ข้ามไปเนื้อหา

ปาแว็ล แน็ดเวียต

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ปาเวล เนดเวต)
ปาแว็ล แน็ดเวียต
แน็ดเวียตขณะลงเล่นให้กับทีมชาติเช็กเกียในปี ค.ศ. 2006
ข้อมูลส่วนตัว
วันเกิด (1972-08-30) 30 สิงหาคม ค.ศ. 1972 (52 ปี)
สถานที่เกิด แค็ป เชโกสโลวาเกีย
ส่วนสูง 1.77 เมตร (5 ฟุต 10 นิ้ว)
ตำแหน่ง ปีก
กองกลางตัวรุก
สโมสรเยาวชน
1977–1985 TJ Skalná
1985–1986 RH Cheb
1986–1990 วิกโตริยาเปิลแซ็ญ
1990 Dukla Tábor
1990–1991 Dukla Prague
สโมสรอาชีพ*
ปี ทีม ลงเล่น (ประตู)
1991–1992 Dukla Prague 19 (3)
1992–1996 สปาร์ตาปราฮา 97 (23)
1996–2001 ลัตซีโย 138 (33)
2001–2009 ยูเวนตุส 247 (51)
รวม 501 (110)
ทีมชาติ
1992–1993 เช็กเกีย รุ่นอายุไม่เกิน 21 ปี 7 (0)
1994–2006 เช็กเกีย 91 (18)
*นัดที่ลงเล่นและประตูที่ยิงให้แก่สโมสรเฉพาะลีกในประเทศเท่านั้น

ปาแว็ล แน็ดเวียต (เช็ก: Pavel Nedvěd, ออกเสียง: [ˈpavɛl ˈnɛdvjɛt] ( ฟังเสียง); เกิดวันที่ 30 สิงหาคม ค.ศ. 1972) เป็นอดีตนักฟุตบอลอาชีพชาวเช็กเกียที่เคยเล่นในตำแหน่งกองกลาง และเป็นหนึ่งในนักฟุตบอลชาวเช็กเกียที่ประสบความสำเร็จมากที่สุด[1] เขาคว้าแชมป์ระดับประเทศและทวีปกับลัตซีโย ซึ่งชนะเลิศวินเนอร์สคัพสมัยสุดท้าย ส่วนในการเล่นกับยูเวนตุส เขาพาทีมเข้ารอบยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก นัดชิงชนะเลิศ 2003

แน็ดเวียตเป็นผู้เล่นที่สำคัญคนหนึ่งของทีมชาติเช็กเกีย เขาเคยพาทีมชาติเข้าชิงชนะเลิศในฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 1996 และได้รับการแต่งตั้งเป็นกัปตันทีมในการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2004 ที่เช็กเกียตกรอบรองชนะเลิศด้วยการแพ้กรีซ แต่แน็ดเวียตก็ติดทีมยอดเยี่ยมประจำการแข่งขัน หลังจากนั้น เขาพาทีมชาติผ่านเข้าไปเล่นรอบสุดท้ายของฟุตบอลโลก 2006 นับเป็นครั้งแรกหลังจากที่เชโกสโลวาเกียแยกประเทศ ในการแข่งขัน แน็ดเวียตมีการเล่นที่ว่องไวและกระปรี้กระเปร่า จนได้รับฉายาว่า "ฟูเรียเชกา" ("Czech Fury") โดยแฟนชาวอิตาลี และฉายา "ปืนใหญ่แห่งเช็ก" โดยสื่อภาษาอังกฤษ ส่วนฉายาท้องถิ่นคือ "แมยา" ("หมีน้อย")[2] ("หมีน้อย") เนื่องจากนามสกุลของเขาคล้ายคำว่า Medvěd ที่แปลว่าหมีในภาษาเช็ก

แน็ดเวียตได้รับรางวัลนักฟุตบอลยอดเยี่ยมแห่งปีของทวีปยุโรปในปี ค.ศ. 2003 โดยเขาเป็นชาวเช็กคนแรกที่ได้รับรางวัลนี้ แต่เป็นครั้งแรกหลังจากการแยกประเทศของเชโกสโลวาเกีย ในช่วงการค้าแข้งของเขา เขาได้รางวัลส่วนตัวหลายรางวัล รวมไปถึงรางวัลเท้าทองคำสมัยที่สองในปี ค.ศ. 2004, นักฟุตบอลชาวเช็กยอดเยี่ยมแห่งปี (สี่สมัย) และลูกบอลทองคำ (หกสมัย) เขามีชื่อติดฟีฟ่า 100 โดยเปเล่ และติดทีมแห่งปีของยูฟ่าในปี ค.ศ. 2003, 2004 และ 2005 เขาเกษียณอาชีพหลังจบฤดูกาล 2008–09 สิ้นสุดการค้าแข้ง 19 ปี เขาลงเล่นเกมลีก 501 นัด (ยิงได้ 110 ประตู) และลงเล่นให้กับทีมชาติ 91 นัด (ยิงได้ 18 ประตู)

สถิติอาชีพ

[แก้]

สโมสร

[แก้]

อ้างอิง: ลีก,[3] โกปปาอีตาเลีย (ยูเวนตุส),[4] การแข่งขันระดับทวีปยุโรป[5]

สโมสร ลีก ถ้วย ทวีป ทั้งหมด
ฤดูกาล สโมสร ลีก ลงเล่น ประตู ลงเล่น ประตู ลงเล่น ประตู ลงเล่น ประตู
เชโกสโลวาเกีย ลีก เชโกสโลวักคัพ ยุโรป ทั้งหมด
1991–92 ดุกลา ปราก เฟิสต์ลีก 19 3 19 3
1992–93 สปาร์ตาปราฮา 17 0 5 0 22 0
เช็กเกีย ลีก เช็กคัพ ยุโรป ทั้งหมด
1993–94 สปาร์ตาปราฮา กัมบรินุสลีกา 23 3 4 0 27 3
1994–95 27 6 2 0 29 6
1995–96 30 14 8 5 38 19
อิตาลี ลีก โกปปาอีตาเลีย ยุโรป ทั้งหมด
1996–97 ลัตซีโย เซเรียอา 32 7 3 2 35 9
1997–98 26 11 11 2 37 13
1998–99 21 1 8 4 29 5
1999–2000 28 5 13[A] 1 41 6
2000–01 31 9 10 3 41 12
2001–02 ยูเวนตุส เซเรียอา 32 4 4 0 7 0 43 4
2002–03 29 9 1 0 15 5 45 14
2003–04 30 6 4 0 6 2 40 8
2004–05 27 7 1 0 10 3 38 10
2005–06 33 5 4 0 8 2 45 7
2006–07 เซเรียบี 33 11 3 1 36 12
2007–08 เซเรียอา 31 2 2 1 33 3
2008–09 32 7 3 0 9 0 44 7
ประเทศ เชโกสโลวาเกีย 36 3 5 0 41 3
เช็กเกีย 80 23 14 5 94 28
อิตาลี 385 84 22 2 100 24 507 110
ทั้งหมด 501 110 22 2 119 29 642 141
หมายเหตุ
  1. นับรวมการแข่งขันยูฟ่าซูเปอร์คัพ นัดที่ลัตซีโย พบ แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด

ทีมชาติ

[แก้]
เช็กเกีย
ปี ค.ศ. ลงเล่น ประตู
1994 1 0
1995 4 0
1996 12 2
1997 10 2
1998 3 1
1999 9 2
2000 10 4
2001 11 4
2002 6 0
2003 8 2
2004 9 0
2005 2 0
2006 6 1
ทั้งหมด 91 18[3][6]

ประตูในนามทีมชาติ

[แก้]

อ้างอิง:[6]

# วันที่ สนาม คู่แข่ง สกอร์ ผล การแข่งขัน
1 14 มิถุนายน ค.ศ. 1996 แอนฟีลด์, ลิเวอร์พูล ธงชาติอิตาลี อิตาลี 1–0 2–1 ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 1996
2 18 กันยายน ค.ศ. 1996 Na Stínadlech, Teplice ธงชาติมอลตา มอลตา 2–0 6–0 ฟุตบอลโลก 1998 รอบคัดเลือก
3 17 ธันวาคม ค.ศ. 1997 King Fahd II Stadium, ริยาด Flag of the United Arab Emirates สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ 2–0 6–1 ฟีฟ่าคอนเฟเดอเรชันส์คัพ 1997
4 3–0
5 14 ตุลาคม ค.ศ. 1998 Na Stínadlech, Teplice ธงชาติเอสโตเนีย เอสโตเนีย 1–0 4–1 ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2000 รอบคัดเลือก
6 4 กันยายน ค.ศ. 1999 Žalgiris Stadium, วิลนีอัส ธงชาติลิทัวเนีย ลิทัวเนีย 1–0 4–0 ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2000 รอบคัดเลือก
7 2–0
8 26 มีนาคม ค.ศ. 2000 Generali Arena, ปราก ธงชาติอิสราเอล อิสราเอล 1–0 4–1 กระชับมิตร
9 3–0
10 7 ตุลาคม ค.ศ. 2000 Na Stínadlech, Teplice ธงชาติไอซ์แลนด์ ไอซ์แลนด์ 3–0 4–0 ฟุตบอลโลก 2002 รอบคัดเลือก
11 4–0
12 24 มีนาคม ค.ศ. 2001 Windsor Park, เบลฟาสต์ ธงชาติไอร์แลนด์เหนือ ไอร์แลนด์เหนือ 1–0 1–0 ฟุตบอลโลก 2002 รอบคัดเลือก
13 15 สิงหาคม ค.ศ. 2001 Sportovní areál, Drnovice ธงชาติเกาหลีใต้ เกาหลีใต้ 1–0 5–0 กระชับมิตร
14 6 ตุลาคม ค.ศ. 2001 Generali Arena, ปราก ธงชาติบัลแกเรีย บัลแกเรีย 2–0 6–0 ฟุตบอลโลก 2002 รอบคัดเลือก
15 6–0
16 2 เมษายน ค.ศ. 2003 Toyota Arena, ปราก ธงชาติออสเตรีย ออสเตรีย 1–0 4–0 ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2004 รอบคัดเลือก
17 6 กันยายน ค.ศ. 2003 Dinamo Stadium, มินสค์ ธงชาติเบลารุส เบลารุส 1–1 3–1 ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2004 รอบคัดเลือก
18 6 มิถุนายน ค.ศ. 2006 Toyota Arena, ปราก ธงชาติตรินิแดดและโตเบโก ตรินิแดดและโตเบโก 2–0 3–0 กระชับมิตร

เกียรติประวัติ

[แก้]
เท้าทองของแน็ดเวียต

สโมสร

[แก้]
สปาร์ตาปราก[7]
ลัตซีโย[8]
ยูเวนตุส[8]

ทีมชาติ

[แก้]
เช็กเกีย

ส่วนตัว

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Pavel Nedved". สืบค้นเมื่อ 21 September 2014.
  2. "Pavel "Méďa" Nedvěd vydává v Itálii svou autobiografii". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-06-29. สืบค้นเมื่อ 11 August 2017.
  3. 3.0 3.1 ปาแว็ล แน็ดเวียต ที่ National-Football-Teams.com. Retrieved 3 June 2013.
  4. "Pavel Nedvěd". myjuve.it. n.d. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 May 2011. สืบค้นเมื่อ 4 June 2013.
  5. Haisma, Marcel. "Pavel Nedved – Matches in European Cups". Rec.Sport.Soccer Statistics Foundation. สืบค้นเมื่อ 4 June 2013.
  6. 6.0 6.1 "Pavel Nedved – International Appearances". Rec.Sport.Soccer Statistics Foundation. สืบค้นเมื่อ 4 March 2013.
  7. 7.0 7.1 Jeřábek, Luboš (2007). Český a československý fotbal – lexikon osobností a klubů (ภาษาเช็ก). Prague: Grada Publishing. p. 132. ISBN 978-80-247-1656-5. สืบค้นเมื่อ 18 March 2012.
  8. 8.0 8.1 ข้อมูลของ ปาแว็ล แน็ดเวียต ที่ ซ็อกเกอร์เวย์. Retrieved 4 June 2013.
  9. "Nedved calls time on Czech career". UEFA. 24 September 2004. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 October 2004. สืบค้นเมื่อ 20 March 2012.
  10. 10.0 10.1 "Nedved wins Czech award". UEFA.com. 13 June 2003. สืบค้นเมื่อ 30 December 2015.
  11. Karel Stokkermans (14 March 2007). "ESM XI". RSSSF. สืบค้นเมื่อ 29 November 2015.
  12. 12.0 12.1 "Italy - Footballer of the Year". RSSSF. สืบค้นเมื่อ 6 February 2015.
  13. 13.0 13.1 "Pavel Nedved". UEFA.com. สืบค้นเมื่อ 30 December 2015.
  14. Jamie Rainbow (14 December 2012). "World Soccer Awards – previous winners". World Soccer. สืบค้นเมื่อ 21 November 2015.
  15. Rob Moore; Karel Stokkermans (21 January 2011). "European Footballer of the Year ("Ballon d'Or")". RSSSF. สืบค้นเมื่อ 22 December 2015.
  16. "All-star squad revealed". UEFA. 5 July 2004. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 July 2004. สืบค้นเมื่อ 5 July 2012.
  17. "Winners - Golden Foot". goldenfoot.com. สืบค้นเมื่อ 14 December 2017.
  18. "Pele's list of the greatest". BBC Sport. 4 March 2004. สืบค้นเมื่อ 15 June 2013.
  19. "2012 Three FAI International Award Winners Announced". Football Association of Ireland. 26 February 2012. สืบค้นเมื่อ 31 December 2012.
  20. "Ultimate Team of the Year: The All-Time XI". UEFA. 22 November 2015. สืบค้นเมื่อ 25 November 2015.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]