พระนอนชเวตาลย่อง

พิกัด: 17°20′17″N 96°27′45″E / 17.337931°N 96.462409°E / 17.337931; 96.462409
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก พระนอนชเวตาลยอง)
พระพุทธไสยาสน์ชเวตาลย่อง
ရွှေသာလျောင်းရုပ်ပွားတော်ကြီး
ศาสนา
ศาสนาพุทธ
นิกายเถรวาท
ภูมิภาคภาคพะโค
สถานะเปิด
ที่ตั้ง
เทศบาลพะโค
ประเทศพม่า
พระนอนชเวตาลย่องตั้งอยู่ในประเทศพม่า
พระนอนชเวตาลย่อง
ที่ตั้งในประเทศพม่า
พิกัดภูมิศาสตร์17°20′17″N 96°27′45″E / 17.337931°N 96.462409°E / 17.337931; 96.462409
สถาปัตยกรรม
เสร็จสมบูรณ์พ.ศ. 1537
ลักษณะจำเพาะ
ความยาว55 เมตร (180 ฟุต)
ความสูงสูงสุด16 เมตร (52 ฟุต)

พระพุทธไสยาสน์ชเวตาลย่อง หรือ พระนอนชเวตาลย่อง (พม่า: ရွှေသာလျှောင်းဘုရား, ออกเสียง: [ʃwèθàljáʊ̯ɰ̃ pʰəjá]; ชื่อเต็ม ရွှေသာလျောင်းရုပ်ပွားတော်ကြီး) เป็นพระพุทธรูปปางไสยาสน์ขนาดใหญ่ทางทิศตะวันตกของเมืองหงสาวดี (พะโค) องค์พระมีความยาว 55 เมตร (180 ฟุต) สูง 16 เมตร (52 ฟุต) เป็นพุทธศิลป์แบบมอญ เชื่อว่าได้รับการสร้างขึ้นใน พ.ศ. 1537 ช่วงสมัยมอญเรืองอำนาจ ในรัชสมัยของกษัตริย์เมกะติปะ ร่วมสมัยเดียวกับปราสาทบันทายศรีของกัมพูชา และหายไปใน พ.ศ. 2300 เมื่อหงสาวดีถูกพระเจ้าอลองพญาตีแตก

ในช่วงการปกครองอาณานิคมของอังกฤษใน พ.ศ. 2423 ระหว่างการสร้างทางรถไฟ พระพุทธรูปได้ถูกค้นพบภายใต้การปกคลุมของป่ารกชัฏ การบูรณะเริ่มขึ้นใน พ.ศ. 2424 ทางการพม่าได้สร้างโรงเรือนคลุมไว้ แต่สภาพโรงเรือนค่อนข้างจะคับแคบ แลดูไม่สวยงาม เพราะคลุมเหนือองค์พระไว้เพียงนิดเดียว ทั้งนี้เป็นเพราะการสร้างโรงเรือนคลุมไว้ทีหลัง เช่นเดียวกับพระพุทธไสยาสน์แห่งวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหารในไทย และมีการสร้างหมอนโมเสกของพระพุทธรูปในปี พ.ศ. 2473[1][2][3]

จุดเด่นของพระนอนองค์นี้คือ บริเวณพระบาทไม่วางเสมอกันเหมือนอย่างพระพุทธรูปปางไสยาสน์ของไทย อันมีความหมายว่า ในขณะนั้นพระพุทธเจ้ายังมีพระชนม์ชีพอยู่ ซึ่งเป็นอากัปกิริยาก่อนที่พระองค์จะเสด็จสู่ปรินิพพานในวันถัดมา

ปัจจุบัน พระพุทธไสยาสน์ชเวตาลย่องเป็นพระพุทธรูปองค์สำคัญของเมืองหงสาวดี เป็นเสมือนสัญลักษณ์ประจำเมืองอย่างหนึ่ง เช่นเดียวกับเจดีย์ชเวมอดอ

คลังภาพ[แก้]

อ้างอิง[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ พระพุทธไสยาสน์ชเวตาลย่อง