รายพระนามเจ้าผู้ครองนครลำปาง
เจ้าผู้ครองนครลำปาง เป็นตำแหน่งที่เริ่มมาตั้งแต่สมัยอาณาจักรหริภุญชัย โดยกษัตริย์พระองค์แรกของนครลำปางคือพระเจ้าอนันตยศ พระราชโอรสของพระนางจามเทวี พระเจ้าอนันตยศทรงสร้างนครลำปางและขึ้นครองเมืองเมื่อ พ.ศ. 1231 ซึ่งลูกหลานของพระเจ้าอนันตยศยังคงขึ้นครองลำปางสืบต่อมา จนถึงรัชสมัยของพระยาเบิก ในปี พ.ศ. 1838 พญามังรายแห่งเชียงใหม่ ได้ให้ขุนสงครามยกทัพมาตีนครลำปาง พระยาเบิกทรงช้างออกมากระทำยุทธหัตถี กองทัพนครลำปางแตกพ่าย และพระยาเบิกได้รับบาดเจ็บ พระยาเบิกถูกขุนสงครามปลงพระชนม์ที่บ้านแม่ตาลน้อย ในเขตนครลำปาง ถือเป็นการสิ้นสุดยุคราชวงศ์หริภุญชัยในนครลำปาง
เมื่อพญามังรายมีอำนาจเหนือล้านนา ทรงแต่งตั้งให้ขุนมาครองนครลำปางสืบต่อมาเป็นเวลาหลายร้อยปี จนกระทั่งพระเจ้าบุเรงนอง กษัตริย์พม่าได้กรีฑาทัพยึดล้านนาไว้ได้ทั้งหมด จึงสิ้นสุดยุคราชวงศ์มังรายในนครลำปาง ตลอดระยะที่พม่าได้ครอบครองอาณาจักรล้านนามาเป็นเวลา 200 ปีนั้น ได้กดขี่ข่มเหงชาวบ้านอย่างมากมาย จนเกิดกบฏหลายครั้ง จนกระทั่งหนานทิพย์ช้างได้ชัยชนะเหนือท้าวมหายศแห่งนครลำพูน(ซึ่งอยู่ในอำนาจของพม่า) และชาวเมืองพร้อมใจสถาปนาหนานทิพย์ช้างเป็นพระญาสุลวะฤๅไชยสงคราม และเริ่มต้นยุคราชวงศ์ทิพย์จักร หรือราชวงศ์เจ้าเจ็ดตนในนครลำปาง ลูกหลานของพระญาสุลวะฤๅไชยได้ให้ความร่วมมือกับกรุงธนบุรีและกรุงรัตนโกสินทร์ในการขจัดอิทธิพลพม่าออกจากอาณาจักรล้านนาได้ทั้งหมด และสิ้นสุดยุคประเทศราชของพม่าในสมัยรัชกาลที่ 1 แห่งราชวงศ์จักรี เชื้อสายเจ้าเจ็ดตนได้ครองนครลำปางจนถึง พ.ศ. 2465 ในสมัยเจ้าบุญวาทย์วงศ์มานิต
รายพระนาม[แก้]
|
||||||
ลำดับ | รูป | รายพระนาม | เริ่มวาระ | สิ้นสุดวาระ | หมายเหตุ | |
---|---|---|---|---|---|---|
1 | ![]() |
พระญาสุลวะฤๅไชยสงคราม | พ.ศ. 2275 | พ.ศ. 2306 | ต้นราชวงศ์ทิพย์จักร | |
2 | ![]() |
เจ้าฟ้าสิงหราชธานี เจ้าฟ้าหลวงชายแก้ว | พ.ศ. 2306 | พ.ศ. 2317 | พระโอรสในพระญาสุลวะฤๅไชยสงคราม | |
|
||||||
ลำดับ | รูป | รายพระนาม | เริ่มวาระ | สิ้นสุดวาระ | หมายเหตุ | |
3 | ![]() |
พระยากาวิละ | พ.ศ. 2317 | พ.ศ. 2325 | พระโอรสในเจ้าฟ้าชายแก้ว ต่อมาย้ายไปครองนครเชียงใหม่ | |
|
||||||
ลำดับ | รูป | รายพระนาม | เริ่มวาระ | สิ้นสุดวาระ | หมายเหตุ | |
4 | ![]() |
พระยาคำโสม | พ.ศ. 2325 | พ.ศ. 2337 | พระโอรสในเจ้าฟ้าชายแก้ว | |
5 | ![]() |
พระเจ้าดวงทิพย์ | พ.ศ. 2337 | พ.ศ. 2368 | พระโอรสในเจ้าฟ้าชายแก้ว | |
6 | พระยาไชยวงศ์ | พ.ศ. 2369 | พ.ศ. 2380 | พระโอรสในพระยาคำโสม | ||
7 | พระยาขัติยะ | พ.ศ. 2380 | พระโอรสในพระยาคำโสม | |||
8 | ![]() |
พระยาน้อยอินทร์ | พ.ศ. 2381 | พ.ศ. 2391 | พระโอรสในพระยาคำโสม | |
9 | ![]() |
เจ้าวรญาณรังษี | พ.ศ. 2399 | พ.ศ. 2414 | พระโอรสในพระยาคำโสม | |
10 | เจ้าพรหมาภิพงษธาดา | พ.ศ. 2416 | พ.ศ. 2435 (บางตำราว่า พ.ศ. 2429) |
พระโอรสในพระเจ้าดวงทิพย์ ต่อมาเลื่อนเป็นจางวางเมืองนครลำปาง[1] | ||
11 | ![]() |
|||||
12 | ![]() |
เจ้านรนันทไชยชวลิต | พ.ศ. 2435 | พ.ศ. 2438[2] | พระโอรสในเจ้าวรญาณรังษี | |
13 | ![]() |
เจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิต | พ.ศ. 2440 | พ.ศ. 2465 | พระโอรสในเจ้านรนันทไชยชวลิต | |
- | ![]() |
เจ้าราชบุตร (แก้วเมืองพวน ณ ลำปาง) | พ.ศ. 2465 | พ.ศ. 2468 | ผู้รั้งตำแหน่งเจ้านคร[3] | |
สยามยกเลิกประเพณีการแต่งตั้งเจ้าผู้ครองนครประเทศราช |
ผู้สืบสกุลเจ้าผู้ครองนครลำปาง[แก้]
|
||||||
ลำดับ | รูป | รายนาม | เริ่มวาระ | สิ้นสุดวาระ | หมายเหตุ | |
---|---|---|---|---|---|---|
1 | ![]() |
เจ้าราชวงศ์ (แก้วปราบเมรุ ณ ลำปาง) | พ.ศ. 2468 | พ.ศ. 2482 | (14 ปี) | |
2 | ![]() |
พระเพชรคีรีศรีสงคราม (เจ้าแก้วเมืองไท ณ ลำปาง) | พ.ศ. 2482 | พ.ศ. 2513 | (31 ปี) | |
3 | เจ้าเดชา ณ ลำปาง | พ.ศ. 2513 | 30 มิถุนายน พ.ศ. 2558 | (45 ปี) | ||
4 | ![]() |
เจ้าศรีรัตน์ ณ ลำปาง | 30 มิถุนายน พ.ศ. 2558 | ปัจจุบัน |
อ้างอิง[แก้]
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, การตั้งเจ้าประเทศราช, เล่ม 9, หน้า 389
- ↑ ข่าวพิลาไลย
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา วันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2466 เล่มที่ 40 หน้า82
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
- ปราณี ศิริธร ณ พัทลุง. เพ็ชร์ล้านนา. (ครั้งที่ 2) เชียงใหม่ :ผู้จัดการ ศูนย์ภาคเหนือ, 2538.
- สมหมาย เปรมจิตต์, สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ตำนานสิบห้าราชวงศ์ (ฉบับสอบชำระ). เชียงใหม่: มิ่งเมือง, 2540.
- ศักดิ์ รัตนชัย. พงศาวดารสุวรรณหอคำนครลำปาง (ตำนานเจ้าเจ็ดพระองค์กับหอคำมงคล ฉบับสอบทานกับเอกสารสืบค้น สรสว.ลำปาง).
- เจ้าวงศ์สัก ณ เชียงใหม่, คณะทายาทสายสกุล ณ เชียงใหม่. เจ้าหลวงเชียงใหม่. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน), 2539.
- คณะทายาทสายสกุล เจ้าหลวงเมืองพะเยา, สถาบันศิลปวัฒนธรรมโยนก. ครบรอบ 100 ปี แม่เจ้าทรายมูล (มหาวงศ์) ไชยเมือง และประวัติสายสกุลเจ้าหลวงเมืองพะเยา พุทธศักราช 2387 - 2456. พะเยา :บ.ฮาซัน พริ้นติ้ง จก., 2546
- นงเยาว์ กาญจนจารี. ดารารัศมี : พระประวัติพระราชชายา เจ้าดารารัศมี. เชียงใหม่ :สุริวงศ์บุ๊คเซนเตอร์, 2539.
- คัมภีร์ คัมภีรญาณนนท์ , นาวาอากาศเอก. เจ้านายฝ่ายเหนือ. [1]