ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ทองเนื้อเก้า"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Boripat2543 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 126: บรรทัด 126:
|}
|}


{| class = "wikitable"
== รางวัลที่ได้รับ ==
; ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2530
{| class="wikitable"
|-
|-
| สมฤดี (หนูสม) (วัย 3-4 ปี) และ (วัย 8-9 ปี) || ด.ญ.พิมพ์นลิน เพ็ชรไพโรจน์ || ด.ญ.ปุญญาภา แสงหิรัญ
! width="30%" |รางวัล !! width="25%" |สาขารางวัล !! width="25%" |ผู้ได้รับการเสนอชื่อ !! width="10%" |ผลการตัดสิน
|-
| rowspan="3" | <center> [[รางวัลเมขลา]] ครั้งที่ 7 || ผู้แสดงนำหญิงดีเด่น || [[อภิรดี ภวภูตานนท์]] || {{won}}
|-
| ผู้แสดงประกอบชายดีเด่น || วิทยา สุขดำรงค์ || {{won}}
|-
| ผู้กำกับการแสดงดีเด่น || [[มานพ สัมมาบัติ]] || {{won}}
|-
|-style="border-top:2px solid gray;"
| rowspan="4" | <center> [[รางวัลโทรทัศน์ทองคำ]] ครั้งที่ 2 || ละครชีวิตดีเด่น || '''ทองเนื้อเก้า''' || {{nom}}
|-
| ผู้แสดงนำหญิงดีเด่น || [[อภิรดี ภวภูตานนท์]] || {{won}}
|-
| ผู้กำกับการแสดงละครดีเด่น || [[มานพ สัมมาบัติ]] || {{won}}
|-
| บทละครดีเด่น || คนพวน-ยิ่งยศ ปัญญา || {{nom}}
|}

; ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2540
* 1 ใน 5 ผู้เข้าชิงรางวัลเมขลา ผู้แสดงนำหญิงดีเด่น (รชนีกร พันธุ์มณี) ปี 2540

; ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2556
{| class="wikitable"
|-
! width="30%" |รางวัล !! width="25%" |สาขารางวัล !! width="25%" |ผู้ได้รับการเสนอชื่อ !! width="10%" |ผลการตัดสิน
|-
| rowspan="3" | <center> [[รางวัลเมขลา |รางวัลเมขลา ครั้งที่ 28]] || ละครชีวิตดีเด่น || '''ทองเนื้อเก้า''' || {{nom}}
|-
| ผู้แสดงประกอบชายดีเด่น || [[อำภา ภูษิต]] || {{won}}
|-
| ผู้กำกับการแสดงดีเด่น || [[พงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง]] || {{won}}
|-
|-style="border-top:2px solid gray;"
| rowspan="4" | <center> [[เอ็มไทยท็อปทอล์กอะเบาต์ 2014]] || ละครที่ถูกกล่าวขวัญถึงมากที่สุด || '''ทองเนื้อเก้า''' || {{won}}
|-
| นักแสดงหญิงที่ถูกกล่าวถึงมากที่สุด || [[วรนุช ภิรมย์ภักดี]] || {{won}}
|-
| นักแสดงอาวุโสที่ถูกกล่าวขวัญถึงมากที่สุด || [[ทัศน์วรรณ เสนีย์วงศ์ ณ อยุธยา]] , [[อำภา ภูษิต]] || {{won}}
|-
| บทบาทขโมยซีนที่ถูกกล่าวขวัญถึงมากที่สุด || [[เมลิค เอเฟ่ ไอย์กูน]], [[ณัฐพัชร์ นิมจิรวัฒน์]], [[ยงศิลป์ วงศ์พนิตนนท์]] || {{won}}
|-
|-style="border-top:2px solid gray;"
| rowspan="7" | <center> รางวัลสีสันบันเทิงอวอร์ด 2013 || ละครยอดเยี่ยม || '''ทองเนื้อเก้า''' || {{won}}
|-
| ผู้กำกับแห่งปี || [[พงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง]] || {{won}}
|-
| ดารานำชายยอดเยี่ยม || [[ณัฐวุฒิ สะกิดใจ]] || {{won}}
|-
| ดารานำหญิงยอดเยี่ยม || [[วรนุช ภิรมย์ภักดี]] || {{won}}
|-
| ดารานำชายยอดเยี่ยม || [[จิรายุ ตั้งศรีสุข]] || {{won}}
|-
| ตัวจี๊ดหญิงแห่งปี || [[ทัศน์วรรณ เสนีย์วงศ์ ณ อยุธยา]] , [[อำภา ภูษิต]] || {{won}}
|-
| ขวัญใจมหาชน || [[เมลิค เอเฟ่ ไอย์กูน]], [[ณัฐพัชร์ นิมจิรวัฒน์]], [[ยงศิลป์ วงศ์พนิตนนท์]] || {{won}}
|-
|-style="border-top:2px solid gray;"
| rowspan="2" | <center> รางวัล The Nine Fever Awards 2014 || Drama Fever || '''ทองเนื้อเก้า''' || {{won}}
|-
| Fever Awards || [[เมลิค เอเฟ่ ไอย์กูน]], [[ณัฐพัชร์ นิมจิรวัฒน์]], [[ยงศิลป์ วงศ์พนิตนนท์]] || {{won}}
|-
|-style="border-top:2px solid gray;"
| rowspan="6" | <center> [[คมชัดลึก อวอร์ด|รางวัลคมชัดลึก อวอร์ด]] || ละครโทรทัศน์ยอดเยี่ยม ปี 2557 || '''ทองเนื้อเก้า''' || {{won}}
|-
| ผู้กำกับละครโทรทัศน์ยอดเยี่ยม || [[พงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง]] || {{won}}
|-
| บทโทรทัศน์ยอดเยี่ยม ปี 2557 || ยิ่งยศ ปัญญา || {{won}}
|-
| นักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม ปี 2557 || [[อำภา ภูษิต]] || {{won}}
|-
| นักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม ปี 2557 || [[ณัฐวุฒิ สกิดใจ]] || {{won}}
|-
| นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม ปี 2557 || [[ยงศิลป์ วงศ์พนิตนนท์]] || {{won}}
|-
|-style="border-top:2px solid gray;"
| rowspan="10" | <center> [[รางวัลนาฏราช ครั้งที่ 5|รางวัลนาฏราช]] || ละครยอดเยี่ยม ปี 2557 || '''ทองเนื้อเก้า''' || {{won}}
|-
| ผู้กำกับยอดเยี่ยม ปี 2557 || [[พงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง]] || {{won}}
|-
| บทโทรทัศน์ยอดเยี่ยม ปี 2557 || ยิ่งยศ ปัญญา || {{won}}
|-
| นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม ปี 2557 || [[ณัฐวุฒิ สกิดใจ]] || {{won}}
|-
| นักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม ปี 2557 || [[วรนุช ภิรมย์ภักดี]] || {{won}}
|-
| นักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม ปี 2557 || [[อำภา ภูษิต]] || {{won}}
|-
| นักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม ปี 2557 || [[อำภา ภูษิต]] || {{won}}
|-
| กำกับภาพยอดเยี่ยม ปี 2557 || อชิระ ดำพลับ || {{won}}
|-
| ลำดับภาพยอดเยี่ยม ปี 2557 || เสาวณิต สันตติวงศ์ไชย || {{won}}
|-
| ทีมนักแสดงยอดเยี่ยม ปี 2557 || '''ทองเนื้อเก้า''' || {{won}}
|-
|-style="border-top:2px solid gray;"
|}

* รางวัลดาราเดลี่ อวอร์ด ละครที่สุดแห่งปี ปี 2557
* รางวัลดาราเดลี่ อวอร์ด ดารานำหญิง สาขาละครที่สุดแห่งปี (วรนุช ภิรมย์ภักดี) ปี 2557
* [[สยามดารา สตาร์ส อวอร์ดส์]] ละครยอดเยี่ยม ปี 2557
* [[สยามดารา สตาร์ส อวอร์ดส์]] จอมขโมยซีน (เมลิค ไอย์กูน, แม็ค ณัฐพัชร์, ยอร์ช ยงศิลป์) ปี 2557
* [[สยามดารา สตาร์ส อวอร์ดส์]] ผู้กำกับยอดเยี่ยม สาขาละครโทรทัศน์ (พงษ์พัฒน์ วชิระบรรจง) ปี 2557
* รางวัลพิฆเนศวร รางวัลวิทยุโทรทัศน์แห่งชาติ ละครสร้างสรรค์สังคมดีเด่น ปี 2557
* รางวัลพิฆเนศวร รางวัลวิทยุโทรทัศน์แห่งชาติ นักแสดงนำหญิงดีเด่น (วรนุช ภิรมย์ภักดี) ปี 2557
* รางวัลพิฆเนศวร รางวัลวิทยุโทรทัศน์แห่งชาติ ผู้กำกับละครสร้างสรรค์สังคมดีเด่น (พงษ์พัฒน์ วชิระบรรจง) ปี 2557
* รางวัลพิฆเนศวร รางวัลวิทยุโทรทัศน์แห่งชาติ รางวัลนักแสดงรุ่นเยาว์ดีเด่น (ยงศิลป์ วงศ์พนิตนนท์) ปี 2557
* รางวัลพิฆเนศวร รางวัลวิทยุโทรทัศน์แห่งชาติ นักแสดงสมทบหญิงดีเด่น (อำภา ภูษิต) ปี 2557
* International Drama Festival in TOKYO 2014 รางวัล Special Foreing Drama Awards ละครต่างชาติยอดเยี่ยม ปี 2557 <ref>[http://www.krobkruakao.com/ข่าวบันเทิง/103808/อ๊อฟ-นุ่น-เป็นตัวแทนละคร--ทองเนื้อเก้า--รับรางวัล--ละครต่างชาติยอดเยี่ยมแห่งปี--ที่ญี่ปุ่น.html อ๊อฟ-นุ่น เป็นตัวแทนละคร "ทองเนื้อเก้า" รับรางวัล "ละครต่างชาติยอดเยี่ยมแห่งปี" ที่ญี่ปุ่น]</ref>


== อ้างอิง ==
== อ้างอิง ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 20:12, 9 มิถุนายน 2561

ทองเนื้อเก้า เป็นบทประพันธ์ของโบตั๋น มีเรื่องราวเกี่ยวกับลำยอง ตัวละครผู้หญิงขี้เมา สำส่อน ขี้เกียจ และวันเฉลิม ลูกชายของลำยองที่เปรียบเสมือนทองเนื้อแท้ที่ไม่ว่าจะอยู่ในที่แห่งหนใดก็ยังสามารถคงคุณงามความดีได้เสมอ

ประวัติ

นำมาทำเป็นละครโทรทัศน์ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2530 นำแสดงโดยอภิรดี ภวภูตานนท์ มารับบทลำยอง ร่วมด้วยโกวิท วัฒนกุล, พงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง, สาวิตรี สามิภักดิ์, บุญส่ง ดวงดารา, จุรี โอศิริ, วิทยา สุขดำรงค์, จักรกฤษณ์ คชรัตน์[1]

ถัดมาในปี พ.ศ. 2540 นำมาทำใหม่โดยได้รชนีกร พันธุ์มณี มารับบทลำยอง ร่วมด้วยนักแสดงอื่นอย่างบิลลี่ โอแกน, เจสัน ยัง, วันวิสาข์ ดำขำ, ปณิษฐา ตัณฑนาวิวัฒน์, เปียเชอร์ คริสเตนเซ่น, น้ำทิพย์ เสียมทอง, มยุริญ ผ่องผุดพันธุ์, อัจฉรา เหลืองสวัสดิ์, ครรชิต ขวัญประชา, อมรา อัศวนันท์, อัจฉราพรรณ ไพบูลย์สุวรรณ โดยละครทั้ง 2 ฉบับผลิตโดยค่ายดาราวิดีโอ ออกอากาศทางช่อง 7 และกำกับโดยมานพ สัมมาบัติ[2]

ในปี พ.ศ. 2556 กลับมาสร้างอีกครั้งออกอากาศทางช่อง 3 กำกับการแสดงโดยพงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง รับบทลำยองโดยวรนุช ภิรมย์ภักดี[3] ร่วมด้วยณัฐวุฒิ สะกิดใจ, จิรายุ ตั้งศรีสุข, ชาตโยดม หิรัณยัษฐิติ, พิศาล อัครเศรณี, ธนากร โปษยานนท์, ทัศน์วรรณ เสนีย์วงศ์ ณ อยุธยา, ญาณี ตราโมท, อำภา ภูษิต, ชลิต เฟื่องอารมย์, โชติรส ชโยวรรณ, วิรากานต์ เสณีตันติกุล, ณฉัตร จันทพันธ์, อรรถพล เทศทะวงศ์, ณัฏฐณิชา ดังวัธนาวณิชย์, ณิชชาพัณณ์ ชุณหะวงศ์วสุ, สุมณทิพย์ เหลืองอุทัย

เรื่องย่อ

สันต์ จ่าดุริยางค์ทหารเรือรูปหล่อ ลูกชายของปั้นและสิน สันต์พลาดท่าได้เสียกับลำยอง เมื่อปั้นรู้ข่าวว่าสันต์ลูกชายของตนได้เสียกับลำยองก็แทบเป็นลมจับ เพราะรู้อยู่เต็มอกว่าพื้นสันดานเดิมของบ้านลำยองเป็นเช่นไร ส่วนแลเมื่อรู้ว่าลูกสาวจับสันต์ทำผัวได้ก็ดีใจเพราะฝันว่าตัวเองจะสบายไปด้วย แต่สินและปั้นต้องจำใจรับลำยองเข้าบ้านในฐานะลูกสะใภ้ เมื่อลำยองตั้งท้องก็ไม่เคยช่วยงานใดๆเลย ทั้งงานบ้านหรืองานขายของอ้างว่าแพ้ท้อง ลำยองยังเรียกร้องความสะดวกสบายทุกอย่างที่อยากได้ สันต์จึงต้องตามใจและหามาให้ สันต์รู้สึกผิดที่พลาดท่าได้ลำยองมาเหมือนเอานรกมาไว้ในบ้านเพราะนับวันสันดานแท้ๆของลำยองก็ปรากฏเด่นชัดขึ้นมาทุกที

ลำยองคลอดลูกชายในวันมหามงคล สันต์จึงตั้งชื่อลูกว่าวันเฉลิม วันเฉลิมนำสิ่งดีๆมาให้ครอบครัวมากมาย สันต์ก็ได้เลื่อนยศเป็นพันจ่าและได้รับเลือกให้เข้าเรียนต่อโรงเรียนนายเรือ ลำยองไม่ยอมเลี้ยงลูกภาระหน้าที่จึงตกเป็นของปั้นและสิน ลำยองเริ่มติดยาดองจนอดไม่ได้ สันต์ไม่พอใจจึงมีปากเสียงกันลำยองด่าลามปามไปถึงปั้นและสิน สันต์เหลืออดจึงตบหน้าลำยอง ลำยองโกรธมากจึงหอบวันเฉลิมหนีไปอยู่บ้านยายแล สันต์สงสารลูกจึงต้องไปง้อลำยอง

เมื่อลำยองไปทำงานเครื่องเคลือบจึงเป็นที่ต้องตาต้องใจกวง เจ้าของโรงงาน กวงเอาอกเอาใจลำยองจนออกหน้าออกตา ปรนเปรอลำยองจนลำยองแน่ใจแล้วว่าได้พบเทพบุตรตัวจริง กวงซึ่งมีครอบครัวอยู่แล้ว และลำยองก็เคยมีผัวมาก่อนเมื่อความจริงปรากฏต่างฝ่ายก็ยอมรับสถานภาพของกันและกันได้ ฝ่ายสันต์เมื่อตัดใจจากลำยองได้ก็พบรักใหม่กับเทวี ซึ่งเป็นครู การศึกษาถึงขั้นปริญญา แต่ถึงจะตัดใจจากลำยองได้ แต่ก็ตัดความสัมพันธ์ระหว่างพ่อ-ลูกไม่ขาด

ลำยองตั้งท้องกับกวง แต่ลำยองก็ยังไม่ยอมเลิกเหล้า ลูกที่เกิดมาชื่อว่า อภิชาติ จึงเป็นทารกไม่สมบูรณ์ กวงกลุ้มใจและไม่อยากยุ่งกับลำยอง กอปรกับทางบ้านกวงรู้ว่ากวงแอบมีเมียน้อยจึงสั่งให้กวงเลิกยุ่งกับลำยองโดยให้กวงเอาเงินฟาดหัวลำยองไปก้อนหนึ่ง เมื่อลำยองได้รับเงินจากทางครอบครัวกวงจึงนำเงินมาเข้าบ่อน เล่นการพนัน กินเหล้าตามประสาคนมีเงิน และในบ่อนนั้น ลำยองก็ได้รู้จักกับเมืองเทพ เป็นเศรษฐีที่ดินแถวนั้น รวยมรดก ลำยองก็ได้ตั้งท้องกับเมืองเทพ คลอดออกมาเป็นลูกสาวชื่อ อ้อย เมืองเทพไม่สนใจลำยอง ฝ่ายแลก็ผิดหวังมากเพราะลำยองเลือกผัวผิดจริงๆ ลำยองเกี่ยงให้แลเลี้ยงลูกให้ แลจึงเตือนสติลำยองให้ลดเรื่องการพนัน ลดเหล้าเพื่อเห็นแก่ลูกๆของตนเองบ้าง แต่ลำยองไม่สนใจ

หลวงตาปิ่นเป็นผู้ที่คอยอบรมสั่งสอนวันเฉลิมในทุกๆเรื่อง เพราะฉะนั้นความสุขของวันเฉลิมคือการได้อยู่ที่โรงเรียนกับการอยู่ที่กุฏิหลวงตาปิ่น เพราะลำยองไม่เคยมีเวลาให้เขาเลย สันต์ได้รับเลือกให้เข้าไปรับการอบรมที่เมืองนอก เมื่อสันต์กลับมาก็ตกใจเมื่อรู้ว่าลำยองทำบ้านเป็นบ่อนและห้องเช่า ลำยองเองก็ได้ผัวอีกสองคนเป็นคนทำงานรับจ้างขับรถและคนลับมีดที่มาเช่าบ้านของลำยองและมีลูกชื่อ เหน่ง และ จิตรา

เวลาผ่านไปจนวันเฉลิมอายุได้ 7-8 ขวบ สันต์ต้องการรับวันเฉลิมไปอยู่ด้วยเพื่อให้วันเฉลิมได้เรียนหนังสือชั้นประถมฯต่อ จึงไปเจรจากับแล ซึ่งแลก็เห็นด้วยเพราะทนกับพฤติกรรมของลำยองไม่ไหว สินและปั้นจึงรวบรวมเงินเพื่อจะเอาตัววันเฉลิมมาอยู่ด้วย แต่เงินก็ไม่พอกับที่ลำยองเรียกมา ลำยองได้พบกับกำนันเสือในบ่อนแห่งหนึ่ง กำนันเสือเกิดติดตรึงใจลำยอง ลำยองจึงยอมเป็นเมียกำนันเสือหวังให้กำนันเสือเลี้ยงดู ลำยองติดพนันบ้านช่องไม่กลับ กำนันเสือกลัวว่าลำยองจะหลวมตัวในบ่อนจึงรับจำนองบ้าน ที่ดินของลำยองเอาไว้

ลำยองนอกใจกำนันเสือพาผู้ชายมานอนด้วยไม่ซ้ำหน้า จนทำให้ตั้งท้องลูกอีกคนหวังทึกทักว่าเป็นลูกที่เกิดกับกำนันเสือแล้วกำนันเสือจะยอมจดทะเบียนสมรสด้วย แต่ความจริงก็คือกำนันเสือเป็นหมันไม่มีทางมีลูกได้อีกแล้ว แต่เมื่อกำนันเสือรู้ความจริงว่าลำยองท้องจึงปล่อยบ้านให้เป็นของลำยองต่อไปเพราะเห็นแก่วันเฉลิม ลำยองพอใจที่กำนันเสือยกบ้านให้

คราวเคราะห์ไฟไหม้ชุมชนตลาดริมน้ำ ไฟลามมาถึงบ้านสินและปั้น ทั้งสินและปั้นช่วยกับขนของหนีไฟ ทุกคนอลหม่านกับการดับไฟ สินฝืนใจไม่ไหว จึงสำลักควันไฟและสิ้นลมอย่างสงบ ก่อนตายสินบอกกับปั้นว่าต้องการให้วันเฉลิมบวชเพื่อจะได้พ้นเคราะห์จากแม่ลำยอง

วันเฉลิมบวชเณร ทุกคนชื่นชมยินดี เณรวันเฉลิมเจริญรุ่งเรือง เป็นความหวังของท่านพระครูวัดนี้ว่าจะมีสามเณรเปรียญเก้าในอีกไม่ช้า ลำยองผิดคำสัญญาที่ให้ไว้กับเณรว่าจะเลิกกินเหล้าเข้าบ่อน ทุกคนได้แต่ปลง เพราะลำยองพาชีวิตตัวเองลงสู่นรกทุกที ในที่สุดบ้านลำยองก็ถูกยึดไปเพราะลำยองเอาบ้านเข้าจำนองไว้เจ้าของบ่อนแล้วถูกโกง ลำยองป่วยเป็นโรคซิฟิลิสและโรคทางประสาท ทำให้ลูกที่เกิดจากชู้ตายตั้งแต่อยู่ในท้อง ลำยองหนีออกจากบ้านไปอยู่โรงลิเกเก่า ลำยง ลำดวนและชุดไปตามตัวลำยองกลับมา ลำยองกลัวจึงวิ่งหนีออกมา ระหว่างทาง เณรเจอลำยองโดยบังเอิญ ทำให้เณรรู้ความจริงว่าแม่ของตนป่วย เณรว้าวุ่นใจคิดมากและทุกข์หนักจึงตัดสินใจสึกออกมาช่วยทำมาหากินและดูแลแม่ วันเฉลิมแบกภาระทุกอย่าง ไม่เห็นแก่ความเหนื่อยจนใครๆต่างพากันเวทนา

แลเครียด หาทางออกของความทุกข์ทรมานไม่ได้ เพราะรู้อยู่แก่ใจว่าลำยองมีสภาพเป็นเช่นนี้เพราะตนสั่งสอนลูกในทางผิดๆ จึงซื้อยาเบื่อหนูคลุกข้าวให้ลำยองกิน ขณะแลกำลังป้อนข้าว ลำยองเกิดถามหาวันเฉลิม แลเปลี่ยนใจฆ่าลำยองไม่ลง แต่บาปก็บังเกิด ปอกลายเป็นคนที่กินข้าวคลุกยาเบื่อหนูเสียเอง ปอทุรนทุรายและขาดใจตาย

อาการลำยองกำเริบมากขึ้น มีแผลพุพองเต็มใบหน้า ลำยองหนีออกจากบ้านไปอยู่ที่โรงลิเกเก่าอีกครั้ง เพราะเป็นที่ที่ทำให้ลำยองได้พบกับสันต์ รักแรกของเธอ ลำยองตะเกียกตะกายพาตัวเองขึ้นมานอนบนเวทีลิเก น้ำตาซึมอย่างเจ็บปวด แต่นัยน์ตายังมองเวทีลิเกอย่างโหยหาวันเก่าๆ วันที่เธอได้พบกับสันต์ จากนั้นไม่นาน ลำยองก็เกิดอาการชัก มือหงิกงอ ความชั่วที่ทำไว้ปรากฏขึ้นเป็นภาพวนเวียนอยู่ในหัว ลำยองกระอักเลือดจนกระทั่งสิ้นใจตาย วันเฉลิมและสันต์เจอร่างลำยองอันไร้วิญาณ แน่ใจว่าลำยองตาย วันเฉลิมจึงตัดสินใจบวชอีกครั้ง ยกบุญกุศลทั้งหมดให้แม่

วันเวลาผ่านไปหลายปี เณรวันเฉลิม รวมถึงน้องๆเติบโตขึ้น เณรเมื่ออายุถึงเกณฑ์จึงบวชเป็นพระ แลสิ้นใจด้วยโรคชรา พระวันเฉลิมได้รับคำแนะนำจากหลวงพี่ที่วัดให้ไปศึกษาต่อที่ประเทศอินเดีย เมื่อสอบเปรียญเก้าได้นักธรรมเอกแล้ว พระวันเฉลิมจึงบินไปศึกษาต่อที่ประเทศอินเดีย ในอินเดียพระวันเฉลิมได้พบสัจธรรมของชีวิต ได้สัมผัสความทุกข์ยากของมนุษย์ จนพระเกิดปัญญาและพบว่า ความทุกข์ยากที่เขาได้ผจญมาและคิดว่ามันน่าสังเวชนั้น แท้จริงแล้วมันเป็นเพียง ผงธุลีเมื่อเที่ยบกับความทุกข์ทั้งมวลในโลกยากไร้ใบนี้

นักแสดงในครั้งต่าง ๆ

ปี พ.ศ. 2530 พ.ศ. 2540 พ.ศ. 2556
สถานีออกอากาศ ช่อง 7 ช่อง 3
ผู้จัดละคร ดาราวิดีโอ แอคอาร์ต เจเนเรชั่น
บทโทรทัศน์ คนพวน (ยิ่งยศ ปัญญา) ลุลินารถ ยิ่งยศ ปัญญา
ผู้กำกับการแสดง มานพ สัมมาบัติ พงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง
วันเวลาออกอากาศ จันทร์-อังคาร 21.00 น. จันทร์-อังคาร 20.30 น. จันทร์-อังคาร 20.15 น.
ลำยอง อภิรดี ภวภูตานนท์ รชนีกร พันธุ์มณี วรนุช ภิรมย์ภักดี
สันต์ โกวิท วัฒนกุล บิลลี่ โอแกน ณัฐวุฒิ สกิดใจ
วันเฉลิม บอย เนติลักษณ์ (วัยเด็ก)
จักรกฤษณ์ คชรัตน์ (วัยรุ่น)
พงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง
อัครพล อังสุภูติพันธ์
ชญตร์ มุกดาหาร
เจสัน ยัง
เมลิค เอเฟ่ ไอย์กูน (วัย 1 ปี)
ณัฐพัชร์ นิมจิรวัฒน์ (วัย 6 ปี)
ยงศิลป์ วงศ์พนิตนนท์ (วัย 12 ปี)
จิรายุ ตั้งศรีสุข
เสี่ยกวง จีระศักดิ์ ปิ่นสุวรรณ มาฬิศร์ เชยโสภณ ชาตโยดม หิรัญยัษฐิติ
กำนันเสือ เพิ่ม หงสกุล ชุมพร เทพพิทักษ์ พิศาล อัครเศรณี
เมืองเทพ สุนทร สุจริตฉันท์ อรรถชัย อนันตเมฆ ธนากร โปษยานนท์
แล (แม่ของลำยอง) จุรี โอศิริ อัจฉราพรรณ ไพบูลย์สุวรรณ อำภา ภูษิต
ปอ (พ่อของลำยอง) บุญส่ง ดวงดารา ชลิต เฟื่องอารมย์
ปั้น (แม่ของสันต์) พงษ์ลดา พิมลพรรณ อมรา อัศวนนท์ ทัศน์วรรณ เสนีย์วงศ์ ณ อยุธยา
สิน (พ่อของสันต์) วิทยา สุขดำรงค์ ครรชิต ขวัญประชา ญาณี ตราโมท
หลวงตา เฉลิมศักดิ์ เสถียรกาล บุญส่ง ดวงดารา สะอาด เปี่ยมพงศ์สานต์
ยายของหนูสม เฉลา ประสพศาสตร์ รัตนาภรณ์ อินทรกำแหง จารุวรรณ ปัญโญภาส
ลำยง ทัศนีย์ สีดาสมุทร วันวิสาข์ ดำขำ โชติรส ชโยวรรณ
ลำดวน ดวงหทัย ศรัทธาทิพย์ ปณิษฐา ตัณฑนาวิวัฒน์ วิรากานต์ เสณีตันติกุล
ปาน ณฉัตร จันทพันธ์
ชุด (สามีลำยง) ภาสกร บวรกีรติ
แป้ง อรรถพล เทศทะวงศ์
เทวี ศิรินภา สว่างล้ำ เปียเชอร์ คริสเตนเซ่น พรรษชล สุปรีย์
ศรีวรรณ อารดา ศรีสร้อยแก้ว ณิชชาพัณณ์ ชุณหะวงศ์วสุ
ชื่น ชโลธร เกิดกำธร ลัดดาวัลย์ เรืองสำราญ พิมพ์พรรณ บูรณพิมพ์
ชม ดลพร ยรรยง
ละม่อม รตวรรณ ออมไธสง
สมฤดี สาวิตรี สามิภักดิ์ จุฑาทิพย์ ครุธามาศ ณัฏฐณิชา ดังวัธนาวณิชย์
อ้อย ปัทมา ปานทอง น้ำทิพย์ เสียมทอง สุมณทิพย์ เหลืองอุทัย
จิตรา ยุวิรัญญา สิงห์บุตราธนิธิ
คนลับมีด (สามีลำยอง) ทวีศักดิ์ ธนานันท์
ชายฝนตก (สามีลำยอง) พศิน เรืองวุฒิ
คนขับรถ (สามีลำยอง) ชวัลนันท์ จันทร์ทรัพย์
หมอชด สุเชาว์ พงษ์วิไล
หมออ่ำ วิสรรค์ ฉัตรรังสิกุล
หมอไสย์ วิศิษฐ์ ยุติยงค์
ภรรยาเสี่ยกวง วราพรรณ หงุ่ยตระกูล
เจ๊ไฝ จรรยา ธนาสว่างกุล
ช่างทำผม นริสา พรหมสุภา
อภิชาติ ดอน พฤกษ์พยุง อนวรรษ สกุลวงศ์ คณิน สแตนลีย์
เหน่ง ปณิธย์ โพธิสมภรณ์
สมฤดี (หนูสม) (วัย 3-4 ปี) และ (วัย 8-9 ปี) ด.ญ.พิมพ์นลิน เพ็ชรไพโรจน์ ด.ญ.ปุญญาภา แสงหิรัญ

อ้างอิง