ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ฟุตบอลทีมชาติตรินิแดดและโตเบโก"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Imrittha (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Imrittha (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 94: บรรทัด 94:
=== ดาวยิงทีมชาติ ===
=== ดาวยิงทีมชาติ ===


ถึงวันที่ ''9 กันยายน 2014'' (ผู้เล่นที่ยังเล่นทีมชาติอยู่ '''ตัวหนา'''):
ถึงวันที่ ''15 ตุลาคม 2014'' (ผู้เล่นที่ยังเล่นทีมชาติอยู่ '''ตัวหนา'''):


{| class="wikitable" cellpadding="3" style="text-align: center;"
{| class="wikitable" cellpadding="3" style="text-align: center;"

รุ่นแก้ไขเมื่อ 10:30, 16 ตุลาคม 2557

ตรินิแดดและโตเบโก
Shirt badge/Association crest
ฉายาเดอะ โซก้า วอริเออร์ส
สมาคมสมาคมฟุตบอลตรินิแดดและโตเบโก
(TTFA)
สมาพันธ์ย่อยสหภาพฟุตบอลแคริบเบียน
(CFU)
สมาพันธ์คอนคาเคฟ
หัวหน้าผู้ฝึกสอนสตีเฟ่น ฮาร์ท ตรินิแดดและโตเบโก
ผู้ช่วยผู้ฝึกสอนฮัทสัน ชาร์ลส์ ตรินิแดดและโตเบโก
ดีเรค คิง ตรินิแดดและโตเบโก
กัปตันเคนวีน โจนส์
ติดทีมชาติสูงสุดแองกัส อีฟ (117)
ทำประตูสูงสุดสเติร์น จอห์น (70)
สนามเหย้าสนามกีฬาเฮสลีย์ ครอว์ฟอร์ด
รหัสฟีฟ่าTRI
อันดับฟีฟ่า
อันดับปัจจุบัน86 (กันยายน 2014)
อันดับสูงสุด25 (มิถุนายน 2001)
อันดับต่ำสุด106 (ตุลาคม 2010)
เกมระดับนานาชาติครั้งแรก
ธงชาติกายอานาของอังกฤษ กายอานาของอังกฤษ 1–4 ตรินิแดดและโตเบโก ตรินิแดดและโตเบโก
(บริติช กายอานา; 21 กรกฎาคม 1905)[1]
ชนะสูงสุด
ตรินิแดดและโตเบโก ตรินิแดดและโตเบโก 11–0 อารูบา ธงชาติอารูบา
(เมืองอาริมา,ตรินิแดดและโตเบโก; 23 เมษายน 1989)
แพ้สูงสุด
ธงชาติเม็กซิโก เม็กซิโก 7–0 ตรินิแดดและโตเบโก ตรินิแดดและโตเบโก
สนามอัซเตกา
(กรุงเม็กซิโก ซิตี้, สหรัฐเม็กซิโก; 8 ตุลาคม 2000)
ฟุตบอลโลก
เข้าร่วม1 (ครั้งแรกใน 2006)
ผลงานดีที่สุดรอบแรก, ฟุตบอลโลก 2006
คอนคาเคฟ แชมเปียนชิพ และ
คอนเคเคฟ โกลด์คัพ
เข้าร่วม13 (ครั้งแรกใน 1967)
ผลงานดีที่สุดรองชนะเลิศ; 1973

ฟุตบอลทีมชาติตรินิแดดและโตเบโก เป็นทีมฟุตบอลตัวแทนของสาธารณรัฐตรินิแดดและโตเบโกในการแข่งขันฟุตบอลระหว่างชาติ บริหารงานโดยสมาคมฟุตบอลตรินิแดดและโตเบโก (TTFA) โดยเป็นชาติสมาชิกของคอนคาเคฟ

ทีมชาติตรินิแดดและโตเบโก เคยผ่านเข้าไปเล่นในฟุตบอลโลก 1 ครั้ง ในฟุตบอลโลก 2006 ทำให้ได้รับการบันทึกว่าเป็นทีมชาติที่มีขนาดเล็กที่สุดที่ได้เล่นในฟุตบอลโลกเมื่อวัดจากขนาดพื้นที่ของประเทศและจำนวนประชากร

นอกจากนี้ทีมชาติตรินิแดดฯยังเข้าร่วมการแข่งขันฟุตบอลระดับทวีปอย่าง คอนคาเคฟ โกลด์คัพ และการแข่งขันในระดับภูมิภาคอย่าง แคริบเบียน คัพ ซึ่งทีมชาติตรินิแดดและโตเบโก จัดว่าเป็นทีมชาติที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในกลุ่มประเทศแถบทะเลแคริบเบียน เมื่อชนะเลิศการแข่งขันแคริบเบียน คัพ ถึง 8 สมัย และได้ตำแหน่งรองชนะเลิศอีก 4 สมัย ได้รับการจารึกไว้ว่าครองสถิติชนะเลิศมากที่สุดในการแข่งขันรายการนี้

โดยในการแข่งขัน แคริบเบียน คัพ 2014 รอบคัดเลือก รอบ 2 ทีมชาติตรินิแดดและโตเบโก อยู่ร่วมกลุ่มกับทีมชาติแอนติกาและบาร์บูดา ,เซนต์ลูเซีย และสาธารณรัฐโดมินิกัน

ฟุตบอลโลก 2006

ทีมชาติตรินิแดดและโตเบโก ผ่านเข้าไปเล่นฟุตบอลโลกได้เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ในการแข่งขัน ฟุตบอลโลก 2006 ที่ประเทศเยอรมัน ภายใต้การคุมทีมของ ลีโอ บีนฮัคเคอร์ ผู้จัดการทีมชาวฮอลล์แลนด์ ที่ได้เรียกตัวผู้เล่นประสบการณ์สูงอย่าง ดไวท์ ยอร์ก และ รัสเซลล์ ลาตาปี กลับมาเล่นให้ทีมชาติอีกครั้ง โดยทีมชาติตรินิแดดและโตเบโก จบอันดับที่ 4 ในรอบคัดเลือกโซนคอนคาเคฟ และต้องเล่นเพลย์ออฟกับทีมชาติบาห์เรน

ในเกมส์รอบเพลย์ออฟนัดแรกที่ตรินิแดดฯ ทั้งสองทีมเสมอกันไป 1-1 และเกมส์นัดที่สองที่กรุงมานามา ประเทศบาห์เรน ทีมชาติตรินิแดดและโตเบโกได้ประตูจากลูกโหม่งของ เดนิส ลอว์เรนซ์ นักเตะจากสโมสรเร็กซ์แฮม และเป็นประตูชัยพาทีมชาติตรินิแดดและโตเบโกเข้าไปสู่รอบสุดท้ายฟุตบอลโลก เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์

สนามเหย้า

สนามกีฬาเฮสลีย์ ครอว์ฟอร์ด ถูกใช้เป็นสนามเหย้าของทีมตั้งแต่ ปี 1980

ในยุคแรกทีมชาติตรินิแดดและโตเบโก ต้องใช้สนาม ควีนส์ปาร์ค โอวัล ซึ่งเป็นสนามที่ใช้แข่งกีฬาคริกเก็ตที่เก่าแก่และใหญ่ที่สุดในแถบเวสต์ อินดีส ตั้งอยู่ที่เมืองพอร์ต-ออฟ-สเปน เป็นสนามเหย้า สำหรับแข่งฟุตบอลทีมชาติ จนกระทั่งรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐตรินิแดดและโตเบโกได้สร้างสนามกีฬาแห่งชาติแล้วเสร็จในปี ค.ศ.1980 โดยมีจุดประสงค์เพื่อใช้ในการแข่งขันกรีฑาและฟุตบอล มีความจุทั้งสิ้น 27,000 ที่นั่ง สมาคมฟุตบอลตรินิแดดและโตเบโก (TTFA) จึงได้รับอนุญาตจากกระทรวงการกีฬาของตรินิแดดฯ ให้ใช้สนามแห่งนี้เป็นสนามเหย้า ในการแข่งขันฟุตบอลทีมชาตินับแต่นั้นมา

ปี ค.ศ. 2001 สนามกีฬาแห่งชาตินี้ได้เปลี่ยนชื่อเป็น เฮสลีย์ ครอว์ฟอร์ด สเตเดี้ยม เพื่อเป็นเกียรติแก่ เฮสลีย์ โจอาคิม ครอว์ฟอร์ด นักกรีฑา ที่เป็นชาวตรินิแดดและโตเบโกคนแรกที่ได้เหรียญทองในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก โดยเขาสามารถคว้าเหรียญทองได้จากการแข่งขันวิ่งระยะสั้น 100 เมตร ในโอลิมปิกฤดูร้อน 1976 ที่มอนทรีออล ประเทศแคนาดา รวมทั้งได้เหรียญเงินจากการวิ่งผลัด 4×100 เมตร ในการแข่งขันกีฬาคอมมอนเวลธ์เกมส์ ปี 1978 ที่เมืองเอ็ดมอนตัน ประเทศแคนาดา

ผู้เล่น

ผู้เล่นทีมชาติชุดใหญ่

รายชื่อผู้เล่นทีมชาติชุดแข่งกระชับมิตรกับทีมชาติอาร์เจนติน่า วันที่ 4 มิถุนายน 2014 ที่บัวโนสไอเรส (อาร์เจนตินา ชนะ 3-0) และแข่งกระชับมิตรกับทีมชาติอิหร่าน วันที่ 8 มิถุนายน 2014 ที่เซาเปาโล (อิหร่าน ชนะ 2-0) โดยเป็นการเรียกเกวิน ฮอยต์ มาติดทีมชาติเป็นครั้งแรกหลังจากเคยเล่นให้ทีมชาติอังกฤษมาแล้วในชุดเยาวชน

0#0 ตำแหน่ง ผู้เล่น วันเกิด (อายุ) ลงเล่น ประตู สโมสร
21 1GK แยน-ไมเคิล วิลเลี่ยมส์ (1984-10-26) 26 ตุลาคม ค.ศ. 1984 (39 ปี) 59 0 ตรินิแดดและโตเบโก เซ็นทรัล เอฟซี
1 1GK มาวิน ฟิลลิป (1984-08-01) 1 สิงหาคม ค.ศ. 1984 (39 ปี) 43 0 ตรินิแดดและโตเบโก พอยต์ ฟอติน ซิวิค

22 2DF คาร์ลอส เอ็ดเวิร์ดส์ (1978-10-24) 24 ตุลาคม ค.ศ. 1978 (45 ปี) 88 4 อังกฤษ มิลล์วอลล์
19 2DF คาร์ลิล มิทเชลล์ (1987-10-08) 8 ตุลาคม ค.ศ. 1987 (36 ปี) 25 0 แคนาดา แวนคูเวอร์ ไวท์แคปส์
6 2DF ราดานฟาห์ อะบู บักร์ (1987-02-12) 12 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1987 (37 ปี) 18 1 ลิทัวเนีย ครูโอจา ปาครูโอจีส
15 2DF เคอร์ติส กอนซาเลซ (1989-01-26) 26 มกราคม ค.ศ. 1989 (35 ปี) 13 0 ตรินิแดดและโตเบโก ดีเฟนซ์ ฟอร์ซ
2 2DF จัสติน ฮอยต์ (1984-11-20) 20 พฤศจิกายน ค.ศ. 1984 (39 ปี) 12 0 อังกฤษ มิลล์วอลล์
4 2DF เชลดอน บาโต (1991-01-29) 29 มกราคม ค.ศ. 1991 (33 ปี) 7 0 เบลเยียม มิชเชลเลน
12 2DF โยฮันซ์ มาร์แชลล์ (1986-01-22) 22 มกราคม ค.ศ. 1986 (38 ปี) 7 0 ตรินิแดดและโตเบโก เซ็นทรัล เอฟซี
17 2DF เกวิน ฮอยต์ (1990-06-06) 6 มิถุนายน ค.ศ. 1990 (34 ปี) 2 0 อังกฤษ จิลลิงแฮม

18 3MF เดนซิล ธีโอบาลด์ (1982-06-27) 27 มิถุนายน ค.ศ. 1982 (42 ปี) 97 2 อินเดีย อีสต์ เบงกอล เอฟซี
8 3MF คาลีม ไฮแลนด์ (1989-06-05) 5 มิถุนายน ค.ศ. 1989 (35 ปี) 39 3 เบลเยียม ราซิ่ง เกงค์
3 3MF โจวิน โจนส์ (1991-08-03) 3 สิงหาคม ค.ศ. 1991 (32 ปี) 35 0 ฟินแลนด์ เอชเจเค เฮลซิงกิ
7 3MF อตุลเลาะห์ กูเอร์ร่า (1987-11-14) 14 พฤศจิกายน ค.ศ. 1987 (36 ปี) 27 4 ตรินิแดดและโตเบโก เซ็นทรัล เอฟซี
10 3MF เควิน โมลิโน่ (1990-06-17) 17 มิถุนายน ค.ศ. 1990 (34 ปี) 22 5 สหรัฐ ออร์แลนโด ซิตี้
14 3MF อองเดร บูโก (1984-10-10) 10 ตุลาคม ค.ศ. 1984 (39 ปี) 17 1 อังกฤษ ดาร์เกนแน่ม แอนด์ เร้ดบริดจ์
5 3MF คีแวน จอร์จ (1990-01-30) 30 มกราคม ค.ศ. 1990 (34 ปี) 7 0 สหรัฐ โคลัมบัส ครูว์
16 3MF มาร์คัส โจเซฟ (1991-04-29) 29 เมษายน ค.ศ. 1991 (33 ปี) 6 0 ตรินิแดดและโตเบโก พอยต์ ฟอติน ซิวิค

9 4FW เคนวีน โจนส์ (c) (1984-10-05) 5 ตุลาคม ค.ศ. 1984 (39 ปี) 63 13 เวลส์ คาร์ดิฟฟ์ ซิตี้
23 4FW เลสเตอร์ เพลเทียร์ (1988-09-13) 13 กันยายน ค.ศ. 1988 (35 ปี) 24 5 สโลวีเนีย สโลวาน บราติสลาวา
11 4FW วิลลิส พลาซ่า (1987-10-03) 3 ตุลาคม ค.ศ. 1987 (36 ปี) 12 5 ตรินิแดดและโตเบโก เซ็นทรัล เอฟซี
13 4FW รันเดลล์ วินเชสเตอร์ (1993-12-16) 16 ธันวาคม ค.ศ. 1993 (30 ปี) 4 0 ตรินิแดดและโตเบโก เซ็นทรัล เอฟซี
20 4FW เทรวิน เซซาร์ (1989-04-26) 26 เมษายน ค.ศ. 1989 (35 ปี) 2 0 สหรัฐ ซาน อันโตนิโอ สกอร์เปียนส์

ดาวยิงทีมชาติ

ถึงวันที่ 15 ตุลาคม 2014 (ผู้เล่นที่ยังเล่นทีมชาติอยู่ ตัวหนา):

# ซื่อ ประตู นัด
1 สเติร์น จอห์น 70 115
2 แองกัส อีฟ 34 117
3 รัสเซลล์ ลาตาปี 29 81
4 อาร์โนลด์ ดวาริก้า 28 73
5 คอร์เนลล์ เกล็น 23 68
6 ลีออนสัน ลูอิส 22 36
ไนเจล ปิแอร์ 58
8 ดไวท์ ยอร์ก 19 74
9 เดวอร์น จอร์สลิง 17 40
10 เคนวีน โจนส์ 16 65
  1. Trinidad and Tobago – List of International Matches