ข้ามไปเนื้อหา

ฤดูพายุไซโคลนมหาสมุทรอินเดียเหนือ พ.ศ. 2559

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ฤดูพายุไซโคลนมหาสมุทรอินเดียเหนือ พ.ศ. 2559
แผนที่สรุปฤดูกาล
ขอบเขตฤดูกาล
ระบบแรกก่อตัว17 พฤษภาคม พ.ศ. 2559
ระบบสุดท้ายสลายตัว18 ธันวาคม พ.ศ. 2559
พายุมีกำลังมากที่สุด
ชื่อวาร์ดะห์
 • ลมแรงสูงสุด130 กม./ชม. (80 ไมล์/ชม.)
(เฉลี่ย 3 นาที)
 • ความกดอากาศต่ำที่สุด982 hPa (มิลลิบาร์)
สถิติฤดูกาล
พายุดีเปรสชัน9 ลูก
พายุดีเปรสชันหมุนเร็ว6 ลูก
พายุไซโคลน4 ลูก
พายุไซโคลนกำลังแรง2 ลูก
พายุไซโคลนกำลังแรงมาก1 ลูก
ผู้เสียชีวิตทั้งหมด403 คน
ความเสียหายทั้งหมด= 3.98 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
(ค่าเงิน USD ปี 2016)
ฤดูพายุไซโคลนมหาสมุทรอินเดียเหนือ
2557, 2558, 2559, 2560, 2561

ฤดูพายุไซโคลนมหาสมุทรอินเดีย พ.ศ. 2559 คือรอบในอดีตของพายุหมุนเขตร้อน ที่เคยมีการก่อตัวในมหาสมุทรอินเดียเหนือ ซึ่งไม่มีการกำหนดฤดูอย่างเป็นทางการ แต่พายุไซโคลนมีแนวโน้มก่อตัวระหว่างเดือนเมษายนถึงธันวาคม โดยมีอัตราสูงที่สุดตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงพฤศจิกายน

ขอบเขตของบทความนี้จะถูกจำกัดอยู่ในมหาสมุทรอินเดียที่อยู่ในซีกโลกเหนือ ทางทิศตะวันออกของจะงอยแอฟริกาและทางทิศตะวันตกของคาบสมุทรมลายู โดยมีสองทะเลหลักอยู่ในมหาสมุทรอินเดียเหนือ คือ ทะเลอาหรับ ไปทางตะวันตกของอนุทวีปอินเดีย ถูกเรียกอย่างย่อว่า ARB โดยกรมอุตุนิยมวิทยาอินเดีย (IMD); และอ่าวเบงกอล ไปทางตะวันออก เรียกอย่างย่อว่า BOB โดย IMD

ผู้ที่รับผิดชอบอย่างเป็นทางการในแอ่งนี้ตามศูนย์อุตุนิยมวิทยาชำนัญพิเศษประจำภูมิภาค คือ กรมอุตุนิยมวิทยาอินเดีย (IMD) ขณะที่ศูนย์ร่วมการเตือนภัยไต้ฝุ่นจะออกคำเตือนอย่างไม่เป็นทางการในภูมิภาคนี้ โดยเฉลี่ยแล้วแอ่งนี้จะมีพายุก่อตัว 4-6 ลูกในทุกฤดูกาล[1]

ภาพรวมฤดูกาล

[แก้]
ความรุนแรงพายุหมุนเขตร้อนภายในแอ่งนี้
  •   พายุดีเปรสชัน
  •   พายุดีเปรสชันหมุนเร็ว
  •   พายุไซโคลน
  •   พายุไซโคลนกำลังแรง
  •   พายุไซโคลนกำลังแรงมาก
  •   พายุไซโคลนกำลังแรงอย่างมาก
  •   พายุซูเปอร์ไซโคลน

พายุ

[แก้]

พายุไซโคลนโรอานู

[แก้]
พายุไซโคลน (IMD)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 17 – 22 พฤษภาคม
ความรุนแรง 85 กม./ชม. (50 ไมล์/ชม.) (3 นาที)
983 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.03 นิ้วปรอท)
  • วันที่ 14 พฤษภาคม หย่อมความกดอากาศต่ำได้ก่อตัวขึ้นเหนืออ่าวเบงกอล ภายใต้อิทธิพลของร่องความกดอากาศต่ำ[2][3]
  • วันที่ 17 พฤษภาคม มันแข็งแกร่งขึ้นอย่างช้า ๆ พร้อมกับที่กรมอุตุนิยมวิทยาอินเดีย (IMD) จัดระดับมันเป็นพายุดีเปรสชัน ขณะที่ศูนย์ร่วมการเตือนภัยไต้ฝุ่น (JTWC) ได้ประกาศการแจ้งเตือนการก่อตัวของพายุหมุนเขตร้อน (TCFA) ซึ่งต่อจากนั้นระบบได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อน ตามการจัดระดับของ JTWC[4][5]
  • วันที่ 18 พฤษภาคม IMD ประกาศทวีกำลังของพายุตามการจัดระดับเป็นพายุดีเปรสชันหมุนเร็ว พร้อมกับออกคำสั่งการเตือนภัยพายุไซโคลนสำหรับรัฐอานธรประเทศ และ รัฐโอฑิศา[6]
  • วันที่ 19 พฤษภาคม IMD รายงานว่าพายุได้บรรลุถึงการเป็นพายุไซโคลน และใช้ชื่อ โรอานู (Roanu)[7] ต่อมาพายุไซโคลนเคลื่อนตัวไปทางตะวันออกเฉียงเหนือและทวีกำลังขึ้นต่อเนื่องจนกระทั่งลมเฉือนที่มีตลอดเวลา และการที่มันอยู่ใกล้แผ่นดินมาก ทำให้มันเริ่มอ่อนกำลังลงในวันเดียวกัน[8][9] อย่างไรก็ตาม ลมเฉือนได้ลดลงอย่างรวดเร็ว และโรอานูทวีกำลังแรงขึ้นได้อีกครั้ง การหมุนเวียนเริ่มก่อตัวขึ้นอีกครั้งรอบศูนย์การหมุนเวียนลมระดับต่ำ[10][11]
  • วันที่ 21 พฤษภาคม ระบบเคลื่อนตัวไปทางตะวันออกเฉียงเหนือกึ่งเหนือ และขึ้นฝั่งใกล้กับเมืองจิตตะกอง ประเทศบังกลาเทศ ในขณะที่มันอ่อนกำลังลง[12]

พายุดีเปรสชัน เออาร์บี 01

[แก้]
ดีเปรสชัน (IMD)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 27 – 29 มิถุนายน
ความรุนแรง 45 กม./ชม. (30 ไมล์/ชม.) (3 นาที)
993 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.32 นิ้วปรอท)

พายุดีเปรสชันบนแผ่นดิน 01

[แก้]
พายุดีเปรสชันหมุนเร็ว (IMD)
ระยะเวลา 9 – 13 สิงหาคม
ความรุนแรง 55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (3 นาที)
986 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.12 นิ้วปรอท)

พายุดีเปรสชันหมุนเร็ว บีโอบี 02

[แก้]
พายุดีเปรสชันหมุนเร็ว (IMD)
ระยะเวลา 16 August – 22 August
ความรุนแรง 55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (3 นาที)
987 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.15 นิ้วปรอท)

พายุไซโคลนจั่น

[แก้]
พายุไซโคลน (IMD)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 21 – 28 ตุลาคม
ความรุนแรง 75 กม./ชม. (45 ไมล์/ชม.) (3 นาที)
998 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.47 นิ้วปรอท)

พายุดีเปรสชัน บีโอบี 04

[แก้]
ดีเปรสชัน (IMD)
ระยะเวลา 3 – 6 พฤศจิกายน
ความรุนแรง 45 กม./ชม. (30 ไมล์/ชม.) (3 นาที)
1000 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.53 นิ้วปรอท)

พายุไซโคลนนาดา

[แก้]
พายุไซโคลน (IMD)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 29 พฤศจิกายน – 2 ธันวาคม
ความรุนแรง 75 กม./ชม. (45 ไมล์/ชม.) (3 นาที)
1000 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.53 นิ้วปรอท)

พายุไซโคลนกำลังแรงมากวาร์ดะห์

[แก้]
พายุไซโคลนกำลังแรงมาก (IMD)
พายุไซโคลนเขตร้อนระดับ 1 (SSHWS)
ระยะเวลา 6 – 13 ธันวาคม
ความรุนแรง 130 กม./ชม. (80 ไมล์/ชม.) (3 นาที)
982 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29 นิ้วปรอท)

พายุดีเปรสชัน เออาร์บี 02

[แก้]
ดีเปรสชัน (IMD)
ระยะเวลา 17 – 18 พฤศจิกายน
ความรุนแรง 45 กม./ชม. (30 ไมล์/ชม.) (3 นาที)
1004 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.65 นิ้วปรอท)

ชื่อพายุ

[แก้]

ภายในแอ่งนี้ พายุหมุนเขตร้อนจะมีชื่อเมื่อมีความรุนแรงในระดับพายุไซโคลน มีความเร็วลม 65 กม./ชม. (40 ไมล์/ชม.) เป็นชื่อที่คัดเลือกโดยสมาชิกของคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและแปซิฟิก (ESCAP)/องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (WMO) โดยศูนย์อุตุนิยมวิทยาภูมิภาคในนิวเดลีได้มีการเริ่มต้นกำหนดชื่อในเดือนกันยายน ปี พ.ศ. 2547 หากมีพายุจากแอ่งมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกเคลื่อนเข้ามา ก็จะใช้ชื่อเดิมที่มากับตัวพายุ ท่านสามารถดูชื่อพายุที่เหลือทั้งหมดได้ที่รายชื่อพายุในมหาสมุทรอินเดียเหนือ

  • โรอานู
  • จั่น
  • นาดา
  • วาร์ดะห์

ผลกระทบ

[แก้]

ตารางนี้แสดงรายการพายุทั้งหมดที่เกิดขึ้นทางตอนเหนือของมหาสมุทรอินเดีย ในช่วงปี พ.ศ. 2559 ซึ่งจะระบุชื่อของพายุ, วันที่พายุเริ่มก่อตัว, ความรุนแรง (ตามสเกลของ IMD), ข้อมูลพื้นฐานของพายุ, พื้นที่ได้รับผลกระทบ และความเสียหายที่เกิดจากพายุ โดยตัวเลขที่แสดงความเสียหายจะถูกระบุเป็นค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ ปี ค.ศ. 2016 และความเสียหาย การสูญเสียจากพายุ จะนับตั้งแต่พายุเริ่มรวมตัวจนถึงพายุถึงความรุนแรงสูงสุด

ชื่อ วันที่ ระดับความรุนแรง ความเร็วลม ความกดอากาศ พื้นที่ผลกระทบ ความเสียหาย
(USD)
เสียชีวิต อ้างอิง
โรอานู 17 – 22 พฤษภาคม พายุไซโคลน 85 กม./ชม. 983 hPa (29.03 นิ้วปรอท) ศรีลังกา ศรีลังกา
อินเดีย ชายฝั่งตะวันออกของอินเดีย
บังกลาเทศ บังกลาเทศ
ประเทศพม่า พม่า
&00000017000000000000001.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ 227 [13][14]
เออาร์บี 01 27 – 29 มิถุนายน พายุดีเปรสขัน 45 กม./ชม. 993 hPa (29.32 นิ้วปรอท) โอมาน โอมาน
อินเดีย รัฐคุชราต
ไม่มี ไม่มี
บนแผ่นดิน 01 9 – 13 สิงหาคม พายุดีเปรสชันหมุนเร็ว 55 กม./ชม. 990 hPa (29.22 นิ้วปรอท) อินเดีย อินเดียตะวันออก
บังกลาเทศ บังกลาเทศ
เล็กน้อย 20
บีโอบี 02 16 – 22 สิงหาคม พายุดีเปรสชันหมุนเร็ว 55 กม./ชม. 995 hPa (29.38 นิ้วปรอท) อินเดีย อินเดียตะวันออก
บังกลาเทศ บังกลาเทศ
&000000004000000000000040 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 17
จั่น 21 – 28 ตุลาคม พายุไซโคลน 85 กม./ชม. 997 hPa (29.44 นิ้วปรอท) หมู่เกาะอันดามัน
ประเทศพม่า พม่า
อินเดีย อินเดียตอนใต้
ไม่มี ไม่มี
บีโอบี 04 3 – 6 พฤศจิกายน พายุดีเปรสชัน 45 กม./ชม. 1000 hPa (29.53 นิ้วปรอท) อินเดีย รัฐเบงกอลตะวันตก
บังกลาเทศ บังกลาเทศ
&000000001900000000000019 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 80
นาดา 29 พฤศจิกายน – 2 ธันวาคม พายุไซโคลน 75 กม./ชม. 1000 hPa (29.53 นิ้วปรอท) ศรีลังกา ศรีลังกา
อินเดีย อินเดียตอนใต้
&000000001600000000000016 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 12
วาร์ดะห์ 6 – 13 ธันวาคม พายุไซโคลนกำลังแรงมาก 130 กม./ชม. 982 hPa (29.00 นิ้วปรอท) เกาะสุมาตรา
หมู่เกาะอันดามันและนิโคบาร์
ไทย ไทย
มาเลเซีย มาเลเซีย
อินเดีย อินเดียตอนใต้
&00000021000000000000002.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ 38
เออาร์บี 02 17 – 18 ธันวาคม พายุดีเปรสชัน 45 กม./ชม. 1004 hPa (29.65 นิ้วปรอท) โซมาเลีย โซมาเลีย เล็กน้อย 7
สรุปฤดูกาล
9 ลูก 17 พฤษภาคม –
18 ธันวาคม
  130 กม./ชม. (80 ไมล์/ชม.) 982 hPa (29.00 นิ้วปรอท)   &00000039750000000000003.98 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
(ประมาณ &0000142384500000000000142 พันล้านบาท)[# 1]
403
  1. อ้างอิงอัตราแลกเปลี่ยนที่นำมาใช้จากอัตราแลกเปลี่ยนของธนาคารแห่งประเทศไทยวันที่ 30 ธันวาคม 2559

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "การเตือนภัยพายุไซโคลนของกรมอุตุนิยมวิทยาอินเดีย (อังกฤษ)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-05-29. สืบค้นเมื่อ 2016-01-04.
  2. "ทัศนคติพายุหมุนเขตร้อน (อังกฤษ)" (PDF). กรมอุตุนิยมวิทยาอินเดีย. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 14 พฤษภาคม 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. "แถลงการณ์คาดการณ์และในความสภาพอากาศทั้งหมดของอินเดีย ช่วงกลางคืนวันที่ 14 พฤษภาคม 2559 (อังกฤษ)" (PDF). กรมอุตุนิยมวิทยาอินเดีย. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-31. สืบค้นเมื่อ 14 พฤษภาคม 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. "Current Significant Tropical Weather Advisories ABIO10 (Indian Ocean) reissued at 18 May 2016, 0030 UTC". ศูนย์ร่วมการเตือนภัยไต้ฝุ่น. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-05-31. สืบค้นเมื่อ 18 พฤษภาคม 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  5. "Tropical Cyclone 01B (One) Warning #01 Issued on 18 May 2016 at 0900 UTC". ศูนย์ร่วมการเตือนภัยไต้ฝุ่น. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-05-31. สืบค้นเมื่อ 18 พฤษภาคม 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  6. B.P. Yadav (18 พฤษภาคม 2559). "Deep Depression BOB 01 Warning Bulletin 5 issued on 18 May 2016". กรมอุตุนิยมวิทยาอินเดีย. p. 1. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-05-31. สืบค้นเมื่อ 18 พฤษภาคม 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  7. Kotal, S. D. "Cyclonic Storm Roanu, Bulletin No. 9 issued at 0300 UTC, 19 May 2016". กรมอุตุนิยมวิทยาอินเดีย. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-05-31. สืบค้นเมื่อ 19 พฤษภาคม 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  8. "TROPICAL CYCLONE 01B (ROANU) WARNING NR 006". ศูนย์ร่วมการเตือนภัยไต้ฝุ่น. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-03-09. สืบค้นเมื่อ 19 พฤษภาคม 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  9. "TROPICAL CYCLONE 01B (ROANU) WARNING NR 007". ศูนย์ร่วมการเตือนภัยไต้ฝุ่น. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-05-31. สืบค้นเมื่อ 19 พฤษภาคม 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  10. "Tropical Cyclone 01B (Roanu) Warning #07". ศูนย์ร่วมเตือนไต้ฝุ่น. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-05-31. สืบค้นเมื่อ 19 พฤษภาคม 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  11. "Tropical Cyclone 01B (Roanu) Warning #08". ศูนย์ร่วมเตือนไต้ฝุ่น. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-03-09. สืบค้นเมื่อ 20 พฤษภาคม 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  12. Mohapatra, M. "Tropical Storm Roanu Advisory No. 16 issued at 1500 UTC of 21 May 2016". กรมอุตุนิยมวิทยาอินเดีย. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-03-08. สืบค้นเมื่อ 21 พฤษภาคม 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  13. "Sri Lanka finds more landslide fatalities, warns of flood-triggered health crisis". The Japan Times. AFP-JIJI. สืบค้นเมื่อ 23 May 2016.
  14. "Bangladesh avoids high death toll with cyclone evacuation". The New Indian Express. 23 May 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-06-16. สืบค้นเมื่อ 23 May 2016.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]