ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กรณีพิพาทพรมแดนไทย–กัมพูชา"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 12: บรรทัด 12:
| ผู้บัญชาการ1 = [[อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ]] <br> พลโท [[จีระศักดิ์ ชมประสพ]]
| ผู้บัญชาการ1 = [[อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ]] <br> พลโท [[จีระศักดิ์ ชมประสพ]]
| ผู้บัญชาการ2 = [[ฮุน เซน]] <br> พลเอก เมียส ซปเฮีย
| ผู้บัญชาการ2 = [[ฮุน เซน]] <br> พลเอก เมียส ซปเฮีย
| ความสูญเสีย1 = ทหารเสียชีวิต 3 นาย<small><ref>ทหารเสียชีวิต 3 นาย เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2551 [http://afp.google.com/article/ALeqM5j8angai7dk16kEtzqKM9a2CvodSg] 2 นายเมื่อวันที่ 3 เมษายน 2552 [http://enews.mcot.net/view.php?id=9339], 2 นายเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ และอีก 2 เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2554 [http://bigpondnews.com/articles/World/2011/02/07/Thai-Cambodia_clashes_claim_six_lives_574335.html][http://www.taipeitimes.com/News/front/archives/2011/02/08/2003495341][http://dalje.com/en-world/thai-cambodian-border-shellings-in-4th-day/338144] รวมทหารเสียชีวิต 3 นาย</ref></small><br />
| ความสูญเสีย1 = ทหารเสียชีวิต 3:นาย<small><ref>ทหารเสียชีวิต 3 นาย เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2551 [http://afp.google.com/article/ALeqM5j8angai7dk16kEtzqKM9a2CvodSg] 2 นายเมื่อวันที่ 3 เมษายน 2552 [http://enews.mcot.net/view.php?id=9339], 2 นายเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ และอีก 2 เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2554 [http://bigpondnews.com/articles/World/2011/02/07/Thai-Cambodia_clashes_claim_six_lives_574335.html][http://www.taipeitimes.com/News/front/archives/2011/02/08/2003495341][http://dalje.com/en-world/thai-cambodian-border-shellings-in-4th-day/338144] รวมทหารเสียชีวิต 3 นาย
| ความสูญเสีย2 = ทหารเสียชีวิต 64 นาย<br />
'''กัมพูชาอ้าง:''' ทหารเสียชีวิต 141 นาย<small><ref>{{cite web|url=http://www.chinapost.com.tw/asia/regional-news/2010/03/25/249773/88-Thais.htm |title=88 Thais killed in '08 and '09: Cambodia |publisher=The China Post |year=March 25, 2010 |accessdate=February 7, 2011}}</ref><ref name="cambodian1">{{cite web|url=http://www.cambodian.info/atleast-2-thai-tank-were-destroyed-and-many-thai-soldiers-were-killed/1721/ |title=At least 2 Thai tank were destroyed and 33 Thai soldiers were killed |publisher=Cambodian.info |year= |accessdate=February 7, 2011}}</ref><ref>{{cite web|url=http://www.rfa.org/khmer/indepth/3_Cambodians_and_more_than_20_Thais_die-02052011103042.html |title=មន្ត្រី​ខ្មែរ ៖ កម្ពុជា​ស្លាប់ ៣ ថៃ​ស្លាប់​ជាង ៣០​នាក់ |publisher=Rfa.org |year= |accessdate=2011-02-07}}</ref></small><br />ทหารถูกจับ 14 นาย
| ความสูญเสีย2 = ทหารเสียชีวิต 9 นาย<br />
'''ไทยอ้าง:''' ทหารเสียชีวิต 64 นาย<small><ref name="bangkokpost1">{{cite web|url=http://www.bangkokpost.com/news/security/220077/govt-probes-claim-64-killed |title=Govt probes claim 64 killed |publisher=Bangkok Post |year= |accessdate=February 7, 2011}}</ref></small>}}
'''ไทยอ้าง:''' ทหารเสียชีวิต 64 นาย<small><ref name="bangkokpost1">{{cite web|url=http://www.bangkokpost.com/news/security/220077/govt-probes-claim-64-killed |title=Govt probes claim 64 killed |publisher=Bangkok Post |year= |accessdate=February 7, 2011}}</ref></small>}}



รุ่นแก้ไขเมื่อ 14:20, 5 มกราคม 2560

กรณีพิพาทพรมแดนไทย–กัมพูชา
สถานที่
{{{place}}}

ความขัดแย้งไทย-กัมพูชา เป็นเหตุการณ์ที่เริ่มต้นในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2551 เหนือกรณีพิพาทพรมแดนพื้นที่ปราสาทพระวิหาร หลังจากนั้น ก็ได้มีการปะทะระหว่างกำลังทหารทั้งสองฝ่ายหลายครั้ง พร้อมกับการอ้างสิทธิ์ของแต่ละฝ่ายเหนือดินแดนพิพาทดังกล่าว

เบื้องหลัง

เมื่อ พ.ศ. 2550 ประเทศกัมพูชาได้เสนอต่อองค์การยูเนสโก ในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลก สมัยที่ 31 ณ เมืองไครสต์เชิร์ช นิวซีแลนด์ ให้ขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก แต่ประเทศไทยมีปัญหาว่าแผนที่ที่กัมพูชาแนบท้ายว่าเป็นอาณาบริเวณของปราสาทพระวิหารนั้นได้ขีดเส้นเขตแดนล้ำเข้ามาในบริเวณทางทิศเหนือและทิศตะวันตกของปราสาท ซึ่งเป็นพื้นที่ทับซ้อน และได้ขีดเส้นเขตแดนประเทศล้ำเข้ามาในฝั่งไทย[1]

เมื่อทราบดังนั้นกระทรวงต่างประเทศจึงหารือกับทางกัมพูชา เพื่อให้ร่วมกับฝ่ายไทย จดทะเบียนโบราณสถานอื่นในเขตไทยและพระวิหารของกัมพูชาร่วมกันในทีเดียว เพื่อความสมบูรณ์ของบริเวณพระวิหาร และให้กัมพูชาเปลี่ยนแผนที่ให้ไม่ล้ำเข้ามาในเขตไทยและพื้นที่ทับซ้อน และได้ขอให้ที่ประชุมคณะกรรมการมรดกโลก สมัยที่ 31 เลื่อนการพิจารณาขึ้นทะเบียนของกัมพูชาออกไป[1]

ลำดับเหตุการณ์

พ.ศ. 2551

มกราคม พ.ศ. 2551 สภากลาโหมของไทยมีมติประท้วงกัมพูชาในกรณีเสนอขึ้นทะเบียนปราสาทเขาพระวิหารเป็นมรดกโลกแต่ลำพังและกล่าวหาว่ากัมพูชาสร้างหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่เป็นเท็จ ทั้งนี้ฝ่ายกองทัพได้แสดงท่าทีวิตกว่าอาจเกิดความรุนแรงในบริเวณชายแดนได้[2]

พฤษภาคม พ.ศ. 2551 พล.ท.วิบูลย์ศักดิ์ หนีพาล แม่ทัพภาคที่ 2 ได้ประกาศพระราชบัญญัติกฎอัยการศึก พ.ศ. 2547ครอบคลุมอำเภอ กันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ[3] แม้ว่าพื้นที่ดังกล่าวจะเคยเป็นพื้นที่ประกาศพระราชบัญญัติกฎอัยการศึกพ.ศ. 2547 ช่วงเหตุการณ์รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549ต่อมาได้ยกเลิกไปในวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2551[4]

ต่อมาเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 นพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศของไทย ได้หารือร่วมกับนายสก อาน ที่เกาะกง ประเทศกัมพูชา โดยฝ่ายกัมพูชาตกลงที่จะเปลี่ยนแผนที่ที่แนบในเอกสารคำขอยื่นขึ้นทะเบียนมรดกโลก โดยจดทะเบียนเฉพาะตัวปราสาทประวิหารเท่านั้น ซึ่งตัวปราสาทนี้ศาลโลกได้พิพากษาตั้งแต่ พ.ศ. 2505 แล้วว่าเป็นของกัมพูชา[1]

ทางกัมพูชาส่งแผนที่ที่ได้รับการปรับแก้ไขใหม่มาให้ฝั่งไทย เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน กรมแผนที่ทหารได้ตรวจสอบว่าแผนที่ใหม่ที่ส่งมานั้นไม่มีการล้ำเข้ามาในเขตไทย สภาความมั่นคงแห่งชาติจึงได้พิจารณาเห็นชอบ และคณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบร่างคำแถลงการร่วม[1] ต่อมาเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2551 นายนพดล ปัทมะ ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศได้ลงนามคำแถลงการร่วมกับฝ่ายกัมพูชาและยูเนสโก[1]

วันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2551 พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เคลื่อนขบวนไปชุมนุมหน้ากระทรวงการต่างประเทศเพื่อขับไล่นายนพดล ปัทมะ ให้ออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และเพื่อยื่นหนังสือทวงถามกรณีข้อพิพาทเรื่องเขาพระวิหาร เนื่องจากไม่ยอมเปิดเผยแผนที่ให้ประชาชนได้รับรู้ หลังจากตกลงร่วมกับประเทศกัมพูชาไปก่อนหน้านี้[5][6][7]

วันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2551 นายสุวัตร อภัยภักดิ์ นายสุริยะใส กตะศิลา ผู้ประสานงานพันธมิตรฯ และ คณะ รวม 9 คน เป็นตัวแทนพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ไปยื่นคำร้องต่อศาลปกครองกลาง ให้กระทรวงการต่างประเทศและคณะรัฐมนตรียุติการดำเนินการตามมติ ครม.ที่รับรองการออกแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชาสนับสนุนให้กัมพูชาจดทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก ไปจนกว่าคดีจะเป็นที่สิ้นสุด เนื่องจากพบว่า แผนผังที่ร่างโดยกัมพูชาล้ำเข้ามาในเขตแดนไทยไม่น้อยกว่า 4.6 ตารางกิโลเมตร ตามแผนที่ฝ่ายไทยที่ยึดถือตามมติคณะรัฐมนตรี พ.ศ. 2505 หลังคำตัดสินของศาลโลก และทั้งยังจะสละสิทธิในข้อสงวนที่ไทยจะทวงปราสาทเขาพระวิหาร กลับคืนมาในอนาคต และการดำเนินการ ของผู้เกี่ยวข้องไม่ดำเนินตามขั้นตอนทางกฎหมาย

วันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2551 หม่อมหลวงวัลย์วิภา จรูญโรจน์ ผู้อำนวยการสถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พร้อมนักวิชาการ เดินทางมาพบ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เพื่อรับมอบรายชื่อผู้คัดค้านการขึ้นทะเบียนเขาพระวิหารเป็นมรดกโลก ซึ่งในส่วนของพันธมิตรฯ ได้มีการมอบรายชื่อให้กับทางสถาบันไทยคดีศึกษาไปแล้ว 6,000 รายชื่อ และวันที่ 27 มิถุนายน มอบให้อีก 3,488 รายชื่อ ซึ่งล่าสุดตัวเลขของผู้ที่คัดค้านการขึ้นทะเบียนเขาพระวิหารมีทั้งหมด 33,400 รายชื่อ ภายหลังจากที่มีการรับมอบรายชื่อจากแกนนำกลุ่มพันธมิตรแล้ว ม.ล.วัลวิภา ยังได้ไปยื่นหนังสือคัดค้านเรื่องนี้ ต่อนายจุลยุทธ หิรัณยะวสิต ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีที่ทำเนียบรัฐบาลด้วย[8]

วันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2551 ศาลปกครองกลาง มีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว ให้กระทรวงการต่างประเทศและคณะรัฐมนตรียุติการดำเนินการตามมติครม.ที่รับรองการออกแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชาสนับสนุนให้กัมพูชาจดทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก ไปจนกว่าคดีจะเป็นที่สิ้นสุด หรือจนกว่าศาลจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น ทั้งนี้ศาลได้ไต่สวนฉุกเฉินคู่ความทั้ง 2 ฝ่ายเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน และใช้เวลาไต่สวนกว่าสิบชั่วโมง จนมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวเมื่อเวลา 02.00 น. ได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งดังนี้[9][10]

  1. ให้เพิกถอนการกระทำของนายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศที่เสนอร่างคำแถลงการณ์ร่วม ฯ ต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาและมีมติคณะรัฐมนตรีเห็นชอบ
  2. เพิกถอนมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 17 มิถุนายน 2551 ที่มีมติเห็นชอบร่างคำแถลงการณ์ร่วม ฯ โดยมอบหมายให้นายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเป็นผู้ลงนามในแถลงการณ์ร่วม ฯ
  3. ให้เพิกถอนการลงนามในคำแถลงการณ์ร่วม ฯ ของนายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศที่ลงนามเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2551
  4. มีคำสั่งให้นายนพดล ปัทมะ ยุติความผูกพันตามคำแถลงการณ์ร่วม ฯ ต่อประเทศกัมพูชาและองค์การยูเนสโก

ขณะเดียวกันพรรคประชาธิปัตย์ซึ่งเป็นพรรคการเมืองฝ่ายค้านได้ยื่นเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความข้อตกลงกับกัมพูชาว่าเข้าข่ายเป็นหนังสือสัญญาหรือไม่ ต่อมาวันที่ 8 กรกฎาคม ศาลรัฐธรรมนูญได้ชี้ขาดว่าข้อตกลงดังกล่าวเป็นหนังสือสัญญาซึ่งจะต้องผ่านการเห็นชอบของรัฐสภาก่อน[11]

เวลา 2.00 น. วันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 (ตามเวลาประเทศไทย) ที่นครควิเบก ประเทศแคนาดา องค์การยูเนสโกประกาศขึ้นทะเบียนตามคำขอของกัมพูชาให้ตัวปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก พร้อมกับสถานที่อื่นอีก 4 แห่ง

พ.ศ. 2552

วันที่ 3เมษายน พ.ศ. 2552 ประเทศกัมพูชาได้ปะทะกับประเทศไทยด้วยอาวุธเป็นครั้งแรกเหตุการณ์เริ่มตั้งแต่ช่วงเข้า และมีการปะทะกันรอบสองในวันเดียวกันซึ่งการปะทะกันรอบสอง กองทัพกัมพูชาได้ยิงจรวดอาร์พีจีเข้ามาในฝั่งไทย ส่งผลให้ทหารเสียชีวิตสองนาย[12] วันที่ 22-30 มิถุนายน พ.ศ. 2552 มีการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยที่ 33 ที่เมืองเซบีญา ราชอาณาจักรสเปน ประเทศไทย มีนายสุวิทย์ คุณกิตติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทย ได้ยื่นหนังสือคัดค้านการปฏิบัติงานของคณะกรรมการมรดกโลก ว่าไม่เป็นไปตามธรรมนูญของสหประชาชาติ วันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2552 นายวีระ สมความคิด และ นายอธิวัฒน์ บุญชาติ ได้นำพี่น้องมวลชนคนไทยผู้รักชาติ และ กลุ่มมวลชนพันธมิตร กว่า 1,000 คน พร้อมรถยนต์กว่าร้อยคัน เดินทางไปปราสาทพระวิหาร และ มีชาวบ้านภูมิซรอลซึ่งไม่เห็นด้วยกับการเคลื่อนไหวในครั้งนี้ ชุมนุมสกัดกั้นและมีการปะทะกันอย่างรุนแรงที่หน้าวัดภูมิซรอล

วันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 คณะรัฐมนตรีมีมติเรียนเอกอัคราชทูตไทยประจำประเทศกัมพูชากลับประเทศเพื่อประท้วงการแต่งตั้งอดีตนายกรัฐมนตรีพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตรเป็น ที่ปรึกษาทางเศรษฐกิจ และที่ปรึกษาส่วนตัวของนายกรัฐมนตรีประเทศกัมพูชารวมถึงการปฏิเสธการส่งตัวให้ทางการราชอาณาจักรไทยในฐานะผู้ร้ายข้าม แดน [13]โดยกระทรวงการต่างประเทศให้เหตุผลในแถลงการณ์ตอนหนึ่งว่า เนื่องจาก พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นผู้หลบหนีคดีอาญา ตามหมายจับของศาล

พ.ศ. 2553

เครือข่ายคนไทยหัวใจรักชาติ ได้เคลื่อนไหวชุมนุมอย่างต่อเนื่อง ตามแนวชายแดน โดยมีการจัดตั้งเวที่ปราสรัยที่ บริเวณศาลหลักเมืองกันทรลักษณ์ นำโดย นาย อธิวัฒน์ บุญชาติแกนนำเครือข่ายทวงคืนแผ่นดินแม่ และ มีเหตุการณ์ขว้างระเบิดในที่ชุมนุม เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 มีผู้ได้รับบาดเจ็บ 1 คนแม่แบบ:ข่าวไทยรัฐ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2553 มีการจัดตั้ง ชุมชนบ้านสันปันน้ำเป็นหมู่บ้านเชิงสัญลักษณ์ ที่ชายแดนพนมดงรัก สุรินทร์ - ปัจจุบัน. เวทีแนวร่วมเครือข่ายคนไทยหัวใจรักชาติ จัดเวทีนับสิบครั้งในหลายจังหวัด และมาปิดเวทีสุดท้าย วันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2553 ที่เวทีลานหิน ชุมชนบ้านสันปันน้ำ พนมดงรักสุรินทร์ โดยมีการเคลื่อนมวลชนเดินทางไปยังปราสาทตาเมือนธม และ มีการปะทะกันระหว่างชาวบ้านหนองคันนา ก่อนที่ นาย วีระ สมความคิด จะพาคณะเดินทางกลับมาร่วมเวที่ เกาะติดปัญหาชายแดนไทย-กัมพูชา ที่ชุมชนบ้านสันปันน้ำ มีการถ่ายทอดสดผ่านทางช่องเอฟเอ็มทีวี ก่อนที่นายวีระ สมความคิด จะถูกทหารกัมพูชาจับในครั้งแรก

เหตุคนไทยถูกทหารกัมพูชาจับกุม พ.ศ. 2554

วันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2553 พนิช วิกิตเศรษฐ์ พร้อมกับพวกจำนวน 6 คน ซึ่งบางส่วนเป็นสมาชิกเครือข่ายคนไทยหัวใจรักชาติ ประกอบด้วยวีระ สมความคิด, กิชพลธรณ์ ชุสนะเสวี, ร้อยตรีแซมดิน เลิศบุศย์, ตายแน่ มุ่งมาจน, นฤมล จิตรวะรัตนา และราตรี พิพัฒนาไพบูรณ์ ขณะลงพื้นที่ตรวจสอบที่ได้รับเรื่องร้องเรียนว่าทหารกัมพูชารุกล้ำเข้ามาในเขตไทย บริเวณอำเภอโคกสูง จังหวัดสระแก้ว[14] ได้ข้ามแดนบริเวณหลักเขตแดนที่ 46 บ้านภูมิโจกเจย (บ้านโชคชัย) ตำบลโอเบยเจือน อำเภอโจรว จังหวัดบันทายมีชัย และถูกทหารรักษาชายแดนที่ 503 ของกัมพูชาควบคุมตัว[15] โดยศาลเขตพนมเปญได้ตั้งข้อหาพนิช และพวกในข้อหาเดินทางข้ามพรมแดนโดยผิดกฎหมาย และรุกล้ำเขตทหาร ได้ถูกนำตัวไปขังไว้ในเรือนจำเปนย์ ซาร์ นอกกรุงพนมเปญ[16] ด้านกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้เดินทางเข้าพบฮอร์ นำฮง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศกัมพูชา เพื่อเจรจาในประเด็นดังกล่าว[17] ฝ่ายทนายความเตรียมยื่นขอประกันตัวทันทีที่มีการพิจารณาคดี[18]

การเข้าไปในพื้นที่ทับซ้อนไทย-กัมพูชาดังกล่าว มีรายงานว่า พนิชได้รับมอบหมายจากอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ให้ไปทำความเข้าใจกับพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย หลังจากที่มีการยืนยันว่าทหารกัมพูชาเข้ามาในดินแดนไทย แต่การกระทำดังกล่าวปราศจากการประสานความร่วมมือกับฝ่ายกัมพูชา จึงทำให้ถูกจับกุมในที่สุด[19] ส่วนทางด้านประธานคณะกรรมาธิการร่วมพิจารณาบันทึกการประชุมคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา รัฐสภา ปฏิเสธว่าไม่ได้ส่งพนิชและคณะลงพื้นที่[20]

ทางกลุ่มคนไทยหัวใจรักชาติ ได้เดินทางมายังสถานทูตกัมพูชาประจำประเทศไทย โดยมีการเผาโลงศพที่มีภาพฮุน เซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา ติดอยู่ที่ฝาโลง พร้อมกับพวงหรีด เป็นการประท้วง พร้อมทั้งเรียกร้องให้มีการปล่อยตัวคณะทั้งหมด โดยขั้นต่อไปอาจชุมนุมประท้วงต่อที่หน้าทำเนียบรัฐบาล[14]

ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ โฆษกพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ได้เปิดเผยเอกสารสิทธิ์ที่ดินของเบ พูลสุข แสดงบริเวณที่บุคคลทั้งหมดถูกจับกุมตัว เป็นน.ส.3 ก ที่ออกโดยกรมที่ดิน ระบุวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2517 [21] ขณะที่ทางการกัมพูชานำวิดีโอหลักฐานมาเปิดดูปรากฏว่าคณะดังกล่าวรุกเข้าไปในเขตกัมพูชาจริง[16] ชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวยอมรับว่า พนิชและคณะได้รุกล้ำอาณาเขตกัมพูชาจริง แต่ไม่น่าจะมีเจตนา โดยเป็นการกระทำจากความประมาท พร้อมทั้งเรียกร้องให้กลุ่มต่าง ๆ ยุติความเคลื่อนไหวเรียกร้องให้มีการปล่อยตัวพนิช เนื่องจากอาจทำให้ทางกัมพูชาไม่พอใจ และเป็นอุปสรรคต่อการช่วยเหลือ[22]

ส่วนทางด้านพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า การที่พนิชเดินทางไปยังพื้นที่ทับซ้อนโดยไม่มีการประสานงานกับกัมพูชาก่อนเป็นเรื่องที่ไม่เหมาะสม พร้อมเรียกร้องให้รัฐบาลออกมาชี้แจงการกระทำดังกล่าวถึงสาเหตุและที่มาของการเดินทางเข้าไปในพื้นที่ดังกล่าว และแสดงความเป็นห่วงที่วีระ สมความคิดถูกจับกุมไปด้วย เกรงว่าอาจมีการปลุกกระแสทำให้ปัญหาบานปลาย[23] สุนัย จุลพงศธร หนึ่งในคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา เปิดเผยว่า ตนพร้อมจะนำประเด็นดังกล่าวมาหยิบยกเป็นหัวข้ออภิปรายไม่ไว้วางใจ ซึ่งหากนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ส่งไปจริง ก็จะต้องมีการแสดงความรับผิดชอบด้วย[24]

วันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2554 กลุ่มเครือข่ายประชาชนไทยหัวใจรักชาติ เดินทางยื่นหนังสือร้องเรียนต่อสหประชาชาติให้เข้ามาดูแลเรื่องดังกล่าว โดยเห็นว่าคณะเป็นคนไทย หากกระทำความผิดก็ต้องขึ้นศาลไทย เป็นการรุกรานและคุกคามสิทธิพลเมืองของชาติที่มีปัญหาชายแดนระหว่างกัน ขัดต่อข้อตกลงเจนีวา (พ.ศ. 2492) [16] พร้อมทั้งแถลงข่าวว่า พื้นที่ที่ 7 คนไทยถูกจับอยู่ในเขตที่ดินของเบ พูลสุข ราษฎรชาวไทย เป็นพื้นที่ของไทยไม่ใช่ของเขมร ซึ่งสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติเคยจัดตั้งศูนย์อพยพชั่วคราวในพื้นที่ดังกล่าวเมื่อปี พ.ศ. 2520 แต่เมื่อเหตุการณ์สงบชาวกัมพูชาก็ไม่ยอมอพยพออกไปจากพื้นที่ [16] วันเดียวกัน ทางกลุ่มมีแผนจะนำหลักฐานมาแถลงข่าวยังทำเนียบรัฐบาล พร้อมประกาศจะนำมวลชนไปยังบริเวณที่คณะถูกจับกุมในวันที่ 3 มกราคม[16]

วันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2554 มีการรายงานว่า ภรรยาพนิช วิกิตเศรษฐ์ และเจ้าหน้าที่สถานทูตไทย ได้เข้าเยี่ยมคนไทยที่ถูกจับกุมทั้งเจ็ดคนแล้ว เพื่อดูแลเรื่องอาหารและเสื้อผ้า[25]

วันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2554 ธานี ทองภักดี อธิบดีกรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ เปิดเผยว่า ศาลกัมพูชานัดไต่สวนคนไทยทั้งเจ็ดคนในวันรุ่งขึ้น เวลา 8.00 น. ซึ่งทางกระทรวงการต่างประเทศพร้อมให้ความช่วยเหลือทั้งเจ็ดคนโดยเท่าเทียมกัน ด้านพลตรีนพดล โชติศิริ รองเจ้ากรมแผนที่ทหาร กล่าวว่า หลังจากที่ได้มีการสั่งเจ้าหน้าที่ไปวัดพิกัดกำหนดจุดที่ถูกจับกุม ผลการวัดพบว่า คณะคนไทยรุกล้ำเข้าไปในดินแดนของกัมพูชาซึ่งเป็นพื้นที่ทับซ้อนอยู่ 55 เมตร ด้านวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล สมาชิกคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา ระบุว่า อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ทราบอีกด้วยว่าคณะคนไทยดังกล่าวเข้าไปในเขตแดนกัมพูชา จึงอยากให้ออกมาแสดงความยอมรับผิด[26]

วันที่ 7 มกราคม พนิชให้การต่อศาลว่าเดินทางเข้าไปในพื้นที่ เพื่อพบชาวบ้านที่อ้างว่าชาวกัมพูชาย้ายหลักหมุดบนดินแดนของไทย พร้อมกับให้การว่าเป็นการเดินทางเข้าไปโดยอุบัติเหตุ แต่เหมือนจะขัดแย้งกับคำกล่าวของพนิชในหลักฐานคลิปวิดีโอ ที่พนิชให้ผู้ติดตามเรียนอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ว่า คณะได้ข้ามมาในฝั่งกัมพูชาแล้ว[27] ด้านทนายความเตรียมยื่นประกันตัวในวันที่ 10 มกราคม เพราะศาลกัมพูชายังคงปิดทำการในวันหยุดราชการ โดยคณะคนไทยทั้งเจ็ดถูกนำตัวกลับไปคุมขัง[28]

วันที่ 13 มกราคม มีรายงานว่า ศาลกัมพูชาให้ประกันตัวพนิช วิกิตเศรษฐ์ และนฤมล จิตรวะรัตนา โดยยังคงอยู่ระหว่างสู้คดีในข้อหาเข้าเมืองผิดกฎหมายและเข้าไปในเขตทหารโดยไม่ได้รับอนุญาต ส่วนคนไทยที่เหลือยังไม่ได้รับการประกันตัว เงื่อนไขการประกันตัว ได้แก่ ห้ามเดินทางออกนอกประเทศ วางเงินประกันคนละ 1 ล้านเรียล (10,000 บาท) และต้องไปรายงานตัวตามนัดเรียก โดยขณะนี้ทั้งสองยังพำนักอยู่ที่สถานทูตไทย[29] ด้าน ธานี ทองภักดี อธิบดีกรมสารสนเทศ ระบุว่า ศาลกัมพูชาไม่ได้ให้เหตุผลที่ยอมให้ประกันตัวทั้งสอง แต่เห็นว่า น่าจะเป็นเพราะปัญหาด้านสุขภาพ ที่ทั้งสองป่วยเป็นโรคความดันโหลิตสูงและโรคไทรอยต์ตามลำดับ ส่วนคนไทยที่เหลือ ทนายความยื่นอุทธรณ์แล้วเมื่อวันที่ 14 มกราคม[30]

วันที่ 19 มกราคม ศาลกัมพูชาให้ประกันตัวคนไทยเพิ่มอีก 4 คน เหลือเพียงวีระ สมความคิดเท่านั้น โดยให้เหตุผลว่าวีระถูกมองว่าเป็นภัยต่อความมั่นคงของกัมพูชา[31] วันที่ 21 มกราคม ศาลกัมพูชาได้พิจารณาตัดสินคดี ซึ่งกำหนดเดิมคือ วันที่ 1 กุมภาพันธ์ เมื่อเวลา 19.35 น. ศาลกัมพูชาได้ตัดสินว่าคนไทยทั้ง 5 คน ได้แก่ พนิช กิชพลธรณ์ ร.ต.แซมดิน ตายแน่ และนฤมล มีความผิดฐานเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย โดยให้จำคุกคนละ 9 เดือน แต่ให้ลดเหลือ 8 เดือน และให้รอลงอาญาไว้ก่อน หลังจากการตัดสินดังกล่าว ทำให้คนไทยทั้ง 5 คนสามารถเดินทางกลับประเทศได้ทันที[32]

เหตุปะทะกันบริเวณชายแดน พ.ศ. 2554

กุมภาพันธ์

เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ ระหว่างการปะทะกันนานถึง 4-5 ชั่วโมง สำนักข่าวซินหัว รายงานว่า ทหารไทยเสียชีวิต 7 นาย ส่วนทหารกัมพูชาเสียชีวิต 1 นาย และได้รับบาดเจ็บ 4 นาย[33] ส่วนหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์รายงานว่าทหารไทยได้รับบาดเจ็บ 2-3 นาย[34] ทหารกัมพูชาเสียชีวิต 1 นาย และมีการจับกุมทหารไทยไป 5 นาย[35] พลเรือนไทยคนหนึ่งเสียชีวิตจากกระสุนปืนใหญ่[36]

วันที่ 5 กุมภาพันธ์ ทหารไทยและกัมพูชาปะทะกันอีกรอบ ทหารไทย 1 นาย ถูกจับกุมระหว่างการปะทะ[37]

วันที่ 6 กุมภาพันธ์ CNN รายงานว่า ไทยได้ถล่มกัมพูชายับเยินโดยยิงปืนใหญ่ 155 มม. ปูพรมไปทั่วแดนกัมพูชา ถนนและฐานทหารเสียหายมากมาย รถถังและรถหุ้มเกราะกัมพูชาเสียหายใช้การไม่ได้กว่าสามสิบคัน ส่วนรายชื่อผู้เสียชีวิตของทหารกัมพูชายังมิอาจประเมินได้เนื่องจากพื้นที่ไฟไหม้ แต่คาดว่าไม่น่าจะต่ำกว่าหกร้อยนาย [38]

วันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยประกาศ พื้นที่ตำบลเสาธงชัย หมู่ที่ 2 3 9 10 12 13 และตำบลรุง หมู่ที่ 5 7 10 อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ เป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติ อันเนื่องจากกองกำลังจากนอกประเทศ พร้อมจัดตั้งศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจช่วยเหลือผู้ประสบภัยจังหวัดศรีสะเกษ ณ ที่ว่าการอำเภอกันทรลักษณ์ ส่วนรัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศทำหนังสือชี้แจงถึงคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ[39]

ทางการมีการประกาศให้ประชาชนเข้าไปในหลุมหลบภัย และมีการอพยพย้ายออกจากพื้นที่ของประชาชน เพื่อป้องกันการที่ฝ่ายกัมพูชาใช้อาวุธหนักยิงเข้ามา ด้าน พันเอกสรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกกองทัพบก ให้สัมภาษณ์ว่า การปะทะกันของทหารทั้ง 2 ฝ่ายเริ่มขึ้นเมื่อเวลา 18.40 น. เริ่มจากทางทหารกัมพูชายิงพลุส่องสว่างเข้ามาตกที่บริเวณภูมะเขือ อ.กันทรลักษ์ หลังจากนั้นทหารกัมพูชายิงปืนใหญ่ของรถถังเข้ามาอีก ทำให้ทหารไทยต้องใช้มาตรการตอบโต้ โดยยิงเครื่องยิงลูกระเบิดสวนกลับไป[40]

วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2554: ที่ประชุมคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ (UNSC) ได้ลงความเห็นปฏิเสธข้อเรียกร้องของสมเด็นฮุน เชน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา ที่ต้องการให้จัดประชุมฉุกเฉินประเทศสมาชิกคณะมนตรีฯ 15 ชาติและส่งกำลังทหารเข้ามารักษาความสงบในพื้นที่พิพาท โดยระบุควรแก้ไขปัญหากันเองในระดับภูมิภาค[41] วันเดียวกัน ไม่มีเหตุปะทะกันเพิ่มเติม แต่มีรายงานว่าทหารกัมพูชาได้ใช้ช่วงที่ยังหยุดยิงกันอยู่นี้ขุดที่ตั้งใหม่และจัดตั้งกระสอบทรายเพิ่มเติม[42] ทหารไทยนายหนึ่งซึ่งได้รับบาดเจ็บจากการยิงปืนใหญ่เมื่อวันที่ 6 เสียชีวิตเนื่องจากพิษบาดแผลที่โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์[43]

วันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 นายกษิต ภิรมย์ได้แถลงด้วยวาจาต่อประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติที่นครนิวยอร์ก ในถ้อยแถลงการณ์ของรัฐมนตรีต่างประเทศระบุใจความตอนหนึ่งว่าฝ่ายกัมพูชาละเมิดข้อตกลงหยุดยิง ที่ได้ตกลงกันใน วันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 ณ ช่องสะงำในจังหวัดศรีสะเกษ ที่ทั้งสองฝ่ายได้บรรลุข้อตกลงที่จะหยุดยิงทันที ผู้บังคับการทหารระดับภูมิภาคของไทยและฝ่ายกัมพูชา เป็นตัวแทนเจรจา

วันที่ 15 กุมภาพันธ์ ได้เกิดการปะทะกันรอบใหม่ขึ้น เหตุยิงกันดังกล่าวกินเวลาไม่กี่นาที ถึงแม้ว่าสื่อท้องถิ่นจะรายงานว่าทหารไทยได้รับบาดเจ็บ 5 นาย แต่กองทัพออกมาระบุว่ามีทหารได้รับบาดเจ็บ 1 นายจากการสู้รบ[44]

วันที่ 16 กุมภาพันธ์ การปะทะกันทวีความรุนแรงขึ้น โดยมีการปะทะกันถึงสามครั้งในวันนี้ (5.00 น., 20.00 น., 22.00 น.) แต่ไม่มีรายงานผู้เสียชีวิตจากทั้งสองฝ่าย โฆษกกองทัพบกไทย สรรเสริญ แก้วกำเนิด ระบุว่า ฝ่ายกัมพูชาเป็นผู้เริ่มโจมตีก่อน โดยใช้ปืนครกและอาร์พีจี ทำให้ฝ่ายไทยต้องทำการตอบโต้[45] อย่างไรก็ตาม ปาย สิฟาน โฆษกคณะรัฐมนตรีกัมพูชาปฏิเสธว่ากัมพูชาเป็นฝ่ายเริ่มก่อน และกล่าวตรงกันข้าม กัมพูชาต้องการความช่วยเหลือจากนานาชาติเพื่อป้องกันมิให้มีการสู้รบเกิดขึ้นต่อไป ขณะที่ไทยกล่าวว่าปัญหาดังกล่าวควรได้รับการแก้ไขในระดับทวิภาคี[46] ในวันเดียวกัน มีรายงานที่ไม่ได้รับการยืนยันว่ารถถังเวียดนามได้มุ่งหน้ามายังชายแดนไทย-กัมพูชา[47] อย่างไรก็ตาม ฮุน เซน ปฏิเสธรายงานดังกล่าว[48]

ในความตกลงซึ่งบรรลุในการประชุมอาเซียนในจาการ์ตา กัมพูชาและไทยตกลงที่จะให้ผู้สังเกตการณ์ชาวอินโดนีเซียสังเกตพื้นที่พิพาทพรมแดน โดยมีทั้งทหารและพลเรือนรวม 40 คน ด้านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอินโดนีเซียออกมาระบุว่า คณะที่ส่งไปนั้นมิใช่เพื่อรักษาสันติภาพหรือใช้กำลังให้เกิดสันติภาพ โดยคณะดังกล่าวจะไม่ติดอาวุธ[49]

เมษายน- พฤษภาคม

เมื่อวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2554 ทางการไทยได้ยอมรับว่ามีการใช้กระสุนระเบิดทวิประสงค์ (DPICM) ระหว่างการปะทะกันจริง ซึ่งถูกระบุตามจากกลุ่มเครือข่ายความร่วมมือต่อต้านระเบิดลูกปราย (CMC) ว่าเป็นระเบิดลูกปรายประเภทหนึ่ง[50] โดยอาวุธดังกล่าวประกอบด้วยระเบิดมือขนาดเล็กนับหลายร้อยลูก หรือลูกปราย ซึ่งกระจายไปกินอาณาบริเวณกว้าง และถูกห้ามโดยประเทศส่วนใหญ่ตามอนุสัญญาว่าด้วยระเบิดลูกปราย ประเทศไทยไม่ได้ลงนามในสนธิสัญญา แต่ได้ให้สัญญาอย่างเปิดเผยว่าจะไม่ใช้อาวุธดังกล่าว[51] ทาง CMC กล่าวว่าเหตุการณ์ครั้งนี้เป็นการใช้ระเบิดลูกปรายที่ได้รับการยืนยันครั้งแรกนับตั้งแต่อนุสัญญาได้กลายมาเป็นกฎหมายระหว่างประเทศ[50]

ปราสาทตาเมือนธม

วันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2554 ในช่วงเช้าได้เกิดการปะทะกันขึ้นบริเวณจังหวัดสุรินทร์[52] ด้านปราสาทตาควาย ต.บักได อ.พนมดงรัก เรื่อยมาจนถึงปราสาทตาเมือนธมชุมชนบ้านสันปันน้ำ บ้านไทยนิยมพัฒนา และ ต.ตาเมียง อ.พนมดงรัก ทำให้ทหารไทยเสียชีวิต 4 นาย[53] และบาดเจ็บอีก 14 นาย[54] มีการพบลูกกระสุนปืนใหญ่ฝ่ายทหารเขมรยิงเข้าตกมายังฝั่งไทยที่บริเวณฝายน้ำล้น บ้านสายโท 12 ต.สายตะกู อ.บ้านกรวด จ.บุรีรัมย์ 1 ลูก พร้อมได้ยินเสียงปืนดังตลอดเวลาจึงต้องทำการอพยพ ชาวบ้าน ราว 2,500 คนออกจากพื้นที่[55] ทางกระทรวงต่างประเทศไทยส่งหนังสือประท้วงอย่างรุนแรงที่สุดผ่านเอกอัครราชทูตกัมพูชาประจำประเทศไทย[56] หลังจากเกิดเหตุการณ์การปะทะผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์ได้ประกาศอำเภอบ้านกรวดเป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติภาวะสงครามทั้งอำเภอ[57] ชวรัตน์ ชาญวีรกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้ประกาศให้ บริเวณปราสาทตาเมือนธม หมู่ที่ 8 ตำบลตาเมียง พื้นที่ หมู่ที่ 1-15 ตำบลแนงมุด หมู่ที่ 1-14 ตำบลโคกตะเคียน หมู่ที่ 1-20 ตำบลกาบเชิง หมู่ที่ 1-18 ตำบลด่าน หมู่ที่ 1-9 ตำบลตะเคียน อำเภอพนมดงรัก ในพื้นที่หมู่ที่ 1-20 ตำบลบักได หมู่ที่ 1-12 ตำบลตาเมียง หมู่ที่ 1-12 ตำบลจีกแดก หมู่ที่ 1-11 ตำบลโคกกลาง จังหวัดสุรินทร์ ทั้ง 2 ตำบล เป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติ อันเนื่องจากกองกำลังจากนอกประเทศ[58]และพลเอก ทรงกิตติ จักกาบาตร์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุดได้แถลงตอนหนึ่งว่า ในเวลานี้ไม่จำเป็นต้องเจรจากับใครหากชาติไทยถูกลุกล้ำ หรือถูกภัยคุกคามประเทศ ก็พร้อมที่จะใช้กำลังตอบโต้จนถึงที่สุด[59] และได้สั่งการเตรียมพร้อมยกระดับแผนป้องกันประเทศ[60]

วันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2554 นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้ประกาศให้ อำเภอกาบเชิง ยกเว้นอำเภอคูตัน อำเภอปราสาท บางอำเภอ จังหวัดสุรินทร์เป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติ อันเนื่องจากกองกำลังจากนอกประเทศและมีทหารไทยเสียชีวิตเพิ่ม 1 นาย ด้านกัมพูชามีการอพยพประชาชนราว 5,000 คนในจังหวัดบันทายมีชัย โดยย้ายออกไป 30 กิโลเมตรจากเขตสู้รบ[61][62]

วันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2554 ได้มีการปะทะกันเป็นวันที่สาม ทหารไทยเสียชีวิต 1 นายได้รับบาดเจ็บ 6 นาย[63]

วันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2554 ได้มีการปะทะกันเป็นวันที่สี่ อาสาสมัครทหารพรานเสียชีวิต 1 นาย[64] นายเสริม ไชยณรงค์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ ได้ประกาศให้พื้นที่ หมู่ที่ 1, 4, 6, 7, 9, 12, 13, 16, 18 ตำบลโคกสะอาด และหมู่ที่ 4, 12 ตำบลโชคนาสาม อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์เป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติ อันเนื่องจากกองกำลังจากนอกประเทศ[65] พล.อ.ประยุทธ์ จันทรโอชา ได้ชี้แจงผ่านสื่อมวลชนว่าการจะประกาศสงครามกับประเทศกัมพูชาจำเป็นต้องให้คณะรัฐมนตรีเห็นชอบก่อน[66] กษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศของไทย ประกาศทบทวนนโยบายต่างประเทศกับประเทศกัมพูชาทั้งหมด โดยอ้างว่าทางการกัมพูชาไม่ต้องการการเจรจาจึงมีความจำเป็นต้องดำเนินการ[67]

วันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2554 โฆษกกระทรวงกลาโหมของไทย ได้แถลงว่ากองทัพมีความพร้อมทางยุทโธปกรณ์ ที่จะปกป้องอธิปไตยของประเทศและตอบโต้ตามความเหมาะสม กับปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้น ถ้อยแถลงนี้เกิดขึ้นมีขึ้นหลังจากการประชุมสภากระทรวงกลาโหมได้เสร็จสิ้นลง และหลังจากรัฐมนตรีต่างประเทศประกาศทบทวนนโยบายด้านการต่างประเทศกับประเทศกัมพูชาทั้งหมด ในขณะที่การปะทะได้ลุกลามออกไปที่จังหวัดศรีสะเกษ ตำบลเสาธงชัย อำเภอกันทรลักษ์[68] มีรายงานว่าจนถึงขณะนี้ ทหารไทยเสียชีวิต 5 นาย และได้รับบาดเจ็บมากกว่า 35 นาย ส่วนทหารกัมพูชาเสียชีวิต 7 นาย ได้รับบาดเจ็บ 17 นาย และอีก 1 นายหายสาบสูญ[69][70]

วันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2554 ชาวบ้านอำเภอกาบเชิง เสียชีวิต 1 คน[71] รัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมของไทยเดินทางไปเยือนสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนจีน โดยเป็นไปตามคำเชิญของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมจีน ทั้งนี้คาดว่าเป็นการหารือเรื่องความขัดแย้งไทย-กัมพูชา เนื่องจากกองทัพกัมพูชาได้รับการสนับสนุนจากประเทศจีน ซึ่งจากเหตุการณ์ดังกล่าว ได้มีสื่อกัมพูชาบางแห่งรายงานว่าไทยได้ยอมรับความพ่ายแพ้ที่เกิดขึ้น[72]

วันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2554 มีการยืนยันว่าทหารไทยเสียชีวิตเพิ่มอีก 2 นาย[73][74] ตั้งแต่เวลา 20.20 น.ทหารกัมพูชายิงปืน ค.60 เข้ามาบริเวณปราสาทตาควาย 4 ลูก [75]ส่งผลให้ทหารไทยได้รับบาดเจ็บ ส่วนประเทศกัมพูชาได้ยื่นคำร้องต่อศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ เพื่อขอให้ศาลตีความคำพิพากษาคดีปราสาทพระวิหาร พ.ศ. 2505ที่ศาลได้ตัดสินเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2505 และในวันเดียวกันประเทศกัมพูชาได้ยื่นคำร้องต่อศาลยุติธรรมระหว่างประเทศเพื่อขอให้ศาลระบุมาตรการคุ้มครองชั่วคราวเพื่อรักษาสิทธิของกัมพูชาอย่างเร่งด่วน [76] วันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2554 ทหารไทยเสียชีวิตเพิ่มอีก 1 คน[77] โฆษกกองทัพไทยระบุว่าทหารไทยได้รับบาดเจ็บเพิ่มอีก 11 นาย รวมมีทหารได้รับบาดเจ็บรวม 58 นาย[78]

วันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2554 การสู้รบดำเนินต่อไปเป็นวันที่เก้า ยังไม่มีรายงานผู้เสียชีวิตหรือทหารไทยบาดเจ็บ 10 นาย [79] วันเดียวกัน แม่ทัพภาคที่ 2 พลโท ธวัชชัย สมุทรสาคร ได้อาศัยอำนาจพระราชบัญญัติกฎอัยการศึก พ.ศ. 2547 ให้พื้นที่ตำบลเสาธงชัย อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ เป็นพื้นที่ภัยสงคราม[80] นับเป็นครั้งแรกที่ทหารใช้อำนาจตามประกาศพระราชบัญญัติ กฎอัยการศึก พ.ศ. 2547 ซึ่งประกาศมาตั้งแต่วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2550[81] โดยขับไล่ประชาชนไม่อนุญาตให้อยู่ในพื้นที่ และประกาศเป็นเขตภัยสงคราม[82]พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณเดินทางกลับจากสาธารณรัฐประชาชนจีน[83]

วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 ทหารไทยได้รับบาดเจ็บสองนายจากการปะทะ ที่ บริเวณปราสาทตาควาย ต.บักได อ.พนมดงรัก จ.สุรินทร์ [84] ประชาชนเสียชีวิตที่ศูนย์อพยพสองรายสาเหตุจากความเครียดจากการปะทะตามแนวชายแดน[85] ฝ่ายกัมพูชามีทหารเสียชีวิต 1 นาย ทำให้เหตุการณ์ปะทะกันตั้งแต่เดือนเมษายนมีผู้เสียชีวิตแล้วรวม 17 คน แบ่งเป็นทหารกัมพูชา 9 นาย ทหารไทย 7 นาย และพลเรือนชาวไทยเสียชีวิต 1 คน ส่วนจำนวนผู้ได้รับบาดเจ็บนั้น ชาวไทยได้รับบาดเจ็บทั้งสิ้น 95 คน แบ่งเป็นทหาร 50 นาย และทหารกัมพูชาได้รับบาดเจ็บ 18 นาย[86][87] ด้านโฆษกกองทัพไทย พันเอกประวิทย์ หูแก้ว ระบุว่า ทั้งสองฝ่ายได้ปะทะกันด้วยอาวุธปืนอัตโนมัติตลอดคืนวันดังกล่าว และทางการไทยอ้างว่าไม่มีทหารไทยคนใดเสียชีวิตในเหตุปะทะกันดังกล่าว[88] ในช่วงบ่ายวันเดียวกัน รัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมกัมพูชาออกแถลงการณ์ซึ่งประณามไทยจากเหตุปะทะกันนานสิบวัน มีใจความว่า "การรุกรานกัมพูชาของทหารไทยซ้ำแล้วซ้ำเล่าได้สร้างความเสียหายแก่กัมพูชาทีละน้อย นี่เป็นพฤติการณ์ที่ไม่อาจยอมรับได้"[89]

วันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 ผู้บัญชาการทหารบกสั่งเตรียมเคลื่อนย้ายกำลังกรมทหารราบที่ 31 รักษาพระองค์หน่วยพร้อมรบเคลื่อนที่เร็ว (อาร์ทีเอฟ) ของกองทัพบกนอกจากนี้ผู้บัญชาการทหารบกสั่งเตรียมเคลื่อนย้ายกำลังกองทัพภาคที่ 3 โดยมีการสนธิกำลังจาก กองพลทหารราบที่ 4 (พล.ร. 4) จำนวน 1 กองพัน [90]ทหารไทยเสียชีวิต 1 นาย[91]

วันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 รัฐมนตรีต่างประเทศของไทย นายกษิต ภิรมย์ เดินทางไปยัง กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เพื่อหารือกับ คณะที่ปรึกษาทางกฎหมายต่างชาติ เพื่อต่อสู้คดีภายหลังประเทศกัมพูชา ยื่นคำร้องต่อศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ[92]

วันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 ชาวบ้าน ต.บักได อ.พนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์ทำการอพยพ หลังจากทราบข่าวว่ามีการเคลื่อนกำลังของกองทัพกัมพูชา บริเวณช่องกร่าง ซึ่งอยู่ตรงกลางระหว่างปราสาทตาควายกับปราสาทตาเมือนธม[93]

วันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 ชาวบ้าน ต.บักได อ.พนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์ ได้รับการแจ้งว่ากองทัพกัมพูชากำลังทดสอบอาวุธปืนใหญ่ บริเวณชายแดนเพื่อปรับพิกัดอาวุธปืน จึงได้ยินเสียงปืนใหญ่เป็นระยะ ๆ [94] ในวันเดียวกันแม่ทัพภาคที่สองสั่งให้ทำการปิดพรมแดน โดยกล่าวว่ามีการส่งออกน้ำมันและยุทธปัจจัยไปยังประเทศกัมพูชา[95]

วันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 และ วันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 กองทัพกัมพูชาทำการทดสอบอาวุธปืนใหญ่เป็นวันที่สองและสามส่งผลให้ชาวบ้านได้ยินเสียงปืนใหญ่มาจากฝั่งชายแดนประเทศกัมพูชาเป็นระยะ ๆ [96]

มิถุนายน

วันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2554 อ.กันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ ชาวบ้านได้ยินเสียงปืนเอ็ม61 วัลแคนเอ็ม 16ปืนสั้นดังมาจากบริเวณภูมะเขือยาวนานกว่า 6 นาที[97]สร้างความหวาดกลัวแก่ชาวบ้าน

การตีความคำพิพากษา

หลังความขัดแย้งได้ทวีความรุนแรงมากขึ้น เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2554 กัมพูชาได้ยื่นคำร้องต่อศาลยุติธรรมระหว่างประเทศเพื่อขอให้ศาลตีความคำพิพากษาคดีปราสาทพระวิหาร พ.ศ. 2505 และในวันเดียวกันประเทศกัมพูชาได้ยื่นคำร้องต่อศาลเดียวกันเพื่อขอให้ศาลระบุมาตรการคุ้มครองชั่วคราวเพื่อรักษาสิทธิของกัมพูชาอย่างเร่งด่วน ปัจจุบันคดีดังกล่าวยังอยู่ในระหว่างกระบวนพิจารณาของศาล

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 สมุดปกขาวชี้แจงการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก
  2. http://www.giggog.com/social/cat2/news6905/
  3. http://www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9520000109822
  4. http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9510000044928
  5. The Nation, PAD begins rallying in front of MFA building to protest Preah Vihear Temple map, June 18, 2008.
  6. Saritdet Marukatat, The Bangkok Post, This land is my land! June 18, 2008.
  7. ผู้จัดการออนไลน์, พันธมิตรฯ ทั่ว ปท.บุกกรุง!ฮือขับไล่“นพดล”ย่ำยีหัวใจไทย!! 18 มิถุนายน 2551
  8. ผู้จัดการออนไลน์, พันธมิตรฯ มอบรายชื่อสมทบ ไทยคดีฯ มธ.ค้านขึ้นทะเบียนเขาพระวิหาร, 27 มิถุนายน 2551
  9. The Nation, Court to decide injunction on PAD-led protest Monday, Saturday June 28, 2008.
  10. คำสั่งศาลปกครองกลางสั่งคุ้มครอง “ปราสาทพระวิหาร”
  11. http://www.komchadluek.net/2008/07/10/x_pol_k001_210599.php?news_id=210599
  12. http://directorythailand.blog.cd/ข่าวด่วน-เขมรยิงอาร์พีจ
  13. http://www.komchadluek.net/detail/20091105/35920/ไทยทบทวนสัมพันธ์เขมรเรียกทูตกลับ.html
  14. 14.0 14.1 คนไทยหัวใจรักชาติเผาโลงประท้วง. โพสต์ทูเดย์. (31 ธันวาคม 2553). สืบค้น 31-12-2553.
  15. ศาลกัมพูชาไต่สวน "คณะ 7 คน" "วีระ" พ่วงข้อหา "จารกรรม". ประชาไท. (7 มกราคม 2554). สืบค้น 7-1-2554.
  16. 16.0 16.1 16.2 16.3 16.4 ยื่นหนังสือ'ยูเอ็น' เขมรจับ7คนไทย. เดลินิวส์. (2 มกราคม 2554). สืบค้น 2-1-2554.
  17. กัมพูชาตั้งข้อหา ส.ส.ไทยและพวก 6 คน ลอบเข้าประเทศ. สำนักข่าวไทย. (30 ธันวาคม 2553). สืบค้น 30-12-2553.
  18. จ่อยื่นประกันตัว 7คนไทย เมียพนิชบินเยี่ยม. ไทยรัฐ. (1 มกราคม 2554). สืบค้น 2-1-2554.
  19. การเคลื่อนไหว"ลับ" ปฏิบัติการ พนิช วิกิตเศรษฐ์ เบื้องหน้า เบื้องหลัง. ข่าวสด. (31 ธันวาคม 2553). สืบค้น 31-12-2553.
  20. ประธาน กมธ. ร่วมรัฐสภา ปัดส่ง “พนิช” ลงพื้นที่ชายแดนสระแก้ว. สำนักข่าวไทย. (29 ธันวาคม 2553). สืบค้น 31-12-2553.
  21. เปิดหลักฐาน น.ส.3 ก ยัน"พนิช"ถูกเขมรจับในเขตไทย. ผู้จัดการ. (31 ธันวาคม 2553). สืบค้น 31-12-2553.
  22. "ชวนนท์"ยอมรับพนิชรุกล้ำกัมพูชาจริง. (31 ธันวาคม 2553). สืบค้น 31-12-2553.
  23. พท.ติงพนิชไม่ประสานเขมรก่อนเข้าพื้นที่. โพสต์ทูเดย์. (30 ธันวาคม 2553). สืบค้น 31-12-2553.
  24. 'สุนัย'แย้มเตรียมอภิปรายไม่ไว้วางใจกรณี'พนิช'. ไทยรัฐ. (1 มกราคม 2554). สืบค้น 2-1-2554.
  25. เมีย"พนิช"ได้เยี่ยมสามีแล้ว "บัวแก้ว"วอนคนไทยหัวใจรักชาติอย่าชุมนุม ชี้ส่งผลเสียต่อการเจรจา. มติชน. (3 มกราคม 2553). สืบค้น 3-1-2554.
  26. สดศรียันพนิชยังมีสถานะเป็นส.ส.อยู่. คมชัดลึก. (5 มกราคม 2554). สืบค้น 5-1-2554.
  27. สื่อเขมรเผยพนิชให้การในศาล ขัดกับหลักฐานในคลิป. ข่าวสด. (7 มกราคม 2554). สืบค้น 7-1-2554.
  28. พนิช ลองวีกเอนด์ !?. คมชัดลึก. (8 มกราคม 2554). สืบค้น 8-1-2554.
  29. ศาลกัมพูชาให้ประกันตัว"พนิช-นฤมล"แล้ว. สำนักข่าวไทย. (13 มกราคม 2554). สืบค้น 15-1-2554.
  30. พนิช<พ้นคุก เพราะแมงสาบ. ข่าวสด. (15 มกราคม 2554). สืบค้น 15-1-2554.
  31. เขมรให้ประกัน4คนไทย ขังยาว"วีระ" อ้างภัยมั่นคง-ไม่ปล่อย. แนวหน้า. (19 มกราคม 2554). สืบค้น 19-1-2554.
  32. ตัดสิน"เบา"5ไทย รออาญา พนิชบินกลับวันนี้. ข่าวสด. (22 มกราคม 2554). สืบค้น 22-1-2554.
  33. http://news.xinhuanet.com/english2010/world/2011-02/05/c_13719398.htm
  34. http://www.bangkokpost.com/news/local/219885/clash-on-thai-cambodian-border
  35. http://www.bangkokpost.com/news/local/219952/two-die-in-cambodia-clash
  36. http://www.bangkokpost.com/news/local/219886/thai-cambodian-clash-on-border
  37. http://www.channelnewsasia.com/stories/afp_asiapacific/view/1108956/1/.html
  38. http://www.channelnewsasia.com/stories/afp_asiapacific/view/1108956/1/.html
  39. http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1297083104&grpid=no&catid=06
  40. http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1296997658&grpid=00&catid=&subcatid=
  41. http://www.thairath.co.th/content/region/147602
  42. Fragile truce holds on Thai-Cambodia border
  43. Another Thai soldier dies
  44. Thai army confirms one injury in fresh border clash
  45. Thai-Cambodian Troops Clash Continue
  46. http://www.voanews.com/english/news/Thailand-Says-New-Clash-at-Cambodian-Border-116219489.html
  47. Vietnamese tanks moving to Preah Vihear
  48. Thai TV was warned about its coverage
  49. "Thailand and Cambodia to accept monitors for border row". News Asia-Pacific. BBC. 22 February 2011. สืบค้นเมื่อ February 23, 2011.
  50. 50.0 50.1 "Thailand admits controversial weapon use". News. Agence France-Presse. April 7, 2011.
  51. Cambodia says fighting resumes along Thai border, KPLC TV.
  52. http://www.manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9540000049761
  53. http://www.chaoprayanews.com/2011/04/22/ปะทะเดือด-ทหารไทยเสียช/
  54. http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRNd016UXpPRFF4TUE9PQ==&catid=01
  55. http://www.astvtv.com/news1/viewnews.phpdata_id=1010059&numcate=3
  56. http://thainews.prd.go.th/view.php?m_newsid=255404220322&tb=N255404&return=ok&news_headline="กต.ทำหนังสือประท้วงกัมพูชา%20อย่างรุนแรงเกี่ยวกับเหตุการณ์ปะทะที่ปราสาทตาควาย%20จ.สุรินทร์%20"
  57. http://77.nationchannel.com/playvideo.php?id=147196
  58. http://www.thannews.th.com/index.php?option=com_content&view=article&id=64478:1--2--&catid=176:2009-06-25-09-26-02&Itemid=524
  59. http://www.buraphanews.com/index.php?option=com_content&task=view&id=7204&Itemid=1
  60. http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1303457717&grpid=03&catid=19
  61. Gun battle resumes on Thai border, Sydney Morning Herald.
  62. Xinhua.net
  63. http://www.krobkruakao.com/ข่าว/36978/สุรินทร์-ปะทะรอบสองทหารไทยเจ็บ-6-อพยพชาวบ้าน-5-ตำบล.html
  64. http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryID=420&contentID=134784
  65. http://thainews.prd.go.th/view.php?m_newsid=255404250215&tb=N255404
  66. http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRNd016Y3lNalExTkE9PQ==&sectionid=
  67. http://breakingnews.nationchannel.com/read.php?newsid=506791
  68. http://61.47.61.3/cfcustom/cache_page/201020.html
  69. Thai, Cambodia troops clash again; peace hopes fade
  70. http://www.pattayadailynews.com/en/2011/04/25/over-12-killed-in-thai-cambodian-border-clash/
  71. http://mgr.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9540000051600
  72. http://www.ryt9.com/s/nnd/1137580
  73. http://www.bangkokpost.com/news/local/234212/border-clash-kills-another-thai-soldier
  74. http://www.forbes.com/feeds/ap/2011/04/28/general-as-thailand-cambodia-clash_8440886.html
  75. http://www.chaoprayanews.com/2011/04/28/105340/
  76. http://www.icj-cij.org/docket/files/151/16480.pdf
  77. http://www.chaoprayanews.com/2011/04/29/ข้อตกลงหยุดยิง-ไม่เป็นผ/
  78. http://www.nationmultimedia.com/home/Soldier-and-civilian-killed-in-fresh-fighting-30154199.html
  79. http://breakingnews.nationchannel.com/read.php?newsid=507651&lang=T&cat=
  80. http://www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9520000109822
  81. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2551/A/005/38.PDF
  82. http://www.nationchannel.com/main/news/stability/20110430/2775097/ประกาศพื้นที่ภัยสงคราม%20%20เขาพระวิหาร%20/
  83. http://breakingnews.nationchannel.com/read.php?newsid=507856
  84. http://breakingnews.nationchannel.com/read.php?newsid=507787
  85. http://www.manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9540000053481
  86. Thai, Cambodian troops clash again at border
  87. 10 Thai troops injured after 'light weapons' clashes on border
  88. apasthailandcambodiaclash.html The Seattle Times - Thai, Cambodian troops clash again at border
  89. English.news.cn - Cambodia's army condemns Thailand for 10 straight days of arms attacks
  90. http://breakingnews.nationchannel.com/read.php?newsid=507856
  91. http://www.krobkruakao.com/ข่าว/37425/ปะทะอีกใกล้ปราสาทตาควาย-ทหารไทยเสียชีวิต-1.html
  92. http://www.komchadluek.net/detail/20110502/96415/กษิตพบทีมกม.เทศสู้ศึกคดีพระวิหาร.html
  93. http://www.krobkruakao.com/ข่าว/37509/สุรินทร์-สถานการณ์ชายแดนกัมพูชาสงบ.html
  94. http://www.manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9540000057453
  95. http://www.13siamthai.com/index.php?option=com_content&view=article&id=1597:2011-05-11-04-39-57&catid=54:what-ails-you&Itemid=411
  96. http://www.chaoprayanews.com/2011/05/11/ทหารไทย-ตรึงกำลังเข้ม-พร/
  97. http://www.suthichaiyoon.com/detail/11258

แหล่งข้อมูลอื่น

แผนที่ดินแดน

แหล่งข้อมูลอื่น