เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่
เจ้าผู้ครอง แห่งนครเชียงใหม่ | |
---|---|
ราชาธิปไตยในอดีต | |
พระราชลัญจกร | |
พระเจ้าอินทวิชยานนท์ พระเจ้านครเชียงใหม่ที่ได้รับเกียรติยศสูงสุด | |
| |
ปฐมกษัตริย์ | พระเจ้ากาวิละ |
องค์สุดท้าย | เจ้าแก้วนวรัฐ |
สถานพำนัก | คุ้มหลวง |
ผู้แต่งตั้ง | พระมหากษัตริย์ไทย |
เริ่มระบอบ | พ.ศ. 2325 |
สิ้นสุดระบอบ | 3 มิถุนายน พ.ศ. 2482 |
ผู้อ้างสิทธิ์ | เจ้าวงศ์สักก์ ณ เชียงใหม่ |
ในสมัยที่เป็นประเทศราชของอาณาจักรธนบุรี เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ เป็นมีบรรดาศักดิ์เป็น "พระยาประเทศราช" โดยมีพระยาวิเชียรปราการ (บุญมา) เป็นพระยาเชียงใหม่องค์แรก ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์มีพระยาเชียงใหม่บางองค์ได้รับสถาปนาเป็น "พระเจ้าประเทศราช" เป็นกรณีพิเศษ เช่น พระเจ้ากาวิละ พระเจ้ามโหตรประเทศ จนวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2399 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงสถาปนาพระยาประเทศราชในราชวงศ์ทิพย์จักรทั้งสามองค์ คือ พระยาเชียงใหม่ พระยาลำปาง และพระยาลำพูน ขึ้นเป็น "เจ้าประเทศราช"[1] สืบมาจนถึงเจ้าแก้วนวรัฐ ผู้ครองนครเชียงใหม่องค์ที่ 9 ซึ่งถึงแก่พิราลัยในปี พ.ศ. 2482 คณะรัฐมนตรีสมัยจอมพล แปลก พิบูลสงคราม มีมติให้ยุติการตั้งเจ้าประเทศราช[2] ทำให้ตำแหน่งเจ้านครเชียงใหม่สิ้นสุดลงนับแต่นั้น
รายพระนาม (ธนบุรี-รัตนโกสินทร์)
[แก้]ผู้สืบราชสกุล ณ เชียงใหม่ หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
[แก้]ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. 2475 ทางประเทศสยาม ได้ยกเลิกระบบประเทศราช ทำให้ฐานะของเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ถูกยกเลิกไป เหลือเพียงการสืบเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า เป็นผู้สืบราชสกุล ณ เชียงใหม่ ซึ่งบทบาทที่เห็นได้ชัด คือ การแสดงความจงรักภักดีต่อพระบรมราชจักรีวงศ์ ในพระราชพิธีต่าง ๆ[7]
นับแต่พลตรีเจ้าแก้วนวรัฐถึงแก่พิราลัยในปี พ.ศ. 2482 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า เพื่อเป็นสัญลักษณ์แห่งการสืบราชสกุล ณ เชียงใหม่ ให้แก่ผู้สืบราชสกุลเป็นลำดับ ดังนี้
ลำดับ | ภาพ | รายพระนาม | เริ่มต้น | สิ้นสุด | รวมระยะเวลา | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|---|---|
1 | เจ้าราชบุตร (วงษ์ตะวัน ณ เชียงใหม่) (พ.ศ. 2429 - พ.ศ. 2515) |
พ.ศ. 2482 | พ.ศ. 2515 | 33 ปี | พระโอรสในเจ้าแก้วนวรัฐ และแม่เจ้าจามรี | |
2 | เจ้าพงษ์อินทร์ ณ เชียงใหม่ (พ.ศ. 2447 - พ.ศ. 2532) |
พ.ศ. 2515 | พ.ศ. 2532 | 17 ปี | โอรสในเจ้าแก้วนวรัฐ และหม่อมบัวเขียว ณ เชียงใหม่ | |
3 | เจ้าวงศ์สักก์ ณ เชียงใหม่ (พ.ศ. 2478 - ปัจจุบัน) |
พ.ศ. 2532 | ปัจจุบัน | 28 ปี | โอรสในเจ้าพงษ์อินทร์ ณ เชียงใหม่ และหม่อมจันทร์สม ณ เชียงใหม่ |
เครื่องหมายตราสกุลวงศ์เจ้าเชียงใหม่
[แก้]เครื่องหมายตราสกุลเจ้าเชียงใหม่แห่งราชวงศ์ทิพย์จักร เป็นรูปพระอินทร์มีพระวรกายสีขาวประทับนั่งอยู่ในปราสาท มีทับทิมเม็ดใหญ่และมีเพชรล้อมรอบ [8]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ พระยาประชากิจกรจักร์ (แช่ม บุนนาค), พงศาวดารโยนก, หน้า 493
- ↑ จดหมายเหตุแห่งชาติ, เอกสารสำนักนายกรัฐมนตรี สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี สร.๐๒๐๑.๓๒/๗ เรื่อง ตั้งเจ้าประเทศราชมณฑลพายัพ
- ↑ ข่าวพระเจ้านครเชียงใหม่ถึงแก่พิลาไลย
- ↑ "การตั้งเจ้าอุปราชเมืองนครเชียงใหม่เป็นเจ้าผู้ครองนคร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2011-11-07.
- ↑ ข่าวพิราไลย
- ↑ แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ให้เจ้าอุปราช (เจ้าแก้ว) ว่าที่เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่
- ↑ "แห่พระสุพรรณบัตรและจุดเทียนชัย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-12-04. สืบค้นเมื่อ 2011-10-29.
- ↑ พระราชชายา เจ้าดารารัศมี. กรุงเทพ : บางกอกบุ๊ค. 2546
ดูเพิ่ม
[แก้]แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- ปราณี ศิริธร ณ พัทลุง. เพ็ชร์ล้านนา. (ครั้งที่ 2) เชียงใหม่ :ผู้จัดการ ศูนย์ภาคเหนือ, 2538.
- เจ้าวงศ์สัก ณ เชียงใหม่, คณะทายาทสายสกุล ณ เชียงใหม่. เจ้าหลวงเชียงใหม่. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน), 2539.
- คัมภีร์ คัมภีรญาณนนท์ , นาวาอากาศเอก. เจ้านายฝ่ายเหนือ. เก็บถาวร 2021-05-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน