ฤดูพายุไซโคลนมหาสมุทรอินเดียเหนือ พ.ศ. 2561

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ฤดูพายุไซโคลนมหาสมุทรอินเดียเหนือ พ.ศ. 2561
แผนที่สรุปฤดูกาล
ขอบเขตฤดูกาล
ระบบแรกก่อตัว13 มีนาคม พ.ศ. 2561
ระบบสุดท้ายสลายตัว18 ธันวาคม พ.ศ. 2561
พายุมีกำลังมากที่สุด
ชื่อเมกูนู
 • ลมแรงสูงสุด175 กม./ชม. (110 ไมล์/ชม.)
(เฉลี่ย 3 นาที)
 • ความกดอากาศต่ำที่สุด960 hPa (มิลลิบาร์)
สถิติฤดูกาล
พายุดีเปรสชัน14 ลูก
พายุดีเปรสชันหมุนเร็ว9 ลูก
พายุไซโคลน7 ลูก
พายุไซโคลนกำลังแรง5 ลูก
พายุไซโคลนกำลังแรงมาก3 ลูก
พายุซูเปอร์ไซโคลน0 ลูก
ผู้เสียชีวิตทั้งหมด329 คน
ความเสียหายทั้งหมด3.125 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
(ค่าเงิน USD ปี 2018)
ฤดูพายุไซโคลนมหาสมุทรอินเดียเหนือ
2559, 2560, 2561, 2562, 2563

ฤดูพายุไซโคลนมหาสมุทรอินเดีย พ.ศ. 2561 คือรอบของพายุหมุนเขตร้อน ที่มีการก่อตัวในมหาสมุทรอินเดียเหนือ ซึ่งไม่มีการกำหนดฤดูอย่างเป็นทางการ แต่พายุไซโคลนมีแนวโน้มก่อตัวระหว่างเดือนเมษายนถึงธันวาคม โดยมีอัตราสูงที่สุดตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงพฤศจิกายน

ขอบเขตของบทความนี้จะถูกจำกัดอยู่ในมหาสมุทรอินเดียที่อยู่ในซีกโลกเหนือ ทางทิศตะวันออกของจะงอยแอฟริกาและทางทิศตะวันตกของคาบสมุทรมลายู โดยมีสองทะเลหลักอยู่ในมหาสมุทรอินเดียเหนือ คือ ทะเลอาหรับ ไปทางตะวันตกของอนุทวีปอินเดีย ถูกเรียกอย่างย่อว่า ARB โดยกรมอุตุนิยมวิทยาอินเดีย (IMD); และอ่าวเบงกอล ไปทางตะวันออก เรียกอย่างย่อว่า BOB โดย IMD

ผู้ที่รับผิดชอบอย่างเป็นทางการในแอ่งนี้ตามศูนย์อุตุนิยมวิทยาชำนัญพิเศษประจำภูมิภาค คือ กรมอุตุนิยมวิทยาอินเดีย (IMD) ขณะที่ศูนย์ร่วมการเตือนภัยไต้ฝุ่นจะออกคำเตือนอย่างไม่เป็นทางการในภูมิภาคนี้ โดยเฉลี่ยแล้วแอ่งนี้จะมีพายุก่อตัว 4-6 ลูกในทุกฤดูกาล[1][2]

พายุไซโคลนกำลังแรงมาก (ลูบัน และ ติตลี) เหนือทะเลอาหรับและอ่าวเบงกอลในเดือนตุลาคม 2561 เป็นครั้งแรกที่มีพายุไซโคลนเกิดขึ้นพร้อมกันสองลูกในอ่าวแบงกอลและทะเลอาหรับ นับตั้งแต่การเริ่มบันทึกเมื่อปี 2503

ภาพรวมฤดูกาล[แก้]

มาตราพายุหมุนเขตร้อนในมหาสมุทรอินเดียเหนือ (IMD)
  พายุดีเปรสชัน (≤51 กม./ชม.)   พายุไซโคลนกำลังแรงมาก (118–165 กม./ชม.)
  พายุดีเปรสชันหมุนเร็ว (52–61 กม./ชม.)   พายุไซโคลนกำลังแรงอย่างมาก (166–221 กม./ชม.)
  พายุไซโคลน (62–87 กม./ชม.)   พายุซูเปอร์ไซโคลน (>222 กม./ชม.)
  พายุไซโคลนกำลังแรง (88–117 กม./ชม.)

พายุ[แก้]

พายุดีเปรสชัน เออาร์บี 01[แก้]

ดีเปรสชัน (IMD)
ระยะเวลา 13 – 15 มีนาคม
ความรุนแรง 45 กม./ชม. (30 ไมล์/ชม.) (3 นาที)
1006 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.71 นิ้วปรอท)

พายุไซโคลนสาคร[แก้]

พายุไซโคลน (IMD)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 16 – 20 พฤษภาคม
ความรุนแรง 85 กม./ชม. (50 ไมล์/ชม.) (3 นาที)
994 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.35 นิ้วปรอท)

วันที่ 16 พฤษภาคม หย่อมความกดอากาศต่ำก่อตัวขึ้นในอ่าวเอเดน และทวีกำลังขึ้นเป็นพายุดีเปรสชัน และได้รับรหัสเรียกว่า ARB 02[3] ในวันถัดมา ระบบพายุทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุไซโคลน และได้รับชื่อว่า สาคร[4] ในวันที่ 18 พฤษภาคม ระบบได้ทวีกำลังแรงขึ้นและเริ่มจัดระบบเป็นพายุไซโคลนขนาดเล็กได้ และมีลักษณะของตาอย่างหยาบ ๆ[5] ภายใต้อิทธิพลของร่องความกดอากาศต่ำที่ทอดตัวอยู่เหนือทะเลอาหรับ พายุไซโคลนจึงเคลื่อนตัวไปทางตะวันตกเฉียงใต้ และขึ้นฝั่งประเทศโซมาเลียในระหว่างเวลา 13:30 ถึง 14:30 (เวลามาตรฐานอินเดีย) ในวันที่ 19 พฤษภาคม[6]

ตอนเหนือของพายุสาครทำให้เกิดฝนตกหนักและก่อให้เกิดน้ำท่วมเล็กน้อยในเมืองชายฝั่งของเยเมน[7] ในเอเดน เมืองหลวงชั่วคราวของเยเมนถูกโจมตีโดยลมพัดแรงเมื่อพายุไซโคลนสาครเคลื่อนไปถึง กระตุ้นให้เจ้าหน้าที่รัฐต้องประกาศอพยพผู้อาศัยในพื้นที่ใกล้ชายฝั่งในเมืองท่าทางใต้[8] สาครยังทำให้เกิดฝนตกหนักในพื้นที่ชายฝั่งของเยเมน ในจังหวัดฮัดรามาวต์ จังหวัดมะห์รา และเกาะโซโคตรา ลมแรงในฮัดรามาวต์และมะห์ราสร้างความเสียหายให้กับบ้านเรือนและเกิดปัญหาไฟฟ้าดับมากมาย[9] และทำให้มีผู้เสียชีวิต 79 คน ในจำรวนนี้ 23 คนมาจากเหตุดินถล่มในเอธิโอเปีย[10][11] ก่อนที่สาครจะเป็นพายุไซโคลน ท่าเรือสำคัญ ๆ ในแนวชายฝั่งรัฐคุชราตต่างขึ้นสัญญาณเตือนระดับ 2 แม้การพยากรณ์จะคาดว่าพายุจะไม่ส่งผลกระทบกับอินเดีย

พายุไซโคลนกำลังแรงอย่างมากเมกูนู[แก้]

พายุไซโคลนกำลังแรงอย่างมาก (IMD)
พายุไซโคลนเขตร้อนระดับ 3 (SSHWS)
ระยะเวลา 21 – 27 พฤษภาคม
ความรุนแรง 175 กม./ชม. (110 ไมล์/ชม.) (3 นาที)
960 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 28.35 นิ้วปรอท)

พายุดีเปรสชันหมุนเร็ว บีโอบี 01[แก้]

ดีเปรสชันหมุนเร็ว (IMD)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 29 – 30 พฤษภาคม
ความรุนแรง 55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (3 นาที)
990 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.23 นิ้วปรอท)

หย่อมความกดอากาศต่ำก่อตัวขึ้นทางตะวันออกเฉียงเหนือของอ่าวเบงกอลในวันที่ 28 พฤษภาคม มันถูกจัดให้เป็นหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงโดยกรมอุตุนิยมวิทยาอินเดียในวันที่ 29 พฤษภาคม เนื่องมาจากสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ระบบได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุดีเปรสชันในวันเดียวกัน และได้รับรหัสเรียกจากกรมอุตุนิยมวิทยาอินเดียว่า BOB 01 และยังทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุดีเปรสชันหมุนเร็วในวันเดียวกันเลย และได้พัดขึ้นชายฝั่งประเทศพม่า ใกล้เมืองเจาะปยู พายุทำให้เกิดฝนตกหนักในพม่าและบังกลาเทศ และมีรายงานน้ำท่วมเล็กน้อยในบางสถานที่

กรมอุตุนิยมวิทยาและอุทกวิทยาพม่าได้ออกประกาศเตือนภัยฉุกเฉินรหัสสีแดงในวันอังคาร ก่อนที่พายุจะพัดขึ้นฝั่ง[12] ลมแรงและฝนตกหนักทำลายบ้านเรือนกว่า 500 หลังในเมืองชเวปยีตา ในภาคย่างกุ้งของพม่า ลมที่พัดแรงทำให้ต้นไม้หักโค่นและทำลายบ้านเรือนหลายหลัง และตัดขาดกระแสไฟฟ้าที่ส่งเข้าไปในเมือง[13] แหล่งพักพิงชั่วคราวถูกจัดเตรียมไว้เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ประสบภัยที่ไร้บ้าน ในวันเดียวกัน ฝนตกหนักและลมแรงยังถอนรากถอนโคนต้นไม้ในเมืองมาวบี และเมืองดากองมโยทิ[14] และหน่วยงานท้องถิ่นได้ระงับการเดินเรือนของอานกูมา-ซีตเวเป็นเวลาสามวัน[15]

พายุดีเปรสชัน บีโอบี 02[แก้]

ดีเปรสชัน (IMD)
ระยะเวลา 10 มิถุนายน
ความรุนแรง 45 กม./ชม. (30 ไมล์/ชม.) (3 นาที)
989 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.21 นิ้วปรอท)

หย่อมความกดอากาศต่ำก่อตัวขึ้นในอ่าวเบงกอลเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน เนื่องจากสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม และระบบได้ถูกจัดเป็นพายุดีเปรสชันในวันที่ 10 มิถุนายน ดังนั้น กรมอุตุนิยมวิทยาอินเดีย จึงจัดพายุเป็น พายุดีเปรสชัน BOB 02 ถัดมาในวันเดียวกัน ระบบได้เคลื่อนตัวขึ้นชายฝั่งในบังกลาเทศ ใกล้เมืองเฟนี ก่อนจะอ่อนกำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรง

พายุทำให้เกิดฝนตกหนักในรัฐโอฑิศาและเบงกอลตะวันตก และบางส่วนของบังกลาเทศมีฝนตกอย่างหนักมาก เนื่องจากมันช่วยกระตุ้นมรสุม สภาพอากาศได้ส่งผลกระทบกับในภาคการเดินเรือภายในอ่าวเหนือ และพื้นที่ชายฝั่งทะเลที่ติดกับบังกลาเทศ ท่าเรือของจิตตะกอง ได้แก่ ท่าเรือค็อกซ์ บาซาร์ ท่าเรือมองลา และท่าเรือไพรา ได้รับการแนะนำให้ติดสัญญาณเตือนท้องถิ่นในระดับ 3 ไว้ ในเมืองปาเทงกา มีปริมาณน้ำฝนสะสมภายในสองวันที่บันทึกได้ 150 มม.

พายุดีเปรสชัน บีโอบี 03[แก้]

ดีเปรสชัน (IMD)
ระยะเวลา 21 – 23 กรกฎาคม
ความรุนแรง 45 กม./ชม. (30 ไมล์/ชม.) (3 นาที)
989 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.21 นิ้วปรอท)

พายุดีเปรสชัน บีโอบี 04[แก้]

ดีเปรสชัน (IMD)
ระยะเวลา 7 – 8 สิงหาคม
ความรุนแรง 45 กม./ชม. (30 ไมล์/ชม.) (3 นาที)
992 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.29 นิ้วปรอท)

วันที่ 7 สิงหาคม พายุดีเปรสชันก่อตัวขึ้นทางตะวันตกเฉียงเหนือของอ่าวเบงกอล โดยกรมอุตุนิยมวิทยาอินเดียได้กำหนดรหัสเรียกว่า BOB 04 ระบบพายุทำให้มีฝนตกหนักในรัฐโอฑิศาและด้านตะวันตกของรัฐเบงกอลตะวันตก เมืองบันกุระในรัฐเบงกอลตะวันตกมีปริมาณน้ำฝนสะสมภายใน 24 ชั่วโมงถึง 404 มม. ทำให้เกิดน้ำท่วมขึ้นในพื้นที่ เมืองบันกุระได้รับผลกระทบอย่างหนัก บ้านเรือนหลายหลังถูกทำลาย นอกจากนี้ ในเมืองปุริในรัฐโอฑิศายังมีปริมาณน้ำฝนสะสมถึง 394 มม. ขณะที่นครภูบาเนสวาร์มีปริมาณน้ำฝนที่ 178 มม. ในวันที่ 8 สิงหาคม พายุดีเปรสชันอ่อนกำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำ และเคลื่อนไปปกคลุมเหนือแถบตอนเหนือของรัฐฉัตตีสครห์

พายุดีเปรสชัน บีโอบี 05[แก้]

ดีเปรสชัน (IMD)
ระยะเวลา 15 – 17 สิงหาคม
ความรุนแรง 45 กม./ชม. (30 ไมล์/ชม.) (3 นาที)
994 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.35 นิ้วปรอท)

พายุดีเปรสชันหมุนเร็ว บีโอบี 06[แก้]

ดีเปรสชันหมุนเร็ว (IMD)
ระยะเวลา 6 – 7 กันยายน
ความรุนแรง 55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (3 นาที)
990 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.23 นิ้วปรอท)

พายุไซโคลนดะแย[แก้]

พายุไซโคลน (IMD)
พายุไซโคลน (TMD)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 19 – 22 กันยายน
ความรุนแรง 70 กม./ชม. (45 ไมล์/ชม.) (3 นาที)
992 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.29 นิ้วปรอท)

วันที่ 19 กันยายน พายุดีเปรสชันก่อตัวขึ้นทางตะวันออกของอ่าวเบงกอล และได้รับรหัสเรียกว่า BOB 07 ในไม่ช้า ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมก็ได้ออกการแจ้งเตือนการก่อตัวของพายุหมุนเขตร้อน (TCFA) ตามมา ต่อมาในวันที่ 20 กันยายน พายุทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุดีเปรสชันหมุนเร็วทางตะวันตกของอ่าวเบงกอล พายุยังทวีกำลังแรงขึ้นอีก และกลายเป็นพายุไซโคลนดะแย ในขณะที่มันอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของอ่าวเบงกอล

พายุไซโคลนกำลังแรงมากลูบัน[แก้]

พายุไซโคลนกำลังแรงมาก (IMD)
พายุไซโคลน (TMD)
พายุไซโคลนเขตร้อนระดับ 1 (SSHWS)
ระยะเวลา 6 – 15 ตุลาคม
ความรุนแรง 140 กม./ชม. (85 ไมล์/ชม.) (3 นาที)
976 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 28.82 นิ้วปรอท)
  • วันที่ 6 ตุลาคม พายุดีเปรสชันก่อตัวขึ้นในทะเลอาหรับ โดยกรมอุตุนิยมวิทยาอินเดียได้ให้รหัสเรียกว่า เออาร์บี 04 (ARB 04)
  • วันที่ 7 ตุลาคม พายุดีเปรสชันทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุดีเปรสชันหมุนเร็ว ขณะที่ระบบกำลังมุ่งหน้าไปทางด้านตะวันตก
  • วันที่ 8 ตุลาคม ระบบพายุทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุไซโคลน และได้รับชื่อ ลูบัน (Luban)

พายุไซโคลนกำลังแรงมากติตลี[แก้]

พายุไซโคลนกำลังแรงมาก (IMD)
พายุไซโคลน (TMD)
พายุไซโคลนเขตร้อนระดับ 2 (SSHWS)
ระยะเวลา 8 – 13 ตุลาคม
ความรุนแรง 150 กม./ชม. (90 ไมล์/ชม.) (3 นาที)
970 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 28.64 นิ้วปรอท)
  • วันที่ 8 ตุลาคม หย่อมความกดอากาศได้พัฒนาตัวขึ้นเป็นพายุดีเปรสชันกลางอ่าวเบงกอล โดยกรมอุตุนิยมวิทยาอินเดียให้รหัสเรียกว่า บีโอบี 08 (BOB 08) ต่อมาพายุดีเปรสชันทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุดีเปรสชันหมุนเร็ว
  • วันที่ 9 ตุลาคม พายุดีเปรสชันหมุนเร็ว บีโอบี 08 ทวีกำลังขึ้นเป็นพายุไซโคลน และได้รับชื่อว่า ติตลี (Titli)
  • วันที่ 11 ตุลาคม เวลาประมาณ 23:00–00:00 UTC พายุติตลีขึ้นฝั่งใกล้กับเมืองพาลาสา รัฐอานธรประเทศ ขณะมีกำลังแรงสูงสุด

พายุไซโคลนกำลังแรงคชะ[แก้]

พายุไซโคลนกำลังแรง (IMD)
พายุไซโคลน (TMD)
พายุไซโคลนเขตร้อนระดับ 1 (SSHWS)
ระยะเวลา 10 – 20 พฤศจิกายน
ความรุนแรง 110 กม./ชม. (70 ไมล์/ชม.) (3 นาที)
992 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.29 นิ้วปรอท)
  • วันที่ 5 พฤศจิกายน หย่อมความกดอากาศต่ำก่อตัวขึ้นในอ่าวไทย
  • วันที่ 8 พฤศจิกายน ระบบนั้นเคลื่อนตัวข้ามภาคใต้และคาบสมุทรมลายูลงไปในทะเลอันดามัน
  • วันที่ 10 พฤศจิกายน ระบบได้มีการจัดระบบ และทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุดีเปรสชันในอ่าวเบงกอล
  • วันที่ 11 พฤศจิกายน กรมอุตุนิยมวิทยาอินเดียกำหนดรหัสเรียกให้พายุดีเปรสชันว่า บีโอบี 09 (BOB09) หลังจากนั้นศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมได้ออกประกาศการแจ้งเตือนการก่อตัวของพายุหมุนเขตร้อนตามมา ต่อมาพายุดีเปรสชันหมุนเร็วทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุไซโคลน และได้รับชื่อว่า คชะ (Gaja)

พายุไซโคลนกำลังแรงเพทาย[แก้]

พายุไซโคลนกำลังแรง (IMD)
พายุไซโคลน (TMD)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 13 – 18 ธันวาคม
ความรุนแรง 100 กม./ชม. (65 ไมล์/ชม.) (3 นาที)
993 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.32 นิ้วปรอท)

ชื่อพายุ[แก้]

ภายในแอ่งนี้ พายุหมุนเขตร้อนจะมีชื่อเมื่อมีความรุนแรงในระดับพายุไซโคลน มีความเร็วลม 65 กม./ชม. (40 ไมล์/ชม.) เป็นชื่อที่คัดเลือกโดยสมาชิกขององค์คณะพายุหมุนเขตร้อนของคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและแปซิฟิก (ESCAP)/องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (WMO) โดยศูนย์อุตุนิยมวิทยาชำนัญพิเศษประจำภูมิภาคในนิวเดลี ได้มีการเริ่มต้นกำหนดชื่อในเดือนกันยายน ปี พ.ศ. 2547 ชื่อในแอ่งนี้ไม่มีการถอดถอนชื่อพายุหมุนเขตร้อน เนื่องจากรายการชื่อเป็นเพียงการกำหนดไว้ใช้เพียงครั้งเดียว ก่อนที่จะร่างรายชื่อใหม่ขึ้นมาทดแทน ถ้าหากมีพายุจากแอ่งมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกเคลื่อนเข้ามา ก็จะใช้ชื่อเดิมที่มากับตัวพายุ รายชื่อต่อไปนี้เป็นรายชื่อหกลำดับถัดมาจากที่ใช้เมื่อฤดูกาลก่อน

  • สาคร
  • เมกูนู
  • ดะแย
  • ลูบัน
  • ติตลี
  • คชะ
  • เพทาย

ผลกระทบ[แก้]

ตารางนี้แสดงรายการพายุทั้งหมดที่เกิดขึ้นทางตอนเหนือของมหาสมุทรอินเดีย ในช่วงปี พ.ศ. 2561 ซึ่งจะระบุชื่อของพายุ, วันที่พายุเริ่มก่อตัว, ความรุนแรง (ตามสเกลของ IMD), ข้อมูลพื้นฐานของพายุ, พื้นที่ได้รับผลกระทบ และความเสียหายที่เกิดจากพายุ โดยตัวเลขที่แสดงความเสียหายจะถูกระบุเป็นค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ ปี ค.ศ. 2018 และความเสียหาย การสูญเสียจากพายุ จะนับตั้งแต่พายุเริ่มรวมตัวจนถึงพายุถึงความรุนแรงสูงสุด

ชื่อ วันที่ ระดับความรุนแรง ความเร็วลม ความกดอากาศ พื้นที่ผลกระทบ ความเสียหาย
(USD)
เสียชีวิต อ้างอิง
เออาร์บี 01 13 – 15 มีนาคม พายุดีเปรสชัน 45 กม./ชม. 1006 hPa (29.71 นิ้วปรอท) อินเดีย อินเดียตอนใต้
มัลดีฟส์ มัลดีฟส์
ไม่มี ไม่มี
สาคร 16 – 20 พฤษภาคม พายุไซโคลน 85 กม./ชม. 994 hPa (29.35 นิ้วปรอท) เยเมน เยเมน
จะงอยแอฟริกา
&000000003000000000000030 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 79 [16][11][17]
เมกูนู 21 – 27 พฤษภาคม พายุไซโคลนกำลังแรงอย่างมาก 175 กม./ชม. 960 hPa (28.35 นิ้วปรอท) เยเมน เยเมน
โอมาน โอมาน
ซาอุดีอาระเบีย ซาอุดีอาระเบีย
&0000000400000000000000400 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 31 [18][19][20]
บีโอบี 01 29 – 30 พฤษภาคม พายุดีเปรสชันหมุนเร็ว 55 กม./ชม. 990 hPa (29.23 นิ้วปรอท) ประเทศพม่า พม่า ไม่มี 5 [21]
บีโอบี 02 10 – 11 มิถุนายน พายุดีเปรสชัน 45 กม./ชม. 989 hPa (29.20 นิ้วปรอท) บังกลาเทศ บังกลาเทศ ไม่มี ไม่มี
บีโอบี 03 21 – 23 มิถุนายน พายุดีเปรสชัน 45 กม./ชม. 989 hPa (29.20 นิ้วปรอท) อินเดีย อินเดีย
อินเดียตะวันออก
อินเดียเหนือ
ไม่ทราบ 69
บีโอบี 04 7 – 8 สิงหาคม พายุดีเปรสชัน 45 กม./ชม. 992 hPa (29.29 นิ้วปรอท) อินเดีย อินเดีย (—อินเดียตะวันออก) ไม่มี ไม่มี
บีโอบี 05 15 – 17 สิงหาคม พายุดีเปรสชัน 45 กม./ชม. 994 hPa (29.35 นิ้วปรอท) อินเดีย อินเดีย
—อินเดียตะวันออก
อินเดียกลาง
อินเดียตะวันตก
ไม่ทราบ ไม่มี
บีโอบี 06 6 – 7 กันยายน พายุดีเปรสชันหมุนเร็ว 55 กม./ชม. 990 hPa (29.23 นิ้วปรอท) อินเดีย อินเดีย (—อินเดียตะวันออก) ไม่ทราบ 1
ดะแย 19 – 22 กันยายน พายุไซโคลน 70 กม./ชม. 992 hPa (29.29 นิ้วปรอท) อินเดีย อินเดีย
รัฐอานธรประเทศ
—อินเดียตะวันออก
—อินเดียกลาง
—อินเดียเหนือ
เล็กน้อย ไม่มี
ลูบัน 6 – 15 ตุลาคม พายุไซโคลนกำลังแรงมาก 140 กม./ชม. 976 hPa (28.82 นิ้วปรอท) เยเมน เยเมน
โอมาน โอมาน
&00000010000000000000001 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ 14 [22][23]
ติตลี 8 – 12 ตุลาคม พายุไซโคลนกำลังแรงมาก 150 กม./ชม. 972 hPa (28.70 นิ้วปรอท) อินเดีย อินเดีย
รัฐอานธรประเทศ
—อินเดียตะวันออก
&0000000920000000000000920 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 85 [24][25][26][27][28]
คชะ 10 – 19 พฤศจิกายน พายุไซโคลนกำลังแรง 110 กม./ชม. 992 hPa (29.29 นิ้วปรอท) หมู่เกาะอันดามัน
อินเดีย อินเดีย (—รัฐทมิฬนาฑู)
ศรีลังกา ศรีลังกา
&0000000775000000000000775 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 63 [29]
เพทาย 13 – 18 ธันวาคม พายุไซโคลนกำลังแรง 100 กม./ชม. 993 hPa (29.32 นิ้วปรอท) หมู่เกาะอันดามัน
ศรีลังกา ศรีลังกา
ไม่ทราบ ไม่มี
สรุปฤดูกาล
14 ลูก 13 มีนาคม –
18 ธันวาคม
  175 กม./ชม. 960 hPa (28.35 นิ้วปรอท)   &00000031250000000000003.13 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ 346


ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Annual Frequency of Cyclonic Disturbances (Maximum Wind Speed of 17 Knots or More), Cyclones (34 Knots or More) and Severe Cyclones (48 Knots or More) Over the Bay of Bengal (BOB), Arabian Sea (AS) and Land Surface of India" (PDF). India Meteorological Department. สืบค้นเมื่อ 30 October 2015.
  2. RSMC — Tropical Cyclones New Delhi (2010). Report on Cyclonic Disturbances over North Indian Ocean during 2009 (PDF) (Report). India Meteorological Department. pp. 2–3. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2010-04-06. สืบค้นเมื่อ May 24, 2011.
  3. https://reliefweb.int/report/yemen/india-meteorological-department-press-release-1-sub-cyclonic-storm-sagar-over-gulf-aden
  4. https://reliefweb.int/report/yemen/tropical-storm-sagar-advisory-no-four-issued-1400-utc-17th-may-2018-based-1200-utc-17th
  5. https://africatimes.com/2018/05/18/severe-floods-a-concern-as-tropical-storm-01a-heads-for-djibouti-somalia/
  6. http://www.imd.gov.in/pages/alert_view.php?ff=20180519_al_368
  7. https://www.aljazeera.com/news/2018/05/tropical-cyclone-threatens-somalia-djibouti-180518071225516.html
  8. https://www.thenational.ae/world/mena/cyclone-sagar-brings-heavy-rain-and-strong-winds-to-southern-yemen-1.731589
  9. https://www.thenational.ae/world/mena/cyclone-sagar-brings-heavy-rain-and-strong-winds-to-southern-yemen-1.731589
  10. "Somaliland's cyclone victims requires urgent humanitarian aid: charity". Hiiraan Online. Xinhua Net. สืบค้นเมื่อ 27 May 2018.
  11. 11.0 11.1 World Vision East Africa Hunger Crisis Situation Report: Ethiopia (PDF). World Vision (Report). June 19, 2018. ReliefWeb. สืบค้นเมื่อ July 3, 2018.
  12. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-05-30. สืบค้นเมื่อ 2018-09-20.
  13. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-06-12. สืบค้นเมื่อ 2018-09-20.
  14. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-06-12. สืบค้นเมื่อ 2018-09-20.
  15. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-06-12. สืบค้นเมื่อ 2018-09-20.
  16. Humanitarian Bulletin Somalia, 1 May - 3 June 2018 (PDF). United Nations Office for the Coordination of Humanitarian Affairs (Report). June 3, 2018. ReliefWeb. สืบค้นเมื่อ June 3, 2018.
  17. UNICEF Djibouti Humanitarian Situation Report, June 2018. United Nations Children Fund (Report). June 30, 2018. ReliefWeb. สืบค้นเมื่อ August 7, 2018.
  18. "Yemen: Cyclone Mekunu - Information bulletin No.2". ReliefWeb. International Federation of Red Cross And Red Crescent Societies. สืบค้นเมื่อ 1 June 2018.
  19. Gambrell, Jon. "Cyclone death toll in Oman, Yemen rises to at least 13". WHEC News. The Associated Press. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-05-28. สืบค้นเมื่อ 28 May 2018.
  20. "Global Catastrophe Recap June 2018" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-07-10. สืบค้นเมื่อ July 15, 2018.
  21. "5 killed, 1,400 houses destroyed by cyclone in Myanmar". Xinhua.net. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-06-16. สืบค้นเมื่อ 31 May 2018.
  22. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ ocha3
  23. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ debriefer
  24. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Odisha death
  25. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Andhra death
  26. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Andhra damage
  27. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Odisha damage
  28. "Global Catastrophe Recap October 2018" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-11-16. สืบค้นเมื่อ November 21, 2018.
  29. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Gaja death

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]