พีระมิดเตติ

พิกัด: 29°52′31″N 31°13′18″E / 29.87528°N 31.22167°E / 29.87528; 31.22167
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พีระมิดเตติ
ฟาโรห์เตติ
พิกัดทางภูมิศาสตร์29°52′31″N 31°13′18″E / 29.87528°N 31.22167°E / 29.87528; 31.22167
นามร่วมสมัย
<
X1
X1
M17
>R11Q1Q1Q1O24
[1]
Ḏd-jswt-Ttj
Djed-isut-Teti
"สถานที่อันยั่งยืนแห่งเตติ"[2]
การก่อสร้างราชวงศ์ที่หก (ป. ก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 23)
ความสูง52.5 เมตร (172 ฟุต; 100 ลูกบาศก์)
ฐาน78.75 เมตร (258 ฟุต; 150 ลูกบาศก์)
ปริมาณ107,835 ม³ (141,043 ลูกบาศก์หลา)
ความชัน53° 07' 48"[3]
พีระมิดเตติตั้งอยู่ในประเทศอียิปต์
พีระมิดเตติ
ที่ตั้งของพีระมิดในประเทศประเทศอียิปต์

พีระมิดเตติ[4] เป็นพีระมิดชั้นบันไดแบบเรียบ ตั้งอยู่ภายในบริเวณพื้นที่พีระมิดซักการา เป็นพีระมิดแห่งที่สองที่พบข้อความภายในพีระมิด โดยพีระมิดถูกค้นพบจากการสำรวจภาพถ่ายดาวเทียม โดยพบพีระมิดทั้งหมดสองอัน นอกจากนี้ ยังพบโครงสร้างของสถานที่ประกอบพิธีการ และวิหารบรรจุพระศพ พีระมิดถูกสำรวจโดยกัสตง มาสเปโฮ ในปี ค.ศ. 1882 และการสำรวจค้นคว้าในลักษณะทางกายภาพแบบเชิงลึกในช่วงระหว่างปี ค.ศ. 1907 ถึง ค.ศ. 1965[5] ชื่อเดิมของพีระมิดถูกเรียกว่า Teti's Places Are Enduring (สถานที่อันยั่งยืนแห่งเตติ) สถานะของพีระมิดอยู่ในสภาพไม่สมบูรณ์ แม้จะมีความพยายามบูรณะ ปัจจุบันพีระมิดปรากฏเป็นเนินขนาดย่อม แต่บริเวณภายในของห้องโถงและทางเดินยังคงสภาพสมบูรณ์อยู่

ที่ฝังพระศพ[แก้]

ส่วนประกอบที่ฝังพระศพ

ส่วนประกอบของพีรามิดเตติค่อนข้างซับซ้อนโครงสร้างคล้ายคลึงกับพีระมิดในอบิวเสีย วิหารในหุบเขาปัจจุบันคาดว่าถูกทำลาย ในปีค.ศ. 1906 ที่ฝังพระศพถูกรู้จักโดยเจมส์ ควิเบลล์ ที่ฝังพระศพ เชื่อมต่อกับวิหารในหุบเขา แผนผังวิหารของฟาโรห์เตติสามารถแยกออกมาได้หลายสถานที่ วิหารของเตติมีแผนผังค่อนข้างพิเศษ[6]

ห้องโถงเปิดออกสู่ลานโล่งล้อมรอบทั้งสี่ด้านโดยเสาหลักที่มีจุดประสงค์หลักคือการประกอบพิธีกรรมประจำวัน จุดศูนย์กลางไปทางทิศตะวันตก องค์ประกอบสุดท้ายคือห้องสำหรับบูชาพระศพของฟาโรห์เตติตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของพีระมิด พีระมิดขนาดเล็กนี้ครอบคลุมแผนใต้ดินซึ่งประกอบด้วยทางลาดสั้นๆ ที่นำไปสู่ห้องใต้ดิน

รูปภาพ[แก้]

ชื่อของพีระมิดเตติ Djed-isut-teti แกะสลักลงในหินปูน

อ้างอิง[แก้]

  1. Verner 2001d, p. 342.
  2. Hellum 2007, p. 106.
  3. Lehner 2008, p. 17.
  4. หนังสือเอาชีวิตรอดในพีระมิด เล่มที่ 4 หน้า 193 หัวข้อ พีระมิดในยุคกลาง, ราชวงศ์ที่ 6
  5. notably by James Edward Quibell, Cecil Mallaby Firth, Jean-Philippe Lauer, Jean Sainte Fare Garnot, and Jean Leclant
  6. This feature can be explained by the fact that an earlier monument may not have been destroyed, preventing an alignment of different parts of the pyramid complex

หนังสืออ่านเพิ่มเติม[แก้]

  • David P. Silverman, Middle Kingdom tombs in the Teti pyramid cemetery, Abusir and Saqqara in the Year 2000, Praque, 2000
  • Cecil Mallaby Firth, The Teti pyramid cemeteries, Excavations at Saqqara, Egyptian Department of Antiquities, Cairo, 1926;
  • Jean-Philippe Lauer & Jean Leclant, Le temple haut du complexe funéraire du roi Téti, Bulletin d'Études n°51, 1972;
  • Sydney Aufrère & Jean-Claude Golvin, L'Égypte restituée, 1997;
  • Jean-Pierre Adam & Christiane Ziegler, Les pyramides d'Égypte, 1999;
  • Audran Labrousse, L'architecture des pyramides à textes, 2000.