อาการเจ็บหู

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ปวดหู)
อาการเจ็บหู
ชื่ออื่นOtalgia, earache
การตรวจช่องหูและแก้วหู
สาขาวิชาENT surgery

อาการเจ็บหู (อังกฤษ: ear pain, earache, otalgia) เป็นความเจ็บปวดในหู[1][2] อาการเจ็บหูปฐมภูมิเป็นความเจ็บปวดซึ่งเกิดที่หู ส่วนอาการเจ็บหูทุติยภูมิเป็นรูปแบบหนึ่งของอาการปวดต่างที่ คือส่วนที่เป็นเหตุให้เจ็บจะต่างกับส่วนที่รู้สึกเจ็บ เหตุโดยมากของการเจ็บหูจะไม่มีอันตรายต่อชีวิต[3][4] อาการเจ็บหูปฐมภูมิจะสามัญกว่าอาการเจ็บหูทุติยภูมิ[5] และบ่อยครั้งเกิดจากการติดเชื้อหรือการบาดเจ็บ[3] ส่วนเหตุของอาการเจ็บหูทุติยภูมิค่อนข้างกว้างเริ่มตั้งแต่การทำหน้าที่ผิดปรกติของข้อต่อขากรรไกรจนกระทั่งถึงคออักเสบ[3] เหตุของความเจ็บปวดโดยทั่วไปจะหาด้วยการสอบประวัติคนไข้และตรวจร่างกาย โดยไม่ต้องใช้เครื่องมือสร้างภาพต่าง ๆ เช่นเอ็กซ์เรย์คอมพิวเตอร์[3] อย่างไรก็ดี การตรวจเพิ่มอาจจำเป็นถ้ามีอาการน่าเป็นห่วง เช่น เสียการได้ยิน เวียนศีรษะ ได้ยินเสียงในหู หรือน้ำหนักลดโดยไม่มีเหตุ[6] การรักษาจะขึ้นอยู่กับเหตุ ถ้ามีการติดเชื้อแบคทีเรีย บางครั้งก็จะใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อรักษา และยาแก้ปวดที่ซื้อหาได้เองอาจช่วยลดความไม่สบาย[7] เหตุบางอย่างจะต้องรักษาด้วยหัตถการ ไม่ว่าที่ทำในห้องตรวจหรือห้องผ่าตัด[7][8][9] งานทบทวนวรรณกรรมปี 2015 พบว่า เด็ก 83% จะติดเชื้อในหูชั้นกลางอย่างน้อยครั้งหนึ่งก่อนอายุจะเลย 3 ปี[10]

อาการ[แก้]

อาการเจ็บหูอาจเกิดที่หูข้างเดียวหรือทั้งสองข้าง อาจเกิดร่วมกับอาการอื่น ๆ เช่น เป็นไข้ อาการรู้สึกหมุน คันหู หรือหูอื้อ อาจเจ็บมากขึ้นเมื่อเคี้ยว[3] และอาจเจ็บอย่างต่อเนื่องหรือเป็นหยุด ๆ หาย ๆ[11]

การเจ็บหูเพราะติดเชื้อสามัญที่สุดในเด็กและเกิดในทารกได้ด้วย[10] ผู้ใหญ่อาจต้องตรวจเพิ่มถ้าเสียการได้ยิน เวียนศีรษะ หรือได้ยินเสียงในหู[6] อาการที่น่าเป็นห่วงอื่น ๆ รวมทั้งโรคเบาหวาน ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ มีอาการบวมในหูชั้นนอกหรือตามขากรรไก[12]

พยาธิสรีรวิทยา[แก้]

เส้นประสาทสมองที่ทำให้รู้สึกเจ็บหู

การเจ็บหูปฐมภูมิ[แก้]

หูสามารถแบ่งโดยกายวิภาคออกเป็นหูชั้นนอก ช่องหูชั้นนอก หูชั้นกลาง และหูชั้นใน[13] แต่ความเจ็บก็ไม่ได้แตกต่างกันในส่วนเหล่านี้[2]

การเจ็บหูทุติยภูมิ[แก้]

เส้นประสาทสมองหลายเส้นวิ่งไปยังส่วนต่าง ๆ ของหู รวมทั้งประสาทสมองเส้นที่ 5 (trigeminal) เส้นที่ 7 (facial) เส้นที่ 9 (glossopharyngeal) เส้นที่ 10 (vagus) และเส้นประสาทคอระดับ C2-C3 (great auricular nerve)[13][14] แต่เส้นประสาทเหล่านี้ก็ยังดำเนินไปยังส่วนอื่น ๆ ของร่างกายอีกด้วยเริ่มตั้งแต่ปาก จนไปถึงหน้าอกและท้อง ดังนั้น ความระคายเคืองต่อเส้นประสาทเหล่านี้เพราะส่วนอื่น ๆ ของร่างกายอาจทำให้เจ็บหู[13] ซึ่งเป็นอาการปวดต่างที่อย่างหนึ่ง การระคายเคืองที่ประสาทสมองเส้นที่ 5 ซึ่งทำให้สามารถรู้สึกที่ใบหน้าและควบคุมกล้ามเนื้อต่าง ๆ เพื่อกัดและเคี้ยวเป็นต้น เป็นเหตุสามัญที่สุดของการเจ็บหูต่างที่[3]

เหตุ[แก้]

การเจ็บหูมีเหตุหลายอย่าง โดยมากไม่มีอันตรายต่อชีวิต[3][4] อาการอาจเริ่มมาจากบางส่วนของหูเอง คือเป็นการเจ็บหูปฐมภูมิ หรือจากโครงสร้างหรืออวัยวะนอกหูแต่กลับรู้สึกเจ็บที่หู คือเป็นการเจ็บหูทุติยภูมิ[3] ซึ่งเป็นอาการปวดต่างที่อย่างหนึ่ง คือส่วนที่เป็นปัญหาต่างกับส่วนที่รู้สึกเจ็บ การเจ็บหูปฐมภูมิจะสามัญกว่าในเด็ก และการเจ็บหูทุติยภูมิจะสามัญกว่าในผู้ใหญ่[15]

การเจ็บหูปฐมภูมิมีเหตุมากที่สุดจากการติดเชื้อและการบาดเจ็บที่ส่วนใดส่วนหนึ่งของหู[3]

หูชั้นนอก[แก้]

ปัญหาที่หูชั้นนอกปกติจะเห็นได้ด้วยตาเปล่า เพราะเป็นส่วนที่เปิดรับสิ่งแวดล้อมมากที่สุดจึงบาดเจ็บได้ง่าย[16] การบาดเจ็บเนื่องกับวัตถุภายนอก เช่น มีอะไรมากระแทกหู อาจมีผลเป็น hematoma คือเลือดออกไปสะสมที่ระหว่างกระดูกอ่อนกับเยื่อหุ้มกระดูกอ่อน (perichondrium) ของหู ซึ่งสามัญเป็นพิเศษในการเล่นกีฬาที่กระทบกระทั่ง เช่น มวยปล้ำ หรือชกมวย[17] การบาดเจ็บเนื่องจากสิ่งแวดล้อมรวมทั้งถูกแดดเผา ถูกความเย็นจัด หรือผิวหนังอักเสบเหตุสิ่งที่แพ้หรือระคายเคือง (contact dermatitis)[16] เหตุที่สามัญน้อยกว่ารวมทั้ง[16][18]

  • เซลล์เนื้อเยื่อในหูอักเสบ (auricular cellulitis) เป็นการติดเชื้อไม่รุนแรงของหูที่อาจเริ่มมาจากการบาดเจ็บ ถูกแมลงกัดต่อย หรือการเจาะหู

  • เยื่อหุ้มกระดูกอ่อนอักเสบ (perichondritis) เป็นการติดเชื้อที่เยื่อหุ้มกระดูกอ่อน (perichondrium) หรือพังผืดรอบ ๆ กระดูกอ่อน ซึ่งอาจเกิดโดยเป็นภาวะแทรกซ้อนของเซลล์เนื้อเยื่อในหูอักเสบที่ไม่ได้รักษา การระบุและรักษาอาการนี้ด้วยยาปฏิชีวนะเป็นเรื่องสำคัญเพื่อไม่ให้หูเสียรูปอย่างถาวร
  • relapsing polychondritis เป็นการอักเสบที่กระดูกอ่อนในส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ซึ่งบ่อยครั้งรวมกระดูกอ่อนที่หูทั้งสอง ความรุนแรงและพยากรณ์โรคจะต่างกันมากในบุคคลต่าง ๆ[19]

หูชั้นนอกอักเสบ (otitis externa)[แก้]

หูชั้นนอกอักเสบ ซึ่งเกิดบ่อย ๆ ในผู้ว่ายน้ำ เป็นการอักเสบของเซลล์เนื้อเยื่อที่ช่องหูชั้นนอก ในอเมริกาเหนือ 98% เกิดจากติดเชื้อแบคทีเรีย และเชื้อโรคที่เป็นเหตุก็คือ Pseudomonas และ Staphylococcus aureus[20] ปัจจัยเสี่ยงรวมการได้รับความชื้นเกิน (เช่น จากการว่ายน้ำ หรืออยู่ในอากาศร้อน) และการขาดขี้หูที่เป็นตัวช่วยป้องกัน ซึ่งอาจเกิดได้ถ้าทำความสะอาดมากเกินไปหรือใส่สิ่งของต่าง ๆ เข้าในหู[21]

หูชั้นนอกอักเสบร้ายแรง (malignant otitis externa) เกิดน้อยแต่เมื่อมีก็เป็นภาวะแทรกซ้อนที่มีภัยต่อชีวิต เพราะการติดเชื้อจะกระจายไปจากช่องหูเข้าไปยังกระดูกศีรษะรอบ ๆ คือกลายเป็นโรคกระดูกอักเสบเป็นหนอง (osteomyelitis)[18] ซึ่งเกิดโดยมากในคนไข้โรคเบาหวาน[22] และเกิดน้อยมากในเด็ก แต่ก็พบได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ผู้มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง[21] โดยมีเชื้อโรค Pseudomonas เป็นเหตุอย่างสามัญที่สุด[22] และมักจะเจ็บมากกว่าหูชั้นนอกอักเสบธรรมดา งานวิจัยได้พบตัวบ่งชี้การอักเสบที่สูงขึ้น (คือ ESR และ CRP) เชื้ออาจจะกระจายไปถึงประสาทสมอง แต่น้อยมากที่จะไปถึงเยื่อหุ้มสมองหรือสมอง[22] การตรวจช่องหูอาจพบเนื้อเยื่อแกรนูเลชัน (เนื้อเยื่อผิวมะระ) ที่ด้านล่างของช่องหู อาการนี้รักษาด้วยยาปฏิชีวนะที่ให้ทางปากหรือทางเส้นเลือดดำ ปกติด้วยยา fluoroquinolones[22]

การอุดหู[แก้]

  • ขี้หูอัดแน่น - นี่เป็นเหตุให้คนไปหาหมอ 12 ล้านครั้งต่อปีในสหรัฐ[23] แม้ขี้หูอาจจะทำให้หูเจ็บ แต่ความเจ็บปวดก็ยังอาจเกิดจากเหตุอื่น ๆ ซึ่งอาจไม่ตรวจเมื่อพบขี้หูอัดแน่นแล้ว
  • มีของแปลกปลอมอุดอยู่ในหู ที่สามัญที่สุดคือแมลงและวัสดุเล็ก ๆ เช่น ลูกปัดเล็ก ๆ[5]

เหตุที่มีน้อยกว่า[แก้]

  • โรคงูสวัด ซึ่งมีเหตุจากไวรัสวาริเซลลาซอสเตอร์ สามารถกำเริบเกิดขึ้นในเขตต่าง ๆ รวมทั้งหู ซึ่งทำให็เจ็บและก่อตุ่มพองภายในช่องหู และถ้าเกิดร่วมกับอัมพาตที่ใบหน้าเนื่องกับเส้นประสาทเฟเชียล นี่ก็จะเรียกว่า Ramsay Hunt syndrome (type 2)[24]
  • เนื้องอก ที่เกิดบ่อยที่สุดเป็นมะเร็งเยื่อบุแบบ squamous cell อาการอาจคล้ายกับหูชั้นนอกอักเสบ ดังนั้น จึงควรพิจารณาว่าเป็นมะเร็งถ้าอาการไม่ดีขึ้นหลังจากรักษาอย่างถูกต้องแล้ว[18]

หูชั้นกลางและหูชั้นใน[แก้]

หูชั้นกลางอักเสบฉับพลัน (Acute otitis media)[แก้]

หูชั้นกลางอักเสบ

หูชั้นกลางอักเสบเกิดในเด็กเกิน 80% อย่างน้อยครั้งหนึ่งก่อนอายุจะเลย 3 ปี<[25] และสามัญที่สุดในเด็ก 3 ขวบและน้อยกว่า แม้ก็เกิดในเด็กที่โตกว่าเหมือนกัน[21] เชื้อแบคทีเรียที่เป็นเหตุสามัญที่สุดก็คือ Streptococcus pneumoniae, Haemophilus influenzae, และ Moraxella catarrhalis[21]

หูชั้นกลางอักเสบมักเกิดพร้อมกับหรือเกิดหลังจากเป็นหวัด[16] การวินิจฉัยจะทำอาศัยอาการต่าง ๆ และการตรวจแก้วหูว่าแดง บวม และ/หรือมีน้ำสะสมอยู่ในหูชั้นกลางหรือไม่[5] ภาวะแทรกซ้อนรวมทั้งการเสียการได้ยิน อัมพาตเส้นประสาทเฟเชียล การติดเชื้อกระจายไปยังโครงสร้างรอบ ๆ รวมทั้ง[26]

การบาดเจ็บ[แก้]

  • การบาดเจ็บจากแรงกดดัน เป็นผลของการเปลี่ยนแปลงความดันอากาศซึ่งเกิดเมื่อเครื่องบินลดความสูงหรือเนื่องจากการดำน้ำลึก คือ เพราะความดันอากาศภายนอกเพิ่มขึ้นเมื่อเครื่องบินลดความสูง ท่อหูจะแฟบเพราะความดันในหูชั้นกลางจะน้อยกว่าในหูชั้นนอก ซึ่งทำให้เจ็บ ในกรณีรุนแรง หูชั้นกลางอาจเลือดออกหรือแก้วหูอาจทะลุ[18]
  • แก้วหูทะลุ ซึ่งอาจเกิดเพราะหูถูกกระทบอย่างรุนแรง เกิดเพราะระเบิด การบาดเจ็บจากแรงกดดัน หรือวัตถุที่เข้าไปในหูทะลุผ่านแก้วหู[5]

การเจ็บหูทุติยภูมิ[แก้]

สภาวะโรคหลายอย่างระคายเส้นประสาทที่วิ่งไปทางหู ภาวะที่ระคายประสาทสมองเส้นที่ 5 (trigeminal) รวมทั้ง[3]

  • การทำหน้าที่ผิดปรกติของข้อต่อขากรรไกร (temporomandibular joint dysfunction) ซึ่งเป็นการอักเสบหรือการเคลื่อนไหวผิดปกติของข้อต่อขากรรไก เกิดบ่อยที่สุดในหญิงในวัยที่มีลูกได้ และไม่สามัญในเด็กอายุน้อยกว่า 10 ขวบ[27][28][16]
  • Myofascial pain syndrome เป็นความเจ็บปวดที่กล้ามเนื้อซึ่งทำการเคี้ยวอาหาร โดยอาจจะมีบางส่วนของกล้ามเนื้อหรือเอ็น (ที่ยึดกล้ามเนื้อเข้ากับกระดูก) ที่เจ็บเป็นพิเศษเมื่อกด[27]
  • อาการปวดประสาทไทรเจมินัล (trigeminal neuralgia) เป็นการเจ็บวิ่งลงที่ใบหน้าซึ่งอาจเริ่มโดยแตะใบหน้าหรืออุณหภูมิเปลี่ยนแปลง[29]
  • ปวดฟันเนื่องจากฟันผุหรือฝี
  • มะเร็งเยื่อบุในช่องปาก

ส่วนภาวะที่ระคายประสาทสมองเส้นที่ 7 (เส้นประสาทเฟเชียล) หรือเส้นที่ 9 (glossopharyngeal) รวมทั้ง[3]

ภาวะที่ก่อความระคายเคืองให้แก่ประสาทสมองเส้นที่ 9 (vagus) รวมทั้ง[3]

ภาวะที่ระคายเคืองต่อเส้นประสาทคอระดับ C2-C3 รวมทั้ง[3][16]

การวินิจฉัย[แก้]

ทางเลือกการวินิจฉัยหูเจ็บแบบฉับพลัน[4][8][9]
ทางเลือกการวินิจฉัยหูเจ็บแบบเรื้อรัง[4][8][9]

ในขณะที่โรคบางอย่างอาจต้องอาศัยการทำภาพหรือการตรวจชนิดใดชนิดหนึ่งโดยเฉพาะ ๆ แต่มูลฐานที่ทำให้หูเจ็บโดยมากแพทย์สามารถวินิจฉัยได้เลย เพราะการวินิจฉัยแยกโรคของหูเจ็บมีมากมาย จึงไม่มีความเห็นพ้องว่าอะไรเป็นกรอบวินิจฉัยได้ดีที่สุด วิธีการหนึ่งก็คือแยกโดยเวลาที่เกิดอาการต่าง ๆ เพราะหูเจ็บปฐมภูมิมักจะเป็นแบบฉับพลัน ในขณะที่หูเจ็บทุติยภูมิมักจะเรื้อรัง

เหตุแบบฉับพลันอาจเแยกว่ามีไข้ (ซึ่งแสดงการติดเชื้อ) หรือไม่มีไข้ (แสดงปัญหาที่อวัยวะ/โครงสร้าง เช่น การบาดเจ็บ หรือการบาดเจ็บที่หู) สมุฏฐานที่ก่อความเจ็บเรื้อรังอาจแยกเป็นแบบมีหรือไม่มีอาการที่น่าเป็นห่วง

อาการน่าเป็นห่วงอย่างหนึ่งก็คือการมีปัจจัยเสี่ยงหนึ่งอย่างหรือมากกว่านั้นรวมทั้งการสูบบุหรี่ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มาก (มากกว่า 3.5 แก้วต่อวัน) โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจ และอายุมาก (มากกว่า 50 ปี)[3] ปัจจัยเหล่านี้เพิ่มความเสี่ยงให้เกิดเหตุร้ายแรงที่ทำให้หูเจ็บ เช่น มะเร็งหรือการติดเชื้อที่รุนแรง โดยเฉพาะก็คือ การอยู่ร่วมกับผู้สูบบุหรี่อาจเพิ่มความเสี่ยงหูอักเสบอย่างฉับพลันในเด็ก[30] อนึ่ง การว่ายน้ำเป็นปัจจัยเสี่ยงซึ่งสำคัญที่สุดสำหรับหูชั้นนอกอักเสบ แม้ก็ยังมีปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ รวมทั้งช่องหูชื้น ผิวหนังอักเสบออกผื่น (eczema) และ/หรือการบาดเจ็บที่หู[31]

ถ้ามีอาการน่าเป็นห่วง ก็อาจต้องตรวจเพิ่ม เช่น ใช้เอ็กซ์เรย์คอมพิวเตอร์หรือการตัดเนื้อออกตรวจเพื่อกันว่ามีโรคที่ร้ายแรงกว่า ซึ่งรวมหูชั้นนอกอักเสบร้ายแรง (malignant) หรือแบบทำให้เนื้อตาย (necrotizing), ปุ่มกกหูอักเสบ, หลอดเลือดแดง Temporal อักเสบ/Giant-cell arteritis, และมะเร็ง ให้สังเกตว่า แม้อาการน่าเป็นห่วงอาจทำให้สงสัยโรค 4 อย่างเหล่านี้ แต่ก็ไม่ได้ยืนยันวินิจฉัยเพราะอาการเหล่านี้เห็นได้ในสถานการณ์อื่น ๆ อีกด้วย เช่น อาการปวดขากรรไกรเมื่อเคี้ยวอาจมีเพราะหลอดเลือดแดง Temporal อักเสบ แต่ก็มีในการทำหน้าที่ผิดปรกติของข้อต่อขากรรไกรด้วย[4] ดั้งนั้น ถ้าไม่มีอาการน่าเป็นห่วง เหตุอื่น ๆ ของการปวดหูต่างที่ก็มีโอกาสมากขึ้นและดังนั้นจึงสมควรตรวจดู

เหตุการติดเชื้อ
วินิจฉัย Features[4][8][9]
หูชั้นกลางอักเสบฉับพลัน ประวัติการติดเชื้อทางเดินลมหายใจส่วนบน (URI) ภายใน 10 วัน เด็กดึงหู เจ็บมากโดยอยู่ลึกในหู
เป็นไข้ เสียการได้ยิน ความเจ็บอาจกวนการนอน
แก้วหูทะลุ เมื่อน้ำ/หนองไหลออก จะลดอาการเจ็บ
ปุ่มกกหูอักเสบ (mastoiditis)* เป็นเด็ก ประวัติมี URI มากกว่า 10 วัน มี URI หรือติดเชื้อที่หูเร็ว ๆ นี้
เป็นไข้/หนาว อาจเห็นอาการหูอักเสบเมื่อตรวจ ความเจ็บอยู่หลังหู โดยส่วนหลังใบหู (postauricular) จะบวม (ใกล้กับปุ่มกกหู)*
ตรวจด้วยเอ็กซ์เรย์คอมพิวเตอร์
หูชั้นกลางอักเสบมีหนองเรื้อรัง (CSOM) การเสียการได้ยินเหตุกระดูกสื่อ หนองออกซึ่งบรรเทาอาการแล้วเป็นอีก หรือหนองออกอย่างเรื้อรัง อาจเห็นแก้วหูทะลุหรือ cholesteatoma[A] เมื่อตรวจ
หูชั้นกลางอักเสบแบบสะสมน้ำ (serous otitis mediao/titis media with effusion) ไม่มีอาการว่าติดเชื้อ เสียการได้ยินอย่างชัดเจน อาจมีประวัติ URI หรือหูชั้นกลางอักเสบแบบฉับพลัน
หูชั้นนนอกอักเสบ ว่ายน้ำ โรคสะเก็ดเงิน ผิวหนังที่มันอักเสบ (seborrhoeic dermatitis)[B]
ปั่นหูด้วยไม้สำลี เจ็บหูทั้งสองข้าง มีเกล็ด (scaling)
คัน เจ็บเพิ่มถ้าดึงหู อาจเห็นเนื้อเยื่อแกรนูเลชันเมื่อตรวจช่องหู
หูชั้นนอกอักเสบร้ายแรง (malignant) หรือแบบทำให้เนื้อตาย (necrotizing)* โรคเบาหวาน ภูมิคุ้มกันบกพร่อง เจ็บอย่างต่อเนื่องโดยเจ็บมากขึ้นตอนกลางคืน*
หนองไหล* รู้สึกเจ็บเกินอาการที่ตรวจพบ* ตัดเนื้อเยื่อแกรนูเลชันเพื่อเพาะตรวจ
กระดูกอ่อนอักเสบ เทียบกับ เยื่อหุ้มกระดูกอ่อนอักเสบ หูได้บาดเจ็บเร็ว ๆ นี้ (เช่น เจาะหู) ใบหูปรากฏว่าอักเสบ กระดูกอ่อนอักเสบมีโอกาสมากกว่าเยื่อหุ้มกระดูกอ่อนอักเสบ ถ้าหูมีรูปบิดเบือน
เหตุการเจ็บหูต่างที่
วินิจฉัย Features[4][8][9]
โรคกรดไหลย้อน เจ็บหูทั้งสองข้าง
อาการปวดประสาท (neuralgia) คนไข้บอกว่าเจ็บแบบชา ๆ หรือแสบ โดยอาจเริ่มจากแตะหูเบา ๆ
แบบร้าย* น้ำหนักลด*
ข้ออักเสบที่คอ เจ็บมากขึ้นเมื่อขยับคอ
Eagle syndrome[C] เจ็บเพิ่มเมื่อกลืน
ฟันกรามซี่สุดท้าย (3) ติดเชื้อ อาหารเย็นร้อนทำให้เจ็บเพิ่ม
หลอดเลือดแดง Temporal อักเสบ* อายุมากกว่า 50 ปี* การเคี้ยวทำให้เจ็บเพิ่ม*
การทำหน้าที่ผิดปรกติของข้อต่อขากรรไกร คนไข้ขบ/บดฟัน เจ็บหูทั้งสองข้าง
เมื่อคลำตรวจที่ข้อต่อขากรรไกร เจ็บและมีเสียงกรอบแกรบ ขากรรไกทำเสียงกริ๊ก ๆ
*บ่งอาการที่ไม่ควรพลาด ที่น่าเป็นห่วง หรือควรระวัง
เหตุอื่น ๆ
วินิจฉัย Features[4][8][9]
การบาดเจ็บจากแรงกดดัน บาดเจ็บที่หูเมื่อเร็ว ๆ นี้ ขึ้นเครื่องบินหรือดำน้ำเมื่อเร็ว ๆ นี้ (+/- อาการเจ็บเกิดร่วมกับเหตุการณ์) เสียการได้ยิน
ท่อหูทำงานผิดปกติ คนไข้บอกว่าเหมือนมีอะไรกดที่หูหรือมีอะไรมาปิดหู เสียการได้ยินที่หูข้างเดียว ได้ยินเสียงกรอบแกรบ/เสียงน้ำไหล
ประวัติโรคภูมิแพ้ตามฤดู รีเฟล็กซ์ปรับรูม่านตารับแสงไม่ดีและข้อต่อขากรรไกรขยับได้ไม่ดี เห็นเส้นน้ำที่แก้วหู (air-fluid level) / น้ำในหูชั้นกลาง
ขี้หูอัด ใช้ไม้สำลีในช่องหู คนไข้บอกว่าเหมือนมีอะไรกดหรือปิดหู อาจต้องเอาขี้หูออกเพื่อกันว่านี่เป็นเหตุ

การรักษา[แก้]

การรักษาหูเจ็บจะขึ้นอยู่กับเหตุ

ยาปฏิชีวนะ[แก้]

แม้การเจ็บหูทุกอย่างจะรักษาด้วยยาปฏิชีวนะไม่ได้ แต่ที่มีเหตุจากหูติดเชื้อแบคทีเรียทั่วไปก็จะรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ ซึ่งรู้ว่าสามารถจัดการกลุ่มแบคทีเรียที่เป็นตัวการสามัญของการติดเชื้อในรูปแบบนั้น ๆ การติดเชื้อแบคทีเรียหลายอย่างจะรักษาด้วยการทำความสะอาดส่วนนั้น ให้ยาปฏิชีวนะแบบทาหรือแบบทาน/ฉีด และให้ยาแก้ปวดเพื่อบรรเทาความเจ็บ[7][34][9] การประคบน้ำอุ่นอาจช่วยในการติดเชื้อหลายอย่าง[7]

เหตุเจ็บหูที่ปกติสามารถรักษาด้วยยาปฏิชีวนะแบบทาหรือแบบทาน/ฉีดรวมทั้ง

  • หูชั้นนอกอักเสบฉับพลัน (AOE) ที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อน[7][34] สำหรับอาการที่ไม่ตอบสนองภายใน 10 วัน แพทย์ก็ควรจะตรวจว่ามีหูชั้นนอกอักเสบแบบทำให้เนื้อตาย (necrotizing) หรือไม่[7]
  • หูชั้นกลางอักเสบฉับพลัน (AOM) จะหายเองภายใน 24-48 ชม. ในกรณี 80%[34] ถ้าไม่หายเอง ก็จะสันนิษฐานว่ามีเหตุจากแบคทีเรียแล้วรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ ถ้าอาการไม่ดีขึ้นหลังจากทานยา 1 อาทิตย์ แพทย์ก็จะตรวจดูว่ามีปุ่มกกหูอักเสบหรือไม่[34]
  • ปุ่มรากผมอักเสบเฉียบพลัน (acute folliculitis)[34]
  • เซลล์เนื้อเยื่อหูอักเสบ (auricular cellulitis)[9]
  • หูชั้นกลางอักเสบมีหนอง (suppurative otitis media)[8] ซึ่งเสี่ยงต่อแก้วหูทะลุด้วย[8]
  • Perichondritis - แพทย์หูคอจมูกควรตรวจว่ามีวัตถุแปลกปลอมอยู่ในกระดูกอ่อนหรือไม่ ถ้ามีก็จะต้องเอาออก[34][8] ถ้ามีปัญหาในเพราะเหตุกระดูกอ่อน อาจจะต้องเข้าโรงพยาบาลเพื่อให้รักษาได้ใกล้ชิดยิ่งขึ้น[8]
  • โพรงอากาศอักเสบ (sinusitis) สามารถก่อการเจ็บหูทุติยภูมิ (คือเจ็บต่างที่) การรักษาเหตุจะช่วยบรรเทาการเจ็บหู[34] การติดเชื้อแบคทีเรียบางชนิดอาจต้องให้แพทย์หูคอจมูกรักษา ให้ยาปฏิชีวนะทางเส้นเลือด และเข้าโรงพยาบาล
  • หูชั้นนอกอักเสบแบบทำให้เนื้อตาย (necrotizing external otitis) อาจมีอันตรายถึงชีวิต และดังนั้น จึงควรให้แพทย์หูคอจมูกตรวจ อาจต้องเข้าโรงพยาบาลและให้ยาปฏิชีวนะทางเส้นเลือด[34][8]
  • ปุ่มกกหูอักเสบฉับพลันอาจรักษาด้วยการเข้าโรงพยาบาล ให้แพทย์หูคอจมูกตรวจ และการลองให้ยาปฏิชีวนะทางเส้นเลือด[34][7][8][9] กรณีที่มีปัญหากระจายไปถึงกะโหลกศีรษะจะรักษาด้วยการตัดปุ่มกกหู (mastoidectomy) และการเจาะแก้วหูเอาหนองออก (myringotomy)[34][9]
  • กระดูกอ่อนอักเสบ[34][8]

หัตถการ[แก้]

เหตุบางอย่างของการเจ็บหูต้องรักษาด้วยหัตถการแพทย์อย่างเดียว หรือเพิ่มนอกเหนือจากการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ

  • Keratosis obturans คือเยื่อบุผิวสะสมที่ช่องหูชั้นนอก ซึ่งรักษาด้วยการเอาเศษเคอราทินที่ลอกหลุดแล้วอัดแน่นออกจากช่องหู[34]
  • เยื่อหุ้มกระดูกอ่อนอักเสบเรื้อรัง (chronic perichondritis) และกระดูกอ่อนอักเสบ (chondritis) ที่คงยืนแม้จะรักษาด้วยยาปฏิชีวนะที่สมควรแล้วอาจจำเป็นต้องตัดเล็มออก[34] การเจาะใส่ท่อระบายน้ำ/หนองก็อาจจำเป็นด้วย[9]
  • แก้วหูอักเสบแบบมีเม็ดพุพอง (bullous myringitis) ซึ่งก่อเม็ดพุพองบนแก้วหู สามารถเจาะบรรเทาความเจ็บปวด[34]
  • สิ่งแปลกปลอมที่อยู่ในช่องหูอาจทำให้เจ็บ จะรักษาด้วยการเอาออกอย่างระมัดระวัง[8]
  • sebaceous cyst[D] ที่ติดเชื้อสามารถรักษาด้วยการผ่าแล้วเอาหนองออกและให้ยาปฏิชีวนะ[8]

การรักษาอื่น ๆ[แก้]

เพราะมีเหตุการเจ็บหูมากมาย เหตุบางอย่างจึงต้องรักษาด้วยวิธีนอกเหนือจากยาปฏิชีวนะและหัตถการ

  • relapsing polychondritis เป็นการอักเสบที่กระดูกอ่อนในส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ซึ่งบ่อยครั้งรวมกระดูกอ่อนที่หูทั้งสอง เป็นภาวะภูมิต้านตนเองที่รักษาด้วยยาควบคุมระบบภูมิคุ้มกัน[34]
  • การทำหน้าที่ผิดปรกติของข้อต่อขากรรไกร (temporomandibular joint dysfunction) สามารถก่อการเจ็บหูทุติยภูมิ และเบื้องแรกจะรักษาด้วยการทานอาหารนิ่ม ๆ ยาแก้อักเสบชนิดไม่ใช่สเตอรอยด์ การประคบด้วยความร้อน การนวดที่บริเวณนั้น และการไปหาทันตแพทย์[34][18]
  • myofascial pain syndrome เป็นความเจ็บปวดที่กล้ามเนื้อซึ่งทำหน้าที่เคี้ยวอาหาร ซึ่งเบื้องแรกรักษาด้วยยาแก้อักเสบชนิดไม่ใช่สเตอรอยด์และกายภาพบำบัด การฉีดยาระงับความรู้สึกเข้าไปในจุดสำคัญของกล้ามเนื้อ อาจพิจารณาใช้สำหรับคนไข้ที่อาการหนัก[34]
  • อาการปวดประสาทลิ้นคอหอย (glossopharyngeal neuralgia) สามารถรักษาด้วยยารักษาโรคเส้นประสาท คือคาร์บามาเซพีน[18]

การระบาด[แก้]

2/3 ของคนไข้ที่เจ็บหูจะวินิจฉัยว่าเป็นการเจ็บหูปฐมภูมิและ 1/3 การเจ็บหูทุติยภูมิ[5]

เหตุสามัญของการเจ็บหูปฐมภูมิก็คือหูชั้นกลางอักเสบ ซึ่งหมายถึงการติดเชื้อในหูหลังแก้วหู[3] เด็กที่ได้วินิจฉัยนี้มากที่สุดอยู่ในวัย 6-24 เดือน งานทบทวนวรรณกรรมงานหนึ่งพบว่า เด็ก 83% จะมีหูชั้นกลางอักเสบฉับพลันอย่างน้อยครั้งหนึ่งก่อนอายุจะเกิน 3 ขวบ[10] ทั่วโลก มีกรณีคนไข้หูชั้นกลางอักเสบ 709 ล้านคนต่อปี[36] การเสียการได้ยินเนื่องจากการติดเชื้อประเมินที่ 30 คนต่อประชากร 10,000 คน[36] มีคนเสียชีวิตประมาณ 21,000-28,000 คนรอบโลกเนื่องจากภาวะแทรกซ้อนจากการติดเชื้อในหู[36] ภาวะแทรกซ้อนรวมทั้งฝีในสมองและเยื่อหุ้มสมองอักเสบ

หูชั้นนอกอักเสบเกิดมากที่สุดในเด็กวัย 7-12 ขวบ และคนราว ๆ 10% ทั้งหมดเคยมีโรคนี้มาก่อน[10] ขี้หูอัดแน่นเกิดขึ้นในเด็ก 1 ใน 10 คน ผู้ใหญ่ 1 ใน 20 คน และผู้สูงอายุ 1 ใน 3 คน[10] การบาดเจ็บจากแรงกดดันเกิดกับคนราว ๆ 1 คนทุก ๆ 1,000 คน[5] ผู้ที่มาหาหมอเนื่องจากเจ็บหู เพียงแค่ 3% จะวินิจฉัยว่าท่อหูทำงานผิดปกติ[3]

ศาสตราจารย์ Anton Friedrich von Tröltsch ผู้ประดิษฐ์กล้องส่องตรวจหู

ประวัติ[แก้]

มีข้อมูลเกี่ยวกับการเจ็บหูและหูชั้นกลางอักเสบฉับพลันก่อนคริสต์ทศวรรษที่ 17 น้อยมาก เป็นโรคที่สามัญและปกติไม่ได้รักษา[37] แล้วจึงได้เปลี่ยนไปเมื่อโสตแพทย์ชาวเยอรมัน Anton von Tröltsch ได้ประดิษฐ์กล้องส่องตรวจหู (otoscope) ขึ้นในคริสต์ทศวรรษที่ 1840[37] และก็เปลี่ยนไปอีกเมื่อประดิษฐ์ยาปฏิชีวนะขึ้น เพราะก่อนจะมียา การติดเชื้อที่แพร่ไปยังกระดูกรอบ ๆ หูเกิดในอัตราสูง แต่ปัจจุบันเป็นภาวะแทรกซ้อนที่มีน้อย[5]

สังคมและวัฒนธรรม[แก้]

เมื่อก่อนแพทย์มักจะรักษาหูชั้นกลางอักเสบด้วยอะม็อกซีซิลลิน[5] จนกระทั่งมีคำพูดจากคริสต์ทศวรรษ 1980 หนึ่งที่กล่าวว่า "เด็กที่หูเจ็บขาดอะม็อกซีซิลลินอย่างหนัก"[5] ต่อมาจึงรู้กันว่า การใช้ยาปฏิชีวนะมากเกินไปทำให้แบคทีเรียดื้อยา[38] และการดื้อยาที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ก็ทำให้ยาปฏิชีวนะมีประสิทธิผลลดลง แล้วจึงเกิดโปรแกรมที่ทำอย่างเป็นระบบซึ่งแนะนำให้ผู้ที่สั่งยาปฏิชีวนะให้ยาเมื่อจำเป็นเท่านั้น โดยเฉพาะในเด็ก ที่การเจ็บหูโดยมากจะหายเองโดยไม่มีภาวะแทรกซ้อนอะไร[36] มีแม้แต่แนวทางการรักษาที่ช่วยกำหนดว่าเมื่อไรควรใช้ยาปฏิชีวนะสำหรับอาการเจ็บหูในเด็ก[39]

หูมีบทบาทในการรักษาด้วยการฝังเข็ม ซึ่งเรียกในภาษาอังกฤษว่า auriculotherapy คือการฝังเข็มที่หูเชื่อว่าแก้ความไม่สมดุลในร่างกาย เป็นวิธีการที่มีมาตั้งแต่ยุคหินแล้ว ส่วนการรักษาเช่นนี้ในยุโรปมีบันทึกไว้เป็นครั้งแรกในคริสต์ทศวรรษที่ 1600 คือแพทย์คนหนึ่งกล่าวถึงการกระตุ้น (โดยเอาไฟเผาหรือทำแผล) หูเพื่อรักษาอาการปวดหลังร้าวไปที่ขา ส่วนแพทย์อีกคนหนึ่งใช้เพื่อรักษาการปวดฟัน ประสาทแพทย์ Paul Nogier รู้จักว่าเป็นบิดาของการฝังเข็มที่หู เพราะทฤษฎีของเขาว่า ส่วนต่าง ๆ ของหูสัมพันธ์กับส่วนต่าง ๆ ของร่างกายอย่างคงเส้นคงวา[40]

งานวิจัย[แก้]

ปัจจุบันมีงานวิจัยหาวิธีส่งยาปฏิชีวนะเข้าไปในหูชั้นกลางโดยตรง[36]

เชิงอรรถ[แก้]

  1. cholesteatoma เป็นการขยายตัวที่ก่อความเสียหายของเยื่อ squamous epithelium ซึ่งเปลี่ยนเป็นเคอราทินภายในหูชั้นกลางหรือปุ่มกกหู แม้จะไม่จัดว่าเป็นเนื้องอกหรือมะเร็ง แต่ก็ยังสร้างปัญาอย่างสำคัญเพราะขยายตัวและมีฤทธิ์กร่อนทำลายกระดูกหูในหูชั้นกลาง และสามารถกระจายเข้าไปยังศีรษะและสมอง บ่อยครั้งเยื่อยังติดเชื้อและมีผลให้หนองออกจากหูอย่างเรื้อรัง
  2. Seborrhoeic dermatitis หรือ seborrhoeic eczema หรือ seborrhea เป็นผิวหนังอักเสบเรื้อรังหรือกลับเกิดขึ้นอีก แต่ไม่รุนแรง ซึ่งเป็นที่หนังศีรษะ ใบหน้า และลำตัว ปกติจะปรากฏเป็นเกล็ด ๆ คัน และแดง โดยเกิดมากที่สุดในบริเวณที่บริบูรณ์ด้วยต่อมไขผิวหนัง (sebaceous gland) ในวัยรุ่นและผู้ใหญ่ มันจะปรากฏเป็นเกล็ดหนังศีรษะ หรือเป็นสีแดง ๆ ที่รอยพับที่จมูกร่วมริมฝีปาก (nasolabial fold) ขี้รังแคก็เป็นรูปแบบของโรคอย่างหนึ่งโดยไม่มีอาการอักเสบ[32]
  3. Eagle syndrome เป็นภาวะที่มีน้อยซึ่งมีอาการเจ็บฉับพลันคล้ายที่เกิดทางประสาท ตรงกระดูกขากรรไกรและข้อ ที่หลังคอ และที่โคนลิ้น ซึ่งจุดชนวนโดยการกลืน การขยับขากรรไกร หรือการเอี้ยวคอ[33] โดยมีเหตุจากระดูกสไตลอยด์ โพรเซสที่ขมับซึ่งยาวหรือมีรูปร่างผิดปกติ หรือเกิดจากการมีแคลเซียมเกาะที่เอ็น Stylohyoid แล้วกวนการทำงานของโครงสร้างและอวัยวะที่อยู่ใกล้ ๆ กัน
  4. sebaceous cyst เป็นคำที่อาจหมายถึง[35]
    • epidermoid cysts หรือ epidermal cysts หรือ infundibular cyst เป็นซิสต์ไม่ร้ายที่ปกติพบที่ผิวหนัง โดยงอกออกจากเนื้อเยื่อเอ็กโทเดิร์ม ทางมิชญวิทยา มันเป็นชั้นบาง ๆ ชั้นหนึ่งของเยื่อบุผิวแบบ squamous
    • pilar cysts หรือ trichelemmal cysts หรือ isthmus-catagen cysts เป็นซิสต์สามัญที่เกิดจากปุ่มรากผม พบมากที่สุดบนหนังศีรษะ มีลักษณะเรียบ ขยับได้ และเต็มไปด้วยเคอราทิน ซึ่งเป็นโปรตีนที่พบในผม เล็บ ผิวหนัง และเขา

อ้างอิง[แก้]

  1. "Earache: MedlinePlus Medical Encyclopedia". medlineplus.gov (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2017-10-02.
  2. 2.0 2.1 Gross M, Eliashar R (2008). "Chapter 6: Otolaryngological aspects of orofacial pain". ใน Sharav Y, Benoliel R (บ.ก.). Orofacial Pain and Headache. Elsevier Health Sciences. p. 91. ISBN 9780723434122.
  3. 3.00 3.01 3.02 3.03 3.04 3.05 3.06 3.07 3.08 3.09 3.10 3.11 3.12 3.13 3.14 3.15 Earwood JS, Rogers TS, Rathjen NA (January 2018). "Ear Pain: Diagnosing Common and Uncommon Causes". American Family Physician. 97 (1): 20–27. PMID 29365233.สิ่งพิมพ์เผยแพร่เข้าถึงแบบเปิด อ่านได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 4.5 4.6 4.7 Sullivan, Daniel J. (2012). "Chapter 17:Ear Pain". ใน Henderson, Mark C.; Tierney, Lawrence M.; Smetana, Gerald W. (บ.ก.). The Patient History: An Evidence-Based Approach to Differential Diagnosis (2nd ed.). New York, NY: The McGraw-Hill Companies.
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 5.4 5.5 5.6 5.7 5.8 Conover K (May 2013). "Earache". Emergency Medicine Clinics of North America. 31 (2): 413–42. doi:10.1016/j.emc.2013.02.001. PMID 23601480.
  6. 6.0 6.1 "Position Statement: Red Flags-Warning of Ear Disease" (ภาษาอังกฤษ). American Academy of Otolaryngology–Head and Neck Surgery. 2014-03-20. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-03-14. สืบค้นเมื่อ 2018-03-13.
  7. 7.0 7.1 7.2 7.3 7.4 7.5 7.6 Coombs, Carmen (2016). "Chapter 118: Ear and Mastoid Disorders in Infants and Children". ใน Tintinalli, Judith E.; Stapczynski, J. Stephan; Ma, O. John; Yealy, Donald M.; Meckler, Garth D.; Cline, David M. (บ.ก.). Tintinalli’s Emergency Medicine: A Comprehensive Study Guide (8 ed.). New York, NY: McGraw-Hill Education. ISBN 978-0071794763.
  8. 8.00 8.01 8.02 8.03 8.04 8.05 8.06 8.07 8.08 8.09 8.10 8.11 8.12 8.13 8.14 Stallard TC (2017). "Chapter 32: Emergency Disorders of the Ear, Nose, Sinuses, Oropharynx, & Mouth". ใน Stone CK, Humphries RL (บ.ก.). CURRENT Diagnosis & Treatment: Emergency Medicine (8 ed.). New York, NY: McGraw-Hill Education.
  9. 9.00 9.01 9.02 9.03 9.04 9.05 9.06 9.07 9.08 9.09 9.10 Kasper DL, Fauci AS, Hauser SL, Longo DL, Jameson JL, Loscalzo J, บ.ก. (2016). "Chapter 58: Sore Throat, Earache, and Upper Respiratory Symptoms". Harrison's Manual of Medicine (19th ed.). McGraw-Hill Education. ISBN 978-0071828529.
  10. 10.0 10.1 10.2 10.3 10.4 Rosa-Olivares J, Porro A, Rodriguez-Varela M, Riefkohl G, Niroomand-Rad I (November 2015). "Otitis Media: To Treat, To Refer, To Do Nothing: A Review for the Practitioner". Pediatrics in Review. 36 (11): 480–6, quiz 487–8. doi:10.1542/pir.36-11-480. PMID 26527627.
  11. Harrison E, Cronin M (July 2016). "Otalgia". Australian Family Physician. 45 (7): 493–7. PMID 27610432.
  12. David M. Kaylie, Debara L. (October 2016). "Earache". Merck Manual, Professional Version (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  13. 13.0 13.1 13.2 Morton DA, Foreman KB, Albertine KH (2011). "Chapter 19. Ear". The Big Picture: Gross Anatomy. New York, NY: The McGraw-Hill Companies. ISBN 978-0071476720.
  14. Scarbrough TJ, Day TA, Williams TE, Hardin JH, Aguero EG, Thomas CR (October 2003). "Referred otalgia in head and neck cancer: a unifying schema". American Journal of Clinical Oncology. 26 (5): e157–62. doi:10.1097/01.coc.0000091357.08692.86. PMID 14528091. S2CID 35512999.
  15. Li, John (2017-09-21). "Otalgia: Background, Pathophysiology, Epidemiology". Medscape.
  16. 16.0 16.1 16.2 16.3 16.4 16.5 Greenes, David. "Evaluation of earache in children". www.uptodate.com. สืบค้นเมื่อ 2018-03-14.
  17. Leybell, Inna (2017-06-20). "Auricular Hematoma Drainage: Overview, Indications, Contraindications". Medscape.
  18. 18.0 18.1 18.2 18.3 18.4 18.5 18.6 Lustig LR, Schindler JS (2017). "Chapter 8: Ear, Nose, & Throat Disorders". ใน Papadakis MA, McPhee SJ, Rabow MW (บ.ก.). Current Medical Diagnosis & Treatment 2018. New York, NY: McGraw-Hill Education.
  19. Compton, Nicholas. "Relapsing Polychondritis Clinical Presentation: History, Physical, Causes". emedicine.medscape.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2018-03-14.
  20. Rosenfeld RM, Schwartz SR, Cannon CR, Roland PS, Simon GR, Kumar KA, Huang WW, Haskell HW, Robertson PJ (February 2014). "Clinical practice guideline: acute otitis externa". Otolaryngology–Head and Neck Surgery. 150 (1 Suppl): S1–S24. doi:10.1177/0194599813517083. PMID 24491310. S2CID 40005605.
  21. 21.0 21.1 21.2 21.3 21.4 Yoon PJ, Scholes MA, Friedman NR (2016). "Chapter 18: Ear, Nose, & Throat". ใน Hay WW, Levin MJ, Deterding RR, Abzug MJ (บ.ก.). CURRENT Diagnosis & Treatment Pediatrics (23rd ed.). New York, NY: McGraw-Hill Education. ISBN 978-0071848541.
  22. 22.0 22.1 22.2 22.3 Grandis, Jennifer; และคณะ (February 2018). "Malignant (necrotizing) otitis externa". www.uptodate.com. สืบค้นเมื่อ 2018-03-14.
  23. Schwartz S, และคณะ (January 2017). "Clinical Practice Guideline (Update): Earwax (Cerumen Impaction) Executive Summary". Otolaryngology–Head and Neck Surgery. 156 (1): 14–29. doi:10.1177/0194599816678832. PMID 28045632.
  24. Albrecht, Mary (August 2016). "Clinical manifestations of varicella-zoster virus infection: Herpes zoster". www.uptodate.com. สืบค้นเมื่อ 2018-03-14.
  25. Leung AK, Wong AH (2017). "Acute Otitis Media in Children". Recent Patents on Inflammation & Allergy Drug Discovery. 11 (1): 32–40. doi:10.2174/1874609810666170712145332. PMID 28707578.
  26. Klein, Jerome; และคณะ (September 2017). "Acute otitis media in children". www.uptodate.com. สืบค้นเมื่อ 2018-03-14.
  27. 27.0 27.1 Goddard, Greg (2012). "Chapter 26. Temporomandibular Disorders". ใน Lalwani, Anil K. (บ.ก.). CURRENT Diagnosis & Treatment in Otolaryngology—Head & Neck Surgery (3 ed.). New York, NY: The McGraw-Hill Companies.
  28. Tsai, Vivian (2018-01-02). "Temporomandibular Joint Syndrome: Background, Pathophysiology, Epidemiology". Medscape.
  29. Singh, Manish (2017-09-26). "Trigeminal Neuralgia: Practice Essentials, Background, Anatomy". Medscape.
  30. "Ear Infections in Children". NIDCD (ภาษาอังกฤษ). 2015-08-18. สืบค้นเมื่อ 2018-03-14.
  31. Schaefer P, Baugh RF (December 2012). "Acute otitis externa: an update". American Family Physician. 86 (11): 1055–61. PMID 23198673.
  32. "Seborrhoeic dermatitis and dandruff". www.dermnetnz.org. สืบค้นเมื่อ 2016-06-11.
  33. Waldman, SD (2013-06-06). Atlas of Uncommon Pain Syndromes. Elsevier Health Sciences. pp. 35–36. ISBN 1-4557-0999-9.
  34. 34.00 34.01 34.02 34.03 34.04 34.05 34.06 34.07 34.08 34.09 34.10 34.11 34.12 34.13 34.14 34.15 34.16 Neilan RE, Roland PS (September 2010). "Otalgia". The Medical Clinics of North America. 94 (5): 961–71. doi:10.1016/j.mcna.2010.05.004. PMID 20736106.
  35. "Epidermoid and pilar cysts (previously known as sebaceous cysts)". British Association of Dermatologists. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-02-05. สืบค้นเมื่อ 2014-04-02.
  36. 36.0 36.1 36.2 36.3 36.4 open access publication – free to readQureishi, A; Lee, Y; Belfield, K; Birchall, JP; Daniel, M (Jan 2014). "Update on otitis media - prevention and treatment". Infection and Drug Resistance. 7: 15–24. doi:10.2147/IDR.S39637. PMC 3894142. PMID 24453496.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  37. 37.0 37.1 Altemeier, William A (2000-10-01). "A Brief History of Otitis Media". Pediatric Annals (ภาษาอังกฤษ). 29 (10): 599–599. doi:10.3928/0090-4481-20001001-03. ISSN 0090-4481.
  38. Fleming, Alexander (25 June 1945). "The Penicillin Finder Assays its Future". The New York Times: 21.
  39. "Otitis media (Clinical recommendations)". American Academy of Family Physicians. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-08. สืบค้นเมื่อ 2018-09-14.
  40. Gori L, Firenzuoli F (September 2007). "Ear acupuncture in European traditional medicine". Evidence-Based Complementary and Alternative Medicine. 4 (Suppl 1): 13–6. doi:10.1093/ecam/nem106. PMC 2206232. PMID 18227925.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

การจำแนกโรค
ทรัพยากรภายนอก