ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ยุครณรัฐ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Tiemianwusi (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Paopaolnw999 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 5: บรรทัด 5:


ยุครณรัฐเริ่มขึ้นเมื่อใดนั้น นักวิชาการว่าไว้ต่างกัน ซึ่งมักตกในระหว่างปีที่ 481 ถึงปีที่ 403 ก่อนคริสตกาล แต่[[ซือหม่า เชียน]] นักประวัติศาสตร์ใน[[ราชวงศ์ฮั่น]] ว่า เริ่มเมื่อปีที่ 221 ก่อนคริสตกาล และข้อเขียนของซือหม่า เชียนนี้เป็นที่อ้างอิงกันมาก ส่วนชื่อ "รณรัฐ" นั้นเรียกตามชื่อหนังสือ "[[Zhan Guo Ce|พิชัยสงครามรณรัฐ]]" ({{lang/2|戰國策|Zhàn Guó Cè}}; Strategies of the Warring States)
ยุครณรัฐเริ่มขึ้นเมื่อใดนั้น นักวิชาการว่าไว้ต่างกัน ซึ่งมักตกในระหว่างปีที่ 481 ถึงปีที่ 403 ก่อนคริสตกาล แต่[[ซือหม่า เชียน]] นักประวัติศาสตร์ใน[[ราชวงศ์ฮั่น]] ว่า เริ่มเมื่อปีที่ 221 ก่อนคริสตกาล และข้อเขียนของซือหม่า เชียนนี้เป็นที่อ้างอิงกันมาก ส่วนชื่อ "รณรัฐ" นั้นเรียกตามชื่อหนังสือ "[[Zhan Guo Ce|พิชัยสงครามรณรัฐ]]" ({{lang/2|戰國策|Zhàn Guó Cè}}; Strategies of the Warring States)
ยุครณรัฐเริ่มขึ้นเมื่อใดนั้น นักวิชาการว่าไว้ต่างกัน ซึ่งมักตกในระหว่างปีที่ 481 ถึงปีที่ 403 ก่อนคริสตกาล แต่ซือหม่า เชียน นักประวัติศาสตร์ในราชวงศ์ฮั่น ว่า เริ่มเมื่อปีที่ 221 ก่อนคริสตกาล และข้อเขียนของซือหม่า เชียนนี้เป็นที่อ้างอิงกันมาก ส่วนชื่อ "รณรัฐ" นั้นเรียกตามชื่อหนังสือ "พิชัยสงครามรณรัฐ" (戰國策 Zhàn Guó Cè ?; Strategies of the Warring States)หรือที่คนไทยรู้จักในชื่อ "ยุคจั้นกั๋ว" ยุคสมัยของสงครามชุนชิวจ้านกั๊ว (770 ปีก่อนคริสต์ศักราช-221 ปีก่อนคริสต์ศักราช) หรือเป็นที่รู้จักกันดีอยู่ในยุคราชวงศ์โจวตะวันออก (东周) ในสมัยราชวงศ์โจวตะวันตก (西周) ราชวงศ์โจวยังรักษาและครอบครองอำนาจสมบูรณาญาสิทธิราชอย่างเบ็ดเสร็จ หลังจากกษัตริย์ผิงหวาง (平王) ตะวันออกขึ้นครองราชย์ เป็นการเปิดรัชสมัยของราชวงศ์โจวตะวันออก ราชวงศ์โจวตะวันออกก็เริ่มต้นเสื่อมอำนาจลง มีแต่เพียงพระนามของกษัตริย์ที่ยังปรากฎแต่ไม่มีอำนาจแท้จริงที่จะปกครองประเทศ ในขณะที่สภาพสังคมและเศรษฐกิจของแต่ละรัฐแตกต่างกัน เกิดสถานการณ์รัฐใหญ่ๆก่อสงครามเพื่อแย่งชิงกันเป็นใหญ่ แต่ละรัฐต่างผนวกดินแดนและทำสงครามเพื่อรวบรวมดินแดนต่างๆให้เป็นเอกภาพ ดังนั้นในสมัยราชวงศ์โจวตะวันออกสังคมเกิดกลียุคเกิดเงื่อนไขในการสร้างประเทศเป็นเอกภาพ กลายเป็นสงครามแย่งอำนาจระหว่างรัฐที่ชาวจีนเรียกว่า ชุนชิวจ้านกั๊ว (春秋战国)




==การแบ่งยุคสมัย ชุนชิว และ จ้านกั๋ว==
สงครามชุนชิว (770 ปีก่อนคริสต์ศักราช-476 ปีก่อนคริสต์ศักราช) สงครามจ้านกั๊ว (475 ปีก่อนคริสต์ศักราช-221 ปีก่อนคริสต์ศักราช) ตามประวัติศาสตร์โดยทั่วไปกล่าวถึงสามแคว้นใหญ่ เถียนซื่อ (田氏) นำรัฐฉี (齐) เข้าทำสงครามชุนชิวจ้านกั๊วเพื่อแบ่งแยกและผนวกดินแดน ในยุคสงครามชุนชิวจ้านกั๊ว ประวัติศาสตร์มีความเห็นที่แตกต่างกันในการสิ้นสุดสงครามชุนชิวและเริ่มต้นสงครามจ้านกั๊ว หรือใช้ยุคสงครามชุนชิวสิ้นสุดคือบันทึกสิบสี่ปีก่อนตายของลู่อ้ายกง (鲁哀公) คือ 481 ปีก่อนคริสต์ศักราชเป็นตัวกำหนด หรือในสมัยโจวหยวนหวาง (周元王) ขึ้นครองราชย์ปีแรก (475 ปีก่อนคริสต์ศักราช) เป็นปีเริ่มต้นสงครามจ้านกั๊ว หรือในสมัยโจวเจินติ้งหวาง (周贞定王) ขึ้นครองราชย์ปีแรก (468 ปีก่อนคริสต์ศักราช) เป็นตัวกำหนด

*ที่มาของชื่อเรียก
สงครามชุนชิวจ้านกั๊วเดิมทีแบ่งเป็นสองช่วงเวลาจากสงครามชุนชิวจนกลายเป็นสงครามจ้านกั๊ว (สงครามสู้รบระหว่างรัฐ) ในประเทศจีนสมัยโบราณชุนจี้ (春季,ฤดูใบไม้ผลิ) และ ชิวจี้ (秋季,ฤดูใบไม้ร่วง) เป็นฤดูขององค์ชายเฉาจิ้นหวาง (朝觐王) นอกจากนี้ชุนชิวในสมัยจีนโบราณเป็นการแสดงถึงฤดูกาลสี่ฤดูในหนึ่งปีของประเทศจีน อีกทั้งการบันทึกในประวัติศาสตร์เป็นการแสดงให้เห็นเหตุการณ์สำคัญๆต่างๆที่เกิดขึ้นในสี่ฤดูกาลตลอดปี ดังนั้น “ชุนชิว” จึงคือชื่อเรียกรวมเหตุการณ์สำคัญช่วงหนึ่งในประวัติศาสตร์จีน ในขณะที่ธรรมเนียมประเพณีจีนโบราณถือว่า “ชุนชิว” มาจากชื่องานบทประพันธ์ของขงจื่อ (孔子) และยังมีบางคนเข้าใจว่าเป็นงานรวบรวมบทประพันธ์เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของขุนนางรัฐลู่ (鲁) ตามความเห็นของ หนานหวยจิ่ง (南怀瑾) นักวิชาการที่มีชื่อเสียงชาวไต้หวันอธิบายว่า ชุนชิว มีความหมายว่า ฤดูใบไม้ผลิผ่านไปฤดูใบไม้ร่วงมาเข้ามา เป็นการลำดับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงบันทึกไว้เป็นประวัติศาสตร์ และสงครามจ้านกั๊วมีที่มาจากจ้านกั๊วเช่อ (战国策,กลยุทธสงครามระหว่างรัฐ) ซึ่งก็คือบันทึกประวัติศาสตร์ของแต่ละรัฐในสมัยนั้น รวบรวมและประพันธ์โดยหลิวเซี่ยง (刘向) ในสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันตก



==เบื้องหลังทางประวัติศาสตร์==
ในช่วงเวลาของสงครามชุนชิวจ้านกั๊ว ระบบเก่าเก่าและระบบการปกครองอำนาจแบบเก่าเก่าถูกทำลายลง ระบบใหม่และระบบการปกครองอำนาจแบบใหม่ถูกสถาปนาขึ้น กลุ่มอำนาจปกครองใหม่เติบโตขยายมากขึ้น เบื้องหลังที่ซ่อนลึกอยู่ในห้วงเวลาของการเปลี่ยนแปลงทางสถานการณ์และการเปลี่ยนแปลงรากฐานทางสังคม คือ การปฎิวัติอุตสาหกรรมการผลิตเหล็ก การพัฒนากำลังการผลิตในที่สุดนำไปสู่การเคลื่อนไหวของการปฎิรูปเปลี่ยนแปลงของแต่ละรัฐและการสถาปนาระบอบศักดินาเกิดขึ้น ทั้งยังนำไปสู่การเจริญรุ่งเรืองทางอุดมการณ์ความคิดและวัฒนธรรม

==เบื้องหลังทางการเมืองและสังคม==
เพื่อให้เข้าใจเหตุการณ์ก่อนป๊ 221 ก่อนคริสต์ศักราชก่อนที่ราชวงศ์ฉินจะสถาปนาขึ้น เราต้องทำความเข้าใจให้ลึกซึ้งถึงสถานการณ์การเมืองและสังคมในสมัยราชวงศ์โจว (ยุคจีนโบราณตั้งแต่ปี 1122 ก่อนคริสต์ศักราช ถึงปี 256 ก่อนคริสต์ศักราช) ในยุคนั้นในปลายสองสามศตวรรษสุดท้ายแห่งความวุ่นวายได้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างยิ่งใหญ่หลากหลายด้านที่มีผลกระทบสำคัญต่อชนชาวฮั่น ในสมัยราชวงศ์โจวตะวันตก (西周, ซีโจว) ราชวงศ์โจวยังคงรักษาการผูกขาดอำนาจทั้งหมดไว้ในมือ หลังจากกษัตริย์ผิงหวาง (平王) ขึ้นครองราชย์ ราชวงศ์โจวตะวันออก (东周,ตงโจว) จึงสถาปนาขึ้น อำนาจราชวงศ์โจวตะวันออกเริ่มเสื่อมทรามลง มีแต่ชื่อที่เหลือไว้ว่าเป็นกษัตริย์ปกครองประเทศ แต่ไม่มีอำนาจปกครองบริหารประเทศอย่างแท้จริง สมัยเมื่อราชวงศ์โจวล้มล้างราชวงศ์ซาง (商朝, ซางเฉา ประมาณปี 1025 ก่อนคริสต์ศักราช หรือ อาจจะเป็นปี 1122 ก่อนคริสต์ศักราชยึดถือตามแบบจีนโบราณ) ขุนนางที่ปกครองดินแดนใหม่ที่ยึดได้จากมีชัยชนะก็คือพระราชโอรสและพระวงศาคณาญาติทั้งหลายของกษัตริย์ พันธมิตรที่ใกล้ชิดและลูกหลานของอดีตผู้ปกครองราชวงศ์ซางยังคงได้รับอนุญาตให้ดูแลปกครองดินแดนเดิมที่ได้รับยึดถือเป็นกรรมสิทธิ์ ดังนั้นประเทศจีนจึงถูกแบ่งแยกเป็นกลุ่มการเมืองรัฐต่างๆมากมาย เชื่อกันว่าในสมัยสงครามชุนชิวราชวงศ์โจวตะวันออก (ปี 722 ก่อนคริสต์ศักราช ถึง ปี 481 ก่อนคริสต์ศักราช) มีกลุ่มการเมืองรัฐต่างๆในประเทศจีนถึง 170 กลุ่ม แน่นอนส่วนใหญ่ของกลุ่มการเมืองรัฐต่างๆเหล่านั้นมีขนาดเล็ก และภายในกลุ่มรัฐเล็กๆเหล่านั้นยังแตกแยกเป็นกลุ่มหัวย่อยๆอีก ทั้งยังต้องแบ่งสรรอำนาจให้กับเพื่อนฝูง วงศาคณาญาติและเจ้าหน้าที่รัฐอีก เมื่อผ่านมาถึงขั้นนี้เนื่องจากมีการทำสงครามกันอยู่อย่างต่อเนื่อง ผู้ปกครองรัฐต่างๆถูกทำลายล้างเป้นจำนวนมาก หรือไม่ก็ถูกรุกรานแย่งชิงดินแดนจนดินแดนเล็กลง ดังนั้นเมื่อผ่านมาถึงสงครามจ้านกั๊วในยุคถัดมาของราชวงศ์โจวตะวันออก (ปี 403 ก่อนคริสต์ศักราช ถึง ปี 221 ก่อนคริสต์ศักราช) จึงเหลือรัฐใหญ่ๆอยู่เพียงแค่ 7 รัฐ เจ็ดรัฐใหญ่เหล่านั้นประกอบด้วยรวมทั้งครอบครัวชาวฮวาเซี่ย (华夏, ชื่อเรียกชาวจีนสมัยโบราณ) ที่อยู่แดนไกลและรัฐฉิน (秦) ซึ่งอยู่ทางตะวันตก ปี 770 ก่อนคริสต์ศักราชพวกอนารยชนป่าเถื่อนได้เข้าตีขับไล่บีบบังคับให้พระราชวงศ์โจวต้องอพยพหนีออกจากซีอานในปัจจุบัน (มณฑลส่านซี陕西) ใกล้กับเมืองซีตู (西都) ไปตั้งหลักแหล่งที่เมืองลั่วหยาง (洛阳 มณฑลเหอหนาน河南) ในปัจจุบันสร้างเมืองหลวงใหม่ และเป็นเมืองหลวงที่อยู่ทางทิศตะวันออกของเมืองหลวงเก่าสถาปนาราชวงศ์ขึ้นมาใหม่เป็นราชวงศ์โจวตะวันออก (แต่ดินแดนที่อยู่ในการปกครองของราชวงศ์เล็กลงและพระราชอำนาจเสื่อมลงอ่อนแอไม่เหมือนแต่ก่อน) ราชวงศ์โจวได้สูญเสียอำนาจทางการเมืองและอำนาจปกครองสูญสิ้น ผู้ปกครองรัฐต่างๆเหล่านี้เมื่อผ่านพ้นมาถึงยุคต้นของสงครามจ้านกั๊วต่างตั้งรัฐตนเองเป็นรัฐอิสระไม่ขึ้นกับราชวงศ์หรือรัฐใดๆ


==การเมือง==
เมื่อราชวงศ์โจวสถาปนาขึ้นการสืบทอดราชอำนาจปกครองประเทศมาจากคนในครอบครัวจากพระราชบิดาสู่พระราชโอรส ขึ้นอยู่กับว่ากษัตริย์จะสิ้นพระชนม์เมื่อไหร่ นานๆไปได้กลายเป็นพันทนาการโซ่ตรวนผูกมัดระบบการปกครองราชวงศ์โจว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปี 770 ก่อนคริสต์ศักราช ที่ราชวงศ์โจวถูกพวกอนารยชนตีถูกบีบบังคับให้อพยพจากตะวันตกมาสู่ตะวันออก พระราชอำนาจของราชวงศ์ถูกรัฐต่างๆภายใต้ราชวงศ์ปฎิเสธเพิกเฉยต่อพระราชอำนาจ อันที่จริงแล้วก็คือ ต่างลืมไปแล้วว่าราชวงศ์มีพระราชอำนาจอยู่ ดังนั้น ในปี 256 ก่อนคริสต์ศักราช ในที่สุดรัฐฉินก็ทำลายล้มล้างราชวงศ์โจวซึ่งไม่มีนัยยะสำคัญใดๆทางการเมือง ในช่วงเวลาก่อนหน้านั้นผู้ปกครองรัฐต่างๆภายใต้อำนาจของราชวงศ์โจวแต่ก่อนต่างได้พัฒนารัฐตนเองกลายเป็นรัฐเอกราชพร้อมทั้งมีการแบ่งแยกกันตามความแตกต่างทางด้านภาษาและประเพณีวัฒนธรรมที่อยู่ร่วมกัน แต่รัฐต่างๆก็มีความร่วมมือกันทางทหารและมีการตั้งด่านป้อมค่ายตรวจตราและเก็บภาษี เตรียมพร้อมที่จะสู้รบหรือเป็นพันธมิตรกันทั้งแนวตั้งและแนวนอนตามกลยุทธการเมือง บางครั้งก็รู้รบปรบมือกัน บางครั้งก็เป็นพันธมิตรกัน ในขณะเดียวกันภายในแต่ละรัฐต่างมีระบอบการปกครองแบบรวมศูนย์เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ เป็นการทำลายระบบการถือครองที่ดินตามระบอบศักดินาของเจ้าของที่ดินที่สืบทอดจากบรรพชนสู่ลูกหลานและทำลายผลประโยชน์ของขุนนางข้าราชการต่างๆ วิธีการหลัก คือ การรวบรวมที่ดินทั้งหมดกลับมาเป็นของรัฐ ที่ดินทั้งหมดนี้กลับมาเป็นของเจ้าผู้ปกครองรัฐหน้าใหม่ เจ้าผู้ปกครองรัฐเหล่านี้โดยทั่วไปได้รับการแต่งตั้งจากศูนย์อำนาจส่วนกลางของพระมหากษัตริย์รวมทั้งการจัดแบ่งอำนาจการจัดเก็บภาษีค่าธรรมเนียมและการจัดแบ่งอำนาจในการปกครอง ตำแหน่งของเจ้าปกครองรัฐเหล่านี้โดยทั่วไปไม่ได้เป็นตำแหน่งที่สืบทอดจากบิดาสู่บุตรหลาน การเริ่มต้นใช้ระบบนี้อาจเป็นเพื่อใช้ปกครองและจัดการกับรัฐอาณานิคมที่เกิดขึ้นใหม่จากการที่มีชัยชนะได้ครอบครองหรือผนวกควบดินแดนใหม่เข้ามาหรือเป็นดินแดนใหม่ที่ถูกจัดตั้งขึ้น แต่มันค่อยๆในที่สุดเปลี่ยนมาเป็นการแบ่งสรรที่ดินให้กับเจ้าครองรัฐและเจ้าครองที่ดินตามระบอบศักดินา อำนาจและความมั่งคั่งของเจ้าครองรัฐหรือเจ้าครองที่ดินดังนั้นจึงมีขอบเขตจำกัด ระบบรัฐหรือแคว้น (县,เซี่ยน)) เป็นหน่วยงานที่มีอยู่สองลักษณะเมื่อเปรียบเทียบกับความหมายของระบบแคว้นในเวลาก่อนหน้านี้ ระบบรัฐหรือแคว้นเกิดขึ้นครั้งแรกในปี 688 ก่อนคริศต์ศักราชในสมัยรัฐฉิน แต่มีเหตุผลที่จะตั้งข้อสงสัยในกาลเวลานั้นและคิดว่าระบบการปกครองแบบแคว้น (县,เซี่ยน) นี้มีต้นกำเนิดทางตอนใต้ของรัฐฉู่ (楚) ซึ่งแน่นอนในปี 598 ก่อนคริสต์ศักราชมีการกล่าวอ้างถึงแล้ว ลองคิดดูระบบแคว้นอาจมีมาตั้งแต่ก่อนหน้านั้นแล้ว ระบบรัฐ (郡,จวิ้น)มาภายหลังระบบแคว้น (县,เซี่ยน) บันทึกสมัยเริ่มแรกเอ้างถึงระบบแคว้นเกิดขึ้นในปี 400 ก่อนคริสต์ศักราช ประมาณสมัยรัฐเว่ย (魏) ระบบรัฐ (郡)ต่างมีทหารเป็นของรัฐตนเองซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับระบบแคว้น (县) จะเห็นความแตกต่างกันมากอย่างชัดเจน ระบบรัฐคือดินแดนใหม่ที่ยึดผนวกมาได้อยู่ติดชายแดนซึ่งถูกควบคุมและปกครองโดยอำนาจจากส่วนกลางของพระมหากษัตริย์ หรือในหลายๆกรณี ระบบแคว้นดูเหมือนจะถูกครอบครองบริหารและปกครองโดยเชื้อพระวงศ์หรือขุนนางผู้ใหญ่สืบทอดกันมาจากบรรพบุรุษสู่ลูกหลาน ในยุคเริ่มต้นรัฐมีความสำคัญน้อยกว่าแคว้น เพราะว่ารัฐตั้งอยู่ในเขตชายแดน แต่ถ้าเปรียบเทียบกันจริงๆ สถานการณ์แตกต่างกันมาก แคว้นในที่สุดได้กลายเป็นหน่วยงานภายใต้การบริหารของรัฐ เมื่อถึงปลายศตวรรษสุดท้ายสมัยราชวงศ์โจว รัฐหนึ่งๆสามารถแบ่งแยกเป็นแคว้นต่างๆได้หนึ่งแคว้นจนถึงยี่สิบกว่าแคว้น ระบบรัฐและแคว้นจึงมีนัยยะสำคัญมากจนจักรวรรดิราชวงศ์ฉิน และนักประวัติศาสตร์ในยุคต่อมานำมาถกเถียงกันในภายหลัง



==เทคโนโลยี==
แต่ก่อนนักโบราณคดีเชื่อว่า ประเทศจีนเริ่มต้นผลิตและใช้เหล็กนั้นไม่น่าจะช้ากว่าศตวรรษที่ 7 ก่อนคริสต์ศักราช หรือแม้กระทั่งไม่น่าจะช้ากว่าศตวรรษที่ 6 ก่อนคริสต์ศักราช ในเอกสารบันทึกม้วน หลักฐานวัสดุที่ค้นพบเก่าแก่ที่สุดพบในบันทึกจั่วฉวน (左传) ซึ่งถูกบันทึกในปี 513 ก่อนคริสต์ศักราช ว่าด้วยกฎหมายอาญาว่าด้วยการหล่อเหล็กและหลอมแท่นบูชาสามขา ในสมัยราชวงศ์จิ้น (晋) จากหลุมฝังศพในยุคสงครามจ้านกั๊วที่ขุดค้นพบได้ค้นพบอาวุธของทหาร เครื่องมือการเกษตรและเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันในสมัยนั้นทำมาจากเหล็ก นักวิชาการส่วนมากคิดว่าในศตวรรษนั้นผลิตผลทางเกษตรผลิตได้เพิ่มขึ้นอย่างมาก เนื่องจากการพัฒนาเทคโนโลยี่ในการผลิตเหล็กมีแนวโน้มที่จะเป็นปัจจัยหนึ่งในนั้น ปัจจัยอื่นๆอาจจะมีอยู่บ้าง อาทิ การเพิ่มขยายเทคนิคระบบชลประทานและการระบายน้ำ ประกอบกับการใช้ปุ๋ย โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือการทำเกษตรในพื้นดินขนาดใหญ่ผืนใหม่ แต่อย่างไรก็ดี เราไม่ควรเอาปัจจัยต่างๆและเทคนิคเหล่านี้มาคาดคะเน ตลอดยุคสงครามจ้านกั๊ว อุตสาหกรรมเหล็กตามที่กล่าวมายังคงมีขนาดเล็ก ในสมัยนั้นเหล็กส่วนใหญ่ยังคงเป็นเหล็กหล่อ ยังไม่ใช่เป็นการหลอมเหล็ก ดังนั้นจึงค่อนข้างอ่อนและเปราะ เครื่องมือส่วนใหญ่ยังคงใช้ทองเหลือง หิน ไม้หรือไม่ก็เปลือกหอย นอกจากนี้บางแง่มุมสำคัญของการปรับปรุงเทคโนโลยี่ทางการเกษตรให้ดีขึ้นเป็นการยากอย่างยิ่งโดยเฉพาะการที่จะวัดและกำหนดเวลาที่แน่นอน นอกจากนี้การนำเอาแรงงานสัตว์มาขุดไถพรวนดินแทนการทำเกษตรสมัยก่อนเกิดเป็นปัญหาระยะยาวในการเตรียมดินเพื่อการเกษตรก่อให้เกิดความขัดแย้ง ตามหลักฐานที่ยังคงไม่ชัดเจนประเทศจีนรู้จักการใช้เครื่องไถพรวนดินตั้งแต่ก่อนปี 400 ก่อนคริสต์ศักราช จนถึงหนึ่งหรือสองศตวรรษก่อนหน้านี้ แม้กระนั้นยังก่อนถึงสมัยราชวงศ์โจว บันทึกเก่าสุดที่กล่าวถึงเครื่องมือเหล่านี้อย่างชัดเจน ก็คือบันทึกในสมัยราชวงศ์ฮั่น (ประมาณ 90 ปีก่อนคริสต์ศักราช หรือ 85 ปีก่อนคริสต์ศักราช) แต่เครื่องมือต่างๆเหล่านี้ก็ยังคงใช้เวลายาวนานพอสมควรในการพัฒนาเบื้องต้น


==ประชากร==
การพัฒนาเปลี่ยนแปลงทางการเกษตรดูเหมือนมีแนวโน้มจะมาพร้อมกับการเจริญเติบโตของจำนวนประชากรถึงแม้ว่าจะมีสงครามเกิดขึ้นอยู่บ่อยๆ ในยุคสมัยสงครามจ้านกั๊ว มีเมืองต่างๆเกิดขึ้นอย่างมากมาย ขนาดของเมืองกว้างใหญ่ขึ้น และการออกแบบวางผังเมืองค่อนข้างซับซ้อน หนึ่งในสัญลักษณ์ต่างๆที่เห็น คือ การขุดค้นพบของนักโบราณคดีที่แสดงให้เห็นตำแหน่งของกำแพงเมืองที่มีอยู่หลายๆส่วนและมีขนาดค่อนข้างยาว แต่หลักฐานที่ยกขึ้นมากล่าวนี้ค่อนข้างจะกระจัดกระจายยังห่างไกลที่จะนำมาคำนวณตัวเลขประชากรโดยประมาณในสมัยนั้น ยังมีข้อยกเว้นว่า มีบันทึกหลักฐานที่ยืนยันเมืองหลวงของรัฐฉี (齐) มีประชากร 350,000 คน ตัวเลขนี้อาจบันทึกเกินความเป็นจริง ยังไม่น่าเชื่อถืออย่างแท้จริง ถึงแม้จะมีนักวิชาการบางคนจะนำเอาบันทึกนี้ไปใช้อ้างอิง



==การทหาร==
ผลกระทบที่เด่นชัดที่สุดตามข้อมูลทางประวัติศาสตร์ในห้วงเวลาของสงครามจ้านกั๊ว คือ การทำสงครามต่อเนื่องตลอดเวลา ดังนั้นเมื่อสวี่ชั่วหยิน (许绰云) บันทึกข้อมูลการทำสงครามจึงดูเหมือนน่าประหลาดใจ ตามข้อมูลที่บันทึก ปี 722 ก่อนคริสต์ศักราช ถึง ปี 464 ก่อนคริสต์ศักราช เป็นเวลานาน 259 ปี มีเพียง 38 ปีที่แผ่นดินสงบไม่มีการทำสงคราม หรือตั้งแต่ปี 463 ก่อนคริสต์ศักราช ถึง ปี 222 ก่อนคริสต์ศักราช เป็นเวลานาน 242 ปี แผ่นดินสงบไม่มีการทำสงครามน้อยกว่า 89 ปี แต่ในสถานการณ์แบบนี้ ผลกระทบหลักมีความหมายมากกว่าการเปรียบเทียบข้อมูลการทำสงคราม เพราะผู้อยู่เบื้องหลังปกปิดความจริง เมื่อเปรียบเทียบผลกระทบระหว่างสงครามชุนชิวกับสงครามจ้านกั๊ว สงครามชุนชิวมีการทำสงครามกันอยู่อย่างต่อเนื่อง ในเวลาเดียวกันมีรัฐต่างๆมากมายเข้าร่วมทำสงคราม แต่สงครามมีขนาดเล็ก ใช้เวลาในการทำสงครามสั้น และสงครามไม่รุนแรงมาก การทำสงครามในสมัยสงครามชุนชิวถูกควบคุมการรบโดยการใช้รถม้าศึกของขุนศึกในการทำสงคราม ขุนศึกขับรถม้าศึกตามวิธีการรบม้าศึกเข้าทำสงคราม สำหรับพวกขุนศึก ศักดิ์ศรีและหน้าตามีความสำคัญมากกว่าผลประโยชน์ที่จะได้รับ การทำสงครามในสมัยสงครามจ้านกั๊วถูกควบคุมการรบโดยแม่ทัพ ผู้ครองรัฐจะว่าจ้างแม่ทัพมาทำศึกสงครามปกป้องรัฐจนตัวตาย ทำสงครามเพื่อขยายอาณาเขตดินแดนและแย่งชิงทรัพยากร การใช้รถม้าศึก (ในสภาพภูมิประเทศที่ไม่ราบเรียบขรุขระเป็นการยากที่จะบังคับรถม้าศึก) ได้ลดจำนวนลง และกองพลทหารราบมีบทบาทเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ใน 4 ศตวรรษก่อนคริสต์ศักราช ชาวจีน (โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปี 307 ก่อนคริสต์ศักราช รัฐจ้าว) ในแผ่นดินที่ห่างไกลจากตัวเมืองทวีปเอเชียชนเผ่าเร่ร่อนเผ่าต่างๆต่างเรียนรู้วิธีการขี่ม้าซึ่งได้เป็นกำลังเสริมอันสำคัญของกองพลทหารราบในการปฎิบัติภาระกิจขี่ม้ายิงธนูหรือเครื่องยิง อาจจะเป็นในสมัยราชวงศ์โจว ชาวจีนคิดประดิษฐเครื่องยิงหน้าไม้ขึ้นมาได้ ในยุคสมัยส่วนใหญ่ของประวัติศาสตร์จีนเครื่องยิงหน้าไม้กลายเป็นอาวุธหลักในการทำสงครามตลอดมา การพัฒนาทางการทหารอื่นๆรวมทั้งการป้องกันการโจมตีและการตั้งรับโดยการสร้างกำแพงเมืองและคูเมืองเพื่อเป้นการปรับปรุงกลยุทธในการป้องกัน จากข้อมูลทางสถิติเกิดคำถามมากมายเกี่ยวกับบันทึกข้อมูลของขนาดกองทัพในยุคสมัยสงครามจ้านกั๊ว ปัญหาจำนวนทหารทั้งหมดที่ร่วมทำสงครามและจำนวนผู้ได้รับบาดเจ็บซึ่งมีปัญหาในบันทึกคล้ายๆกัน



==การปกครอง==
ในรัฐฉินและเจ้าครองรัฐอื่นๆในสมัยราชวงศ์โจว ในขณะที่มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในเวลาเดียวกันก็ปรากฎมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนแปลงเพิ่มอำนาจให้กับศูนย์กลางอำนาจส่วนกลางให้กระชับรัดกุมขึ้นและปรับปรุงโครงสร้างการปกครอง ปรับตำแหน่งขุนนางและรับขุนนางที่มีความสามารถและขุนนางที่มีความสามารถเฉพาะมารับใช้ แนวโน้มการบริหารขุนนางข้าราชการแบบนี้เป็นคุณลักษณะโดดเด่นที่สุดของจักรวรรดิจีน การพัฒนาที่สำคัญอีกอย่าง คือ การใช้มาตรการในการวัดและตรวจสอบ อาทิ หนังสือบันทึกจำนวนประชากร หนังสือบันทึกภาษีอากร บันทึกผลผลิตทางเกษตรที่เก็บเกี่ยวแล้ว เป็นต้น ราชวงศ์ฉินเมื่อขึ้นครองราชย์ก็ได้นำมาตรการเหล่านี้มาใช้ในเวลาต่อมา การเปลี่ยนแปลงระบบการปกครองอีกอย่างหนึ่งที่สำคัญ คือ การตราประมวลกฎหมายลงเป็นลายลักษณ์อักษร กฎหมายเหล่านี้จะนำมาแทนที่กฎหมายดั้งเดิมและกฎหมายที่ไม่ได้มีการตราเป็นลายลักษณ์อักษร แต่ได้ถูกผู้ริเริ่มให้นามว่า หลี่ (礼, คำๆนี้มีความหมายหลากหลาย อาทิ หมายความว่า “ประเพณีแบบดั้งเดิม” “กฎหมายว่าด้วยความประพฤติสุภาพเรียบร้อย” “พิธีกรรม” เป็นต้น) เพื่อเป็นกฎเกณฑ์ในการประพฤติปฎิบัติ ตัวอย่างที่ชัดเจนที่เก่าแก่ที่สุด คือ ในปี 536 ก่อนคริสต์ศักราช เมื่อรัฐเจิ้ง (郑) นำหนังสือลงทัณฑ์สลักลงบนแท่นบูชาทองเหลืองสามขา ในปี 513 ก่อนคริสต์ศักราช 501 ปีของยุคต่อมา มีบางรัฐเอาวิธีการแบบนี้ไปใช้ ในรัฐฉิน งานหลักของการปฎิรูปกฎหมายอยู่ในช่วงกลางของศตวรรษที่สี่ก่อนคริศต์ศักราช ในยุคของ ฉินเสี้ยวกง (秦孝公) และที่ปรึกษาของเขา ซางยาง (商鞅) จากตัวอักษรในหนังสือลงทัณฑ์ กฎหมายเหล่านี้ส่วนใหญ่จะเป็นลักษณะความผิดทางอาญา ไม่ใช่ทุกรัฐจะตรากฎหมายลักษณะนี้ กฎหมายเหล่านี้ก็ไม่ได้นำมาใช้บังคับกับคนทุกระดับชั้น แต่มันถูกตราขึ้นมาพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงการปกครองอื่นๆ มีการเร่งสร้างกระบวนการการบริหารรัฐโดยขุนนางข้าราชการซึ่งถือเป็นสิ่งที่สำคัญมาก มีการสนับสนุนให้เปลี่ยนแปลงรัฐการเมืองและรัฐความคิดในทิศทางนี้ให้กลายเป็นรัฐกฎหมายในอนาคต แล้วรัฐฉินก็ทุ่มเทนำวิธีการและแนวความคิดนี้มาปฎิบัติอย่างไม่ต้องสงสัยซึ่งเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้รัฐนี้เปลี่ยนจากเจ้าผู้ครองรัฐกลายเป็นจักรพรรดิปกครองแผ่นดินจีน

==การเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์เชิงอำนาจ==
คาดไม่ถึงว่า พวกที่มีอำนาจทางการเมืองและพวกที่ครองดินแดนที่กำลังเล่นเกมส์แย่งอำนาจในยุคปลายราชวงศ์โจวตะวันออก จะคือพวกที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นเจ้าครองรัฐหรือขุนนางเชื้อพระวงศ์ที่ครอบครองดินแดนตามระบบศักดินาในยุคเริ่มต้นราชวงศ์โจว ในทางกลับกันการเปลี่ยนแปลงทางอำนาจนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่รุนแรงมากขึ้นๆในหมู่ชนชั้นผู้นำสูงสุดทางการเมือง ขุนนางเก่าลดจำนวนลงไปเป็นอันมากหรือไม่ก็สาปสูญหายไป หรือไม่ก็ถูกแทนที่ด้วยขุนนางที่ยอมอ่อนน้อมเชื่อฟัง พวกผู้นำเหล่านี้ไม่ได้มีสายเลือดผูกพันโดยตรงกับเชื้อสายสถาบันกษัตริย์ พวกเจ้าครองรัฐและขุนศึกซึ่งได้รับตำแหน่งใหญ่โตอย่างรวดเร็วเหล่านี้ส่วนใหญ่มาจากขุนนางชั้นปลายแถว พวกเขามีภูมิหลังครอบครัวที่ดีคอยสนับสนุน แต่ไม่มีตำแหน่งขุนนางใหญ่โต พวกเขาทำหน้าที่เป็นขุนศึกนักรบ ข้าราชการ ข้าราชการดูแลราชสำนักและตำหนักขุนนาง หรือดูแลที่ดินเพื่อเลี้ยงปากเลี้ยงท้อง มีบางครั้งพวกเขาต้องลงมือทำเกษตรเอง สวี่ชั่วหยินใช้คนถึง 516 คนในการค้นคว้าบันทึกข้อมูลของกิจกรรมการเมืองในสมัยสงครามชุนชิว และใช้คนถึง 713 คนในการค้นคว้าบันทึกข้อมูลของกิจกรรมการเมืองในสมัยสงครามจ้านกั๊ว ค้นพบอัตราการเกิดของขุนศึกขุนนางผู้รับใช้ใหม่ในสองยุคที่แตกต่างกัน สงครามชุนชิวประมาณ 26% สงครามจ้านกั๊ว 55% ประมาณศตวรรษที่ผ่านมา สังคมจีนกำเนิดกลุ่มบุคคลที่ไม่เป็นที่รู้จักทั่วไปเพราะว่าพวกเขาเป็นสามัญชนคนธรรมดา อาทิเช่นพ่อค้า ความมั่งคั่งของพวกเขาทำให้เขามีอำนาจและครอบครองที่ดิน และบุคคลจำพวกนี้เพิ่มขึ้นและขยายตัวไปเป็นอันมาก ชนชั้นเจ้าที่ดินใหม่และขุนนางข้าราชการเกิดขึ้นในวิถีทางนี้ เมื่อเข้าสู่ยุคสงครามจ้านกั๊ว ชนชั้นเหล่านี้ถูกจัดตั้งขึ้นอย่างมั่นคง พวกเขาถูกจัดเป็นชนชั้นปัญญาชนซึ่งอยู่ในฐานะชนชั้นปกครอง เป็นชนชั้นสูงมีคุณสมบัติผู้ดีตามประวัติศาสตร์ของอาณาจักรราชสำนักจีน

==การเกษตร==
ในยุคสมัยต้นๆของราชวงศ์โจว เห็นได้ชัดว่าชาวเกษตรกรส่วนใหญ่อยู่ในระบบอุปถัมภ์ (เปรียบบ้านตนเองคือที่ทำงาน) ทำงานรับใช้ระบบอุปถัมภ์ในที่ดินการเกษตรที่เป็นของขุนนางศักดินา ระบบการใช้ที่ดินแบบนี้ คือ ระบบแนวความคิดการแบ่งที่ดินทำการเกษตรประเภทหนึ่งที่เรียกว่า จิ่งเถียนจื้อ (井田制) คือ ระบบการแบ่งทีดินหนึ่งแปลงเป็นเก้าแปลงย่อยตามระบบสังคมทาสในสมัยจีนโบราณตามอักษรจิ่ง (井) ของจีน ผลผลิตของที่ดินแปดแปลงย่อยตกเป็นของเกษตรกร ในขณะที่ผลผลิตของที่ดินแปลงตรงกลางตกเป็นของขุนนางศักดินาผู้เป็นเจ้าของครอบครองที่ดิน มันเป็นสิ่งที่ดำรงอยู่อย่างแน่นอนหลายชั่วนานตาปี แม้แต่นักวิชาการในปัจจุบันก็พยายามศึกษาทุกแง่มุมของระบบนี้เพื่อคลี่คายความสงสัย อันที่จริงที่ดินมันไม่สามารถแบ่งจัดสรรตามความคิดรูปทรงสี่เหลี่ยมตามแบบเรขาคณิตของเมิ่งจื่อ (มีชีวิตอยู่ในราวๆปี 372 ก่อนคริสต์ศักราช ถึงปี 289 ก่อนคริสต์ศักราช) หรือคนในราชวงศ์โจวหรือตามบัณฑิตราชวงศ์ฮั่นอย่างยุติธรรม แต่ตามคำอธิบายของการแบ่งสรรที่ดินของคนจำพวกนี้ ที่ดินผืนเล็กผืนน้อยจะรวมกันเป็น จิ่ง (井) ซึ่งเป็นที่ดินที่มีผืนขนาดใหญ่ จากนั้นจะจัดสรรแบ่งเป็นที่ดินแปลงย่อยเก้าแปลงเหมือนตารางหมากรุก ที่ดินแปดแปลงรอบนอกจะยกให้ครอบครัวเกษตรต่างๆจับจองเพื่อเพาะปลูกทำมาหากิน ที่ดินแปลงที่เก้าตรงกลางจะเป็นที่ดินแปลงรวมที่ชาวเกษตรทั้งแปดแปลงต้องช่วยกันเพาะปลูก เพื่อนำผลผลิตจากแปลงนี้ทั้งหมดยกให้แก่ขุนนางศักดินาที่เป็นเจ้าของที่ดิน ระบบจิ่งเถียนจื้อ ได้เป็นหัวข้อถกถียงของนักวิชาการรุ่นหลังเสมอด้วยความรู้สึกยากจะบรรยาย ลองจินตนาการรำลึกไปถึงเหตุการณ์ในสมัยโบราณนั้น ในยุคสมัยที่คนเราอยู่ร่วมกันแบบเรียบง่ายเต็มไปด้วยความหลากหลายทางคุณธรรม แต่การนำระบบนี้มาใช้จริง ถ้าตัวแทนของขุนนางศักดินาไม่ใช้อำนาจเพิ่มความกดดัน มันเป็นไม่ได้เลยที่จะให้ชาวเกษตรยอมรับการใช้ระบบนี้ และผลักดันให้ชาวเกษตรกรเพิ่มผลผลิตทางเกษตรให้มากกว่าผลผลิตขั้นต่ำ ในอีกด้านหนึ่ง ขุนนางศักดินามีภาระหน้าที่ต้องจัดหาผลผลิตทางเกษตรส่งส่วนกลาง หรือเพื่อตัวเขาและครอบครัวของพวกเขา อย่างไรก็ดีตามบันทึกประวัติศาสตร์ ในปี 594 ก่อนคริสต์ศักราช เริ่มจากรัฐหลู่ (鲁) เริ่มต้นการจัดเก็บภาษีแบบใหม่แล้วรัฐอื่นๆก็เริ่มใช้ตามแบบอย่าง แม้ว่ารายการบันทึกไว้แบบย่อๆและผู้ออกคำสั่งจะไม่ชัดเจน แต่โดยทั่วไปแล้ว ระบบภาษีใหม่โดยทั่วไปดูเหมือนรวมถึงการชำระผลผลิตทางเกษตรของเกษตรกรเพื่อเป็นค่าทดแทนของการต้องเป็นแรงงานเกณฑ์ ในการชำระบางกรณี การชำระเหล่านี้อาจจะต้องจัดส่งโดยตรงไปสู่ราชสำนักส่วนกลางของรัฐไม่ใช่ชำระให้แก่ขุนนางศักดินาผู้ครอบครองที่ดินทำการเกษตร ฉะนี้จึงส่งผลก่อให้เกิดการสลายความสัมพันธ์แบบดั้งเดิมของขุนนางศักดินากับเกษตรกรที่เข้ามาทำกินในที่ดินของขุนนางศักดินาทีละน้อยๆ เนื่องจากมีรัฐต่างๆเกิดขึ้นมากมายเพื่อแย่งชิงพื้นที่ว่างเปล่าไร้คนจับจอง ดินแดนว่างเปล่าเหล่านี้ไม่ได้จัดรวมอยู่ในระบบการจัดสรรที่ดินแบบศักดินาดั้งเดิม จึงเป็นการเร่งสถานการณ์ให้แตกหัก มีบางคนอ้างว่า การให้เสรีภาพแก่เกษตรกรในการทำการเกษตรกึ่งอิสระจะเป็นตัวกระตุ้นให้เกษตรกรทำงานขยันขันแข็งมากขึ้นดังนั้นจึงช่วยปรับปรุงผลผลิตทางเกษตรในยุคราชวงศ์โจวให้สูงขึ้น แต่การให้เสรีภาพในการทำเกษตรแบบใหม่จะบีบบังคับให้เกษตรกรต้องรับผิดชอบอย่างเต็มที่ของความต้องการของเกษตรกรเองทั้งหมด ทั้งยังไม่ได้รับการปกป้องจากขุนนางศักดินาดั้งเดิม ในปลายศตวรรษสุดท้ายของราชวงศ์โจว การซื้อขายที่ดินกลายเป็นเรื่องธรรมดา ผลลัพธ์ที่ดินส่วนใหญ่อยู่ในมือคนรวย และอีกครั้งหนึ่งที่เกษตรกรกลับกลายเป็นผู้เช่าที่ดินทำกินหรือกลายเป็นแรงงานทางการเกษตรหรือถูกว่าจ้างให้เป็นแรงงานเกษตร ถ้าหากมีช่องว่างระหว่างคนรวยและคนจนจากปลายราชวงศ์โจวจนถึงราชวงศ์ฉินและราชวงศ์ฮั่นช่องว่างนี้ได้ถูกขยายกว้างออกไปแทนที่จะลดลง แต่เนื่องจากขาดข้อมูลทางประวัติศาสตร์และข้อมูลมักจะคลุมเครือจึงไม่สามารถสรุปเรื่องราวได้นอกจากคาดเดา



==อุตสาหกรรมและการค้า==
ในยุคปลายราชวงศ์โจว อุตสาหกรรมและการค้าไม่ต้องสงสัยมีการพัฒนาไปมาก ถึงแม้ว่ามันจะคล้ายกับกรณีอื่นๆซึงไม่สามารถจะคาดการณ์สถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้ สัญญาณสำคัญอย่างหนึ่งที่ปรากฎขึ้น คือ ในแต่ละรัฐที่แตกต่างกันต่างมีทรัพย์สินคงที่ของเงินและเหล็กที่แตกต่างกัน โดยเฉพาะในศตวรรษที่สี่ หรือ ห้า ก่อนคริสต์ศักราช ว่ากันว่าเงินตราราชวงศ์ฉินที่เก่าแก่ที่สุดที่นำมาเริ่มใช้คือในปี 336 ปีก่อนคริสต์ศักราช เห็นได้ชัดว่าเงินตราประเภทนี้เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกในการทำธุรกรรมเชิงพาณิชย์ แต่ว่าสินค้าบางชนิดเช่น ธัญพืชและผ้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำธุรกรรมขนาดใหญ่ยังคงถูกนำมาใช้เป็นสื่อตัวกลางในการแลกเปลี่ยนธุรกรรมการค้า การพัฒนาการค้าแน่นอนย่อมช่วยให้เกิดการพัฒนาของเมือง รวมทั้งยังปรากฎแนวโน้มของอุตสาหกรรมเฉพาะทางตามแต่ละทำเลที่ตั้ง บันทึกประวัติศาสตร์ และ บันทึกทางประวัตืศาสตร์อื่นๆได้มีการบันทึกรายชื่อพ่อค้าที่มีชื่อเสียงในสมัยนั้น คนแรกคือลูกศิษย์ของขงจื่อ (孔子) ชื่อ จื่อก้อง (子贡) จนกระทั่งถึงเมื่อไม่นานก่อนที่ราชวงศ์ฉินจะรวมประเทศเป็นปึกแผ่น ก็คือ สมุหนายก หลู่ปู้เหวย (吕不韦) พ่อค้าใหญ่เหล่านี้ไม่ได้ค้าขายสินค้าจตุปัจจัยสำคัญ สินค้าเหล่านี้ปริมาณมาก และสูญเสียเน่าเสียได้ง่าย จะได้กำไรเมื่อสินค้าขาดแคลนหรือกักตุน พวกเขานิยมทำธุรกิจขายสินค้าหรูหราราคาแพง หรือขายความสำราญเพื่อหากำไร ทั้งทางราชสำนักไม่ต้องการกระจายสินค้าจตุปัจจัยสำคัญผ่านทางพ่อค้าแต่ดูแลสินค้าเหล่านั้นโดยตรง



==การเปลี่ยนแปลงอุดมการณ์ความคิด==
เริ่มจากข่งจื่อ (ปี 551 ก่อนคริสต์ศักราช ถึง ปี 479 ก่อนคริสต์ศักราช) เกิดขึ้น สามศตวรรษสุดท้ายของราชวงศ์โจวได้เกิดระบบความคิดการแก่งแย่งชิงดีกัน มันสะท้อนให้เห็นส่วนใหญ่ในสำนักความคิดหกเจ็ดสถาบัน แต่สำนักอื่นๆก็ไม่ได้ยอมรับความคิดของสำนักความคิดใดๆและแสดงออกถึงแนวความคิดนี้อย่างชัดเจน สำนักความคิดและนักคิดเหล่านี้ส่วนใหญ่มากจากชนชั้นปัญญาชน พวกเขาอภิปรายถกเถียงและเขียนงานไม่อาจหลบเลี่ยงที่จะมุ่งเน้นถึงยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงกลุ่มอำนาจต่างๆซึ่งกลายมาเป็นปัญหาทางการเมืองและสังคมที่เร่งด่วน เพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้นเราจะใช้แนวความคิดแบ่งเป็นสำนักหรูเจีย (儒家,สำนักข่งจื่อ) สำนักฟ่าเจีย (法家,สำนักนิติศาสตร์) และสำนักเต้าเจีย (道家,สำนักเต๋า) มาเรียกชื่อแนวความคิดเหล่านี้ แม้ว่าการที่มักจะติดป้ายสำนักความคิดเหล่านี้ในสมัยราชวงศ์โจวอาจจะไม่เป็นที่สบอารมณ์ของนักคิดนักปรัชญาในสมัยราชวงศ์ฮั่น พวกเขาเป็นนักปราชญ์นักคิดรุ่นเก่าซึ่งนักคิดนักปราชญ์ราชวงศ์ฮั่นได้แบ่งแยกตามลักษณะของสำนักเป็นอิสระแยกออกจากกัน ในท่ามกลางแนวโน้มอุดมการณ์ความคิดใหม่ๆเหล่านี้ (มักจะพบการแสดงออกในหนึ่งหรือมากกว่าสำนักความคิด) สามารถยกมาเป็นตัวอย่างได้เพียงบางส่วน 1. มีแนวโน้มที่จะยกเลิกความเชื่อเรื่องโลกเหนือธรรมชาติและตำนานเก่าแก่โบราณและถูกแทนที่ด้วยแนวโน้มและความสามารถของมนุษย์แต่ละคน อาทิหนทางแห่งเต๋า หยินหยาง ธาตุทั้งห้า เป็นคำสอน 2. อย่างน้อยในทางทฤษฎีเน้นเรื่องผู้ปกครองประเทศต้องมีคุณสมบัติกำหนดไว้ คือ มีชาติกำเนิดสูงเกิดในหมู่ชนชั้นนำพร้อมครันเต็มไปด้วยคุณภาพของสติปัญญาและคุณธรรม เพื่อเมื่อเขาได้รับตำแหน่งปกครองประเทศเขาจะสามารถแบกรับภาระสำคัญในการปกครองประเทศได้อย่างเต็มที่ 3. แต่เนื่องจากสิทธิในการขึ้นครองราชย์ปกครองประเทศในสถานการณ์ทั่วไปสืบทอดจากกรรมพันธ์จากบิดาสู่บุตร ดังนั้นจึงต้องเน้นไปที่การให้การศึกษาและการอบรมที่เกี่ยวข้องแก่ผู้ปกครองประเทศตั้งแต่เด็กซึ่งไม่สามารถถ่ายทอดทางกรรมพันธ์ได้ดำรงตำแหน่งกุนซือที่ปรึกษาของผู้ปกครองประเทศ การเน้นการให้การศึกษาอบรมแก่ผู้ปกครองประเทศนี้แสดงออกถึงแนวความคิดที่แยกตัดขาดกันสิ้นเชิงกับมุมมองแบบเดิมที่ผู้ปกครองประเทศเพียงแค่เกิดในชาติตระกูลดีของชนชั้นสูงเท่านั้น ในขณะเดียวกันทางราชสำนักจัดให้มีการสอบแข่งขันคัดเลือกปัญญาชนเข้ามารับราชการสนองรับใช้ประเทศซึ่งเป็นทิศทางการพัฒนาระบบการรับข้าราชการสร้างประเทศให้เจริญพัฒนาถาวรต่อไป 4. เน้นความคิดของสังคมที่อยู่กันอย่างสมานฉันท์สามัคคีกลมเกลียวแม้ว่าความสามัคคีกลมเกลียวจะถูกสร้างบนพื้นฐานที่ไม่เท่าเทียมกัน ถ้าให้คำอธิบายการเน้นสังคมสมานฉันท์อยู่บนพื้นฐานที่ว่า ทุกคนมีความพร้อมที่จะยอมรับสถานะของตัวเองตามโครงสร้างการแบ่งตำแหน่งชนชั้นและสถานะที่เจาะจงในสังคม และใช้ความพยายามอย่างเต็มที่เพื่อตอบสนองต่อสถานะที่เกี่ยวข้องและความรับผิดชอบต่อสังคม 5. เน้นการเป็นเอกภาพ ไม่เพียงแต่การเป็นเอกภาพทางการเมืองแต่รวมทั้งการเป็นเอกภาพทางวัฒนธรรมและอุดมการณ์อันเป็นปึกแผ่น นอกจากนี้ยังเพื่อสันติภาพ รัฐบาลที่ดี และสวัสดิการสังคมให้เป็นรากฐานที่สำคัญของการปกครองประเทศ เนื้อหาของหัวข้อทั้งหมดสามารถสืบย้อนหลังไปถึงสมัยราชวงศ์โจว ในทางการเมืองสะท้อนให้เห็นว่า ทั่วโลกไม่สามารถมีสองอุดมการณ์ความคิดทางการเมือง อุดมการณ์เหล่านี้อันที่จริงมันคือสาระสำคัญที่ครอบงำความคิดทั้งหมดในประวัติศาสตร์จีนตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน ในปลายสมัยราชวงศ์โจว มันถือเป็นการเคลื่อนไหวทางการเมืองที่ผ่านการถกเถียงในศูนย์อำนาจส่วนกลางของรัฐต่างๆในการพัฒนาการเมืองหลังจากเกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองก่อนหน้านี้ให้สอดคล้องกับอุดมการณ์ความคิด ด้วยวิธีนี้มันได้ช่วยให้ผู้ปกครองประเทศ นักการเมืองและนักการทหารในยุคนั้นมีอุดมการณ์ที่มีประสิทธิภาพเป็นบรรทัดฐานเพื่อนำไปสู่การต่อสู้กันทางทหารซึ่งในที่สุดถูกรวบรวมเป็นปึกแผ่น คือ ราชอาณาจักรจีนในสมัยราชวงศ์ฉิน



==เจ้าครองรัฐผู้ยิ่งใหญ่ในสงครามชุนชิว==
เจ้าครองรัฐผู้ยิ่งใหญ่ทั้งห้าในยุคสงครามชุนชิว คือ ฉีหวนกง (齐桓公) ซ่งเซียงกง (宋襄公) จิ้นเหวินกง (晋文公) ฉินมู้กง (秦穆公) ฉู่จวงหวาง (楚庄王) เพียงห้าคนนี้ที่มีบทบาทสำคัญในยุคนั้น

*ฉีหวนกง
ทรงแต่งตั้ง ก่วนจ้ง (管仲) เป็นสมุหนายก สนับสนุนส่งเสริมความสามัคคีภายในชาติ ถ้าเจ้าครองรัฐทั้งเก้าร่วมกันแผ่นดินจะเป็นเอกภาพ ฉีหวนกงมีผลงานโดดเด่นจนได้เป็นป้าจู่ (霸主,เจ้าครองรัฐมหาอำนาจ) ฉีหวนกงขึ้นครองรัฐในปี 685 ก่อนคริสต์ศักราช พระองค์ทรงปฎิรูปการเมืองและเศรษฐกิจตามลำดับทำให้รัฐฉีมีอำนาจเติบใหญ่ขึ้นมา เนื่องจากฉีหวนกงยกทัพเข้าตีปราบปรามชนเผ่าหรง (戎族,หรงจู๋) ชนเผ่าตี๋ (狄族,ตี๋จู๋) ทั้งยังนำทัพฉี ทัพหลู่ (鲁) ทัพซ่ง (宋) รวมทั้งกองทัพของอีกแปดรัฐ แบ่งกันเข้าโจมตีทำลายรัฐช่าย (蔡) และตัดกำลังรัฐฉู่ (楚) ป้องกันไม่ให้รัฐฉู่ยกทัพขึ้นเหนือ จึงเพิ่มอำนาจบารมีของพระองค์ ปี 651 ก่อนคริสต์ศักราช พระองค์ทรงเรียกประชุมเจ้าครองรัฐทั้งหมดที่ขุยชิว (葵丘,ปัจจุบัน คือเมืองเค่าเฉิง考城 มณฑลเหอหนาน) ลงนามสัญญาพันธมิตร กลายเป็นป้าจู่ เจ้าครองรัฐมหาอำนาจคนแรกของประเทศจีน จิ้นเหวินกง ปี 633 ก่อนคริสต์ศักราช ฉู่เฉิงหวาง (楚成王) นำทัพฉู่ (楚) ทัพเจิ้ง (郑) ทัพเฉิน (陈) และทัพรัฐอื่นเข้าล้อมตีเมืองซุยหยาง (睢阳, ปัจจุบันคือเมืองซางชิว商丘 มณฑลเหอหนาน) เมืองหลวงของรัฐซ่ง (宋) รัฐซ่งส่งฑูตไปขอความช่วยเหลือจากรัฐจิ้น (晋) จิ้นเหวินกงวางแผนชัดเจนใช้กองทัพจากรัฐพันธมิตรเข้ายัน ขอกำลังจากรัฐฉี (齐) และรัฐฉิน (秦) เข้าร่วมทำสงครามเพื่อขยายกำลังทัพของฝ่ายตน แล้วปรับปรุงความสัมพันธ์กับจิ้นถงเฉา (曹) ให้ดีขึ้น ให้แยกตัวออกจากทัพพันธมิตรรัฐฉู่ มหาเสนาบดีรัฐฉู่ จื้อยวี่ (子玉) โกรธมากส่งทัพเข้าโจมตีทัพจิ้น จิ้นเหวินกงเพื่อจะหลีกเลี่ยงกองทัพรัฐฉู่จึงเลือกใช้กลยุทธสั่งให้ทหารในกองทัพล่าถอยไปเก้าสิบหลี่ (ลี้) กองทัพสมัยจีนโบราณเดินทัพสามสิบหลี่เรียกว่า อี้เซ่อ (一舍) เก้าสิบหลี่เรียกว่า ซันเซ่อ (三舍) กองทัพจิ้นถอยทัพซันเซ่อ ถอยทัพไปถึงเมืองเฉิงผู (城濮, ปัจจุบันคือเมืองเปียวเสี้ยน憋县 มณฑลซานตง ) ของรัฐเว่ย (卫) เมืองเฉิงผูอยู่ใกล้ๆกับรัฐจิ้น สะดวกต่อการขนส่งยุทโธปกรณ์และเสบียงอาหาร ทั้งยังง่ายต่อการชุมนุมรวมทัพร่วมกับทัพฉี ทัพฉิน ทัพซ่งและทัพพันธมิตรรัฐอื่นๆ เพิ่มสมรรถภาพของทัพพันธมิตรจิ้นในการทำสงคราม ปี 632 ก่อนคริสต์ศักราช เดือนสี่ ทัพจิ้นและทัพฉู่เริ่มต้นทำสงคราม ทัพจิ้นล่อให้ทัพฉู่ยกทัพถลำลึกเข้ามา ทัพฉู่ถูกล้อมไว้อย่างหนักทุกด้านถูกทำลายย่อยยับหมดสิ้น สงครามเฉิงผูได้สร้างกลยุทธทางการทหาร คือ กลยุทธล่าถอยเพื่อพิชิต เป็นกลยุทธสงครามที่มีชื่อสียงโดดเด่น จากนั้นจิ้นเหวินกงเชิญกษัตริย์โจวเซียงหวาง (周襄王) มาเจี้ยนทู่ (践土,ปัจจุบันคือเมืองกว่างอู่广武 มณฑลเหอหนาน) ร่วมกับเจ้าครองรัฐและเจ้าชายแคว้นต่างทำสัญญาเป็นพันธมิตรซึ่งกันและกัน กษัตริย์โจวเซียงหวางแต่งตั้งจิ้นเหวินกงเป็น โฮวป๋อ (侯伯,เจ้าครองรัฐผู้ยิ่งใหญ่) พร้อมทั้งประทานธนูแดงดำของพระองค์ให้แก่จิ้นเหวินกง แสดงถึงการยอมรับให้จิ้นเหวินกงมีสิทธิแต่เพียงผู้เดียวในการเป็นผู้พิชิต จิ้นเหวินกงจึงได้เป็นป้าจู่ (เจ้าครองรัฐมหาอำนาจ) ของประเทศจีน

*ซ่งเซียงกง ต้องการที่จะเป็นป้าจู่ ปีที่สิบสามของกษัตริย์โจวเซียงหวาง (ปี 639 ก่อนคริสต์ศักราช) ฤดูใบไม้ผลิ เจ้าครองรัฐซ่ง รัฐฉี รัฐฉู่มารวมกันที่รัฐฉีเพื่อออกล่ากวาง ซ่งเซียงกงเริ่มต้นแสดงตนเป็นผู้นำ เนื่องจากตนเองคิดว่าเป็นผู้ส่งเสริมให้มีการประชุมในครั้งนี้ ในเวลาเดียวกันคิดว่าตนเองมีตำแหน่งสูงกว่าเจ้าครองรัฐฉู่และรัฐฉี ถ้าไม่ใช่ตนแล้วจะเป็นใคร แต่ฉู่เฉิงหวางสั่งกองทัพฉู่ให้ล้อมจับตัวซ่งเซียงกง จากนั้นออกคำสั่งให้กองกำลังหลักทหารฉู๋ห้าร้อยนายบุกเข้าไปอย่างห้าวหาญไล่ฆ่ารัฐซ่ง ในที่สุดซ่งเซียงกงถูกทหารรัฐฉู่จับตัวได้และถูกปล่อยตัวในภายหลัง การลงมือสำเร็จอย่างรวดเร็วนี้ การชอบอ้างอำนาจแห่งความชอบธรรม (仁义之师,เหรินอี้จือซือ) เป็นความชอบธรรม (仁义,เหรินอี้) กลายมาเป็นเรื่องตลกขบขันตั้งแต่ในโบราณมาถึงจวบปัจจุบัน ตำแหน่งป้าจู่ของซ่งเซียงกงก็คือการยืมจมูกคนอื่นหายใจ
ฉู่จวงหวาง เมื่อเจ้าครองรัฐฉีดำรงตำแหน่งป้าจู่ รัฐฉู่ได้รับคำสั่งห้ามของรัฐฉีไม่ให้ยกทัพเคลื่อนขึ้นเหนือ หรือเคลื่อนย้ายทัพไปผนวกดินแดนของรัฐเล็กๆทางทิศตะวันออก เพื่อความสงบรุ่งเรืองของประเทศ เมื่อฉีกั๊วหง (齐国宏) หมดอำนาจลง รัฐฉู่จึงยกทัพขึ้นเหนือขยายดินแดนและอาณาเขตรุกเข้ารัฐจิ้นเพื่อทำสงครามแย่งอำนาจ ปี 598 ก่อนคริสต์ศักราช ฉู่จางหวางยกทัพไปถึงเมืองปี้ (邲,ปัจจุบันคือเมืองเจิ้งโจว郑州มณฑลเหอหนาน) ทำสงครามใหญ่กับรัฐจิ้น แล้วพ่ายแพ้ต่อรัฐจิ้น รัฐต่างๆในประเทศจีนต่างหนุนหลังรัฐจิ้นทำสงครามกับรัฐฉู่ ฉู่จวงหวางก็ยังได้รับการขนานนามว่า ป้าจู่ ของประเทศจีน ฉินมู้กง เมื่อรัฐจิ้นได้กลายเป็นรัฐมหาอำนาจ ตอนนั้นรัฐฉินทางทิศตะวันตกก๊มีอำนาจเติบใหญ่ขึ้นมาเหมือนกัน ฉินมู้กงพยายามที่จะขยายอำนาจมาทางทิศตะวันออกสู่ภาคกลาง แต่เนื่องจากเส้นทางขยายอำนาจมาทางทิศตะวันออกถูกรัฐจิ้นปิดล้อมไว้หมด ดังนั้นจึงหันมุ่งสู่ตะวันตกผนวกดินแดนรัฐเล็กๆหลายสิบกว่ารัฐ ครอบครองดินแดนจากหานกู่กวน (函谷关) ไปสู่ดินแดนตะวันตก ขนานนามว่า มหาอำนาจทางทหารด้านตะวันตก (霸西戎,ป้าซีหรง) หานเฟยจื่อ (韩非子) เขียนในบันทึก สือกั้วเพียน (十过篇) ว่า “รวมสิบสองรัฐเป็นเอกภาพ ครอบครองที่ดินเป็นพันพันลี้”

*ฉินมู้กง
ภายหลังรัฐอู๋ (吴) รัฐเย่ว (越) มีอำนาจเติบใหญ่ มีอิทธิพลอำนาจอยู่แถบดินแดนตะวันออกเฉียงใต้ ปี 494 ก่อนคริสต์ศักราช ฟูชาย (夫差) เจ้าครองรัฐอู๋ยกทัพโจมตีรัฐเย่ว เข้าโล้มโกวเจี้ยน (勾践) เจ้าครองรัฐเย่ว ที่ ไก้วจี (会稽,ปัจจุบันคือ เมืองเส้าซิง绍兴มณฑลเจ้อเจียง) บีบบังคับให้รัฐเย่วยอมจำนน จากนั้นยกทัพทำศึกชนะกองทัพรัฐฉี ปี 482 ก่อนคริสต์ศักราช ณ.ที่หวงชื๋อ (黄池,ปัจจุบันคือดินแดนใกล้ๆกับเมืองเฟิงชิว封丘มณฑลเหอหนาน) เจ้าครองรัฐต่างๆมารวมกันเป็นพันธมิตรเพื่อเพิ่มอำนาจในการต่อสู้ โกวเจี้ยน เจ้าครองรัฐเย่วตั้งแต่โดนรัฐอู๋ตีพ่ายแพ้ ยอมทนทุกข์ลำบากนอนบนพื้นไม้และทรมานตัวเองคิดอยู่กับการแก้แค้น ผ่านความลำบากตรากตำอย่างอดทนเป็นเวลาไม่กี่สิบปี สร้างรัฐเย่วที่เคยอ่อนแอกลับมาเข้มแข็ง แก้แค้นทำลายล้างรัฐอู๋ จากนั้นโกวเจี้ยนเคลื่อนย้ายสู่ภาคเหนือ นัดประชุมพันธมิตรกับรัฐฉี รัฐจิ้นและเจ้าชายรัฐอื่นๆที่ สวี (徐,ปัจจุบันคือ เมืองซีเสี้ยน膝县มณฑลซานตง) ถูกขนานนามว่า ป้าจู่ อีกคนหนึ่ง การต่อสู้แย่งชิงอำนาจของเจ้าครองรัฐใหญ่ๆแสดงให้เก็นชัดเจนว่าอำนาจของกษัตริย์ราชวงศ์โจวอ่อนแอลงไปเรื่อยๆตั้งแต่ปี 700 ก่อนคริสต์ศักราช กษัตริย์โจวผิงหวางย้ายเมืองหลวงมาทางทิศตะวันออกที่ลั่วอี้ (洛邑 ปัจจุบันคือเมืองลั่วหยาง洛阳 มณฑลเหอหนาน) แล้วนั้นราชวงศ์โจวได้ตกต่ำลงไปเรื่อยๆ ในอดีตกษัตริย์ปกครองและบังคับบัญชาเจ้าครองรัฐดั่งการดื่มน้ำพิพัฒน์สัตญาบรรณจากโอรสสวรรค์แม้กระทั่งสาบานตนว่าจะพลีชีพปกป้องประเทศชาติและสถาบันกษัตริย์จนตัวตาย แต่เจ้าครองรัฐที่สร้างฐานอำนาจขึ้นมาใหม่จนประสบความสำเร็จต่างแก่งแย่งชิงยึดอำนาจกัน ระบบศักดินาและทาสของราชวงศ์โจวจึงถึงคราวล่มสลาย การที่จะดำรงตำแหน่งป้าจู่ หนึ่ง เศรษฐกิจของรัฐตนเองต้องเจริญรุ่งเรือง สอง อำนาจต้องเข้มแข็ง คือ ต้องมีพลังอำนาจทางการทหาร แต่การที่จะเป็นป้าจู่หรือมหาอำนาจ เจ้าครองรัฐจะต้องมีบุคลิกที่กล้าหาญ ซึ่งซ่งเซียงกงไม่มีความสามารถ ไม่มีคุณสมบัติสมควรที่จะได้รับการยกย่องเป็นป้าจู่ นอกจากนี้ มีความคิดเห็นที่แตกต่างกันใครคือป้าจู่ทั้งห้าในสงครามชุนชิว ความเห็นหนึ่งว่า คือ ฉีหวนกง จิ้นเหวินกง ฉู่จวงหวาง อู๋หวางเหอลวี๋ (吴王阖闾) เย่วหวางโกวเจี้ยน อีกความเห็น คือ ฉีหวนกง จิ้นเหวินกง ฉู๋จวงหวาง อู๋หวางฟูชาย เย่วหวางโกวเจี้ยน ความเห็นสุดท้าย คือ ฉีหวนกง จิ้นเหวินกง ฉู่จวงหวาง ซ่งเซียงกง ฉินมู้กง

เจ้าครองรัฐแย่งชิงอำนาจ หนังสือบันทึกพงศาวดาร สงครามชุนชิว ของข่งจือ รัฐหลู่ (鲁) เป็นหนังสือบันทึกที่มีชื่อเสียงมากในประเทศจีน สงครามชุนชิว เริ่มตั้งแต่ปี 722 ปีก่อนคริสต์ศักราช ถึงปี 481 ก่อนคริสต์ศักราชจึงสิ้นสุด ตามประวัติศาสตร์มักจะนับตั้งแต่กษัตริย์โจวผิงหวางย้ายเมืองหลวงมาทางทิศตะวันออกถึงปี 476 ก่อนคริสต์ศักราชในช่วงเวลานี้ว่าเป็นยุคสงครามชุนชิว ในช่วงเวลานี้โดยทั่วไปเมื่อเปรียบเทียบกับบันทึกพงศาวดารสงครามชุนชิวของข่งจือแล้วดูสอดคล้องอยู่ในช่วงเวลาเดียวกัน
หลังจากกษัตริย์โจวผิงหวางย้ายเมืองหลวงมาอยู่ที่ลั่วอี้ (ลั่วหยาง) ดินแดนทางทิศตะวันตกทั้งหมดตกเป็นของรัฐฉิน รัฐฉินผนวกรัฐหรือดินแดนชนเผ่าหรงจู่ซึ่งอยู่ชายแดนราชวงศ์โจวกลายเป็นมหาอำนาจทางตะวันตก ดินแดนซานซีเป็นของรัฐจิ้น ดินแดนซานตงเป็นของรัฐฉี และรัฐหลู่ ดินแดนหูเป่ยเป็นของรัฐฉู่ ดินแดนเป่ยจิงและหูเป่ยตอนเหนือเป็นของรัฐเยี้ยน (燕) ต่อมาดินแดนทางตอนใต้แม่น้ำฉางเจียง (长江,แม่น้ำแยงซีเกียง) เป็นของรัฐอู๋ รัฐเย่วและรัฐอื่นๆ หลังจากรัฐใหญ่ๆทั้งหมดผนวกเอารัฐเล็กๆในราชวงศ์โจวมาเป็นดินแดนของตน เริ่มมีอำนาจมากขึ้นเปลี่ยนเป็นรัฐใหญ่ ดังนั้นประวัติศาสตร์จึงเปิดฉากให้เห็นภาพแห่งความโหดร้ายของการแก่งแย่งอำนาจกันของรัฐใหญ่ๆเพื่อแย่งชิงความเป็นใหญ่ เจ้าครองรัฐที่เป็นมหาอำนาจคนแรกคือ ฉีหวนกง เขาใช้ก่วนจ้งในการปฎิรูปการปกครองทำให้รัฐเข้มแข็งมั่นคง ทั้งยังใช้กุศโลบายของก่วนจ้ง เรียกว่า “ยกย่องกษัตริย์ ขับไล่อนารยชน” ร่วมกับรัฐเยี้ยนทำการรบชนะชนเผ่าเป่ยหรง (北戎,ชนเผ่าอนารยชนทางตอนเหนือ) ร่วมกับรัฐอื่นๆทำการป้องกันการบุกรุกของศัตรูและอนารยชนที่จะมาตีบ้านตีเมือง ปี 656 ก่อนคริสต์ศักราช รัฐฉี พร้อมกับรัฐหลู่ รัฐซ่ง รัฐเจิ้ง รัฐเฉิน รัฐเว่ย (卫) รัฐสวี่ (许) รัฐเฉา (曹) ร่วมทัพกันบุกรัฐช่าย (蔡) ตีรัฐฉู่ (楚) สองทัพเผชิญหน้ากันที่จ้าวหลิง (召陵) จึงถามรัฐฉู่จะนำเครื่องบรรณาการมาถวายสวามิภักดิ์แด่กษัตริย์โจวหวางหรือไม่ ตอนนั้นรัฐฉู่มีกำลังเข้มแข็งมากบุกเข้าตีทัพรัฐเจิ้งอย่างต่อเนื่อง แต่เมื่อปะทะกับฉีหวนกงซึ่งมีความโหดร้ายดุดันมากกว่าเพื่อปกป้องกองทัพตนเองจึงยอมหยุดรบ ภายหลังฉีหวนกงจัดการประชุมเจ้าครองรัฐต่างๆอยู่หลายๆครั้ง กษัตริย์โจวก็ส่งคนของตนเข้าร่วมประชุมพันธมิตรด้วยเพื่อเฉลิมฉลองความสำเร็จของการประชุม ฉีหวนกงจึงได้รับการสถาปนาเป็นป้าจู่คนแรกในบรรดาป้าจู่ทั้งห้าในสงครามชุนชิว เมื่อรัฐฉีมีอำนาจผูกขาดปกครองดินแดนภาคกลางของจีน รัฐฉู่กำลังแผ่อำนาจไปทางดินแดนตะวันออก เมื่อฉีหวนกงสิ้นพระชนม์ ภายในรัฐฉีมีการแก่งแย่งชิงอำนาจกัน ความเข้มแข็งของรัฐฉีจึงเสื่อมทรามลง รัฐฉู่จึงขยายอำนาจมาทางตอนเหนือ ซ่งเซียงกงคิดจะสืบทอดตำแหน่งป้าจู่ต่อจากฉีหวนกงจึงคิดจะสมคบกับรัฐฉู่ ในที่สุดก็นำชีวิตไปทิ้งแบบเปล่าประโยชน์ ตอนรัฐฉีมีอำนาจผูกขาดมีรัฐหลู่ รัฐซ่ง รัฐเจิ้ง รัฐเฉิน รัฐช่าย รัฐสวี่ รัฐเฉา รัฐเว่ยและรัฐอื่นๆเป็นพันธมิตร หลังจากฉีหวนกงสิ้นพระชนม์รัฐเหล่านี้ต่างหันไปเป็นพันธมิตรกับรัฐฉู่ เมื่อครั้งรัฐฉู่ต้องการจะมีอำนาจปกครองดินแดนภาคกลาง รัฐจิ้นเริ่มมีอำนาจเติบใหญ่ขึ้นมา จิ้นเหวินกงกลับคืนสู่รัฐแล้วได้มีการเปลี่ยนแปลงปรับปรุงการปกครองภายในรัฐ เสริมสร้างกองทัพให้เข้มแข็ง และต้องการแย่งชิงตำแหน่งเป็นป้าจู่ ในตอนนั้นกษัตริย์โจวเซียงหวาง (周襄王) ถูกพระราชโอรสสมคบคิดกับศัตรูบุกจับตัวจึงต้องหนีออกจากราชวัง จิ้นเหวินกง จึงใช้โอกาสที่ดีในตอนนี้ในการดำรงตำแหน่งป้าจู่ นัดประชุมเจ้าครองรัฐต่างๆ ยกทัพเข้าปราบพระราชโอรสและพวก นำกษัตริย์โจวเซียงหวางกลับคืนสู่ราชสำนัก ใช้กษัตริย์เป็นธงนำในการเบิกทางเป็นป้าจู่ ปี 632 ก่อนคริสต์ศักราช รัฐจิ้นกับรัฐฉู่ทำสงครามใหญ่กันที่เฉิงผู รัฐจิ้นมีชัยชนะต่อกองทัพรัฐฉู่ หลังสงคราม จิ้นเหวินกงจัดประชุมรัฐพันธมิตรที่เจี้ยนทู่ กษัตริย์โจวเซียงหวางก็มาเข้าร่วมการประชุม แต่งตั้งจิ้นเหวินกงเป็น โฮวป๋อ หรืออีกนัยหนึ่งคือ ตำแหน่งป้าจู่นั่นเอง ในขณะที่รัฐจิ้นกับรัฐฉู่ทำสงครามแย่งชิงกันเป็นใหญ่ รัฐฉีและรัฐฉินยังมีอำนาจปกครองปกครองดินแดนทิศตะวันออกและทิศตะวันตก หลังจากผ่านช่วงกลางของสงครามชุนชิว รัฐฉู่ร่วมมือกับรัฐฉิน รัฐจิ้นร่วมมือกับรัฐฉี กลายเป็นทั้งสองกลุ่มมีกำลังเข้มแข็งพอๆกัน แต่สงครามแย่งชิงอำนาจนี้ช่วยซ้ำเติมความขัดแย้งภายในของแต่ละรัฐ ปี 579 ก่อนคริสต์ศักราช รัฐซ่งนัดประชุมทำสัญญาเป็นพันธมิตรกับรัฐจิ้นและรัฐฉู่ แต่ละรัฐจะไม่เพิ่มกำลังทางทหาร ส่งข่าวสารติดต่อกัน ช่วยเหลือซึ่งกันและกันถ้ารัฐใดตกอยู่ในความยากลำบาก ร่วมกันทำสงครามกับรัฐอื่นๆที่ไม่อยู่ในอาณัติ เป็นการสะท้อนให้เห็นการสมรู้ร่วมคิดกันเป็นพันธมิตรเพื่อทำสงครามแย่งชิงกันเป็นใหญ่ของสองกลุ่มอำนาจรัฐ อีกทั้งเป็นการสะท้อนให้เห็นความปรารถนาที่จะอยู่รอดของรัฐเล็กๆโดยการเข้าเป็นพันธมิตรกับรัฐใหญ่เพื่อให้รัฐใหญ่คุ้มครอง ปี 575 ก่อนคริสต์ศักราช รัฐจิ้นทำสงครามใหญ่กับรัฐฉู่ที่เยียนหลิง (鄢陵) รัฐฉู่พ่ายแพ้ ในระหว่างช่วงเวลานี้รัฐจิ้นและรัฐฉู่ทำสงครามกันอยู่หลายๆครั้ง รัฐจิ้นมีชัยชนะ ปี 546 ก่อนคริสต์ศักราช รัฐซ่งนัดประชุมกับรัฐจิ้นและรัฐฉู่ คราวนี้มีรัฐอื่นๆสิบกว่ารัฐเข้าร่วมประชุมด้วย ข้อตกลงในที่ประชุมมีว่า ให้รัฐเล็กและรัฐขนาดกลางต้องส่งเครื่องบรรณาการให้แก่รัฐจิ้นและรัฐฉู่เสมอเท่าเทียมกัน รัฐจิ้นและรัฐฉู่แบ่งสรรอำนาจกัน ในขณะที่รัฐจิ้นกับรัฐฉู่ทำสงครามแย่งกันเป็นใหญ่ในภาคกลาง ทางตอนใต้ของแม่น้ำฉางเจียงเกิดรัฐอำนาจใหม่สองรัฐ คือ รัฐอู๋ กับรัฐเย่ว รัฐจิ้นเนื่องด้วยจะต่อกรกับรัฐฉู่จึงเป็นพันธมิตรกับรัฐอู๋ รัฐอู๋กับรัฐฉู๋ก็ทำสงครามกันอยู่บ่อยๆ ปี 506 ก่อนคริสต์ศักราช รัฐอู๋ยกทัพใหญ่โจมตีรัฐฉู่ มีชัยชนะไปตลอดทางจนยกเข้าประชิดเมืองหลวงรัฐฉู่ ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมากำลังเข้มแข็งของรัฐฉู่ก็อ่อนลงไปเรื่อยๆ ในห้วงเวลาที่รัฐจิ้นร่วมมือรัฐอู๋กำจัดรัฐฉู่ รัฐฉู่หันไปจับมือรัฐเย่วเพื่อกำจัดรัฐอู๋ รัฐอู๋กับรัฐเย่วทำสงครามกันอยู่อย่างต่อเนื่อง อู๋หวางเหอลวี๋ทำสงครามตายในสนามรบ โอรสฟูชายขึ้นครองรัฐวางแผนล้างแค้นเอาชนะเย่วหวางโกวเจี้ยนแล้วยกทัพใหญ่ขึ้นเหนือนัดประชุมกับรัฐพันธมิตรที่หวงซือ ตกลงกับรัฐจิ้นได้ดำรงตำแหน่งเป็นผู้นำ เย่วหวางโกวเจี้ยนตกเป็นเชลยต้องยอมทนทุกข์ยากลำบาก ค่อยๆสะสมกองกำลัง สบโอกาสอู๋หวางฟูชายยกพลขึ้นเหนือเพื่อแย่งชิงอำนาจเป็นใหญ่ ส่งทัพบุกล้อมเมืองหลวงรัฐอู๋ อู๋หวางฟูชายรีบยกทัพกลับเมืองหลวง ขอทำสัญญาสันติภาพกับรัฐเย่ว ต่อมาไม่นานรัฐเย่วทำลายรัฐอู๋ โกวเจี้ยนยกทัพไปร่วมประชุมเจ้าครองรัฐที่สวีโจว (徐州) ณ.เวลานั้นถูกยกย่องเป็นป้าจู่ การผนวกดินแดนและการสู้รบในสมัยสงครามชุนชิว แสดงให้เห็นการพัฒนาทางสังคมและเศรษฐกิจของแต่ละรัฐ แต่ละดินแดน ทั้งยังเป็นตัวเร่งในการติดต่อและบูรณาการระหว่างประชาชนที่เชื้อชาติแตกต่างกัน หลังจากผ่านการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในช่วงเวลานี้ รัฐเล็กรัฐน้อยร้อยกว่ารัฐค่อยๆโดนผนวกดินแดนเป็นของรัฐใหญ่ เหลือเป็นรัฐใหญ่แค่เจ็ดรัฐ และรัฐเล็กๆอีกประมาณสิบกว่ารัฐรอบๆ



==ยุคของสงครามจ้านกั๊ว==
สงครามจ้านกั๊วได้ชื่อมาจากการทำสงครามต่อสู้กันระหว่างรัฐต่อรัฐต่างๆเป็นเวลานานปีต่อเนื่องกัน โดยทั่วไปนับตั้งแต่ปี 475 ก่อนคริสต์ศักราช จนถึงยุคจักรพรรดิฉินสื่อฮวาง (秦始皇, จักรพรรดิจิ๋นซีฮ่องเต้) รวบรวมประเทศจีนเป็นปึกแผ่น เรียกยุคนี้ว่า สงครามจ้านกั๊ว


เจ็ดรัฐผู้ยิ่งใหญ่แห่งสงครามจ้านกั๊ว




แผนที่แสดงดินแดนรัฐต่างๆสมัยสงครามจ้านกั๊ว รัฐฉี (齐国) เมืองหลวง คือ หลินจือ (临淄, ปัจจุบันคือเมืองจือป๋อ淄博 มณฑลซานตง) รัฐฉู่ (楚国) เมืองหลวง คือ หยิ่ง (郢, ปัจจุบันคือเขตเจียงหลิง江陵เมืองจิงโจว荆州 มณฑลหูเป่ย) รัฐเยี้ยน (燕国) เมืองหลวง คือ จี้ (蓟, ปัจจุบันอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของกรุงเป่ยจิง) รัฐหาน (韩国) เมืองหลวง คือ เจิ้ง (郑, ปัจจุบันคือเมืองซินเจิ้ง新郑มณฑลเหอหนาน) รัฐจ้าว (赵国) เมืองหลวง คือ หานตาน (邯郸, ปัจจุบันคือเมืองหานตาน มณฑลเหอเป่ย) รัฐเว่ย (魏国) เมืองหลวง คือ ต้าเหลียง (大梁, ปัจจุบันคือเมืองไคเฟิง มณฑลเหอหนาน) รัฐฉิน (秦国) เมืองหลวง คือ เสียนหยาง (秦国, ปัจจุบันคือดินแดนทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเมืองเสียนหยาง มณฑลส่านซี)







==ข้อพิพาทในยุคสงครามจ้านกั๊ว==
สถานการณ์ในยุคสงครามจ้านกั๊ว คือ รัฐฉู่อยู่ทางทิศใต้ รัฐจ้าวอยู่ทางทิศเหนือ รัฐเยี้ยนอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ รัฐฉีอยู่ทางทิศตะวันออก รัฐฉินอยุ่ทางทิศตะวันตก รัฐหานและรัฐเว่ยอยู่ตอนกลาง ในบรรดารัฐใหญ่เจ็ดรัฐนี้มีแม่น้ำหวงเหอ (黄河) เป็นเขตแดนกันชนไหลจากทิศตะวันตกสู่ทิศตะวันออกผ่านสามรัฐ คือ รัฐฉิน รัฐเว่ย และรัฐฉี สร้างความเข้มแข็งให้แก่รัฐทั้งสามในสถานการณ์เบื้องต้น เริ่มต้นตั้งแต่กลางศตวรรษที่สี่ก่อนคริสต์ศักราชซึ่งเว่ยเหวินโฮว (魏文侯) ขึ้นมามีอำนาจ คือ ยุคที่รัฐเว่ยมีอิทธิพลมากปกครองภาคกลาง ความเข้มแข็งของรัฐเว่ยทำให้รัฐหาน รัฐจ้าว รัฐฉินเป็นกังวลมีการกระทบกระทั่งกันอยู่อย่างต่อเนื่อง ปี 354 ก่อนคริสต์ศักราช รัฐจ้าวยกทัพตีรัฐเว่ย (卫) รัฐเว่ยมองรัฐเว่ย (卫) เป็นรัฐพี่เมืองน้องเชื้อสายเดียวกัน ดังนั้นจึงยกทัพไปตีเมืองหานตานเมืองหลวงรัฐจ้าว รัฐจ้าวร้องขอความช่วยเหลือจากรัฐฉี รัฐฉีส่งเถียนจี้ (田忌) มาช่วยรัฐจ้าวใช้กลยุทธของซุนปิน (孙膑) ยกทัพตีเมืองต้าเหลียงเมืองหลวงของรัฐเว่ยแบบไม่ทันตั้งตัว ตอนนั้นทัพเว่ยกำลังตีเมืองหานตานจำเป็นต้องถอนทัพกลับไปป้องกันรัฐของตนแต่ถูกทัพรัฐฉีตีพ่ายที่กุ้ยหลิง (桂陵) ปีต่อมารัฐเว่ยร่วมมือกับรัฐหานตีรัฐฉีแต่ต้องแพ้พ่ายต่อกองทัพฉี ปี 342 ก่อนคริสต์ศักราช รัฐเว่ยยกทัพตีรัฐหาน รัฐหานขอความช่วยเหลือจากรัฐฉี รัฐฉียังคงแต่งตั้งเถียนจี้เป็นแม่ทัพ แต่งตั้งซุนปินเป็นที่ปรึกษากองทัพ หลอกล่อกองทัพเว่ยติดกับดักตกเข้าสู่วงล้อมซุ่มโจมตีที่หม่าหลิง (马陵) กองทัพธนูนับหมื่นของฉียิงธนูใส่กองทัพเว่ย ผางจวน (庞涓) แม่ทัพใหญ่รัฐเว่ยถูกยิงตาย โอรสองค์โตรัฐเว่ยถูกล้อมจับได้เป็นนักโทษ นี่คือยุทธการการรบที่มีชื่อเสียงในจีน เรียกว่า สงครามหม่าหลิง กลายเป็นผลให้รัฐฉีและรัฐเว่ยมีกำลังคานอำนาจกันทางทิศตะวันออก หลังจากที่รัฐฉินที่เสียนหยางมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองค่อยๆกลายเป็นรัฐที่เข้มแข็งที่สุดในบรรดารัฐใหญ่ทั้งเจ็ด ดังนั้นจึงคิดขยายอำนาจมาทางด้านตะวันออก เริ่มจากตีกองทัพจิ้นแตกไปสามครั้งตีตัดผนวกดินแดนแถบเหอซี (河西) ทั้งหมดของรัฐจิ้น จากนั้นก็ขยายดินแดนไปทางทิศตะวันตก ทิศใต้และทิศเหนือ ถึงยุคต้นศตวรรษที่สี่ก่อนคริสต์ศักราช รัฐฉินก็มีดินแดนเกือบทัดเทียมกับดินแดนรัฐฉู่ ในห้วงเวลาที่รัฐฉินทำสงครามสามครั้งกับรัฐจิ้น รัฐฉีทางทิศตะวันออกกำลังเสริมทัพรัฐตนเองให้เข้มแข็ง ในปี 315 ก่อนคริสต์ศักราช รัฐฉีใช้โอกาสที่เยี้ยนหวางไข้ว (燕王哙) ปรารถนาเป็นเจ้าครองรัฐเยี้ยนบังคับให้โอรสเจ้าครองรัฐสละราชสมบัติจนเป็นเหตุให้การเมืองภายในเกิดความวุ่นวายเข้าตีรัฐเยี้ยน ภายหลังชาวรัฐเยี้ยนลุกฮือขึ้นต่อต้านอย่างรุนแรง กองทัพรัฐฉีจึงต้องถอนทัพออกจากรัฐเยี้ยน ห้วงเวลานั้นมีเพียงแค่รัฐฉีเท่านั้นที่สามารถเป็นผู้ต่อกรกับรัฐฉินได้ ดังนั้นการต่อสู้จึงเน้นไปสู่การทำสงครามกับรัฐฉู่ รัฐฉู่ในช่วงนั้นยังปรับปรุงรัฐไม่เรียบร้อย กำลังอำนาจยังไม่เข้มแข็ง แต่มีดินแดนกว้างใหญ่ ประชากรมีเป็นจำนวนมาก รัฐฉู่ และรัฐฉีร่วมมือกันต่อต้านรัฐฉิน เนื่องจากรัฐฉินมีการพัฒนารัฐไปมากซึ่งเป็นภัยต่อรัฐอื่นๆ รัฐฉินส่งจางอี๋ (张仪) ไปรัฐฉู่ ชักชวนรัฐฉู่ให้ละทิ้งการทำพันธมิตรกับรัฐฉีหันมาเข้ากับรัฐฉิน สัญญาว่าจะยกที่ดินหกร้อยลี้ขายให้แก่รัฐฉู่ เมื่อรัฐฉู่ส่งคนไปรัฐฉินเพื่อตกลงเรื่องที่ดินนี้ จางอี๋สมุหนายกรัฐฉินกลับคำว่าที่ดินนี้เพียงหกลี้เท่านั้น ฉู่หวยหวาง (楚怀王) จึงยกทัพไปตีรัฐฉินแต่พ่ายแพ้กลับมา รัฐฉินฉวยโอกาสที่รัฐฉู่อ่อนแอยกทัพสู่แผ่นดินที่ราบภาคกลาง เริ่มจากตีรัฐหาน จากนั้นตีรัฐเว่ย สุดท้ายทำสงครามกับรัฐฉี ในปี 286 ก่อนคริสต์ศักราช รัฐฉีตีรัฐซ่งแตก ทำให้แต่ละรัฐรู้สึกได้ถึงความไม่สงบที่จะเกิดขึ้น รัฐฉินเข้าตีรัฐหาน รัฐจ้าว รัฐเว่ย รัฐเยี้ยนตามลำดับจากนั้นทำสงครามกับรัฐฉี มีชัยชนะต่อกองทัพฉี รัฐเยี้ยนแต่งตั้งเล่ออี้ (乐毅) เป็นแม่ทัพ ฉวยโอกาสเข้าตีเมืองหลินจือเมืองหลวงรัฐฉี เข้าตีเมืองรัฐฉียึดได้เจ็ดสิบกว่าเมือง เจ้าครองรัฐฉีหนีไปพึ่งรัฐฉู่แต่ถูกเจ้าครองรัฐฉู่จับประหารเสีย สถานะอำนาจของรัฐฉีซึ่งเคยเข้มแข็งกลับสูญหายตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ดังนั้นรัฐฉินจึงมุ่งสู่ตะวันออกเพื่อขยายอำนาจรัฐตนเอง



==รัฐฉินกับรัฐอื่นๆหกรัฐ==
ปี 246 ก่อนคริสต์ศักราช ฉินหวางเจิ้ง (秦王政, ภายหลังขึ้นครองราชย์เป็นจักรพรรดิฉินสื่อฮวางตี้) ขึ้นครองราชย์รัฐฉิน พระองค์ทรงใช้เว่ยเหลียว (尉缭) หลี่ซือ (李斯) และขุนนางขุนศึกอื่นๆก้าวที่ละขั้นในการรวบรวมประเทศจีนให้เป็นปึกแผ่น ใช้เงินซื้อขุนนางที่มีชื่อเสียงและขุนนางที่มีความสามารถจากรัฐอื่นๆทั้งหกส่งผลให้การบริหารรัฐของรัฐอื่นๆอ่อนแอ และทำสงครามทางทิศตะวันออกอย่างต่อเนื่อง เมื่อผ่านการทำสงครามเป็นห้วงเวลานานปี เริ่มจากปี 230 ก่อนคริสต์ศักราช รัฐฉินตีได้รัฐหาน จนถึงปี 221 ก่อนคริสต์ศักรราช รัฐฉินตีรัฐฉีแตก รัฐทั้งหกทางทิศตะวันออกถูกรัฐฉินผนวกรวบรวมเป็นปึกแผ่น ประเทศจีนกลับมาเป็นหนึ่งเกิดความสามัคคีของคนจีน (华夏, ฮวาเซี่ย เป็นชื่อของคนจีนเรียกตนเองในสมัยโบราณ ก่อนที่จะเรียกตนเองว่า ชาวฮั่น) ภายในชาติอีกครั้ง สถาปนาศูนย์กลางอำนาจรัฐศักดินา

จักรพรรดิฉินสื่อฮวางตี้ หรือ จิ๋นซีฮ่องเต้ การรวบประเทศเป็นเอกภาพของรัฐฉิน คือแนวโน้มที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ซึ่งพัฒนามาจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคมในยุคสมัยของสงครามชุนชิว เมื่อเปรียบเทียบกำลังการผลิตกับยุคสมัยราชวงศ์โจวตะวันตกและราชวงศ์โจวตะวันออกมีการพัฒนาการผลิตใหม่ๆเพิ่มขึ้น อุตสาหกรรมการทำเหมืองแร่ การถลุงแร่ การหล่อโลหะปรากฎว่ามีกระบวนการการผลิตใหม่ๆเพิ่มขึ้นมากมาย อาทิเช่นการใช้แผ่นซ้อนๆกันเพื่อเป็นตัวหนุนเพลารถ การขุดเหมืองแร่ทองแดงให้ลึกที่สุดเท่าที่จะทำได้ มีการเกิดขึ้นของการผลิตและทำเหมืองแร่ซัลไฟด์ ขยายการผลิตของอุตสาหกรรมแร่ทองแดง การเชื่อมโลหะ การสลักลงบนโลหะ การผลิตทองและกระบวนการผลิตโดยการหล่อขี้ผึ้ง เป็นต้น เพื่อให้ประเทศจีนในยุคโลหะสำริดก้าวเข้าสู่ยุคการพัฒนาเพื่อความยั่งยืนและถาวร เมื่อยุคโลหะสำริดปรากฎ โดยเฉพาะภายหลังช่วงกลางของยุคสงครามจ้านกั๊วเครื่องมือเครื่องใช้โลหะในอุตสาหกรรมการเกษตรและอุตสาหกรรมงานฝีมือค่อยๆเป็นที่นิยมขึ้นเรื่อยๆเป็นแรงผลักดันที่เข้มแข็งในการพัฒนาการผลิตของสังคม สังคมมีการแบ่งงานแยกย่อย แต่ละธุรกิจแต่ละอุตสาหกรรมเจริญรุ่งเรือง เป็นการส่งเสริมการผลิตและการไหลเวียนของสินค้า ทำให้กิจกรรมทางธุรกิจมีการใช้สอยและเจริญรุ่งเรือง การเกิดขึ้นของชนชั้นเจ้าที่ดินรายใหม่มีความสัมพันธ์สอดคล้องกับการผลิต การผลิตแบบเก่ากลายเป็นระเบิดเวลาที่รอวันสูญหายไป นี่คือการเปิดเสรีของกำลังการผลิต แต่ระบบศักดินาก่อให้เกิดการแย่งชิงดินแดนและการต่อสู้เพื่อแย่งชิงอำนาจนำความสูญเสียอย่างใหญ่หลวงมาสู่เศรษฐกิจและสังคม ส่งผลต่อการบาดเจ็บล้มตายของประชากรเป็นจำนวนมหาศาล รัฐแต่ละรัฐต่างพากันปิดชายแดนซึ่งไม่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาผลิตผลสู่สังคมและการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม ดังนั้นจึงอยู่ที่การตระหนักถึงการที่ประเทศเป็นเอกภาพเท่านั้นจึงจะสามารถส่งเสริมผลักดันให้สังคมมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วและก้าวหน้า รวบรวมเกษตรกรส่วนใหญ่ ชนชั้นพ่อค้าและชนชั้นเจ้าที่ดินให้มองไปข้างหน้าถึงการมีเอกภาพและความสามัคคีในประเทศ ถึงแม้ว่าการเป็นเอกภาพจำเป็นต้องผ่านช่วงเวลาอันแสนยาวนานในการทำสงคราม ประชาชนต้องจ่ายค่าตอบแทนบทเรียนราคาแสนแพงในช่วงเวลานั้น แต่มันก็แลกเปลี่ยนมาด้วยความก้าวหน้าในทางประวัติศาสตร์หลังจากช่วงเวลานั้น ก่อให้เกิดการจัดตั้งระบอบการปกครองแบบใหม่ขึ้น ว่าด้วยทฤษฎี 5 ผลงานโดดเด่นที่เกิดขึ้น เศรษฐกิจ ยุคสงตรามชุนชิวจ้านกั๊ว ประเทศจีนเข้าสู่ยุคปลายของยุคโลหะสำริด เนื่องจากมีการใช้เครื่องใช้เครื่องมือโลหะเหล็กและการใช้วัวควายเพื่อการเกษตร การใช้เครื่องมือเครื่องใช้ทองเหลืองค่อยๆลดน้อยหายไปจากยุคนั้น การใช้เครื่องมือเครื่องใช้เหล็กและการใช้วัวควายในการเกษตรในเวลานั้นแสดงให้เห็นถึงการเพิ่มพูนกำลังทางการผลิตของสังคม เศรษฐกิจแบบระบบศักดินาของประเทศจีนได้รับการพัฒนาไปอีกก้าวหนึ่ง โดยเฉพาะความสำเร็จอันโดดเด่นของทางภาคเหนือ การก้าวกระโดดทางการผลิตเป็นเหตุให้เกิดการปฎิวัติเกี่ยวเนื่องกับการผลิต ยุคสงครามชุนชิวจ้านกั๊ว ระบบการแบ่งที่ดินเพื่อทำการเกษตรจิ่งเถียนจื้อ (井田制) ค่อยๆถูกแทนที่ด้วยการใช้ที่ดินทำการเกษตรเป็นส่วนตนแบบระบบศักดินาเจ้าที่ดินแทนที่ และในที่สุดเป็นที่ยอมรับหลังจากผ่านการเปลี่ยนแปลงการปฎิรูปทางการเมืองของแต่ละรัฐทั่วทั้งประเทศ

==ศิลปและวัฒนธรรม==
วัฒนธรรมคือตัวสะท้อนการเมืองและเศรษฐกิจในช่วงเวลานั้น ยุคสงครามชุนชิวจ้านกั๊ว การพัฒนาทางเศรษฐกิจเป็นตัวผลักดันส่งเสริมความก้าวหน้าของรากฐานของการเรียนรู้และการศึกษา การเปลี่ยนแปลงทางสังคมมีส่วนในแนวความคิดของการเพิ่มกิจกรรมของการทำงานแยกเป็นประเภทต่างๆอย่างมากมายและส่งเสริมวรรณกรรมและศิลปให้เจริญรุ่งเรือง
ยุคสงครามชุนชิวจ้านกั๊วเป็นยุคของการส่งผ่านของระบบเจ้าผู้ปกครองแคว้นหรือรัฐต่างๆในระบบศักดินา เป็นความสัมพันธ์ของยุคการผลิตแบบระบบศักดินาในช่วงสงครามที่สามารถเอาชนะความสัมพันธ์การผลิตของยุคศักดินาแบบข้าทาส ในด้านการศึกษามีนักปราชญ์นักวิชาการเกิดขึ้นมากมายเป็นยุคของสำนักศึกษาต่างๆเกิดขึ้นเป็นร้อยๆสำนักเพื่อต่อสู้กันทางความคิดมากมายเป็นประวัติการณ์ ศิลปในสาขาต่างๆมีการพัฒนาอย่างรวดเร็วจนเป็นที่น่าประทับใจ สงครามชุนชิวจ้านกั๊วกินเวลานานเป็นหลายร้อยปี รัฐต่างๆแต่ละรัฐต่างมีการพัฒนาอย่างอิสระก่อเกิดเป็นการมีวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน หลี่เสวฉิน (李学勤) นักโบราณคดีได้สรุปจำแนกวัฒนธรรมเป็นกลุ่มก้อนดังนี้ วัฒนธรรมของที่ราบภาคกลาง วัฒนธรรมของจีนตอนเหนือ วัฒนธรรมของรัฐฉีและรัฐหลู่ วัฒนธรรมของรัฐฉู่ วัฒนธรรมของรัฐอู๋และรัฐเว่ย วัฒนธรรมของปาสู่เตียน (巴蜀滇,ปาสู่ คือ มณฑลสื่อชวน หรือ เสฉวน เตียน คือ มณฑลหยินหนาน หรือ ยูนาน) ในระหว่างที่แต่ละรัฐทำสงครามผนวกดินแดนต่างก็รวบรวมชาวบ้านเข้ามาด้วย เมื่อรัฐฉินรวมประเทศเป็นเอกภาพก่อเกิดการหลอมรวมวัฒนธรรมกลายเป็นวัฒนธรรมจีน (中华文化, จงฮวาเหวินฮั้ว) ที่อุดมไปด้วยสีสันและมีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง ในระหว่างยุคสงครามชุนชิวจ้านกั๊ว วัฒนธรรมของประเทศกรีกในทวีปยุโรปกำลังเข้าสู่จุดของการพัฒนาสูงสุด วัฒนธรรมจีนและวัฒนธรรมตะวันตกสองวัฒนธรรมหลักต่างห่างไกลและแตกต่างกันมาก ถ้าเปรียบเทียบกัน กรีกมีชื่อเสียงและฝีมือทางด้านวัฒนธรรมการแกะสลัก ได้ทิ้งสมบัติทางศิลปให้แก่คนรุ่นหลานเป็นจำนวนนับไม่ถ้วน ซึ่งในประวัติศาสตร์ของโลกศิลปฉายให้เห็นศิลปที่ไม่สามารถลบเลือนไปจากโลกได้ ยุคของสงครามชุนชิวจ้านกั๊ว เครื่องมือเครื่องใช้ทองสัมฤทธิ์ซึ่งใช้งานได้หลายๆอย่างมีชื่อเสียงไปทั่วโลก เครื่องมือเครื่องใช้ทองสัมฤทธิ์เป็นที่รวมของงานแกะสลัก การวาดเขียน การประดิษฐ์ตัวหนังสือ งานศิลปฝีมือประกอบรวมกันขึ้นเป็นเครื่องมือทางศิลปชิ้นหนึ่ง สามารถใช้งานได้จริง มีความสวยงามในตัวของมันเอง เป็นงานสร้างสรรโดยฝีมือมนุษย์และแรงบันดาลใจจากเทพเจ้า ซึ่งก็คือ ระดับความแตกต่างของศิลปของจีนเทียบกับตะวันตก



*อุดมการณ์ความคิด
ในระหว่างยุคสงครามชุนชิวจ้านกั๊ว ดินแดนจีนถูกพายุลูกใหญ่ของการเปลี่ยนแปลงทางสังคมกระหน่ำ ในท่ามกลางพายุลูกใหญ่ที่มีอำนาจเปลี่ยนแปลงมากนี้ ไม่มีใครสามารถต่อต้านกระแสของการเปลี่ยนแปลง ระบบทาสเก่าๆถูกลดบทบาทลง ระบบชนชั้นเจ้าครองที่ดินถูกสถาปนาขึ้น ระบบเก่าๆและแนวความคิดคุณธรรมและจริยธรรมถูกแทนที่ด้วยระบบใหม่ๆและอุดมการณ์ความคิด ชาวนาและเกษตรกรบางส่วนได้รับอิสระมากขึ้น ความสัมพันธ์ของการผลิตในสังคมถูกเปลี่ยนแปลงให้ลึกซึ้งเข้าไปอีก ความขัดแย้งทางชนชั้นถูกกระทำให้รุนแรงเพิ่มมากขึ้น ผนวกกับมีการทำสงครามกันอย่างต่อเนื่องไม่หยุดหย่อน สังคมโดยรวมแสดงให้เห็นความซับซ้อนของสถานการณ์ที่มีความปั่นป่วน ในช่วงเวลานี้ได้เกิดชนชั้นใหม่ในสังคมขึ้น คือ ชนชั้นนักปราชญ์นักวิชาการ พวกเขามาจากชนชั้นต่างๆในสังคม ถึงแม้ว่าตำแหน่งหน้าที่ของพวกเขาจะไม่ค่อยสูง แต่พวกเขาส่วนใหญ่มีความรู้และความสามารถ บางคนมีความรู้เชี่ยวชาญทางดาราศาสตร์ การกำหนดวันและปฎิทิน ภูมิศาสตร์และวิชาความรู้อื่นๆ บางคนเชี่ยวชาญโดดเด่นด้านการเมือง การทหาร ปราชญ์บัณทิตและนักวิชาการโดดเด่นอันมีเมิ่งจือ (孟子) ม้อจือ (墨子) จวงจือ (庄子) สวินจือ (荀子) หานเฟยจือ (韩非子) รวมทั้งซางยาง (商鞅) เซินปู้ไห้ (申不害) สวี่หาง (许行) เฉินเซียง (陈相) ซูฉิน (苏秦) จางอี๋ (张仪) เป็นต้น ต่างเป็นนักคิด นักการเมือง นักการทหารและนักวิชาการที่มีชื่อเสียง โดยทั่วไปทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาและให้คำแนะนำกับกษัตริย์ หรือ เจ้าครองรัฐ หรือ ราชนิกูลของกษัตริย์หรือเจ้าครองรัฐ รวมทั้งทำหน้าที่เป็นรั้วปกป้องอำนาจให้แก่กษัตริย์หรือเจ้าครองรัฐ เป็นปากเป็นเสียงและฉกฉวยโอกาสให้แก่เจ้านาย ซึ่งค่อยๆเพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากนักวิชาการเหล่านี้มาจากชาติกำเนิดที่แตกต่างกัน ตำแหน่งหน้าที่ที่แตกต่างกัน ดังนั้นเมื่อต้องการแก้ไขหรือตอบโจทย์ปัญหาที่เกิดขึ้น จึงเสนอความคิดเห็นทางการเมืองหรือความต้องการที่แตกต่างกัน พวกเขาจะเขียนหนังสือเสนอความคิดเห็น ถกเถียงกันไม่หยุด สำนักศึกษาเกิดขึ้นเป็นร้อยๆสำนักเพื่อต่อสู้กันทางด้านความคิด กลายเป็นการก่อเกิดสำนักความคิดหรู่เจีย (儒家,สำนักขงจือ) เต้าเจีย (道家,สำนักเต๋า) สำนักม้อเจีย (墨家) สำนักฝ่าเจีย (法家,สำนักนิติศาสตร์) สำนักหยินหยางเจีย (阴阳家) สำนักหมิงเจีย (名家) สำนักจ้งเหิงเจีย (纵横家) สำนักจ๋าเจีย (杂家) สำนักหนงเจีย (农家) สำนักเสี่ยวซัวเจีย (小说家) และสำนักศึกษาอื่นๆอีกมากมาย ในบรรดาสำนักต่างๆเหล่านี้สำนักที่มีความสำคัญ คือ สำนักหรู่เจีย เต้าเจีย ม้อเจียและฝ่าเจีย เพียงสี่สำนักนี้ อีกทั้งหนังสือและกวีนิพนธ์ของขงจือ ม้อจือ เหลาจือ จวงจือ สวินจือ หานเฟยจือ เป็นผลงานที่มีชื่อเสียงเป็นตัวแทนของสำนักศึกษาทั้งสี่นี้ ในบรรดาผลงานของสำนักทั้งสี่ ผลงานของขงจือ และจวงจือ มีคุณค่าทางวรรณกรรมของประเทศจีนเป็นอย่างยิ่ง







*จิตรกรรมวาดเขียน
วรรณกรรมจีนสมัยนั้นอุดมไปด้วยภาพเขียนโดยเฉพาะภาพเขียนลายพู่กัน เริ่มจากหนังสือในสมัยสงครามจ้านกั๊ว ชื่อว่า ซานไห่จิง (山海经) กวีผู้ยิ่งใหญ่รัฐฉู่ นามชวีหยวน (屈原) สะท้อนภาพวาดไว้ในเนื้อหาหนังสือ เทียนเวิ่น (天问) สะท้อนให้เห็นภาพวาดลายพู่กันจำนวนมากมายในหนังสือแต่น่าเสียดายที่ไม่มีการเผยแพร่ทั่วไป พวกเราจึงสามารถถ่ายทอดได้เพียงจากภาพวาดบนเครื่องมือทองสัมฤทธิ์ ภาพวาดบนเครื่องเคลือบดินเผาและภาพวาดบนเสื้อผ้าผ้าไหมสองชิ้นที่หลงเหลือจากยุคนั้นมาอธิบายงานจิตรกรรมภาพเขียนในสมัยนั้น ผ่านจากภาพขนาดใหญ่ที่ซับซ้อนบนเครื่องมือทองสัมฤทธิ์เป็นภาพการเลี้ยงหม่อนไหม ภาพการล่าสัตว์ ภาพยิงธนู ภาพความรื่นเริง การทำสงครามทางน้ำและทางบก เป็นต้น แสดงให้เห็นถึงความสามารถเป็นอย่างสูงของช่างฝีมือในการจัดองค์ประกอบและขนาดของภาพ เริ่มมีความเข้าใจในความสมมาตรและสมดุลของภาพเมื่อเปรียบเทียบกับกฎเกณฑ์ของงานศิลปอื่นๆ แม้ว่าภาพวาดยังมีข้อจำกัด ภาพของมนุษย์ยังไม่แสดงสีหน้าอารมณ์ออกมา แต่พฤติกรรมแสดงออกมาสดใส มีสัดส่วนองค์ประกอบที่เหมาะสม เป็นการแสดงออกทางอ้อมของอารมณ์ความคิดของมนุษย์ในภาพวาด ดังเหมือนที่สวินจือกล่าวว่าเป็นภาพวาดจากเทวดาบันดาล เครื่องเคลือบดินเผาที่ค้นพบจากสุสาน แสดงให้เห็นถึงรูปแบบและสีที่สดใสบริสุทธิ์ ภาพของมนุษย์มีการประสบความสำเร็จในการแสดงออกถึงการเคลื่อนไหว การแสดงออกทางสีหน้าวาดภาพค่อนข้างง่ายๆ ภาพวาดเหล่านี้ถือว่ายังอยู่ในยุคปฐมวัย แต่เป็นภาพวาดปฐมวัยที่เรียบง่ายมีชีวิตชีวาเต็มไปด้วยพลังที่สามารถแสดงออกให้เห็นอย่างเต็มที่ การตกแต่งโลงศพบางโลงมีการเคลือบด้วยสีน้ำมันถือว่าเป็นการค้นพบการใช้สีน้ำมันที่เก่าแก่ที่สุดในจีน ภาพวาดบนผ้าไหมสี่ชิ้นในสมัยสงครามจ้านกั๊วซึ่งหลงเหลือมาจนถึงปัจจุบัน โดยเฉพาะเป็นภาพวาดมังกรและนกฟีนิกซ์ ภาพวาดมังกรหลวง แสดงถึงความสามารถระดับสูงในการวาดภาพ ถ้าเป็นองค์ประกอบของภาพความสมดุลของภาพจะเปลี่ยนไป สัดส่วนของภาพจะมีการเปลี่ยนแปลงเคลื่อนไหว เส้นสายจะมีทั้งหนักและเบา ใหญ่และเล็กเพื่อให้ภาพเขียนมีความสมบูรณ์ในตัวของภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาพมังกรหลวง เส้นสายหนักแน่นมีพลัง ทั้งมีความยืดหยุ่น ภาพคนถือกระบี่เหมือนเป็นภาพสลักนูน เส้นสายแสดงออกถึงพลังมีความก้าวหน้ามากขึ้น ภาพวาดเขียนของจีนคือการใช้เส้นสายที่โดดเด่นแสดงถึงการเชื่อมโยงต่อเนื่องกัน มีการแพร่หลายไปทั่ว มีสีสรรมากหมาย ถ้ามองในอีกมุมหนึ่งเป็นภาพวาดที่อุดมไปด้วยเนื้อหาแสดงออกภายในภาพ



*งานแกะสลัก
ไม่นานเท่าไหร่งานแกะสลักปฎิมากรรมของกรีกได้พัฒนาการไปถึงระดับ การแกะสลักปฎิมากรรมลอยตัวขนาดใหญ่ที่มีนัยยะยังไม่เกิดขึ้น ช่วงเวลานั้นงานแกะสลักปฎิมากรรมส่วนใหญ่ คือ รูปแกะสลักบนดินหรือไม้ในสุสานฝังศพ งานแกะสลักหินหยก การแกะสลักรูปสัตว์ต่าง การแกะสลักเครื่องมือทองสัมฤทธิ์และเครื่องเคลือบดินเผาของมนุษย์รวมทั้งผลิตภัณฑ์งานศิลปต่างๆที่เป็นงานฝีมือ จากงานที่อุดมไปด้วยงานที่ค่องข้างสลับซับซ้อนและงานฝีมือที่ละเอียดอ่อนสามารถกล่าวได้ว่า เป็นงานแกะสลักปฎิมากรรมของกรีกเกือบทั้งหมด แล้วที่ค้นพบในสมัยยุคสงครามชุนชิวจ้านกั๊วก็คืองานแกะสลักบนเครื่องเคลือบดินเผา ทองสัมฤทธิ์ หยก เครื่องปั้นดินเผา งานไม้และวัสดุที่มีคุณภาพอื่นๆเหมาะสมกับการแกะสลัก รูปแบบมีการแกะสลักเป็นรูปสัตว์ รูปมนุษย์ รูปเทพเจ้าและเทวดา รูปนกต่างๆ รูปมังกรและนกฟินิกซ์ เป็นต้น วิธีแกะงานฝีมือมีทั้งแกะสลักเป็นเส้นโค้งหรือวงกลม แกะสลักเป็นรูปนูนสูง แกะสลักโดยลงสีตกแต่ง แกะสลักโดยฝังวัสดุลงไป การแกะสลักภาพมนุษย์ ไม่เพียงแต่สามารถแยกแยะความแตกต่างทางระดับชั้นของสังคม แต่ยังสามารถแยกแยะชายหญิง วัยอายุเด็ก หนุ่มสาวหรือคนแก่ได้ทั้งยังแสดงพฤติกรรมอากัปกิริยาได้เห็นอย่างชัดเจน ประเพณีการแกะสลักของประเทศจีนทั้งหมดมีทั้งการตกแต่ง การเขียนและลงสี กลายเป็นลักษณะพิเศษของจีน ณ.จุดนี้ก่อเกิดเป็นรูปแบบการปฎิบัติเป็นประเพณีที่สืบทอดมีอิทธิพลไปอย่างกว้างขวาง



การเขียนตัวอักษรจีน
ในประวัติศาสตร์การเขียนประดิษฐ์อักษรจีนถือว่ามีความสำคัญอย่างยิ่ง จารึกลงบนทองสัมฤทธิ์ (金文,จินเหวิน) และจารึกลงบนแผ่นหิน ถือว่าเป็นจุดสุดยอดแขนงหนึ่งของการพัฒนาศิลปการเขียนตัวอักษรจีนในประเทศจีน ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบ หรือความมั่นคงและความเรียบง่าย หรือความละเอียดและความสง่างาม ซึ่งมีความสดสวยงดงามไม่ซ้ำกัน เพื่อเป็นมรดกตกทอดแก่คนรุ่นหลัง หนังสือเมิงซู (盟书) หนังสือเจี่ยนเซ่อ (简册) ไม่ว่าจะเป็นหนังสือเล่มไหนหรือหนังสือจูซู (朱书) ต่างมีตัวอักษรจีนที่มีความสวยงาม มีเสน่ห์เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง ยกตัวอย่างหนังสือเมิงซู (盟书) ของโฮวหม่า (侯马) ลายพู่กันทุกเส้นชัดเจน การตวัดลายเส้นมีพลัง เส้นทุกเส้นมีความหนาความบาง ลายพู่กันทุกเส้นมีจุดเริ่มต้น มีคนตั้งชื่อให้ว่า หนังสือเคอโต่วซู (蝌蚪书, หนังสือเขียนด้วยพู่กันที่มีจุดเริ่มต้นลากเส้นและจุดจบของเส้น) เป็นรูปแบบการเขียนอักษรจีนประเภทหนึ่งที่มีความสวยสดงดงาม กลายเป็นตัวอย่างอักษรเริ่มแรกที่ใช้เป็นตัวอักษรในตราลัญจรประทับในเวลาต่อมา



*ดนตรีและนาฎศิลป์
ภายใต้ความสนใจและความชื่นชอบของคนแต่ละชนชั้นในการปกครองแบบโบราณมีบทบาทอย่างกว้างขวางในสังคม ในบรรดาชนชั้นสูงดนตรีและนาฎกรรมเริ่มมีขึ้นใช้ในพิธีบูชาต่างๆและงานเลี้ยงงานฉลองพิธีการสำคัญต่างๆ สำหรับประชาชนแล้วดนตรีและนาฎศิลปส่วนใหญ่เพื่อความบันเทิงและการพักผ่อนสันทนาการเป็นหลัก แรกเริ่มดนตรีและนาฎศิลปของราชสำนักกับดนตรีและนาฎศิลปของชาวบ้านต่างแยกจากกันโดยเด็ดขาด เมื่อมาถึงยุคสงครามจ้านกั๊วดนตรีและนาฎศิลปของราชสำนักได้ดูดซับและหลอมหลวมองค์ประกอบจำนวนมากจากดนตรีและนาฎศิลปของชาวบ้านและชาวพื้นเมืองท้องถิ่น สร้างสรรเป็นดนตรีเฉพาะถิ่นอาทิเช่น เจิ้นเซิน (郑声) ฉู่อู่ (楚舞) ฉู่อิน (楚音) ซ่งอิน(宋音) เว่ยอิน (卫音) ฉีอิน (齐音) เป็นต้น ดนตรีและนาฎศิลปเหล่านี้นำเอาจุดเด่นของดนตรีที่สนุกสนานรื่นเริงแบบชาวบ้านมาเป็นดนตรีและนาฎศิลปของราชสำนักกลายเป็นปรากฎการณ์ที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ในความคืบหน้าทางประวัติศาสตร์ ซึ่งก่อให้เกิดความขัดแย้งและสร้างความกลัวในหมู่นักอนุรักษ์นิยมบางคนในสมัยนั้น แต่ความคืบหน้าในการเปลี่ยนแปลงดนตรีและนาฎศิลปในประวัติศาสตร์สมัยนั้นแสดงให้เห็นถึงแนวโน้มทั่วไปในสมัยนั้นซึ่งไม่สามารถย้อนกลับไปเป็นเหมือนเดิม จากบันทึกในประวัติศาสตร์และการค้นพบวัตถุโบราณในยุคสมัยสงครามจ้านกั๊วแสดงให้เห็นว่ามีกิจกรรมการแสดงดนตรีและนาฎกรรมของราชสำนักเป็นจำนวนมากมาย จากระฆังชุดสิบใบที่ขุดได้จากหลุมฝังศพของเฉิงโฮวอี๋ (曾侯乙) นำมาแสดงไม่ใช่ระฆังมีเพียงแต่ขนาดใหญ่ แต่ประสิทธิภาพเสียงของระฆังมีอยู่มากมายซึ่งสามารถแก้ไขปัญหาต่างๆมากมายของเสียงดนตรี ในยุคนั้นยกเว้นดนตรีและนาฎศิลปเพื่อประกอบพิธีกรรม ดนตรีและนาฎกรรมสำหรับการขอพรและขับไล่ปีศาจตามความเชื่อทางศาสนาพัฒนาไปมาก เช่นดนตรีเพื่อพิธีการเสียสละประจำปี พิธีสะเดาะเคราะห์ ต่างเป็นที่นิยมทั้งจากราชสำนักและชาวบ้านทั่วๆไป ดนตรีฉู่ และนาฎกรรมฉู่ เป็นเพลงเก้า (九歌,จิ่วเกอ) แต่งโดย ฉี๋หยวน (屈原) ในด้านทฤษฎีของดนตรี ปรัชญาดนตรีของรัฐฉู่เริ่มต้นคือการเน้นในแนวทางดนตรีที่มีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง สำนักเต้าเจีย สำนักม้อเจีย สำนักฝ่าเจียมีทัศนคติเชิงลบต่อดนตรีและนาฎกรรม แต่เงื่อนไขในการต่อต้านและทัศนคติเชิงลบที่มีต่างสำนักต่างแตกต่างกัน แน่นอนสำนักหรู่เจียมีทัศนคติต่อดนตรีและนาฎศิลป โดยเฉพาะขงจือ เมิ่งจือ สวินจือ ต่างก็มีจุดยืนของตนเองในทัศนคติที่มีต่อดนตรีและนาฎศิลปในช่วงเวลานั้น ไม่ว่าจะเป็นทัศนคติในเชิงบวกหรือเชิงลบแต่ท่านเหล่านั้นก็มีเหตุผลเป็นของตน ทั้งหมดเกิดจากการสร้างสรรด้านหนึ่งกลายเป็นแรงบันดาลใจมีความคุ้มค่าแก่คนรุ่นหลังที่จะศึกษาวิเคราะห์ต่อไป



*สถาปัตยกรรม
ส่วนใหญ่จะเป็นเมืองหลวงของรัฐต่างๆ อาทิเมืองลั่วหยางของกษัตริย์ราชวงศ์โจวตะวันออก เมืองหลินจือรัฐฉี เมืองเซี่ยตู (下都) รัฐเยี้ยน เมืองเก่าหานตานรัฐจ้าว เมืองเสียนหยางรัฐฉิน เมืองอิ่งตูรัฐฉู่ เมืองหลวงรัฐเจิ้ง เมืองหลวงรัฐหาน เป็นต้น ในยุคนี้งานสถาปัตยกรรมเมื่อเทียบกับงานศิลปในแขนงอื่นๆได้รับการพัฒนาไปถึงขั้นสูงสุดเฉกเช่นเดียวกัน เจ้าครองรัฐเพื่อการดำรงอยู่แห่งรัฐตนหรือการขยายอาณาเขต ต่างทุ่มเทใช้แรงงานมนุษย์และทรัพยกรอย่างระมัดระวังในการก่อสร้างเมืองหลวงของตน เพื่อสร้างเมืองหลวงให้เป็นศูนย์กลางทางการทหาร การเมืองและวัฒนธรรม เนื่องจากเมืองหลวงของแต่ละรัฐตั้งอยู่ในสภาพภูมิประเทศที่แตกต่างกัน การก่อสร้างจึงก่อสร้างให้เหมาะสมตามสภาพภูมิประเทศของแต่ละท้องถิ่น ดังนั้นเมืองหลวงแต่ละรัฐจึงมีลักษณะพิเศษเป็นของตน แต่ในหลายๆประการต่างมีหลายประการที่คล้ายๆกันหรือเกือบเหมือนกัน อาทิพระราชวังต่างมีกำแพงล้อมรอบหรือมีคลองคูน้ำล้อมรอบพระราชวัง ภายในเมืองหลวงทั้งหมดมีกำแพงพระราชวัง (宫城,กงเฉิง) และมีกำแพงเมืองด้านนอก (郭城,กัวเฉิง) กำแพงพระราชวังตั้งอยู่ในทำเลที่เป็นจุดเด่นมากที่สุดตรงแกนกลางใจกลางเมือง ภายในกำแพงเมืองด้านนอกทั้งหมดเป็นตัวเมือง เป็นย่านทำธุรกิจการค้าขาย กำแพงพระราชวังและกำแพงเมืองด้านนอกแยกออกจากกัน การวางผังเมืองซ้ายขวาหน้าหลังเป็นรูปแบบสมมาตร การวางตัวอาคารใช้เส้นแกนกลางของใจกลางเมืองเป็นหลักในการวางอาคารซ้ายขวาให้สมดุลกัน เป็นต้น ตามความสำเร็จของงานสถาปัตยกรรมสามารถพูดได้ว่า ในยุคนั้นมีการค้นพบการประดิษฐ์อิฐดินเผาและกระเบื้องดินเผาแล้วที่สามารถใช้งานได้อย่างเอนกประสงค์ ทำให้มีความสะดวกสบายเป็นอันมากในการพัฒนางานด้านสถาปัตยกรรม การคิดประดิษฐ์และการใช้งานของโต้วกง (斗栱) ทำให้เกิดความสวยงามที่เป็นเอกลักษณ์ของรูปแบบงานสถาปัตยกรรมจีนโบราณที่โดดเด่นไปทั่วโลก อาคารถายเซี่ย (台榭,อาคารประเภทศาลา) คืออาคารเพียงชนิดเดียวในยุคนั้นที่มีเอกลักษณ์เฉพาะ นอกจากนี้เนื่องจากข้อจำกัดในการก่อสร้างอาคารอย่างเข้มงวดในสมัยนั้น การก่อสร้างจึงต้องก่อสร้างตามแบบอาคารสถาปัตยกรรมสมัยโบราณ



*งานศิลปทองสัมฤทธิ์
ศิลปงานฝืมือในสมัยสงครามชุนชิวจ้านกั๊วมีการเคลื่อนไหวมากที่สุด ผลิตผลจากศิลปฟูเฟื่องมีหลากหลาย ประสบความสำเร็จอย่างยิ่งใหญ่ งานศิลปทองสัมฤทธิ์อยู่ในช่วงสูงสุดหลังจากผ่านการตกต่ำในห้วงเวลาผ่านมาเรียกว่าอยู่ในช่วงเวลาแห่งความรุ่งโรจน์เจริญรุ่งเรือง เมื่อเปรียบเทียบกับยุคราชวงศ์ซางและราชวงศ์โจวตะวันตกมีการผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีคุณสมบัติใหม่ๆ รูปแบบพัฒนาจากแบบเดิมที่เทอะทะแต่สง่างามเป็นเบาบางเหมาะสมแก่การใช้สอย ผลิตทองสัมทธ์เป็นเครื่องมือเครื่องใช้รูปแบบใหม่ๆที่ใช้ในชีวิตประจำวันเพิ่มขึ้นเรื่อยๆทุกวัน การผลิตก็เพิ่มขึ้นเรื่อยๆทุกวัน การจารึกลงบนทองสัมฤทธิ์ มีข้อยกเว้นบางประการ ตัวอักษรจากยาวลดสั้นลง อย่างเช่นการจารึกในสมัยราชวงศ์โจวตะวันตกเพื่อแสดงประวัติของครอบครัวหรือเพื่อเผยแพร่ผู้ผลิตงานเครื่องมือทองสัมฤทธิ์โดยทั่วไปหายไป การตกแต่งทองสัมฤทธิ์พัฒนาไปในรูปแบบสองขั้ว หนึ่งคือนำรูปหน้าสัตว์ลึกลับที่มีความสง่างามปรับปลี่ยนเส้นสายให้เป็นรูปทรงเรขาคณิตที่กระชับง่ายขึ้น อีกแบบหนึ่งสร้างภาพอธิบายการใช้ชีวิตประจำวันที่เป็นจริงของคนในยุคนั้น เทคนิคงานฝีมือตกแต่งจารึกให้มีความหนักเบาเป็นชั้นๆตามเส้นสาย ดอกไม้ที่มีความหนาในสมัยก่อนเปลี่ยนเป็นดอกไม้ที่มีความปราณีตเรียบร้อย เทคนิคใหม่ๆ (เทคนิคการหล่อขี้ผึ้ง วิธีฝังและเลี่ยม การแกะสลัก) ได้รับการยกระดับและเป็นที่นิยมแผ่ขยายไปอย่างกว้างขวาง การใช้เครื่องมือทองสัมฤทธิ์ก้าวหน้าจนเป็นยุคใหม่ของช่างฝีมือชาวจีนผู้มีความชำนาญในงานนี้ การหล่อขี้ผึ้งถือว่าเป็นเทคโนโลยี่สุดยอดในการหล่อเครื่องมือทองสัมฤทธิ์ ข้อดีคือสามารถทำให้การตกแต่งเครื่องมือทองสัมฤทธิ์มีรูปแบบหลากหลายและละเอียดอ่อน การใช้และความนิยมอันกว้างขวางของเทคนิคนี้ได้ยกระดับงานผลิตทองสัมฤทธิ์เป็นอย่างสูง งานฝังและเลี่ยม (ไม่ว่าจะเป็นเงินหรือทอง) เทคนิคใช้ในการประดับตกแต่งลวดลายของทองสัมทธิ์ ทำให้รูปแบบของเครื่องมือทองสัมฤทธิ์เปลี่ยนแปลง ตกแต่งเป็นภาพนูนภาพเว้า มีสีสรรสดสวยงดงาม เนื่องจากการฝังการเลี่ยมใช้เครื่องทอง เงิน ตะกั่ว หยก หินน้ำเงินอมเขียว เป็นต้น ซึ่งมีพื้นผิววัสดุที่แตกต่างกัน พร้อมด้วยสีสรรที่แตกต่างกัน แต่งลงบนพื้นผิวของเครื่องมือทองสัมฤทธิ์ที่มีรูปแบบเป็นอัตราส่วนที่แน่นอน ดังนั้นการตกแต่งด้วยการฝังและเลี่ยมจึงถูกตาถูกใจกลายเป็นงานที่โดดเด่นอีกงานหนึ่ง การตกแต่งสลักจารึกลงบนเครื่องมือทองสัมฤทธิ์ทำให้การทำงานสะดวกขึ้นรูปแบบการตกแต่งมีมากมายมากกว่าแต่ก่อน โดยภาพรวมเครื่องมือทองสัมฤทธิ์ในยุคสงครามชุนชิวจ้านกั๊ว เน้นที่ความสวยงามและการใช้สอย โดดเด่น การใช้สอยช่วยลดจุดอ่อนลง การใช้กรรมวิธีลึกลับไม่มีอีกต่อไป นีคือสิ่งสำคัญของกระบวนการสร้างศิลปงานทองสัมฤทธิ์ซึ่งช่วยปลดปล่อยระบบการผลิตแบบไสยาศาตร์เล่นแร่แปรธาตุในระบบทาสในอดีตลงกลายเป็นงานฝีมือที่ผลิตใช้ในชีวิตประจำวัน สะท้อนให้เห็นแนวความคิดใหม่ของความสวยงามระหว่างเจ้าครองที่ดินใหม่กับช่างฝีมือชาวจีน



*ศิลปงานหยก
เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เศรษฐกิจและการเมือง นำมาสู่แนวความคิดแบบใหม่ของสถาบันสังคมของเจ้าครองรัฐแต่ละรัฐ ทั้งชนชั้นปกครองยังมีความเกี่ยวข้องใกล้ชิดกับเครื่องประดับหยก เชื่อว่าเครื่องประดับหยกสามารถทำให้ชีวิตเปลี่ยนแปลงได้ ดังนั้นเครื่องประดับหยกจึงมีหลากหลายแพร่หลายมากมาย เครื่องประดับหยกชนิดต่างๆในสมัยสงครามชุนชิวหยกที่สำคัญมี ปี้ (璧) ฉง (琮) กว่าน (管) จู (珠) เพ่ย (佩) หาน (琀) ช้วนสื่อ (串饰) เล่อ (勒) หย้วน (瑗) หวน (环) เจ๋ย (玦) กุย (圭) จาง (璋) ปิ่งสิงชี่ (柄形器) เกอ (戈) ไต้โก๋ว (带钩) จิ้งเจี้ย (镜架) ปี่ (匕) เป็นต้น ส่วนมากเป็นเครื่องประดับ ส่วนน้อยคือเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน หยกเป็นตัวแทนของเครื่องประดับล้ำค่าของชนชั้นสูงในสังคมจีน และเครื่องประดับเสริมที่ทุกคนจับตามอง สำหรับบุรุษทั่วไปโดยไม่ต้องหาเหตุผลที่จะหาหยกมาครอบครอง เป็นสัญลักษณ์สุภาพบุรุษที่ยึดถือคุณธรรม มีเจ็ดคุณธรรม เก้าคุณธรรมหรือสิบเอ็ดคุณธรรมแล้วแต่หยกที่หามาสวมใส่ครอบครอง วิวัฒนาการของหยก ราชวงศ์ซางมีงานแกะสลักหยกมากมายหลายมิติ ราชวงศ์โจวตะวันตกธุรกิจหยกเจริญรุ่งเรื่องเพิ่มขึ้นไปอีก พอสงครามชุนชิวเริ่มต้นเครื่องประดับหยกออกสู่ท้องตลาดเป็นจำนวนเพิ่มขึ้น บางชนิดเป็นของหายาก แต่การผลิตมีความซับซ้อนละเอียดอ่อนมากขึ้น จากหลุมฝังศพที่ถูกขุดค้นพบในสมัยสงครามชุนชิวจ้านกั๊วซึ่งศพถูกฝังทั้งเป็น ในตัวค้นพบเครื่องประดับหยกและสะสมหยกกันเป็นจำนวนมากทั้งมีสภาพสวยสดปราณีตงดงาม เช่น หลุมฝังศพชาวฉู่ในสมัยสงครามชุนชิวที่พบในเมืองซีชวน (淅川) มณฑลเหอหนานเมื่อเปิดหลุมออกมาค้นพบเครื่องประดับหยกกว่าสามพันชิ้น หลุมฝังศพทั่วไปจะพบเครื่องประดับประมาณหนึ่งถึงสองร้อยชิ้น บางส่วนได้รับการผลิตอย่างยอดเยี่ยมเป็นที่น่าทึ่งตาทึ่งใจของคนปัจจุบัน ดังเช่นหลุมฝังศพของเฉิงโฮวอี่ (曾侯乙) ที่สุยเสี้ยน (随县) มณฑลหูเป่ยค้นพบแผ่นหยกเพ่ยเป็นรูปมังกรสิบหกลีลา หลุมฝันศพของจินชุนหาน (金村韩) ที่เมืองลั่วหยางร่างกายตกแต่งไปด้วยเครื่องประดับแผ่นหยกเพ่ยตั้งแต่การเลือกใช้หยกและวัสดุและการตัดเย็บตกแต่งเป็นที่น่าประทับใจอย่างยิ่ง



*ศิลปงานเครื่องเคลือบเครื่องเขินจีน
ประเทศจีนเป็นประเทศแรกในโลกที่ใช้สีจากธรรมชาติตกแต่งเคลือบสี ในสมัยราชวงศ์ซางและราชวงศ์โจวงานฝีมือเครื่องเคลือบเครื่องเขินจีนได้รับการพัฒนาไปเป็นอันมาก สมัยสงครามชุนชิวจ้านกั๊วการใช้เครื่องเคลือบขยายตัวอย่างกว้างขวาง เทคนิคทางด้านนี้มีมากขึ้นและถูกยกระดับให้ดีขึ้นไปเรื่อยๆทั้งยังค้นพบได้ตามรูปแบบของแต่ละท้องถิ่น การผลิตเครื่องเคลือบเครื่องเขินในสมัยสงครามจ้านกั๊วเป็นช่วงเวลาที่มีการพัฒนาที่สำคัญมากในประวัติศาสตร์จีน มีการขยายไปทั่วทุกท้องถิ่น ผลิตภัณฑ์มีหลากชนิดเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ระดับการผลิตเพิ่มขึ้นเป็นประวัติการณ์ มีการเปลี่ยนแปลงปรับปรุงใหม่ๆเพิ่มขึ้นในหลายๆด้าน ครั้งแรกโครงเครื่องเคลือบค่อนข้างมีหลากหลาย หุ่นไม้ด้านนอกถูกปิดด้วยยาง หนังสัตว์ แผ่นไม้ไผ่หรือผิวอื่นๆทั้งสองด้าน มีการใช้สีหลากหลายมีทั้งสีแดง สีดำ สีขาว สีม่วง สีน้ำตาล สีเขียว สีฟ้า สีเหลือง สีทอง สีเงิน เป็นต้น โดยใช้สีดำ หรือ สีแดงเป็นสียืนพื้น การตกแต่งลวดลาย ความยุ่งยาก การป้องกันน้ำรั่วมีกรรมวิธีกำหนดให้ทำ นอกจากนี้ภาพวาดและภาพแกะสลัก ภาพศิลปประสม แม้จะรวมทั้งภาพนูนเว้าแกะสลักหรือภาพโมเสคต่างก็เป็นงานลักษณะพิเศษที่สำคัญในยุคสมัยสงครามชุนชิวจ้านกั๊ว



*งานฝีมือเย็บปักถักร้อย
ยุคสงครามชุนชิวจ้านกั๊วได้สร้างความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ให้แก่งานเย็บปักถักร้อย โดยเฉพาะในดินแดนของรัฐฉู่ที่มีผลิตภัณฑ์มากมายที่สุด ดังเช่นในปี ค.ศ. 1982 มีการค้นพบหลุมฝังศพขนาดเล็กในเขตหม่าซาน (马山) เมืองเจียงหลิง (江陵) มณฑลหูเป่ย ปรากฎว่าภายในบรรจุเสื้อผ้าที่เก็บรักษาไว้เป็นอย่างดีถึง 35 ชุด สิ่งทอที่ถูกค้นพบได้เป็นผ้าไหม และผ้าป่านสองรายการนี้ ผ้าไหมประกอบไปด้วยผ้าไหม ผ้าไหมผสมผ้าฝ้าย เส้นด้าย ผ้ากรอง วัสดุทอผ้าไหมสีแดงเข้ม ผ้าปักดอก ผ้าไหมถัก ผ้าไหมสะพายทั้งหมดแปดอย่าง เป็นการผลิตที่ดีที่สุดเป็นประวัติการณ์ในสมัยนั้น



==จำนวนรัฐทั้งหมดในสงครามชุนชิวจ้านกั๊ว==
*รัฐฉี (齐)
*รัฐจิ้น (晋)
*รัฐฉิน (秦)
*รัฐเฉิน (陈)
*รัฐอู๋ (吴)
*รัฐฉู่ (楚)
*รัฐเย่ว (越)
*รัฐหาน (韩)
*รัฐจ้าว (赵)
*รัฐเว่ย (魏)
*รัฐซ่ง (宋)
*รัฐหลู่ (鲁)
*รัฐเว่ย (卫)
*รัฐเจิ้ง (郑)
*รัฐจวี่ (钜)
*รัฐจู (邾)
*รัฐฉี่ (杞)
*รัฐหยาง (杨)
*รัฐเยี่ยน (剡)
*รัฐเหริ่น (任)
*รัฐเถิง (滕)
*รัฐเฟ้ย (费)
*รัฐหนี (倪)
*รัฐเฉิง (曾)
*รัฐเจิง (缯)
*รัฐเฉา (巢)
*รัฐสุย (随)
*รัฐจงอู่ (钟吾)
*รัฐหลิว (刘)
*รัฐหลิ่ว (六)
*รัฐจ้าว (召)
*รัฐโจว (周)
*รัฐเต้า (道)
*รัฐฝาง (房)
*รัฐเสิ่น (沈)
*รัฐเซิน (申)
*รัฐซู (苏)
*รัฐเลี่ยว (廖)
*รัฐซู (舒)
*รัฐซูจิว (舒鸠)
*รัฐซูย้ง (舒庸)
*รัฐซูเลี่ยว (舒廖)
*รัฐเยี้ยน (燕)
*รัฐหนานเยี้ยน (南燕)
*รัฐสวี่ (许)
*รัฐสวี (徐)
*รัฐยวี (虞)
*รัฐกั๊ว (虢)
*รัฐหลี (黎)
*รัฐอู๋จง (无终)
*รัฐจงซาน (中山)
*รัฐอันหลิง (安陵)
*รัฐเติ้ง (邓)
*รัฐเจี่ย (贾)
*รัฐสิง (邢)
*รัฐกาน (甘)
*รัฐหรง (荣)
*รัฐปา (巴)
*รัฐสู่ (蜀)
*รัฐตาน (单)
*รัฐโจว (州)
*รัฐหู (胡)
*รัฐถัง (唐)
*รัฐไล่ (赖)
*รัฐฉ่วน (权)
*รัฐไหล (莱)
*รัฐปี้หยาง (逼阳)
*รัฐจี้ (纪)
*รัฐสุ้ย (遂)
*รัฐถาน (谭)
*รัฐไต้ (代)
*รัฐหวง (黄)
*รัฐเซี่ยง (项)
*รัฐเกิ่ง (耿)
*รัฐฮั่ว (霍)
*รัฐซี (息)
*รัฐเหลียง (梁)
*รัฐรุ่ย (芮)
*รัฐซิ (邿)
*รัฐฮวา(滑)
*รัฐเซย (薛)
*รัฐจาง (章)
*รัฐเปิ่น (顿)
*รัฐลู่หุน (陆浑)
*รัฐเฝย (肥)
*รัฐกู่ (鼓)
*รัฐชื่อตีลู่กั๊ว (赤狄潞国)
*รัฐเจียง (江)
*รัฐเกินม๋อ (根牟)
*รัฐอิ่ง (应)
*รัฐหลอ (罗)
*รัฐฝ๋าน (樊)
*รัฐเหมา (毛)
*รัฐเฉิง (程)
*รัฐสู่ (宿)
*รัฐจาน (詹)
* รัฐเจียว (焦)
*รัฐจู้ (祝)
* รัฐหลี่ (吕)
ทั้งหมด 104 รัฐ



==บุคคลที่สำคัญมีชื่อเสียงในยุคสงครามชุนชิวจ้านกั๊ว==
*เปี่ยนเฉ้ว (扁鹊)
เปี่ยนเฉ้ว นามสกุลเดิมคือ ฉิน (秦) เป็นคนมีชื่อเสียงในรัฐเย่ว (越) ยุคสงครามจ้านกั๊วอยู่ในกองทัพป๋อไห่ (渤海) ของรัฐฉี ประจำอยู่ที่เมืองม้อโจว (莫州, ปัจจุบันคือเมืองเหรินชิว任丘มณฑลเหอเป่ย) แต่มีบางคนบอกว่าเขาเป็นคนฉางชิง (长清) มณฑลซานตง เนื่องจากเขาเป็นคนที่มีความรอบรู้ชำนาญทางการแพทย์ ประชาชนจึงกล่าวขานเขาว่าเป็นหมอเทวดา ดังนั้นชาวบ้านในสมัยนั้นจึงยืมชื่อจากตำนานโบราณของจีนเกี่ยวกับหมอเทวดาเปี่ยนเฉ้วมาขนานนามเรียกชื่อของเขา เปี่ยนเฉ้วเป็นผู้นำเอาวิธีการตรวจจับการเต้นของชีพจรมาวินิจฉัยโรคตามการแพทย์จีนแผนโบราณ เป็นการเปิดประตูครั้งแรกให้แก่วงการแพทย์จีน เปี่ยนเฉ้วในวัยเยาว์เคยเป็นผู้ดูแลเรือนรับรองแขกของชนชั้นสูง ดังนั้นจึงได้พบและรู้จักฉางซังจวิน (长桑君) หมอที่มีชื่อเสียงในสมัยนั้น จากนั้นเรียนรู้การแพทย์จีนจากเขา ถูกคนยกย่องว่าเป็นหมอเทวดาสามารถชุบชีวิตคนจากความตายได้ ภายหลังจึงเริ่มต้นออกเดินทางไปทุกรัฐเพื่อทำการรักษาพยาบาล เปี่ยนเฉ้วเริ่มรักษาพยาบาลครั้งแรกที่รัฐกั๊ว (虢) ต้องเผชิญกับโอรสองค์โตของเจ้าครองรัฐกั๊วเสียชีวิตกะทันหัน เขาเข้าใจว่าพระโอรสเพียงได้รับความทุกข์ทรมานจากโรคความร้อน แต่เข้าใจดีว่าพระโอรสยังไม่เสียชีวิต เขาจึงช่วยชิวิตของพระโอรสรัฐกั๊ว ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาชื่อเสียงในการรักษาชุบชีวิตคนจากความตายจึงแพร่หลายขจรไปไกล เขาภายหลังเดินทางมาถึงรัฐช่าย เข้าพบช่ายหวงกง (蔡桓公) ช่ายหวงกงรับทราบถึงชื่อเสียงกิตติมศักดิ์ของเปี่ยนเฉ้วแต่เชื่ออย่างจริงใจว่าคำยกย่องนั้นเกินความจริง จึงปฎิบัติต่อเปี่ยนเฉ้วอย่างหยาบคายไร้มารยาท เปี่ยนเฉ้วครั้งแรกที่เห็นช่ายหวงกง จึงบอกพระองค์ว่ามีโรคอยู่เล็กน้อยเพียงแต่ดื่มยาที่จัดให้ในทันทีก็จะรักษาหาย ช่ายหวงกงคิดว่าเปี่ยนเฉ้วคิดจะหลอกลวงพระองค์ ดังนั้นพระองค์จึงปฎิเสธไม่ทรงยา เมื่อเปี่ยนเฉ้วเสนอความเห็นเป็นครั้งที่สองที่จะรักษาพระองค์ ช่ายหวงกงก็ยังทรงไม่สนใจใยดี ครั้งที่สามเปี่ยนเฉ้วเข้าพบช่ายหวงกง ช่ายหวงกงพบว่าร่างกายของตนเองมีความรู้สึกเช่นเดียวกับที่เปี่ยนเฉ้วชี้แจงทั้งหมด อาการของโรคแสดงออกสู่ภายนอกเป็นระยะๆถึงขั้นร้ายแรง พระองค์จึงขอร้องให้เปี่ยนเฉ้วช่วยรักษา แต่เปี่ยนเฉ้วกล่าวตอบกับช่ายหวงกงว่าเนื่องจากพระองค์ไม่ใส่ใจในคำแนะนำของเขาทั้งหมดตั้งแต่ต้น ดังนั้นปัจจุบันจึงหมดหนทางรักษาแล้ว ผ่านมาไม่นานช่ายหวงกงก็สิ้นพระชนม์ ตามสำนวนจีนที่ว่า หุ้ยจี๋จี่อี (讳疾忌医, ปกปิดโรคร้ายไว้และไม่พยายามรักษาหรือปรึกษาแพทย์) จากนั้นเปี่ยนเฉ้วเดินทางไปรัฐฉิน แต่แพทย์ใหญ่หลิ่งหลี่ซี (令李醯) อิจฉาในความรู้ทางการแพทย์ของเปี่ยนเฉ้ว ดังนั้นจึงวางแผนกล่าวร้ายแล้วฆ่าเปี่ยนเฉ้วตาย



*ก่วนจ้ง (管仲)
ก่วนจ้ง (ไม่ทราบปีเกิด ตาย ปี 645 ก่อนคริสต์ศักราช) มีชื่อว่า อี๋อู๋ (夷吾) หรือในอีกชื่อหนึ่งว่า จ้ง (仲) ประวัติศาสตร์ขนานนามว่า ก่วนจือ (管子) เกิดที่เมืองอิ่งซ่าง (颍上, ปัจจุบันคือเขตอิ่งซ่าง มณฑลอันฮุย) เป็นนักการเมือง นักปรัชญาผู้ยิ่งใหญ่สมัยสงครามชุนชิว บันทึกประวัติศาสตร์ ก่วนเยี่ยนเลี่ยจ้วน (管晏列传) ก่วนจือ (管子) จั่วช๋วน (左传) ทั้งสามเป็นบันทึกอัตชีวประวัติของเขา บทนิพนธ์หลุนยวี่ (论语, บทที่ 14) ของขงจือก็ยังมีบทวิเคราะห์ความคิดเห็นของขงจือที่มีต่อเขา ซูซวิน (苏洵) แห่งรัฐเป่ยซ่ง (北宋) แต่งบันทึก ก่วนจ้งช๋วน (管仲传) ก็ยังมีบทวิเคราะห์เกี่ยวกับเขา ในวัยเด็กครอบครัวมีฐานะยากลำบาก เป้าซูหยา (鲍叔牙) ค้นพบเห็นว่าก่วนจ้งมีความสามารถจึงคบไว้เป็นมิตรสหายที่ดีต่อกัน และมักมาเยี่ยมเยือนก่วนจ้งอยู่บ่อยๆ ก่วนจ้งก็ได้ประโยชน์จากการเป็นเพื่อนกับเป้าซูหยา เป้าซูหยาไม่ได้ถือสาอะไรแต่ยอมรับในวิสัยทัศน์ของก่วนจ้ง ปฎิบัติต่อก่วนจ้งเป็นอย่างดีเสมอ ประทับใจในการสนทนาแลกเปลี่ยนกลายเป็นที่รู้จักกันดีของชาวจีนในบทสนทนาชื่อว่า ก่วนเป้าจื่อเจียว (管鲍之交) โดยการแนะนำอย่างหนักแน่นของเป้าซูหยา ฉีหวงกงไม่มีเหตุผลใดๆที่จะปฎิเสธรับก่วนจ้งมารับใช้ แต่งตั้งก่วนจ้งเป็นสมุหนายกทั้งยังเคารพนับถือเสมือนบิดา ก่วนจ้งดำเนินการปฎิรูปงานด้านต่างๆเป็นชุดๆภายในรัฐฉี นำนโยบายจวินหวางร่างอี้ (尊王攘夷, เชิดชูกษัตริย์ขับไล่พวกป่าเถื่อน) ในที่สุดช่วยให้ฉีหวงกงขึ้นดำรงตำแหน่งป้าจู่ เจ้าครองรัฐผู้เรืองอำนาจ



*เยี้ยนอิง (晏婴)
เยี้ยนอิง (ไม่ทราบปีเกิด ตาย ปี 500 ก่อนคริสต์ศักราช) หรือในอีกชื่อหนึ่งว่า จ้ง (仲) หรือ ซี่ผิง (谥平) แต่คนทั่วไปเรียกชื่อว่า ผิงจ้ง (平仲) เป็นคนเมืองเกามี้ (高密) มณฑลซานตง เป็นนักการเมือง นักปรัชญา นักการฑูตที่สำคัญในสมัยสงครามชุนชิว เยี้ยนอิง เป็นบุตรของเยี้ยนรั่ว (晏弱) เสนาบดีของรัฐฉี ใช้ชีวิตแบบมัธยัสถ์ เป็นขุนนางระดับกลางที่มีความสุภาพอ่อนโน้มจนมีชื่อเสียงรู้จักกันไปทั่ว รูปร่างของเยี้ยนอิงไม่สูงนักค่อนข้างจะน่าเกลียดอัปลักษณ์อีกต่างหาก ปีที่ 26 (ปี 556 ก่อนคริสต์ศักราช)ในสมัยฉีหลิงกง (齐灵公) เยี้ยนรั่วป่วยเสียชีวิต เยี้ยนอิงได้รับแต่งตั้งเป็นเสนาบดีแทนบิดา ทำงานรับใช้ฉีหลิงกง ฉีจวงกง (齐庄公) ฉีจิ่งกง (齐景公) สามรัชสมัยเป็นเวลายาวนานมากกว่า 40 ปี ปีที่ 20 (ปี 500 ก่อนคริสต์ศักราช) ในรัชสมัย โจวจิ้งหวาง (周敬王) เยี้ยนอิงป่วยเสียชีวิต ขงจือ ได้กล่าวสรรเสริญเยี้ยนอิงไว้ว่า “ช่วยเหลือประชาชนโดยไม่โอ้อวด รับใช้ผู้ครองรัฐสามยุคโดยไม่ร้องขอสิ่งใดๆ” สุสานหลุมฝังศพของเยี้ยนอิงอยู่ที่หมู่บ้านหยงซุ่น (永顺村,หยงซุ่นชุน) เมืองฉีโตวเจิ้น (齐都镇) จังหวัดจือป๋อ (淄博) มณฑลซานตงห่างหมู่บ้านไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ 350 เมตร เยี้ยนอิงเป็นคนหัวสมองฉลาดปราดเปรื่องมีความสามารถในการเจรจาต่อรอง รับใช้การเมืองในรัฐฉี คอยคัดค้านและตักเตือนเจ้าครองรัฐอยู่บ่อยๆ กับรัฐอื่นๆมีความยืดหยุ่นหลากหลาย ยึดมั่นในหลักการ ปฎิบัติภาระกิจโดยไม่ละอายแก่ใจ ปกป้องหน้าตาและศักดิ์ศรีของรัฐฉี ซือหม่าเชียน (司马迁) เคารพนับถือเยี้ยนอิงเป็นอันมาก ยกย่องเยี้ยนอิงขึ้นเทียบเท่าก่วนจ้ง



*ขงจือ (孔子)
ขงจือ (ปี 551 ก่อนคริสต์ศักราช ถึง ปี 479 ก่อนคริสต์ศักราช) แซ่ ขง (孔) ชื่อ ชิว (丘) หรืออีกชื่อหนึ่งว่า จ้งหนี (仲尼) เป็นชาวรัฐหลู่ (鲁, ปัจจุบัน คือ เมืองชวีฟู่曲阜 มณฑลซานตง) เขาเป็นนักคิดและนักวิชาการในช่วงปลายสมัยสงครามชุนชิวของประเทศจีน เขาเป็นผู้ก่อตั้งสำนักหรู่เจีย (儒家) สำนักทฤษฎีกระแสหลักซึ่งได้เผยแพร่คำสอนจนกลายเป็นวัฒนธรรมจีนมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์ฮั่น ทฤษฎีความคิดของสำนักหรู่เจียของขงจือและผู้ร่วมก่อตั้งของเขามีอิทธิพลอย่างลึกซึ้งถึงรากลึกต่อประเทศจีนสมัยโบราณและประเทศเกาหลี รวมทั้งประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียงอื่นๆ เป็นที่นับถือของคนจีนรุ่นหลังว่าเป็นศาสดาแห่งคุณธรรม



*เหลาจือ (老子)
เหลาจือ (ปี 570 ก่อนคริสต์ศักราช ถึง ปี 470 ก่อนคริสต์ศักราช) แซ่ หลี่ (李) ชื่อ เอ้อร์ (耳) หรืออีกชื่อหนึ่งว่า ป๋อหยาง (伯阳) มีคนยกย่องเรียกท่านว่า เหล่าตาน (老聃) เป็นชาวรัฐฉู่ หมู่บ้านเหรินลี่ (仁里) เขตเซียงชวี่ (乡曲) เมืองขู่เสี้ยนหลี่ (苦县厉, ปัจจุบันคือ เมืองลู่อี้鹿邑 มณฑลเหอหนาน) คือนักปรัชญาและนักคิดผู้ยิ่งใหญ่ของประเทศจีนสมัยโบราณ เป็นผู้ก่อตั้งสำนักเต้าเจียและลัทธิเต๋า เหลาจือถูกถังหวางอู๋โฮ้ว (唐皇武后,อู๋เจ๋อเทียน) ยกย่องเป็น ไท่ซ่างเหลาจวิน (太上老君) เป็นหนึ่งในหนึ่งร้อยคนดังของประวัติศาสตร์วัฒนธรรมโลก ผลงานของเหลาจือที่เหลือเป็นมรดกให้แก่ประวัติศาสตร์ คือ คัมภีร์ เต้าเต๋อจิง (道德经) และบันทึกเหลาจือ (老子) สาระสำคัญของผลงานของเหลาจือ คือ วิธีการอธิบายสิ่งต่างๆแบบเรียบง่าย ทุกสิ่งทุกอย่างปล่อยไปให้เป็นธรรมชาติ ทฤษฎีความคิดของเหลาจือมีอิทธิพลอย่างลึกซึ้งต่อการพัฒนาปรัชญาจีน ทฤษฎีความคิดนี้ภายหลังถูกพัฒนาต่อไปโดย จวงโจว (庄周) สำนักเต้าเจียยกย่องเหลาจือเป็นศาสดาของสำนัก ขงจือก็เคยไปขอเรียนรู้จากเหลาจือ ในบรรดาสำนักเต้าจี้ยว (道教) ทั้งหมด เหลาจือถูกยกย่องให้เป็นเต้าจู่ไท่ซ่างเหลาจวิน (道祖太上老君) ในความหมายก็คือ ศาสดาแห่งลัทธิเต๋านั่นเอง



*จ้าวอู๋หลิงหวาง (赵武灵王)
จ้าวอู๋หลิงหวาง (ปี 340 ก่อนคริสต์ศักราช ถึง ปี 295 ก่อนคริสต์ศักราช) เจ้าครองรัฐจ้าวในปลายสมัยสงครามจ้านกั๊ว ในช่วงสมัยที่จ้าวอู๋หลิงหวางปกครอง ผลักดันนโยบายหูฝูฉีเซ่อ (胡服骑射, เรียนรู้ข้อดีจากผู้อื่น) ดังนั้นจึงทำให้รัฐจ้าวเข้มแข็งขึ้นมา ทำลายรัฐจงซาน (中山) มีชัยชนะต่อชนเผ่าหลินหู (林胡) ชนเผ่าโหลวฝาน (楼烦)สองเผ่า ชนเผ่าพี่หยินจง (辟云中) ชนเผ่าย่าเหมิน (雁门) สามเขตดินแดนของรัฐไต้ (代) พร้อมทั้งก่อสร้างกำแพงเมืองรัฐจ้าว



*หลี่คุย (李悝)
หลี่คุย (ปี 455 ก่อนคริสต์ศักราช ถึง ปี 395 ก่อนคริสต์ศักราช) เป็นชาวรัฐเว่ยในสมัยสงครามจ้านกั๊ว เป็นนักการเมืองที่มีชื่อเสียงโด่งดังสมัยสงครามจ้านกั๊ว เป็นผลผลิตของสำนักฝ่าเจีย ในการปฎิรูปการเมืองของรัฐเว่ย คือ จุดเริ่มต้นของการปฎิรูปการเมืองในประเทศจีนซึ่งมีอิทธิพลอย่างลึกซึ้งต่อประวัติศาสตร์จีน ในช่วงนั้นทำให้รัฐอื่นตกตะลึงในการเปลี่ยนแปลง ซึ่งนำไปสู่การปฎิรูปประเทศครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์จีน เป็นการเปิดทางจากระบบข้าทาสกลายเป็นระบบศักดินา ต่อมาได้มีแนวทางปฎิรูปของ ซางยาง (商鞅) นักการเมืองที่มีชื่อเสียงของจีน แนวทางการปฎิรูปของอู๋ชี่ (吴起) เป็นต้น ทั้งหมดได้รับอิทธิพลมาจากแนวทางปฎิรูปของหลี่คุย



*เซินปู้ไห้ (申不害)
เซินปู้ไห้ (ประมาณ ปี 385 ก่อนคริสต์ศักราช ถึง ปี 337 ก่อนคริสต์ศักราช) หรือที่เรียกกันว่า เซินจือ (申子) เป็นคนจากเมืองเจิ้งหาน (郑韩, ปัจจุบัน คือ เมืองซินเจิ้ง新郑 มณฑลเหอหนาน) เป็นนักคิดที่มีชื่อเสียงของรัฐหานในสมัยสงครามจ้านกั๊ว เขาทำงานรับใช้รัฐหานเป็นสมุหนายกอยู่ยาวนานถึง 19 ปีทำให้รัฐหานมีความเข้มแข็งทั้งการทหารและการเมือง



*ซางยาง (商鞅)
ซางยาง (ประมาณปี 390 ก่อนคริสต์ศักราช ถึง ปี 338 ก่อนคริสต์ศักราช) เป็นผลผลิตจากสำนักฝ่าเจีย เป็นนักคิด นักการเมือง นักปกครอง นักการทหาร นักปฎิรูป รัฐบุรุษผู้ยิ่งใหญ่มีชื่อเสียงมากในสมัยยุคกลางของสงครามจ้านกั๊ว แซ่เดิม คือ กงซุน (公孙) ตามมารดาซึ่งเป็นพระนางสนม เป็นลูกหลานของเจ้าครองรัฐรัฐเว่ย (卫) ดังนั้นจึงมีคนเรียกชื่อท่านว่า เว่ยยาง (卫鞅) กงซุนหยาง (公孙鞅) ภายหลังได้รับแต่งตั้งเปลี่ยนเป็น ซาง (商) คนรุ่นหลังจึงเรียกนามท่านว่า ซางยาง ซางยางทำงานรับใช้มีอำนาจอยู่ในรัฐฉินนานถึง 19 ปี ประสบความสำเร็จในการปฎิรูปรัฐฉินจนมีชื่อเสียงโดดเด่นรู้จักกันในนามการปฎิรูปการเมืองของซางยาง (商鞅变法, ซางยางเปี้ยนฝ่า) ซางยางเมื่อวัยเยาว์ มีความสามารถเชี่ยวชาญในการปกครองด้วยกฎหมาย เป็นคนที่มากไปด้วยความรู้ จากนั้นทำงานอยู่ในอาณัติของกงชูชั๋ว (公叔痤) สมุหนายกรัฐเว่ย (魏) หลังจากกงชูชั๋วเสียชีวิตซางยางได้ยินกิตติมศักดิ์ของฉินเสี้ยวกง (秦孝公) เป็นคนมีความสามารถและวิสัยทัศน์ดีมาก เลือกและใช้งานคนที่มีความสามารถ ดังนั้นจึงมุ่งหน้าสู่รัฐฉิน ผ่านการตรวจสอบจากขันทีประจำราชสำนักซางยางจึงได้เข้าเฝ้าฉินเสี้ยวกง ซางยางอธิบายเกี่ยวกับนโยบายการปฎิรูปรัฐ ฉินเสี้ยวกงถูกใจและดีใจเป็นอันมาก ปี 359 ก่อนคริสต์ศักราช ซางยางดำรงตำแหน่งเสนาบดีฝ่ายซ้าย (左庶长.จั่วซู่ฉาง) เริ่มต้นงานปฎิรูป หลังจากนั้นกำหนดมาตราชั่ง ตวง วัดสินค้าเกษตรจำนวนขนาดใหญ่ ปี 340 ก่อนคริสต์ศักราช นำทัพรัฐฉินและรัฐจ้าวเข้าตีรัฐเว่ยจนพ่ายแพ้ จึงได้รับแต่งตั้งเปลี่ยนแซ่ใหม่เป็น ซาง จึงมีคนขนานนามว่า ซางจวิน (商君) ปี 338 ก่อนคริสต์ศักราช ฉินเสี้ยวกงสิ้นพระชนม์ ซางยางถูกกล่าวหาว่าเป็นกบฎและถูกลงโทษประหารชีวิตโดยถูกรถม้าแยกร่างออกเป็นห้าชิ้น



*ซุนปิ้น (孙膑)
ซุนปิ้น (ไม่ทราบปีเกิด ตายปี 316 ก่อนคริสต์ศักราช) แซ่ ซุน ไม่มีชื่อระบุ เป็นนักยุทธศาสตร์การทหารในยุคสงครามจ้านกั๊ว เนื่องจากผ่านการลงโทษทรมานกรรมโดยการตัดเส้นเอ็นสะบ้าและหัวเข่า ผู้คนจึงเรียกขานว่า ซุนปิ้น เขาเป็นลูกหลานรุ่นหลังของซุนวู่ (孙武) ผู้เขียนตำราพิชัยสงครามจีน เกิดในยุคสงครามจ้านกั๊วในดินแดนรัฐฉีแถบอาจ่วน (阿鄄, ปัจจุบัน คือ ดินแดนระหว่างอาเฉิงเจิ้ง阿城镇 เขต หยางกู่เสี้ยน阳谷县กับ เขต จ่วนเฉิงเสี้ยน鄄城县 ตอนเหนือ มณฑลซานตง) ในสมัยสงครามจ้านกั๊วได้รับการแต่งตั้งจากเจ้าครองรัฐฉีให้เป็นที่ปรึกษาทางการทหาร ช่วยรัฐฉีทำสงครามมีชัยชนะในสงครามกุ้ยหลิง (桂陵) และสงครามหม่าหลิง (马陵)



*หลู่ปู้เหวย (吕不韦)
หลู่ปู้เหวย (ไม่ทราบปีเกิด ตาย ปี 235 ก่อนคริสต์ศักราช) เป็นนักธุรกิจ นักการเมือง และนักคิดปลายสมัยสงครามจ้านก๊ว ต่อมาได้เป็นสมุหนายกของรัฐฉิน เป็นชาวรัฐเว่ย (卫) เมืองผูหยาง (濮阳 ปัจจุบัน คือ เมืองผูหยาง มณฑลเหอหนาน) หลู่ปู้เหวย คือ พ่อค้าใหญ่แห่งเมืองหยางไจ๋ (阳翟, ปัจจุบัน คือ เมืองยวี่โจว 禹州 มณฑลเหอหนาน) บ้านเกิดอยู่บนถนนต้าหลู่เจย (大吕街) ทางตอนใต้ของเมือง เขาไปมายังเมืองต่างๆเกือบทุกแห่ง เพื่อซื้อหาสินค้าราคาถูกเพื่อมาขายราคาแพง ดังนั้นจึงสะสมทรัพย์สินเงินทองได้เป็นจำนวนมาก ในสมัยที่หลู่ปู้เหวยทำการค้าอยู่ที่รัฐจ้าว มีโอกาสได้รับทราบเรื่องราวของการส่งเจ้าชายรัฐฉินมาเป็นองค์ประกันที่รัฐจ้าว ซึ่งเจ้าชายฉินองค์นี้ก็คือบิดาของจักรพรรดิฉินสื่อฮวาง ภายหลังเจ้าชายฉินองค์นี้ซึ่งมีนามว่า จือฉู่ (子楚) ได้ขึ้นครองรัฐฉิน มีพระนามว่า ฉินจวงเซียงหวาง (秦庄襄王) หลี่ปู้เหวยเห็นเจ้าชายองค์นี้เป็นสินค้าที่มีคุณค่าน่าลงทุน ตัดสินใจอุปการะช่วยเจ้าชายจือฉู่ให้กลับคืนสู่รัฐฉินและหาโอกาสให้ได้ขึ้นครองรัฐ ปี 251 ก่อนคริสต์ศักราช ฉินจ้าวเซียงหวาง (秦昭襄王) สิ้นพระชนม์ มกุฎราชกุมารตามกฎมณเฑียรบาลได้ขึ้นครองรัฐ ซึ่งก็คือ ฉินเสี้ยวเหวินหวาง (秦孝文王) แต่สามวันต่อมากลับสิ้นพระชนม์กะทันหัน เจ้าชายจือฉู่จึงได้ขึ้นครองรัฐ ซึ่งก็คือ ฉินจวงเซียงหวาง หลู่ปู้เหวยดำรงตำแหน่งสมุหนายก สามปีต่อมาฉินจวงเซียงหวางป่วยสิ้นพระชนม์ มกุฎราชกุมารน้อยอายุ 13 ปีขึ้นครองรัฐต่อมากลายเป็นจักรพรรดิฉินสื่อฮวาง (จักรพรรดิจิ๋นซีฮ่องเต้) หลู่ปู้เหวยมีฐานะเป็นบิดาบุญธรรมของพระองค์ จักรพรรดิฉินสื่อฮวางพบว่าพระราชมารดาและหลู่ปู้เหวยลอบคบเป็นชู้กัน จึงไล่หลู่ปู้เหวยออกจากตำแหน่งสมุหนายกและเนรเทศไปยังแดนไกล สุดท้ายหลู่ปู้เหวยดื่มยาพิษฆ่าตัวตาย ในสมัยที่หลู่ปู้เหวยมีอำนาจดำรงตำแหน่งสมุหนายกรัฐฉินได้สั่งให้เขียนแขวนป้ายหน้าประตูเมิงเค่อ (门客) ซึ่งมีชื่อเสียงว่า หลู่ซื่อชุนชิว (吕氏春秋) แต่ละเมิงเค่อของหลู่ปู้เหวยมีคนอาศัยสามพันคน ประทับตราว่า หลู่หล่าน (吕览) เขาเป็นผลผลิตของสำนักแนวคิดจ๋าเจีย (杂家)



*จิงเคอ (荆轲)
จิงเคอ (ไม่ทราบปีเกิด ตาย ปี 227 ก่อนคริสต์ศักราช) มือสังหารที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในประวัติศาสตร์จีนโบราณ หรือรู้จักกันในนาม ชิ่งชิง (庆卿) จิงชิง (荆卿) ชิ่งเคอ (庆轲) มกุฎราชกุมารตานเฉิง (丹曾) แห่งรัฐเยี้ยนมาเป็นองค์ประกันที่รัฐฉิน เมื่อได้โอกาสกลับรัฐเยี้ยนจึงคิดวางแผนแก้แค้น เสาะหามือสังหารทั่วรัฐที่จะสามารถลอบฆ่าฉินหวางเจิ้ง (秦王政, จักรพรรดิฉินสื่อฮวาง) จึงได้ตัวจิงเคอ จิงเคอเพื่อจะทำให้ฉินหวางเจิ้งสร้างความไว้ใจในตัวเขาจึงตกลงให้ฝานยวี๋ชี (樊於期,ขุนพลรัฐฉินแปรพักตร์ไปเข้ากับรัฐเยี้ยน) ฆ่าตัวตายแล้วตนจะตัดหัวลอบหนีออกจากรัฐเยี้ยนไปส่งมอบให้ฉินหวางเจิ้ง พร้อมด้วยแผนที่ม้วนเมือง ตูข้าง (督亢) ของรัฐเยี้ยน แต่ภายในแผนที่ม้วนซ่อนกริชอาบยาพิษเพื่อเอาไว้สังหารฉินหวางเจิ้ง เมื่อเริ่มต้นลงมือจิงเคออยู่ที่ริมแม่น้ำอี้สุ่ย (易水) ซึ่งมีลมพัดหวิวหวิวพัดมาตามแม่น้ำอี้สุ่ยจนรู้สึกถึงความหนาวคล้ายกับว่าวีรบุรุษมือสังหารจะลาจากไปชั่วนิรันดร์ ผู้ร่วมติดตามจิงเคอมาด้วยคือนักรบอายุยังอ่อนรัฐเยี้ยน ฉินอู่หยาง (秦武阳) เมื่อมาถึงรัฐฉิน จิงเคอขออนุญาตฉินหวางเจิ้งเข้าเฝ้าอย่างใกล้ประชิดตัวเพื่อจะได้อธิบายรายละเอียดของแผนที่ที่นำมาถวาย คลี่แผนที่มาจนถึงกริชอาบยาพิษที่ซ่อนไว้แล้วจึงลงมือสังหารฉินหวางเจิ้ง แต่การลงมือล้มเหลว จิงเคอและฉินอู่หวางทั้งสองถูกทหารองครักษ์ฉินฆ่าตายในท้องพระโรง



*ชวีหยวน (屈原)
ชวีหยวน (ปี 340 ก่อนครืสต์ศักราช ถึง ปี 278 ก่อนคริสต์ศักราช ปีเกิดและปีตายยังเป็นที่สงสัยกันอยู่ว่า เกิด ปี 353 ก่อนคริสต์ศักราช หรือ ปี 355 ก่อนคริสต์ศักราช ปีตาย คือ ปี 283 ก่อนคริสต์ศักราช หรือ ปี 269 ก่อนคริสต์ศักราช) แซ่ ชวี มีชื่อว่า ผิง (平) หรือ อีกชื่อหนึ่งว่า หยวน (原) แล้วใช้ชื่อตนเองเป็นทางการว่า หลิงจวิน (灵均) เป็นชาวฮั่น เป็นชาวเมืองตานหยาง (丹阳, ปัจจุบัน คือ เมืองจือกุย秭归 มณฑลหูเป่ย) รัฐฉู่ ในยุคสงครามจ้านกั๊ว เป็นลูกของ ชวีเสีย (屈瑕) ลูกชายของฉู่อู่หวาง สยงทง (楚武王熊通) ชวีหยวนทำงานรับใช้จงรักภักดีต่อฉู่หวยหวาง (楚怀王) แต่ถูกกีดกันให้อยู่แต่ภายนอก หลังจากฉู่หวยหวางสิ้นพระชนม์ กลับโดนปรักปรำใส่ร้ายให้แก่ฉิ่งเซียงหวาง (顷襄王) จนถูกเนรเทศ ในที่สุดตัดสินใจกระโดดแม่น้ำมี้โหลว (汨罗) ฆ่าตัวตาย ชวีหยวน คือหนึ่งในนักกวีโรแมนติกผู้ยิ่งใหญ่ของประเทศจีน เขาเป็นนักกวีจีนที่มีชื่อเสียงคนแรกที่เก่าแก่ที่สุด เขาเป็นผู้สร้างสรรบทเพลงแห่งรัฐฉู่ (楚辞, ฉู่สือ) ที่เป็นเอกลักษณ์ของรัฐ เขายังเป็นผู้เริ่มต้นสร้างสรรประเพณีรักชาติและจงรักภักดีต่อกษัตริย์และราชสำนัก ผลงานประพันธ์ของเขาคือ หลีเซา (离骚) และ จิ่วเกอ (九歌, บทเพลงที่เก้า) เป็นต้น สำนวนการเขียนของเขาสวยสดงดงาม จินตนาการหลากหลาย สร้างสรรสำนวนแปลกใหม่ มีความหมายลึกซึ้ง กลายเป็นหนึ่งในแหล่งที่มาของวรรณกรรมจีน ในปี ค.ศ. 1953 สภาสันติภาพโลกมีมติหลังจากที่ชวีหยวนเสียชีวิตครอบรอบ 2230 ปีให้ชวีหยวนเป็นหนึ่งในสี่คนดังมีชื่อเสียงทางด้านวัฒนธรรมโลกที่ควรค่าแก่การจดจำ



==สงครามชุนชิวจ้านกั๊วกับปัจจุบัน==
สงครามชุนชิวจ้านกั๊วกินเวลายาวนานกว่า 500 ปี ในระหว่างสงครามแต่ละรัฐผลัดกันแพ้ผลัดกันชนะ มีผลกระทบต่อมนุษยชาติเนื่องจากการรบสงครามที่ไม่จบไม่สิ้น เป็นสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา ในสมรภูมิสงครามพบเห็นอาวุธยุทโธปกรณ์แปลกใหม่ มีการวางแผนการรบในค่ายทหาร พร้อมทั้งกลยุทธ์ในการเจรจาต่อรอง เป็นมรดกตกทอดสู่คนรุ่นหลังซึ่งเป็นวรรณกรรมประวัติศาสตร์จีนคลาสสิกอันมากมายที่ทุกคนคุ้นเคยได้ยินนับเป็นจำนวนหลายๆครั้ง ในเวทีประวัติศาสตร์สมัยสงครามชุนชิวจ้านกั๊ว ไม่ว่าจะเกิดมาเป็นชนชั้นสูงศักดิ์หรือเกิดมาเป็นชนชั้นต่ำต้อย ไม่ว่าจะเกิดมาเป็นคนมีชื่อเสียงหรือเกิดมาเป็นคนเดินดินตามท้องถนน ไม่ว่าจะเกิดมาเป็นคนแก่หรือเด็กทารก ตราบใดที่มีความสามารถ มีความคิด สามารถทำให้ระบบศักดินายกย่องเคารพบูชาและนำตัวมารับใช้เพื่อแสดงความสามารถให้ปรากฎ ซูฉิน (苏秦) จางอี๋ (张仪) ก่วนจ้ง (管仲) ฟ่านจี (范雎) ต่างเกิดจากครอบครัวสามัญชนคนธรรมดา เมื่อแก่มีที่ดินเป็นร้อยลี้ วัยเยาว์เป็นอัจฉริยะเมื่อผ่านโลกมานานยังใช้ชีวิตสมถะดังเด็กอายุสิบสองปี การปฎิรูปและสงครามแย่งชิงอำนาจดำรงอยู่ร่วมกันคือภาวะสังคมอย่างมีนัยสำคัญในสมัยสงครามชุนชิวจ้านกั๊ว สามารถกล่าวได้ว่า ผู้ครองรัฐเรืองอำนาจแต่ละคนที่ปรากฎในสมัยสงครามชุนชิวจ้านกั๊วเป็นผลลัพธ์ของการปฎิรูป ดังนั้นเจ้าครองรัฐยิ่งใหญ่ทั้งเจ็ดในยุคสงครามจ้านกั๊วจึงสามารถผนวกดินแดนแผ่นดินจีนอันกว้างใหญ่ได้ นี่คือผลงานของการปฎิรูป เหตุผลก็คือสงครามการแย่งชิงอำนาจต้องอาศัยการเมืองและเศรษฐกิจสนับสนุน การปฎิรูปเป็นวิธีการที่จำเป็นและรวดเร็วเพื่อยกระดับความเข้มแข็งและอำนาจให้แก่เจ้าครองรัฐ จากยุคสงครามชุนชิวถึงสงครามจ้านกั๊ว คือการปฎิรูปแล้วปฎิรูปอีก ทำสงครามแล้วทำสงครามอีก ในการปฎิรูปทำไห้ประเทศจีนเจริญเข้มแข็งขึ้น ในการทำสงครามทำให้ประเทศรวมอำนาจเป็นปึกแผ่น สังคมในสมัยสงครามชุนชิวจ้านกั๊วก็คือการพัฒนาและความก้าวหน้าในภาวะสถานการณ์ดังกล่าว
{{clear}}
{{clear}}



รุ่นแก้ไขเมื่อ 23:46, 21 ธันวาคม 2557

รณรัฐ (จีนตัวย่อ: 战国; จีนตัวเต็ม: 戰國; พินอิน: Zhànguó; อังกฤษ: Warring States) เป็นชื่อยุคหนึ่งในประวัติศาสตร์จีนโบราณ ถัดจากยุควสันตสารท และสิ้นสุดลงเมื่อฉินฉื่อหฺวังตี้รวมแผ่นดินในปีที่ 221 ก่อนคริสตกาล เป็นผลให้รัฐต่าง ๆ ที่รบรากันได้รวมเป็นหนึ่ง คือ จักรวรรดิฉิน

ยุครณรัฐเริ่มขึ้นเมื่อใดนั้น นักวิชาการว่าไว้ต่างกัน ซึ่งมักตกในระหว่างปีที่ 481 ถึงปีที่ 403 ก่อนคริสตกาล แต่ซือหม่า เชียน นักประวัติศาสตร์ในราชวงศ์ฮั่น ว่า เริ่มเมื่อปีที่ 221 ก่อนคริสตกาล และข้อเขียนของซือหม่า เชียนนี้เป็นที่อ้างอิงกันมาก ส่วนชื่อ "รณรัฐ" นั้นเรียกตามชื่อหนังสือ "พิชัยสงครามรณรัฐ" (戰國策 Zhàn Guó Cè; Strategies of the Warring States) ยุครณรัฐเริ่มขึ้นเมื่อใดนั้น นักวิชาการว่าไว้ต่างกัน ซึ่งมักตกในระหว่างปีที่ 481 ถึงปีที่ 403 ก่อนคริสตกาล แต่ซือหม่า เชียน นักประวัติศาสตร์ในราชวงศ์ฮั่น ว่า เริ่มเมื่อปีที่ 221 ก่อนคริสตกาล และข้อเขียนของซือหม่า เชียนนี้เป็นที่อ้างอิงกันมาก ส่วนชื่อ "รณรัฐ" นั้นเรียกตามชื่อหนังสือ "พิชัยสงครามรณรัฐ" (戰國策 Zhàn Guó Cè ?; Strategies of the Warring States)หรือที่คนไทยรู้จักในชื่อ "ยุคจั้นกั๋ว" ยุคสมัยของสงครามชุนชิวจ้านกั๊ว (770 ปีก่อนคริสต์ศักราช-221 ปีก่อนคริสต์ศักราช) หรือเป็นที่รู้จักกันดีอยู่ในยุคราชวงศ์โจวตะวันออก (东周) ในสมัยราชวงศ์โจวตะวันตก (西周) ราชวงศ์โจวยังรักษาและครอบครองอำนาจสมบูรณาญาสิทธิราชอย่างเบ็ดเสร็จ หลังจากกษัตริย์ผิงหวาง (平王) ตะวันออกขึ้นครองราชย์ เป็นการเปิดรัชสมัยของราชวงศ์โจวตะวันออก ราชวงศ์โจวตะวันออกก็เริ่มต้นเสื่อมอำนาจลง มีแต่เพียงพระนามของกษัตริย์ที่ยังปรากฎแต่ไม่มีอำนาจแท้จริงที่จะปกครองประเทศ ในขณะที่สภาพสังคมและเศรษฐกิจของแต่ละรัฐแตกต่างกัน เกิดสถานการณ์รัฐใหญ่ๆก่อสงครามเพื่อแย่งชิงกันเป็นใหญ่ แต่ละรัฐต่างผนวกดินแดนและทำสงครามเพื่อรวบรวมดินแดนต่างๆให้เป็นเอกภาพ ดังนั้นในสมัยราชวงศ์โจวตะวันออกสังคมเกิดกลียุคเกิดเงื่อนไขในการสร้างประเทศเป็นเอกภาพ กลายเป็นสงครามแย่งอำนาจระหว่างรัฐที่ชาวจีนเรียกว่า ชุนชิวจ้านกั๊ว (春秋战国)



การแบ่งยุคสมัย ชุนชิว และ จ้านกั๋ว

สงครามชุนชิว (770 ปีก่อนคริสต์ศักราช-476 ปีก่อนคริสต์ศักราช) สงครามจ้านกั๊ว (475 ปีก่อนคริสต์ศักราช-221 ปีก่อนคริสต์ศักราช) ตามประวัติศาสตร์โดยทั่วไปกล่าวถึงสามแคว้นใหญ่ เถียนซื่อ (田氏) นำรัฐฉี (齐) เข้าทำสงครามชุนชิวจ้านกั๊วเพื่อแบ่งแยกและผนวกดินแดน ในยุคสงครามชุนชิวจ้านกั๊ว ประวัติศาสตร์มีความเห็นที่แตกต่างกันในการสิ้นสุดสงครามชุนชิวและเริ่มต้นสงครามจ้านกั๊ว หรือใช้ยุคสงครามชุนชิวสิ้นสุดคือบันทึกสิบสี่ปีก่อนตายของลู่อ้ายกง (鲁哀公) คือ 481 ปีก่อนคริสต์ศักราชเป็นตัวกำหนด หรือในสมัยโจวหยวนหวาง (周元王) ขึ้นครองราชย์ปีแรก (475 ปีก่อนคริสต์ศักราช) เป็นปีเริ่มต้นสงครามจ้านกั๊ว หรือในสมัยโจวเจินติ้งหวาง (周贞定王) ขึ้นครองราชย์ปีแรก (468 ปีก่อนคริสต์ศักราช) เป็นตัวกำหนด

  • ที่มาของชื่อเรียก

สงครามชุนชิวจ้านกั๊วเดิมทีแบ่งเป็นสองช่วงเวลาจากสงครามชุนชิวจนกลายเป็นสงครามจ้านกั๊ว (สงครามสู้รบระหว่างรัฐ) ในประเทศจีนสมัยโบราณชุนจี้ (春季,ฤดูใบไม้ผลิ) และ ชิวจี้ (秋季,ฤดูใบไม้ร่วง) เป็นฤดูขององค์ชายเฉาจิ้นหวาง (朝觐王) นอกจากนี้ชุนชิวในสมัยจีนโบราณเป็นการแสดงถึงฤดูกาลสี่ฤดูในหนึ่งปีของประเทศจีน อีกทั้งการบันทึกในประวัติศาสตร์เป็นการแสดงให้เห็นเหตุการณ์สำคัญๆต่างๆที่เกิดขึ้นในสี่ฤดูกาลตลอดปี ดังนั้น “ชุนชิว” จึงคือชื่อเรียกรวมเหตุการณ์สำคัญช่วงหนึ่งในประวัติศาสตร์จีน ในขณะที่ธรรมเนียมประเพณีจีนโบราณถือว่า “ชุนชิว” มาจากชื่องานบทประพันธ์ของขงจื่อ (孔子) และยังมีบางคนเข้าใจว่าเป็นงานรวบรวมบทประพันธ์เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของขุนนางรัฐลู่ (鲁) ตามความเห็นของ หนานหวยจิ่ง (南怀瑾) นักวิชาการที่มีชื่อเสียงชาวไต้หวันอธิบายว่า ชุนชิว มีความหมายว่า ฤดูใบไม้ผลิผ่านไปฤดูใบไม้ร่วงมาเข้ามา เป็นการลำดับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงบันทึกไว้เป็นประวัติศาสตร์ และสงครามจ้านกั๊วมีที่มาจากจ้านกั๊วเช่อ (战国策,กลยุทธสงครามระหว่างรัฐ) ซึ่งก็คือบันทึกประวัติศาสตร์ของแต่ละรัฐในสมัยนั้น รวบรวมและประพันธ์โดยหลิวเซี่ยง (刘向) ในสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันตก


เบื้องหลังทางประวัติศาสตร์

ในช่วงเวลาของสงครามชุนชิวจ้านกั๊ว ระบบเก่าเก่าและระบบการปกครองอำนาจแบบเก่าเก่าถูกทำลายลง ระบบใหม่และระบบการปกครองอำนาจแบบใหม่ถูกสถาปนาขึ้น กลุ่มอำนาจปกครองใหม่เติบโตขยายมากขึ้น เบื้องหลังที่ซ่อนลึกอยู่ในห้วงเวลาของการเปลี่ยนแปลงทางสถานการณ์และการเปลี่ยนแปลงรากฐานทางสังคม คือ การปฎิวัติอุตสาหกรรมการผลิตเหล็ก การพัฒนากำลังการผลิตในที่สุดนำไปสู่การเคลื่อนไหวของการปฎิรูปเปลี่ยนแปลงของแต่ละรัฐและการสถาปนาระบอบศักดินาเกิดขึ้น ทั้งยังนำไปสู่การเจริญรุ่งเรืองทางอุดมการณ์ความคิดและวัฒนธรรม

เบื้องหลังทางการเมืองและสังคม

เพื่อให้เข้าใจเหตุการณ์ก่อนป๊ 221 ก่อนคริสต์ศักราชก่อนที่ราชวงศ์ฉินจะสถาปนาขึ้น เราต้องทำความเข้าใจให้ลึกซึ้งถึงสถานการณ์การเมืองและสังคมในสมัยราชวงศ์โจว (ยุคจีนโบราณตั้งแต่ปี 1122 ก่อนคริสต์ศักราช ถึงปี 256 ก่อนคริสต์ศักราช) ในยุคนั้นในปลายสองสามศตวรรษสุดท้ายแห่งความวุ่นวายได้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างยิ่งใหญ่หลากหลายด้านที่มีผลกระทบสำคัญต่อชนชาวฮั่น ในสมัยราชวงศ์โจวตะวันตก (西周, ซีโจว) ราชวงศ์โจวยังคงรักษาการผูกขาดอำนาจทั้งหมดไว้ในมือ หลังจากกษัตริย์ผิงหวาง (平王) ขึ้นครองราชย์ ราชวงศ์โจวตะวันออก (东周,ตงโจว) จึงสถาปนาขึ้น อำนาจราชวงศ์โจวตะวันออกเริ่มเสื่อมทรามลง มีแต่ชื่อที่เหลือไว้ว่าเป็นกษัตริย์ปกครองประเทศ แต่ไม่มีอำนาจปกครองบริหารประเทศอย่างแท้จริง สมัยเมื่อราชวงศ์โจวล้มล้างราชวงศ์ซาง (商朝, ซางเฉา ประมาณปี 1025 ก่อนคริสต์ศักราช หรือ อาจจะเป็นปี 1122 ก่อนคริสต์ศักราชยึดถือตามแบบจีนโบราณ) ขุนนางที่ปกครองดินแดนใหม่ที่ยึดได้จากมีชัยชนะก็คือพระราชโอรสและพระวงศาคณาญาติทั้งหลายของกษัตริย์ พันธมิตรที่ใกล้ชิดและลูกหลานของอดีตผู้ปกครองราชวงศ์ซางยังคงได้รับอนุญาตให้ดูแลปกครองดินแดนเดิมที่ได้รับยึดถือเป็นกรรมสิทธิ์ ดังนั้นประเทศจีนจึงถูกแบ่งแยกเป็นกลุ่มการเมืองรัฐต่างๆมากมาย เชื่อกันว่าในสมัยสงครามชุนชิวราชวงศ์โจวตะวันออก (ปี 722 ก่อนคริสต์ศักราช ถึง ปี 481 ก่อนคริสต์ศักราช) มีกลุ่มการเมืองรัฐต่างๆในประเทศจีนถึง 170 กลุ่ม แน่นอนส่วนใหญ่ของกลุ่มการเมืองรัฐต่างๆเหล่านั้นมีขนาดเล็ก และภายในกลุ่มรัฐเล็กๆเหล่านั้นยังแตกแยกเป็นกลุ่มหัวย่อยๆอีก ทั้งยังต้องแบ่งสรรอำนาจให้กับเพื่อนฝูง วงศาคณาญาติและเจ้าหน้าที่รัฐอีก เมื่อผ่านมาถึงขั้นนี้เนื่องจากมีการทำสงครามกันอยู่อย่างต่อเนื่อง ผู้ปกครองรัฐต่างๆถูกทำลายล้างเป้นจำนวนมาก หรือไม่ก็ถูกรุกรานแย่งชิงดินแดนจนดินแดนเล็กลง ดังนั้นเมื่อผ่านมาถึงสงครามจ้านกั๊วในยุคถัดมาของราชวงศ์โจวตะวันออก (ปี 403 ก่อนคริสต์ศักราช ถึง ปี 221 ก่อนคริสต์ศักราช) จึงเหลือรัฐใหญ่ๆอยู่เพียงแค่ 7 รัฐ เจ็ดรัฐใหญ่เหล่านั้นประกอบด้วยรวมทั้งครอบครัวชาวฮวาเซี่ย (华夏, ชื่อเรียกชาวจีนสมัยโบราณ) ที่อยู่แดนไกลและรัฐฉิน (秦) ซึ่งอยู่ทางตะวันตก ปี 770 ก่อนคริสต์ศักราชพวกอนารยชนป่าเถื่อนได้เข้าตีขับไล่บีบบังคับให้พระราชวงศ์โจวต้องอพยพหนีออกจากซีอานในปัจจุบัน (มณฑลส่านซี陕西) ใกล้กับเมืองซีตู (西都) ไปตั้งหลักแหล่งที่เมืองลั่วหยาง (洛阳 มณฑลเหอหนาน河南) ในปัจจุบันสร้างเมืองหลวงใหม่ และเป็นเมืองหลวงที่อยู่ทางทิศตะวันออกของเมืองหลวงเก่าสถาปนาราชวงศ์ขึ้นมาใหม่เป็นราชวงศ์โจวตะวันออก (แต่ดินแดนที่อยู่ในการปกครองของราชวงศ์เล็กลงและพระราชอำนาจเสื่อมลงอ่อนแอไม่เหมือนแต่ก่อน) ราชวงศ์โจวได้สูญเสียอำนาจทางการเมืองและอำนาจปกครองสูญสิ้น ผู้ปกครองรัฐต่างๆเหล่านี้เมื่อผ่านพ้นมาถึงยุคต้นของสงครามจ้านกั๊วต่างตั้งรัฐตนเองเป็นรัฐอิสระไม่ขึ้นกับราชวงศ์หรือรัฐใดๆ


การเมือง

เมื่อราชวงศ์โจวสถาปนาขึ้นการสืบทอดราชอำนาจปกครองประเทศมาจากคนในครอบครัวจากพระราชบิดาสู่พระราชโอรส ขึ้นอยู่กับว่ากษัตริย์จะสิ้นพระชนม์เมื่อไหร่ นานๆไปได้กลายเป็นพันทนาการโซ่ตรวนผูกมัดระบบการปกครองราชวงศ์โจว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปี 770 ก่อนคริสต์ศักราช ที่ราชวงศ์โจวถูกพวกอนารยชนตีถูกบีบบังคับให้อพยพจากตะวันตกมาสู่ตะวันออก พระราชอำนาจของราชวงศ์ถูกรัฐต่างๆภายใต้ราชวงศ์ปฎิเสธเพิกเฉยต่อพระราชอำนาจ อันที่จริงแล้วก็คือ ต่างลืมไปแล้วว่าราชวงศ์มีพระราชอำนาจอยู่ ดังนั้น ในปี 256 ก่อนคริสต์ศักราช ในที่สุดรัฐฉินก็ทำลายล้มล้างราชวงศ์โจวซึ่งไม่มีนัยยะสำคัญใดๆทางการเมือง ในช่วงเวลาก่อนหน้านั้นผู้ปกครองรัฐต่างๆภายใต้อำนาจของราชวงศ์โจวแต่ก่อนต่างได้พัฒนารัฐตนเองกลายเป็นรัฐเอกราชพร้อมทั้งมีการแบ่งแยกกันตามความแตกต่างทางด้านภาษาและประเพณีวัฒนธรรมที่อยู่ร่วมกัน แต่รัฐต่างๆก็มีความร่วมมือกันทางทหารและมีการตั้งด่านป้อมค่ายตรวจตราและเก็บภาษี เตรียมพร้อมที่จะสู้รบหรือเป็นพันธมิตรกันทั้งแนวตั้งและแนวนอนตามกลยุทธการเมือง บางครั้งก็รู้รบปรบมือกัน บางครั้งก็เป็นพันธมิตรกัน ในขณะเดียวกันภายในแต่ละรัฐต่างมีระบอบการปกครองแบบรวมศูนย์เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ เป็นการทำลายระบบการถือครองที่ดินตามระบอบศักดินาของเจ้าของที่ดินที่สืบทอดจากบรรพชนสู่ลูกหลานและทำลายผลประโยชน์ของขุนนางข้าราชการต่างๆ วิธีการหลัก คือ การรวบรวมที่ดินทั้งหมดกลับมาเป็นของรัฐ ที่ดินทั้งหมดนี้กลับมาเป็นของเจ้าผู้ปกครองรัฐหน้าใหม่ เจ้าผู้ปกครองรัฐเหล่านี้โดยทั่วไปได้รับการแต่งตั้งจากศูนย์อำนาจส่วนกลางของพระมหากษัตริย์รวมทั้งการจัดแบ่งอำนาจการจัดเก็บภาษีค่าธรรมเนียมและการจัดแบ่งอำนาจในการปกครอง ตำแหน่งของเจ้าปกครองรัฐเหล่านี้โดยทั่วไปไม่ได้เป็นตำแหน่งที่สืบทอดจากบิดาสู่บุตรหลาน การเริ่มต้นใช้ระบบนี้อาจเป็นเพื่อใช้ปกครองและจัดการกับรัฐอาณานิคมที่เกิดขึ้นใหม่จากการที่มีชัยชนะได้ครอบครองหรือผนวกควบดินแดนใหม่เข้ามาหรือเป็นดินแดนใหม่ที่ถูกจัดตั้งขึ้น แต่มันค่อยๆในที่สุดเปลี่ยนมาเป็นการแบ่งสรรที่ดินให้กับเจ้าครองรัฐและเจ้าครองที่ดินตามระบอบศักดินา อำนาจและความมั่งคั่งของเจ้าครองรัฐหรือเจ้าครองที่ดินดังนั้นจึงมีขอบเขตจำกัด ระบบรัฐหรือแคว้น (县,เซี่ยน)) เป็นหน่วยงานที่มีอยู่สองลักษณะเมื่อเปรียบเทียบกับความหมายของระบบแคว้นในเวลาก่อนหน้านี้ ระบบรัฐหรือแคว้นเกิดขึ้นครั้งแรกในปี 688 ก่อนคริศต์ศักราชในสมัยรัฐฉิน แต่มีเหตุผลที่จะตั้งข้อสงสัยในกาลเวลานั้นและคิดว่าระบบการปกครองแบบแคว้น (县,เซี่ยน) นี้มีต้นกำเนิดทางตอนใต้ของรัฐฉู่ (楚) ซึ่งแน่นอนในปี 598 ก่อนคริสต์ศักราชมีการกล่าวอ้างถึงแล้ว ลองคิดดูระบบแคว้นอาจมีมาตั้งแต่ก่อนหน้านั้นแล้ว ระบบรัฐ (郡,จวิ้น)มาภายหลังระบบแคว้น (县,เซี่ยน) บันทึกสมัยเริ่มแรกเอ้างถึงระบบแคว้นเกิดขึ้นในปี 400 ก่อนคริสต์ศักราช ประมาณสมัยรัฐเว่ย (魏) ระบบรัฐ (郡)ต่างมีทหารเป็นของรัฐตนเองซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับระบบแคว้น (县) จะเห็นความแตกต่างกันมากอย่างชัดเจน ระบบรัฐคือดินแดนใหม่ที่ยึดผนวกมาได้อยู่ติดชายแดนซึ่งถูกควบคุมและปกครองโดยอำนาจจากส่วนกลางของพระมหากษัตริย์ หรือในหลายๆกรณี ระบบแคว้นดูเหมือนจะถูกครอบครองบริหารและปกครองโดยเชื้อพระวงศ์หรือขุนนางผู้ใหญ่สืบทอดกันมาจากบรรพบุรุษสู่ลูกหลาน ในยุคเริ่มต้นรัฐมีความสำคัญน้อยกว่าแคว้น เพราะว่ารัฐตั้งอยู่ในเขตชายแดน แต่ถ้าเปรียบเทียบกันจริงๆ สถานการณ์แตกต่างกันมาก แคว้นในที่สุดได้กลายเป็นหน่วยงานภายใต้การบริหารของรัฐ เมื่อถึงปลายศตวรรษสุดท้ายสมัยราชวงศ์โจว รัฐหนึ่งๆสามารถแบ่งแยกเป็นแคว้นต่างๆได้หนึ่งแคว้นจนถึงยี่สิบกว่าแคว้น ระบบรัฐและแคว้นจึงมีนัยยะสำคัญมากจนจักรวรรดิราชวงศ์ฉิน และนักประวัติศาสตร์ในยุคต่อมานำมาถกเถียงกันในภายหลัง


เทคโนโลยี

แต่ก่อนนักโบราณคดีเชื่อว่า ประเทศจีนเริ่มต้นผลิตและใช้เหล็กนั้นไม่น่าจะช้ากว่าศตวรรษที่ 7 ก่อนคริสต์ศักราช หรือแม้กระทั่งไม่น่าจะช้ากว่าศตวรรษที่ 6 ก่อนคริสต์ศักราช ในเอกสารบันทึกม้วน หลักฐานวัสดุที่ค้นพบเก่าแก่ที่สุดพบในบันทึกจั่วฉวน (左传) ซึ่งถูกบันทึกในปี 513 ก่อนคริสต์ศักราช ว่าด้วยกฎหมายอาญาว่าด้วยการหล่อเหล็กและหลอมแท่นบูชาสามขา ในสมัยราชวงศ์จิ้น (晋) จากหลุมฝังศพในยุคสงครามจ้านกั๊วที่ขุดค้นพบได้ค้นพบอาวุธของทหาร เครื่องมือการเกษตรและเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันในสมัยนั้นทำมาจากเหล็ก นักวิชาการส่วนมากคิดว่าในศตวรรษนั้นผลิตผลทางเกษตรผลิตได้เพิ่มขึ้นอย่างมาก เนื่องจากการพัฒนาเทคโนโลยี่ในการผลิตเหล็กมีแนวโน้มที่จะเป็นปัจจัยหนึ่งในนั้น ปัจจัยอื่นๆอาจจะมีอยู่บ้าง อาทิ การเพิ่มขยายเทคนิคระบบชลประทานและการระบายน้ำ ประกอบกับการใช้ปุ๋ย โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือการทำเกษตรในพื้นดินขนาดใหญ่ผืนใหม่ แต่อย่างไรก็ดี เราไม่ควรเอาปัจจัยต่างๆและเทคนิคเหล่านี้มาคาดคะเน ตลอดยุคสงครามจ้านกั๊ว อุตสาหกรรมเหล็กตามที่กล่าวมายังคงมีขนาดเล็ก ในสมัยนั้นเหล็กส่วนใหญ่ยังคงเป็นเหล็กหล่อ ยังไม่ใช่เป็นการหลอมเหล็ก ดังนั้นจึงค่อนข้างอ่อนและเปราะ เครื่องมือส่วนใหญ่ยังคงใช้ทองเหลือง หิน ไม้หรือไม่ก็เปลือกหอย นอกจากนี้บางแง่มุมสำคัญของการปรับปรุงเทคโนโลยี่ทางการเกษตรให้ดีขึ้นเป็นการยากอย่างยิ่งโดยเฉพาะการที่จะวัดและกำหนดเวลาที่แน่นอน นอกจากนี้การนำเอาแรงงานสัตว์มาขุดไถพรวนดินแทนการทำเกษตรสมัยก่อนเกิดเป็นปัญหาระยะยาวในการเตรียมดินเพื่อการเกษตรก่อให้เกิดความขัดแย้ง ตามหลักฐานที่ยังคงไม่ชัดเจนประเทศจีนรู้จักการใช้เครื่องไถพรวนดินตั้งแต่ก่อนปี 400 ก่อนคริสต์ศักราช จนถึงหนึ่งหรือสองศตวรรษก่อนหน้านี้ แม้กระนั้นยังก่อนถึงสมัยราชวงศ์โจว บันทึกเก่าสุดที่กล่าวถึงเครื่องมือเหล่านี้อย่างชัดเจน ก็คือบันทึกในสมัยราชวงศ์ฮั่น (ประมาณ 90 ปีก่อนคริสต์ศักราช หรือ 85 ปีก่อนคริสต์ศักราช) แต่เครื่องมือต่างๆเหล่านี้ก็ยังคงใช้เวลายาวนานพอสมควรในการพัฒนาเบื้องต้น


ประชากร

การพัฒนาเปลี่ยนแปลงทางการเกษตรดูเหมือนมีแนวโน้มจะมาพร้อมกับการเจริญเติบโตของจำนวนประชากรถึงแม้ว่าจะมีสงครามเกิดขึ้นอยู่บ่อยๆ ในยุคสมัยสงครามจ้านกั๊ว มีเมืองต่างๆเกิดขึ้นอย่างมากมาย ขนาดของเมืองกว้างใหญ่ขึ้น และการออกแบบวางผังเมืองค่อนข้างซับซ้อน หนึ่งในสัญลักษณ์ต่างๆที่เห็น คือ การขุดค้นพบของนักโบราณคดีที่แสดงให้เห็นตำแหน่งของกำแพงเมืองที่มีอยู่หลายๆส่วนและมีขนาดค่อนข้างยาว แต่หลักฐานที่ยกขึ้นมากล่าวนี้ค่อนข้างจะกระจัดกระจายยังห่างไกลที่จะนำมาคำนวณตัวเลขประชากรโดยประมาณในสมัยนั้น ยังมีข้อยกเว้นว่า มีบันทึกหลักฐานที่ยืนยันเมืองหลวงของรัฐฉี (齐) มีประชากร 350,000 คน ตัวเลขนี้อาจบันทึกเกินความเป็นจริง ยังไม่น่าเชื่อถืออย่างแท้จริง ถึงแม้จะมีนักวิชาการบางคนจะนำเอาบันทึกนี้ไปใช้อ้างอิง


การทหาร

ผลกระทบที่เด่นชัดที่สุดตามข้อมูลทางประวัติศาสตร์ในห้วงเวลาของสงครามจ้านกั๊ว คือ การทำสงครามต่อเนื่องตลอดเวลา ดังนั้นเมื่อสวี่ชั่วหยิน (许绰云) บันทึกข้อมูลการทำสงครามจึงดูเหมือนน่าประหลาดใจ ตามข้อมูลที่บันทึก ปี 722 ก่อนคริสต์ศักราช ถึง ปี 464 ก่อนคริสต์ศักราช เป็นเวลานาน 259 ปี มีเพียง 38 ปีที่แผ่นดินสงบไม่มีการทำสงคราม หรือตั้งแต่ปี 463 ก่อนคริสต์ศักราช ถึง ปี 222 ก่อนคริสต์ศักราช เป็นเวลานาน 242 ปี แผ่นดินสงบไม่มีการทำสงครามน้อยกว่า 89 ปี แต่ในสถานการณ์แบบนี้ ผลกระทบหลักมีความหมายมากกว่าการเปรียบเทียบข้อมูลการทำสงคราม เพราะผู้อยู่เบื้องหลังปกปิดความจริง เมื่อเปรียบเทียบผลกระทบระหว่างสงครามชุนชิวกับสงครามจ้านกั๊ว สงครามชุนชิวมีการทำสงครามกันอยู่อย่างต่อเนื่อง ในเวลาเดียวกันมีรัฐต่างๆมากมายเข้าร่วมทำสงคราม แต่สงครามมีขนาดเล็ก ใช้เวลาในการทำสงครามสั้น และสงครามไม่รุนแรงมาก การทำสงครามในสมัยสงครามชุนชิวถูกควบคุมการรบโดยการใช้รถม้าศึกของขุนศึกในการทำสงคราม ขุนศึกขับรถม้าศึกตามวิธีการรบม้าศึกเข้าทำสงคราม สำหรับพวกขุนศึก ศักดิ์ศรีและหน้าตามีความสำคัญมากกว่าผลประโยชน์ที่จะได้รับ การทำสงครามในสมัยสงครามจ้านกั๊วถูกควบคุมการรบโดยแม่ทัพ ผู้ครองรัฐจะว่าจ้างแม่ทัพมาทำศึกสงครามปกป้องรัฐจนตัวตาย ทำสงครามเพื่อขยายอาณาเขตดินแดนและแย่งชิงทรัพยากร การใช้รถม้าศึก (ในสภาพภูมิประเทศที่ไม่ราบเรียบขรุขระเป็นการยากที่จะบังคับรถม้าศึก) ได้ลดจำนวนลง และกองพลทหารราบมีบทบาทเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ใน 4 ศตวรรษก่อนคริสต์ศักราช ชาวจีน (โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปี 307 ก่อนคริสต์ศักราช รัฐจ้าว) ในแผ่นดินที่ห่างไกลจากตัวเมืองทวีปเอเชียชนเผ่าเร่ร่อนเผ่าต่างๆต่างเรียนรู้วิธีการขี่ม้าซึ่งได้เป็นกำลังเสริมอันสำคัญของกองพลทหารราบในการปฎิบัติภาระกิจขี่ม้ายิงธนูหรือเครื่องยิง อาจจะเป็นในสมัยราชวงศ์โจว ชาวจีนคิดประดิษฐเครื่องยิงหน้าไม้ขึ้นมาได้ ในยุคสมัยส่วนใหญ่ของประวัติศาสตร์จีนเครื่องยิงหน้าไม้กลายเป็นอาวุธหลักในการทำสงครามตลอดมา การพัฒนาทางการทหารอื่นๆรวมทั้งการป้องกันการโจมตีและการตั้งรับโดยการสร้างกำแพงเมืองและคูเมืองเพื่อเป้นการปรับปรุงกลยุทธในการป้องกัน จากข้อมูลทางสถิติเกิดคำถามมากมายเกี่ยวกับบันทึกข้อมูลของขนาดกองทัพในยุคสมัยสงครามจ้านกั๊ว ปัญหาจำนวนทหารทั้งหมดที่ร่วมทำสงครามและจำนวนผู้ได้รับบาดเจ็บซึ่งมีปัญหาในบันทึกคล้ายๆกัน


การปกครอง

ในรัฐฉินและเจ้าครองรัฐอื่นๆในสมัยราชวงศ์โจว ในขณะที่มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในเวลาเดียวกันก็ปรากฎมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนแปลงเพิ่มอำนาจให้กับศูนย์กลางอำนาจส่วนกลางให้กระชับรัดกุมขึ้นและปรับปรุงโครงสร้างการปกครอง ปรับตำแหน่งขุนนางและรับขุนนางที่มีความสามารถและขุนนางที่มีความสามารถเฉพาะมารับใช้ แนวโน้มการบริหารขุนนางข้าราชการแบบนี้เป็นคุณลักษณะโดดเด่นที่สุดของจักรวรรดิจีน การพัฒนาที่สำคัญอีกอย่าง คือ การใช้มาตรการในการวัดและตรวจสอบ อาทิ หนังสือบันทึกจำนวนประชากร หนังสือบันทึกภาษีอากร บันทึกผลผลิตทางเกษตรที่เก็บเกี่ยวแล้ว เป็นต้น ราชวงศ์ฉินเมื่อขึ้นครองราชย์ก็ได้นำมาตรการเหล่านี้มาใช้ในเวลาต่อมา การเปลี่ยนแปลงระบบการปกครองอีกอย่างหนึ่งที่สำคัญ คือ การตราประมวลกฎหมายลงเป็นลายลักษณ์อักษร กฎหมายเหล่านี้จะนำมาแทนที่กฎหมายดั้งเดิมและกฎหมายที่ไม่ได้มีการตราเป็นลายลักษณ์อักษร แต่ได้ถูกผู้ริเริ่มให้นามว่า หลี่ (礼, คำๆนี้มีความหมายหลากหลาย อาทิ หมายความว่า “ประเพณีแบบดั้งเดิม” “กฎหมายว่าด้วยความประพฤติสุภาพเรียบร้อย” “พิธีกรรม” เป็นต้น) เพื่อเป็นกฎเกณฑ์ในการประพฤติปฎิบัติ ตัวอย่างที่ชัดเจนที่เก่าแก่ที่สุด คือ ในปี 536 ก่อนคริสต์ศักราช เมื่อรัฐเจิ้ง (郑) นำหนังสือลงทัณฑ์สลักลงบนแท่นบูชาทองเหลืองสามขา ในปี 513 ก่อนคริสต์ศักราช 501 ปีของยุคต่อมา มีบางรัฐเอาวิธีการแบบนี้ไปใช้ ในรัฐฉิน งานหลักของการปฎิรูปกฎหมายอยู่ในช่วงกลางของศตวรรษที่สี่ก่อนคริศต์ศักราช ในยุคของ ฉินเสี้ยวกง (秦孝公) และที่ปรึกษาของเขา ซางยาง (商鞅) จากตัวอักษรในหนังสือลงทัณฑ์ กฎหมายเหล่านี้ส่วนใหญ่จะเป็นลักษณะความผิดทางอาญา ไม่ใช่ทุกรัฐจะตรากฎหมายลักษณะนี้ กฎหมายเหล่านี้ก็ไม่ได้นำมาใช้บังคับกับคนทุกระดับชั้น แต่มันถูกตราขึ้นมาพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงการปกครองอื่นๆ มีการเร่งสร้างกระบวนการการบริหารรัฐโดยขุนนางข้าราชการซึ่งถือเป็นสิ่งที่สำคัญมาก มีการสนับสนุนให้เปลี่ยนแปลงรัฐการเมืองและรัฐความคิดในทิศทางนี้ให้กลายเป็นรัฐกฎหมายในอนาคต แล้วรัฐฉินก็ทุ่มเทนำวิธีการและแนวความคิดนี้มาปฎิบัติอย่างไม่ต้องสงสัยซึ่งเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้รัฐนี้เปลี่ยนจากเจ้าผู้ครองรัฐกลายเป็นจักรพรรดิปกครองแผ่นดินจีน

การเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์เชิงอำนาจ

คาดไม่ถึงว่า พวกที่มีอำนาจทางการเมืองและพวกที่ครองดินแดนที่กำลังเล่นเกมส์แย่งอำนาจในยุคปลายราชวงศ์โจวตะวันออก จะคือพวกที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นเจ้าครองรัฐหรือขุนนางเชื้อพระวงศ์ที่ครอบครองดินแดนตามระบบศักดินาในยุคเริ่มต้นราชวงศ์โจว ในทางกลับกันการเปลี่ยนแปลงทางอำนาจนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่รุนแรงมากขึ้นๆในหมู่ชนชั้นผู้นำสูงสุดทางการเมือง ขุนนางเก่าลดจำนวนลงไปเป็นอันมากหรือไม่ก็สาปสูญหายไป หรือไม่ก็ถูกแทนที่ด้วยขุนนางที่ยอมอ่อนน้อมเชื่อฟัง พวกผู้นำเหล่านี้ไม่ได้มีสายเลือดผูกพันโดยตรงกับเชื้อสายสถาบันกษัตริย์ พวกเจ้าครองรัฐและขุนศึกซึ่งได้รับตำแหน่งใหญ่โตอย่างรวดเร็วเหล่านี้ส่วนใหญ่มาจากขุนนางชั้นปลายแถว พวกเขามีภูมิหลังครอบครัวที่ดีคอยสนับสนุน แต่ไม่มีตำแหน่งขุนนางใหญ่โต พวกเขาทำหน้าที่เป็นขุนศึกนักรบ ข้าราชการ ข้าราชการดูแลราชสำนักและตำหนักขุนนาง หรือดูแลที่ดินเพื่อเลี้ยงปากเลี้ยงท้อง มีบางครั้งพวกเขาต้องลงมือทำเกษตรเอง สวี่ชั่วหยินใช้คนถึง 516 คนในการค้นคว้าบันทึกข้อมูลของกิจกรรมการเมืองในสมัยสงครามชุนชิว และใช้คนถึง 713 คนในการค้นคว้าบันทึกข้อมูลของกิจกรรมการเมืองในสมัยสงครามจ้านกั๊ว ค้นพบอัตราการเกิดของขุนศึกขุนนางผู้รับใช้ใหม่ในสองยุคที่แตกต่างกัน สงครามชุนชิวประมาณ 26% สงครามจ้านกั๊ว 55% ประมาณศตวรรษที่ผ่านมา สังคมจีนกำเนิดกลุ่มบุคคลที่ไม่เป็นที่รู้จักทั่วไปเพราะว่าพวกเขาเป็นสามัญชนคนธรรมดา อาทิเช่นพ่อค้า ความมั่งคั่งของพวกเขาทำให้เขามีอำนาจและครอบครองที่ดิน และบุคคลจำพวกนี้เพิ่มขึ้นและขยายตัวไปเป็นอันมาก ชนชั้นเจ้าที่ดินใหม่และขุนนางข้าราชการเกิดขึ้นในวิถีทางนี้ เมื่อเข้าสู่ยุคสงครามจ้านกั๊ว ชนชั้นเหล่านี้ถูกจัดตั้งขึ้นอย่างมั่นคง พวกเขาถูกจัดเป็นชนชั้นปัญญาชนซึ่งอยู่ในฐานะชนชั้นปกครอง เป็นชนชั้นสูงมีคุณสมบัติผู้ดีตามประวัติศาสตร์ของอาณาจักรราชสำนักจีน

การเกษตร

ในยุคสมัยต้นๆของราชวงศ์โจว เห็นได้ชัดว่าชาวเกษตรกรส่วนใหญ่อยู่ในระบบอุปถัมภ์ (เปรียบบ้านตนเองคือที่ทำงาน) ทำงานรับใช้ระบบอุปถัมภ์ในที่ดินการเกษตรที่เป็นของขุนนางศักดินา ระบบการใช้ที่ดินแบบนี้ คือ ระบบแนวความคิดการแบ่งที่ดินทำการเกษตรประเภทหนึ่งที่เรียกว่า จิ่งเถียนจื้อ (井田制) คือ ระบบการแบ่งทีดินหนึ่งแปลงเป็นเก้าแปลงย่อยตามระบบสังคมทาสในสมัยจีนโบราณตามอักษรจิ่ง (井) ของจีน ผลผลิตของที่ดินแปดแปลงย่อยตกเป็นของเกษตรกร ในขณะที่ผลผลิตของที่ดินแปลงตรงกลางตกเป็นของขุนนางศักดินาผู้เป็นเจ้าของครอบครองที่ดิน มันเป็นสิ่งที่ดำรงอยู่อย่างแน่นอนหลายชั่วนานตาปี แม้แต่นักวิชาการในปัจจุบันก็พยายามศึกษาทุกแง่มุมของระบบนี้เพื่อคลี่คายความสงสัย อันที่จริงที่ดินมันไม่สามารถแบ่งจัดสรรตามความคิดรูปทรงสี่เหลี่ยมตามแบบเรขาคณิตของเมิ่งจื่อ (มีชีวิตอยู่ในราวๆปี 372 ก่อนคริสต์ศักราช ถึงปี 289 ก่อนคริสต์ศักราช) หรือคนในราชวงศ์โจวหรือตามบัณฑิตราชวงศ์ฮั่นอย่างยุติธรรม แต่ตามคำอธิบายของการแบ่งสรรที่ดินของคนจำพวกนี้ ที่ดินผืนเล็กผืนน้อยจะรวมกันเป็น จิ่ง (井) ซึ่งเป็นที่ดินที่มีผืนขนาดใหญ่ จากนั้นจะจัดสรรแบ่งเป็นที่ดินแปลงย่อยเก้าแปลงเหมือนตารางหมากรุก ที่ดินแปดแปลงรอบนอกจะยกให้ครอบครัวเกษตรต่างๆจับจองเพื่อเพาะปลูกทำมาหากิน ที่ดินแปลงที่เก้าตรงกลางจะเป็นที่ดินแปลงรวมที่ชาวเกษตรทั้งแปดแปลงต้องช่วยกันเพาะปลูก เพื่อนำผลผลิตจากแปลงนี้ทั้งหมดยกให้แก่ขุนนางศักดินาที่เป็นเจ้าของที่ดิน ระบบจิ่งเถียนจื้อ ได้เป็นหัวข้อถกถียงของนักวิชาการรุ่นหลังเสมอด้วยความรู้สึกยากจะบรรยาย ลองจินตนาการรำลึกไปถึงเหตุการณ์ในสมัยโบราณนั้น ในยุคสมัยที่คนเราอยู่ร่วมกันแบบเรียบง่ายเต็มไปด้วยความหลากหลายทางคุณธรรม แต่การนำระบบนี้มาใช้จริง ถ้าตัวแทนของขุนนางศักดินาไม่ใช้อำนาจเพิ่มความกดดัน มันเป็นไม่ได้เลยที่จะให้ชาวเกษตรยอมรับการใช้ระบบนี้ และผลักดันให้ชาวเกษตรกรเพิ่มผลผลิตทางเกษตรให้มากกว่าผลผลิตขั้นต่ำ ในอีกด้านหนึ่ง ขุนนางศักดินามีภาระหน้าที่ต้องจัดหาผลผลิตทางเกษตรส่งส่วนกลาง หรือเพื่อตัวเขาและครอบครัวของพวกเขา อย่างไรก็ดีตามบันทึกประวัติศาสตร์ ในปี 594 ก่อนคริสต์ศักราช เริ่มจากรัฐหลู่ (鲁) เริ่มต้นการจัดเก็บภาษีแบบใหม่แล้วรัฐอื่นๆก็เริ่มใช้ตามแบบอย่าง แม้ว่ารายการบันทึกไว้แบบย่อๆและผู้ออกคำสั่งจะไม่ชัดเจน แต่โดยทั่วไปแล้ว ระบบภาษีใหม่โดยทั่วไปดูเหมือนรวมถึงการชำระผลผลิตทางเกษตรของเกษตรกรเพื่อเป็นค่าทดแทนของการต้องเป็นแรงงานเกณฑ์ ในการชำระบางกรณี การชำระเหล่านี้อาจจะต้องจัดส่งโดยตรงไปสู่ราชสำนักส่วนกลางของรัฐไม่ใช่ชำระให้แก่ขุนนางศักดินาผู้ครอบครองที่ดินทำการเกษตร ฉะนี้จึงส่งผลก่อให้เกิดการสลายความสัมพันธ์แบบดั้งเดิมของขุนนางศักดินากับเกษตรกรที่เข้ามาทำกินในที่ดินของขุนนางศักดินาทีละน้อยๆ เนื่องจากมีรัฐต่างๆเกิดขึ้นมากมายเพื่อแย่งชิงพื้นที่ว่างเปล่าไร้คนจับจอง ดินแดนว่างเปล่าเหล่านี้ไม่ได้จัดรวมอยู่ในระบบการจัดสรรที่ดินแบบศักดินาดั้งเดิม จึงเป็นการเร่งสถานการณ์ให้แตกหัก มีบางคนอ้างว่า การให้เสรีภาพแก่เกษตรกรในการทำการเกษตรกึ่งอิสระจะเป็นตัวกระตุ้นให้เกษตรกรทำงานขยันขันแข็งมากขึ้นดังนั้นจึงช่วยปรับปรุงผลผลิตทางเกษตรในยุคราชวงศ์โจวให้สูงขึ้น แต่การให้เสรีภาพในการทำเกษตรแบบใหม่จะบีบบังคับให้เกษตรกรต้องรับผิดชอบอย่างเต็มที่ของความต้องการของเกษตรกรเองทั้งหมด ทั้งยังไม่ได้รับการปกป้องจากขุนนางศักดินาดั้งเดิม ในปลายศตวรรษสุดท้ายของราชวงศ์โจว การซื้อขายที่ดินกลายเป็นเรื่องธรรมดา ผลลัพธ์ที่ดินส่วนใหญ่อยู่ในมือคนรวย และอีกครั้งหนึ่งที่เกษตรกรกลับกลายเป็นผู้เช่าที่ดินทำกินหรือกลายเป็นแรงงานทางการเกษตรหรือถูกว่าจ้างให้เป็นแรงงานเกษตร ถ้าหากมีช่องว่างระหว่างคนรวยและคนจนจากปลายราชวงศ์โจวจนถึงราชวงศ์ฉินและราชวงศ์ฮั่นช่องว่างนี้ได้ถูกขยายกว้างออกไปแทนที่จะลดลง แต่เนื่องจากขาดข้อมูลทางประวัติศาสตร์และข้อมูลมักจะคลุมเครือจึงไม่สามารถสรุปเรื่องราวได้นอกจากคาดเดา


อุตสาหกรรมและการค้า

ในยุคปลายราชวงศ์โจว อุตสาหกรรมและการค้าไม่ต้องสงสัยมีการพัฒนาไปมาก ถึงแม้ว่ามันจะคล้ายกับกรณีอื่นๆซึงไม่สามารถจะคาดการณ์สถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้ สัญญาณสำคัญอย่างหนึ่งที่ปรากฎขึ้น คือ ในแต่ละรัฐที่แตกต่างกันต่างมีทรัพย์สินคงที่ของเงินและเหล็กที่แตกต่างกัน โดยเฉพาะในศตวรรษที่สี่ หรือ ห้า ก่อนคริสต์ศักราช ว่ากันว่าเงินตราราชวงศ์ฉินที่เก่าแก่ที่สุดที่นำมาเริ่มใช้คือในปี 336 ปีก่อนคริสต์ศักราช เห็นได้ชัดว่าเงินตราประเภทนี้เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกในการทำธุรกรรมเชิงพาณิชย์ แต่ว่าสินค้าบางชนิดเช่น ธัญพืชและผ้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำธุรกรรมขนาดใหญ่ยังคงถูกนำมาใช้เป็นสื่อตัวกลางในการแลกเปลี่ยนธุรกรรมการค้า การพัฒนาการค้าแน่นอนย่อมช่วยให้เกิดการพัฒนาของเมือง รวมทั้งยังปรากฎแนวโน้มของอุตสาหกรรมเฉพาะทางตามแต่ละทำเลที่ตั้ง บันทึกประวัติศาสตร์ และ บันทึกทางประวัตืศาสตร์อื่นๆได้มีการบันทึกรายชื่อพ่อค้าที่มีชื่อเสียงในสมัยนั้น คนแรกคือลูกศิษย์ของขงจื่อ (孔子) ชื่อ จื่อก้อง (子贡) จนกระทั่งถึงเมื่อไม่นานก่อนที่ราชวงศ์ฉินจะรวมประเทศเป็นปึกแผ่น ก็คือ สมุหนายก หลู่ปู้เหวย (吕不韦) พ่อค้าใหญ่เหล่านี้ไม่ได้ค้าขายสินค้าจตุปัจจัยสำคัญ สินค้าเหล่านี้ปริมาณมาก และสูญเสียเน่าเสียได้ง่าย จะได้กำไรเมื่อสินค้าขาดแคลนหรือกักตุน พวกเขานิยมทำธุรกิจขายสินค้าหรูหราราคาแพง หรือขายความสำราญเพื่อหากำไร ทั้งทางราชสำนักไม่ต้องการกระจายสินค้าจตุปัจจัยสำคัญผ่านทางพ่อค้าแต่ดูแลสินค้าเหล่านั้นโดยตรง


การเปลี่ยนแปลงอุดมการณ์ความคิด

เริ่มจากข่งจื่อ (ปี 551 ก่อนคริสต์ศักราช ถึง ปี 479 ก่อนคริสต์ศักราช) เกิดขึ้น สามศตวรรษสุดท้ายของราชวงศ์โจวได้เกิดระบบความคิดการแก่งแย่งชิงดีกัน มันสะท้อนให้เห็นส่วนใหญ่ในสำนักความคิดหกเจ็ดสถาบัน แต่สำนักอื่นๆก็ไม่ได้ยอมรับความคิดของสำนักความคิดใดๆและแสดงออกถึงแนวความคิดนี้อย่างชัดเจน สำนักความคิดและนักคิดเหล่านี้ส่วนใหญ่มากจากชนชั้นปัญญาชน พวกเขาอภิปรายถกเถียงและเขียนงานไม่อาจหลบเลี่ยงที่จะมุ่งเน้นถึงยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงกลุ่มอำนาจต่างๆซึ่งกลายมาเป็นปัญหาทางการเมืองและสังคมที่เร่งด่วน เพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้นเราจะใช้แนวความคิดแบ่งเป็นสำนักหรูเจีย (儒家,สำนักข่งจื่อ) สำนักฟ่าเจีย (法家,สำนักนิติศาสตร์) และสำนักเต้าเจีย (道家,สำนักเต๋า) มาเรียกชื่อแนวความคิดเหล่านี้ แม้ว่าการที่มักจะติดป้ายสำนักความคิดเหล่านี้ในสมัยราชวงศ์โจวอาจจะไม่เป็นที่สบอารมณ์ของนักคิดนักปรัชญาในสมัยราชวงศ์ฮั่น พวกเขาเป็นนักปราชญ์นักคิดรุ่นเก่าซึ่งนักคิดนักปราชญ์ราชวงศ์ฮั่นได้แบ่งแยกตามลักษณะของสำนักเป็นอิสระแยกออกจากกัน ในท่ามกลางแนวโน้มอุดมการณ์ความคิดใหม่ๆเหล่านี้ (มักจะพบการแสดงออกในหนึ่งหรือมากกว่าสำนักความคิด) สามารถยกมาเป็นตัวอย่างได้เพียงบางส่วน 1. มีแนวโน้มที่จะยกเลิกความเชื่อเรื่องโลกเหนือธรรมชาติและตำนานเก่าแก่โบราณและถูกแทนที่ด้วยแนวโน้มและความสามารถของมนุษย์แต่ละคน อาทิหนทางแห่งเต๋า หยินหยาง ธาตุทั้งห้า เป็นคำสอน 2. อย่างน้อยในทางทฤษฎีเน้นเรื่องผู้ปกครองประเทศต้องมีคุณสมบัติกำหนดไว้ คือ มีชาติกำเนิดสูงเกิดในหมู่ชนชั้นนำพร้อมครันเต็มไปด้วยคุณภาพของสติปัญญาและคุณธรรม เพื่อเมื่อเขาได้รับตำแหน่งปกครองประเทศเขาจะสามารถแบกรับภาระสำคัญในการปกครองประเทศได้อย่างเต็มที่ 3. แต่เนื่องจากสิทธิในการขึ้นครองราชย์ปกครองประเทศในสถานการณ์ทั่วไปสืบทอดจากกรรมพันธ์จากบิดาสู่บุตร ดังนั้นจึงต้องเน้นไปที่การให้การศึกษาและการอบรมที่เกี่ยวข้องแก่ผู้ปกครองประเทศตั้งแต่เด็กซึ่งไม่สามารถถ่ายทอดทางกรรมพันธ์ได้ดำรงตำแหน่งกุนซือที่ปรึกษาของผู้ปกครองประเทศ การเน้นการให้การศึกษาอบรมแก่ผู้ปกครองประเทศนี้แสดงออกถึงแนวความคิดที่แยกตัดขาดกันสิ้นเชิงกับมุมมองแบบเดิมที่ผู้ปกครองประเทศเพียงแค่เกิดในชาติตระกูลดีของชนชั้นสูงเท่านั้น ในขณะเดียวกันทางราชสำนักจัดให้มีการสอบแข่งขันคัดเลือกปัญญาชนเข้ามารับราชการสนองรับใช้ประเทศซึ่งเป็นทิศทางการพัฒนาระบบการรับข้าราชการสร้างประเทศให้เจริญพัฒนาถาวรต่อไป 4. เน้นความคิดของสังคมที่อยู่กันอย่างสมานฉันท์สามัคคีกลมเกลียวแม้ว่าความสามัคคีกลมเกลียวจะถูกสร้างบนพื้นฐานที่ไม่เท่าเทียมกัน ถ้าให้คำอธิบายการเน้นสังคมสมานฉันท์อยู่บนพื้นฐานที่ว่า ทุกคนมีความพร้อมที่จะยอมรับสถานะของตัวเองตามโครงสร้างการแบ่งตำแหน่งชนชั้นและสถานะที่เจาะจงในสังคม และใช้ความพยายามอย่างเต็มที่เพื่อตอบสนองต่อสถานะที่เกี่ยวข้องและความรับผิดชอบต่อสังคม 5. เน้นการเป็นเอกภาพ ไม่เพียงแต่การเป็นเอกภาพทางการเมืองแต่รวมทั้งการเป็นเอกภาพทางวัฒนธรรมและอุดมการณ์อันเป็นปึกแผ่น นอกจากนี้ยังเพื่อสันติภาพ รัฐบาลที่ดี และสวัสดิการสังคมให้เป็นรากฐานที่สำคัญของการปกครองประเทศ เนื้อหาของหัวข้อทั้งหมดสามารถสืบย้อนหลังไปถึงสมัยราชวงศ์โจว ในทางการเมืองสะท้อนให้เห็นว่า ทั่วโลกไม่สามารถมีสองอุดมการณ์ความคิดทางการเมือง อุดมการณ์เหล่านี้อันที่จริงมันคือสาระสำคัญที่ครอบงำความคิดทั้งหมดในประวัติศาสตร์จีนตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน ในปลายสมัยราชวงศ์โจว มันถือเป็นการเคลื่อนไหวทางการเมืองที่ผ่านการถกเถียงในศูนย์อำนาจส่วนกลางของรัฐต่างๆในการพัฒนาการเมืองหลังจากเกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองก่อนหน้านี้ให้สอดคล้องกับอุดมการณ์ความคิด ด้วยวิธีนี้มันได้ช่วยให้ผู้ปกครองประเทศ นักการเมืองและนักการทหารในยุคนั้นมีอุดมการณ์ที่มีประสิทธิภาพเป็นบรรทัดฐานเพื่อนำไปสู่การต่อสู้กันทางทหารซึ่งในที่สุดถูกรวบรวมเป็นปึกแผ่น คือ ราชอาณาจักรจีนในสมัยราชวงศ์ฉิน


เจ้าครองรัฐผู้ยิ่งใหญ่ในสงครามชุนชิว

เจ้าครองรัฐผู้ยิ่งใหญ่ทั้งห้าในยุคสงครามชุนชิว คือ ฉีหวนกง (齐桓公) ซ่งเซียงกง (宋襄公) จิ้นเหวินกง (晋文公) ฉินมู้กง (秦穆公) ฉู่จวงหวาง (楚庄王) เพียงห้าคนนี้ที่มีบทบาทสำคัญในยุคนั้น

  • ฉีหวนกง

ทรงแต่งตั้ง ก่วนจ้ง (管仲) เป็นสมุหนายก สนับสนุนส่งเสริมความสามัคคีภายในชาติ ถ้าเจ้าครองรัฐทั้งเก้าร่วมกันแผ่นดินจะเป็นเอกภาพ ฉีหวนกงมีผลงานโดดเด่นจนได้เป็นป้าจู่ (霸主,เจ้าครองรัฐมหาอำนาจ) ฉีหวนกงขึ้นครองรัฐในปี 685 ก่อนคริสต์ศักราช พระองค์ทรงปฎิรูปการเมืองและเศรษฐกิจตามลำดับทำให้รัฐฉีมีอำนาจเติบใหญ่ขึ้นมา เนื่องจากฉีหวนกงยกทัพเข้าตีปราบปรามชนเผ่าหรง (戎族,หรงจู๋) ชนเผ่าตี๋ (狄族,ตี๋จู๋) ทั้งยังนำทัพฉี ทัพหลู่ (鲁) ทัพซ่ง (宋) รวมทั้งกองทัพของอีกแปดรัฐ แบ่งกันเข้าโจมตีทำลายรัฐช่าย (蔡) และตัดกำลังรัฐฉู่ (楚) ป้องกันไม่ให้รัฐฉู่ยกทัพขึ้นเหนือ จึงเพิ่มอำนาจบารมีของพระองค์ ปี 651 ก่อนคริสต์ศักราช พระองค์ทรงเรียกประชุมเจ้าครองรัฐทั้งหมดที่ขุยชิว (葵丘,ปัจจุบัน คือเมืองเค่าเฉิง考城 มณฑลเหอหนาน) ลงนามสัญญาพันธมิตร กลายเป็นป้าจู่ เจ้าครองรัฐมหาอำนาจคนแรกของประเทศจีน จิ้นเหวินกง ปี 633 ก่อนคริสต์ศักราช ฉู่เฉิงหวาง (楚成王) นำทัพฉู่ (楚) ทัพเจิ้ง (郑) ทัพเฉิน (陈) และทัพรัฐอื่นเข้าล้อมตีเมืองซุยหยาง (睢阳, ปัจจุบันคือเมืองซางชิว商丘 มณฑลเหอหนาน) เมืองหลวงของรัฐซ่ง (宋) รัฐซ่งส่งฑูตไปขอความช่วยเหลือจากรัฐจิ้น (晋) จิ้นเหวินกงวางแผนชัดเจนใช้กองทัพจากรัฐพันธมิตรเข้ายัน ขอกำลังจากรัฐฉี (齐) และรัฐฉิน (秦) เข้าร่วมทำสงครามเพื่อขยายกำลังทัพของฝ่ายตน แล้วปรับปรุงความสัมพันธ์กับจิ้นถงเฉา (曹) ให้ดีขึ้น ให้แยกตัวออกจากทัพพันธมิตรรัฐฉู่ มหาเสนาบดีรัฐฉู่ จื้อยวี่ (子玉) โกรธมากส่งทัพเข้าโจมตีทัพจิ้น จิ้นเหวินกงเพื่อจะหลีกเลี่ยงกองทัพรัฐฉู่จึงเลือกใช้กลยุทธสั่งให้ทหารในกองทัพล่าถอยไปเก้าสิบหลี่ (ลี้) กองทัพสมัยจีนโบราณเดินทัพสามสิบหลี่เรียกว่า อี้เซ่อ (一舍) เก้าสิบหลี่เรียกว่า ซันเซ่อ (三舍) กองทัพจิ้นถอยทัพซันเซ่อ ถอยทัพไปถึงเมืองเฉิงผู (城濮, ปัจจุบันคือเมืองเปียวเสี้ยน憋县 มณฑลซานตง ) ของรัฐเว่ย (卫) เมืองเฉิงผูอยู่ใกล้ๆกับรัฐจิ้น สะดวกต่อการขนส่งยุทโธปกรณ์และเสบียงอาหาร ทั้งยังง่ายต่อการชุมนุมรวมทัพร่วมกับทัพฉี ทัพฉิน ทัพซ่งและทัพพันธมิตรรัฐอื่นๆ เพิ่มสมรรถภาพของทัพพันธมิตรจิ้นในการทำสงคราม ปี 632 ก่อนคริสต์ศักราช เดือนสี่ ทัพจิ้นและทัพฉู่เริ่มต้นทำสงคราม ทัพจิ้นล่อให้ทัพฉู่ยกทัพถลำลึกเข้ามา ทัพฉู่ถูกล้อมไว้อย่างหนักทุกด้านถูกทำลายย่อยยับหมดสิ้น สงครามเฉิงผูได้สร้างกลยุทธทางการทหาร คือ กลยุทธล่าถอยเพื่อพิชิต เป็นกลยุทธสงครามที่มีชื่อสียงโดดเด่น จากนั้นจิ้นเหวินกงเชิญกษัตริย์โจวเซียงหวาง (周襄王) มาเจี้ยนทู่ (践土,ปัจจุบันคือเมืองกว่างอู่广武 มณฑลเหอหนาน) ร่วมกับเจ้าครองรัฐและเจ้าชายแคว้นต่างทำสัญญาเป็นพันธมิตรซึ่งกันและกัน กษัตริย์โจวเซียงหวางแต่งตั้งจิ้นเหวินกงเป็น โฮวป๋อ (侯伯,เจ้าครองรัฐผู้ยิ่งใหญ่) พร้อมทั้งประทานธนูแดงดำของพระองค์ให้แก่จิ้นเหวินกง แสดงถึงการยอมรับให้จิ้นเหวินกงมีสิทธิแต่เพียงผู้เดียวในการเป็นผู้พิชิต จิ้นเหวินกงจึงได้เป็นป้าจู่ (เจ้าครองรัฐมหาอำนาจ) ของประเทศจีน

  • ซ่งเซียงกง ต้องการที่จะเป็นป้าจู่ ปีที่สิบสามของกษัตริย์โจวเซียงหวาง (ปี 639 ก่อนคริสต์ศักราช) ฤดูใบไม้ผลิ เจ้าครองรัฐซ่ง รัฐฉี รัฐฉู่มารวมกันที่รัฐฉีเพื่อออกล่ากวาง ซ่งเซียงกงเริ่มต้นแสดงตนเป็นผู้นำ เนื่องจากตนเองคิดว่าเป็นผู้ส่งเสริมให้มีการประชุมในครั้งนี้ ในเวลาเดียวกันคิดว่าตนเองมีตำแหน่งสูงกว่าเจ้าครองรัฐฉู่และรัฐฉี ถ้าไม่ใช่ตนแล้วจะเป็นใคร แต่ฉู่เฉิงหวางสั่งกองทัพฉู่ให้ล้อมจับตัวซ่งเซียงกง จากนั้นออกคำสั่งให้กองกำลังหลักทหารฉู๋ห้าร้อยนายบุกเข้าไปอย่างห้าวหาญไล่ฆ่ารัฐซ่ง ในที่สุดซ่งเซียงกงถูกทหารรัฐฉู่จับตัวได้และถูกปล่อยตัวในภายหลัง การลงมือสำเร็จอย่างรวดเร็วนี้ การชอบอ้างอำนาจแห่งความชอบธรรม (仁义之师,เหรินอี้จือซือ) เป็นความชอบธรรม (仁义,เหรินอี้) กลายมาเป็นเรื่องตลกขบขันตั้งแต่ในโบราณมาถึงจวบปัจจุบัน ตำแหน่งป้าจู่ของซ่งเซียงกงก็คือการยืมจมูกคนอื่นหายใจ

ฉู่จวงหวาง เมื่อเจ้าครองรัฐฉีดำรงตำแหน่งป้าจู่ รัฐฉู่ได้รับคำสั่งห้ามของรัฐฉีไม่ให้ยกทัพเคลื่อนขึ้นเหนือ หรือเคลื่อนย้ายทัพไปผนวกดินแดนของรัฐเล็กๆทางทิศตะวันออก เพื่อความสงบรุ่งเรืองของประเทศ เมื่อฉีกั๊วหง (齐国宏) หมดอำนาจลง รัฐฉู่จึงยกทัพขึ้นเหนือขยายดินแดนและอาณาเขตรุกเข้ารัฐจิ้นเพื่อทำสงครามแย่งอำนาจ ปี 598 ก่อนคริสต์ศักราช ฉู่จางหวางยกทัพไปถึงเมืองปี้ (邲,ปัจจุบันคือเมืองเจิ้งโจว郑州มณฑลเหอหนาน) ทำสงครามใหญ่กับรัฐจิ้น แล้วพ่ายแพ้ต่อรัฐจิ้น รัฐต่างๆในประเทศจีนต่างหนุนหลังรัฐจิ้นทำสงครามกับรัฐฉู่ ฉู่จวงหวางก็ยังได้รับการขนานนามว่า ป้าจู่ ของประเทศจีน ฉินมู้กง เมื่อรัฐจิ้นได้กลายเป็นรัฐมหาอำนาจ ตอนนั้นรัฐฉินทางทิศตะวันตกก๊มีอำนาจเติบใหญ่ขึ้นมาเหมือนกัน ฉินมู้กงพยายามที่จะขยายอำนาจมาทางทิศตะวันออกสู่ภาคกลาง แต่เนื่องจากเส้นทางขยายอำนาจมาทางทิศตะวันออกถูกรัฐจิ้นปิดล้อมไว้หมด ดังนั้นจึงหันมุ่งสู่ตะวันตกผนวกดินแดนรัฐเล็กๆหลายสิบกว่ารัฐ ครอบครองดินแดนจากหานกู่กวน (函谷关) ไปสู่ดินแดนตะวันตก ขนานนามว่า มหาอำนาจทางทหารด้านตะวันตก (霸西戎,ป้าซีหรง) หานเฟยจื่อ (韩非子) เขียนในบันทึก สือกั้วเพียน (十过篇) ว่า “รวมสิบสองรัฐเป็นเอกภาพ ครอบครองที่ดินเป็นพันพันลี้”

  • ฉินมู้กง

ภายหลังรัฐอู๋ (吴) รัฐเย่ว (越) มีอำนาจเติบใหญ่ มีอิทธิพลอำนาจอยู่แถบดินแดนตะวันออกเฉียงใต้ ปี 494 ก่อนคริสต์ศักราช ฟูชาย (夫差) เจ้าครองรัฐอู๋ยกทัพโจมตีรัฐเย่ว เข้าโล้มโกวเจี้ยน (勾践) เจ้าครองรัฐเย่ว ที่ ไก้วจี (会稽,ปัจจุบันคือ เมืองเส้าซิง绍兴มณฑลเจ้อเจียง) บีบบังคับให้รัฐเย่วยอมจำนน จากนั้นยกทัพทำศึกชนะกองทัพรัฐฉี ปี 482 ก่อนคริสต์ศักราช ณ.ที่หวงชื๋อ (黄池,ปัจจุบันคือดินแดนใกล้ๆกับเมืองเฟิงชิว封丘มณฑลเหอหนาน) เจ้าครองรัฐต่างๆมารวมกันเป็นพันธมิตรเพื่อเพิ่มอำนาจในการต่อสู้ โกวเจี้ยน เจ้าครองรัฐเย่วตั้งแต่โดนรัฐอู๋ตีพ่ายแพ้ ยอมทนทุกข์ลำบากนอนบนพื้นไม้และทรมานตัวเองคิดอยู่กับการแก้แค้น ผ่านความลำบากตรากตำอย่างอดทนเป็นเวลาไม่กี่สิบปี สร้างรัฐเย่วที่เคยอ่อนแอกลับมาเข้มแข็ง แก้แค้นทำลายล้างรัฐอู๋ จากนั้นโกวเจี้ยนเคลื่อนย้ายสู่ภาคเหนือ นัดประชุมพันธมิตรกับรัฐฉี รัฐจิ้นและเจ้าชายรัฐอื่นๆที่ สวี (徐,ปัจจุบันคือ เมืองซีเสี้ยน膝县มณฑลซานตง) ถูกขนานนามว่า ป้าจู่ อีกคนหนึ่ง การต่อสู้แย่งชิงอำนาจของเจ้าครองรัฐใหญ่ๆแสดงให้เก็นชัดเจนว่าอำนาจของกษัตริย์ราชวงศ์โจวอ่อนแอลงไปเรื่อยๆตั้งแต่ปี 700 ก่อนคริสต์ศักราช กษัตริย์โจวผิงหวางย้ายเมืองหลวงมาทางทิศตะวันออกที่ลั่วอี้ (洛邑 ปัจจุบันคือเมืองลั่วหยาง洛阳 มณฑลเหอหนาน) แล้วนั้นราชวงศ์โจวได้ตกต่ำลงไปเรื่อยๆ ในอดีตกษัตริย์ปกครองและบังคับบัญชาเจ้าครองรัฐดั่งการดื่มน้ำพิพัฒน์สัตญาบรรณจากโอรสสวรรค์แม้กระทั่งสาบานตนว่าจะพลีชีพปกป้องประเทศชาติและสถาบันกษัตริย์จนตัวตาย แต่เจ้าครองรัฐที่สร้างฐานอำนาจขึ้นมาใหม่จนประสบความสำเร็จต่างแก่งแย่งชิงยึดอำนาจกัน ระบบศักดินาและทาสของราชวงศ์โจวจึงถึงคราวล่มสลาย การที่จะดำรงตำแหน่งป้าจู่ หนึ่ง เศรษฐกิจของรัฐตนเองต้องเจริญรุ่งเรือง สอง อำนาจต้องเข้มแข็ง คือ ต้องมีพลังอำนาจทางการทหาร แต่การที่จะเป็นป้าจู่หรือมหาอำนาจ เจ้าครองรัฐจะต้องมีบุคลิกที่กล้าหาญ ซึ่งซ่งเซียงกงไม่มีความสามารถ ไม่มีคุณสมบัติสมควรที่จะได้รับการยกย่องเป็นป้าจู่ นอกจากนี้ มีความคิดเห็นที่แตกต่างกันใครคือป้าจู่ทั้งห้าในสงครามชุนชิว ความเห็นหนึ่งว่า คือ ฉีหวนกง จิ้นเหวินกง ฉู่จวงหวาง อู๋หวางเหอลวี๋ (吴王阖闾) เย่วหวางโกวเจี้ยน อีกความเห็น คือ ฉีหวนกง จิ้นเหวินกง ฉู๋จวงหวาง อู๋หวางฟูชาย เย่วหวางโกวเจี้ยน ความเห็นสุดท้าย คือ ฉีหวนกง จิ้นเหวินกง ฉู่จวงหวาง ซ่งเซียงกง ฉินมู้กง

เจ้าครองรัฐแย่งชิงอำนาจ หนังสือบันทึกพงศาวดาร สงครามชุนชิว ของข่งจือ รัฐหลู่ (鲁) เป็นหนังสือบันทึกที่มีชื่อเสียงมากในประเทศจีน สงครามชุนชิว เริ่มตั้งแต่ปี 722 ปีก่อนคริสต์ศักราช ถึงปี 481 ก่อนคริสต์ศักราชจึงสิ้นสุด ตามประวัติศาสตร์มักจะนับตั้งแต่กษัตริย์โจวผิงหวางย้ายเมืองหลวงมาทางทิศตะวันออกถึงปี 476 ก่อนคริสต์ศักราชในช่วงเวลานี้ว่าเป็นยุคสงครามชุนชิว ในช่วงเวลานี้โดยทั่วไปเมื่อเปรียบเทียบกับบันทึกพงศาวดารสงครามชุนชิวของข่งจือแล้วดูสอดคล้องอยู่ในช่วงเวลาเดียวกัน หลังจากกษัตริย์โจวผิงหวางย้ายเมืองหลวงมาอยู่ที่ลั่วอี้ (ลั่วหยาง) ดินแดนทางทิศตะวันตกทั้งหมดตกเป็นของรัฐฉิน รัฐฉินผนวกรัฐหรือดินแดนชนเผ่าหรงจู่ซึ่งอยู่ชายแดนราชวงศ์โจวกลายเป็นมหาอำนาจทางตะวันตก ดินแดนซานซีเป็นของรัฐจิ้น ดินแดนซานตงเป็นของรัฐฉี และรัฐหลู่ ดินแดนหูเป่ยเป็นของรัฐฉู่ ดินแดนเป่ยจิงและหูเป่ยตอนเหนือเป็นของรัฐเยี้ยน (燕) ต่อมาดินแดนทางตอนใต้แม่น้ำฉางเจียง (长江,แม่น้ำแยงซีเกียง) เป็นของรัฐอู๋ รัฐเย่วและรัฐอื่นๆ หลังจากรัฐใหญ่ๆทั้งหมดผนวกเอารัฐเล็กๆในราชวงศ์โจวมาเป็นดินแดนของตน เริ่มมีอำนาจมากขึ้นเปลี่ยนเป็นรัฐใหญ่ ดังนั้นประวัติศาสตร์จึงเปิดฉากให้เห็นภาพแห่งความโหดร้ายของการแก่งแย่งอำนาจกันของรัฐใหญ่ๆเพื่อแย่งชิงความเป็นใหญ่ เจ้าครองรัฐที่เป็นมหาอำนาจคนแรกคือ ฉีหวนกง เขาใช้ก่วนจ้งในการปฎิรูปการปกครองทำให้รัฐเข้มแข็งมั่นคง ทั้งยังใช้กุศโลบายของก่วนจ้ง เรียกว่า “ยกย่องกษัตริย์ ขับไล่อนารยชน” ร่วมกับรัฐเยี้ยนทำการรบชนะชนเผ่าเป่ยหรง (北戎,ชนเผ่าอนารยชนทางตอนเหนือ) ร่วมกับรัฐอื่นๆทำการป้องกันการบุกรุกของศัตรูและอนารยชนที่จะมาตีบ้านตีเมือง ปี 656 ก่อนคริสต์ศักราช รัฐฉี พร้อมกับรัฐหลู่ รัฐซ่ง รัฐเจิ้ง รัฐเฉิน รัฐเว่ย (卫) รัฐสวี่ (许) รัฐเฉา (曹) ร่วมทัพกันบุกรัฐช่าย (蔡) ตีรัฐฉู่ (楚) สองทัพเผชิญหน้ากันที่จ้าวหลิง (召陵) จึงถามรัฐฉู่จะนำเครื่องบรรณาการมาถวายสวามิภักดิ์แด่กษัตริย์โจวหวางหรือไม่ ตอนนั้นรัฐฉู่มีกำลังเข้มแข็งมากบุกเข้าตีทัพรัฐเจิ้งอย่างต่อเนื่อง แต่เมื่อปะทะกับฉีหวนกงซึ่งมีความโหดร้ายดุดันมากกว่าเพื่อปกป้องกองทัพตนเองจึงยอมหยุดรบ ภายหลังฉีหวนกงจัดการประชุมเจ้าครองรัฐต่างๆอยู่หลายๆครั้ง กษัตริย์โจวก็ส่งคนของตนเข้าร่วมประชุมพันธมิตรด้วยเพื่อเฉลิมฉลองความสำเร็จของการประชุม ฉีหวนกงจึงได้รับการสถาปนาเป็นป้าจู่คนแรกในบรรดาป้าจู่ทั้งห้าในสงครามชุนชิว เมื่อรัฐฉีมีอำนาจผูกขาดปกครองดินแดนภาคกลางของจีน รัฐฉู่กำลังแผ่อำนาจไปทางดินแดนตะวันออก เมื่อฉีหวนกงสิ้นพระชนม์ ภายในรัฐฉีมีการแก่งแย่งชิงอำนาจกัน ความเข้มแข็งของรัฐฉีจึงเสื่อมทรามลง รัฐฉู่จึงขยายอำนาจมาทางตอนเหนือ ซ่งเซียงกงคิดจะสืบทอดตำแหน่งป้าจู่ต่อจากฉีหวนกงจึงคิดจะสมคบกับรัฐฉู่ ในที่สุดก็นำชีวิตไปทิ้งแบบเปล่าประโยชน์ ตอนรัฐฉีมีอำนาจผูกขาดมีรัฐหลู่ รัฐซ่ง รัฐเจิ้ง รัฐเฉิน รัฐช่าย รัฐสวี่ รัฐเฉา รัฐเว่ยและรัฐอื่นๆเป็นพันธมิตร หลังจากฉีหวนกงสิ้นพระชนม์รัฐเหล่านี้ต่างหันไปเป็นพันธมิตรกับรัฐฉู่ เมื่อครั้งรัฐฉู่ต้องการจะมีอำนาจปกครองดินแดนภาคกลาง รัฐจิ้นเริ่มมีอำนาจเติบใหญ่ขึ้นมา จิ้นเหวินกงกลับคืนสู่รัฐแล้วได้มีการเปลี่ยนแปลงปรับปรุงการปกครองภายในรัฐ เสริมสร้างกองทัพให้เข้มแข็ง และต้องการแย่งชิงตำแหน่งเป็นป้าจู่ ในตอนนั้นกษัตริย์โจวเซียงหวาง (周襄王) ถูกพระราชโอรสสมคบคิดกับศัตรูบุกจับตัวจึงต้องหนีออกจากราชวัง จิ้นเหวินกง จึงใช้โอกาสที่ดีในตอนนี้ในการดำรงตำแหน่งป้าจู่ นัดประชุมเจ้าครองรัฐต่างๆ ยกทัพเข้าปราบพระราชโอรสและพวก นำกษัตริย์โจวเซียงหวางกลับคืนสู่ราชสำนัก ใช้กษัตริย์เป็นธงนำในการเบิกทางเป็นป้าจู่ ปี 632 ก่อนคริสต์ศักราช รัฐจิ้นกับรัฐฉู่ทำสงครามใหญ่กันที่เฉิงผู รัฐจิ้นมีชัยชนะต่อกองทัพรัฐฉู่ หลังสงคราม จิ้นเหวินกงจัดประชุมรัฐพันธมิตรที่เจี้ยนทู่ กษัตริย์โจวเซียงหวางก็มาเข้าร่วมการประชุม แต่งตั้งจิ้นเหวินกงเป็น โฮวป๋อ หรืออีกนัยหนึ่งคือ ตำแหน่งป้าจู่นั่นเอง ในขณะที่รัฐจิ้นกับรัฐฉู่ทำสงครามแย่งชิงกันเป็นใหญ่ รัฐฉีและรัฐฉินยังมีอำนาจปกครองปกครองดินแดนทิศตะวันออกและทิศตะวันตก หลังจากผ่านช่วงกลางของสงครามชุนชิว รัฐฉู่ร่วมมือกับรัฐฉิน รัฐจิ้นร่วมมือกับรัฐฉี กลายเป็นทั้งสองกลุ่มมีกำลังเข้มแข็งพอๆกัน แต่สงครามแย่งชิงอำนาจนี้ช่วยซ้ำเติมความขัดแย้งภายในของแต่ละรัฐ ปี 579 ก่อนคริสต์ศักราช รัฐซ่งนัดประชุมทำสัญญาเป็นพันธมิตรกับรัฐจิ้นและรัฐฉู่ แต่ละรัฐจะไม่เพิ่มกำลังทางทหาร ส่งข่าวสารติดต่อกัน ช่วยเหลือซึ่งกันและกันถ้ารัฐใดตกอยู่ในความยากลำบาก ร่วมกันทำสงครามกับรัฐอื่นๆที่ไม่อยู่ในอาณัติ เป็นการสะท้อนให้เห็นการสมรู้ร่วมคิดกันเป็นพันธมิตรเพื่อทำสงครามแย่งชิงกันเป็นใหญ่ของสองกลุ่มอำนาจรัฐ อีกทั้งเป็นการสะท้อนให้เห็นความปรารถนาที่จะอยู่รอดของรัฐเล็กๆโดยการเข้าเป็นพันธมิตรกับรัฐใหญ่เพื่อให้รัฐใหญ่คุ้มครอง ปี 575 ก่อนคริสต์ศักราช รัฐจิ้นทำสงครามใหญ่กับรัฐฉู่ที่เยียนหลิง (鄢陵) รัฐฉู่พ่ายแพ้ ในระหว่างช่วงเวลานี้รัฐจิ้นและรัฐฉู่ทำสงครามกันอยู่หลายๆครั้ง รัฐจิ้นมีชัยชนะ ปี 546 ก่อนคริสต์ศักราช รัฐซ่งนัดประชุมกับรัฐจิ้นและรัฐฉู่ คราวนี้มีรัฐอื่นๆสิบกว่ารัฐเข้าร่วมประชุมด้วย ข้อตกลงในที่ประชุมมีว่า ให้รัฐเล็กและรัฐขนาดกลางต้องส่งเครื่องบรรณาการให้แก่รัฐจิ้นและรัฐฉู่เสมอเท่าเทียมกัน รัฐจิ้นและรัฐฉู่แบ่งสรรอำนาจกัน ในขณะที่รัฐจิ้นกับรัฐฉู่ทำสงครามแย่งกันเป็นใหญ่ในภาคกลาง ทางตอนใต้ของแม่น้ำฉางเจียงเกิดรัฐอำนาจใหม่สองรัฐ คือ รัฐอู๋ กับรัฐเย่ว รัฐจิ้นเนื่องด้วยจะต่อกรกับรัฐฉู่จึงเป็นพันธมิตรกับรัฐอู๋ รัฐอู๋กับรัฐฉู๋ก็ทำสงครามกันอยู่บ่อยๆ ปี 506 ก่อนคริสต์ศักราช รัฐอู๋ยกทัพใหญ่โจมตีรัฐฉู่ มีชัยชนะไปตลอดทางจนยกเข้าประชิดเมืองหลวงรัฐฉู่ ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมากำลังเข้มแข็งของรัฐฉู่ก็อ่อนลงไปเรื่อยๆ ในห้วงเวลาที่รัฐจิ้นร่วมมือรัฐอู๋กำจัดรัฐฉู่ รัฐฉู่หันไปจับมือรัฐเย่วเพื่อกำจัดรัฐอู๋ รัฐอู๋กับรัฐเย่วทำสงครามกันอยู่อย่างต่อเนื่อง อู๋หวางเหอลวี๋ทำสงครามตายในสนามรบ โอรสฟูชายขึ้นครองรัฐวางแผนล้างแค้นเอาชนะเย่วหวางโกวเจี้ยนแล้วยกทัพใหญ่ขึ้นเหนือนัดประชุมกับรัฐพันธมิตรที่หวงซือ ตกลงกับรัฐจิ้นได้ดำรงตำแหน่งเป็นผู้นำ เย่วหวางโกวเจี้ยนตกเป็นเชลยต้องยอมทนทุกข์ยากลำบาก ค่อยๆสะสมกองกำลัง สบโอกาสอู๋หวางฟูชายยกพลขึ้นเหนือเพื่อแย่งชิงอำนาจเป็นใหญ่ ส่งทัพบุกล้อมเมืองหลวงรัฐอู๋ อู๋หวางฟูชายรีบยกทัพกลับเมืองหลวง ขอทำสัญญาสันติภาพกับรัฐเย่ว ต่อมาไม่นานรัฐเย่วทำลายรัฐอู๋ โกวเจี้ยนยกทัพไปร่วมประชุมเจ้าครองรัฐที่สวีโจว (徐州) ณ.เวลานั้นถูกยกย่องเป็นป้าจู่ การผนวกดินแดนและการสู้รบในสมัยสงครามชุนชิว แสดงให้เห็นการพัฒนาทางสังคมและเศรษฐกิจของแต่ละรัฐ แต่ละดินแดน ทั้งยังเป็นตัวเร่งในการติดต่อและบูรณาการระหว่างประชาชนที่เชื้อชาติแตกต่างกัน หลังจากผ่านการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในช่วงเวลานี้ รัฐเล็กรัฐน้อยร้อยกว่ารัฐค่อยๆโดนผนวกดินแดนเป็นของรัฐใหญ่ เหลือเป็นรัฐใหญ่แค่เจ็ดรัฐ และรัฐเล็กๆอีกประมาณสิบกว่ารัฐรอบๆ


ยุคของสงครามจ้านกั๊ว

สงครามจ้านกั๊วได้ชื่อมาจากการทำสงครามต่อสู้กันระหว่างรัฐต่อรัฐต่างๆเป็นเวลานานปีต่อเนื่องกัน โดยทั่วไปนับตั้งแต่ปี 475 ก่อนคริสต์ศักราช จนถึงยุคจักรพรรดิฉินสื่อฮวาง (秦始皇, จักรพรรดิจิ๋นซีฮ่องเต้) รวบรวมประเทศจีนเป็นปึกแผ่น เรียกยุคนี้ว่า สงครามจ้านกั๊ว


เจ็ดรัฐผู้ยิ่งใหญ่แห่งสงครามจ้านกั๊ว



แผนที่แสดงดินแดนรัฐต่างๆสมัยสงครามจ้านกั๊ว รัฐฉี (齐国) เมืองหลวง คือ หลินจือ (临淄, ปัจจุบันคือเมืองจือป๋อ淄博 มณฑลซานตง) รัฐฉู่ (楚国) เมืองหลวง คือ หยิ่ง (郢, ปัจจุบันคือเขตเจียงหลิง江陵เมืองจิงโจว荆州 มณฑลหูเป่ย) รัฐเยี้ยน (燕国) เมืองหลวง คือ จี้ (蓟, ปัจจุบันอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของกรุงเป่ยจิง) รัฐหาน (韩国) เมืองหลวง คือ เจิ้ง (郑, ปัจจุบันคือเมืองซินเจิ้ง新郑มณฑลเหอหนาน) รัฐจ้าว (赵国) เมืองหลวง คือ หานตาน (邯郸, ปัจจุบันคือเมืองหานตาน มณฑลเหอเป่ย) รัฐเว่ย (魏国) เมืองหลวง คือ ต้าเหลียง (大梁, ปัจจุบันคือเมืองไคเฟิง มณฑลเหอหนาน) รัฐฉิน (秦国) เมืองหลวง คือ เสียนหยาง (秦国, ปัจจุบันคือดินแดนทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเมืองเสียนหยาง มณฑลส่านซี)




ข้อพิพาทในยุคสงครามจ้านกั๊ว

สถานการณ์ในยุคสงครามจ้านกั๊ว คือ รัฐฉู่อยู่ทางทิศใต้ รัฐจ้าวอยู่ทางทิศเหนือ รัฐเยี้ยนอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ รัฐฉีอยู่ทางทิศตะวันออก รัฐฉินอยุ่ทางทิศตะวันตก รัฐหานและรัฐเว่ยอยู่ตอนกลาง ในบรรดารัฐใหญ่เจ็ดรัฐนี้มีแม่น้ำหวงเหอ (黄河) เป็นเขตแดนกันชนไหลจากทิศตะวันตกสู่ทิศตะวันออกผ่านสามรัฐ คือ รัฐฉิน รัฐเว่ย และรัฐฉี สร้างความเข้มแข็งให้แก่รัฐทั้งสามในสถานการณ์เบื้องต้น เริ่มต้นตั้งแต่กลางศตวรรษที่สี่ก่อนคริสต์ศักราชซึ่งเว่ยเหวินโฮว (魏文侯) ขึ้นมามีอำนาจ คือ ยุคที่รัฐเว่ยมีอิทธิพลมากปกครองภาคกลาง ความเข้มแข็งของรัฐเว่ยทำให้รัฐหาน รัฐจ้าว รัฐฉินเป็นกังวลมีการกระทบกระทั่งกันอยู่อย่างต่อเนื่อง ปี 354 ก่อนคริสต์ศักราช รัฐจ้าวยกทัพตีรัฐเว่ย (卫) รัฐเว่ยมองรัฐเว่ย (卫) เป็นรัฐพี่เมืองน้องเชื้อสายเดียวกัน ดังนั้นจึงยกทัพไปตีเมืองหานตานเมืองหลวงรัฐจ้าว รัฐจ้าวร้องขอความช่วยเหลือจากรัฐฉี รัฐฉีส่งเถียนจี้ (田忌) มาช่วยรัฐจ้าวใช้กลยุทธของซุนปิน (孙膑) ยกทัพตีเมืองต้าเหลียงเมืองหลวงของรัฐเว่ยแบบไม่ทันตั้งตัว ตอนนั้นทัพเว่ยกำลังตีเมืองหานตานจำเป็นต้องถอนทัพกลับไปป้องกันรัฐของตนแต่ถูกทัพรัฐฉีตีพ่ายที่กุ้ยหลิง (桂陵) ปีต่อมารัฐเว่ยร่วมมือกับรัฐหานตีรัฐฉีแต่ต้องแพ้พ่ายต่อกองทัพฉี ปี 342 ก่อนคริสต์ศักราช รัฐเว่ยยกทัพตีรัฐหาน รัฐหานขอความช่วยเหลือจากรัฐฉี รัฐฉียังคงแต่งตั้งเถียนจี้เป็นแม่ทัพ แต่งตั้งซุนปินเป็นที่ปรึกษากองทัพ หลอกล่อกองทัพเว่ยติดกับดักตกเข้าสู่วงล้อมซุ่มโจมตีที่หม่าหลิง (马陵) กองทัพธนูนับหมื่นของฉียิงธนูใส่กองทัพเว่ย ผางจวน (庞涓) แม่ทัพใหญ่รัฐเว่ยถูกยิงตาย โอรสองค์โตรัฐเว่ยถูกล้อมจับได้เป็นนักโทษ นี่คือยุทธการการรบที่มีชื่อเสียงในจีน เรียกว่า สงครามหม่าหลิง กลายเป็นผลให้รัฐฉีและรัฐเว่ยมีกำลังคานอำนาจกันทางทิศตะวันออก หลังจากที่รัฐฉินที่เสียนหยางมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองค่อยๆกลายเป็นรัฐที่เข้มแข็งที่สุดในบรรดารัฐใหญ่ทั้งเจ็ด ดังนั้นจึงคิดขยายอำนาจมาทางด้านตะวันออก เริ่มจากตีกองทัพจิ้นแตกไปสามครั้งตีตัดผนวกดินแดนแถบเหอซี (河西) ทั้งหมดของรัฐจิ้น จากนั้นก็ขยายดินแดนไปทางทิศตะวันตก ทิศใต้และทิศเหนือ ถึงยุคต้นศตวรรษที่สี่ก่อนคริสต์ศักราช รัฐฉินก็มีดินแดนเกือบทัดเทียมกับดินแดนรัฐฉู่ ในห้วงเวลาที่รัฐฉินทำสงครามสามครั้งกับรัฐจิ้น รัฐฉีทางทิศตะวันออกกำลังเสริมทัพรัฐตนเองให้เข้มแข็ง ในปี 315 ก่อนคริสต์ศักราช รัฐฉีใช้โอกาสที่เยี้ยนหวางไข้ว (燕王哙) ปรารถนาเป็นเจ้าครองรัฐเยี้ยนบังคับให้โอรสเจ้าครองรัฐสละราชสมบัติจนเป็นเหตุให้การเมืองภายในเกิดความวุ่นวายเข้าตีรัฐเยี้ยน ภายหลังชาวรัฐเยี้ยนลุกฮือขึ้นต่อต้านอย่างรุนแรง กองทัพรัฐฉีจึงต้องถอนทัพออกจากรัฐเยี้ยน ห้วงเวลานั้นมีเพียงแค่รัฐฉีเท่านั้นที่สามารถเป็นผู้ต่อกรกับรัฐฉินได้ ดังนั้นการต่อสู้จึงเน้นไปสู่การทำสงครามกับรัฐฉู่ รัฐฉู่ในช่วงนั้นยังปรับปรุงรัฐไม่เรียบร้อย กำลังอำนาจยังไม่เข้มแข็ง แต่มีดินแดนกว้างใหญ่ ประชากรมีเป็นจำนวนมาก รัฐฉู่ และรัฐฉีร่วมมือกันต่อต้านรัฐฉิน เนื่องจากรัฐฉินมีการพัฒนารัฐไปมากซึ่งเป็นภัยต่อรัฐอื่นๆ รัฐฉินส่งจางอี๋ (张仪) ไปรัฐฉู่ ชักชวนรัฐฉู่ให้ละทิ้งการทำพันธมิตรกับรัฐฉีหันมาเข้ากับรัฐฉิน สัญญาว่าจะยกที่ดินหกร้อยลี้ขายให้แก่รัฐฉู่ เมื่อรัฐฉู่ส่งคนไปรัฐฉินเพื่อตกลงเรื่องที่ดินนี้ จางอี๋สมุหนายกรัฐฉินกลับคำว่าที่ดินนี้เพียงหกลี้เท่านั้น ฉู่หวยหวาง (楚怀王) จึงยกทัพไปตีรัฐฉินแต่พ่ายแพ้กลับมา รัฐฉินฉวยโอกาสที่รัฐฉู่อ่อนแอยกทัพสู่แผ่นดินที่ราบภาคกลาง เริ่มจากตีรัฐหาน จากนั้นตีรัฐเว่ย สุดท้ายทำสงครามกับรัฐฉี ในปี 286 ก่อนคริสต์ศักราช รัฐฉีตีรัฐซ่งแตก ทำให้แต่ละรัฐรู้สึกได้ถึงความไม่สงบที่จะเกิดขึ้น รัฐฉินเข้าตีรัฐหาน รัฐจ้าว รัฐเว่ย รัฐเยี้ยนตามลำดับจากนั้นทำสงครามกับรัฐฉี มีชัยชนะต่อกองทัพฉี รัฐเยี้ยนแต่งตั้งเล่ออี้ (乐毅) เป็นแม่ทัพ ฉวยโอกาสเข้าตีเมืองหลินจือเมืองหลวงรัฐฉี เข้าตีเมืองรัฐฉียึดได้เจ็ดสิบกว่าเมือง เจ้าครองรัฐฉีหนีไปพึ่งรัฐฉู่แต่ถูกเจ้าครองรัฐฉู่จับประหารเสีย สถานะอำนาจของรัฐฉีซึ่งเคยเข้มแข็งกลับสูญหายตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ดังนั้นรัฐฉินจึงมุ่งสู่ตะวันออกเพื่อขยายอำนาจรัฐตนเอง


รัฐฉินกับรัฐอื่นๆหกรัฐ

ปี 246 ก่อนคริสต์ศักราช ฉินหวางเจิ้ง (秦王政, ภายหลังขึ้นครองราชย์เป็นจักรพรรดิฉินสื่อฮวางตี้) ขึ้นครองราชย์รัฐฉิน พระองค์ทรงใช้เว่ยเหลียว (尉缭) หลี่ซือ (李斯) และขุนนางขุนศึกอื่นๆก้าวที่ละขั้นในการรวบรวมประเทศจีนให้เป็นปึกแผ่น ใช้เงินซื้อขุนนางที่มีชื่อเสียงและขุนนางที่มีความสามารถจากรัฐอื่นๆทั้งหกส่งผลให้การบริหารรัฐของรัฐอื่นๆอ่อนแอ และทำสงครามทางทิศตะวันออกอย่างต่อเนื่อง เมื่อผ่านการทำสงครามเป็นห้วงเวลานานปี เริ่มจากปี 230 ก่อนคริสต์ศักราช รัฐฉินตีได้รัฐหาน จนถึงปี 221 ก่อนคริสต์ศักรราช รัฐฉินตีรัฐฉีแตก รัฐทั้งหกทางทิศตะวันออกถูกรัฐฉินผนวกรวบรวมเป็นปึกแผ่น ประเทศจีนกลับมาเป็นหนึ่งเกิดความสามัคคีของคนจีน (华夏, ฮวาเซี่ย เป็นชื่อของคนจีนเรียกตนเองในสมัยโบราณ ก่อนที่จะเรียกตนเองว่า ชาวฮั่น) ภายในชาติอีกครั้ง สถาปนาศูนย์กลางอำนาจรัฐศักดินา

จักรพรรดิฉินสื่อฮวางตี้ หรือ จิ๋นซีฮ่องเต้ การรวบประเทศเป็นเอกภาพของรัฐฉิน คือแนวโน้มที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ซึ่งพัฒนามาจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคมในยุคสมัยของสงครามชุนชิว เมื่อเปรียบเทียบกำลังการผลิตกับยุคสมัยราชวงศ์โจวตะวันตกและราชวงศ์โจวตะวันออกมีการพัฒนาการผลิตใหม่ๆเพิ่มขึ้น อุตสาหกรรมการทำเหมืองแร่ การถลุงแร่ การหล่อโลหะปรากฎว่ามีกระบวนการการผลิตใหม่ๆเพิ่มขึ้นมากมาย อาทิเช่นการใช้แผ่นซ้อนๆกันเพื่อเป็นตัวหนุนเพลารถ การขุดเหมืองแร่ทองแดงให้ลึกที่สุดเท่าที่จะทำได้ มีการเกิดขึ้นของการผลิตและทำเหมืองแร่ซัลไฟด์ ขยายการผลิตของอุตสาหกรรมแร่ทองแดง การเชื่อมโลหะ การสลักลงบนโลหะ การผลิตทองและกระบวนการผลิตโดยการหล่อขี้ผึ้ง เป็นต้น เพื่อให้ประเทศจีนในยุคโลหะสำริดก้าวเข้าสู่ยุคการพัฒนาเพื่อความยั่งยืนและถาวร เมื่อยุคโลหะสำริดปรากฎ โดยเฉพาะภายหลังช่วงกลางของยุคสงครามจ้านกั๊วเครื่องมือเครื่องใช้โลหะในอุตสาหกรรมการเกษตรและอุตสาหกรรมงานฝีมือค่อยๆเป็นที่นิยมขึ้นเรื่อยๆเป็นแรงผลักดันที่เข้มแข็งในการพัฒนาการผลิตของสังคม สังคมมีการแบ่งงานแยกย่อย แต่ละธุรกิจแต่ละอุตสาหกรรมเจริญรุ่งเรือง เป็นการส่งเสริมการผลิตและการไหลเวียนของสินค้า ทำให้กิจกรรมทางธุรกิจมีการใช้สอยและเจริญรุ่งเรือง การเกิดขึ้นของชนชั้นเจ้าที่ดินรายใหม่มีความสัมพันธ์สอดคล้องกับการผลิต การผลิตแบบเก่ากลายเป็นระเบิดเวลาที่รอวันสูญหายไป นี่คือการเปิดเสรีของกำลังการผลิต แต่ระบบศักดินาก่อให้เกิดการแย่งชิงดินแดนและการต่อสู้เพื่อแย่งชิงอำนาจนำความสูญเสียอย่างใหญ่หลวงมาสู่เศรษฐกิจและสังคม ส่งผลต่อการบาดเจ็บล้มตายของประชากรเป็นจำนวนมหาศาล รัฐแต่ละรัฐต่างพากันปิดชายแดนซึ่งไม่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาผลิตผลสู่สังคมและการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม ดังนั้นจึงอยู่ที่การตระหนักถึงการที่ประเทศเป็นเอกภาพเท่านั้นจึงจะสามารถส่งเสริมผลักดันให้สังคมมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วและก้าวหน้า รวบรวมเกษตรกรส่วนใหญ่ ชนชั้นพ่อค้าและชนชั้นเจ้าที่ดินให้มองไปข้างหน้าถึงการมีเอกภาพและความสามัคคีในประเทศ ถึงแม้ว่าการเป็นเอกภาพจำเป็นต้องผ่านช่วงเวลาอันแสนยาวนานในการทำสงคราม ประชาชนต้องจ่ายค่าตอบแทนบทเรียนราคาแสนแพงในช่วงเวลานั้น แต่มันก็แลกเปลี่ยนมาด้วยความก้าวหน้าในทางประวัติศาสตร์หลังจากช่วงเวลานั้น ก่อให้เกิดการจัดตั้งระบอบการปกครองแบบใหม่ขึ้น ว่าด้วยทฤษฎี 5 ผลงานโดดเด่นที่เกิดขึ้น เศรษฐกิจ ยุคสงตรามชุนชิวจ้านกั๊ว ประเทศจีนเข้าสู่ยุคปลายของยุคโลหะสำริด เนื่องจากมีการใช้เครื่องใช้เครื่องมือโลหะเหล็กและการใช้วัวควายเพื่อการเกษตร การใช้เครื่องมือเครื่องใช้ทองเหลืองค่อยๆลดน้อยหายไปจากยุคนั้น การใช้เครื่องมือเครื่องใช้เหล็กและการใช้วัวควายในการเกษตรในเวลานั้นแสดงให้เห็นถึงการเพิ่มพูนกำลังทางการผลิตของสังคม เศรษฐกิจแบบระบบศักดินาของประเทศจีนได้รับการพัฒนาไปอีกก้าวหนึ่ง โดยเฉพาะความสำเร็จอันโดดเด่นของทางภาคเหนือ การก้าวกระโดดทางการผลิตเป็นเหตุให้เกิดการปฎิวัติเกี่ยวเนื่องกับการผลิต ยุคสงครามชุนชิวจ้านกั๊ว ระบบการแบ่งที่ดินเพื่อทำการเกษตรจิ่งเถียนจื้อ (井田制) ค่อยๆถูกแทนที่ด้วยการใช้ที่ดินทำการเกษตรเป็นส่วนตนแบบระบบศักดินาเจ้าที่ดินแทนที่ และในที่สุดเป็นที่ยอมรับหลังจากผ่านการเปลี่ยนแปลงการปฎิรูปทางการเมืองของแต่ละรัฐทั่วทั้งประเทศ

ศิลปและวัฒนธรรม

วัฒนธรรมคือตัวสะท้อนการเมืองและเศรษฐกิจในช่วงเวลานั้น ยุคสงครามชุนชิวจ้านกั๊ว การพัฒนาทางเศรษฐกิจเป็นตัวผลักดันส่งเสริมความก้าวหน้าของรากฐานของการเรียนรู้และการศึกษา การเปลี่ยนแปลงทางสังคมมีส่วนในแนวความคิดของการเพิ่มกิจกรรมของการทำงานแยกเป็นประเภทต่างๆอย่างมากมายและส่งเสริมวรรณกรรมและศิลปให้เจริญรุ่งเรือง ยุคสงครามชุนชิวจ้านกั๊วเป็นยุคของการส่งผ่านของระบบเจ้าผู้ปกครองแคว้นหรือรัฐต่างๆในระบบศักดินา เป็นความสัมพันธ์ของยุคการผลิตแบบระบบศักดินาในช่วงสงครามที่สามารถเอาชนะความสัมพันธ์การผลิตของยุคศักดินาแบบข้าทาส ในด้านการศึกษามีนักปราชญ์นักวิชาการเกิดขึ้นมากมายเป็นยุคของสำนักศึกษาต่างๆเกิดขึ้นเป็นร้อยๆสำนักเพื่อต่อสู้กันทางความคิดมากมายเป็นประวัติการณ์ ศิลปในสาขาต่างๆมีการพัฒนาอย่างรวดเร็วจนเป็นที่น่าประทับใจ สงครามชุนชิวจ้านกั๊วกินเวลานานเป็นหลายร้อยปี รัฐต่างๆแต่ละรัฐต่างมีการพัฒนาอย่างอิสระก่อเกิดเป็นการมีวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน หลี่เสวฉิน (李学勤) นักโบราณคดีได้สรุปจำแนกวัฒนธรรมเป็นกลุ่มก้อนดังนี้ วัฒนธรรมของที่ราบภาคกลาง วัฒนธรรมของจีนตอนเหนือ วัฒนธรรมของรัฐฉีและรัฐหลู่ วัฒนธรรมของรัฐฉู่ วัฒนธรรมของรัฐอู๋และรัฐเว่ย วัฒนธรรมของปาสู่เตียน (巴蜀滇,ปาสู่ คือ มณฑลสื่อชวน หรือ เสฉวน เตียน คือ มณฑลหยินหนาน หรือ ยูนาน) ในระหว่างที่แต่ละรัฐทำสงครามผนวกดินแดนต่างก็รวบรวมชาวบ้านเข้ามาด้วย เมื่อรัฐฉินรวมประเทศเป็นเอกภาพก่อเกิดการหลอมรวมวัฒนธรรมกลายเป็นวัฒนธรรมจีน (中华文化, จงฮวาเหวินฮั้ว) ที่อุดมไปด้วยสีสันและมีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง ในระหว่างยุคสงครามชุนชิวจ้านกั๊ว วัฒนธรรมของประเทศกรีกในทวีปยุโรปกำลังเข้าสู่จุดของการพัฒนาสูงสุด วัฒนธรรมจีนและวัฒนธรรมตะวันตกสองวัฒนธรรมหลักต่างห่างไกลและแตกต่างกันมาก ถ้าเปรียบเทียบกัน กรีกมีชื่อเสียงและฝีมือทางด้านวัฒนธรรมการแกะสลัก ได้ทิ้งสมบัติทางศิลปให้แก่คนรุ่นหลานเป็นจำนวนนับไม่ถ้วน ซึ่งในประวัติศาสตร์ของโลกศิลปฉายให้เห็นศิลปที่ไม่สามารถลบเลือนไปจากโลกได้ ยุคของสงครามชุนชิวจ้านกั๊ว เครื่องมือเครื่องใช้ทองสัมฤทธิ์ซึ่งใช้งานได้หลายๆอย่างมีชื่อเสียงไปทั่วโลก เครื่องมือเครื่องใช้ทองสัมฤทธิ์เป็นที่รวมของงานแกะสลัก การวาดเขียน การประดิษฐ์ตัวหนังสือ งานศิลปฝีมือประกอบรวมกันขึ้นเป็นเครื่องมือทางศิลปชิ้นหนึ่ง สามารถใช้งานได้จริง มีความสวยงามในตัวของมันเอง เป็นงานสร้างสรรโดยฝีมือมนุษย์และแรงบันดาลใจจากเทพเจ้า ซึ่งก็คือ ระดับความแตกต่างของศิลปของจีนเทียบกับตะวันตก


  • อุดมการณ์ความคิด

ในระหว่างยุคสงครามชุนชิวจ้านกั๊ว ดินแดนจีนถูกพายุลูกใหญ่ของการเปลี่ยนแปลงทางสังคมกระหน่ำ ในท่ามกลางพายุลูกใหญ่ที่มีอำนาจเปลี่ยนแปลงมากนี้ ไม่มีใครสามารถต่อต้านกระแสของการเปลี่ยนแปลง ระบบทาสเก่าๆถูกลดบทบาทลง ระบบชนชั้นเจ้าครองที่ดินถูกสถาปนาขึ้น ระบบเก่าๆและแนวความคิดคุณธรรมและจริยธรรมถูกแทนที่ด้วยระบบใหม่ๆและอุดมการณ์ความคิด ชาวนาและเกษตรกรบางส่วนได้รับอิสระมากขึ้น ความสัมพันธ์ของการผลิตในสังคมถูกเปลี่ยนแปลงให้ลึกซึ้งเข้าไปอีก ความขัดแย้งทางชนชั้นถูกกระทำให้รุนแรงเพิ่มมากขึ้น ผนวกกับมีการทำสงครามกันอย่างต่อเนื่องไม่หยุดหย่อน สังคมโดยรวมแสดงให้เห็นความซับซ้อนของสถานการณ์ที่มีความปั่นป่วน ในช่วงเวลานี้ได้เกิดชนชั้นใหม่ในสังคมขึ้น คือ ชนชั้นนักปราชญ์นักวิชาการ พวกเขามาจากชนชั้นต่างๆในสังคม ถึงแม้ว่าตำแหน่งหน้าที่ของพวกเขาจะไม่ค่อยสูง แต่พวกเขาส่วนใหญ่มีความรู้และความสามารถ บางคนมีความรู้เชี่ยวชาญทางดาราศาสตร์ การกำหนดวันและปฎิทิน ภูมิศาสตร์และวิชาความรู้อื่นๆ บางคนเชี่ยวชาญโดดเด่นด้านการเมือง การทหาร ปราชญ์บัณทิตและนักวิชาการโดดเด่นอันมีเมิ่งจือ (孟子) ม้อจือ (墨子) จวงจือ (庄子) สวินจือ (荀子) หานเฟยจือ (韩非子) รวมทั้งซางยาง (商鞅) เซินปู้ไห้ (申不害) สวี่หาง (许行) เฉินเซียง (陈相) ซูฉิน (苏秦) จางอี๋ (张仪) เป็นต้น ต่างเป็นนักคิด นักการเมือง นักการทหารและนักวิชาการที่มีชื่อเสียง โดยทั่วไปทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาและให้คำแนะนำกับกษัตริย์ หรือ เจ้าครองรัฐ หรือ ราชนิกูลของกษัตริย์หรือเจ้าครองรัฐ รวมทั้งทำหน้าที่เป็นรั้วปกป้องอำนาจให้แก่กษัตริย์หรือเจ้าครองรัฐ เป็นปากเป็นเสียงและฉกฉวยโอกาสให้แก่เจ้านาย ซึ่งค่อยๆเพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากนักวิชาการเหล่านี้มาจากชาติกำเนิดที่แตกต่างกัน ตำแหน่งหน้าที่ที่แตกต่างกัน ดังนั้นเมื่อต้องการแก้ไขหรือตอบโจทย์ปัญหาที่เกิดขึ้น จึงเสนอความคิดเห็นทางการเมืองหรือความต้องการที่แตกต่างกัน พวกเขาจะเขียนหนังสือเสนอความคิดเห็น ถกเถียงกันไม่หยุด สำนักศึกษาเกิดขึ้นเป็นร้อยๆสำนักเพื่อต่อสู้กันทางด้านความคิด กลายเป็นการก่อเกิดสำนักความคิดหรู่เจีย (儒家,สำนักขงจือ) เต้าเจีย (道家,สำนักเต๋า) สำนักม้อเจีย (墨家) สำนักฝ่าเจีย (法家,สำนักนิติศาสตร์) สำนักหยินหยางเจีย (阴阳家) สำนักหมิงเจีย (名家) สำนักจ้งเหิงเจีย (纵横家) สำนักจ๋าเจีย (杂家) สำนักหนงเจีย (农家) สำนักเสี่ยวซัวเจีย (小说家) และสำนักศึกษาอื่นๆอีกมากมาย ในบรรดาสำนักต่างๆเหล่านี้สำนักที่มีความสำคัญ คือ สำนักหรู่เจีย เต้าเจีย ม้อเจียและฝ่าเจีย เพียงสี่สำนักนี้ อีกทั้งหนังสือและกวีนิพนธ์ของขงจือ ม้อจือ เหลาจือ จวงจือ สวินจือ หานเฟยจือ เป็นผลงานที่มีชื่อเสียงเป็นตัวแทนของสำนักศึกษาทั้งสี่นี้ ในบรรดาผลงานของสำนักทั้งสี่ ผลงานของขงจือ และจวงจือ มีคุณค่าทางวรรณกรรมของประเทศจีนเป็นอย่างยิ่ง




  • จิตรกรรมวาดเขียน

วรรณกรรมจีนสมัยนั้นอุดมไปด้วยภาพเขียนโดยเฉพาะภาพเขียนลายพู่กัน เริ่มจากหนังสือในสมัยสงครามจ้านกั๊ว ชื่อว่า ซานไห่จิง (山海经) กวีผู้ยิ่งใหญ่รัฐฉู่ นามชวีหยวน (屈原) สะท้อนภาพวาดไว้ในเนื้อหาหนังสือ เทียนเวิ่น (天问) สะท้อนให้เห็นภาพวาดลายพู่กันจำนวนมากมายในหนังสือแต่น่าเสียดายที่ไม่มีการเผยแพร่ทั่วไป พวกเราจึงสามารถถ่ายทอดได้เพียงจากภาพวาดบนเครื่องมือทองสัมฤทธิ์ ภาพวาดบนเครื่องเคลือบดินเผาและภาพวาดบนเสื้อผ้าผ้าไหมสองชิ้นที่หลงเหลือจากยุคนั้นมาอธิบายงานจิตรกรรมภาพเขียนในสมัยนั้น ผ่านจากภาพขนาดใหญ่ที่ซับซ้อนบนเครื่องมือทองสัมฤทธิ์เป็นภาพการเลี้ยงหม่อนไหม ภาพการล่าสัตว์ ภาพยิงธนู ภาพความรื่นเริง การทำสงครามทางน้ำและทางบก เป็นต้น แสดงให้เห็นถึงความสามารถเป็นอย่างสูงของช่างฝีมือในการจัดองค์ประกอบและขนาดของภาพ เริ่มมีความเข้าใจในความสมมาตรและสมดุลของภาพเมื่อเปรียบเทียบกับกฎเกณฑ์ของงานศิลปอื่นๆ แม้ว่าภาพวาดยังมีข้อจำกัด ภาพของมนุษย์ยังไม่แสดงสีหน้าอารมณ์ออกมา แต่พฤติกรรมแสดงออกมาสดใส มีสัดส่วนองค์ประกอบที่เหมาะสม เป็นการแสดงออกทางอ้อมของอารมณ์ความคิดของมนุษย์ในภาพวาด ดังเหมือนที่สวินจือกล่าวว่าเป็นภาพวาดจากเทวดาบันดาล เครื่องเคลือบดินเผาที่ค้นพบจากสุสาน แสดงให้เห็นถึงรูปแบบและสีที่สดใสบริสุทธิ์ ภาพของมนุษย์มีการประสบความสำเร็จในการแสดงออกถึงการเคลื่อนไหว การแสดงออกทางสีหน้าวาดภาพค่อนข้างง่ายๆ ภาพวาดเหล่านี้ถือว่ายังอยู่ในยุคปฐมวัย แต่เป็นภาพวาดปฐมวัยที่เรียบง่ายมีชีวิตชีวาเต็มไปด้วยพลังที่สามารถแสดงออกให้เห็นอย่างเต็มที่ การตกแต่งโลงศพบางโลงมีการเคลือบด้วยสีน้ำมันถือว่าเป็นการค้นพบการใช้สีน้ำมันที่เก่าแก่ที่สุดในจีน ภาพวาดบนผ้าไหมสี่ชิ้นในสมัยสงครามจ้านกั๊วซึ่งหลงเหลือมาจนถึงปัจจุบัน โดยเฉพาะเป็นภาพวาดมังกรและนกฟีนิกซ์ ภาพวาดมังกรหลวง แสดงถึงความสามารถระดับสูงในการวาดภาพ ถ้าเป็นองค์ประกอบของภาพความสมดุลของภาพจะเปลี่ยนไป สัดส่วนของภาพจะมีการเปลี่ยนแปลงเคลื่อนไหว เส้นสายจะมีทั้งหนักและเบา ใหญ่และเล็กเพื่อให้ภาพเขียนมีความสมบูรณ์ในตัวของภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาพมังกรหลวง เส้นสายหนักแน่นมีพลัง ทั้งมีความยืดหยุ่น ภาพคนถือกระบี่เหมือนเป็นภาพสลักนูน เส้นสายแสดงออกถึงพลังมีความก้าวหน้ามากขึ้น ภาพวาดเขียนของจีนคือการใช้เส้นสายที่โดดเด่นแสดงถึงการเชื่อมโยงต่อเนื่องกัน มีการแพร่หลายไปทั่ว มีสีสรรมากหมาย ถ้ามองในอีกมุมหนึ่งเป็นภาพวาดที่อุดมไปด้วยเนื้อหาแสดงออกภายในภาพ


  • งานแกะสลัก

ไม่นานเท่าไหร่งานแกะสลักปฎิมากรรมของกรีกได้พัฒนาการไปถึงระดับ การแกะสลักปฎิมากรรมลอยตัวขนาดใหญ่ที่มีนัยยะยังไม่เกิดขึ้น ช่วงเวลานั้นงานแกะสลักปฎิมากรรมส่วนใหญ่ คือ รูปแกะสลักบนดินหรือไม้ในสุสานฝังศพ งานแกะสลักหินหยก การแกะสลักรูปสัตว์ต่าง การแกะสลักเครื่องมือทองสัมฤทธิ์และเครื่องเคลือบดินเผาของมนุษย์รวมทั้งผลิตภัณฑ์งานศิลปต่างๆที่เป็นงานฝีมือ จากงานที่อุดมไปด้วยงานที่ค่องข้างสลับซับซ้อนและงานฝีมือที่ละเอียดอ่อนสามารถกล่าวได้ว่า เป็นงานแกะสลักปฎิมากรรมของกรีกเกือบทั้งหมด แล้วที่ค้นพบในสมัยยุคสงครามชุนชิวจ้านกั๊วก็คืองานแกะสลักบนเครื่องเคลือบดินเผา ทองสัมฤทธิ์ หยก เครื่องปั้นดินเผา งานไม้และวัสดุที่มีคุณภาพอื่นๆเหมาะสมกับการแกะสลัก รูปแบบมีการแกะสลักเป็นรูปสัตว์ รูปมนุษย์ รูปเทพเจ้าและเทวดา รูปนกต่างๆ รูปมังกรและนกฟินิกซ์ เป็นต้น วิธีแกะงานฝีมือมีทั้งแกะสลักเป็นเส้นโค้งหรือวงกลม แกะสลักเป็นรูปนูนสูง แกะสลักโดยลงสีตกแต่ง แกะสลักโดยฝังวัสดุลงไป การแกะสลักภาพมนุษย์ ไม่เพียงแต่สามารถแยกแยะความแตกต่างทางระดับชั้นของสังคม แต่ยังสามารถแยกแยะชายหญิง วัยอายุเด็ก หนุ่มสาวหรือคนแก่ได้ทั้งยังแสดงพฤติกรรมอากัปกิริยาได้เห็นอย่างชัดเจน ประเพณีการแกะสลักของประเทศจีนทั้งหมดมีทั้งการตกแต่ง การเขียนและลงสี กลายเป็นลักษณะพิเศษของจีน ณ.จุดนี้ก่อเกิดเป็นรูปแบบการปฎิบัติเป็นประเพณีที่สืบทอดมีอิทธิพลไปอย่างกว้างขวาง


การเขียนตัวอักษรจีน ในประวัติศาสตร์การเขียนประดิษฐ์อักษรจีนถือว่ามีความสำคัญอย่างยิ่ง จารึกลงบนทองสัมฤทธิ์ (金文,จินเหวิน) และจารึกลงบนแผ่นหิน ถือว่าเป็นจุดสุดยอดแขนงหนึ่งของการพัฒนาศิลปการเขียนตัวอักษรจีนในประเทศจีน ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบ หรือความมั่นคงและความเรียบง่าย หรือความละเอียดและความสง่างาม ซึ่งมีความสดสวยงดงามไม่ซ้ำกัน เพื่อเป็นมรดกตกทอดแก่คนรุ่นหลัง หนังสือเมิงซู (盟书) หนังสือเจี่ยนเซ่อ (简册) ไม่ว่าจะเป็นหนังสือเล่มไหนหรือหนังสือจูซู (朱书) ต่างมีตัวอักษรจีนที่มีความสวยงาม มีเสน่ห์เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง ยกตัวอย่างหนังสือเมิงซู (盟书) ของโฮวหม่า (侯马) ลายพู่กันทุกเส้นชัดเจน การตวัดลายเส้นมีพลัง เส้นทุกเส้นมีความหนาความบาง ลายพู่กันทุกเส้นมีจุดเริ่มต้น มีคนตั้งชื่อให้ว่า หนังสือเคอโต่วซู (蝌蚪书, หนังสือเขียนด้วยพู่กันที่มีจุดเริ่มต้นลากเส้นและจุดจบของเส้น) เป็นรูปแบบการเขียนอักษรจีนประเภทหนึ่งที่มีความสวยสดงดงาม กลายเป็นตัวอย่างอักษรเริ่มแรกที่ใช้เป็นตัวอักษรในตราลัญจรประทับในเวลาต่อมา


  • ดนตรีและนาฎศิลป์

ภายใต้ความสนใจและความชื่นชอบของคนแต่ละชนชั้นในการปกครองแบบโบราณมีบทบาทอย่างกว้างขวางในสังคม ในบรรดาชนชั้นสูงดนตรีและนาฎกรรมเริ่มมีขึ้นใช้ในพิธีบูชาต่างๆและงานเลี้ยงงานฉลองพิธีการสำคัญต่างๆ สำหรับประชาชนแล้วดนตรีและนาฎศิลปส่วนใหญ่เพื่อความบันเทิงและการพักผ่อนสันทนาการเป็นหลัก แรกเริ่มดนตรีและนาฎศิลปของราชสำนักกับดนตรีและนาฎศิลปของชาวบ้านต่างแยกจากกันโดยเด็ดขาด เมื่อมาถึงยุคสงครามจ้านกั๊วดนตรีและนาฎศิลปของราชสำนักได้ดูดซับและหลอมหลวมองค์ประกอบจำนวนมากจากดนตรีและนาฎศิลปของชาวบ้านและชาวพื้นเมืองท้องถิ่น สร้างสรรเป็นดนตรีเฉพาะถิ่นอาทิเช่น เจิ้นเซิน (郑声) ฉู่อู่ (楚舞) ฉู่อิน (楚音) ซ่งอิน(宋音) เว่ยอิน (卫音) ฉีอิน (齐音) เป็นต้น ดนตรีและนาฎศิลปเหล่านี้นำเอาจุดเด่นของดนตรีที่สนุกสนานรื่นเริงแบบชาวบ้านมาเป็นดนตรีและนาฎศิลปของราชสำนักกลายเป็นปรากฎการณ์ที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ในความคืบหน้าทางประวัติศาสตร์ ซึ่งก่อให้เกิดความขัดแย้งและสร้างความกลัวในหมู่นักอนุรักษ์นิยมบางคนในสมัยนั้น แต่ความคืบหน้าในการเปลี่ยนแปลงดนตรีและนาฎศิลปในประวัติศาสตร์สมัยนั้นแสดงให้เห็นถึงแนวโน้มทั่วไปในสมัยนั้นซึ่งไม่สามารถย้อนกลับไปเป็นเหมือนเดิม จากบันทึกในประวัติศาสตร์และการค้นพบวัตถุโบราณในยุคสมัยสงครามจ้านกั๊วแสดงให้เห็นว่ามีกิจกรรมการแสดงดนตรีและนาฎกรรมของราชสำนักเป็นจำนวนมากมาย จากระฆังชุดสิบใบที่ขุดได้จากหลุมฝังศพของเฉิงโฮวอี๋ (曾侯乙) นำมาแสดงไม่ใช่ระฆังมีเพียงแต่ขนาดใหญ่ แต่ประสิทธิภาพเสียงของระฆังมีอยู่มากมายซึ่งสามารถแก้ไขปัญหาต่างๆมากมายของเสียงดนตรี ในยุคนั้นยกเว้นดนตรีและนาฎศิลปเพื่อประกอบพิธีกรรม ดนตรีและนาฎกรรมสำหรับการขอพรและขับไล่ปีศาจตามความเชื่อทางศาสนาพัฒนาไปมาก เช่นดนตรีเพื่อพิธีการเสียสละประจำปี พิธีสะเดาะเคราะห์ ต่างเป็นที่นิยมทั้งจากราชสำนักและชาวบ้านทั่วๆไป ดนตรีฉู่ และนาฎกรรมฉู่ เป็นเพลงเก้า (九歌,จิ่วเกอ) แต่งโดย ฉี๋หยวน (屈原) ในด้านทฤษฎีของดนตรี ปรัชญาดนตรีของรัฐฉู่เริ่มต้นคือการเน้นในแนวทางดนตรีที่มีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง สำนักเต้าเจีย สำนักม้อเจีย สำนักฝ่าเจียมีทัศนคติเชิงลบต่อดนตรีและนาฎกรรม แต่เงื่อนไขในการต่อต้านและทัศนคติเชิงลบที่มีต่างสำนักต่างแตกต่างกัน แน่นอนสำนักหรู่เจียมีทัศนคติต่อดนตรีและนาฎศิลป โดยเฉพาะขงจือ เมิ่งจือ สวินจือ ต่างก็มีจุดยืนของตนเองในทัศนคติที่มีต่อดนตรีและนาฎศิลปในช่วงเวลานั้น ไม่ว่าจะเป็นทัศนคติในเชิงบวกหรือเชิงลบแต่ท่านเหล่านั้นก็มีเหตุผลเป็นของตน ทั้งหมดเกิดจากการสร้างสรรด้านหนึ่งกลายเป็นแรงบันดาลใจมีความคุ้มค่าแก่คนรุ่นหลังที่จะศึกษาวิเคราะห์ต่อไป


  • สถาปัตยกรรม

ส่วนใหญ่จะเป็นเมืองหลวงของรัฐต่างๆ อาทิเมืองลั่วหยางของกษัตริย์ราชวงศ์โจวตะวันออก เมืองหลินจือรัฐฉี เมืองเซี่ยตู (下都) รัฐเยี้ยน เมืองเก่าหานตานรัฐจ้าว เมืองเสียนหยางรัฐฉิน เมืองอิ่งตูรัฐฉู่ เมืองหลวงรัฐเจิ้ง เมืองหลวงรัฐหาน เป็นต้น ในยุคนี้งานสถาปัตยกรรมเมื่อเทียบกับงานศิลปในแขนงอื่นๆได้รับการพัฒนาไปถึงขั้นสูงสุดเฉกเช่นเดียวกัน เจ้าครองรัฐเพื่อการดำรงอยู่แห่งรัฐตนหรือการขยายอาณาเขต ต่างทุ่มเทใช้แรงงานมนุษย์และทรัพยกรอย่างระมัดระวังในการก่อสร้างเมืองหลวงของตน เพื่อสร้างเมืองหลวงให้เป็นศูนย์กลางทางการทหาร การเมืองและวัฒนธรรม เนื่องจากเมืองหลวงของแต่ละรัฐตั้งอยู่ในสภาพภูมิประเทศที่แตกต่างกัน การก่อสร้างจึงก่อสร้างให้เหมาะสมตามสภาพภูมิประเทศของแต่ละท้องถิ่น ดังนั้นเมืองหลวงแต่ละรัฐจึงมีลักษณะพิเศษเป็นของตน แต่ในหลายๆประการต่างมีหลายประการที่คล้ายๆกันหรือเกือบเหมือนกัน อาทิพระราชวังต่างมีกำแพงล้อมรอบหรือมีคลองคูน้ำล้อมรอบพระราชวัง ภายในเมืองหลวงทั้งหมดมีกำแพงพระราชวัง (宫城,กงเฉิง) และมีกำแพงเมืองด้านนอก (郭城,กัวเฉิง) กำแพงพระราชวังตั้งอยู่ในทำเลที่เป็นจุดเด่นมากที่สุดตรงแกนกลางใจกลางเมือง ภายในกำแพงเมืองด้านนอกทั้งหมดเป็นตัวเมือง เป็นย่านทำธุรกิจการค้าขาย กำแพงพระราชวังและกำแพงเมืองด้านนอกแยกออกจากกัน การวางผังเมืองซ้ายขวาหน้าหลังเป็นรูปแบบสมมาตร การวางตัวอาคารใช้เส้นแกนกลางของใจกลางเมืองเป็นหลักในการวางอาคารซ้ายขวาให้สมดุลกัน เป็นต้น ตามความสำเร็จของงานสถาปัตยกรรมสามารถพูดได้ว่า ในยุคนั้นมีการค้นพบการประดิษฐ์อิฐดินเผาและกระเบื้องดินเผาแล้วที่สามารถใช้งานได้อย่างเอนกประสงค์ ทำให้มีความสะดวกสบายเป็นอันมากในการพัฒนางานด้านสถาปัตยกรรม การคิดประดิษฐ์และการใช้งานของโต้วกง (斗栱) ทำให้เกิดความสวยงามที่เป็นเอกลักษณ์ของรูปแบบงานสถาปัตยกรรมจีนโบราณที่โดดเด่นไปทั่วโลก อาคารถายเซี่ย (台榭,อาคารประเภทศาลา) คืออาคารเพียงชนิดเดียวในยุคนั้นที่มีเอกลักษณ์เฉพาะ นอกจากนี้เนื่องจากข้อจำกัดในการก่อสร้างอาคารอย่างเข้มงวดในสมัยนั้น การก่อสร้างจึงต้องก่อสร้างตามแบบอาคารสถาปัตยกรรมสมัยโบราณ


  • งานศิลปทองสัมฤทธิ์

ศิลปงานฝืมือในสมัยสงครามชุนชิวจ้านกั๊วมีการเคลื่อนไหวมากที่สุด ผลิตผลจากศิลปฟูเฟื่องมีหลากหลาย ประสบความสำเร็จอย่างยิ่งใหญ่ งานศิลปทองสัมฤทธิ์อยู่ในช่วงสูงสุดหลังจากผ่านการตกต่ำในห้วงเวลาผ่านมาเรียกว่าอยู่ในช่วงเวลาแห่งความรุ่งโรจน์เจริญรุ่งเรือง เมื่อเปรียบเทียบกับยุคราชวงศ์ซางและราชวงศ์โจวตะวันตกมีการผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีคุณสมบัติใหม่ๆ รูปแบบพัฒนาจากแบบเดิมที่เทอะทะแต่สง่างามเป็นเบาบางเหมาะสมแก่การใช้สอย ผลิตทองสัมทธ์เป็นเครื่องมือเครื่องใช้รูปแบบใหม่ๆที่ใช้ในชีวิตประจำวันเพิ่มขึ้นเรื่อยๆทุกวัน การผลิตก็เพิ่มขึ้นเรื่อยๆทุกวัน การจารึกลงบนทองสัมฤทธิ์ มีข้อยกเว้นบางประการ ตัวอักษรจากยาวลดสั้นลง อย่างเช่นการจารึกในสมัยราชวงศ์โจวตะวันตกเพื่อแสดงประวัติของครอบครัวหรือเพื่อเผยแพร่ผู้ผลิตงานเครื่องมือทองสัมฤทธิ์โดยทั่วไปหายไป การตกแต่งทองสัมฤทธิ์พัฒนาไปในรูปแบบสองขั้ว หนึ่งคือนำรูปหน้าสัตว์ลึกลับที่มีความสง่างามปรับปลี่ยนเส้นสายให้เป็นรูปทรงเรขาคณิตที่กระชับง่ายขึ้น อีกแบบหนึ่งสร้างภาพอธิบายการใช้ชีวิตประจำวันที่เป็นจริงของคนในยุคนั้น เทคนิคงานฝีมือตกแต่งจารึกให้มีความหนักเบาเป็นชั้นๆตามเส้นสาย ดอกไม้ที่มีความหนาในสมัยก่อนเปลี่ยนเป็นดอกไม้ที่มีความปราณีตเรียบร้อย เทคนิคใหม่ๆ (เทคนิคการหล่อขี้ผึ้ง วิธีฝังและเลี่ยม การแกะสลัก) ได้รับการยกระดับและเป็นที่นิยมแผ่ขยายไปอย่างกว้างขวาง การใช้เครื่องมือทองสัมฤทธิ์ก้าวหน้าจนเป็นยุคใหม่ของช่างฝีมือชาวจีนผู้มีความชำนาญในงานนี้ การหล่อขี้ผึ้งถือว่าเป็นเทคโนโลยี่สุดยอดในการหล่อเครื่องมือทองสัมฤทธิ์ ข้อดีคือสามารถทำให้การตกแต่งเครื่องมือทองสัมฤทธิ์มีรูปแบบหลากหลายและละเอียดอ่อน การใช้และความนิยมอันกว้างขวางของเทคนิคนี้ได้ยกระดับงานผลิตทองสัมฤทธิ์เป็นอย่างสูง งานฝังและเลี่ยม (ไม่ว่าจะเป็นเงินหรือทอง) เทคนิคใช้ในการประดับตกแต่งลวดลายของทองสัมทธิ์ ทำให้รูปแบบของเครื่องมือทองสัมฤทธิ์เปลี่ยนแปลง ตกแต่งเป็นภาพนูนภาพเว้า มีสีสรรสดสวยงดงาม เนื่องจากการฝังการเลี่ยมใช้เครื่องทอง เงิน ตะกั่ว หยก หินน้ำเงินอมเขียว เป็นต้น ซึ่งมีพื้นผิววัสดุที่แตกต่างกัน พร้อมด้วยสีสรรที่แตกต่างกัน แต่งลงบนพื้นผิวของเครื่องมือทองสัมฤทธิ์ที่มีรูปแบบเป็นอัตราส่วนที่แน่นอน ดังนั้นการตกแต่งด้วยการฝังและเลี่ยมจึงถูกตาถูกใจกลายเป็นงานที่โดดเด่นอีกงานหนึ่ง การตกแต่งสลักจารึกลงบนเครื่องมือทองสัมฤทธิ์ทำให้การทำงานสะดวกขึ้นรูปแบบการตกแต่งมีมากมายมากกว่าแต่ก่อน โดยภาพรวมเครื่องมือทองสัมฤทธิ์ในยุคสงครามชุนชิวจ้านกั๊ว เน้นที่ความสวยงามและการใช้สอย โดดเด่น การใช้สอยช่วยลดจุดอ่อนลง การใช้กรรมวิธีลึกลับไม่มีอีกต่อไป นีคือสิ่งสำคัญของกระบวนการสร้างศิลปงานทองสัมฤทธิ์ซึ่งช่วยปลดปล่อยระบบการผลิตแบบไสยาศาตร์เล่นแร่แปรธาตุในระบบทาสในอดีตลงกลายเป็นงานฝีมือที่ผลิตใช้ในชีวิตประจำวัน สะท้อนให้เห็นแนวความคิดใหม่ของความสวยงามระหว่างเจ้าครองที่ดินใหม่กับช่างฝีมือชาวจีน


  • ศิลปงานหยก

เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เศรษฐกิจและการเมือง นำมาสู่แนวความคิดแบบใหม่ของสถาบันสังคมของเจ้าครองรัฐแต่ละรัฐ ทั้งชนชั้นปกครองยังมีความเกี่ยวข้องใกล้ชิดกับเครื่องประดับหยก เชื่อว่าเครื่องประดับหยกสามารถทำให้ชีวิตเปลี่ยนแปลงได้ ดังนั้นเครื่องประดับหยกจึงมีหลากหลายแพร่หลายมากมาย เครื่องประดับหยกชนิดต่างๆในสมัยสงครามชุนชิวหยกที่สำคัญมี ปี้ (璧) ฉง (琮) กว่าน (管) จู (珠) เพ่ย (佩) หาน (琀) ช้วนสื่อ (串饰) เล่อ (勒) หย้วน (瑗) หวน (环) เจ๋ย (玦) กุย (圭) จาง (璋) ปิ่งสิงชี่ (柄形器) เกอ (戈) ไต้โก๋ว (带钩) จิ้งเจี้ย (镜架) ปี่ (匕) เป็นต้น ส่วนมากเป็นเครื่องประดับ ส่วนน้อยคือเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน หยกเป็นตัวแทนของเครื่องประดับล้ำค่าของชนชั้นสูงในสังคมจีน และเครื่องประดับเสริมที่ทุกคนจับตามอง สำหรับบุรุษทั่วไปโดยไม่ต้องหาเหตุผลที่จะหาหยกมาครอบครอง เป็นสัญลักษณ์สุภาพบุรุษที่ยึดถือคุณธรรม มีเจ็ดคุณธรรม เก้าคุณธรรมหรือสิบเอ็ดคุณธรรมแล้วแต่หยกที่หามาสวมใส่ครอบครอง วิวัฒนาการของหยก ราชวงศ์ซางมีงานแกะสลักหยกมากมายหลายมิติ ราชวงศ์โจวตะวันตกธุรกิจหยกเจริญรุ่งเรื่องเพิ่มขึ้นไปอีก พอสงครามชุนชิวเริ่มต้นเครื่องประดับหยกออกสู่ท้องตลาดเป็นจำนวนเพิ่มขึ้น บางชนิดเป็นของหายาก แต่การผลิตมีความซับซ้อนละเอียดอ่อนมากขึ้น จากหลุมฝังศพที่ถูกขุดค้นพบในสมัยสงครามชุนชิวจ้านกั๊วซึ่งศพถูกฝังทั้งเป็น ในตัวค้นพบเครื่องประดับหยกและสะสมหยกกันเป็นจำนวนมากทั้งมีสภาพสวยสดปราณีตงดงาม เช่น หลุมฝังศพชาวฉู่ในสมัยสงครามชุนชิวที่พบในเมืองซีชวน (淅川) มณฑลเหอหนานเมื่อเปิดหลุมออกมาค้นพบเครื่องประดับหยกกว่าสามพันชิ้น หลุมฝังศพทั่วไปจะพบเครื่องประดับประมาณหนึ่งถึงสองร้อยชิ้น บางส่วนได้รับการผลิตอย่างยอดเยี่ยมเป็นที่น่าทึ่งตาทึ่งใจของคนปัจจุบัน ดังเช่นหลุมฝังศพของเฉิงโฮวอี่ (曾侯乙) ที่สุยเสี้ยน (随县) มณฑลหูเป่ยค้นพบแผ่นหยกเพ่ยเป็นรูปมังกรสิบหกลีลา หลุมฝันศพของจินชุนหาน (金村韩) ที่เมืองลั่วหยางร่างกายตกแต่งไปด้วยเครื่องประดับแผ่นหยกเพ่ยตั้งแต่การเลือกใช้หยกและวัสดุและการตัดเย็บตกแต่งเป็นที่น่าประทับใจอย่างยิ่ง


  • ศิลปงานเครื่องเคลือบเครื่องเขินจีน

ประเทศจีนเป็นประเทศแรกในโลกที่ใช้สีจากธรรมชาติตกแต่งเคลือบสี ในสมัยราชวงศ์ซางและราชวงศ์โจวงานฝีมือเครื่องเคลือบเครื่องเขินจีนได้รับการพัฒนาไปเป็นอันมาก สมัยสงครามชุนชิวจ้านกั๊วการใช้เครื่องเคลือบขยายตัวอย่างกว้างขวาง เทคนิคทางด้านนี้มีมากขึ้นและถูกยกระดับให้ดีขึ้นไปเรื่อยๆทั้งยังค้นพบได้ตามรูปแบบของแต่ละท้องถิ่น การผลิตเครื่องเคลือบเครื่องเขินในสมัยสงครามจ้านกั๊วเป็นช่วงเวลาที่มีการพัฒนาที่สำคัญมากในประวัติศาสตร์จีน มีการขยายไปทั่วทุกท้องถิ่น ผลิตภัณฑ์มีหลากชนิดเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ระดับการผลิตเพิ่มขึ้นเป็นประวัติการณ์ มีการเปลี่ยนแปลงปรับปรุงใหม่ๆเพิ่มขึ้นในหลายๆด้าน ครั้งแรกโครงเครื่องเคลือบค่อนข้างมีหลากหลาย หุ่นไม้ด้านนอกถูกปิดด้วยยาง หนังสัตว์ แผ่นไม้ไผ่หรือผิวอื่นๆทั้งสองด้าน มีการใช้สีหลากหลายมีทั้งสีแดง สีดำ สีขาว สีม่วง สีน้ำตาล สีเขียว สีฟ้า สีเหลือง สีทอง สีเงิน เป็นต้น โดยใช้สีดำ หรือ สีแดงเป็นสียืนพื้น การตกแต่งลวดลาย ความยุ่งยาก การป้องกันน้ำรั่วมีกรรมวิธีกำหนดให้ทำ นอกจากนี้ภาพวาดและภาพแกะสลัก ภาพศิลปประสม แม้จะรวมทั้งภาพนูนเว้าแกะสลักหรือภาพโมเสคต่างก็เป็นงานลักษณะพิเศษที่สำคัญในยุคสมัยสงครามชุนชิวจ้านกั๊ว


  • งานฝีมือเย็บปักถักร้อย

ยุคสงครามชุนชิวจ้านกั๊วได้สร้างความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ให้แก่งานเย็บปักถักร้อย โดยเฉพาะในดินแดนของรัฐฉู่ที่มีผลิตภัณฑ์มากมายที่สุด ดังเช่นในปี ค.ศ. 1982 มีการค้นพบหลุมฝังศพขนาดเล็กในเขตหม่าซาน (马山) เมืองเจียงหลิง (江陵) มณฑลหูเป่ย ปรากฎว่าภายในบรรจุเสื้อผ้าที่เก็บรักษาไว้เป็นอย่างดีถึง 35 ชุด สิ่งทอที่ถูกค้นพบได้เป็นผ้าไหม และผ้าป่านสองรายการนี้ ผ้าไหมประกอบไปด้วยผ้าไหม ผ้าไหมผสมผ้าฝ้าย เส้นด้าย ผ้ากรอง วัสดุทอผ้าไหมสีแดงเข้ม ผ้าปักดอก ผ้าไหมถัก ผ้าไหมสะพายทั้งหมดแปดอย่าง เป็นการผลิตที่ดีที่สุดเป็นประวัติการณ์ในสมัยนั้น


จำนวนรัฐทั้งหมดในสงครามชุนชิวจ้านกั๊ว

  • รัฐฉี (齐)
  • รัฐจิ้น (晋)
  • รัฐฉิน (秦)
  • รัฐเฉิน (陈)
  • รัฐอู๋ (吴)
  • รัฐฉู่ (楚)
  • รัฐเย่ว (越)
  • รัฐหาน (韩)
  • รัฐจ้าว (赵)
  • รัฐเว่ย (魏)
  • รัฐซ่ง (宋)
  • รัฐหลู่ (鲁)
  • รัฐเว่ย (卫)
  • รัฐเจิ้ง (郑)
  • รัฐจวี่ (钜)
  • รัฐจู (邾)
  • รัฐฉี่ (杞)
  • รัฐหยาง (杨)
  • รัฐเยี่ยน (剡)
  • รัฐเหริ่น (任)
  • รัฐเถิง (滕)
  • รัฐเฟ้ย (费)
  • รัฐหนี (倪)
  • รัฐเฉิง (曾)
  • รัฐเจิง (缯)
  • รัฐเฉา (巢)
  • รัฐสุย (随)
  • รัฐจงอู่ (钟吾)
  • รัฐหลิว (刘)
  • รัฐหลิ่ว (六)
  • รัฐจ้าว (召)
  • รัฐโจว (周)
  • รัฐเต้า (道)
  • รัฐฝาง (房)
  • รัฐเสิ่น (沈)
  • รัฐเซิน (申)
  • รัฐซู (苏)
  • รัฐเลี่ยว (廖)
  • รัฐซู (舒)
  • รัฐซูจิว (舒鸠)
  • รัฐซูย้ง (舒庸)
  • รัฐซูเลี่ยว (舒廖)
  • รัฐเยี้ยน (燕)
  • รัฐหนานเยี้ยน (南燕)
  • รัฐสวี่ (许)
  • รัฐสวี (徐)
  • รัฐยวี (虞)
  • รัฐกั๊ว (虢)
  • รัฐหลี (黎)
  • รัฐอู๋จง (无终)
  • รัฐจงซาน (中山)
  • รัฐอันหลิง (安陵)
  • รัฐเติ้ง (邓)
  • รัฐเจี่ย (贾)
  • รัฐสิง (邢)
  • รัฐกาน (甘)
  • รัฐหรง (荣)
  • รัฐปา (巴)
  • รัฐสู่ (蜀)
  • รัฐตาน (单)
  • รัฐโจว (州)
  • รัฐหู (胡)
  • รัฐถัง (唐)
  • รัฐไล่ (赖)
  • รัฐฉ่วน (权)
  • รัฐไหล (莱)
  • รัฐปี้หยาง (逼阳)
  • รัฐจี้ (纪)
  • รัฐสุ้ย (遂)
  • รัฐถาน (谭)
  • รัฐไต้ (代)
  • รัฐหวง (黄)
  • รัฐเซี่ยง (项)
  • รัฐเกิ่ง (耿)
  • รัฐฮั่ว (霍)
  • รัฐซี (息)
  • รัฐเหลียง (梁)
  • รัฐรุ่ย (芮)
  • รัฐซิ (邿)
  • รัฐฮวา(滑)
  • รัฐเซย (薛)
  • รัฐจาง (章)
  • รัฐเปิ่น (顿)
  • รัฐลู่หุน (陆浑)
  • รัฐเฝย (肥)
  • รัฐกู่ (鼓)
  • รัฐชื่อตีลู่กั๊ว (赤狄潞国)
  • รัฐเจียง (江)
  • รัฐเกินม๋อ (根牟)
  • รัฐอิ่ง (应)
  • รัฐหลอ (罗)
  • รัฐฝ๋าน (樊)
  • รัฐเหมา (毛)
  • รัฐเฉิง (程)
  • รัฐสู่ (宿)
  • รัฐจาน (詹)
  • รัฐเจียว (焦)
  • รัฐจู้ (祝)
  • รัฐหลี่ (吕)

ทั้งหมด 104 รัฐ


บุคคลที่สำคัญมีชื่อเสียงในยุคสงครามชุนชิวจ้านกั๊ว

  • เปี่ยนเฉ้ว (扁鹊)

เปี่ยนเฉ้ว นามสกุลเดิมคือ ฉิน (秦) เป็นคนมีชื่อเสียงในรัฐเย่ว (越) ยุคสงครามจ้านกั๊วอยู่ในกองทัพป๋อไห่ (渤海) ของรัฐฉี ประจำอยู่ที่เมืองม้อโจว (莫州, ปัจจุบันคือเมืองเหรินชิว任丘มณฑลเหอเป่ย) แต่มีบางคนบอกว่าเขาเป็นคนฉางชิง (长清) มณฑลซานตง เนื่องจากเขาเป็นคนที่มีความรอบรู้ชำนาญทางการแพทย์ ประชาชนจึงกล่าวขานเขาว่าเป็นหมอเทวดา ดังนั้นชาวบ้านในสมัยนั้นจึงยืมชื่อจากตำนานโบราณของจีนเกี่ยวกับหมอเทวดาเปี่ยนเฉ้วมาขนานนามเรียกชื่อของเขา เปี่ยนเฉ้วเป็นผู้นำเอาวิธีการตรวจจับการเต้นของชีพจรมาวินิจฉัยโรคตามการแพทย์จีนแผนโบราณ เป็นการเปิดประตูครั้งแรกให้แก่วงการแพทย์จีน เปี่ยนเฉ้วในวัยเยาว์เคยเป็นผู้ดูแลเรือนรับรองแขกของชนชั้นสูง ดังนั้นจึงได้พบและรู้จักฉางซังจวิน (长桑君) หมอที่มีชื่อเสียงในสมัยนั้น จากนั้นเรียนรู้การแพทย์จีนจากเขา ถูกคนยกย่องว่าเป็นหมอเทวดาสามารถชุบชีวิตคนจากความตายได้ ภายหลังจึงเริ่มต้นออกเดินทางไปทุกรัฐเพื่อทำการรักษาพยาบาล เปี่ยนเฉ้วเริ่มรักษาพยาบาลครั้งแรกที่รัฐกั๊ว (虢) ต้องเผชิญกับโอรสองค์โตของเจ้าครองรัฐกั๊วเสียชีวิตกะทันหัน เขาเข้าใจว่าพระโอรสเพียงได้รับความทุกข์ทรมานจากโรคความร้อน แต่เข้าใจดีว่าพระโอรสยังไม่เสียชีวิต เขาจึงช่วยชิวิตของพระโอรสรัฐกั๊ว ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาชื่อเสียงในการรักษาชุบชีวิตคนจากความตายจึงแพร่หลายขจรไปไกล เขาภายหลังเดินทางมาถึงรัฐช่าย เข้าพบช่ายหวงกง (蔡桓公) ช่ายหวงกงรับทราบถึงชื่อเสียงกิตติมศักดิ์ของเปี่ยนเฉ้วแต่เชื่ออย่างจริงใจว่าคำยกย่องนั้นเกินความจริง จึงปฎิบัติต่อเปี่ยนเฉ้วอย่างหยาบคายไร้มารยาท เปี่ยนเฉ้วครั้งแรกที่เห็นช่ายหวงกง จึงบอกพระองค์ว่ามีโรคอยู่เล็กน้อยเพียงแต่ดื่มยาที่จัดให้ในทันทีก็จะรักษาหาย ช่ายหวงกงคิดว่าเปี่ยนเฉ้วคิดจะหลอกลวงพระองค์ ดังนั้นพระองค์จึงปฎิเสธไม่ทรงยา เมื่อเปี่ยนเฉ้วเสนอความเห็นเป็นครั้งที่สองที่จะรักษาพระองค์ ช่ายหวงกงก็ยังทรงไม่สนใจใยดี ครั้งที่สามเปี่ยนเฉ้วเข้าพบช่ายหวงกง ช่ายหวงกงพบว่าร่างกายของตนเองมีความรู้สึกเช่นเดียวกับที่เปี่ยนเฉ้วชี้แจงทั้งหมด อาการของโรคแสดงออกสู่ภายนอกเป็นระยะๆถึงขั้นร้ายแรง พระองค์จึงขอร้องให้เปี่ยนเฉ้วช่วยรักษา แต่เปี่ยนเฉ้วกล่าวตอบกับช่ายหวงกงว่าเนื่องจากพระองค์ไม่ใส่ใจในคำแนะนำของเขาทั้งหมดตั้งแต่ต้น ดังนั้นปัจจุบันจึงหมดหนทางรักษาแล้ว ผ่านมาไม่นานช่ายหวงกงก็สิ้นพระชนม์ ตามสำนวนจีนที่ว่า หุ้ยจี๋จี่อี (讳疾忌医, ปกปิดโรคร้ายไว้และไม่พยายามรักษาหรือปรึกษาแพทย์) จากนั้นเปี่ยนเฉ้วเดินทางไปรัฐฉิน แต่แพทย์ใหญ่หลิ่งหลี่ซี (令李醯) อิจฉาในความรู้ทางการแพทย์ของเปี่ยนเฉ้ว ดังนั้นจึงวางแผนกล่าวร้ายแล้วฆ่าเปี่ยนเฉ้วตาย


  • ก่วนจ้ง (管仲)

ก่วนจ้ง (ไม่ทราบปีเกิด ตาย ปี 645 ก่อนคริสต์ศักราช) มีชื่อว่า อี๋อู๋ (夷吾) หรือในอีกชื่อหนึ่งว่า จ้ง (仲) ประวัติศาสตร์ขนานนามว่า ก่วนจือ (管子) เกิดที่เมืองอิ่งซ่าง (颍上, ปัจจุบันคือเขตอิ่งซ่าง มณฑลอันฮุย) เป็นนักการเมือง นักปรัชญาผู้ยิ่งใหญ่สมัยสงครามชุนชิว บันทึกประวัติศาสตร์ ก่วนเยี่ยนเลี่ยจ้วน (管晏列传) ก่วนจือ (管子) จั่วช๋วน (左传) ทั้งสามเป็นบันทึกอัตชีวประวัติของเขา บทนิพนธ์หลุนยวี่ (论语, บทที่ 14) ของขงจือก็ยังมีบทวิเคราะห์ความคิดเห็นของขงจือที่มีต่อเขา ซูซวิน (苏洵) แห่งรัฐเป่ยซ่ง (北宋) แต่งบันทึก ก่วนจ้งช๋วน (管仲传) ก็ยังมีบทวิเคราะห์เกี่ยวกับเขา ในวัยเด็กครอบครัวมีฐานะยากลำบาก เป้าซูหยา (鲍叔牙) ค้นพบเห็นว่าก่วนจ้งมีความสามารถจึงคบไว้เป็นมิตรสหายที่ดีต่อกัน และมักมาเยี่ยมเยือนก่วนจ้งอยู่บ่อยๆ ก่วนจ้งก็ได้ประโยชน์จากการเป็นเพื่อนกับเป้าซูหยา เป้าซูหยาไม่ได้ถือสาอะไรแต่ยอมรับในวิสัยทัศน์ของก่วนจ้ง ปฎิบัติต่อก่วนจ้งเป็นอย่างดีเสมอ ประทับใจในการสนทนาแลกเปลี่ยนกลายเป็นที่รู้จักกันดีของชาวจีนในบทสนทนาชื่อว่า ก่วนเป้าจื่อเจียว (管鲍之交) โดยการแนะนำอย่างหนักแน่นของเป้าซูหยา ฉีหวงกงไม่มีเหตุผลใดๆที่จะปฎิเสธรับก่วนจ้งมารับใช้ แต่งตั้งก่วนจ้งเป็นสมุหนายกทั้งยังเคารพนับถือเสมือนบิดา ก่วนจ้งดำเนินการปฎิรูปงานด้านต่างๆเป็นชุดๆภายในรัฐฉี นำนโยบายจวินหวางร่างอี้ (尊王攘夷, เชิดชูกษัตริย์ขับไล่พวกป่าเถื่อน) ในที่สุดช่วยให้ฉีหวงกงขึ้นดำรงตำแหน่งป้าจู่ เจ้าครองรัฐผู้เรืองอำนาจ


  • เยี้ยนอิง (晏婴)

เยี้ยนอิง (ไม่ทราบปีเกิด ตาย ปี 500 ก่อนคริสต์ศักราช) หรือในอีกชื่อหนึ่งว่า จ้ง (仲) หรือ ซี่ผิง (谥平) แต่คนทั่วไปเรียกชื่อว่า ผิงจ้ง (平仲) เป็นคนเมืองเกามี้ (高密) มณฑลซานตง เป็นนักการเมือง นักปรัชญา นักการฑูตที่สำคัญในสมัยสงครามชุนชิว เยี้ยนอิง เป็นบุตรของเยี้ยนรั่ว (晏弱) เสนาบดีของรัฐฉี ใช้ชีวิตแบบมัธยัสถ์ เป็นขุนนางระดับกลางที่มีความสุภาพอ่อนโน้มจนมีชื่อเสียงรู้จักกันไปทั่ว รูปร่างของเยี้ยนอิงไม่สูงนักค่อนข้างจะน่าเกลียดอัปลักษณ์อีกต่างหาก ปีที่ 26 (ปี 556 ก่อนคริสต์ศักราช)ในสมัยฉีหลิงกง (齐灵公) เยี้ยนรั่วป่วยเสียชีวิต เยี้ยนอิงได้รับแต่งตั้งเป็นเสนาบดีแทนบิดา ทำงานรับใช้ฉีหลิงกง ฉีจวงกง (齐庄公) ฉีจิ่งกง (齐景公) สามรัชสมัยเป็นเวลายาวนานมากกว่า 40 ปี ปีที่ 20 (ปี 500 ก่อนคริสต์ศักราช) ในรัชสมัย โจวจิ้งหวาง (周敬王) เยี้ยนอิงป่วยเสียชีวิต ขงจือ ได้กล่าวสรรเสริญเยี้ยนอิงไว้ว่า “ช่วยเหลือประชาชนโดยไม่โอ้อวด รับใช้ผู้ครองรัฐสามยุคโดยไม่ร้องขอสิ่งใดๆ” สุสานหลุมฝังศพของเยี้ยนอิงอยู่ที่หมู่บ้านหยงซุ่น (永顺村,หยงซุ่นชุน) เมืองฉีโตวเจิ้น (齐都镇) จังหวัดจือป๋อ (淄博) มณฑลซานตงห่างหมู่บ้านไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ 350 เมตร เยี้ยนอิงเป็นคนหัวสมองฉลาดปราดเปรื่องมีความสามารถในการเจรจาต่อรอง รับใช้การเมืองในรัฐฉี คอยคัดค้านและตักเตือนเจ้าครองรัฐอยู่บ่อยๆ กับรัฐอื่นๆมีความยืดหยุ่นหลากหลาย ยึดมั่นในหลักการ ปฎิบัติภาระกิจโดยไม่ละอายแก่ใจ ปกป้องหน้าตาและศักดิ์ศรีของรัฐฉี ซือหม่าเชียน (司马迁) เคารพนับถือเยี้ยนอิงเป็นอันมาก ยกย่องเยี้ยนอิงขึ้นเทียบเท่าก่วนจ้ง


  • ขงจือ (孔子)

ขงจือ (ปี 551 ก่อนคริสต์ศักราช ถึง ปี 479 ก่อนคริสต์ศักราช) แซ่ ขง (孔) ชื่อ ชิว (丘) หรืออีกชื่อหนึ่งว่า จ้งหนี (仲尼) เป็นชาวรัฐหลู่ (鲁, ปัจจุบัน คือ เมืองชวีฟู่曲阜 มณฑลซานตง) เขาเป็นนักคิดและนักวิชาการในช่วงปลายสมัยสงครามชุนชิวของประเทศจีน เขาเป็นผู้ก่อตั้งสำนักหรู่เจีย (儒家) สำนักทฤษฎีกระแสหลักซึ่งได้เผยแพร่คำสอนจนกลายเป็นวัฒนธรรมจีนมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์ฮั่น ทฤษฎีความคิดของสำนักหรู่เจียของขงจือและผู้ร่วมก่อตั้งของเขามีอิทธิพลอย่างลึกซึ้งถึงรากลึกต่อประเทศจีนสมัยโบราณและประเทศเกาหลี รวมทั้งประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียงอื่นๆ เป็นที่นับถือของคนจีนรุ่นหลังว่าเป็นศาสดาแห่งคุณธรรม


  • เหลาจือ (老子)

เหลาจือ (ปี 570 ก่อนคริสต์ศักราช ถึง ปี 470 ก่อนคริสต์ศักราช) แซ่ หลี่ (李) ชื่อ เอ้อร์ (耳) หรืออีกชื่อหนึ่งว่า ป๋อหยาง (伯阳) มีคนยกย่องเรียกท่านว่า เหล่าตาน (老聃) เป็นชาวรัฐฉู่ หมู่บ้านเหรินลี่ (仁里) เขตเซียงชวี่ (乡曲) เมืองขู่เสี้ยนหลี่ (苦县厉, ปัจจุบันคือ เมืองลู่อี้鹿邑 มณฑลเหอหนาน) คือนักปรัชญาและนักคิดผู้ยิ่งใหญ่ของประเทศจีนสมัยโบราณ เป็นผู้ก่อตั้งสำนักเต้าเจียและลัทธิเต๋า เหลาจือถูกถังหวางอู๋โฮ้ว (唐皇武后,อู๋เจ๋อเทียน) ยกย่องเป็น ไท่ซ่างเหลาจวิน (太上老君) เป็นหนึ่งในหนึ่งร้อยคนดังของประวัติศาสตร์วัฒนธรรมโลก ผลงานของเหลาจือที่เหลือเป็นมรดกให้แก่ประวัติศาสตร์ คือ คัมภีร์ เต้าเต๋อจิง (道德经) และบันทึกเหลาจือ (老子) สาระสำคัญของผลงานของเหลาจือ คือ วิธีการอธิบายสิ่งต่างๆแบบเรียบง่าย ทุกสิ่งทุกอย่างปล่อยไปให้เป็นธรรมชาติ ทฤษฎีความคิดของเหลาจือมีอิทธิพลอย่างลึกซึ้งต่อการพัฒนาปรัชญาจีน ทฤษฎีความคิดนี้ภายหลังถูกพัฒนาต่อไปโดย จวงโจว (庄周) สำนักเต้าเจียยกย่องเหลาจือเป็นศาสดาของสำนัก ขงจือก็เคยไปขอเรียนรู้จากเหลาจือ ในบรรดาสำนักเต้าจี้ยว (道教) ทั้งหมด เหลาจือถูกยกย่องให้เป็นเต้าจู่ไท่ซ่างเหลาจวิน (道祖太上老君) ในความหมายก็คือ ศาสดาแห่งลัทธิเต๋านั่นเอง


  • จ้าวอู๋หลิงหวาง (赵武灵王)

จ้าวอู๋หลิงหวาง (ปี 340 ก่อนคริสต์ศักราช ถึง ปี 295 ก่อนคริสต์ศักราช) เจ้าครองรัฐจ้าวในปลายสมัยสงครามจ้านกั๊ว ในช่วงสมัยที่จ้าวอู๋หลิงหวางปกครอง ผลักดันนโยบายหูฝูฉีเซ่อ (胡服骑射, เรียนรู้ข้อดีจากผู้อื่น) ดังนั้นจึงทำให้รัฐจ้าวเข้มแข็งขึ้นมา ทำลายรัฐจงซาน (中山) มีชัยชนะต่อชนเผ่าหลินหู (林胡) ชนเผ่าโหลวฝาน (楼烦)สองเผ่า ชนเผ่าพี่หยินจง (辟云中) ชนเผ่าย่าเหมิน (雁门) สามเขตดินแดนของรัฐไต้ (代) พร้อมทั้งก่อสร้างกำแพงเมืองรัฐจ้าว


  • หลี่คุย (李悝)

หลี่คุย (ปี 455 ก่อนคริสต์ศักราช ถึง ปี 395 ก่อนคริสต์ศักราช) เป็นชาวรัฐเว่ยในสมัยสงครามจ้านกั๊ว เป็นนักการเมืองที่มีชื่อเสียงโด่งดังสมัยสงครามจ้านกั๊ว เป็นผลผลิตของสำนักฝ่าเจีย ในการปฎิรูปการเมืองของรัฐเว่ย คือ จุดเริ่มต้นของการปฎิรูปการเมืองในประเทศจีนซึ่งมีอิทธิพลอย่างลึกซึ้งต่อประวัติศาสตร์จีน ในช่วงนั้นทำให้รัฐอื่นตกตะลึงในการเปลี่ยนแปลง ซึ่งนำไปสู่การปฎิรูปประเทศครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์จีน เป็นการเปิดทางจากระบบข้าทาสกลายเป็นระบบศักดินา ต่อมาได้มีแนวทางปฎิรูปของ ซางยาง (商鞅) นักการเมืองที่มีชื่อเสียงของจีน แนวทางการปฎิรูปของอู๋ชี่ (吴起) เป็นต้น ทั้งหมดได้รับอิทธิพลมาจากแนวทางปฎิรูปของหลี่คุย


  • เซินปู้ไห้ (申不害)

เซินปู้ไห้ (ประมาณ ปี 385 ก่อนคริสต์ศักราช ถึง ปี 337 ก่อนคริสต์ศักราช) หรือที่เรียกกันว่า เซินจือ (申子) เป็นคนจากเมืองเจิ้งหาน (郑韩, ปัจจุบัน คือ เมืองซินเจิ้ง新郑 มณฑลเหอหนาน) เป็นนักคิดที่มีชื่อเสียงของรัฐหานในสมัยสงครามจ้านกั๊ว เขาทำงานรับใช้รัฐหานเป็นสมุหนายกอยู่ยาวนานถึง 19 ปีทำให้รัฐหานมีความเข้มแข็งทั้งการทหารและการเมือง


  • ซางยาง (商鞅)

ซางยาง (ประมาณปี 390 ก่อนคริสต์ศักราช ถึง ปี 338 ก่อนคริสต์ศักราช) เป็นผลผลิตจากสำนักฝ่าเจีย เป็นนักคิด นักการเมือง นักปกครอง นักการทหาร นักปฎิรูป รัฐบุรุษผู้ยิ่งใหญ่มีชื่อเสียงมากในสมัยยุคกลางของสงครามจ้านกั๊ว แซ่เดิม คือ กงซุน (公孙) ตามมารดาซึ่งเป็นพระนางสนม เป็นลูกหลานของเจ้าครองรัฐรัฐเว่ย (卫) ดังนั้นจึงมีคนเรียกชื่อท่านว่า เว่ยยาง (卫鞅) กงซุนหยาง (公孙鞅) ภายหลังได้รับแต่งตั้งเปลี่ยนเป็น ซาง (商) คนรุ่นหลังจึงเรียกนามท่านว่า ซางยาง ซางยางทำงานรับใช้มีอำนาจอยู่ในรัฐฉินนานถึง 19 ปี ประสบความสำเร็จในการปฎิรูปรัฐฉินจนมีชื่อเสียงโดดเด่นรู้จักกันในนามการปฎิรูปการเมืองของซางยาง (商鞅变法, ซางยางเปี้ยนฝ่า) ซางยางเมื่อวัยเยาว์ มีความสามารถเชี่ยวชาญในการปกครองด้วยกฎหมาย เป็นคนที่มากไปด้วยความรู้ จากนั้นทำงานอยู่ในอาณัติของกงชูชั๋ว (公叔痤) สมุหนายกรัฐเว่ย (魏) หลังจากกงชูชั๋วเสียชีวิตซางยางได้ยินกิตติมศักดิ์ของฉินเสี้ยวกง (秦孝公) เป็นคนมีความสามารถและวิสัยทัศน์ดีมาก เลือกและใช้งานคนที่มีความสามารถ ดังนั้นจึงมุ่งหน้าสู่รัฐฉิน ผ่านการตรวจสอบจากขันทีประจำราชสำนักซางยางจึงได้เข้าเฝ้าฉินเสี้ยวกง ซางยางอธิบายเกี่ยวกับนโยบายการปฎิรูปรัฐ ฉินเสี้ยวกงถูกใจและดีใจเป็นอันมาก ปี 359 ก่อนคริสต์ศักราช ซางยางดำรงตำแหน่งเสนาบดีฝ่ายซ้าย (左庶长.จั่วซู่ฉาง) เริ่มต้นงานปฎิรูป หลังจากนั้นกำหนดมาตราชั่ง ตวง วัดสินค้าเกษตรจำนวนขนาดใหญ่ ปี 340 ก่อนคริสต์ศักราช นำทัพรัฐฉินและรัฐจ้าวเข้าตีรัฐเว่ยจนพ่ายแพ้ จึงได้รับแต่งตั้งเปลี่ยนแซ่ใหม่เป็น ซาง จึงมีคนขนานนามว่า ซางจวิน (商君) ปี 338 ก่อนคริสต์ศักราช ฉินเสี้ยวกงสิ้นพระชนม์ ซางยางถูกกล่าวหาว่าเป็นกบฎและถูกลงโทษประหารชีวิตโดยถูกรถม้าแยกร่างออกเป็นห้าชิ้น


  • ซุนปิ้น (孙膑)

ซุนปิ้น (ไม่ทราบปีเกิด ตายปี 316 ก่อนคริสต์ศักราช) แซ่ ซุน ไม่มีชื่อระบุ เป็นนักยุทธศาสตร์การทหารในยุคสงครามจ้านกั๊ว เนื่องจากผ่านการลงโทษทรมานกรรมโดยการตัดเส้นเอ็นสะบ้าและหัวเข่า ผู้คนจึงเรียกขานว่า ซุนปิ้น เขาเป็นลูกหลานรุ่นหลังของซุนวู่ (孙武) ผู้เขียนตำราพิชัยสงครามจีน เกิดในยุคสงครามจ้านกั๊วในดินแดนรัฐฉีแถบอาจ่วน (阿鄄, ปัจจุบัน คือ ดินแดนระหว่างอาเฉิงเจิ้ง阿城镇 เขต หยางกู่เสี้ยน阳谷县กับ เขต จ่วนเฉิงเสี้ยน鄄城县 ตอนเหนือ มณฑลซานตง) ในสมัยสงครามจ้านกั๊วได้รับการแต่งตั้งจากเจ้าครองรัฐฉีให้เป็นที่ปรึกษาทางการทหาร ช่วยรัฐฉีทำสงครามมีชัยชนะในสงครามกุ้ยหลิง (桂陵) และสงครามหม่าหลิง (马陵)


  • หลู่ปู้เหวย (吕不韦)

หลู่ปู้เหวย (ไม่ทราบปีเกิด ตาย ปี 235 ก่อนคริสต์ศักราช) เป็นนักธุรกิจ นักการเมือง และนักคิดปลายสมัยสงครามจ้านก๊ว ต่อมาได้เป็นสมุหนายกของรัฐฉิน เป็นชาวรัฐเว่ย (卫) เมืองผูหยาง (濮阳 ปัจจุบัน คือ เมืองผูหยาง มณฑลเหอหนาน) หลู่ปู้เหวย คือ พ่อค้าใหญ่แห่งเมืองหยางไจ๋ (阳翟, ปัจจุบัน คือ เมืองยวี่โจว 禹州 มณฑลเหอหนาน) บ้านเกิดอยู่บนถนนต้าหลู่เจย (大吕街) ทางตอนใต้ของเมือง เขาไปมายังเมืองต่างๆเกือบทุกแห่ง เพื่อซื้อหาสินค้าราคาถูกเพื่อมาขายราคาแพง ดังนั้นจึงสะสมทรัพย์สินเงินทองได้เป็นจำนวนมาก ในสมัยที่หลู่ปู้เหวยทำการค้าอยู่ที่รัฐจ้าว มีโอกาสได้รับทราบเรื่องราวของการส่งเจ้าชายรัฐฉินมาเป็นองค์ประกันที่รัฐจ้าว ซึ่งเจ้าชายฉินองค์นี้ก็คือบิดาของจักรพรรดิฉินสื่อฮวาง ภายหลังเจ้าชายฉินองค์นี้ซึ่งมีนามว่า จือฉู่ (子楚) ได้ขึ้นครองรัฐฉิน มีพระนามว่า ฉินจวงเซียงหวาง (秦庄襄王) หลี่ปู้เหวยเห็นเจ้าชายองค์นี้เป็นสินค้าที่มีคุณค่าน่าลงทุน ตัดสินใจอุปการะช่วยเจ้าชายจือฉู่ให้กลับคืนสู่รัฐฉินและหาโอกาสให้ได้ขึ้นครองรัฐ ปี 251 ก่อนคริสต์ศักราช ฉินจ้าวเซียงหวาง (秦昭襄王) สิ้นพระชนม์ มกุฎราชกุมารตามกฎมณเฑียรบาลได้ขึ้นครองรัฐ ซึ่งก็คือ ฉินเสี้ยวเหวินหวาง (秦孝文王) แต่สามวันต่อมากลับสิ้นพระชนม์กะทันหัน เจ้าชายจือฉู่จึงได้ขึ้นครองรัฐ ซึ่งก็คือ ฉินจวงเซียงหวาง หลู่ปู้เหวยดำรงตำแหน่งสมุหนายก สามปีต่อมาฉินจวงเซียงหวางป่วยสิ้นพระชนม์ มกุฎราชกุมารน้อยอายุ 13 ปีขึ้นครองรัฐต่อมากลายเป็นจักรพรรดิฉินสื่อฮวาง (จักรพรรดิจิ๋นซีฮ่องเต้) หลู่ปู้เหวยมีฐานะเป็นบิดาบุญธรรมของพระองค์ จักรพรรดิฉินสื่อฮวางพบว่าพระราชมารดาและหลู่ปู้เหวยลอบคบเป็นชู้กัน จึงไล่หลู่ปู้เหวยออกจากตำแหน่งสมุหนายกและเนรเทศไปยังแดนไกล สุดท้ายหลู่ปู้เหวยดื่มยาพิษฆ่าตัวตาย ในสมัยที่หลู่ปู้เหวยมีอำนาจดำรงตำแหน่งสมุหนายกรัฐฉินได้สั่งให้เขียนแขวนป้ายหน้าประตูเมิงเค่อ (门客) ซึ่งมีชื่อเสียงว่า หลู่ซื่อชุนชิว (吕氏春秋) แต่ละเมิงเค่อของหลู่ปู้เหวยมีคนอาศัยสามพันคน ประทับตราว่า หลู่หล่าน (吕览) เขาเป็นผลผลิตของสำนักแนวคิดจ๋าเจีย (杂家)


  • จิงเคอ (荆轲)

จิงเคอ (ไม่ทราบปีเกิด ตาย ปี 227 ก่อนคริสต์ศักราช) มือสังหารที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในประวัติศาสตร์จีนโบราณ หรือรู้จักกันในนาม ชิ่งชิง (庆卿) จิงชิง (荆卿) ชิ่งเคอ (庆轲) มกุฎราชกุมารตานเฉิง (丹曾) แห่งรัฐเยี้ยนมาเป็นองค์ประกันที่รัฐฉิน เมื่อได้โอกาสกลับรัฐเยี้ยนจึงคิดวางแผนแก้แค้น เสาะหามือสังหารทั่วรัฐที่จะสามารถลอบฆ่าฉินหวางเจิ้ง (秦王政, จักรพรรดิฉินสื่อฮวาง) จึงได้ตัวจิงเคอ จิงเคอเพื่อจะทำให้ฉินหวางเจิ้งสร้างความไว้ใจในตัวเขาจึงตกลงให้ฝานยวี๋ชี (樊於期,ขุนพลรัฐฉินแปรพักตร์ไปเข้ากับรัฐเยี้ยน) ฆ่าตัวตายแล้วตนจะตัดหัวลอบหนีออกจากรัฐเยี้ยนไปส่งมอบให้ฉินหวางเจิ้ง พร้อมด้วยแผนที่ม้วนเมือง ตูข้าง (督亢) ของรัฐเยี้ยน แต่ภายในแผนที่ม้วนซ่อนกริชอาบยาพิษเพื่อเอาไว้สังหารฉินหวางเจิ้ง เมื่อเริ่มต้นลงมือจิงเคออยู่ที่ริมแม่น้ำอี้สุ่ย (易水) ซึ่งมีลมพัดหวิวหวิวพัดมาตามแม่น้ำอี้สุ่ยจนรู้สึกถึงความหนาวคล้ายกับว่าวีรบุรุษมือสังหารจะลาจากไปชั่วนิรันดร์ ผู้ร่วมติดตามจิงเคอมาด้วยคือนักรบอายุยังอ่อนรัฐเยี้ยน ฉินอู่หยาง (秦武阳) เมื่อมาถึงรัฐฉิน จิงเคอขออนุญาตฉินหวางเจิ้งเข้าเฝ้าอย่างใกล้ประชิดตัวเพื่อจะได้อธิบายรายละเอียดของแผนที่ที่นำมาถวาย คลี่แผนที่มาจนถึงกริชอาบยาพิษที่ซ่อนไว้แล้วจึงลงมือสังหารฉินหวางเจิ้ง แต่การลงมือล้มเหลว จิงเคอและฉินอู่หวางทั้งสองถูกทหารองครักษ์ฉินฆ่าตายในท้องพระโรง


  • ชวีหยวน (屈原)

ชวีหยวน (ปี 340 ก่อนครืสต์ศักราช ถึง ปี 278 ก่อนคริสต์ศักราช ปีเกิดและปีตายยังเป็นที่สงสัยกันอยู่ว่า เกิด ปี 353 ก่อนคริสต์ศักราช หรือ ปี 355 ก่อนคริสต์ศักราช ปีตาย คือ ปี 283 ก่อนคริสต์ศักราช หรือ ปี 269 ก่อนคริสต์ศักราช) แซ่ ชวี มีชื่อว่า ผิง (平) หรือ อีกชื่อหนึ่งว่า หยวน (原) แล้วใช้ชื่อตนเองเป็นทางการว่า หลิงจวิน (灵均) เป็นชาวฮั่น เป็นชาวเมืองตานหยาง (丹阳, ปัจจุบัน คือ เมืองจือกุย秭归 มณฑลหูเป่ย) รัฐฉู่ ในยุคสงครามจ้านกั๊ว เป็นลูกของ ชวีเสีย (屈瑕) ลูกชายของฉู่อู่หวาง สยงทง (楚武王熊通) ชวีหยวนทำงานรับใช้จงรักภักดีต่อฉู่หวยหวาง (楚怀王) แต่ถูกกีดกันให้อยู่แต่ภายนอก หลังจากฉู่หวยหวางสิ้นพระชนม์ กลับโดนปรักปรำใส่ร้ายให้แก่ฉิ่งเซียงหวาง (顷襄王) จนถูกเนรเทศ ในที่สุดตัดสินใจกระโดดแม่น้ำมี้โหลว (汨罗) ฆ่าตัวตาย ชวีหยวน คือหนึ่งในนักกวีโรแมนติกผู้ยิ่งใหญ่ของประเทศจีน เขาเป็นนักกวีจีนที่มีชื่อเสียงคนแรกที่เก่าแก่ที่สุด เขาเป็นผู้สร้างสรรบทเพลงแห่งรัฐฉู่ (楚辞, ฉู่สือ) ที่เป็นเอกลักษณ์ของรัฐ เขายังเป็นผู้เริ่มต้นสร้างสรรประเพณีรักชาติและจงรักภักดีต่อกษัตริย์และราชสำนัก ผลงานประพันธ์ของเขาคือ หลีเซา (离骚) และ จิ่วเกอ (九歌, บทเพลงที่เก้า) เป็นต้น สำนวนการเขียนของเขาสวยสดงดงาม จินตนาการหลากหลาย สร้างสรรสำนวนแปลกใหม่ มีความหมายลึกซึ้ง กลายเป็นหนึ่งในแหล่งที่มาของวรรณกรรมจีน ในปี ค.ศ. 1953 สภาสันติภาพโลกมีมติหลังจากที่ชวีหยวนเสียชีวิตครอบรอบ 2230 ปีให้ชวีหยวนเป็นหนึ่งในสี่คนดังมีชื่อเสียงทางด้านวัฒนธรรมโลกที่ควรค่าแก่การจดจำ


สงครามชุนชิวจ้านกั๊วกับปัจจุบัน

สงครามชุนชิวจ้านกั๊วกินเวลายาวนานกว่า 500 ปี ในระหว่างสงครามแต่ละรัฐผลัดกันแพ้ผลัดกันชนะ มีผลกระทบต่อมนุษยชาติเนื่องจากการรบสงครามที่ไม่จบไม่สิ้น เป็นสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา ในสมรภูมิสงครามพบเห็นอาวุธยุทโธปกรณ์แปลกใหม่ มีการวางแผนการรบในค่ายทหาร พร้อมทั้งกลยุทธ์ในการเจรจาต่อรอง เป็นมรดกตกทอดสู่คนรุ่นหลังซึ่งเป็นวรรณกรรมประวัติศาสตร์จีนคลาสสิกอันมากมายที่ทุกคนคุ้นเคยได้ยินนับเป็นจำนวนหลายๆครั้ง ในเวทีประวัติศาสตร์สมัยสงครามชุนชิวจ้านกั๊ว ไม่ว่าจะเกิดมาเป็นชนชั้นสูงศักดิ์หรือเกิดมาเป็นชนชั้นต่ำต้อย ไม่ว่าจะเกิดมาเป็นคนมีชื่อเสียงหรือเกิดมาเป็นคนเดินดินตามท้องถนน ไม่ว่าจะเกิดมาเป็นคนแก่หรือเด็กทารก ตราบใดที่มีความสามารถ มีความคิด สามารถทำให้ระบบศักดินายกย่องเคารพบูชาและนำตัวมารับใช้เพื่อแสดงความสามารถให้ปรากฎ ซูฉิน (苏秦) จางอี๋ (张仪) ก่วนจ้ง (管仲) ฟ่านจี (范雎) ต่างเกิดจากครอบครัวสามัญชนคนธรรมดา เมื่อแก่มีที่ดินเป็นร้อยลี้ วัยเยาว์เป็นอัจฉริยะเมื่อผ่านโลกมานานยังใช้ชีวิตสมถะดังเด็กอายุสิบสองปี การปฎิรูปและสงครามแย่งชิงอำนาจดำรงอยู่ร่วมกันคือภาวะสังคมอย่างมีนัยสำคัญในสมัยสงครามชุนชิวจ้านกั๊ว สามารถกล่าวได้ว่า ผู้ครองรัฐเรืองอำนาจแต่ละคนที่ปรากฎในสมัยสงครามชุนชิวจ้านกั๊วเป็นผลลัพธ์ของการปฎิรูป ดังนั้นเจ้าครองรัฐยิ่งใหญ่ทั้งเจ็ดในยุคสงครามจ้านกั๊วจึงสามารถผนวกดินแดนแผ่นดินจีนอันกว้างใหญ่ได้ นี่คือผลงานของการปฎิรูป เหตุผลก็คือสงครามการแย่งชิงอำนาจต้องอาศัยการเมืองและเศรษฐกิจสนับสนุน การปฎิรูปเป็นวิธีการที่จำเป็นและรวดเร็วเพื่อยกระดับความเข้มแข็งและอำนาจให้แก่เจ้าครองรัฐ จากยุคสงครามชุนชิวถึงสงครามจ้านกั๊ว คือการปฎิรูปแล้วปฎิรูปอีก ทำสงครามแล้วทำสงครามอีก ในการปฎิรูปทำไห้ประเทศจีนเจริญเข้มแข็งขึ้น ในการทำสงครามทำให้ประเทศรวมอำนาจเป็นปึกแผ่น สังคมในสมัยสงครามชุนชิวจ้านกั๊วก็คือการพัฒนาและความก้าวหน้าในภาวะสถานการณ์ดังกล่าว

แม่แบบ:Link FA