ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วลาดีมีร์ เลนิน"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Phaisit16207 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Setawut (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
{{Infobox officeholder
{{ผู้นำประเทศ
| name = วลาดีมีร์ เลนิน
<!----------ชื่อ---------->
| name = วลาดีมีร์ เลนิน <br /> Владимир Ленин
| native_name = Владимир Ленин
| native_name_lang = ru
<!----------ภาพ---------->
| image = Vladimir Lenin.jpg
| image = LeninFULLCOLOR.jpg
| smallimage =
| image_size =
| caption =
| caption = วลาดีมีร์ เลนินในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1920
| office = [[หัวหน้ารัฐบาลสหภาพโซเวียต|ประธานคณะมนตรีกรรมการประชาชน<br>แห่งสหภาพโซเวียต]]
<!----------ตำแหน่ง---------->
| term_start = 6 กรกฎาคม 1923
| order = [[นายกรัฐมนตรีสหภาพโซเวียต|ประธานสภาประชาชนแห่งสหภาพโซเวียต]]
| term_end = 21 มกราคม 1924
<!----------วาระ---------->
| predecessor = ''สถาปนาตำแหน่ง''
| term_start = 30 ธันวาคม ค.ศ. 1922
| successor = [[อะเลคเซย์ รืยคอฟ]]
| term_end = 21 มกราคม ค.ศ. 1924
| office2 = [[สหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซีย|ประธานคณะมนตรีกรรมการประชาชน<br>แห่งสหพันธ์สาธารณรัฐฯโซเวียตรัสเซีย]]
<!----------สมัยก่อนหน้า/สมัยถัดไป---------->
| term_start2 = 8 พฤศจิกายน 1917
| predecessor =
| term_end2 = 21 มกราคม 1924
| successor = อะเลคเซย์ รืยคอฟ
| predecessor2 =''สถาปนาตำแหน่ง''
<!----------ตำแหน่ง2---------->
| successor2 = [[อะเลคเซย์ รืยคอฟ]]
| order2 = ผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์รัสเซีย
| birth_date = 22 เมษายน ค.ศ. 1870
<!----------วาระ2---------->
| birthname = Vladimir Ilyich Ulyanov
| term_start2 = 17 พฤศจิกายน ค.ศ. 1903
| birth_place =ซิมบิร์สค์ [[จักรวรรดิรัสเซีย]]
| term_end2 = 21 มกราคม ค.ศ. 1924
| death_date = {{death date and age|1924|1|21|1870|4|22|df=yes}}
<!----------สมัยก่อนหน้า/สมัยถัดไป2---------->
| death_place = มอสโก สหภาพโซเวียต
| predecessor2 =
| nationality = รัสเซีย
| successor2 = [[โจเซฟ สตาลิน]] (เลขาธิการ)
| party = {{unbulleted list |[[พรรคแรงงานสังคมประชาธิปไตยรัสเซีย|พรรคแรงงานสังคมประชาธิปไตย]] (1898–1912)|[[บอลเชวิค|พรรคบอลเชวิค]] (1912–18)|[[พรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียต|พรรคคอมมิวนิสต์]] (1918–24)}}
<!----------เกิด/ถึงแก่อสัญกรรม---------->
| spouse = {{marriage|[[Nadezhda Krupskaya]]|1898}}
| birth_date = {{Birth date|1870|4|22|df=y}}
| signature = Lenin - signature.png
| birth_place = [[อุลยานอฟสค์|ซิมบิร์สค์]]<br /> [[จักรวรรดิรัสเซีย]]
| alma_mater = [[มหาวิทยาลัยเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก]]
| death_date = {{Death date and age|1924|1|21|1870|4|22|df=y}}
| death_place = [[กอร์กี เลนินสกี|กอร์กี]] [[สหภาพโซเวียต]]
<!----------constituency---------->
| constituency
<!----------อื่นๆ---------->
| spouse =
| profession =
| religion =
| signature = Unterschrift_Lenins.svg
| footnotes =
}}
}}

'''วลาดีมีร์ อิลลิช อุลยานอฟ'''{{efn|{{lang-rus|Владимир Ильич Ульянов|Vladimir Ilyich Ulyanov|vlɐˈdʲimʲɪr ɨˈlʲjitɕ ʊˈlʲjanəf}}}} เป็นที่รู้จักกันดีในชื่อเล่นของเขาว่า '''เลนิน'''{{efn|{{lang-rus|Ленин|Lenin|ˈlʲenʲɪn}}}} ({{OldStyleDate|22 เมษายน|ค.ศ. 1870|10 เมษายน}} – 21 มกราคม ค.ศ. 1924) เป็นนักปฏิวัติ[[ลัทธิมากซ์]] นักการเมือง และนักทฤษฎีชาวรัสเซีย เลนินดำรงตำแหน่ง[[Chairman of the Council of People's Commissars of the Soviet Union|หัวหน้ารัฐบาล]] ในฐานะเป็นผู้ก่อตั้งและหัวหน้าคนแรกของ[[สหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซีย|โซเวียตรัสเซีย]] ตั้งแต่ ค.ศ. 1917 ถึง ค.ศ. 1924 และ[[สหภาพโซเวียต]] ตั้งแต่ ค.ศ. 1922 ถึง ค.ศ. 1924 ภายใต้การบริหารของเลนิน รัสเซีย ซึ่งในเวลาต่อมาคือสหภาพโซเวียต ได้กลายเป็น[[Socialist state|รัฐสังคมนิยม]]แบบ[[รัฐพรรคการเมืองเดียว|พรรคเดียว]] ที่ถูกปกครองโดย[[พรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียต]] เขาได้พัฒนาแนวคิดของ[[ลัทธิคอมมิวนิสต์]]ในรูปแบบต่าง ๆ ที่รู้จักกันดีในชื่อของ [[ลัทธิมากซ์–เลนิน]]
'''วลาดีมีร์ อิลลิช อุลยานอฟ'''{{efn|{{lang-rus|Владимир Ильич Ульянов|Vladimir Ilyich Ulyanov|vlɐˈdʲimʲɪr ɨˈlʲjitɕ ʊˈlʲjanəf}}}} เป็นที่รู้จักกันดีในชื่อเล่นของเขาว่า '''เลนิน'''{{efn|{{lang-rus|Ленин|Lenin|ˈlʲenʲɪn}}}} ({{OldStyleDate|22 เมษายน|ค.ศ. 1870|10 เมษายน}} – 21 มกราคม ค.ศ. 1924) เป็นนักปฏิวัติ[[ลัทธิมากซ์]] นักการเมือง และนักทฤษฎีชาวรัสเซีย เลนินดำรงตำแหน่ง[[หัวหน้ารัฐบาลสหภาพโซเวียต|หัวหน้ารัฐบาล]] ในฐานะเป็นผู้ก่อตั้งและหัวหน้าคนแรกของ[[สหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซีย|โซเวียตรัสเซีย]] ตั้งแต่ ค.ศ. 1917 ถึง ค.ศ. 1924 และ[[สหภาพโซเวียต]] ตั้งแต่ ค.ศ. 1922 ถึง ค.ศ. 1924 ภายใต้การบริหารของเลนิน รัสเซีย ซึ่งในเวลาต่อมาคือสหภาพโซเวียต ได้กลายเป็น[[Socialist state|รัฐสังคมนิยม]]แบบ[[รัฐพรรคการเมืองเดียว|พรรคเดียว]] ที่ถูกปกครองโดย[[พรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียต]] เขาได้พัฒนาแนวคิดของ[[ลัทธิคอมมิวนิสต์]]ในรูปแบบต่าง ๆ ที่รู้จักกันดีในชื่อของ [[ลัทธิมากซ์–เลนิน]]


เลนินได้รับการศึกษาด้านกฎหมายจากมหาวิทยาลัยคาซาน และเซนปีเตอร์สเบิร์ก เลนินถูกจำคุกระหว่าง พ.ศ. 2438-2440 และในปีต่อมาถูกเนรเทศไป[[ไซบีเรีย]]จนถึง พ.ศ. 2443 เนื่องจากเข้าขบวนการปฏิวัติใต้ดิน หลังการปฏิวัติเลนินได้เป็นหัวหน้าพรรค “บอลเชวิค” (Bolshevik) ที่ทำการปฏิวัติล้มล้าง[[ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์|ระบบกษัตริย์]]ของรัสเซียในปี พ.ศ. 2460 และตั้งตนเป็นผู้นำประเทศและรีบทำการเจรจาสงบศึกกับฝ่ายเยอรมันในสงครามโลกครั้งที่ 1 เพื่อทุ่มกำลังปราบปรามฝ่ายต่อต้านในสงครามกลางเมืองของรัสเซียที่เกิดขึ้นระหว่าง พ.ศ. 2461-2464
เลนินได้รับการศึกษาด้านกฎหมายจากมหาวิทยาลัยคาซาน และเซนปีเตอร์สเบิร์ก เลนินถูกจำคุกระหว่าง พ.ศ. 2438-2440 และในปีต่อมาถูกเนรเทศไป[[ไซบีเรีย]]จนถึง พ.ศ. 2443 เนื่องจากเข้าขบวนการปฏิวัติใต้ดิน หลังการปฏิวัติเลนินได้เป็นหัวหน้าพรรค “บอลเชวิค” (Bolshevik) ที่ทำการปฏิวัติล้มล้าง[[ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์|ระบบกษัตริย์]]ของรัสเซียในปี พ.ศ. 2460 และตั้งตนเป็นผู้นำประเทศและรีบทำการเจรจาสงบศึกกับฝ่ายเยอรมันในสงครามโลกครั้งที่ 1 เพื่อทุ่มกำลังปราบปรามฝ่ายต่อต้านในสงครามกลางเมืองของรัสเซียที่เกิดขึ้นระหว่าง พ.ศ. 2461-2464
บรรทัด 47: บรรทัด 39:


== ชีวิตวัยเด็ก ==
== ชีวิตวัยเด็ก ==
[[ไฟล์:Lenin-circa-1887.jpg|right|thumb|วลาดีมีร์ อุลยานอฟ (เลนิน) ราว พ.ศ. 2430]]
[[ไฟล์:Lenin-circa-1887.jpg|140px|right|thumb|วลาดีมีร์ อุลยานอฟ (เลนิน) ราว พ.ศ. 2430]]
เลนินเกิดในเมือง[[อุลยานอฟสค์|ซิมบิร์สค์]]ของรัสเซีย เป็นบุตรชายของ อีลิยา นีโคเลวิช อุลยานอฟ (2374 - 2429) ข้าราชการรัสเซียผู้ที่ทำงานเพื่อประชาธิปไตยและโอกาสการศึกษาที่ทั่วถึงในรัสเซีย และมารดาของเลนินคือ มาเรีย อเล็กซานดรอฟนา บลังก์ ผู้ที่มีหัว[[เสรีนิยม]] เลนินมีเชื้อสายคาลมิก (รัฐริมทะเลสาบแคสเปียน) ผ่านทางบิดา และมีเชื้อสายชาว[[เยอรมนี]]ที่อาศัยอยู่ริม[[แม่น้ำวอลกา]]ผ่านทางยาย (ยายของเลนินนับถือศาสนาคริสต์นิกายลูเธอรัน) และเชื้อสายยิวผ่านทางตา (ตาของเลนินภายหลังเปลี่ยนมานับถือศาสนาคริสต์) ส่วนตัวเลนินเองได้รับพิธีล้างบาปในนิกายรัสเซียนออร์ธอดอกซ์
เลนินเกิดในเมือง[[อุลยานอฟสค์|ซิมบิร์สค์]]ของรัสเซีย เป็นบุตรชายของ อีลิยา นีโคเลวิช อุลยานอฟ (2374 - 2429) ข้าราชการรัสเซียผู้ที่ทำงานเพื่อประชาธิปไตยและโอกาสการศึกษาที่ทั่วถึงในรัสเซีย และมารดาของเลนินคือ มาเรีย อเล็กซานดรอฟนา บลังก์ ผู้ที่มีหัว[[เสรีนิยม]] เลนินมีเชื้อสายคาลมิก (รัฐริมทะเลสาบแคสเปียน) ผ่านทางบิดา และมีเชื้อสายชาว[[เยอรมนี]]ที่อาศัยอยู่ริม[[แม่น้ำวอลกา]]ผ่านทางยาย (ยายของเลนินนับถือศาสนาคริสต์นิกายลูเธอรัน) และเชื้อสายยิวผ่านทางตา (ตาของเลนินภายหลังเปลี่ยนมานับถือศาสนาคริสต์) ส่วนตัวเลนินเองได้รับพิธีล้างบาปในนิกายรัสเซียนออร์ธอดอกซ์



รุ่นแก้ไขเมื่อ 01:38, 11 ธันวาคม 2564

วลาดีมีร์ เลนิน
Владимир Ленин
ไฟล์:LeninFULLCOLOR.jpg
ประธานคณะมนตรีกรรมการประชาชน
แห่งสหภาพโซเวียต
ดำรงตำแหน่ง
6 กรกฎาคม 1923 – 21 มกราคม 1924
ก่อนหน้าสถาปนาตำแหน่ง
ถัดไปอะเลคเซย์ รืยคอฟ
ประธานคณะมนตรีกรรมการประชาชน
แห่งสหพันธ์สาธารณรัฐฯโซเวียตรัสเซีย
ดำรงตำแหน่ง
8 พฤศจิกายน 1917 – 21 มกราคม 1924
ก่อนหน้าสถาปนาตำแหน่ง
ถัดไปอะเลคเซย์ รืยคอฟ
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด
Vladimir Ilyich Ulyanov

22 เมษายน ค.ศ. 1870
ซิมบิร์สค์ จักรวรรดิรัสเซีย
เสียชีวิต21 มกราคม ค.ศ. 1924(1924-01-21) (53 ปี)
มอสโก สหภาพโซเวียต
เชื้อชาติรัสเซีย
พรรคการเมือง
คู่สมรสNadezhda Krupskaya (สมรส 1898)
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก
ลายมือชื่อ

วลาดีมีร์ อิลลิช อุลยานอฟ[a] เป็นที่รู้จักกันดีในชื่อเล่นของเขาว่า เลนิน[b] (22 เมษายน [ตามปฎิทินเก่า: 10 เมษายน] ค.ศ. 1870 – 21 มกราคม ค.ศ. 1924) เป็นนักปฏิวัติลัทธิมากซ์ นักการเมือง และนักทฤษฎีชาวรัสเซีย เลนินดำรงตำแหน่งหัวหน้ารัฐบาล ในฐานะเป็นผู้ก่อตั้งและหัวหน้าคนแรกของโซเวียตรัสเซีย ตั้งแต่ ค.ศ. 1917 ถึง ค.ศ. 1924 และสหภาพโซเวียต ตั้งแต่ ค.ศ. 1922 ถึง ค.ศ. 1924 ภายใต้การบริหารของเลนิน รัสเซีย ซึ่งในเวลาต่อมาคือสหภาพโซเวียต ได้กลายเป็นรัฐสังคมนิยมแบบพรรคเดียว ที่ถูกปกครองโดยพรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียต เขาได้พัฒนาแนวคิดของลัทธิคอมมิวนิสต์ในรูปแบบต่าง ๆ ที่รู้จักกันดีในชื่อของ ลัทธิมากซ์–เลนิน

เลนินได้รับการศึกษาด้านกฎหมายจากมหาวิทยาลัยคาซาน และเซนปีเตอร์สเบิร์ก เลนินถูกจำคุกระหว่าง พ.ศ. 2438-2440 และในปีต่อมาถูกเนรเทศไปไซบีเรียจนถึง พ.ศ. 2443 เนื่องจากเข้าขบวนการปฏิวัติใต้ดิน หลังการปฏิวัติเลนินได้เป็นหัวหน้าพรรค “บอลเชวิค” (Bolshevik) ที่ทำการปฏิวัติล้มล้างระบบกษัตริย์ของรัสเซียในปี พ.ศ. 2460 และตั้งตนเป็นผู้นำประเทศและรีบทำการเจรจาสงบศึกกับฝ่ายเยอรมันในสงครามโลกครั้งที่ 1 เพื่อทุ่มกำลังปราบปรามฝ่ายต่อต้านในสงครามกลางเมืองของรัสเซียที่เกิดขึ้นระหว่าง พ.ศ. 2461-2464

เลนินมีความเชื่อมั่นในระบอบสังคมนิยม จึงรวบอำนาจมารวมไว้ในพรรคคอมมิวนิสต์ และเริ่มปรับเปลี่ยนระบบควบคุมจากส่วนกลางที่เข้มงวดและเหี้ยมโหดของพวกบอลเชวิก มาทุ่มเทการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศในแนวใหม่ที่เรียกว่า “นโยบายเศรษฐกิจแนวใหม่” (New Economic Policy) อย่างเต็มที่เพื่อล้มระบบทุนนิยม แต่ก็ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์และการต่อต้านจากกลุ่มหัวรุนแรงเดิมว่าเป็นการอ่อนข้อให้ระบบทุนนิยมและหนีห่างจากระบบสังคมนิยมมากเกินไป

ก่อนเสียชีวิต เลนินป่วยหนักมีอาการชักและมีโลหิตออกในสมอง ศพของเลนินได้รับการอาบน้ำยาตั้งไว้ให้ประชาชนเคารพในสุสานที่จตุรัสหน้าวังเครมลินจนถึงปัจจุบัน นับว่าเลนินเป็นวีรบุรุษผู้ยิ่งใหญ่ของสหภาพโซเวียตที่ยังมีคนนับถือ พรรคคอมมิวนิสต์ได้เปลี่ยนชื่อเมืองสำคัญคือนครเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก มาเป็นเมืองเลนินกราดเมื่อ พ.ศ. 2467 เพื่อเป็นเกียรติแก่เขา แต่ได้กลับมาใช้ชื่อเดิมอีกหลังจากการล่มสลายของสหภาพโซเวียต

ผู้สืบทอดตำแหน่งผู้นำต่อจากเลนิน คือ โจเซฟ สตาลิน ผู้นำสหภาพโซเวียตเข้าสู่ยุคม่านเหล็กที่ลึกลับที่ปิดประเทศจากโลกเสรี มีการปกครองที่เด็ดขาดและโหดเหี้ยมขัดกับเจตจำนงเดิมของเลนินอันเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้สหภาพโซเวียตสลายได้โดยง่ายเมื่อปี พ.ศ. 2534

ชีวิตวัยเด็ก

วลาดีมีร์ อุลยานอฟ (เลนิน) ราว พ.ศ. 2430

เลนินเกิดในเมืองซิมบิร์สค์ของรัสเซีย เป็นบุตรชายของ อีลิยา นีโคเลวิช อุลยานอฟ (2374 - 2429) ข้าราชการรัสเซียผู้ที่ทำงานเพื่อประชาธิปไตยและโอกาสการศึกษาที่ทั่วถึงในรัสเซีย และมารดาของเลนินคือ มาเรีย อเล็กซานดรอฟนา บลังก์ ผู้ที่มีหัวเสรีนิยม เลนินมีเชื้อสายคาลมิก (รัฐริมทะเลสาบแคสเปียน) ผ่านทางบิดา และมีเชื้อสายชาวเยอรมนีที่อาศัยอยู่ริมแม่น้ำวอลกาผ่านทางยาย (ยายของเลนินนับถือศาสนาคริสต์นิกายลูเธอรัน) และเชื้อสายยิวผ่านทางตา (ตาของเลนินภายหลังเปลี่ยนมานับถือศาสนาคริสต์) ส่วนตัวเลนินเองได้รับพิธีล้างบาปในนิกายรัสเซียนออร์ธอดอกซ์

วลาดีมีร์ทำให้ตัวเองแตกต่างกับคนอื่นด้วยการศึกษาภาษาละตินและกรีก ชีวิตวัยเด็กของเขามีเหตุการณ์น่าเศร้า 2 อย่าง คือ ในปี พ.ศ. 2429 พ่อของเขาเสียชีวิตด้วยโรคเลือดออกในสมอง และในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2430 พี่ชายของเขา อะเลคซันดร์ อุลยานอฟ ถูกแขวนคอในข้อหามีส่วนร่วมในการวางแผนลอบปลงพระชนม์ซาร์อะเลคซันดร์ที่ 3 เหตุการณ์หลังนี้ทำให้วลาดีมีร์เริ่มมีความคิดอย่าง ถึงราก (Radical) (ผู้เขียนประวัติของเลนินได้เขียนว่าเหตุการณ์นี้เป็นศูนย์รวมของความกล้าหาญในการปฏิวัติของเลนิน) ต่อมาในปีนั้น วลาดีมีร์ก็ถูกจับกุมและไล่ออกจากมหาวิทยาลัยคาซานด้วยข้อหาที่ว่าวลาดีมีร์เข้าร่วมในการประท้วงของนักศึกษา เขาได้ศึกษาต่อด้วยตัวเองและได้รับใบอนุญาตให้ประกอบอาชีพทางกฎหมายได้ในปี พ.ศ. 2434

การปฏิวัติ

แทนที่วลาดีมีร์จะประกอบอาชีพทางกฎหมาย วลาดีมีร์กลับมีส่วนรวมในความพยายามโฆษณาชวนเชื่อเพื่อการปฏิวัติ และการศึกษาลัทธิมาร์กซมากขึ้นเรื่อย ๆ วลาดีมีร์ทำกิจกรรมต่าง ๆ ของเขาในเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กเป็นส่วนมาก ต่อมา ในวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2438 วลาดีมีร์ก็ถูกจับกุมและคุมขังเป็นเวลา 1 ปี หลังจากนั้นก็ถูกเนรเทศไปที่หมู่บ้านชูเชนสโกเยในไซบีเรียดังกล่าวมาแล้ว

ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2441 วลาดีมีร์แต่งงานกับ นาเดชด้า ครุปสกายา ซึ่งเป็นนักเคลื่อนไหวสังคมนิยม ต่อมาในเดือนเมษายน พ.ศ. 2442 เขาได้พิมพ์หนังสือเล่มหนึ่งชื่อว่า พัฒนาการของระบบทุนนิยมในรัสเซีย ต่อมาในปี พ.ศ. 2442 การเนรเทศของเขาก็ได้สิ้นสุดลง วลาดีมีร์ได้เดินทางทั้งภายในรัสเซียและไปยังส่วนต่าง ๆ ของยุโรป และได้พิมพ์หนังสือพิมพ์อิสกรา เช่นเดียวกับสิ่งพิมพ์และหนังสืออื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิวัติ

เลนินขณะปราศรัย

เขาได้ร่วมกิจกรรมของพรรคแรงงานสังคมประชาธิปไตยของรัสเซีย และในปี พ.ศ. 2446 เขาได้เป็นผู้นำฝ่ายบอลเชวิคภายในพรรค ภายหลังจากที่แตกแยกกับกลุ่มเมนเชวิกที่ได้แรงบันดาลใจส่วนหนึ่งมาจากงานของเลนินชื่อว่า จะทำอะไรในอนาคต (What is to be done?) ในปี พ.ศ. 2449 เลนินได้รับเลือกเข้าไปในคณะกรรมการบริหารพรรคแรงงานสังคมประชาธิปไตยของรัสเซีย ในปี พ.ศ. 2450 เขาได้ย้ายไปอยู่ที่ฟินแลนด์ด้วยเหตุผลด้านความปลอดภัย เขาได้ท่องเที่ยวไปในยุโรปต่อและร่วมในการประชุมและกิจกรรมของพวกสังคมนิยมในหลายๆแห่ง รวมถึงการประชุมซิมเมอร์วัลด์ในปี พ.ศ. 2458 ด้วย เมื่อ อิเนสซ่า อาร์วัลด์ ออกมาจากรัสเซียแล้วตั้งถิ่นฐานในปารีส เธอก็ได้พบกับเลนิน และสมาชิกบอลเชวิกคนอื่น ๆ ที่ถูกเนรเทศมา ในที่สุดเธอก็ได้กลายเป็นสหายของเลนิน

ในวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2460 เขาได้ออกจากสวิตเซอร์แลนด์กลับไปยังเมืองเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก (เปโตรกราด) ในรัสเซียหลังจากที่ซาร์นิโคลัสที่ 2 ถูกโค่นล้ม และมีบทบาทสำคัญในขบวนการบอลเชวิก เขาได้พิมพ์เมษาวิจารณ์ (April Theses) ต่อมาหลังจากความล้มเหลวในการประท้วงของคนงาน เลนินได้หนีไปยังฟินแลนด์เพื่อความปลอดภัย เขากลับมาในเดือนตุลาคมปีเดียวกัน และได้ปลุกระดมทหารให้ลุกขึ้นปฏิวัติโดยมีคำขวัญว่า “อำนาจทั้งหมดเพื่อโซเวียตทั้งหลาย” (คำว่า โซเวียต แปลว่า สภา) เพื่อต่อต้านรัฐบาลชั่วคราวที่นำโดย อเล็กซานดร์ เคเรนสกี้ ความคิดของเลนินเกี่ยวกับรัฐบาลนั้นเขียนอยู่ในบทความเรื่อง “รัฐและการปฏิวัติ” ซึ่งเรียกร้องให้มีระบบการปกครองใหม่ที่มีรากฐานมากจากสภาของคนงานหรือโซเวียต

ประมุขของรัฐโซเวียต

ในวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2460 เลนินได้รับเลือกให้เป็นประธานสภาที่ปรึกษาประชาชน (ซึ่งเทียบเท่าตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในสมัยต่อมา) โดยสภาคองเกรสโซเวียตในรัสเซีย ในขณะนั้น เลนินต้องเผชิญกับการโจมตีของเยอรมนี เลนินต้องการให้รัสเซียลงนามในสัญญาสันติภาพทันที ผู้นำบอลเชวิกคนอื่น ๆ ต้องการให้ทำสงครามกับเยอรมนีต่อไปเพื่อเป็นการกระตุ้นการปฏิวัติในเยอรมนี ส่วนเลออน ทรอตสกี ที่เป็นประธานในการเจรจานั้นรักษาสถานะเป็นกลางระหว่างสองฝ่าย คือ เรียกร้องสันติภาพ แต่มีเงื่อนไขว่าจะต้องไม่มีฝ่ายใดได้หรือเสียดินแดนเพิ่ม หลังจากที่การเจรจาล้มเหลว เยอรมนีก็ได้โจมตีและยึดครองดินแดนฝั่งตะวันตกของรัสเซียไปมาก ซึ่งส่งผลให้ข้อเสนอของเลนินได้รับการสนับสนุนการเสียงส่วนมากของผู้นำพรรคบอลเชวิก และในที่สุดรัสเซียก็ต้องยอมลงนามในสนธิสัญญาเบรสท์-ลีตอฟสก์ ซึ่งรัสเซียเสียเปรียบอย่างมาก ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2461

เมื่อเลนินยอมรับว่าระบบโซเวียตเป็นระบบเดียวเท่านั้นที่ถูกต้องตามกฎหมาย เลนินจึงได้ปิดสภาร่างรัฐธรรมนูญรัสเซียลงเพราะว่าพรรคบอลเชวิกไม่ได้เสียงข้างมากในสภานั้น แต่พรรคที่ได้เสียงข้างมากคือพรรคปฏิวัติสังคมนิยมที่ต่อมาภายหลังแตกออกเป็นฝ่ายซ้ายที่นิยมระบบโซเวียต และฝ่ายขวาที่ต่อต้านระบบโซเวียต ส่วนพรรคบอลเชวิกนั้นมีเสียงข้างมากในสภาคองเกรสโซเวียต และได้จัดตั้งรัฐบาลผสมร่วมกับฝ่ายซ้ายของพรรคปฏิวัติสังคมนิยม อย่างไรก็ตาม การร่วมมือครั้งนี้ก็ได้ล้มเหลวลงหลังจากพรรคปฏิวัติสังคมนิยมต่อต้านสนธิสัญญาเบรสต์-ลิตอฟสก์ และได้ไปเข้าร่วมกับพรรคอื่นเพื่อล้มรัฐบาลโซเวียต สถานการณ์ได้เลวร้ายลง เมื่อพรรคอื่นๆ ที่ไม่ใช่พรรคบอลเชวิก (รวมถึงกลุ่มสังคมนิยมหลายกลุ่ม) ได้พยายามล้มรัฐบาลโซเวียต เลนินได้ตอบโต้ด้วยการพยายามยุบพรรคเหล่านั้น แต่ไม่สำเร็จ

ในวันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2461 ฟันย่า คัปลัน สมาชิกพรรคปฏิวัติสังคมนิยม ได้เข้าใกล้เลนินหลังจากที่เลนินได้กล่าวปราศรัยในการประชุมพบปะ และกำลังเดินกลับรถ เธอได้ร้องเรียกเลนิน เมื่อเลนินหันกลับมาเพื่อจะตอบ เธอก็ได้นำปืนยิงเลนินไป 3 นัด 2 นัดทะลุเข้าที่ปอดและไหล่ของเลนิน เลนินถูกพากลับไปยังเครมลิน เพราะว่าเขาปฏิเสธที่จะไปโรงพยาบาลเนื่องจากเชื่อว่าน่าจะมีคนดักรอทำร้ายอยู่ที่โรงพยาบาลแน่ แพทย์ได้ถูกเรียกมาดูอาการของเลนิน แต่ได้ลงความเห็นว่าเป็นการเสี่ยงอันตรายเกินไปที่จะถอนลูกกระสุนออกมา ต่อมาไม่นานเลนินก็เริ่มฟื้นตัว แต่สุขภาพของเขาก็เริ่มย่ำแย่ลง และเชื่อกันว่าจากเหตุการณ์ครั้งนี้เป็นสาเหตุของการอุดตันของเส้นโลหิตที่ไปเลี้ยงสมองของเลนินในเวลาต่อมา

ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2462 เลนินและผู้นำพรรคบอลเชวิกคนอื่น ๆ ได้พบกับกลุ่มปฏิวัติสังคมนิยมจากทั่วโลก และได้ร่วมกันก่อตั้ง คอมมิวนิสต์นานาชาติ (โคมินเทิร์น) ในครั้งนี้ สมาชิกของคอมินเทิร์น รวมถึงพรรคบอลเชวิกเอง ได้แยกตัวออกจากขบวนการสังคมนิยม ต่อไปพวกเขาจะเป็นที่รู้จักกันว่า "คอมมิวนิสต์" ในรัสเซียเอง พรรคบอลเชวิกก็ได้เปลี่ยนชื่อเป็น พรรคคอมมิวนิสต์รัสเซีย ซึ่งต่อมาภายหลังจะกลายเป็น พรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียต (CPSU)

ในขณะเดียวกัน สงครามกลางเมืองก็ได้แผ่ขยายลุกลามออกไปทั่วรัสเซีย การเคลื่อนไหวทางการเมืองหลายชนิดและผู้สนับสนุนการเคลื่อนไหวเหล่านั้นได้จับอาวุธขึ้นสู้เพื่อโค่นล้มรัฐบาลโซเวียต แม้ว่าจะมีหลายฝ่ายที่เข้าร่วมสงครามกลางเมือง แต่มีฝ่ายหลัก ๆ เพียงสองฝ่ายคือ ผ่ายกองทัพแดง (คอมมิวนิสต์) และฝ่ายกองทัพขาว (นิยมกษัตริย์) มหาอำนาจต่างชาติได้แก่ ฝรั่งเศส อังกฤษ สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่นก็ได้แทรกแซงสงครามนี้ (โดยเป็นฝ่ายสนับสนุนกองทัพขาว) แต่ในที่สุด ฝ่ายกองทัพแดงก็มีชัยในสงคราม โดยเอาชนะกองทัพขาวและพันธมิตรได้ในปี พ.ศ. 2463 (แม้ว่ากองกำลังต่อต้านขนาดย่อม ๆ ยังคงเหลืออยู่ต่อมาอีกหลายปี)

ในไม่กี่เดือนสุดท้ายของปี พ.ศ. 2462 ความสำเร็จของกองทัพแดงเหนือกองทัพขาวได้ทำให้เลนินมั่นใจว่าถึงเวลาแล้วที่จะขยายวงการปฏิวัติไปสู่โลกตะวันตก โดยการใช้กำลังหากจำเป็น เมื่อสาธารณรัฐโปแลนด์ที่ 2 ที่เพิ่งเป็นอิสระได้ใหม่ ๆ เริ่มต้นที่จะป้องกันพรมแดนทางตะวันออกที่ติดกับรัสเซีย ที่แต่เดิมเป็นของรัสเซียมาตั้งแต่การแบ่งโปแลนด์ในศตวรรษที่ 18 ก็เกิดการปะทะกับฝ่ายรัสเซียเพื่อยึดครองดินแดนส่วนนี้ ทำให้เกิดสงครามโปแลนด์–โซเวียตขึ้นในปี พ.ศ. 2462 ระหว่างนั้นก็มีการปฏิวัติในเยอรมนีและสันนิบาตสปาร์ตาซิสต์กำลังเจริญเติบโต เลนินก็มองว่าเป็นเวลาที่เหมาะสมแล้วที่จะ “แทงยุโรปด้วยดาบปลายปืนของกองทัพแดง” โดยเลนินเห็นโปแลนด์เป็นสะพานที่จำเป็นต้องข้ามเพื่อเชื่อมต่อการปฏิวัติในโซเวียตกับผู้สนับสนุนคอมมิวนิสต์ในการปฏิวัติในเยอรมนี และเพื่อเป็นการช่วยเหลือขบวนการคอมมิวนิสต์ต่าง ๆ ในยุโรปตะวันตก อย่างไรก็ตาม ความพ่ายแพ้ของโซเวียตรัสเซียในสงครามกับโปแลนด์ ได้ทำให้แผนนี้ถูกล้มเลิกไป

สงครามอันยาวนานในรัสเซียได้ทำลายรัสเซียให้เหลือแต่ซากเป็นวงกว้าง ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2464 เลนินได้แทนที่นโยบายคอมมิวนิสต์ด้วยสงคราม (ที่ถูกใช้ในช่วงสงครามกลางเมือง) ด้วยนโยบายเศรษฐกิจใหม่ เพื่อที่จะพยายามฟื้นฟูอุตสาหกรรมและโดยเฉพาะอย่างยิ่งการเกษตร แต่ในเดือนเดียวกัน ก็มีการปราบปรามการลุกฮือขึ้นของกะลาสีที่เมืองครอนสตัดท์ (เรียกว่า การกบฏที่ครอนสตัดท์)

การเสียชีวิตของเลนิน

สุขภาพของเลนินนั้นได้เสียหายอย่างรุนแรง เนื่องจากความเครียดที่หลีกเลี่ยงไม่ได้จากการปฏิวัติและสงคราม ความพยายามที่จะสังหารเลนินเมื่อก่อนหน้า ก็ยังช่วยซ้ำเติมปัญหาสุขภาพของเลนิน ลูกกระสุนในคราวนั้นก็ยังฝังอยู่ที่คอของเลนินบริเวณที่ใกล้เส้นประสาทมาก เกินกว่าเทคโนโลยีในสมัยนั้นจะช่วยผ่าตัดออกได้โดยไม่กระทบเส้นประสาท ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2465 เลนินมีอาการอุดตันของเส้นโลหิตที่ไปเลี้ยงสมองเป็นครั้งแรก เขากลายเป็นอัมพาตที่บางส่วนในซีกขวาของร่างกาย ทำให้เลนินมีบทบาทน้อยลงในรัฐบาล หลังจากการอุดตันของเส้นโลหิตที่ไปเลี้ยงสมองครั้งที่สองในเดือนธันวาคมปีเดียวกัน เลนินก็ได้วางมือจากกิจกรรมทางการเมืองทุกชนิด ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2466 เลนินมีอาการอุดตันของเส้นโลหิตที่ไปเลี้ยงสมองครั้งที่สาม ทำให้เขาต้องนอนอยู่กับเตียงและไม่สามารถพูดได้

เลนินเสียชีวิตในวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2467 ข่าวลือที่ว่าเลนินเสียชีวิตด้วยโรคซิฟิลิสนั้นแพร่กระจายไปไม่นานหลังจากที่เขาตาย แต่สาเหตุการเสียชีวิตของเลนินอย่างเป็นทางการคือ เลนินเสียชีวิตจากการอุดตันของเส้นโลหิตที่ไปเลี้ยงสมองครั้งที่ 4 แต่ว่านายแพทย์ประจำตัวของเลนิน 8 คนจาก 27 คนเท่านั้น ที่ลงนามในผลสรุปการชันสูตรศพ ดังนั้น ทฤษฎีต่าง ๆ เกี่ยวกับการเสียชีวิตของเลนินก็ยังมีการนำเสนออยู่เรื่อย ๆ ตัวอย่างเช่น การวินิจฉัยหลังการเสียชีวิตโดยจิตแพทย์ 2 คนและนักประสาทวิทยา 1 คน ที่มีรายงานลงตีพิมพ์ในวารสารประสาทวิทยาของยุโรป อ้างว่าเลนินเสียชีวิตจากโรคซิฟิลิส

ในปี พ.ศ. 2466 เลนินได้รับการรักษาจากแพทย์ด้วยตัวยาซัลวาซาน ที่เป็นตัวยาเดียวในสมัยนั้นที่ใช้รักษาโรคซิฟิลิส และตัวยาโพแตสเซียมไอโอดีน ที่เป็นวิธีปฏิบัติในการรักษาโรคนี้ในขณะนั้นเช่นกัน

แม้ว่าเลนินอาจเป็นโรคซิฟิลิสเช่นเดียวกับคนรัสเซียจำนวนมากในขณะนั้น แต่เลนินก็ไม่มีอาการของโรคซิฟิลิสขั้นสุดท้ายที่แสดงให้เห็นบริเวณร่างกาย นักประวัติศาสตร์จำนวนมากจึงเห็นพ้องต้องกันว่า เลนินเสียชีวิตด้วยอาการอุดตันของเส้นโลหิตที่ไปเลี้ยงสมอง ซึ่งเกิดจากลูกกระสุนที่ฝังอยู่ในลำคอจากการลอบสังหาร

เมืองเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กนั้นได้ถูกเปลี่ยนชื่อเป็นเมือง "เลนินกราด" เพื่อเป็นเกียรติแก่เลนิน เมืองนี้ยังคงชื่อเลนินกราดไว้จนกระทั่งการล่มสลายของสหภาพโซเวียตในปี พ.ศ. 2534 จึงเปลี่ยนชื่อกลับเป็นเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก

หลังจากที่เลนินมีอาการอุดตันของเส้นโลหิตที่ไปเลี้ยงสมองครั้งแรก เลนินได้เขียนงานหลายฉบับที่กำหนดแนวทางของรัฐบาล ที่มีชื่อเสียงที่สุดในบรรดางานเหล่านี้ คือ พันธสัญญาของเลนิน ส่วนหนึ่งของงานชิ้นนี้ได้วิจารณ์สมาชิกระดับสูงของพรรคคอมมิวนิสต์ เช่น ลีออน ทรอตสกี้ และโจเซฟ สตาลิน สำหรับสตาลิน ผู้ที่ได้เป็นเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์ตั้งแต่เดือนเมษายน พ.ศ. 2465 เลนินกล่าวว่า เขามี “อำนาจล้นเหลือที่รวมอยู่ในมือของเขา” และแนะนำให้ “สหายจงคิดหาวิธีทำให้สตาลินพ้นจากตำแหน่งนั้น” ภรรยาของเลนินได้ค้นพบงานชิ้นนี้ในห้องทำงานของเลนิน และอ่านให้คณะกรรมการกลางของพรรคฟัง ส่วนหนึ่งของคณะกรรมการฟัง เชื่อ แต่ไม่ได้ซึมซับคำพูดเหล่านี้เอาไว้ ทำให้การวิจารณ์ภายในพรรคครั้งนี้ ไม่ได้เปิดเผยออกมากว้างขวางนัก

ในช่วงต้นคริสต์ทศวรรษ 1920 (ประมาณ พ.ศ. 2464- พ.ศ. 2469) การเคลื่อนไหวเกี่ยวกับลัทธิพลังจักรวาลในรัสเซียค่อนข้างเป็นที่นิยม ทำให้มีความพยายามที่จะแช่แข็งร่างของเลนินไว้ เพื่อจะทำให้เขาฟื้นคืนชีพขึ้นมาในอนาคต อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่จำเป็นได้รับการซื้อเข้ามาในรัสเซีย แต่ด้วยเหตุผลหลายประการทำให้แผนนี้ไม่สามารถเกิดขึ้นได้ โดยร่างของเลนินได้ถูกนำไปดอง และตั้งไว้ในอนุสาวรีย์เลนินในกรุงมอสโก

เลนินได้แสดงความปรารถนาก่อนเสียชีวิตไม่นานว่า ไม่ให้สร้างอนุสาวรีย์อะไรเพื่อระลึกถึงเขา แต่มีนักการเมืองบางคนต้องการยกสถานะตัวเอง โดยนำตนเองไปเกี่ยวข้องกับเลนินหลังจากที่เลนินเสียชีวิต และตัวตนของเลนินนั้นก็ถูกยกขึ้นไปเกือบเทียบเท่าบุคคลในตำนาน และมีอนุสาวรีย์มากมายที่สร้างขึ้นเพื่อเทิดทูนเขา

หมายเหตุ

  1. รัสเซีย: Владимир Ильич Ульянов, อักษรโรมัน: Vladimir Ilyich Ulyanov, สัทอักษรสากล: [vlɐˈdʲimʲɪr ɨˈlʲjitɕ ʊˈlʲjanəf]
  2. รัสเซีย: Ленин, อักษรโรมัน: Lenin, สัทอักษรสากล: [ˈlʲenʲɪn]

แหล่งข้อมูลอื่น

ก่อนหน้า วลาดีมีร์ เลนิน ถัดไป
เริ่มตำแหน่ง ประธานสภาประชาชนแห่งสหภาพโซเวียต
(30 ธันวาคม 1922 – 21 มกราคม 1924)
อเล็กเซ ริกอฟ
รักษาการ
ผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์แห่งรัสเซีย
(17 พฤศจิกายน 1903 – 21 มกราคม 1924)
โจเซฟ สตาลิน
ในตำแหน่ง เลขาธิการใหญ่