พีระมิดเมนคูเร
พีระมิดเมนคูเร | ||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ฟาโรห์เมนเคอเร | ||||||||||||||
พิกัดทางภูมิศาสตร์ | 29°58′21″N 31°07′42″E / 29.97250°N 31.12833°E | |||||||||||||
นามร่วมสมัย |
Nṯr.j Mn-kꜣw-Rꜥ Netjeri Menkaure Menkaure is Divine | |||||||||||||
การก่อสร้าง | ป. 2510 ปีก่อนคริสตกาล (ราชวงศ์ที่ 4) | |||||||||||||
ประเภท | พีระมิด | |||||||||||||
วัสดุ | หินปูน, แกน กินแกรนิตแดง, หินปูนขาว, โครง | |||||||||||||
ความสูง | 65 เมตร (213 ฟุต) หรือ 125 cubits (ดั้งเดิม) | |||||||||||||
ฐาน | 102.2 โดย 104.6 เมตร (335 โดย 343 ฟุต) หรือ 200 cubits (ดั้งเดิม) | |||||||||||||
ปริมาณ | 235,183 ลูกบาศก์เมตร (8,305,409 ลูกบาศก์ฟุต) | |||||||||||||
ความชัน | 51°20'25 |
พีระมิดเมนคูเร หรือ เมนคาวเร (Menkaure) หนึ่งในพีระมิดในประเทศอียิปต์ ที่ตั้งอยู่บริเวณที่ราบสูงกีซา ทางทิศตะวันตกนอกกรุงไคโร สร้างโดย ฟาโรห์เมนคูเร หรือชื่อในภาษากรีกคือ ฟาโรห์ไมซีรีนัส (Micerinus) ทรงเป็นราชโอรสของ ฟาโรห์คาเฟร ผู้สร้างพีระมิดคาเฟร และเป็นพระนัดดาของฟาโรห์คูฟู ผู้สร้างมหาพีระมิดแห่งกิซ่า
ฟาโรห์เมนคูเรได้สร้างพีระมิด ขึ้นเป็นหลังที่สามที่ความสูง 65.5 เมตร (ปัจจุบันคงเหลือ ความสูง 62 เมตร) ฐานแต่ละด้านกว้างประมาณ 105 เมตร และเอียงทำมุมประมาณ 51 องศา ซึ่งแม้จะมีขนาดเล็กที่สุด ในหมู่พีระมิดทั้ง 3 แห่งกิซ่า แต่ก็ยังสูงประมาณอาคาร 18 ชั้น (เมื่อคิดความสูงที่ชั้นละ 3.5 เมตร)
ทางทิศใต้ของพีระมิดเมนคูเร มีการสร้างหมู่พีระมิดราชินีทั้ง 3 (The Three Queen's Pyramids) เป็นที่ไว้พระศพของราชินี 3 องค์ในสมัยของฟาโรห์เมนคูเร หมู่พีระมิดราชินีทั้ง 3 นี้มักปรากฏในภาพถ่ายร่วมกับพีระมิดเมนคูเร
ความพยายามในการทำลาย
[แก้]ใน ค.ศ. 1196 อัลอะซีซ อุษมาน สุลต่านแห่งอียิปต์ผู้เป็นโอรสในเศาะลาฮุดดีน พยายามทำลายพีระมิดหลายแห่ง โดยเริ่มที่พีระมิดเมนเคาเร พระองค์จ้างคนงานมาทำลายพีระมิดเป็นเวลาแปดเดือน แต่พบว่าค่าใช้จ่ายในการทำลายเกือบแพงพอ ๆ กับการสร้าง พวกเขาสามารถนำหินออกได้เพียงหนึ่งหรือสองก้อนต่อวันเท่านั้น คนงานบางส่วนใช้ลิ่มและคานไว้ขยับหิน ในขณะที่บางส่วนใช้เชือกดึงมันลงมา เมื่อหินตก มันจึงจมลงในทราย และต้องใช้ความพยายามเป็นพิเศษในการขุดออกมา จากนั้นจึงใช้ลิ่มตีหินให้แตกแล้วนำไปใส่ในรถเข็น เพื่อไปเทที่เชิงเขา ถึงแม้จะมีความพยายามมากแค่ไหน คนงานสร้างความเสียหายพีระมิดจนเป็นรูแนวตั้งขนาดใหญ่ฝั่งทิศเหนือของพีระมิดเท่านั้น[2][3]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Verner 2001, p. 242.
- ↑ Stewert, Desmond and editors of the Newsweek Book Division "The Pyramids and Sphinx" 1971 p. 101 แม่แบบ:ISBN?
- ↑ Lehner, Mark The Complete Pyramids, London: Thames and Hudson (1997) p. 41 ISBN 0-500-05084-8.
อ่านเพิ่ม
[แก้]- Verner, Miroslav (2001). The Pyramids: The Mystery, Culture and Science of Egypt's Great Monuments. New York: Grove Press. ISBN 978-0-8021-1703-8.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]