ขี้หู

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ขี้หู
(earwax, cerumen)
ขี้หูมนุษย์แบบเปียก
บัญชีจำแนกและลิงก์ไปภายนอก
MedlinePlus000979
ขี้หูแบบแห้ง

ขี้หู (อังกฤษ: earwax, cerumen) เป็นสิ่งคล้ายกับขี้ผึ้งที่ช่องหูของมนุษย์และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอื่น ๆ หลั่งออก ช่วยป้องกันผิวหนังภายในช่องหู ทำความสะอาด ช่วยหล่อลื่น และป้องกันเชื้อแบคทีเรีย รา แมลง และน้ำ[1]

ขี้หูประกอบด้วยเซลล์ผิวหนังที่ตายแล้วลอกหลุดออกพร้อมกับสารคัดหลั่งของต่อมขี้หูและของต่อมไขมัน (sebaceous gland) ภายในช่องหูภายนอก[2] องค์ประกอบทางเคมีรวมทั้งกรดไขมันลูกโซ่ยาวทั้งแบบอิ่มตัวและไม่อิ่มตัว, แอลกอฮอล์, squalene และคอเลสเตอรอล[2] ขี้หูที่มากเกินหรืออัดแน่นอาจกดทับแก้วหู อุดช่องหู อุดเครื่องช่วยฟัง แล้วทำให้ไม่ได้ยิน

สรีรวิทยา[แก้]

ขี้หูในช่องหู
ขี้หูมนุษย์แบบเปียกบนไม้สำลี

ช่องหูแบ่งเป็นสองส่วน ส่วน 1/3 ภายนอกเป็นกระดูกอ่อน ส่วน 2/3 ภายในเป็นกระดูก ส่วนที่เป็นกระดูกอ่อนเป็นส่วนที่ผลิตขี้หู ซึ่งเป็นน้ำเหนียวที่ต่อมไขมันหลั่ง และน้ำเหนียวยิ่งกว่านั้นที่ต่อมซึ่งวิวัฒนาการมาจากต่อมเหงื่อ (modified apocrine sweat glands) คือต่อมขี้หูหลั่ง[3] องค์ประกอบหลักก็คือผิวหนังที่ลอกหลุดออก โดยเฉลี่ย 60% จะเป็นเคราติน (keratin), 12-20% เป็นกรดไขมันลูกโซ่ยาวทั้งแบบอิ่มตัวและไม่อิ่มตัว, แอลกอฮอล์, squalene และ 6-9% คอเลสเตอรอล[4]

มีขี้หูสองแบบโดยกรรมพันธุ์ คือ แบบเปียกซึ่งเป็นยีนเด่น (dominant) และแบบแห้งซึ่งเป็นยีนด้อย (recessive)[5] จนกระทั่งว่า นักมานุษยวิทยาสามารถใช้รูปแบบขี้หูเพื่อติดตามการย้ายถิ่นของมนุษย์ เช่น ของคนเอสกิโม[6] คนเอเชียตะวันออกและกลุ่มชนพื้นเมืองอเมริกันในสหรัฐมักมีขี้หูแบบแห้ง (สีเทา เป็นแผ่น ๆ) คนแอฟริกาและคนเชื้อสายยุโรปมักมีแบบเปียก (สีน้ำผึ้งจนถึงสีน้ำตาลเข้ม เปียก และเหนียว ๆ)[5] ในญี่ปุ่น คนไอนู (Ainu) มักจะมีแบบเปียก เทียบกับคนยะมะโตะ (Yamato) โดยมากของประเทศที่มีแบบแห้ง[7] ขี้หูแบบเปียกต่างจากแบบแห้งโดยมีเม็ดเล็ก ๆ (granule) ที่เป็นลิพิดและสารสีมากกว่า ยกตัวอย่างเช่น แบบเปียกมีลิพิด 50% แต่แบบแห้งมีแค่ 20%[4]

ยีนโดยเฉพาะที่ทำให้ต่างกันก็ได้ระบุแล้ว[8] คือเป็นคู่เบสคู่เดี่ยวที่เปลี่ยนไป (คือเป็นภาวะพหุสัณฐาน) ในยีนที่เรียกว่า ATP-binding cassette C11 gene (ABCC11)[9] แบบแห้งจะมี adenine แบบฮอโมไซกัส ในขณะที่แบบเปียก จะมี guanine อย่างน้อยข้างหนึ่ง เพราะขี้หูแบบเปียกสัมพันธ์กับกลิ่นรักแร้ซึ่งแรงขึ้นเมื่อเหงื่อออก นักวิจัยจึงคาดว่า ยีนช่วยลดกลิ่นตัวหรือเหงื่อซึ่งเป็นประโยชน์แก่คนเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือผู้อยู่อาศัยในเขตอากาศหนาว[10]

การทำความสะอาด[แก้]

การทำความสะอาดช่องหูอาศัยการย้ายที่ของเนื้อเยื่อบุผิวคล้ายกับเป็นสายพานส่งวัสดุซึ่งการเคลื่อนขากรรไกรก็จะช่วยสนับสนุนด้วย[11] คือ เซลล์ซึ่งเกิดตรงกลางแก้วหูจะย้ายที่ไปจากหลุมแก้วหู (umbo) ในอัตราใกล้กับที่เล็บมืองอก ไปยังผนังของช่องหู และก็ย้ายต่อไปยังปากช่องหู ขี้หูในช่องหูพร้อมกับผงละอองที่ติดอยู่ก็จะเคลื่อนตามออกไปด้วย การขยับกรามจะทำให้เศษที่ติดอยู่กับผนังช่องหูหลุดออก ทำให้หลุดออกจากหูได้ง่ายขึ้น

การหล่อลื่น[แก้]

ขี้หูช่วยหล่อลื่นผิวหนังของช่องหูป้องกันไม่ให้แห้งสนิท คือต่อมไขมันจะหลั่งไขซึ่งมีลิพิดมากเป็นตัวหล่อลื่น ในขี้หูแบบเปียกเป็นอย่างน้อย ลิพิดเช่นนี้มีคอเลสเตอรอล, squalene, กรดไขมันลูกโซ่ยาวหลายอย่าง และแอลกอฮอล์[12][13]

ฤทธิ์ต้านแบคทีเรีย[แก้]

แม้งานศึกษาที่ทำจนถึงคริสต์ทศวรรษ 1960 จะไม่พบหลักฐานสนับสนุนว่าขี้หูมีฤทธิ์ต้านแบคทีเรีย[14] แต่งานศึกษาต่อ ๆ มาก็พบฤทธิ์ต้านแบคทีเรียบางสายพันธุ์ รวมทั้ง Haemophilus influenzae (เป็นเหตุการติดเชื้อหลายชนิด), Staphylococcus aureus (เป็นเหตุการติดเชื้อผิวหนัง ทางเดินลมหายใจ และอาหารเป็นพิษ) และ Escherichia coli บางสายพันธุ์ (โดยบางอย่างเป็นเหตุอาหารเป็นพิษ) บางครั้งช่วยฆ่าเชื้อถึง 99%[15][16]

ขี้หูมนุษย์สามารถยับยั้งการติดเชื้อราในหูสองสายพันธุ์อย่างสำคัญ[17]

ฤทธิ์ต้านจุลชีพโดยหลักมาจากการมีกรดไขมันอิ่มตัว, lysozyme และความเป็นกรดเล็กน้อยราว ๆ 6.1 สำหรับบุคคลปกติ[18] แต่ก็มีงานวิจัยที่พบว่า ขี้หูอาจช่วยให้จุลชีพเจริญเติบโต และมีตัวอย่างขี้หูที่พบแบคทีเรียหนาแน่นถึง 107 ตัว/กรัม[19]

ขี้หูมากเกิน[แก้]

ขี้หูมากเกินอาจทำให้ไม่ได้ยินเสียง และเครื่องช่วยฟังอาจทำให้ขี้หูอัดแน่น[20] ซึ่งประเมินว่าเป็นเหตุของปัญหาเครื่องช่วยฟังในกรณี 60-80%[21]

การกำจัดขี้หู[แก้]

การขยับกรามช่วยทำความสะอาดช่องหูโดยธรรมชาติ วิทยาลัยวิทยาการหูคอจมูกอเมริกัน (AAO) จึงแนะนำไม่ให้เอาขี้หูออกยกเว้นเมื่อก่อปัญหา[22]

แม้มีวิธีเอาขี้หูออกหลายอย่าง แต่ข้อดีข้อเสียก็ยังไม่เคยเปรียบเทียบ[23] มีสารที่ทำให้ขี้หูนิ่ม แต่นี่อย่างเดียวยังไม่พอ[24] วิธีเอาขี้หูออกที่สามัญที่สุดก็คือฉีดน้ำอุ่นด้วยกระบอกฉีดยา[25] แพทย์หูคอจมูกอาจใช้ช้อนแคะหู (curette) ถ้าขี้หูอุดช่องหูเป็นบางส่วนและไม่ได้ติดอยู่กับผิวหนังของช่องหู ส่วนไม้ปั่นสำลีโดยมากจะดันขี้หูเข้าไปในช่องหูให้ลึกขึ้น และเอาขี้หูออกได้แต่ตรงปลาย ๆ ที่ติดกับสำลีเท่านั้น[26]

การทำให้นิ่ม[แก้]

การใช้สารทำให้นิ่มก่อนเอาขี้หูออกอาจมีผลเท่ากับไม่ทำ และสารชนิดต่าง ๆ เช่น น้ำหรือน้ำมัน ก็อาจไม่มีผลต่างกันมาก[23] แต่ก็ไม่ได้ศึกษาพอให้สรุปได้อย่างชัดเจน อนึ่ง หลักฐานของการฉีดล้างหู (irrigation) และการแคะขี้หูออก (manual removal) ก็ค่อนข้างกำกวม[23]

สารทำให้ขี้หูนิ่มซึ่งมีทั่วไปรวมทั้ง[27]

ควรใช้สารทำให้ขี้หูนิ่ม 2-3 ครั้งต่อวัน 3-5 วันก่อนจะเอาขี้หูออก[28]

การล้างหู[แก้]

เมื่อทำขี้หูให้นิ่มแล้ว ก็จะสามารถล้างหูเอาขี้หูออกได้ แต่หลักฐานว่าการทำเช่นนี้มีผลดีก็ไม่ชัดเจน[23] การล้างอาจทำด้วยใช้น้ำฉีด ซึ่งทำได้ทั้งในคลินิกและที่บ้าน หรืออาจใช้กระเปาะยางฉีดน้ำ (bulb syringe)[29]

นักวิชาการได้อธิบายวิธีใช้กระบอกฉีดน้ำอย่างละเอียด[28][30] และแนะนำให้ดึงหูขึ้นไปข้างหลัง เล็งปากกระเปาะฉีดน้ำขึ้นเล็กน้อยเข้าไปในหู เพื่อให้น้ำไหลลงเหมือนน้ำตกจากเพดานหู และให้น้ำยาไหลออกจากพื้นช่องหู ล้างเอาเศษขี้หูออก

น้ำที่ใช้ล้างหูปกติจะเป็นน้ำอุ่น[30] น้ำเกลือ[31] น้ำยาโซเดียมไบคาร์บอเนต[32] หรือน้ำผสมน้ำส้มสายชูเพื่อป้องกันการติดเชื้อ[30]

คนไข้ปกติจะชอบน้ำยาล้างที่มีอุณหภูมิเท่ากับร่างกาย[31] เพราะการล้างหูด้วยน้ำยาที่อุ่นกว่าหรือเย็นกว่าอุณหภูมิร่างกายอาจทำให้เวียนหัวคลื่นไส้[25][30]

ช้อนแคะหูและไม้ปั่นหัวสำลี[แก้]

ไม้แคะหูทำด้วยไม้ไผ่
ไม้แคะหูโลหะ

ขี้หูสามารถเอาออกด้วยช้อนแคะหูหรือไม้แคะหู โดยใช้แคะให้ขี้หูหลุดออกจากผนังแล้วตักมันออกมาจากช่องหู[33] ในประเทศตะวันตก มืออาชีพด้านสาธารณสุขเท่านั้นจะใช้ไม้แคะหู แต่ก็เป็นเรื่องปกติในยุโรปโบราณ และยังเป็นเรื่องปกติในเอเชียปัจจุบัน (รวมทั้งประเทศไทย) เพราะคนเอเชียโดยมากมีขี้หูแบบแห้ง[5] จึงสามารถใช้ไม้ขูดเบา ๆ ทำให้ขี้หูหลุดออกเป็นชิ้นเล็กชิ้นใหญ่ที่แห้ง ๆ

คำแนะนำปกติจะไม่ให้ใช้ไม้ปั่นหัวสำลี เพราะจะดันขี้หูเข้าไปในหูให้ลึกขึ้น และถ้าใช้อย่างไม่ระมัดระวัง อาจทำให้แก้วหูทะลุ[26] อนึ่ง การทำให้ช่องหูถลอก โดยเฉพาะเมื่อมีน้ำจากการว่ายน้ำหรืออาบน้ำ อาจทำให้ติดเชื้อ แม้สำลีเองก็อาจหลุดออกติดอยู่ในหู ดังนั้น ไม้ปั่นหัวสำลีควรใช้ทำความสะอาดหูภายนอกเท่านั้น

เทียนดูดหู[แก้]

เทียนดูดหู เป็นขี้ผึ้งแท่งกลวงซึ่งจุดไฟที่ปลายข้างหนึ่ง และเอาปลาย (กลวง) อีกข้างหนึ่งใส่เข้าในหูเพื่อดูดสิ่งที่อยู่ในหูออก แพทย์ทางเลือกอาจอ้างว่า มันสามารถทำให้สุขภาพดี แต่แพทย์ปัจจุบันแนะนำไม่ให้ทำเพราะเสี่ยงอันตรายและไม่มีผลอะไร[22][34]

ผู้สนับสนุนเชื่อว่า เศษสีเข้ม ๆ ที่เหลือจากการทำเช่นนี้เป็นขี้หูที่ดูดออกมา เป็นข้อพิสูจน์ว่าได้ผล แต่งานศึกษาต่าง ๆ ได้แสดงว่า เศษสีเข้มที่พบเป็นส่วนเหลือของการจุดเทียน ซึ่งมีไม่ว่าจะใส่เข้าในหูหรือไม่ เพราะเทียนทำจากใยฝ้ายและขี้ผึ้งซึ่งมีเศษเหลือเมื่อไหม้ แต่เศษเหลือที่ว่านี้จะมีสีน้ำตาลเหมือนกับขี้หู (ของบางคน) ทำให้เข้าใจผิดได้ว่าเป็นขี้หู และเพราะเทียนเป็นแท่งกลวง ขี้ผึ้งร้อน ๆ อาจตกใส่ในช่องหูแล้วทำอันตรายแก่แก้วหู

วิทยาลัยวิทยาการหูคอจมูกอเมริกัน (AAO) กล่าวว่า เทียนดูดหูไม่ปลอดภัยเพื่อเอาขี้หูออก และไม่มีงานศึกษาที่มีกลุ่มควบคุมหรือเป็นวิทยาศาสตร์ที่สนับสนุนให้ใช้มันเยี่ยงนี้[35] ส่วนองค์การอาหารและยาสหรัฐ (FDA) ได้บังคับใช้กฎหมายต่อต้านการขายเทียนดูดหูหลายครั้งเริ่มตั้งแต่ปี 1996 รวมทั้งยึดของและออกหมายไม่ให้ทำอีก[35]

อนึ่ง ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่ขายเพื่อ "ดูดหู" ก็ไม่สามารถเอาขี้หูออกด้วย โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับอุปกรณ์ (Jobson-Horne probe[A]) ที่แพทย์ใช้[37]

ภาวะแทรกซ้อนที่อาจมี[แก้]

การแคะหูในอินเดีย ภาพสีน้ำทึบ
หนังสือ De medicina

การสำรวจแพทย์ทั่วไปในอังกฤษทางไปรษณีย์[25] พบว่า เพียงแค่ 19% เอาขี้หูออกเอง เป็นปัญหาเพราะการเอาขี้หูออกเสี่ยง และแพทย์พยาบาลมักไม่ได้ฝึกเอาขี้หูออกพอ การล้างหูสามารถทำที่บ้านถ้ามีอุปกรณ์ที่จำเป็นและไม่ฉีดน้ำแรงเกิน วิธีการอื่น ๆ ควรให้บุคคลที่ฝึกวิธีนั้นมาดีพอทำ

นักวิชาการผู้หนึ่งแนะนำแพทย์ว่า "หลังจากเอาขี้หูออก ตรวจให้ทั่วว่าไม่มีเหลือ คำแนะนำนี้อาจดูเหลือเฟือ แต่บ่อยครั้งถูกเมิน"[32] ซึ่งนักวิชาการอีกท่านหนึ่งก็ได้ยืนยัน[25] เพราะได้สำรวจแพทย์ทั่วไป 320 รายแล้วพบว่า แพทย์เพียง 68% จะตรวจช่องหูว่ามีขี้หูเหลือหรือไม่หลังล้างหูแล้ว ดังนั้น การเอาขี้หูออกไม่หมดจึงเป็นภาวะแทรกซ้อน 30% เนื่องกับหัตถการนี้

ภาวะแทรกซ้อนอื่นรวมทั้งหูชั้นนอกอักเสบ (otitis externa) เพราะติดเชื้อแบคทีเรีย ตลอดจนเจ็บ รู้สึกหมุน (vertigo) เสียงในหู และแก้วหูทะลุ ข้อมูลจากงานศึกษานี้ทำให้เสนอว่าภาวะแทรกซ้อนสำคัญเนื่องกับหัตถการนี้เกิดในอัตรา 1/1,000 เมื่อฉีดล้างหู[25]

หน่วยประกันภัยที่ไม่ต้องพิสูจน์ความผิดของนิวซีแลนด์มีกรณีเรียกร้องเพราะปัญหาเอาขี้หูออก 25% ในบรรดากรณีเรียกร้องเกี่ยวกับหูคอจมูก โดยแก้วหูทะลุเป็นปัญหาความพิการซึ่งสามัญที่สุด[30] แม้มีอัตราสูงแต่ก็ไม่น่าแปลกใจเพราะการล้างขี้หูออกเป็นหัตถการที่ทำอย่างสามัญ นักวิชาการได้ประเมินว่า มีการล้างขี้หูออก 7,000 ครั้งต่อประชากร 100,000 คนต่อปีอาศัยการประมาณค่านอกช่วงของข้อมูลที่ได้จากเมืองเอดินบะระ[25]

ประวัติ[แก้]

ในคริสต์ศตวรรษที่ 1 นักเขียนสารานุกรมชาวโรมัน Aulus Cornelius Celsus ได้บอกวิธีการเอาขี้หูออกไว้ในหนังสือ De Medicina[38]

เมื่อบุคคลเริ่มไม่ค่อยได้ยินเสียง ซึ่งเกิดบ่อยมากหลังปวดหัวมานาน ขั้นแรก ควรตรวจดูหู เพราะถ้าไม่พบรอยแผลที่มีของแข็งติดด้านบน ก็จะพบขี้หูรวมกันแข็ง ๆ ถ้าเป็นของแข็ง ให้ใส่น้ำมันร้อนเข้าไป หรือสนิมเขียวของทองแดงผสมน้ำผึ้ง หรือน้ำผักลีก (Allium ampeloprasum) หรือน้ำโซดาเล็กน้อยผสมกับกับไวน์น้ำผึ้ง และเมื่อของแข็งหลุดออกจากแผล ให้ล้างหูด้วยน้ำอุ่น ทำให้ตักออกด้วยไม้แคะหูได้ง่าย ถ้าเป็นขี้หูนิ่ม ก็สามารถเอาออกโดยวิธีเดียวกันด้วยไม้แคะหู แต่ถ้าแข็ง ให้หยอดน้ำส้มสายชูที่มีน้ำโซดาเล็กน้อย[39] และเมื่อนิ่มแล้ว ก็ให้ล้างและทำความสะอาดดังที่กล่าวมาแล้ว อนึ่ง ควรล้างหูด้วย castoreum[B] ผสมกับน้ำส้มสายชู กับน้ำมัน laurel (Laurus nobilis) และกับน้ำเปลือกหัวผักกาดอ่อน (Raphanus raphanistrum subsp. sativus) หรือน้ำแตงกวาผสมกับใบต้นกุหลาบบด การหยดน้ำผลองุ่นที่ยังไม่สุกผสมกับน้ำมันดอกกุหลาบก็ค่อนดีกับการไม่ได้ยินด้วย


การใช้[แก้]

  • ในสมัยกลาง สารต่าง ๆ รวมทั้งขี้หูและปัสสาวะได้ใช้ทำสีให้เสมียนคัดลอกเขียนหนังสือที่มีรูปประกอบ[40]
  • มันทาปากแรกอาจทำมาจากขี้หู[41] หนังสือ แม่บ้านอเมริกันช่างประหยัด (American Frugal Housewife) กล่าวว่า "ไม่มีอะไรดีกว่าขี้หูเพื่อบรรเทาความเจ็บที่มาจากแผลตะปูหรือไม้เสียบ" และยังแนะนำให้ใช้ขี้หูเป็นมันทางปาก[42]
  • ก่อนมีด้ายเคลือบมัน/ขี้ผึ้ง ช่างเย็บผ้าได้ใช้ขี้หูกันไม่ให้ปลายด้ายลุ่ย[43]

สัตว์อื่น[แก้]

มีปลาวาฬหลายชนิดที่สะสมขี้หูเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งสามารถใช้ขนาดกำหนดอายุของวาฬที่ไม่มีฟัน[44][45]

เชิงอรรถ[แก้]

  1. Jobson-Horne probe เป็นช้อนแคะหูที่แพทย์หูคอจมูกใช้ ช้อนจะเจาะรูตรงกลางเพื่อให้สามารถแคะเอาทั้งขี้หูแห้งและเปียกที่อัดแน่นออกได้[36]
  2. castoreum เป็นสิ่งที่หลั่งออกจากถุงแคสเตอร์ (castor sacs) ของบีเวอร์อเมริกาเหนือ (Castor canadensis) และของบีเวอร์ยุโรป (Castor fiber)

อ้างอิง[แก้]

  1. "Earwax". american-hearing.org. Chicago, Illinois: American Hearing Research Foundation. 2008. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 25, 2009. สืบค้นเมื่อ 2015-01-21.
  2. 2.0 2.1 Okuda, I; Bingham, B; Stoney, P; Hawke, M (June 1991). "The organic composition of earwax". J Otolaryngol. (3): 212–5. PMID 1870171.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  3. Alvord, LS; Farmer, BL (December 1997). "Anatomy and orientation of the human external ear". Journal of the American Academy of Audiology. 8 (6): 383–90. PMID 9433684.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  4. 4.0 4.1 Guest, JF; Greener, MJ; Robinson, AC; Smith, AF (August 2004). "Impacted cerumen: composition, production, epidemiology and management". QJM. 97 (8): 477–88. doi:10.1093/qjmed/hch082. PMID 15256605.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  5. 5.0 5.1 5.2 Overfield, Theresa (1985). Biologic variation in health and illness: race, age, and sex differences. Menlo Park, Calif: Addison-Wesley, Nursing Division. p. 46. ISBN 0-201-12810-1. ... most common type in Whites and Blacks is dark brown and moist. Dry wax, most common in Orientals and Native Americans, is gray and dry. It is flaky and may form a thin mass that lies in the ear canal.
  6. Bass, EJ; Jackson, JF (September 1977). "Cerumen types in Eskimos". American Journal of Physical Anthropology. 47 (2): 209–10. doi:10.1002/ajpa.1330470203. PMID 910884.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  7. "Miscellaneous musings on the Ainu, I". Ahnenkult.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 11, 2016. สืบค้นเมื่อ 2014-04-28.
  8. Diep, Francie (February 13, 2014). "The Scent Of Your Earwax May Yield Valuable Information | Popular Science". Popsci.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 22, 2014. สืบค้นเมื่อ 2014-04-28.
  9. Online 'Mendelian Inheritance in Man' (OMIM) 117800
  10. Yoshiura, K; Kinoshita, A; Ishida, T และคณะ (March 2006). "A SNP in the ABCC11 gene is the determinant of human earwax type". Nature Genetics. 38 (3): 324–30. doi:10.1038/ng1733. PMID 16444273.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  11. Alberti, PW (September 1964). "Epithelial migration on the tympanic membrane". The Journal of Laryngology and Otology. 78: 808–30. doi:10.1017/s0022215100062800. PMID 14205963.
  12. Harvey, DJ (September 1989). "Identification of long-chain fatty acids and alcohols from human cerumen by the use of picolinyl and nicotinate esters". Biomedical & Environmental Mass Spectrometry. 18 (9): 719–23. doi:10.1002/bms.1200180912. PMID 2790258.
  13. Bortz, JT; Wertz, PW; Downing, DT (November 1990). "Composition of cerumen lipids". Journal of the American Academy of Dermatology. 23 (5 Pt 1): 845–9. doi:10.1016/0190-9622(90)70301-W. PMID 2254469.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  14. Nichols, AC; Perry, ET (September 1956). "Studies on the growth of bacteria in the human ear channel". The Journal of Investigative Dermatology. 27 (3): 165–70. doi:10.1038/jid.1956.22. PMID 13367525.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  15. Chai, TJ; Chai, TC (October 1980). "Bactericidal activity of cerumen". Antimicrobial Agents and Chemotherapy. 18 (4): 638–41. doi:10.1128/aac.18.4.638. PMC 284062. PMID 7447422.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  16. Stone, M; Fulghum, RS (1984). "Bactericidal activity of wet cerumen". The Annals of Otology, Rhinology, and Laryngology. 93 (2 Pt 1): 183–6. PMID 6370076.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  17. Megarry, S; Pett, A; Scarlett, A; Teh, W; Zeigler, E; Canter, RJ (August 1988). "The activity against yeasts of human cerumen". The Journal of Laryngology and Otology. 102 (8): 671–2. doi:10.1017/s0022215100106115. PMID 3047287.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  18. Roland, PS; Marple, BF (December 1997). "Disorders of the external auditory canal". Journal of the American Academy of Audiology. 8 (6): 367–78. PMID 9433682.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  19. Campos, A; Betancor, L; Arias, A; Rodrıguez, C; Hernandez, AM; Lopez, AD; Sierra, A (July 1998). "Study of common aerobic flora of human cerumen". The Journal of Laryngology & Otology. 112 (7): 613–6. PMID 9775288.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  20. Chou, R; Dana, T; Bougatsos, C; และคณะ (March 2011). "Screening for Hearing Loss in Adults Ages 50 Years and Older: A Review of the Evidence for the U.S. Preventive Services Task Force". Evidence Syntheses, No. 83. U.S. Agency for Healthcare Research and Quality (AHRQ). สืบค้นเมื่อ 2013-07-05.
  21. Oliveira, RJ (December 1997). "The active earcanal". Journal of the American Academy of Audiology. 8 (6): 401–10. PMID 9433686.
  22. 22.0 22.1 Schwartz, SR; Magit, AE; Rosenfeld, RM; Ballachanda, BB; Hackell, JM; Krouse, HJ; Lawlor, CM; Lin, K; Parham, K; Stutz, DR; Walsh, S; Woodson, EA; Yanagisawa, K; Cunningham ER, Jr (January 2017). "Clinical Practice Guideline (Update): Earwax (Cerumen Impaction) Executive Summary". Otolaryngology--head and neck surgery: official journal of American Academy of Otolaryngology-Head and Neck Surgery. 156 (1): 14–29. PMID 28045632.
  23. 23.0 23.1 23.2 23.3 Clegg, AJ; Loveman, E; Gospodarevskaya, E; Harris, P; Bird, A; Bryant, J; Scott, DA; Davidson, P; Little, P; Coppin, R (June 2010). "The safety and effectiveness of different methods of earwax removal: a systematic review and economic evaluation". Health technology assessment (Winchester, England). 14 (28): 1–192. doi:10.3310/hta14280. PMID 20546687.
  24. Clegg, AJ; Loveman, E; Gospodarevskaya, E และคณะ (June 2010). "The safety and effectiveness of different methods of earwax removal: a systematic review and economic evaluation". Health Technol Assess. 14 (28): 1–192. doi:10.3310/hta14280. PMID 20546687.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  25. 25.0 25.1 25.2 25.3 25.4 25.5 Sharp, JF; Wilson, JA; Ross, L; Barr-Hamilton, RM (December 1990). "Ear wax removal: a survey of current practice". BMJ. 301 (6763): 1251–3. doi:10.1136/bmj.301.6763.1251. PMC 1664378. PMID 2271824.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  26. 26.0 26.1 "Ear wax". Tchain.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 23, 2018. สืบค้นเมื่อ 2010-05-02.
  27. Fraser, JG (October 1970). "The efficacy of wax solvents: in vitro studies and a clinical trial". The Journal of Laryngology and Otology. 84 (10): 1055–64. doi:10.1017/s0022215100072856. PMID 5476901.
  28. 28.0 28.1 Wilson, PL; Roeser, RJ (December 1997). "Cerumen management: professional issues and techniques". Journal of the American Academy of Audiology. 8 (6): 421–30. PMID 9433688.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  29. Coppin, R; Wicke, D; Little, P (2011). "Randomized trial of bulb syringes for earwax: impact on health service utilization". Annals of Family Medicine. 9 (2): 110–4. doi:10.1370/afm.1229. PMC 3056857. PMID 21403136.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  30. 30.0 30.1 30.2 30.3 30.4 Blake, P; Matthews, R; Hornibrook, J (November 1998). "When not to syringe an ear". The New Zealand Medical Journal. 111 (1077): 422–4. PMID 9861921.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  31. 31.0 31.1 Ernst, AA; Takakuwa, KM; Letner, C; Weiss, SJ (September 1999). "Warmed versus room temperature saline solution for ear irrigation: a randomized clinical trial". Annals of Emergency Medicine. 34 (3): 347–50. doi:10.1016/S0196-0644(99)70129-0. PMID 10459091.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  32. 32.0 32.1 Bull, P. D. (2002). Lecture notes on diseases of the ear, nose, and throat (6th ed.). Oxford: Blackwell Science. pp. 26–27. ISBN 0-632-06506-0.
  33. "Cerumen Management Protocol Template". Audiology Supplies. November 4, 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 4, 2016.
  34. Seely, DR; Quigley, SM; Langman, AW (October 1996). "Ear candles--efficacy and safety". The Laryngoscope. 106 (10): 1226–9. doi:10.1097/00005537-199610000-00010. PMID 8849790.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  35. 35.0 35.1 "Earwax". www.entnet.org. American Academy of Otolaryngology. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 30, 2012. สืบค้นเมื่อ 2012-04-23.
  36. "A non-randomized comparison of earwax removal with a 'do-it-yourself' ear vacuum kit and a Jobson-Horne probe". Clinical Otolaryngology. 2005. PMID 16209672.
  37. Leong, AC; Aldren, C (August 2005). "A non-randomized comparison of earwax removal with a 'do-it-yourself' ear vacuum kit and a Jobson-Horne probe". Clinical Otolaryngology. 30 (4): 320–3. doi:10.1111/j.1365-2273.2005.01020.x. PMID 16209672.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  38. Celsus, Aulus Cornelius; W.G. Spencer translation. "Book VI". De Medicina.
  39. "acetum et cum eo nitri paulum". Nitri is rendered as "soda" here, i.e. soda ash, though the word can refer to a variety of alkaline substances or to sodium nitrate. (http://www.archives.nd.edu/cgi-bin/words.exe?nitri เก็บถาวร สิงหาคม 31, 2021 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน http://www.history-science-technology.com/Notes/Notes%208.htm) Note that acidification of sodium carbonate yields sodium bicarbonate.
  40. "Iberian manuscripts (pigments)". Web.ceu.hu. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 29, 2021. สืบค้นเมื่อ 2014-04-28.
  41. Schwaab, M; Gurr, A; Neumann, A; Dazert, S; Minovi, A (August 2011). "Human antimicrobial proteins in ear wax". European Journal of Clinical Microbiology & Infectious Diseases. 30 (8): 997–1004. doi:10.1007/s10096-011-1185-2. PMID 21298458.
  42. The American frugal housewife ... - Google Books. Books.google.ca. 1841. p. 116. สืบค้นเมื่อ 2010-05-02.
  43. Beaudry, Mary C. "Bodkin Biographies". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 3, 2017. สืบค้นเมื่อ 2012-01-03.{{cite web}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  44. Nelson, Craig S. "What can you tell us about whale ear wax?". Cs.ucf.edu. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 29, 2011. สืบค้นเมื่อ 2010-06-20.
  45. Trumble, Stephen J; Robinson, Eleanor M; Berman-Kowalewski, Michelle; Potter, Charles W; Usenko, Sascha (2013). "Blue whale earplug reveals lifetime contaminant exposure and hormone profiles".{{cite web}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)

แหล่งอ้างอิงอื่น ๆ[แก้]

เว็บไซต์[แก้]