พีระมิดแห่งเวเซร์คาเอฟ

พิกัด: 29°52′25″N 31°13′08″E / 29.87361°N 31.21889°E / 29.87361; 31.21889
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก พีระมิดแห่งอูเซอร์คาฟ)
พีระมิดแห่งเวเซร์คาเอฟ
พีระมิดที่พังทลายและมีร่องสีดำลึกอยู่ตรงกลางฐานของพีระมิด
ทางด้านเหนือของพีระมิดปรากฏทางเข้าสู่โครงสร้างใต้ดิน
เวเซร์คาเอฟ, ราชวงศ์ที่ห้า
พิกัดทางภูมิศาสตร์29°52′25″N 31°13′08″E / 29.87361°N 31.21889°E / 29.87361; 31.21889
นามร่วมสมัย
<
G43S29F12D28
I9
>A6Q1Q1Q1O24

Wˁb-swt-wsr-k3=f
วับ-ซูต-เวเซร์คาเอฟ
สถานที่อันบริสุทธิ์แห่งเวเซร์คาเอฟ
การก่อสร้างราว 2,490 ปีก่อนคริสต์ศักราช
ประเภทมาตรฐาน (ปัจจุบันพังทลายแล้ว)
วัสดุหินปูน
ความสูง49 เมตร (161 ฟุต)
ฐาน73.5 เมตร (241 ฟุต)
ปริมาณ87,906 m3 (114,977 cu yd)
ความชัน53°07'48"

กลุ่มพีระมิดแห่งเวเซร์คาเอฟ สร้างขึ้นเมื่อราว 2,490 ปีก่อนคริสต์ศักราช[1] สำหรับฝังพระบรมศพของฟาโรห์เวเซร์คาเอฟ (ทรงครองราชย์ระหว่าง 2,494–2,487 ปีก่อนคริสต์ศักราช) ซึ่งทรงเป็นผู้สถาปนาราชวงศ์ที่ห้าแห่งอียิปต์ขึ้น (ราวประมาณ 2,494–2,345 ปีก่อนคริสต์ศักราช) โดยตั้งอยู่ในทุ่งพีระมิดที่ซักกอเราะฮ์ ทางตะวันออกเฉียงเหนือของพีระมิดขั้นบันไดแห่งโจเซอร์ (ทรงครองราชย์ราวประมาณ 2670 ปีก่อนคริสต์ศักราช) พีระมิดแห่งนี้สร้างขึ้นด้วยหินประดับและมีแกนเป็นเศษหิน ปัจจุบันพังทลายลงและมีลักษณะคล้ายเนินทรงกรวยในผืนทรายของซักกอเราะฮ์ [1] ด้วยเหตุนี้ จึงเป็นที่รู้จักในท้องถิ่นว่า อัล-ฮารัม อัล-มาฮาร์บิช แปลว่า "กองหิน"[2] และได้รับการยอมรับว่าเป็นพีระมิดหลวงโดยนักโบราณคดีชาวตะวันตกในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19

พีระมิดแห่งเวเซร์คาเอฟ เป็นส่วนหนึ่งของห้องเก็บศพขนาดใหญ่ซึ่งประกอบด้วยวิหารเก็บศพ ห้องสวดมนต์ และพีระมิดสำหรับการบูชาพระองค์ ตลอดจนพีระมิดและห้องเก็บศพที่แยกจากกันสำหรับพระมเหสีของพระองค์พระนามว่า เนเฟอร์เฮเทปเอส[3]วิหารเก็บศพและพีระมิดสำหรับการบูชาของพระองค์ ในปัจจุบันถูกทำลายโดยสิ้นเชิงและยากต่อการระบุ พีระมิดของพระมเหสีนั้นกลายเป็นเพียงกองซากปรักหักพัง โดยมีห้องเก็บศพที่ถูกโจรขโมยหินเปิดออก[4]

กลุ่มสิ่งปลูกสร้างแห่งนี้นั้นแตกต่างอย่างเห็นได้ชัดจากที่สร้างขึ้นในช่วงสมัยราชวงศ์ที่สี่ (ราวประมาณ 2,613–2,494 ปีก่อนคริสต์ศักราช) ในเรื่องขนาด สถาปัตยกรรม และที่ตั้ง โดยตั้งอยู่ที่ซักกอเราะฮ์แทนที่จะเป็นที่ราบสูงกีซา ด้วยเหตุนี้ กลุ่มพีระมิดของเวเซร์คาเอฟจึงอาจจะเป็นการแสดงออกถึงการเปลี่ยนแปลงอย่างลึกซึ้งในอุดมการณ์ของการเป็นกษัตริย์ที่เกิดขึ้นระหว่างราชวงศ์ที่สี่และห้า[1] การเปลี่ยนแปลงที่อาจเริ่มต้นขึ้นในรัชสมัยของฟาโรห์เชปเซสคาฟ[5] ซึ่งน่าจะทรงเป็นผู้ปกครองก่อนหน้านั้นของพระองค์ กว่า 1,200 ปีหลังการก่อสร้าง กลุ่มพีระมิดนี้ได้รับการโปรดให้ทำการบูรณะโดยฟาโรห์รามเสสที่ 2 ในช่วงต่อมาของช่วงสมัยปลายแห่งอียิปต์โบราณ (664–525 ปีก่อนคริสต์ศักราช) สถานที่แห่งนี้ถูกใช้เป็นสุสาน

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 Mark Lehner, The Complete Pyramids, Thames & Hudson, ISBN 978-0-500-28547-3, p. 140
  2. Jean-Phillipe Lauer (in French): Saqqarah, Une vie, Entretiens avec Phillipe Flandrin, Petite Bibliotheque Payot 107, 1988, ISBN 2-86930-136-7
  3. Audran Labrousse and Jean-Philippe Lauer (in French): Les complexes funéraires d'Ouserkaf et de Néferhétepès, Vol. 1 and 2, IFAO, 2000, ISBN 2-7247-0261-1
  4. Miroslav Verner, Steven Rendall: The Pyramids: The Mystery, Culture, and Science of Egypt's Great Monuments, p. 306, Grove Press, 2002, ISBN 0-8021-3935-3
  5. Ian Shaw, The Oxford History of Ancient Egypt, Oxford University Press, ISBN 0-19-280293-3