ปฏิทินฮิจเราะห์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ปฏิทินฮิจญ์เราะฮ์)
แสตมป์ปฏิทินฮิจเราะห์ที่ท่าอากาศยานนานาชาติกษัตริย์คอลิด (10 เราะญับ ฮ.ศ. 1428 / 24 กรกฎาคม ค.ศ. 2007)

ปฏิทินฮิจเราะห์ ปฏิทินอิสลาม หรือ ปฏิทินมุสลิม (อังกฤษ: Islamic calendar; อาหรับ: ٱلتَّقْوِيم ٱلْهِجْرِيّ at-taqwīm al-hijrī) เป็นระบบปฏิทินจันทรคติซึ่งประกอบด้วย 12 เดือน และใน 1 ปีจะมี 354 หรือ 355 วัน ใช้กำหนดวันเหตุการณ์ในหลายประเทศมุสลิม (ควบคู่ไปกับปฏิทินกริกอเรียน) และใช้โดยมุสลิมทั่วโลกเพื่อกำหนดวันที่เหมาะสมในการเฉลิมฉลองวันสำคัญและเทศกาลในศาสนาอิสลาม ปฏิทินฮิจเราะห์เริ่มนับเมื่อศาสดาแห่งอิสลาม นบีมุฮัมมัดอพยพจากมักกะฮ์ไปยังมะดีนะฮ์ หรือที่รู้จักกันว่า hijra, hijrah ในภาษาอังกฤษ ฮิจเราะห์ศักราชจะถูกระบุโดยใช้ตัวย่อ H หรือ AH อันเป็นตัวย่อของวลีภาษาละติน anno Hegirae (ในปีแห่งฮิจเราะห์)[1] ปัจจุบันอยู่ในฮิจเราะห์ศักราช 1445

เนื่องจากปฏิทินฮิจเราะห์เป็นปฏิทินจันทรคติ จึงไม่เกิดขึ้นพร้อมกับฤดูกาล โดยในแต่ละปีมีวันคาดเคลื่อนไปจากปฏิทินกริกอเรียนอยู่ 11 หรือ 12 วัน ทำให้ฤดูกาลจะกลับมาซ้ำเดิมทุก 33 ปีอิสลาม

เดือนตามระบบปฏิทินฮิจเราะห์[แก้]

ในหนึ่งปีฮิจเราะห์มี 12 เดือน คือ[2]

  1. มุฮัรร็อม (مُحَرَّم, "ต้องห้าม") ได้ชื่อนี้มาเพราะเป็นการผิดกฎหมายหากสู้รบกันในเดือนนี้ เป็นเดือนที่มีความศักดิ์สิทธิ์ที่สุดเป็นอันดับสองในปฏิทินฮิจเราะห์ และมีวันอาชูรออ์
  2. เศาะฟัร (صَفَر, "ว่างเปล่า") คาดว่าได้ชื่อนี้มาเพราะชาวอาหรับนอกศาสนาปล้นสะดมในเดือนนี้และทิ้งให้บ้านว่างเปล่า บ้างก็ว่าชาวเมืองมักกะฮ์เดินทางออกจากเมืองในเดือนนี้จนเมืองว่างเปล่า
  3. เราะบีอุลเอาวัล (رَبِيع ٱلْأَوَّل, "ฤดูใบไม้ผลิแรก")
  4. เราะบีอุษษานี (رَبِيع ٱلثَّانِي‎, "ฤดูใบไม้ผลิที่สอง (หรือหลัง)")
  5. ญุมาดัลอูลา (جُمَادَىٰ ٱلْأُولَىٰ, "เดือนแรกที่ผืนดินแห้งแล้ง")
  6. ญุมาดัษษานี (جُمَادَىٰ ٱلثَّانِي, "เดือนที่สอง (หรือหลัง) ที่ผืนดินแห้งแล้ง")
  7. เราะญับ (رَجَب, "เคารพ" หรือ "ให้เกียรติ") เป็นเดือนต้องห้ามอีกเดือนหนึ่งซึ่งแต่โบราณแล้วห้ามสู้รบกันในเดือนนี้
  8. ชะอ์บาน (شَعْبَان, "กระจาย) ตรงกับช่วงที่เผ่าอาหรับกระจายกันไปหาน้ำ
  9. เราะมะฎอน (رَمَضَان, "ร้อนจัด") เป็นเดือนที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุดในปฏิทินฮิจเราะห์ ชาวมุสลิมจะถือศีลอดในช่วงเช้าจนถึงตะวันตกดิน
  10. เชาวาล (شَوَّال, "ยก") เป็นช่วงของปีที่อูฐตัวเมียยกหางขึ้นหลังจากเกิดลูกแล้ว
  11. ษุลเกาะอ์ดะฮ์ (ذُو ٱلْقَعْدَة, "เดือนแห่งการพักรบ") เป็นอีกเดือนหนึ่งที่สงครามถูกห้าม
  12. ษุลฮิจญ์ญะฮ์ (ذُو ٱلْحِجَّة, "เดือนแห่งการแสวงบุญ") หมายถึงการแสวงบุญไปยังมักกะฮ์ประจำปีของมุสลิม ที่เรียกว่า ฮัจญ์

วันในสัปดาห์[แก้]

ในภาษาอาหรับ เช่นเดียวกับในภาษาฮีบรู "วันแรก" ของสัปดาห์เสมือนกับเป็นวันอาทิตย์แบบสากล วันในศาสนาอิสลามและศาสนายูดายเริ่มเมื่อดวงอาทิตย์ตก ขณะที่ศาสนาคริสต์สมัยกลางและวันแบบสากลเริ่มเมื่อเวลาเที่ยงคืน[3] แต่วันพิธีสวดในศาสนาคริสต์ ซึ่งใช้กันในอารามต่าง ๆ นั้น เริ่มด้วยพิธีทางศาสนาในตอนเย็น (Vespers) ซึ่งเป็นไปตามประเพณีของศาสนาอับราฮัมอื่น ๆ มุสลิมชุมนุมกันเพื่อสักการะที่มัสยิดเมื่อเวลาเที่ยงวันศุกร์ ดังนั้น วันศุกร์จึงมักถือว่าเป็นวันหยุดประจำสัปดาห์ ดังนั้นวันรุ่งขึ้น ซึ่งเป็นวันเสาร์ จึงเป็นวันแรกของสัปดาห์ทำงาน

ลำดับที่ ภาษาอาหรับ ภาษาไทย ภาษาฮินดี ภาษาเบงกอล ภาษาฮีบรู ภาษาอินโดนีเซีย ภาษามลายู ภาษาอูรดู ภาษาเปอร์เซีย
1 เยามุลอะฮัด
يَوْم الْأَحَد‎
(วันแรก)
วันอาทิตย์ รวิวาร
रविवार
রবিবার Yom Rishon
יום ראשון
มิงกู
Minggu
อาฮัด
Ahad
Itwaar
اتوار
Yek-Shanbeh
یکشنبه
2 เยามุลอิษนัยน์
يَوْم الاِثْنَيْن‎
(วันที่สอง)
วันจันทร์ โสมวาร
सोमवार
সোমবার Yom Sheni
יום שני
เซอนิน
Senin
อิซนิน
Isnin
Pîr
پير
Do-Shanbeh
دوشنبه
3 เยามุษษุลาษาอ์
يَوْم الثُّلَاثَاء‎
(วันที่สาม)
วันอังคาร มงคลวาร
मंगलवार
মঙ্গলবার Yom Shlishi
יום שלישי
เซอลาซา
Selasa
เซอลาซา
Selasa
Mangl
منگل
Seh-Shanbeh
سه شنبه
4 เยามุลอัรบะอาอ์
يَوْم الْأَرْبَعَاء‎
(วันที่สี่)
วันพุธ พุธวาร
बुधवार
বুধবার Yom Revi'i
יום רבעי
ราบู
Rabu
ราบู
Rabu
Budh
بدھ
Chahar-Shanbeh
چهارشنبه
5 เยามุลเคาะมีส
يَوْم الْخَمِيس‎
(วันที่ห้า)
วันพฤหัสบดี คุรุวาร
गुरुवार
বৃহস্পতিবার Yom Khamishi
יום חמישי
กามิซ
Kamis
คามิซ
Khamis
Jumahraat
جمعرات
Panj-Shanbeh
پنجشنبه
6 เยามุลญุมอะฮ์
يَوْم الْجُمْعَة‎
(gathering day)
วันศุกร์ ศุกรวาร
शुक्रवार
শুক্রবার Yom Shishi
יום ששי
จุมอัต
Jumat
จูมาอัต
Jumaat
Jumah
جمعہ
Jom'e หรือ Adineh
جمعه หรือ آدينه
7 เยามุสซับต์
يَوْم ٱلسَّبْت‎
(วันสะบาโต)
วันเสาร์ ศนิวาร
शनिवार
শনিবার Yom Shabbat
יום שבת
ซับตู
Sabtu
ซับตู
Sabtu
Hafta
ہفتہ
Shanbeh
شنبه

ประวัติศาสตร์[แก้]

ก่อนปฏิทินฮิจเราะห์[แก้]

นักวิชาการบางคน ทั้งมุสลิมและตะวันตก คิดว่าปฏิทินก่อนปฏิทินฮิจเราะห์ในอาระเบียกลางเป็นปฏิทินจันทรคติคล้ายกับปฏิทินฮิจเราะห์สมัยใหม่[4][5] ส่วนนักวิชาการอื่น ๆ ทั้งมุสลิมและตะวันตก เห็นด้วยว่าเดิมปฏิทินฮิจเราะห์เป็นปฏิทินจันทรคติ ที่ราว 200 ปีก่อนการฮิจเราะห์ ได้แปลงไปเป็นปฏิทินสุริยจันทรคติ ซึ่งมีการเพิ่มอธิกมาสเป็นบางครั้งเพื่อรักษาเวลาในฤดูกาลของปีเมื่อสินค้ามีมากที่สุดสำหรับผู้ซื้อเบดูอิน การแทรกอธิกมาสมีขึ้นทุกสามปี โดยจะเลื่อนเดือนแรกของปีไปหนึ่งเดือน การแทรกอธิกมาสเพิ่มเดือนแสวงบุญอีกหนึ่งเดือน และเดือนที่ตามมานั้นจะมีชื่อเหมือนกัน และเดือนที่เหลือและความศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายของเดือนที่ตามมานั้นจะเลื่อนออกไปหนึ่งเดือนทั้งหมด[6][7][8][9]

การห้ามเลื่อนเดือน[แก้]

ในปีฮิจเราะห์ที่สิบ ตามที่ปรากฏในอัลกุรอาน (อัลกุรอาน 9:36-37) มุสลิมเชื่อว่าพระเจ้า (อัลลอฮ์) ห้ามการเลื่อนเดือน:

แท้จริงจำนวนเดือน ณ อัลลอฮ์นั้นมีสิบสองเดือนในคัมภีร์ของอัลลอฮ์ตั้งแต่วันที่พระองค์ทรงสร้างบรรดาชั้นฟ้าและแผ่นดิน จากเดือนเหล่านั้นมีสี่เดือน ซึ่งเป็นเดือนที่ต้องห้ามนั่นคือบัญญัติอันเที่ยงตรง ดังนั้นพวกเธอจงอย่าอธรรมแก่ตัวของพวกเธอเองในเดือนเหล่านั้นและจงต่อสู้บรรดามุชริกทั้งหมด เช่นเดียวกับที่พวกเขากำลังต่อสู้พวกเธอทั้งหมด และพึงรู้เถิดว่า แท้จริงอัลลอฮ์นั้นร่วมกับบรรดาผู้ที่ยำเกรง
แท้จริงการเลื่อนเดือนที่ต้องห้ามให้ล่าช้า ไปนั้นเป็นการเพิ่มในการปฏิเสธศรัทธา ยิ่งขึ้นโดยที่ผู้ปฏิเสธศรัทธาเหล่านั้นถูกทำให้หลงผิดไป เนื่องด้วยการเลื่อนเดือนต้องห้ามนั้น พวกเขาได้ให้มันเป็นที่อนุมัติปีหนึ่ง และให้มันเป็นที่ต้องห้ามปีหนึ่ง เพื่อพวกเขาจะให้พ้องกับจำนวนเดือนที่อัลลอฮ์ได้ทรงห้ามไว้ (มิเช่นนั้นแล้ว) พวกเขาก็จะทำให้เป็นที่อนุมัติสิ่งทีอัลลอฮ์ได้ทรงให้เป็นที่ต้องห้ามไป โดยที่ความชั่วแห่งบรรดาการงานของพวกเขาได้ถูกประดับประดาให้สวยงามแก่พวกเขา และอัลลอฮ์นั้นจะไม่ทรงนำทางแก่กลุ่มชนที่ปฏิเสธศรัทธา[10]

การเปลี่ยนระหว่าง ฮ.ศ. กับ ค.ศ.[แก้]

หากต้องการทราบว่าวันเดือนปีใน ค.ศ. xxxx ตรงกับวันเดือนปีใดใน ฮ.ศ. ให้ทำดังนี้

วิธีที่ 1[แก้]

  1. เปลี่ยนค่า ปี เดือน และวัน ที่ต้องการนั้นให้มีจำนวนเป็นวัน โดยการนำเอาปีนั้นมาลบด้วย 1 แล้วคูณด้วย 365.25 แล้วเอาจำนวนเดือนและวันที่เหลือมาบวก
  2. เอาผลลัพธ์นั้นลบด้วยค่าความแตกต่างระหว่าง ค.ศ. กับ ฮ.ศ. คือ 227015 วัน
  3. เอาผลลัพธ์หารด้วย 10631 (อันเป็นเวลา 1 รอบน้อย)
  4. เอาผลลัพธ์คูณด้วย 30 และเอาเศษที่เป็นวันนั้น ทำเป็นปีและเดือน ตามกฎของปีปกติและอธิกสุรทิน และบวกเข้ากับผลลัพธ์
  5. เอาหนึ่งบวกกับผลลัพธ์ที่เป็นปีและเอาเศษผลลัพธ์ที่เป็นนั้นนั้นทำเป็นเดือน

ตัวอย่างเช่น วันที่ 1 มกราคม 1992

1992 – 1 = 1991

1991 x 365.25 = 727212.75 + 11 = 727223

727223 – 227015 = 500208

10631 = 47 รอบ เศษ 551 x 30 = 1410 + 1 + 1 ปีเศษ 197 วัน = 2523 ปี 197 วัน

1411 + 1 ปี = 1412 ปี 197 วัน

197 30 + 29 + 30 + 29 + 30 + 30 + 19 = Rajab 1412

วิธีที่ 2[แก้]

โดยใช้ข้อมูลต่อไปนี้เป็นหลัก

  1. วันที่ 1 มุฮัรร็อม 01 ตรงกับ 16 กรกฎาคม 622
  2. ปีจันทรคติ ฮ.ศ. มี 354.36666 วัน
  3. ปีสุริยคติกริกอเรียนมี 365.2425 วันจูเลียน = 365.25
  4. 1 ปี จันทรคติมีค่า = 0.070223 = 0.97
  5. 1 ปี สุริยคติมีค่า = 1.0306909 = 1.0307121

ตัวอย่างเช่น วันที่ 1 มค. 1992

  1. ลบปีที่ต้องการซึ่งยังไม่บริบูรณ์นั้นด้วย 1992 – 1 = 1991
  2. ความแตกต่างระหว่าง ค.ศ. กับ ฮ.ศ. ด้วย 1991 – 622 = 1369 ด้วยการหาผลลัพธ์นั้นด้วย 622
  3. ระหว่าง 16 กรกฎาคม ถึง 11 มกราคม เป็นเวลา = 179 วัน
  4. เอาผลลัพธ์จากข้อ 2 ซึ่งเป็นปีนั้นคูณด้วย 1.0306909 = 1411.0158
  5. ทศนิยมจากเศษนั้นเปลี่ยนเป็นโดยการคูณกับ 354.3666 1.0307121 = 1411.0448 = 1411 ปี 5.59 วัน
  6. เอาผลลัพธ์จากข้อ 3 และ 4 รวมกัน ปี 1412 ปี 15.87 วัน +
  7. บวกค่าความแตกต่างระหว่างกรกฎาคมถึงเดือนที่ต้องการ 179 วัน ปี 1412 วัน
  8. บวกค่าความแตกต่างระหว่าง J และ G = 13 วัน = 19 Rajab 1442
  9. เปลี่ยนผลลัพธ์จากวันเป็นเดือนและวัน

ถ้าจะหา ค.ศ. จาก ฮ.ศ. ทำได้ดังนี้

  1. เอา ฮ.ศ. ปีที่ต้องการนั้นลบด้วย 1
  2. เอาผลลัพธ์ที่ได้คูณด้วย ผลลัพธ์ที่ได้เป็นปีและทศนิยมของปี
  3. เปลี่ยนทศนิยมของผลลัพธ์เป็นวันด้วยการคูณกับ 365.25
  4. เอาระยะเวลาห่างจาก 1 มกราคม ถึง 16 ตุลาคม (200 วัน) บวกกับผลลัพธ์
  5. เอาค่าความแตกต่างระหว่าง ค.ศ. กับ ฮ.ศ. มาบวก
  6. เอาระยะเวลาจาก 1 มุฮัรร็อม ถึงวันที่และเดือนที่ต้องการ
  7. เปลี่ยนค่าของผลลัพธ์เป็นปี – เดือน – และวันที่

อ้างอิง[แก้]

  1. Watt, W. Montgomery. "Hidjra". ใน P.J. Bearman, Th. Bianquis, C.E. Bosworth, E. van Donzel and W.P. Heinrichs (บ.ก.). Encyclopaedia of Islam Online. Brill Academic Publishers. ISSN 1573-3912.{{cite encyclopedia}}: CS1 maint: multiple names: editors list (ลิงก์)
  2. วันเดือนปี : เดือนภาษาอาหรับ ที่มาของเดือนอาหรับ เก็บถาวร 2011-03-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน.
  3. Trawicky (2000) p. 232
  4. Mahmud Effendi (1858), as discussed by Burnaby, pages 460–470.
  5. F.C. De Blois, "TA'RIKH": I.1.iv. "Pre-Islamic and agricultural calendars of the Arabian peninsula", The Encyclopaedia of Islam X:260.
  6. al-Biruni, "Intercalation of the Ancient Arabs", The Chronology of Ancient Nations, tr. C. Edward Sachau, (London: William H. Allen, 1000/1879) 13–14, 73–74.
  7. Abu Ma'shar al-Balkhi (787–886), Kitab al-Uluf, Journal Asiatique, series 5, xi (1858) 168+. (ฝรั่งเศส) (อาหรับ)
  8. A. Moberg, "NASI'", The Encyclopaedia of Islam VII:977.
  9. A. Moberg, "NASI'", E.J. Brill's first encyclopaedia of Islam
  10. อัลกุรอาน 9:36-37

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]