พลพีร์ สุวรรณฉวี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พลพีร์ สุวรรณฉวี
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
จังหวัดนครราชสีมา
เริ่มดำรงตำแหน่ง
14 พฤษภาคม พ.ศ. 2566
ก่อนหน้าทัศนาพร เกษเมธีการุณ
เขตเลือกตั้งเขต 9
คะแนนเสียง38,241
ดำรงตำแหน่ง
23 ธันวาคม พ.ศ. 2550 – 9 ธันวาคม พ.ศ. 2556
ก่อนหน้าไพโรจน์ สุวรรณฉวี
บุญจง วงศ์ไตรรัตน์
ถัดไปทัศนาพร เกษเมธีการุณ
เขตเลือกตั้งเขต 6 (2550)
เขต 9 (2554)
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2525 (41 ปี)
เขตดินแดง จังหวัดกรุงเทพมหานคร
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองภูมิใจไทย (2561–ปัจจุบัน)
การเข้าร่วม
พรรคการเมืองอื่น
เพื่อไทย (2556–2561)
ชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน (2554–2556)
เพื่อแผ่นดิน (2550–2554)
บุพการี

นาย พลพีร์ สุวรรณฉวี ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครราชสีมา เขต 9 สังกัดพรรคภูมิใจไทย เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 ก่อนหน้านี้ดำรงตำแหน่งรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง (ประจำนายอนุทิน ชาญวีรกูล) ระหว่าง พ.ศ. 2562 - 2566 ในรัฐบาลของ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา โฆษกคณะกรรมาธิการการกระจายอำนาจการปกครองส่วนท้องถิ่น และการบริหารราชการรูปแบบพิเศษ สภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ 26

และ เคยดำรงตำแหน่ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครราชสีมา มาแล้ว 2 สมัย [1] ขณะสังกัดพรรคเพื่อแผ่นดิน และ พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน เมื่อ พ.ศ. 2550 - 2554 และ พ.ศ. 2554 - 2556 ตามลำดับ นอกจากนี้ยังเคยดำรงตำแหน่งประธานสโมสรฟุตบอลจังหวัดนครราชสีมา[2]

ประวัติ[แก้]

นายพลพีร์ สุวรรณฉวี มีชื่อเล่นว่า "เต้ย" เกิดเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2525 เป็นบุตรของ ว่าที่ร้อยตรี ไพโรจน์ สุวรรณฉวี อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ (ในรัฐบาลของ นายบรรหาร ศิลปอาชา) และแกนนำกลุ่มโคราช พรรคเพื่อแผ่นดิน กับ ร้อยตรีหญิง ระนองรักษ์ สุวรรณฉวี อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ในรัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ), อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง (ในรัฐบาลของ นายสมัคร สุนทรเวช และรัฐบาล นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์) และ อดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา (พ.ศ. 2555-2563)

การศึกษา[แก้]

การทำงาน[แก้]

นายพลพีร์ สุวรรณฉวี ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครราชสีมา สังกัดพรรคเพื่อแผ่นดิน และได้รับเลือกตั้งเป็นสมัยแรก ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 ขณะดำรงตำแหน่งได้รับการแต่งตั้งเป็น รองประธานคณะกรรมาธิการ การต่างประเทศ (พ.ศ. 2551-2554) นอกจากนี้ ในปี พ.ศ. 2554 ยังได้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยเลขานุการอนุกรรมาธิการงบประมาณครุภัณฑ์และสิ่งก่อสร้าง และ กรรมาธิการร่าง พ.ร.บ. งบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2555

ต่อมาในปี พ.ศ. 2554 ย้ายไปสังกัดพรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน และได้รับการเลือกตั้งเป็นสมัยที่ 2 ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 จังหวัดนครราชสีมา ระหว่างปี พ.ศ. 2555-2556 ได้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยเลขานุการคณะกรรมาธิการ การต่างประเทศ และ รองประธานคณะกรรมาธิการการกีฬาและการท่องเที่ยว ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2555 เพื่อพิจารณางบประมาณปี พ.ศ. 2556

พ.ศ. 2556 นายพลพีร์ สุวรรณฉวี ได้เข้าร่วมงานกับพรรคเพื่อไทย[3] ชนะการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไป แต่ผลการเลือกตั้งทั่วประเทศคราวนั้นถูกให้เป็นโมฆะ

จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2562 นายพลพีร์ สุวรรณฉวี ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในนามพรรคภูมิใจไทย ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 จังหวัดนครราชสีมา ผลการเลือกตั้ง ได้คะแนนมาเป็นอันดับสอง ด้วยคะแนน 34,817 คะแนน รองจากนางทัศนาพร เกษเมธีการุณ พรรคพลังประชารัฐ ที่ได้ 36,473 คะแนน

เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2562 นายพลพีร์ สุวรรณฉวี ได้รับการแต่งตั้งเป็น รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี (ประจำนายอนุทิน ชาญวีรกูล)[4] ในรัฐบาลของ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา จนกระทระทั่ง เดือน พฤษภาคม พ.ศ. 2566

และ ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 วันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 นายพลพีร์ สุวรรณฉวี ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดนครราชสีมา เขต 9 สังกัดพรรคภูมิใจไทย (สภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 26)

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. ทำเนียบ สส./สว. - สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง
  2. คุณพลพีร์ สุวรรณฉวี ประธานสโมสรฟุตบอลจังหวัดนครราชสีมาคนไหม่
  3. 'พลพีร์ สุวรรณฉวี'ชิ่ง'ชพน.'ซบ'เพื่อไทย'อีกราย
  4. คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ ๑๗๕/๒๕๖๒ เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมือง (จำนวน ๗ คน ๑. นายสุรชัย ภู่ประเสริฐ ฯลฯ)
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๓, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔ เก็บถาวร 2012-11-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๓๘, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔