ระบบเสียงข้างมากแบบเพิ่มที่นั่ง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ระบบเสียงข้างมากเพิ่มที่นั่ง (อังกฤษ: majority bonus system, ย่อ MBS) เป็นระบบการลงคะแนนแบบกึ่งสัดส่วน ใช้ในประเทศยุโรปบางประเทศ โดยลักษณะเฉพาะคือมีที่นั่งเพิ่ม (โบนัส) ให้กับพรรคได้รับมีเสียงข้างมากโดยมีจุดประสงค์เพื่อสร้างเสถียรภาพให้กับรัฐบาล

ระบบนี้ใช้ในซานมารีโนและอิตาลีช่วง ค.ศ. 2006 ถึง ค.ศ. 2013 รวมทั้งในรัฐบางรัฐของอาร์เจนตินา เช่นรัฐซานตาเฟ รัฐชูบุต และรัฐเอนเตรริโอส ส่วนกรีซเคยใช้ระบบนี้ก่อนจะยกเลิกไปใน ค.ศ. 2016 แต่มีผลบังคับใช้ตามกฎหมายในสมัยถัดมาซึ่งก็คือในการเลือกตั้งทั่วไป ค.ศ. 2019

ประวัติ[แก้]

เบนิโต มุสโสลินี เป็นนักการเมืองคนแรกที่ออกกฎหมายเพื่อเพิ่มที่นั่งอัตโนมัติให้แก่พรรคการเมืองที่ชนะการเลือกตั้ง และทำให้เขาได้ชัยชนะขาดลอยในการเลือกตั้งทั่วไป ค.ศ. 1924 ต่อมาได้นำระบบที่ปรับปรุงแล้วมาใช้ในการเลือกตั้งปีค.ศ. 1953 ซึ่งทำให้พรรคร่วมรัฐบาลซึ่งได้คะแนนเสียงข้างมากเด็ดขาดได้รับที่นั่งจำนวนสองในสามของรัฐสภา ซึ่งผลการเลือกตั้งของฝั่งพรรคพันธมิตรซึ่งนำโดยพรรคคริสเตียนประชาธิปไตยได้รับที่นั่งไม่ถึงเกณฑ์คะแนนเสียงข้างมาก และต่อมาระบบเลือกตั้งนี้ได้ถูกยกเลิกก่อนการเลือกตั้งในปีค.ศ. 1958 ระบบเสียงข้างมากแบบเพิ่มที่นั่งได้ถูกนำมาใช้ในการเลือกตั้งระดับท้องถิ่นของอิตาลีในช่วงปีค.ศ. 1950 และได้นำกลับมาใช้อีกครั้งในปีค.ศ. 1993 และในระดับชาติเมื่อปีค.ศ. 2006 เพื่อทดแทนระบบผสมของสกอร์โปโร ในการเลือกตั้งทั่วไป ค.ศ. 2013 พรรคประชาธิปไตยชนะการเลือกตั้งถึง 292 ที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎรโดยได้คะแนนรวม 8,644,523 คะแนนเสียง ซึ่งเฉลี่ยเป็น 29,604 ต่อหนึ่งที่นั่ง ในขณะที่พรรคสำคัญฝ่ายค้าน คือ พรรค PdL ได้เพียง 97 ที่นั่ง โดยได้รับถึง 7,332,972 คะแนนเสียง ซึ่งเฉลี่ยนเป็น 75,597 ต่อหนึ่งที่นั่ง ระบบนี้ใช้ในการเลือกตั้งในอิตาลีตั้งแต่ค.ศ. 2006 จนถึงค.ศ. 2013 ซึ่งใช้การเพิ่มจำนวนที่นั่งแจ็กพอตให้โดยไม่มีเกณฑ์จำนวนคะแนนเสียงที่พรรคใหญ่ที่สุดพึงจะได้รับ ซึ่งถูกวินิจฉัยว่าผิดรัฐธรรมนูญโดยศาลรัฐธรรมนูญ[1][2] จึงมีความพยายามเปลี่ยนแปลงระบบการลงคะแนนรวมถึงระบบรันออฟ (ระหว่างสองพรรคใหญ่) ซึ่งก็ถูกศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยเช่นเดิม จนกระทั่งเปลี่ยนมาใช้ระบบการลงคะแนนแบบคู่ขนาน โดยใช้ในการเลือกตั้งปีค.ศ. 2018 เป็นครั้งแรก[3]

ระบบเสียงข้างมากแบบเพิ่มที่นั่งถูกนำมาใช้โดยหลายประเทศในยุโรป ได้แก่ กรีซ ในปีค.ศ.​ 2004 และซานมารีโนในระดับชาติ และฝรั่งเศสในการเลือกตั้งระดับภูมิภาคและระดับเทศบาล

กลไก[แก้]

ในการลงคะแนนนั้นใช้ฐานจากระบบการลงคะแนนเดียวกับระบบสัดส่วนแบบบัญชีรายชื่อได้ โดยมักจะใช้วิธีโดนต์ในการคำนวนเนื่องจากจะสามารถจัดสรรจำนวนที่นั่งได้ตามลำดับของคะแนนเสียง

ระบบเสียงข้างมากแบบเพิ่มที่นั่งแบ่งเป็นสองแบบหลักซึ่งให้ผลลัพธ์ต่างกัน

  • แบบโบนัส จะเพิ่มจำนวนที่นั่งจำนวนหนึ่งให้กับพรรคการเมือง (หรือกลุ่มพันธมิตร) ที่ชนะการเลือกตั้ง ในรัฐสภากรีก ที่นั่งจำนวนหนึ่งในหกของสภานิติบัญญัติจะถูกสงวนไว้เพื่อเป็นที่นั่งโบนัสสำหรับพรรคการเมืองที่ชนะการเลือกตั้ง ในสภานิติบัญญัติของซิซิลี มีที่นั่งจำนวนหนึ่งในสิบของทั้งหมดจะตกเป็นของกลุ่มการเมืองที่ชนะการเลือกตั้งโดยเป็นการให้เพิ่มเติมตามที่นั่งที่จัดสรรตามระบบสัดส่วน
  • แบบแจ็กพอต รับรองให้พรรคการเมืองรือกลุ่มพันธมิตรที่ชนะการเลือกตั้งได้รับจำนวนที่นั่งให้ถึงจำนวนรวมที่กำหนดไว้ โดยสามารถเพิ่มให้กี่ที่นั่งก็ได้ ในรัฐสภาซานมารีโน กลุ่มพรรคพันธมิตรเสียงข้างมากซึ่งได้คะแนนเสียงข้างมากอย่างน้อย 35 ที่นั่งจากทั้งหมด 60 ที่นั่ง[4] หากพรรคผู้ชนะได้ที่นั่งเพียง 31 ที่นั่งหลังจากรอบที่สอง ที่นั่งโบนัสจำนวน 4 ที่นั่งสำหรับผู้ชนะจะถูกตัดจากที่นั่งจากพรรคที่ได้ที่นั่งน้อยที่สุดจากการคำนวนในวิธีโดนต์

แบบแจ็กพอตเป็นการทำให้ได้ที่นั่งทั้งหมดจำนวนหนึ่งที่กำหนดไว้ ในขณะที่แบบโบนัสเป็นการเพิ่มจำนวนที่นั่งจำนวนหนึ่งเข้าไปจากเดิม

อ้างอิง[แก้]

  1. Unconstitutionality sentence by the Italian Constitutional Court
  2. The ruling awaited in Palace of Consulta after the public hearing on 3 December 2013 could cause an earthquake the Italian public scene, changing some of coordinates that determine the behavior of politicians and the electorate: Buonomo, Giampiero (2013). "La legge elettorale alla prova di costituzionalità". L'Ago e Il Filo Edizione Online. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-08-01. สืบค้นเมื่อ 2021-06-25.  – โดยทาง Questia (ต้องรับบริการ)
  3. Marco Bertacche (March 2, 2018). "How Italy's New Electoral System Works". Bloomberg Politics.
  4. REPUBLIC OF SAN MARINO EARLY PARLIAMENTARY ELECTIONS 11 November 2012