แก้วหูทะลุ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แก้วหูทะลุ
(Perforated eardrum)
ชื่ออื่นPunctured eardrum
สาขาวิชาENT surgery

แก้วหูทะลุ (อังกฤษ: perforated eardrum) คือภาวะที่แก้วหูมีรูทะลุเกิดขึ้น อาจเกิดภายหลังการติดเชื้อหูชั้นกลางอักเสบ อุบัติเหตุ (เช่นจากการแคะหู) แรงระเบิด การกระแทก (เช่นจากการถูกตบเข้าหู) เสียงดัง หรือการผ่าตัด หรือจากการเปลี่ยนแปลงความกดอากาศ เช่นการขึ้นลงเครื่องบินขณะที่ท่อยูสเตเชียนทำงานผิดปกติ (เช่น ขณะเป็นหวัด)[1]

แก้วหูทะลุทำให้เกิดการได้ยินลดลงชนิดที่เป็นจากการนำเสียง (conductive hearing loss) ซึ่งมักเป็นอยู่ชั่วคราว อาการอื่นเช่นการได้ยินเสียงในหู ปวดหู หรือมีสารคัดหลั่งไหลจากหูได้[2]

การรักษา[แก้]

รูทะลุมักหายได้เองภายใน 2-3 สัปดาห์ หรือ 2-3 เดือน[3] บางกรณีเท่านั้นที่จำเป็นต้องได้รับการรักษา ซึ่งอาจทำโดยการแปะแผ่นเยื่อเพื่อกระตุ้นให้เกิดการซ่อมแซมรูทะลุ หรือการผ่าตัดเยื่อแก้วหูเทียม[4][5] บางกรณีรูทะลุอาจคงอยู่ได้หลายปีและไม่สามารถหายเองได้ กรณีเช่นนี้มักเกิดจากอุบัติเหตุระหว่างการผ่าตัดหู

การได้ยินมักกลับเป็นปกติได้ในที่สุด แต่หากมีการติดเชื้อเรื้อรังอาจทำให้การได้ยินเสียไปอย่างถาวร ผู้ป่วยที่มีรูทะลุใหญ่อาจต้องใส่ที่อุดหูเพื่อป้องกันไม่ให้น้ำเข้า

ขณะมีรูทะลุที่แก้วหู ผู้ป่วยสามารถขึ้นเครื่องบินได้ตามปกติ และอาจจะปวดหูน้อยกว่าคนที่มีแก้วหูปกติด้วย[6]

อ้างอิง[แก้]

  1. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-09-29. สืบค้นเมื่อ 2011-10-09.
  2. "Perforated eardrum - Symptoms". National Health Service. สืบค้นเมื่อ 17 August 2011.
  3. http://www.mayoclinic.com/health/ruptured-eardrum/DS00499
  4. http://www.mayoclinic.com/health/ruptured-eardrum/DS00499/DSECTION=8
  5. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-09-27. สืบค้นเมื่อ 2011-10-09.
  6. http://www.nhs.uk/chq/Pages/2026.aspx?CategoryID=70&SubCategoryID=174

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

การจำแนกโรค
ทรัพยากรภายนอก