆ น้อย ๆ หากผู้ใช้ไม่ตกลง หรือไม่แก้ไขความกังวล หรือปัญหานั้นไม่แน่นอนหรือเป็นที่พิพาท เช่นนั้น ก็ควรใช้ขั้นตอนต่อไป รวมทั้งความเห็นผู้ใช้ที่ไม่เกี่ยวข้องหรือเสนอให้ลบหน้า

หากเนื้อความต้องได้รับการจัดการอย่างเร่งด่วน (ตัวอย่างเช่น ลิขสิทธิ์อย่างชัดเจน ว่าร้าย กล่าวหา หรือเหตุผลด้านชีวประวัติของบุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่ ฯลฯ) ผู้ใช้คนนั้นดูเหมือนไม่เข้าวิกิพีเดียนานแล้ว การแก้ไขดูไม่น่าก่อปัญหา หรือคุณค่อนข้างมั่นใจว่าเหมาะสม เช่นนั้น การนำออกหรือการแก้ปัญหาเนื้อความอย่างน้อยที่สุด และระบุหมายเหตุอธิบายสิ่งที่คุณได้ทำ เหตุผล และเชิญผู้ใช้มาอภิปรายถ้าจำเป็น หากทั้งหน้าไม่เหมาะสม พิจารณาทำหน้าว่าง หรือเปลี่ยนทางหน้าย่อยไปยังหน้าผู้ใช้ หรือไปยังหน้าสเปซหลักหรือสเปซโครงการที่มีอยู่เดิมที่สอดคล้องมากที่สุด

หน้า สื่อหรือภาพที่ไม่เหมาะสมในสเปซผู้ใช้ยังอาจถูกแจ้งลบ หรือลบทันที (ถ้าเข้าเกณฑ์) แต่ควรระมัดระวังเป็นพิเศษ เพราะผู้ใช้อาจคาดหวังการเว้นช่วงและเก็บไปคิด และมีข้อยกเว้นบางประการเช่นกัน ผู้ใช้ที่มีประวัติการเขียนมาก และ/หรือ การแก้ไขส่วนใหญ่ของเขาอยู่นอกสเปซผู้ใช้ควรได้การเว้นช่วงมากขึ้นเล็กน้อยในกรณีนี้ มากกว่าผู้ใช้ที่การแก้ไขมีเฉพาะหรือส่วนใหญ่แก้ไขในสเปซผู้ใช้ หรือกิจกรรมแนวส่งเสริม

หน้าผู้ใช้และการหยุดเขียนวิกิพีเดีย

เมื่อผู้ใช้หยุดเขียนวิกิพีเดีย หน้าผู้ใช้และคุยกับผู้ใช้ของเขาโดยปกติจะไม่ได้รับผลกระทบ และอาจถูกแก้ไขได้ในเวลาใดเวลาหนึ่งในอนาคต การทำหน้าผู้ใช้หรือคุยกับผู้ใช้ว่าง (นั่นคือ เขียนทับด้วยหน้าว่าง) เป็นที่ยอมรับได้หากคงประกาศที่ไม่สามารถนำออก (ถ้ามี) ไว้

ผู้ใช้ที่หยุดเขียนวิกิพีเดียอาจถูกใส่ชื่อลงใน วิกิพีเดีย:ชาววิกิพีเดียที่หายไป หลังจากผ่านไประยะเวลาหนึ่งซึ่งโดยทั่วไปคือไม่มีการแก้ไขในหนึ่งปี

การป้องกันหน้าผู้ใช้

เช่นเดียวกับหน้าบทความ บางครั้ง หน้าผู้ใช้ก็ตกเป็นเป้าการก่อกวน หรือสงครามแก้ไขได้ แม้อย่างหลังจะพบน้อยครั้ง เมื่อเกิดสงครามแก้ไขหรือการก่อกวนขึ้น หน้าที่กระทบควรถูกป้องกัน (ล็อก) มิให้แก้ไข

การก่อกวนหน้าผู้ใช้ส่วนมากเกิดขึ้นตอบโต้ความพยายามของผู้นั้นในการจัดการกับการก่อกวน ผู้ดูแลระบบอาจป้องกันหน้าผู้ใช้ของตนได้ตามความเหมาะสม และได้รับอนุญาตให้แก้ไขหน้าที่ถูกป้องกันในสเปซผู้ใช้ บางครั้ง หน้าผู้ใช้ของผู้ที่มิใช่ผู้ดูแลระบบอาจตกเป็นเป้าการก่อกวนเช่นกัน หน้าดังกล่าวควรแจ้งผู้ดูแลระบบให้ป้องกัน

ในกรณีที่การกึ่งล็อกไม่เพียงพอแก่การป้องกันการก่อกวนหน้าผู้ใช้ของผู้ที่มิใช่ผู้ดูแลระบบ ผู้ใช้นั้นอาจสร้างหน้าย่อยที่มีคำปัจจัย (suffix) .css ที่มีเนื้อหาเหมือนหน้าผู้ใช้ในสเปซผู้ใช้ของตนได้ จากนั้นค่อยรวมผ่านหน้าย่อยนั้นไปยังหน้าผู้ใช้หลัก แล้วขอให้ผู้ดูแลระบบล็อกหน้าผู้ใช้ (นั่นคือ ในหน้า ผู้ใช้:ตัวอย่าง ให้เขียนโค้ด {{ผู้ใช้:ตัวอย่าง/userpage.css}}) วิธีนี้เป็นการป้องกันการก่อกวนในอนาคตอย่างสมบูรณ์ โดยการจำกัดให้มีเพียงคุณเท่านั้นที่สามารถแก้ไขหน้าผู้ใช้ได้เอง และผู้ดูแลระบบ หมายเหตุว่า การเพิ่มเนื้อหาที่ไม่เหมาะสมในหน้าผู้ใช้ของคุณหลังกีดกันผู้ใช้คนอื่น ถือเป็นการฝ่าฝืนกฎร้ายแรง

การแทรกเนื้อหาที่ติดลิขสิทธิ์หรือเนื้อความที่ไม่เหมาะสมอื่นซ้ำ ๆ บนหน้าผู้ใช้ของคุณเองหลังได้รับแจ้งมิให้กระทำอีก หรือการใช้สเปซผู้ใช้ในทางที่ผิดหลังการบล็อกแล้วนั้น (นั่นคือ เพื่อการว่าร้ายส่วนบุคคลหรือการแก้ไขที่มีจุดประสงค์เฉพาะ) ทั้งคู่ถูกพิจารณาว่ารบกวน และอาจนำไปสู่การป้องกันหน้าเพื่อมิให้มีการรบกวนในอนาคต หน้าผู้ใช้ยังอาจถูกป้องกันเป็นช่วง ๆ ในกรณีของการแบน (ban)

การก่อกวนหน้าคุยกับผู้ใช้พบเห็นได้น้อยกว่า ตามปกติ การก่อกวนเช่นนั้นเพียงแค่ย้อนกลับก็เพียงพอแล้ว การสกัดกั้น (block) ควรใช้เฉพาะการก่อกวนซ้ำ ๆ ในหน้าคุยกับผู้ใช้ ตามที่นโยบายระบุ ในกรณีที่พบน้อยครั้ง การป้องกันอาจใช้ได้ แต่ถูกมองว่าเป็นทางออกสุดท้าย เมื่อคำนึงถึงความสำคัญของการอภิปรายในหน้าอภิปรายต่อโครงการ

การลบหน้าผู้ใช้

การลบหน้าผู้ใช้ของผู้อื่น

ตามปกติ หน้าผู้ใช้ของผู้ใช้อื่นอยู่ภายใต้การจัดการของผู้ใช้นั้น ยกเว้นแต่ปัญหาโจ่งแจ้งหรือร้ายแรง เป็นการดีกว่าที่จะพยายามติดต่อกับผู้ใช้นั้นก่อนลบ (ดูด้านบน) อย่างไรก็ดี การละเมิดลิขสิทธิ์อย่างชัดเจน หน้ากล่าวโจมตี ข้อความส่งเสริม และการละเมิดความเป็นส่วนตัวหรือชีวประวัติของบุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่สามารถลบได้ทันทีโดยใช้แม่แบบที่เหมาะสม คือ {{ลบ}}

พึงระมัดระวังเป็นพิเศษที่จะใช้คำพูดอย่างเหมาะสมและอธิบายความกังวล ผู้ใช้หลายคนจะถือว่าเป็นการสบประมาทต่อบุคคลหรือการว่าร้ายหากมีผู้ใช้ที่ไม่รู้จักกำลังจะลบภาพหรือหน้าในสเปซผู้ใช้ และการเข้าหาอย่างไม่มีอารยะหรือรุนแรงกว่าเหตุอาจทำให้ผู้ใช้ใหม่ที่ไม่ทราบถึงความคาดหวังและอาจสนุกกับการเขียนวิกิพีเดีย ขาดกำลังใจไปได้ ระลึกว่า ปริมาณข้อมูลส่วนบุคคลจำกัด (ซึ่งอาจเป็นชีวประวัติสั้น ๆ) และภาพถ่ายส่วนบุคคลที่มีรสนิยมภายใต้สัญญาอนุญาตเสรีสักภาพหรือสองภาพ ได้รับอนุญาตให้มีอยู่ในสเปซผู้ใช้ได้ หากหน้านั้นสอดคล้องกับเกณฑ์อื่นอย่างสมเหตุสมผล

การใช้หน้าผู้ใช้เป็นเว็บเพจส่วนบุคคลไม่เข้าเกณฑ์การลบทันทีด้วยตัวของมันเอง แม้การโฆษณาและการส่งเสริมชัดเจนจะเข้าข่ายก็ตาม ข้อยกเว้นของการลบทันทีเพียงประการเดียวนั้นคือ การแก้ไขทดสอบและการสร้างเนื้อความที่ถูกลบใหม่ (ในขอบเขต) ได้รับอนุญาตในสเปซผู้ใช้ การเขียนของผู้ใช้อันประกอบด้วยเพียงการแก้ไขครั้งเดียวต่อหน้าผู้ใช้ของเขาตามปกติไม่ควรถูกลบทันที เว้นแต่จะประกอบด้วยสแปมหรือเนื้อความที่สามารถลบทันทีได้อื่น ๆ เพียงอย่างเดียว เขาอาจเพียงสร้างหน้าของตนเป็นการแก้ไขครั้งแรกของเขาก็ได้ และอาจย้อนกลับมาได้ทุกเมื่อ หน้าเช่นนั้นอาจแจ้งลบหรือควรแจ้งผู้ใช้ก่อนตามปกติ

การลบหน้าผู้ใช้หรือคุยกับผู้ใช้ของคุณ

คุณสามารถทำหน้าใด ๆ ในสเปซผู้ใช้ของคุณว่างลงได้เองอย่างเสรี (นอกเหนือจากบางสิ่งที่จะต้องไม่นำออก) และร้องขอให้ลบหน้าผู้ใช้หรือหน้าย่อยของผู้ใช้ที่ไม่มีผู้เขียนอื่น อีกทางหนึ่ง คุณอาจพิจารณาเพียงทำหน้าเปลี่ยนทางไปยังหน้าผู้ใช้ของคุณ ตามปกติการเปลี่ยนทางก็เพียงพอกับความต้องการของคนส่วนใหญ่แล้ว หน้าย่อยที่ถูกแจ้งลบจะถูกลบหากไม่มีเหตุผลเหนือกว่าที่จะต้องเก็บหน้านั้นไว้

การทำหน้าย่อยของผู้ใช้ว่างอาจถูกตีความว่าเป็นการขอให้ลบ หากคุณต้องการเก็บประวัติหน้า ระบุหมายเหตุไปเพื่อการณ์นั้นในหน้าว่างด้วย (นั่นคือ "ทำหน้าว่างเพื่อเก็บประวัติหน้า - โปรดอย่าลบ") หากคุณต้องการให้ลบอย่างสิ้นเชิง ให้แจ้งลบตามปกติ

หน้าคุยกับผู้ใช้ของคุณ หน้าซึ่งถูกย้ายไปยังสเปซผู้ใช้ของคุณจากที่อื่น และกรุหน้าคุยกับผู้ใช้ที่ถูกสร้างโดยการย้ายหน้า ไม่อาจถูกลบได้ด้วยวิธีนี้

ดูเพิ่ม