วิกิพีเดีย:ปุจฉา-วิสัชนา/ภาษา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ยินดีต้อนรับเข้าสู่ ปุจฉา-วิสัชนาวิกิพีเดีย!

หมายเหตุสำคัญ

  • ผู้ตอบคำถามที่หน้านี้คืออาสาสมัคร และไม่ได้รับการว่าจ้างหรือได้รับค่าตอบแทนใดจากมูลนิธิวิกิมีเดีย คุณอาจไม่ได้รับคำตอบที่น่าพึงพอใจหรือผิดพลาด โปรดอดทนรอหรือสอบถามกับผู้เชี่ยวชาญโดยตรง

วิธีที่จะได้คำตอบเร็วกว่า

ลักษณะของคำถามที่เหมาะสม

  • ควรใช้ชื่อหัวข้อที่มีความหมาย (ไม่ควรตั้งคำถามโดยตั้งชื่อว่า "มีคำถาม" หรือ "ใส่หัวข้อคำถามที่นี่") แต่เขียนให้ผู้ตอบเข้าใจว่าคุณกำลังถามอะไร
  • ควรมีบริบท รวมทั้งการลิงก์ไปยังข้อมูลที่อาจช่วยอาสาสมัครในการตอบคำถามได้ เราจะได้ทราบว่าสิ่งที่คุณถามนั้นอยู่ส่วนใดของโลก
  • อย่าใส่ที่อยู่อีเมลหรือรายละเอียดติดต่อส่วนตัว เพื่อเป็นการรักษาความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยของคุณเอง
  • พิมพ์ --~~~~ ต่อท้ายคำถามทุกครั้ง เพื่อระบุตัวตนของคุณในการสนทนา
  • ถ้าคุณกำลังทำการบ้าน แสดงให้เห็นว่าคุณพยายามหาคำตอบเองแล้ว เราจะช่วยตรงที่คุณติดขัดเท่านั้น ไม่ใช่ช่วยคุณทำการบ้านทั้งหมด
  • ควรใส่คำถามให้ถูกหมวด เพื่อประโยชน์ของคุณในการที่จะได้รับคำตอบ และเป็นการจัดคำถามเข้าหมวดหมู่อย่างเรียบร้อย
  • หากต้องการแก้ไขคำถามหรือตั้งถามเพิ่มเติม ให้คลิกที่ [แก้ไข] ที่อยู่ทางด้านขวาถัดจากหัวข้อคำถาม อย่าสร้างคำถามซ้ำแล้วซ้ำอีก
  • อย่าลืมกลับมาตรวจดูบ่อย ๆ เพราะอาจมีผู้ตอบตอบเพิ่มในภายหลัง ซึ่งคุณอาจเลือกการบุคมาร์กไว้เพื่อความสะดวก

คำชี้แจงการตอบคำถาม

  • หากคำถามมีลักษณะไม่ตรงตามเงื่อนไขหรือถามผิดที่ ให้ผู้ตอบทำการลบทันที
  • กรุณาตอบคำถามให้ชัดเจน และตรงประเด็นกับคำถามที่ตั้งไว้ และสามารถอ้างอิงไปถึงบทความอื่นในวิกิพีเดียตามความเหมาะสม และควรทำลิงก์ไปยังบทความที่เกี่ยวข้อง
  • คุณสามารถดูวิธีการใช้หน้าพูดคุยได้ที่ วิธีใช้:สอนหน้าคุย

หัวข้อ

เลือกหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่ต้องการถามเพื่อให้ได้คำตอบที่เกี่ยวข้องที่สุด

ดูเพิ่ม

สำหรับการแปลภาษาไปเป็นภาษาอังกฤษหรือภาษาอื่น ๆ กรุณาใช้บริการแปลอัตโนมัติ เช่น กูเกิลทรานซเลต หรือ ยาฮูบาเบลฟิช

Request from a Chinese Wikipedia[แก้]

Hello there. I am a user of Wikipedia in Chinese and I am sorry that I cannot communicate with you in Thai very well. I am here to ask for your help. There was a recent controversy in our community when Sanmosa, a Chinese Wikipedia user, wrote a Chinese version of the page "Outline of the Economic Plan", in which there was a controversy over the portrayal of the political suppression of former Thai Prime Minister Piyat Manubakorn to Biri Panonrong.

See this paragraph "[...] Due to the proposal for land reform in the Yellow Book, the conservative faction in Siam opposed it, resulting in Biri Panonrong being expelled from the cabinet and politically suppressed and stigmatized as a "communist" by Piyat Manubakorn."

The point of contention here is whether accusing someone of being a "communist" was a "stigma" in the Thai context (including among the people) at the time. This is because in common usage, if the word "stigmatised" is used for a word, it generally implies that the word itself is unpleasant.

I would like to ask you to provide some insight into this source and whether it supports the accusation that "Comunist" is a "stigma" in an objective sense, or whether it is the opinion of some groups? Thanks.——WMLO (คุย) 19:38, 22 พฤษภาคม 2566 (+07)[ตอบกลับ]

Incidentally, this controversy has reached a point where it needs to be resolved by the administrators.——WMLO (คุย) 19:52, 22 พฤษภาคม 2566 (+07)[ตอบกลับ]
It's an accusation by the government of Manopakorn that Pridi's "Yellow Book" proposal constitutes a communism regime. Given that Manopakorn's government published the "White Book" that heavily criticizes the content of the Yellow Book, it is "considered a political tool to criticize and stigmatize Pridi by accusing him of pro-Communist" (as stated by the source)
I believe that since the Yellow Book was published only among the cabinet and "Khana Ratsadorn" (the revolutionary group) and the government forbids the newspaper to publish its content, the government can frame Pridi as pro-Communist and the sentiment would be acknowledged by the public at the time. It wasn't until retrospective evaluation that Pridi's proposal was viewed in a more positive manner, taking account to the attempt to maintain power of both sides of the spectrum. --39.110.214.69 20:37, 22 พฤษภาคม 2566 (+07)[ตอบกลับ]

มีนาคม 2559[แก้]

ภาษาอังกฤษวันละนิด[แก้]

ถ้าต้องการขึ้นต้นอีเมลติดต่อกับผู้บริหารชาวต่างชาติที่เป็นผู้หญิง ควรใช้คำว่า Sir หรือ Miss หรือ Madam ครับ จึงจะดูเหมาะสม และใช้ได้ทั้งแบบบริติชกับอเมริกันเลยใช่มั้ยครับ ? --B20180 (พูดคุย) 08:20, 9 มีนาคม 2559 (ICT)

ควรใช้ Ms ดีกว่า --奥虎 ボンド 13:22, 21 กุมภาพันธ์ 2560 (ICT)

ปฎิจจสมูปบาทเป็นภาษาอังกฤต[แก้]

--171.96.171.187 14:25, 27 มีนาคม 2559 (ICT)

ปฏิจจสมุปบาท หาดูภาษาอังกฤษได้ที่ https://en.wikipedia.org/wiki/Pratītyasamutpāda ซึ่งก็จะคล้ายกับการทับศัพท์นั่นเอง

--Love Krittaya (พูดคุย) 04:09, 15 กุมภาพันธ์ 2561 (ICT)

14 times his quota[แก้]

แปลว่าอะไรครับ และใช้อย่างไรครับ --Tvcccp (พูดคุย) 23:55, 8 กันยายน 2559 (ICT)

หากนำมาจากบทความ Alexey Stakhanov ซึ่งประโยคทั้งหมดเขียนว่า it was reported that he had mined a record 102 tonnes of coal in 5 hours and 45 minutes (14 times his quota). ก็จะแปลได้ว่า "มีการบันทึกว่าเขาได้ทำลายสถิติโดยการขุดถ่านหิน 102 ตัน ภายในเวลา 5 ชั่วโมง 45 นาที (ซึ่งมากกว่าเกณฑ์ที่เขาต้องขุดให้ได้กว่า 14 เท่า)"
  • 14 times คือ 14 เท่า
  • quota (โควตา) คือ เกณฑ์ที่กำหนดหรือเป้าหมายที่กำหนด --Ponpan (พูดคุย) 03:49, 9 กันยายน 2559 (ICT)

"ถึงเขาใหญ่ในน้ำง้ำชะเงื้อม พระหลบเลื่อมเลี้ยวลัดฉวัดเฉวียน" คำว่า "เลื่อม" หมายถึงสิ่งใด[แก้]

"ถึงเขาใหญ่ในน้ำง้ำชะเงื้อม พระหลบเลื่อมเลี้ยวลัดฉวัดเฉวียน" คำว่า "เลื่อม" หมายถึงสิ่งใด และมีที่มาอย่างไร

--161.200.155.234 17:44, 12 มิถุนายน 2560 (+07)[ตอบกลับ]

Fair Coin[แก้]

คำแปลของคำว่า Fair Coin (ใช้ในเรื่องความน่าจะเป็น) แปลเป็นยังไงดีครับ? --Helloblank (คุย) 11:01, 14 กรกฎาคม 2561 (ICT)

ใส่หัวข้อคำถามที่นี่คำว่า รัฐประศาสนศาสตร์เป็นคำประสมรึปล่าว ( คำสมาส หรือ คำสนธิ )และประสมคำอะไรบ้าง อย่างไร ครับ[แก้]

--171.4.250.254 10:08, 11 สิงหาคม 2561 (ICT)

ช่วยแปลฉายยาพระสงฆ์ เป็นชื่อคับ รกฺขิติส่โล แปลเป็นชื่อว่าอะไรคับ[แก้]

รกฺขิติส้โล แปลชื่อว่าอะไรคับ --ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 49.229.49.245 (พูดคุย | ตรวจ) 08:34, 19 ธันวาคม 2561 (ICT)

@49.229.49.245: แปลว่า ผู้มีศีลอันรักษาแล้ว --Geonuch (คุย) 17:25, 19 ธันวาคม 2561 (ICT)

แปลความหมาย[แก้]

คำว่า Coast Guard ควรแปลเป็น ยามฝั่ง หรือ ยามชายฝั่ง หรือครับ --ร้อยตรี โชคดี (คุย) 10:36, 29 ธันวาคม 2561 (ICT)

@ร้อยตรี โชคดี: ถ้าเป็นศัพท์บัญญัติของสำนักราชบัณฑิตสภาให้ใช้ว่า กองกำลังรักษาชายฝั่ง ครับ --Geonuch (คุย) 11:04, 29 ธันวาคม 2561 (ICT)
@Geonuch: แล้วถ้าเป็น United States Coast Guard ควรแปลเป็น กองกำลังรักษาชายฝั่งสหรัฐ ใช่ไหมครับ --ร้อยตรี โชคดี (คุย) 12:23, 29 ธันวาคม 2561 (ICT)
@ร้อยตรี โชคดี: ก็ได้ครับ เท่าที่ดูขณะนี้มีใช้หลากหลายมาก เช่น หน่วยป้องกันชายฝั่ง หน่วยยามฝั่ง หน่วยพิทักษ์ชายฝั่งทะเล ฯลฯ คุณอาจลองถามผู้เขียนที่เกี่ยวข้องในด้านการทหาร (วิกิพีเดีย:โครงการวิกิการทหาร) ดูครับ --Geonuch (คุย) 14:10, 29 ธันวาคม 2561 (ICT)

การแปล[แก้]

เนื่องด้วยผมแปลภาษาในTranslatewiki.netและบนหน้าอินเตอร์เฟสมาได้สักพักแล้ว สงสัยในศัพท์เฉพาะบางคำ อยากให้ช่วยแนะนำคำแปลคำเหล่านี้หน่อยครับ:

  • Localisation
  • Media file -> ไฟล์สื่อ
  • Freely licensed
  • Participate
  • Request account
  • Request
  • Log
  • [user]Block
  • Proxy
  • Guideline -> แนวปฏิบัติ
  • Global blocking
  • Two factor authentication
  • Global group
  • Global rights
  • [ns:] Help: -> วิธีใช้:
  • Namespace -> เนมสเปซ

ขอบคุณล่วงหน้าครับ -- Patsagorn Y.Talk | 📧 18:17, 2 เมษายน 2562 (+07) --ข้อความนี้ไม่ได้ลงชื่อ ซึ่งออกความเห็นโดยผู้ใช้ Geonuch (พูดคุยหน้าที่เขียน) 19:29, 2 เมษายน 2562 (ICT)[ตอบกลับ]

@Patsagorn Y.: คำแปลใน Translatewiki.net ไม่เกี่ยวข้องกับการต้องการใช้เครื่องมือผู้ดูแลระบบในวิกิพีเดีย ถ้าถามไม่ตรงกับวัตถุประสงค์ของหน้าอาจถูกลบได้จึงขอย้ายออกมาหน้านี้นะครับ (ขออภัยที่ไม่ได้ตอบคำถามให้) --Geonuch (คุย) 19:36, 2 เมษายน 2562 (ICT)
ผมเป็นส่วนหนึ่งที่แปลด้วยครับ บางคำก็ใช้เหมือนกับวิกิพีเดียได้ ผมเติมไว้ให้แล้วบางคำ แต่การถามที่นี่ หลายคำผมไม่ทราบบริบทว่ามันจะไปปรากฏตรงไหน แปลไปอาจจะถูกแต่ไม่เหมาะสมก็ได้ --奥虎 ボンド 08:19, 5 เมษายน 2562 (ICT)
ศัพท์ที่ใช้ในโครงการควรส่งไปถามที่สภากาแฟครับ และอาจเชิญชวนผู้ใช้จากทุกโครงการเข้าร่วมด้วย ทั้งนี้ ไม่เกี่ยงว่าจะถามในโครงการไหน จะถามในเมทาก็ได้ --Horus (พูดคุย) 18:46, 6 เมษายน 2562 (ICT)

ขอทราบคำแปล[แก้]

สวัสดีครับ ขอสอบถามในบริบทคอมพิวเตอร์ ซึ่งกล่าวถึงการเขียนโค้ดกราฟิก (en:Help:EasyTimeline syntax)

"Defines the orientation of the time axis, and textual representation of stubs along that axis."

คำว่า "textual" และ "stub" ในกรณีนี้ แปลว่าอะไรครับ ขอบคุณครับ --Wedjet (คุย) 17:02, 15 พฤษภาคม 2562 (ICT)

"เนื่องด้วยพระนาม"[แก้]

วลี "เนื่องด้วยพระนาม" หมายความถึงสิ่งที่ได้ชื่อตามชื่อของบุคคลหรือเปล่าครับ ถ้าไม่ใช่ จะใช้วลีใดแทนได้ครับ --Wedjet (คุย) 21:46, 19 กันยายน 2562 (+07)[ตอบกลับ]

System administrators vs. Administrators[แก้]

อยากทราบว่า system administrators ในบริบทของวิกิมีเดียควรแปลเป็นภาษาไทยว่าอะไร โดยไม่ให้ซ้ำซ้อนกับ administrators ที่ขณะนี้ใช้คำว่า "ผู้ดูแลระบบ" ครับ

ถ้าเห็นว่าควรอภิปรายในหน้าใด ๆ สามารถดำเนินเรื่องได้นะครับ แต่ผมไม่สะดวกในขณะนี้

--Geonuch (คุย) 20:54, 18 พฤษภาคม 2563 (+07)[ตอบกลับ]

Black Lives Matter Logo in different languages[แก้]

Please help to translate the Black Lives Matter Logo for this wikipedia.
Follow this Link to get to the request. Thank you --Mrmw (คุย) 00:37, 8 มิถุนายน 2563 (+07)[ตอบกลับ]

สอบถามเกี่ยวกับบางคำใน ORES[แก้]

ORES เป็นเครื่องมือใหม่สำหรับการตรวจตราความเปลี่ยนแปลง ลองใช้งานได้ที่ วิกิสนเทศ และผมแปลอินเตอร์เฟซที่ [1] แล้วอยากสอบถามว่าระดับต่าง ๆ ของการเปลี่ยนแปลงควรแปลอย่างไร เช่น Likely good, Very likely good ฯลฯ — 𝙋𝙖𝙩𝙨𝙖𝙜𝙤𝙧𝙣 𝙔.ᴛᴀʟᴋ 19:20, 28 มิถุนายน 2563 (+07)[ตอบกลับ]

ชื่อของโครงการใหม่: 'Wikilambda' และ 'Abstract Wikipedia'[แก้]

โครงการทั้งคู่เพิ่งถูกตั้งขึ้นใหม่ ดูรายละเอียดที่Wikilambda and Abstract Wikipedia อยากทราบว่าควรเรียกชื่อในภาษาไทยเช่นไรครับ

  • Abstract Wikipedia --> วิกินามธรรม?
  • Wikilambda --> วิกิแลมบ์ดา?

ที่ต้องสอลถามเพื่อจะได้นำไปแปลในสารนี้ แต่หากยืดเยื้ออาจใช้การถ่ายเสียงรอไปก่อนนะครับ ขอบคุณครับ — 𝙋𝙖𝙩𝙨𝙖𝙜𝙤𝙧𝙣 𝙔.ᴛᴀʟᴋ 00:07, 3 กรกฎาคม 2563 (+07)[ตอบกลับ]

ส่วนตัวผมเห็นด้วยกับชื่อที่เสนอมาครับ แต่ผมริดว่าวิกินามธรรมควรเป็น “วิกิพีเดียนามธรรม” หรือเปล่า เพราะในชื่อเป็น Abstract Wikipedia ไม่ใช่ลักษณะของ WikiAbstract ครับ —Chainwit. (คุย) 00:53, 3 กรกฎาคม 2563 (+07)[ตอบกลับ]
โครงการใหม่นี้หลักการก็คือ multilingual wiki อาจจะหาคำแปลที่สามารถอธิบายในความหมายนี้เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจง่ายก็ได้ครับ --Siam2019 (คุย) 10:00, 3 กรกฎาคม 2563 (+07)[ตอบกลับ]
@Horus และ B20180: ไม่ทราบว่าเวลาตั้งชื่อโครงการใหม่ของวิกิมีเดียต้องดำเนินการแบบที่ m:Wikimedians in Thailand/Wikimedia project names in Thai หรือเปล่าครับ --Geonuch (คุย) 12:23, 3 กรกฎาคม 2563 (+07)[ตอบกลับ]
แล้วแต่ครับ แต่ก็ดีตรงที่ทุกคนจะได้มีสิทธิมีเสียง เป็นที่รับรู้สำหรับชุมชน --B20180 (คุย) 19:30, 3 กรกฎาคม 2563 (+07)[ตอบกลับ]
ให้ชุมชนร่วมตัดสินดีกว่าครับ จะได้ไม่มีคนมาเปลี่ยนกลับไปกลับมา --Horus (พูดคุย) 19:32, 3 กรกฎาคม 2563 (+07)[ตอบกลับ]
FYI, ชื่อ Abstract Wikipedia ยังไม่ชื่อทางการครับ[1] ทางภาษาไทยอาจตั้งชื่อโดยอิงจุดประสงค์ไปเลยโดยไม่ต้องอิงภาษาอังกฤษก็ได้นะครับ — Patsagorn Y. talk 14:01, 4 กรกฎาคม 2563 (+07)[ตอบกลับ]

  1. abstract-wikipedia/2020-July/000001 ใน abstract-wikipedia mailing list

แปลข้อความ Articles for creation[แก้]

สวัสดีครับ อยากทราบว่า Articles for creation ควรแปลเป็นข้อความภาษาไทยให้สละสลวยและเข้าใจได้ง่ายว่าอย่างไร ขอบคุณครับ

--Geonuch (คุย) 14:34, 9 สิงหาคม 2563 (+07)[ตอบกลับ]

ศัพท์บัญญัติในทางภาษาศาสตร์[แก้]

ในทางภาษาศาสตร์ มีการแปลคำต่อไปนี้ว่าอย่างไรบ้างครับ

  • (en) wikt:en:Lexeme – หรือแปลว่า หน่วยศัพท์?
  • (en) wikt:en:Sense – คล้าย ๆ คำพ้องรูปหรือไม่? หรือแปลว่า ความหมายในคำพ้อง?
  • (en) wikt:en:Form – ???

ทั้งหมดนี้ถูกใช้อยู่บนวิกิสนเทศครับ ในส่วนข้อมูลแบบ Lexeme —𝙋𝙖𝙩𝙨𝙖𝙜𝙤𝙧𝙣 𝙔. talk 17:36, 2 ตุลาคม 2563 (+07)[ตอบกลับ]

  • Lexeme – หน่วยศัพท์ คือหน่วยที่เป็นตัวแทนของคำหรือวลีต่าง ๆ ที่มีความหมายเดียวกัน แต่คำเหล่านั้นมีรูปต่างกันไปตามการผันหรือการกระจาย
  • Sense – นัย คือความหมายต่าง ๆ
  • Form – รูป คือรูปที่แตกต่างกันไปตามการผันหรือการกระจายของหน่วยศัพท์เดียวกัน เช่น รูปพหูพจน์, รูปกริยากลาง (infinitive)
--Potapt (คุย) 06:52, 4 ตุลาคม 2563 (+07)[ตอบกลับ]
ขอบคุณมากครับ (人*´∀`)。*゚+ —𝙋𝙖𝙩𝙨𝙖𝙜𝙤𝙧𝙣 𝙔. talk 20:31, 4 ตุลาคม 2563 (+07)[ตอบกลับ]

Mass murder กับ Massacre แปลเป็นภาษาไทยได้ต่างกันอย่างไร[แก้]

เนื่องจากบน enwiki มีสองคำนี้แยกกันสองบทความ, สองหมวดหมู่ จึงขอสอบถามเพื่อนำไปใช้ในการเชื่อมโยงหน้าจากวิกิไทยไปอังกฤษครับ เช่น ตอนนี้หน้า หมวดหมู่:การสังหารหมู่ ลิงค์กับ en:Category:Mass murder แต่ หมวดหมู่:การสังหารหมู่แบ่งตามประเทศ ลิงค์กับ en:Category:Massacres by country

Chainwit. (คุย) 02:31, 3 ธันวาคม 2563 (+07)[ตอบกลับ]

  1. ที่จริงมีอีกคำหนึ่งที่เกี่ยวข้องและน่าจะพิจารณาไปพร้อมกัน คือ en:mass killing ค่ะ
  2. เท่าที่ค้นจากกูเกิล พบการใช้งานดังนี้เป็นต้น
    1. today.line เรียก mass murder ว่า ฆาตกรรมหมู่
    2. bottomlineis.co เรียก mass murder ว่า ฆาตกรรมหมู่
    3. khuankalong.org เรียก mass murder ว่า (การ)ฆ่าคนจำนวนมาก
    4. bjsmallworld เรียกทั้ง mass murder และ mass killing ว่า การฆ่ากันเป็นเบือ ฟังแล้วเห็นภาพดี แต่อาจเป็นภาษาปาก
  3. massacre ดูจะนิยมแปลว่า การสังหารหมู่ แล้ว ส่วน mass murder แปลว่า ฆาตกรรมหมู่ ตามข้างต้น ก็ตรงกับตัวศัพท์ต้นทางดี และสอดคล้องกับนิยามดี (เช่น ดิกต์อ็อกซ์ฟอร์ด นิยาม mass murder ว่า The murder of a large number of people) ขณะที่ mass killing อาจแปลว่า การฆ่าหมู่(?) เพราะราชบัณฑิตฯ บัญญัติ killing ว่า การฆ่า (ส่วน murder บัญญัติว่า การฆ่าคน)
--Miwako Sato (คุย) 06:02, 3 ธันวาคม 2563 (+07)[ตอบกลับ]
ถ้าอย่างนั้นผมขอใช้เป็น mass murder = ฆาตกรรมหมู่ / massacre = สังหารหมู่ นะครับ ขอบคุณมากครับ —Chainwit. (คุย) 23:25, 3 ธันวาคม 2563 (+07)[ตอบกลับ]

"เพลงโฟลก์" กับ "เพลงพื้นเมือง" ต่างกันอย่างไรครับ?[แก้]

เนื่องจากผมเห็นว่าในวิกิพีเดียไทยมีการแยกหน้าทั้งสองออกจากกัน แต่ยังมีการโยงหมวดหมู่โดยใช้ทั้ง "เพลงโฟล์ก" และ "เพลงพื้นบ้าน" สลับกันไปมา เช่น

ทําให้ผมสับสนครับ เบื้องต้นผมได้พยายามหานิยามจากพจนานุกรมออนไลน์ ได้ความดังนี้ครับ

พจนานุกรมเมเรียม–เวบสเตอร์ ให้นิยามว่า "เพลงที่แต่งขึ้น หรือ [ร้อง] สืบต่อกันมา โดยมีเอกลักษณ์ที่ความเรียบง่ายของรูปแบบห้องเพลง ท่วงทํานอง หรือเนื้อเพลง"

พจนานุกรมเคมบริดจ์ ให้นิยามว่า "เพลงที่สืบต่อกันมาในท้องถื่นหนึ่ง หรือเพลงสมัยใหม่ ส่วนใหญ่บรรเลงโดยใช้กีตาร์ ที่แต่งขึ้นในรูปแบบใกล้เคียงกับดนตรีแบบดั่งเดิม"

และ พจนานุกรมคอลลิน ให้นิยามว่า "เพลงที่สืบต่อกันมาในท้องถื่นหรือชนชาติหนึ่ง"

ปล. ถ้าผมเข้าใจอะไรผิดก็ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยครับ --ชาวไทย (คุย) 15:00, 7 ธันวาคม 2563 (+07)[ตอบกลับ]

อันนี้ผมว่าน่าจะเป็นเรื่องของการเลือกทับศัพท์ไม่ทับศัพท์มากกว่าครับ ความหมายระหว่างสองคำนี้ไม่ต่างกันเท่าไหร่ -Thas (คุย) 20:50, 21 ธันวาคม 2563 (+07)[ตอบกลับ]
พจนานุกรมศัพท์ดนตรีสากล ฉบับราชบัณฑิตยสภา บัญญัติศัพท์ folk song ว่า "เพลงพื้นบ้าน, เพลงพื้นเมือง" และบัญญัติศัพท์ folk music ว่า "ดนตรีพื้นบ้าน, ดนตรีพื้นเมือง" ส่วนศัพท์ traditional music ไม่มีในพจนานุกรม ถ้าจะแยกหมวดหมู่กันก็น่าจะแปลว่า "ดนตรีดั้งเดิม" มากกว่าครับ --Potapt (คุย) 21:49, 21 ธันวาคม 2563 (+07)[ตอบกลับ]

สวัสดีครับ ผมไม่แน่ใจว่า ในส่วนของ "Defenders" ที่แม่แบบ:กล่องข้อมูล การโจมตีพลเรือน‎ ควรใช้เป็น "ผู้ป้องกัน" หรือ "จำเลย" ดี ขอบคุณครับ --B20180 (คุย) 12:44, 11 มีนาคม 2564 (+07)[ตอบกลับ]

ภาษาวิกิคืออะไรหรอครับมีประวัติอย่างไร มีรากฐานมาจากภาษาคอมพิวเตอร์ใดครับ[แก้]

--BKei1234 (คุย) 10:32, 26 สิงหาคม 2564 (+07)BKei1234[ตอบกลับ]
@BKei1234: ไม่ทราบว่าถูกหัวเรื่องหรือไม่ แต่เข้าใจว่าหมายถึงข้อความวิกิซึ่งเป็น markup language แบบหนึ่ง ไม่ได้มีรากฐานมาจากอะไรโดยเฉพาะ โดยเป็นการผสมหลายอย่างเข้าด้วยกัน แล้วใช้ PHP แปลงเป็น xml จากนั้นจึงแปลงเป็น HTML ครับ ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ en:WP:Wikitext𝙋𝙖𝙩𝙨𝙖𝙜𝙤𝙧𝙣 𝙔? | ในเพศชายทุก ๆ 12 คนและในเพศหญิงทุก ๆ 200 คน จะอ่านข้อความนี้ได้ยาก 10:43, 26 สิงหาคม 2564 (+07)[ตอบกลับ]
@BKei1234: จะว่าไปมีหน้าอธิบายในภาษาไทยนะครับ จะเข้าใจได้เร็วกว่าหากอยากศุึกษาเพิ่ม วิธีใช้:การจัดรูปแบบวิกิ --NP-chaonay (คุย) 12:28, 26 สิงหาคม 2564 (+07)[ตอบกลับ]