เจ้าราชวงศ์ (แก้วปราบเมรุ ณ ลำปาง)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เจ้าราชวงศ์
เจ้าแก้วปราบเมรุ ณ ลำปาง
ผู้สืบสกุลเจ้าผู้ครองนครลำปาง
ระยะเวลา1 มีนาคม พ.ศ. 2468 — พ.ศ. 2482
ก่อนหน้าเจ้าราชบุตร
ถัดไปพระเพชรคีรี
พิราลัยพ.ศ. 2482
พระมเหสีเจ้าทิพยอด ณ ลำปาง
พระบุตรพระเพชรคีรี (เจ้าแก้วเมืองไท ณ ลำปาง)
ราชวงศ์ทิพย์จักร
ราชสกุลณ ลำปาง
พระบิดาเจ้าบุรีรัตน์ (บุญเลิศ ณ ลำปาง)
ศาสนาเถรวาท
อาชีพตำรวจ
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ สยาม
แผนก/สังกัดกรมตำรวจ
ชั้นยศ พลตำรวจตรี
บังคับบัญชาตำรวจภูธรภาคเหนือ

พลตำรวจตรี เจ้าราชวงศ์ (แก้วปราบเมรุ ณ ลำปาง) หรือ แก้วภาพเมรุ ณ ลำปาง[1] เป็นเจ้านายฝ่ายเหนือ เป็นข้าราชการตำรวจชาวไทย อดีตผู้บัญชาการตำรวจภูธร (ภาคเหนือ) คนแรกของกองบังคับการตำรวจภูธรภาคเหนือ[2] และเป็นโอรสในเจ้าบุรีรัตน์ (บุญเลิศ ณ ลำปาง)

ประวัติ[แก้]

เจ้าราชวงศ์ (แก้วปราบเมรุ ณ ลำปาง) เป็นโอรสในเจ้าบุรีรัตน์ (บุญเลิศ ณ ลำปาง) ซึ่งเป็นโอรสในพระยาอุปราชหมูล่า กับเจ้าหญิงคำปลิว พระธิดาในเจ้าวรญาณรังษี เจ้าผู้ครองนครลำปาง สมรสกับเจ้าหญิงทิพยอด ธิดาในเจ้าพรหมาภิพงษธาดา[3] [4] เจ้าแก้วปราบเมรุ เข้ารับราชการเป็นตำรวจในกองบัญชาการตำรวจภูธร 3 ซึ่งตั้งอยู่บริเวณริมแม่น้ำวัง อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง จนกระทั่งได้รับตำแหน่งเป็นผู้บังคับการคนแรก

เจ้าราชวงศ์ (แก้วปราบเมรุ ณ ลำปาง) ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรยศเป็น "พลตำรวจตรี" ในคราวที่ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จในการพระราชทานพระแสงราชศัสตราวุธประจำจังหวัดนครลำปางเมื่อวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2469[5]

พระยศ[แก้]

พระยศเสือป่า[แก้]

  • 28 ธันวาคม 2463 – นายหมวดโท[6]

เจ้านายฝ่ายเหนือ[แก้]

เมื่อเจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิต เจ้าผู้ครองนครลำปาง ถึงแก่พิราลัย ในปี พ.ศ. 2465 ขณะนั้นเจ้าแก้วปราบเมรุ ดำรงฐานันดรเป็น "เจ้าราชวงศ์" ซึ่งมีศักดิ์สูงสุดสืบต่อจากเจ้าผู้ครองนครลำปาง จึงเป็นผู้มีสิทธิ์ที่จะได้รับการแต่งตั้งจากราชสำนักสยามให้เป็นเจ้าผู้ครองนครลำปาง สืบต่อจากเจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิต แต่เนื่องจากเจ้าศรีนวล ณ ลำปาง ธิดาในเจ้าบุญวาทย์ฯ ได้มีหนังสือถึงราชสำนักกรุงเทพ เพื่อขอให้แต่งตั้งเจ้าราชบุตร (แก้วเมืองพรวน ณ ลำปาง) ผู้เป็นสวามีให้รั้งตำแหน่งดังกล่าวแทน

หากข้าเจ้าถือกำเนิดมาเป๋นจาย ศักดิ์และสิทธิ์ทุกอย่างจะตกเป็นของข้าเจ้าโดยชอบธรรมและข้าเจ้าขอใช้สิทธิ์การเป็นบุตรีเพียงคนเดียวในป้อเจ้าบุญวาทย์ฯ หื้อเจ้าราชบุตรแก้วเมืองพรวนผู้เป็นสามี เป็นผู้สืบทอดอำนาจจากป้อเจ้าแทน

— เจ้าศรีนวล ณ ลำปาง

จึงเป็นเหตุให้รัฐบาลได้มีการแต่งตั้งให้เจ้าราชบุตร (แก้วเมืองพวน ณ ลำปาง) รั้งตำแหน่งดังกล่าวแทน จนถึงแก่พิราลัยในปี พ.ศ. 2468 หลังจากนั้นเป็นต้นมาทางราชสำนัก ก็มิได้มีการแต่งตั้งผู้รั้งตำแหน่งเจ้าผู้ครองนครลำปางอีก แต่เจ้าราชวงศ์ (แก้วปราบเมรุ ณ ลำปาง) ก็ปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้นำของเจ้านายฝ่ายเหนือสายนครลำปาง

พิราลัย[แก้]

เจ้าราชวงศ์ (แก้วปราบเมรุ ณ ลำปาง) ถึงแก่พิราลัย เมื่อปี พ.ศ. 2482[7]

ลำดับสาแหรก[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 54 (0ง): 1673. 12 พฤศจิกายน 2480.
  2. "ตำรวจภูธรภาค 5". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-10-30. สืบค้นเมื่อ 2015-06-16.
  3. "คัมภีร์ คัมภีรญาณนนท์ , นาวาอากาศเอก. เจ้านายฝ่ายเหนือ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-05-14. สืบค้นเมื่อ 2015-06-16.
  4. คติแนวคิดและพัฒนาการของการก่อกู่อัฐิในล้านนา[ลิงก์เสีย]
  5. พระราชทานสัญญาบัตรยศตำรวจ
  6. พระราชทานยศเสือป่า
  7. ประวัติศาสตร์เมืองลอง ตอนที่ ๑๙
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ส่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไปพระราชทาน, เล่ม ๔๖ หน้า ๓๖๐๓, วันที่ ๑๒ มกราคม ๒๔๗๒
  9. ส่งเหรียญจักรมาลาไปพระราชทาน
  10. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เหรียญราชรุจิ, เล่ม ๑๘ หน้า ๖๑๙, วันที่ ๑๐ พฤศจิกายน ๑๓๐
  11. พระราชทานเข็มข้าหลวงเดิม