ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พะโค"

พิกัด: 17°20′N 96°29′E / 17.333°N 96.483°E / 17.333; 96.483
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ย้อนการแก้ไขที่ 7401133 สร้างโดย 183.88.178.195
ป้ายระบุ: ทำกลับ
บรรทัด 42: บรรทัด 42:
}}
}}


'''พะโค''' ({{lang-my|ပဲခူးမြို့}}, {{lang-roman|Bago หรือ Pegu}}) หรือชื่อในอดีตคือ '''หงสาวดี''' ({{lang-my|ဟံသာဝတီ}}, [hɔŋsawətɔe] ''หิ่นต่าวะดี่''; {{lang-roman|Hongsawatoi, Hanthawaddy, Hanthawady, Hanthawadi หรือ Handawaddy}}) เป็นเมืองหลวงของ[[เขตหงสาวดี]] ตั้งอยู่ใกล้เมือง[[เมาะตะมะ]] ทางตอนใต้ของประเทศพม่า
'''พะโค''' ({{lang-my|ပဲခူးမြို့}}, {{lang-roman|Bago หรือ Pegu}}) หรือชื่อในอดีตคือ '''หงสาวดี''' ({{lang-my|ဟံသာဝတီ}}, [hɔŋsawətɔe] ''หงสาวะโตย''; {{lang-roman|Hongsawatoi, Hanthawaddy, Hanthawady, Hanthawadi หรือ Handawaddy}}) เป็นเมืองหลวงของ[[เขตหงสาวดี]] ตั้งอยู่ใกล้เมือง[[เมาะตะมะ]] ทางตอนใต้ของประเทศพม่า


นครหงสาวดีเคยเป็น[[เมืองหลวง]]ของ[[ราชอาณาจักรหงสาวดี]]ของชาวมอญ และ[[อาณาจักรตองอู]]ของชาวพม่า
นครหงสาวดีเคยเป็น[[เมืองหลวง]]ของ[[ราชอาณาจักรหงสาวดี]]ของชาวมอญ และ[[อาณาจักรตองอู]]ของชาวพม่า

รุ่นแก้ไขเมื่อ 20:20, 14 มกราคม 2561

พะโค

ပဲခူးမြို့
พะโคตั้งอยู่ในประเทศพม่า
พะโค
พะโค
ที่ตั้งเมืองพะโค ประเทศพม่า
พิกัด: 17°20′12″N 96°28′47″E / 17.33667°N 96.47972°E / 17.33667; 96.47972
ประเทศพม่า
เขตเขตหงสาวดี
ก่อตั้ง?825
ความสูง13 ฟุต (4 เมตร)
ประชากร
 (2012)
 • ตัวเมือง284,179 คน
 • รวมปริมณฑล5,739,344 คน
 • ชาติพันธุ์พม่า, พม่าเชื้อสายจีน, พม่าเชื้อสายอินเดีย, กะเหรี่ยง
 • ศาสนาพุทธ
เขตเวลาUTC+6.30 (MST)

พะโค (พม่า: ပဲခူးမြို့, อักษรโรมัน: Bago หรือ Pegu) หรือชื่อในอดีตคือ หงสาวดี (พม่า: ဟံသာဝတီ, [hɔŋsawətɔe] หงสาวะโตย; อักษรโรมัน: Hongsawatoi, Hanthawaddy, Hanthawady, Hanthawadi หรือ Handawaddy) เป็นเมืองหลวงของเขตหงสาวดี ตั้งอยู่ใกล้เมืองเมาะตะมะ ทางตอนใต้ของประเทศพม่า

นครหงสาวดีเคยเป็นเมืองหลวงของราชอาณาจักรหงสาวดีของชาวมอญ และอาณาจักรตองอูของชาวพม่า

ประวัติ

พระนอนชเวตาลยอง หนึ่งในสัญลักษณ์ของเมืองหงสาวดี ความยาว 177 ฟุต (54 ม) สร้างปี ค.ศ 994 สมัยกษัตริย์มอญ

หงสาวดีตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำพะโค เป็นเมืองของชาวมอญมาก่อนในอดีต พระเจ้าตะเบ็งชเวตี้เคยเสด็จเข้ามาทำพิธีเจาะพระกรรณที่ฐานพระธาตุมุเตาขณะที่ยังอยู่ในเขตของมอญอยู่ ก่อนที่พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้จะทำสงครามยึดครองหงสาวดีจากชาวมอญ ในปี พ.ศ. 2082 และสถาปนาเป็นศูนย์กลางอำนาจของราชวงศ์ตองอู เดิมเมืองหงสาวดีเก่ายุคมอญอยู่บริเวณตะวันออกของพระธาตุมุเตา ต่อมาจึงย้ายและสร้างให้ใหญ่กว่าเดิมในยุคพม่า

หงสาวดีเจริญรุ่งเรืองสุดในรัชสมัยของพระเจ้าบุเรงนอง เนื่องจากพระองค์ให้ทรงสร้างพระราชวังของพระองค์ที่ชื่อ กัมโพชธานี ซึ่งนับเป็นพระราชวังใหญ่โตมีประตูทางเข้าออกถึง 10 ประตู สร้างโดยเกณฑ์ข้าทาสจากเมืองขึ้นต่าง ๆ โดยหนึ่งในนั้นมีเมืองเชียงใหม่และอยุธยารวมอยู่ด้วย จนถึงสมัยพระเจ้านันทบุเรงหลังศึกยุทธหัตถีแล้ว นัดจินหน่องได้ผูกมิตรกับเมืองยะไข่และอยุธยาเพื่อเข้าตีหงสาวดี แต่มหาเถรเสียมเพรียมได้ยุยงให้ตองอูไม่เข้ากับอยุธยา ดังนั้นเมื่อทัพตองอูมาถึงหงสาวดีก็ได้เข้าตีและล้อมเมืองเอาไว้ เมื่อทางหงสาวดีทราบข่าวว่าพระนเรศวรปราบทหารตามแนวชายแดนสำเร็จแล้วจึงเปิดประตูเมืองรับทัพตองอู พระเจ้านันทบุเรงมอบสิทธิ์ขาดในการบัญชาการทัพแก่นัดจินหน่องและเชิญพระเจ้านันทบุเรงไปประทับ ณ ตองอู เพื่อเตรียมรับทัพพระนเรศวร ตองอูได้กวาดต้อนพลเรือนและทรัพย์สินไปยังตองอู ทิ้งเมืองให้ยะไข่ปล้นและเผาเมือง ส่วนพระนเรศวรมาถึงหงสาวดีก็เหลือแต่เมืองที่ถูกเผาแล้ว พระนเรศวรจึงยกทัพไปตีตองอูต่อ หลังจากนั้น ศูนย์กลางอำนาจของพม่าได้ย้ายไปยังอังวะ, อมรปุระ และมัณฑะเลย์ตามลำดับ จนถึงวันที่พม่าเสียเอกราชให้แก่อังกฤษ

สัญลักษณ์ของเมือง

สัญลักษณ์เป็นรูปหงส์คู่ มีตำนานของชาวมอญเล่าว่า พระพุทธเจ้าเสด็จมาถึงเมืองหงสาวดีที่สมัยก่อนยังคงเป็นชายหาดริมทะเล พระพุทธเจ้าทรงเห็นหงส์สองตัวว่ายน้ำเล่นกัน จึงทำนายออกมาว่าภายหลังจะเป็นเมืองที่เจริญรุ่งเรือง ชาวมอญจึงถือเอาตำนานเรื่องนี้มาเป็นสัตว์สัญลักษณ์ของเมือง นอกจากนี้ตำนานยังกล่าวว่าหงส์คู่นั้นตัวเมียขี่ตัวผู้ จึงมีคำทำนายว่าต่อไปผู้หญิงจะเป็นใหญ่ ซึ่งผู้หญิงคนนั้นคือ พระนางเชงสอบู กษัตรีย์ของชาวมอญนั่นเอง

อีกหนึ่งสัญลักษณ์ของหงสาวดี คือ พระธาตุชเวมอดอ หรือที่คนไทยนิยมเรียกว่า พระธาตุมุเตา เป็นพระธาตุที่อยู่คู่กับเมืองมานาน เป็นพระธาตุศักดิ์สิทธิ์ที่เชื่อว่าภายในได้บรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้าไว้ เล่ากันว่าเมื่อครั้งใดที่พระเจ้าบุเรงนองจะออกทำศึกจะทรงสักการะขอพรจากพระธาตุนี้ทุกครั้ง และเมื่อครั้งสมเด็จพระนเรศวรมหาราชได้เสด็จมายังที่หงสาวดีนี้ก็ได้ทำการสักการะพระธาตุนี้ด้วย

ปัจจุบัน หงสาวดีเป็นเมืองที่ทำรายได้ให้แก่ประเทศพม่าด้วยความที่เป็นเมืองท่องเที่ยว มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ และศิลปะ วัฒนธรรม

อ้างอิง

ก่อนหน้า พะโค ถัดไป
ดอนวุน เมืองหลวงราชอาณาจักรหงสาวดี
(1369 – มกราคม 1539)
สิ้นสุด
ตองอู อาณาจักรตองอู
(มกราคม 1539 – 30 เมษายน 1550)
อังวะ
พะโค เมืองหลวงราชอาณาจักรหงสาวดี
(มิถุนายน 1550 – 12 มีนาคม 1552)
สิ้นสุด
ตองอู อาณาจักรตองอู
(12 มีนาคม 1552 – 19 ธันวาคม 1599)
อังวะ
อังวะ อาณาจักรตองอู
(14 พฤษภาคม 1613 – 25 มกราคม 1635)
อังวะ
สถาปนา เมืองหลวงราชอาณาจักรหงสาวดีใหม่
(พฤศจิกายน 1740 – 6 พฤษภาคม 1757)
สิ้นสุด

17°20′N 96°29′E / 17.333°N 96.483°E / 17.333; 96.483