ตอกปีซิน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ภาษาทอกพิซิน)
ตอกปีซิน
ประเทศที่มีการพูดประเทศปาปัวนิวกินี
จำนวนผู้พูด120,000  (2004)[1]
ผู้พูดภาษาที่สอง 4 ล้านคน (2005)[2]
ตระกูลภาษา
ระบบการเขียนอักษรละติน (ชุดตัวอักษรตอกปีซิน)
อักษรเบรลล์พิดจิน
สถานภาพทางการ
ภาษาทางการ ปาปัวนิวกินี
รหัสภาษา
ISO 639-2tpi
ISO 639-3tpi
Linguasphere52-ABB-cc
บทความนี้มีสัญลักษณ์สัทอักษรสากล หากระบบของคุณไม่รองรับการแสดงผลที่ถูกต้อง คุณอาจเห็นปรัศนี กล่อง หรือสัญลักษณ์อย่างอื่นแทนที่อักขระยูนิโคด
ผู้พูดภาษาตอกปีซิน บันทึกในประเทศไต้หวัน

ตอกปีซิน (ตอกปีซิน: Tok Pisin, [ˌtok piˈsin])[3] เป็นภาษาครีโอลที่พูดในประเทศปาปัวนิวกินี เป็นหนึ่งในภาษาทางการของปาปัวนิวกินี และเป็นภาษาที่ใช้มากที่สุดในประเทศ มีคนพูดเป็นภาษาที่ 2 ประมาณ 2 ล้านคน ตอกปีซินเรียกเป็นชื่ออื่นว่า "ภาษาอังกฤษพิดจินเมลานีเชีย" (Melanesian Pidgin English) หรือ "ภาษานีโอ-เมลานีเชีย" (Neo-Melanesian)

มีการใช้ภาษาตอกปีซินอยู่บ้างในสื่อมวลชนและรัฐบาล อย่างไรก็ดี ภาษาอังกฤษยังคงเป็นที่ใช้มากกว่าในบริบทเหล่านี้ ในโรงเรียนบางแห่ง ภาษาตอกปีซินเป็นภาษาที่ใช้สอนใน 3 ปีแรกของการเรียนชั้นต้น

คำศัพท์ของภาษานี้ 5 ใน 6 มาจากตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียน และ 1 ใน 6 มาจากตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน และมีไวยากรณ์ที่มีพื้นฐานจากไวยากรณ์ภาษาพิดจินอย่างง่าย โดยที่มีความไม่สม่ำเสมอต่าง ๆ

ชื่อ[แก้]

หนังสืออ้างอิงเกี่ยวกับภาษาตอกปีซินใน ค.ศ. 1971 (ระบุถึงภาษานี้เป็น ภาษาพิดจินเมลานีเชีย)
ป้ายแขวนหน้าประตูโรงแรมในปาปัวนิวกินี

คำว่า tok แปลว่า "คำ" หรือ "ภาษา" มีที่มาจากคำว่า talk ในภาษาอังกฤษ ส่วนคำว่า pisin มาจากคำว่าภาษาอังกฤษว่า pidgin ซึ่งหมายถึงภาษาพิดจิน

ในขณะที่ชื่อของภาษานี้คือ Tok Pisin บางครั้งมีผู้เรียกในภาษาอังกฤษเป็น "ภาษาพิดจินนิวกินี"[4] ชาวปาปัวนิวกินีที่พูดภาษาอังกฤษมักเรียกภาษาตอกปีซินเป็น "พิดจิน"[5] การใช้ศัพท์ "พิดจิน" ในที่นี้มีความแตกต่างจาก "ภาษาพิดจิน" ในภาษาศาสตร์ ภาษาตอกปีซินไม่ใช่ภาษาพิดจินในความหมายหลัง เพราะภาษานี้กลายเป็นภาษาแม่ของผู้คนหลายคน ทำให้ภาษานี้อยู่ในกลุ่มภาษาครีโอลตามศัพท์ภาษาศาสตร์[6]

ชุดตัวอักษร[แก้]

ชุดตัวอักษรตอกปีซินประกอบด้วย 22 ตัวอักษร ในจำนวนนี้มี 5 ตัวที่เป็นสระ และ 4 ตัวที่เป็นทวิอักษร[7] ตัวอักษรมีดังนี้ (สระอยู่ในอักษรหนา):

a, b, d, e, f, g, h, i, k, l, m, n, o, p, r, s, t, u, v, w, y

ทวิอักษรสี่ตัวเป็นได้ทั้งสระประสมสองเสียง และอักษร:

ai, au, oi และ ⟨ng⟩ (ใช้ทั้ง /ŋ/ และ /ŋɡ/)

ตัวอย่าง[แก้]

ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนข้อที่ 1 ในภาษาตอกปีซิน:

Yumi olgeta mama karim umi long stap fri na wankain long wei yumi lukim i gutpela na strepela tru. Uumi olgeta igat ting ting bilong wanem samting i rait na rong na mipela olgeta i mas mekim gutpela pasin long ol narapela long tingting bilong brata susa.[8]

ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนข้อที่ 1 ในภาษาไทย:

มนุษย์ทั้งหลายเกิดมามีอิสระและเสมอภาคกันในเกียรติศักดิ์และสิทธิ ต่างมีเหตุผลและมโนธรรม และควรปฏิบัติต่อกันด้วยเจตนารมณ์แห่งภราดรภาพ[9]

อ้างอิง[แก้]

  1. ตอกปีซิน ที่ Ethnologue (18th ed., 2015) (ต้องสมัครสมาชิก)
  2. ตอกปีซิน ที่ Ethnologue (15th ed., 2005) Closed access
  3. Smith, Geoffrey. 2008. Tok Pisin in Papua New Guinea: Phonology. In Burridge, Kate, and Bernd Kortmann (eds.), Varieties of English, Vol.3: The Pacific and Australasia. Berlin: Walter de Gruyter. 188-210.
  4. E.g. Nupela Testamen bilong Bikpela Jisas Kraist, 1969.
  5. The published court reports of Papua New Guinea refer to Tok Pisin as "Pidgin": see for example Schubert v The State [1979] PNGLR 66.
  6. See the Glottolog entry for Tok Pisin (itself evidence that the linguistic community considers it a language in its own right, and prefers to name it Tok Pisin), as well as numerous references therein.
  7. Mundhenk, Norm (1990). "Linguistic Decisions in the Tok Pisin Bible". Melanesian Pidgin and Tok Pisin: Proceedings of the First International Conference on Pidgins and Creoles in Melanesia: 372.
  8. "TOKSAVE LONG OL RAITS BILONG OL MANMERI LONG OLGETA HAP BILONG DISPELA GIRAUN AS BILONG TOKTOK". ohchr.org.
  9. Nations, United. "Universal Declaration of Human Rights - Thai". United Nations. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-05-24. สืบค้นเมื่อ 2022-06-18.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]