ดี แบรดลีย์ เบเกอร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ดี แบรดลีย์ เบเกอร์
ชายหนุ่มผมเข้มใส่แว่นที่กำลังยิ้มที่ไมโครโฟน
เบเกอร์ที่ วอนเดอร์คอน ค.ศ. 2016
เกิด (1962-08-31) 31 สิงหาคม ค.ศ. 1962 (61 ปี)
บลูมิงตัน, รัฐอินดีแอนา, สหรัฐ
ศิษย์เก่าวิทยาลัยโคโลราโด
อาชีพนักพากย์
ปีปฏิบัติงานค.ศ. 1989–ปัจจุบัน
ผลงานเด่นรายชื่อทั้งหมด
คู่สมรสมิเชล เบเกอร์ (สมรส 1990)
บุตร2
เว็บไซต์deebaker.com

ดี แบรดลีย์ เบเกอร์ (เกิด 31 สิงหาคม ค.ศ. 1962) เป็นนักพากย์ชาวอเมริกัน งานของเขาส่วนใหญ่ประกอบด้วยการให้เสียงสัตว์และสัตว์ประหลาด เบเกอร์ยังมีบทบาทในซีรีส์แอนิเมชันต่าง ๆ เช่น สพันจ์บ็อบ สแควร์แพนส์, เณรน้อยเจ้าอภินิหาร, รหัสลับเด็กข้างบ้าน, แกร์วิตี้ฟอล, สตีเวน ยูนิเวิร์ส, ฟีเนียสกับเฟิร์บ, เบ็นเท็น, ตำนานแห่งคอร์ร่า, เดอะ 7ดี และ อเมริกันแดด! ผลงานพากย์เสียงของเขาในซีรีส์คนแสดง ได้แก่ เลเจนส์ออฟเดอะฮิดเดนเทมเพิล และ ช็อปทิลยูดรอป รวมถึงภาพยนตร์เช่น สเปซแจม ทะลุมิติมหัศจรรย์ และ บ็อกซ์โทรลล์ นี่แหละ..มอนสเตอร์

เบเกอร์ยังพากย์เสียงตัวละครในวิดีโอเกมเช่น เฮโล, เกียรส์ออฟวอร์, วิวตีฟูลโจ, สปอร์, เดสทินี และ โอเวอร์วอตช์ เขาเป็นที่รู้จักเป็นพิเศษจากผลงานใน ซีรีส์ทางโทรทัศน์ สตาร์ วอร์ส หลายเรื่อง โดยส่วนใหญ่เป็นเสียงให้แก่ กัปตันเร็กซ์ และ โคลนทรูปเปอร์นายอื่น ๆ ใน สตาร์ วอร์ส: เดอะ โคลน วอร์ส, สตาร์ วอร์ส เรเบลส์ และ สตาร์ วอร์ส: ทีมโคตรโคลนมหากาฬ

ชีวิตในวัยเด็ก[แก้]

เบเกอร์เกิดใน เมืองบลูมิงตัน รัฐอินเดียนา เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม ค.ศ. 1962[1][2] และโตมาในเมืองกรีลีย์ รัฐโคโลราโด[3][4] เขาเริ่มทำการแสดงเมื่ออายุเก้าขวบและทำงานเกี่ยวกับเพลง, โอเปร่า, ละครเวทีและเดี่ยวไมโครโฟนอย่างต่อเนื่อง เมื่อตอนเป็นเด็ก เขาเป็นผู้ชื่นชอบ สตาร์ เทรค, สตาร์ วอร์ส, พิภพวานร และดนตรีของ แฟรงก์ แซปพา; นอกจากนี้เขายังมีความสนใจในแมลง, สัตว์ขาปล้อง, และไดโนเสาร์อีกด้วย[5] เขาสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนมัธยมในกำกับของมหาวิทยาลัยโคโลราโด ในปี ค.ศ. 1981 และได้รับทุนโบเอทท์เชอร์[3][6]

เบเกอร์เข้าเรียนที่วิทยาลัยโคโลราโดในเมืองโคโลราโดสปริงส์ รัฐโคโลราโดซึ่งเขาศึกษาด้านปรัชญา, ชีววิทยา, วิจิตรศิลป์, และภาษาเยอรมัน โดยภาษาเยอรมันนี้เขาศึกษาในต่างประเทศเป็นเวลาหนึ่งปีที่มหาวิทยาลัยเกิททิงเงิน[7] เขามีส่วนร่วมในการผลิตละครท้องถิ่นและกลุ่มร้องเพลง หลังจากสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาปรัชญาในปี ค.ศ. 1986 เขามีส่วนร่วมในโครงการละครชุมชนหลายโครงการรวมถึงภาพยนตร์คอเมดีสเก็ตช์ที่ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์สาธารณะในท้องถิ่น[8]

อาชีพ[แก้]

เลเจนส์ออฟเดอะฮิดเดนเทมเพิล[แก้]

ในปี ค.ศ. 1989 เบเกอร์ย้ายไปที่เมืองออร์แลนโด รัฐฟลอริดาซึ่งเขาทำงานในการแสดงคอเมดีสเก็ตช์ด้นสดเรื่อง ดิอนาโตมิคัลเพลเยอรส์ ที่พาวิลเลียนวอนเดอรส์ออฟไลฟ์ของศูนย์เอ็ปคอต และเข้าร่วมโปรเจ็คต่าง ๆ ของดิสนีย์และยูนิเวอร์แซลสตูดิโอส์[2][8][9] ประสบการณ์สำคัญครั้งแรกของเขาทางรายการโทรทัศน์ระดับชาติคือในรายการเกมโชว์ของนิคคาโลเดียน เลเจนส์ออฟเดอะฮิดเดนเทมเพิล ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1993 ถึง ค.ศ. 1995 ซึ่งเขาไม่เพียงแต่เป็นผู้ประกาศเท่านั้นแต่ยังเป็น โอลเมค เทพหินยักษ์พูดได้อีกด้วย[8][10] เขาแสดงเป็นโอลเม็กด้วย "เสียงที่ใหญ่โต, ดังก้อง, ราวกับพระเจ้า" ในบางช่วงของการแสดงเขาจะเป็นผู้บรรยายเรื่องเล่าที่เป็นตำนานแล้วถามผู้เข้าแข่งขันเด็กด้วยคำถามเกี่ยวกับเกร็ดความรู้ที่เกี่ยวข้อง รายการนี้มีถึงสามซีซันและ 120 ตอน เมื่อพิธีกรรายการ เคิร์ก ฟอกก์ ย้ายไปลอสแองเจลิส เขาก็ได้รับการโน้มน้าวให้ย้ายไปที่นั่นเช่นกัน[11] ในปี ค.ศ. 2016 เขาและฟอกก์กลับมารับบทเดิมในภาพยนตร์คนแสดงทางโทรทัศน์ที่ดัดแปลงจากรายการนี้[12] เขากลับมารับบทของโอลเมคอีกครั้งเมื่อเลเจนส์ได้รับการฟื้นฟูในปี ค.ศ. 2021 สำหรับเดอะซีดับเบิลยู[13]

อาชีพนักพากย์ในช่วงแรก[แก้]

เบเกอร์ย้ายไปแคลิฟอร์เนียใต้ประมาณหนึ่งปีก่อนเกิดแผ่นดินไหวเมืองนอร์ธริดจ์ ในปี ค.ศ. 1994[3] เขามีส่วนร่วมในงานพากย์เสียง; ตัวละครหลักตัวแรกของเขาคือพ่อของง้องแง้งกับเงอะงะในการ์ตูน ง้องแง้งกับเงอะงะ และ ข้าคือวีเซิล[8] การพากย์เสียงภาพยนตร์เรื่องแรกของเขาอยู่ในภาพยนตร์ลูนีย์ตูนส์ที่มีธีมเป็นบาสเก็ตบอลเรื่อง สเปซแจม ทะลุมิติมหัศจรรย์ ซึ่งเขาให้เสียงแดฟฟี ดัก, แทซ และโทโร[8] เขาทำงานพากย์เสียงให้กับตัวการ์ตูนที่เป็นตอน ๆ และตัวละครสมทบใน การผจญภัยที่แท้จริงของจอนนีเควสท์,[14] จอห์นนี่ บราโว, ห้องทดลองของเด็กซ์เตอร์,[15] สพันจ์บ็อบ สแควร์แพนส์,[16] และ เดอะพาวเวอร์พัฟฟ์เกิลส์[17] เขาให้เสียงตัวละครนำแสดงชื่ออ็อกใน ไมค์ ลูและอ็อก[18] และบากีลาร์ในซีซันที่สองของ จังเกิลคับส์[19] ในปี ค.ศ. 2001 เขาได้รับบทบาทเพิ่มเติมให้เป็นเสียงให้แก่แซนเจ, บิงกี และตัวละครอื่น ๆ สำหรับ เดอะแฟร์ลี่อ๊อดพาเร้นท์[20][21] และร่วมแสดงเป็นพ่อของแมนดี้ใน การผจญภัยของบิลลี่และแมนดี้ เขามีบทบาทนำเป็นหมายเลข 4ใน รหัสลับเด็กข้างบ้าน[22]

ในด้านการแสดงแบบคนแสดง เขาได้เป็นพิธีกรร่วมและผู้ประกาศของเกมโชว์ ช็อปทิลยูดรอป ซึ่งมีความยาวหลายร้อยตอน ณ ตอนที่รายการนี้กลับมาออกอากาศอีกครั้งทางแฟมิลีแชนเนลและบนเครือข่ายโทรทัศน์ แพกซ์ จนกระทั่งซีรีส์ได้รับการดัดแปลงในปี 2546 สร้างโดยสโตนสแตนลีย์เอนเตอร์เทนเมนต์ซึ่งก่อนหน้านี้เคยได้ร่วมผลิต เลเจนส์ออฟเดอะฮิดเดนเทมเพิล[23] นอกจากนี้เขายังมีบทบาทสมทบเป็นประจำบนหน้าจอในฐานะฟิลเบิร์กในซีรีส์ซิทคอมของนิคคาโลเดียนเรื่อง เดอะเจอร์นีออฟอัลเลนสเตรนจ์ ซึ่งเขารับบทเป็นนักข่าวที่บ้าคลั่งที่พยายามเปิดเผยตัวตนของอัลเลนในฐานะมนุษย์ต่างดาวที่มาจากอวกาศ[24]

การสร้างสัตว์และสิ่งมีชีวิต[แก้]

เริ่มต้นด้วยการแสดงในรายการ เดอะไวลด์ธอร์นเบอรรีส์ เขาพากย์เสียงตัวละครสัตว์ต่าง ๆ มากมายซึ่งในท้ายที่สุดจะกลายเป็นหนึ่งในความสามารถพิเศษของเขา[21] เขาพากย์เสียงหมูจอร์จในภาพยนตร์สัตว์แสดงเรื่อง น้องหมูหัวใจมหัศจรรย์[25] เบเกอร์ยังเกี่ยวข้องกับรายการโทรทัศน์สำหรับเด็กเล็กเช่น ดอร่าดิเอกซ๋พลอเรอร์ ที่เขาให้เสียงสัตว์ต่าง ๆ;[26] มิกกี้เมาส์คลับเฮาส์ ที่เขาพากย์เสียงบู บู ชิกเกน;[27] จ๋อจอร์จจุ้นระเบิด ที่เขาพากย์เสียงย็อกกี,[28] ทิกเกอร์กับพูห์ ที่เขาพากย์เสียงสุนัขชื่อบัสเตอร์[29] และ เจคกับสหายโจรสลัดแห่งเนเวอร์แลนด์ (ออกอากาศทางดิสนีย์จูเนียร์) ที่เขาพากย์เสียงทิก-ท็อกซึ่งเป็นจระเข้[21] ใน เณรน้อยเจ้าอภินิหาร นั้นเขาพากย์เสียงเป็นสิ่งมีชีวิตอัพพาและโมโม[30] และเสียงสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ อีกมากมายในไม่นานหลังจากนั้น ในซีรีส์นี้รวมถึงภาคต่อ ตำนานแห่งคอร์ร่า เขาพากย์เสียงเป็นนาคา, พาบู และอูกี นอกจากนี้เขาพากย์เสียงในซีรีส์ มังกรอเมริกัน: เจค ลอง[31] และ เบ็นเท็น ซึ่งในซีรีส์เบ็นเท็น เขาพากย์เสียงสิ่งมีชีวิตต่างดาวมากมายเช่น สติงก์ฟลาย และไวลด์มัทท์ รวมถึงฉากแปลงร่างบางฉาก[21][32] นอกจากนี้เขายังพากย์เสียงในภาคต่อของ เบ็นเท็น เช่น เบ็นเท็น: พลังเอเลี่ยน,[33] เบ็นเท็น: อัลติเมทเอเลี่ยน และ เบ็นเท็น: ออมนิเวิร์ส เช่นเดียวกับภาคคนแสดงและรายการฉบับรีบูท[21][34][35] เดอร์ริก เจ. ไวเอ็ทท์ซึ่งเป็นผู้กำกับด้านศิลปะใน ออมนิเวิร์ส ตั้งข้อสังเกตว่าพวกเขาต้องอนุญาตให้นักพากย์คนอื่นแสดงเป็นเอเลี่ยนบางส่วนในซีรีส์หลัง ๆ เพราะเบเกอร์แสดงเป็นเอเลียนเกือบทั้งหมดและตัวละครบางตัวก็ทำให้เขาต้องใช้เค้นเสียงออกมามาก[34] นอกเหนือจากโทรทัศน์เขาได้พากย์เสียงนกแก้วพูดได้ของกัปตันแจ็ก สแปร์โรว์ในเครื่องเล่น ไพเรทส์ออฟเดอะแคริบเบียน ที่ได้รับการตกแต่งใหม่ที่ดิสนีย์แลนด์และแมจิกคิงดอม[9][36]

ในปี ค.ศ. 2007 เบเกอร์ได้รับบทบาทเป็นแพร์รี่เจ้าตุ่นปากเป็ดในซีรีส์ดิสนีย์เรื่อง ฟีเนียสกับเฟิร์บ โดยที่งาน ซานดิเอโก คอมิกคอน ค.ศ. 2013 เบเกอร์กล่าวว่าในตอนที่เขาออดิชัน เขาถูกขอให้สร้างเสียงสัตว์ที่แตกต่างกันสามเสียงไม่ว่ามันจะฟังดูเหมือนตุ่นปากเป็ดจริงหรือไม่ก็ตาม ซึ่งหนึ่งในเสียงนั้นถูกเลือกให้เป็นเสียงที่มีลักษณะเฉพาะของแพร์รี่[37] แพร์รี่กลายเป็นตัวละครที่แหวกแนวและโดดเด่นในซีรีส์นี้[38] โดยเบเกอร์ปรากฏตัวที่แผงคอมมิคคอนหลายรอบสำหรับรายการนี้[37] ในปี ค.ศ. 2014 แพร์รี่ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลนิคคาโลเดียนคิดส์ชอยส์อวอร์ด สาขาเพื่อนสัตว์ยอดนิยม นอกจากนี้ด้วยความบังเอิญที่ตัวละครที่พากย์เสียงอีกคนของเบเกอร์คือ วอดเดิลส์ หมูสัตว์เลี้ยงใน แกร์วิตี้ฟอล ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงในประเภทเดียวกัน[39]

งานพากย์เสียงแอนิเมชันเพิ่มเติม[แก้]

dark haired man at microphone
เบเกอร์ที่งาน ซานดิเอโก คอมิกคอน ปี ค.ศ. 2010

ในปี ค.ศ. 2005 เบเกอร์ได้รับบทบาทเป็นคลอส ไฮส์เลอร์ นักกระโดดสกีโอลิมปิกจากเยอรมนีที่ถูกสลับร่างเป็นปลาทองในซิทคอมช่วงไพรม์ไทม์เรื่อง อเมริกันแดด![40][41] ซีรีส์นี้ออกอากาศมากกว่า 15 ซีซันทางฟอกซ์และทีบีเอส โดยในการให้สัมภาษณ์กับ ป๊อปเบรก เบเกอร์กล่าวว่าเขาชอบเล่นเป็นคลอสเพราะเขารักภาษาเยอรมัน, บทซึ่งเขียนได้ดี, และไม่เค้นเสียงของเขาออกมามาก เขาเปรียบเทียบการซ้อมดั่งการอยู่ใน เดอะ แคโรล เบอร์เนทท์ โชว์[42] เขาเข้าร่วมในแผง อเมริกันแดด! ที่ซานดิเอโก คอมิกคอน ปี ค.ศ. 2010,[43] 2012,[44] และ 2014;[45] และงานนิวยอร์ก คอมิกคอน ในปี ค.ศ. 2014[46] ในปี ค.ศ. 2017 เขาได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงไพรม์ไทม์เอมมีอวอร์ดสาขาการพากย์เสียงตัวละครดีเด่น สำหรับการเป็นคลอสในตอน "Fight or Flight"[47] นอกจากนี้เขายังพากย์เสียงตัวละครอื่น ๆ ในรายการ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โรกู ซึ่งเป็นเนื้องอกที่มีชีวิตดั่งมนุษย์ที่ออกมาจากตัวของโรเจอร์

การพากย์เสียงสมาชิกสภา ทารร์ลอก ใน คอร์ร่า ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลการพากย์เสียงบีวีทีเออวอร์ดในปี ค.ศ. 2012[48][49][50] นอกเหนือจากรายการโทรทัศน์ เบเกอร์ยังพากย์เสียงตัวละครในภาพยนตร์แอนิเมชันและแอนิเมชันไลฟ์แอ็กชันหลายเรื่อง รวมถึงสัตว์ประหลาดผีคลาสสิกบางเรื่องใน สกูบี้-ดู 2: สัตว์ประหลาดหลุดอลเวง[51] และมอริซใน พนกวินกลมปุ๊กลุกขึ้นมาเต้น[21] เขายังมีบทบาทในเรื่อง สกูบี้-ดู! กับบริษัทป่วนผีไม่จำกัด ซึ่งมีการเผยแพร่โดยตรงในรูปแบบวิดีโอ

เบเกอร์มีส่วนร่วมในภาพยนตร์ สตาร์ วอร์ส: สงครามโคลน ที่ออกฉายในปี ค.ศ. 2008 และซีรีส์ทางโทรทัศน์ซึ่งตามมาภายหลังซึ่งมีถึงเจ็ดซีซัน เขาให้เสียงไม่เพียงแต่ตัวละครกัปตันเร็กซ์และผู้บัญชาการโคดีเท่านั้น แต่ยังรวมถึงตัวละครประกอบโคลนทรูปเปอร์ทั้งหมดด้วย[52][53][54] ซึ่งโคลนทรูปเปอร์นี้ทำให้เขาได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลแอนนีอวอร์ดส์ สาขาการแสดงเสียงในการผลิตรายการโทรทัศน์ในปี ค.ศ. 2012[55] เขายังกลับมารับบทกัปตันเร็กซ์ใน สตาร์ วอร์ส เรเบลส์ ตั้งแต่ซีซันที่สอง นอกจากนี้เขายังพากย์เสียงโบบา เฟทท์สำหรับ สตาร์ ทัวรส์ – ดิแอดเวนเทอรส์คอนทินิว[9] ในรายการ แฟมิลีกาย ปี ค.ศ. 2011 ตอน "It's a Trap!" ซึ่งเป็นการล้อเลียนภาพยนตร์ สตาร์ วอร์ส เรื่อง ชัยขนะของเจได เขาให้เสียงคลอสเป็นพลเรือเอกแอ็คบาร์[56] ในปี ค.ศ. 2021 เขาได้กลับมารับบทโคลนใน ทีมโคตรโคลนมหากาฬ ซึ่งเป็นภาคแยกของ เดอะ โคลน วอร์ส ซึ่งเป็นกลุ่มโคลนทดลองอันโด่งดัง[57][58] ในปี ค.ศ. 2023 เขาได้รับการประกาศให้เป็นนักพากย์ในวิดีโอเกม สตาร์ วอร์ส เอ้าท์ลอวส์ โดยรับบทเป็นนิกซ์ซึ่งเป็นสหายผู้ภักดีของเคย์ เวสส์[59]

วิดีโอเกม การแสดงด้วยเสียง และโปรเจ็คอื่น ๆ[แก้]

ในเรื่องของวิดีโอเกม เบเกอร์กลับมารับบทของเขาในเกมมากมายที่เกี่ยวข้องกับการ์ตูนเน็ตเวิร์คและนิคคาโลเดียน นอกจากนี้เขายังพากย์เสียงเกรฟมายด์ใน เฮโล 2 และ เฮโล 3,[21] และตัวละครหลัก โจ ในซีรีส์ วิวติฟูลโจ ที่ออกฉายตั้งแต่ปี ค.ศ. 2003 ถึง 2005[60] เขาให้เสียงสิ่งมีชีวิตสำหรับวิดีโอเกม สปอร์ ซึ่งให้ผู้เล่นสามารถสร้างและพัฒนาสิ่งมีชีวิตของตนเองได้[61][62] ในคืนเปิดตัวของงานซานดิเอโก คอมมิกคอน ค.ศ. 2008 เขาเป็นนักแสดงรับเชิญในคอนเสิร์ต วิดีโอเกมส์ไลฟ์ ซึ่งเขาพากย์เสียงตัวละครจาก เกียรส์ออฟวอร์ และซีรีส์อื่น ๆ[63] เขาให้เสียงตัวละครของบลิซซาร์ดเอ็นเตอร์เทนเมนต์สองตัวได้แก่ เมอร์กีซึ่งเป็นเด็กทารกเผ่าเมอร์ล็อคใน ฮีโร่ออฟเดอะสตอร์ม และแฮมมอนซึ่งเป็นหนูแฮมสเตอร์ดัดแปลงพันธุกรรมใน โอเวอร์วอตช์[64] นอกจากนี้เขายังเป็นผู้ให้เสียงเป็นเหล่าคนตายใน ดันเตส์อินเฟอร์โน ซึ่งเปิดตัวในปี ค.ศ. 2010[62] แอตลาสและพี-บอดีใน พอร์ทัล 2 ซึ่งเปิดตัวในปี ค.ศ. 2011[63] นอกจากนี้เขายังพากย์เสียงหมู รูเบ็น ใน ไมน์คราฟต์: สตอรีโหมด ในปี ค.ศ. 2014

ในปี ค.ศ. 2014 เบเกอร์ให้เสียงใน อเมริกันแดด!, แกร์วิตี้ฟอล และ ตำนานแห่งคอร์ร่า ซีซันที่สี่ เขาพากย์เสียงโดเปย์ในซีรีส์ดิสนีย์เอ็กซ์ดี เดอะ 7ดี;[64] และปลา ล้อและถังในภาพยนตร์เรื่อง บ็อกซ์โทรลล์ นี่แหละ..มอนสเตอร์[65][66][67] ซึ่งเขาได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลแอนนีอวอร์ดจากการพากย์เสียงเป็นปลา[68][69] ในวิดีโอเกม เลโก้ แบทแมน 3: บียอนด์ก็อธแธม เขาพากย์เสียงเบรนนีแอก[70] เขาพากย์เสียงจอร์จ คลูนีย์และสุนัขของเขาใน "The Animated Episode" ของซีรีส์ของทีวีแลนด์เรื่อง ฮอตอินคลีฟแลนด์[71] ในปี ค.ศ. 2020 เขาพากย์เสียงฮีโร่ชื่อ ลีฟ ใน ร็อกเก็ตอารีน่า[72]

เบเกอร์ปรากฏตัวตามแผงต่าง ๆ ในงานคอมิกคอนและงานประชุมอื่น ๆ ซึ่งเขาพูดถึงเกี่ยวกับการพากย์เสียงโดยทั่วไป[73] นอกจากนี้เขายังสร้างเว็บไซต์ชื่อ IWantToBeAVoiceActor.com ซึ่งเขาตอบคำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการพากย์เสียงและให้คำแนะนำ[66] เว็บไซต์ดังกล่าวได้รับการอ้างถึงโดยเพื่อนนักพากย์อย่างสตีเวน บลัมและร็อบ พอลเซนว่าเป็นแหล่งข้อมูลอันมีค่าสำหรับการเข้าสู่วงการพากย์เสียง[7][74]

ผลงาน[แก้]

ชีวิตส่วนตัว[แก้]

เบเกอร์พบกับภรรยาของเขาตอนที่พวกเขากำลังแสดงละครสำหรับเด็กที่ศูนย์วิจิตรศิลป์โคโลราโดสปริงส์[2][3][8] ทั้งคู่แต่งงานกันในปี ค.ศ. 1990 และมีลูกสาวสองคน[3][8] พวกเขาอาศัยอยู่ในลอสแองเจลิส

นอกเหนือจากการพากย์เสียงแล้ว เบเกอร์ยังชื่นชอบการถ่ายภาพโดยส่วนใหญ่ถ่ายภาพดอกไม้และแมลงเล็ก ๆ[66][75] เขาพูดภาษาเยอรมันได้คล่อง[7][76]

อ้างอิง[แก้]

  1. Gigoux, Chris (August 31, 2011). "Happy Birthday, Dee Bradley Baker!". GeekDad. Wired.com. สืบค้นเมื่อ October 7, 2014.
  2. 2.0 2.1 2.2 Whitmore, Laurie (August 30, 1991). "Baker Fits The Bill In 'West Side Story'". Orlando Sentinel. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-12-16. At the age of 28, Baker is among the lucky minority of entertainers who can call themselves working actors
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 England, Dan (February 14, 2007). "Vocal vocation: Greeley native makes a living voicing characters in films, TV shows". Greeley Tribune. สืบค้นเมื่อ August 7, 2018.
  4. "Dee Bradley Baker". Television Academy. สืบค้นเมื่อ December 17, 2019.
  5. Zev Suissa (April 11, 2013). VO Studio: Dee Baker. VO Studio.
  6. "Featured Scholar Profiles – Under Water is a Good Thing". Boettcher Foundation. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 21, 2015. สืบค้นเมื่อ September 17, 2014.
  7. 7.0 7.1 7.2 Whitten, Emily S. (August 11, 2013). Emily S. Whitten: Dee Bradley Baker is an Animal!. ComicMix. – includes YouTube interview
  8. 8.0 8.1 8.2 8.3 8.4 8.5 8.6 "Dee Bradley Baker '86" (PDF). Colorado College. สืบค้นเมื่อ September 17, 2014.
  9. 9.0 9.1 9.2 Full Voices of the Disney Theme Parks presentation from D23 Expo 2011 (YouTube). Attractions Magazine. August 27, 2011. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-12-12. สืบค้นเมื่อ September 19, 2012. – 4 minutes in for Pirates, 15 minutes in for Boba Fett
  10. Dee Bradley Baker [@deebradleybaker] (May 25, 2013). ""Legends of the Hidden Temple was my 1st show. Forever a fan favorite! RT @The90sLife: Olmec #beststatuesofthe90s"" (ทวีต). สืบค้นเมื่อ December 13, 2014 – โดยทาง ทวิตเตอร์.
  11. Etkin, Jamie (September 11, 2013). "The Legend Of "Legends Of The Hidden Temple," As Told By Kirk Fogg and Olmec". BuzzFeed.
  12. McClendon, Lamarco (June 22, 2016). "TV News Roundup: 'Legends of the Hidden Temple' Revival Brings Back Original Olmec; Brian Austin Green Joins 'Rosewood'". Variety. สืบค้นเมื่อ July 13, 2016.
  13. "Dee Bradley Baker coming back to voice Olmec for Legends Of The Hidden Temple". The A.V. Club (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2021-07-22. สืบค้นเมื่อ 2022-08-28.
  14. "Future Rage". The Real Adventures of Jonny Quest. ฤดูกาล 1. ตอน 24. October 29, 1996.
  15. "Streaky Clean/A Dad Cartoon/Sole Brother". Dexter's Laboratory. ฤดูกาล 3. ตอน 1. 2001.
  16. Brooks & Marsh 2009, p. 1285
  17. "Him Diddle Riddle". The Powerpuff Girls. ฤดูกาล 4. ตอน 4. June 21, 2002.
  18. Brooks & Marsh 2009, p. 895
  19. Terrace 2008, p. 549
  20. Terrace 2008, p. 322
  21. 21.0 21.1 21.2 21.3 21.4 21.5 21.6 "Behind the Voice Actors – Dee Bradley Baker". Behind the Voice Actors. สืบค้นเมื่อ February 3, 2017. Check mark indicates BTVA has verified the entries using screenshots of credits and other confirmed sources.{{cite web}}: CS1 maint: postscript (ลิงก์)
  22. Brooks & Marsh 2009, p. 268
  23. Brooks & Marsh 2009, pp. 1230–1231
  24. Brooks & Marsh 2009, p. 717
  25. FilmRise movies. My Brother the Pig – Starring Scarlett Johansson – Full Movie. เหตุการณ์เกิดขึ้นที่ Closing credits – โดยทาง YouTube.
  26. "Boots Cuddly Dinosaur". Dora the Explorer.
  27. "Mickey Goes Fishing". Mickey Mouse Clubhouse. ฤดูกาล 1. ตอน 5.
  28. "No Knowing Gnocchi / Here Comes the Tide". Curious George. ฤดูกาล 6. ตอน 10.
  29. "Frankenweenie Blu-ray 3D, Blu-ray & DVD Review". DVDizzy.com. สืบค้นเมื่อ September 30, 2014.
  30. Brooks & Marsh 2009, p. 88
  31. Goode, Jeff. "American Dragon: Jake Long – episode 219 – "A Ghost Story" – by Chris Nee". Jeff Goode Official Website. สืบค้นเมื่อ October 4, 2014.
  32. Brooks & Marsh 2009, p. 123
  33. Terrace 2008, p. 89
  34. 34.0 34.1 Wyatt, Derrick J. "Will Humungousaur, Cannonbolt, Spidermonkey be voiced by Dee Bradley Baker in Omniverse, or will it be by someone else?". Formspring. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ เมษายน 12, 2013.
  35. Wyatt, Derrick J. "What made everyone decide to have a variety of voice actors voicing the Ben 10 aliens? (Dee Bradley Baker voicing every alien besides Rath was the dumbest idea in the universe...)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ เมษายน 12, 2013.
  36. "Star Wars Weekends: Send In The Clones! – The DIS Unplugged Disney Podcast". www.disunplugged.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 13, 2013. สืบค้นเมื่อ November 18, 2017.
  37. 37.0 37.1 Full Phineas and Ferb panel at San Diego Comic-Con 2013 including Marvel, Star Wars (YouTube). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-12-12. สืบค้นเมื่อ October 10, 2014.
  38. Littleton, Cynthia (November 20, 2009). "'Phineas' star Perry makes mark on auds". Variety. สืบค้นเมื่อ November 26, 2009.
  39. Brown, Laurel (March 20, 2014). "Kids' Choice Awards 2014 Full Winners List". Zap2It. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 22, 2014. สืบค้นเมื่อ October 10, 2014.
  40. "Roger Video | Movie Clips & Character Interview". Ovguide.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ พฤษภาคม 21, 2013. สืบค้นเมื่อ เมษายน 9, 2013.
  41. McEwen, Lauren (October 8, 2012). "'American Dad': One of the most sophisticated mainstream shows on African American culture – The Root DC Live". The Washington Post. สืบค้นเมื่อ April 1, 2013.
  42. Kalamar, Luke (November 3, 2014). "American Dad Interview Series: Dee Bradley Baker & Rachael MacFarlane". Pop-Break.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 13, 2014. สืบค้นเมื่อ December 13, 2014.
  43. "'Caprica' will be there, 'Game of Thrones' will not: The Comic-Con lineup". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 23, 2014. สืบค้นเมื่อ October 18, 2014.
  44. "'Glee' Cast and Creators Return to Comic-Con 2012 in Star-Studded Panel Saturday, July 14 - Ratings - TVbytheNumbers.Zap2it.com". TVbytheNumbers. June 13, 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 13, 2012. สืบค้นเมื่อ October 18, 2014.
  45. "Comic-Con 2014 Saturday Programs". Comic-Con International: San Diego. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 23, 2014. สืบค้นเมื่อ October 18, 2014.
  46. "New York Comic Con 2014: 'American Dad's' move to TBS brings strong story with more dirty words to new season". NY Daily News. October 12, 2014. สืบค้นเมื่อ October 18, 2014.
  47. "Dee Bradley Baker". Television Academy. สืบค้นเมื่อ December 17, 2019.
  48. Terrace 2008, p. 832
  49. Perlmutter 2014, p. 367
  50. "2012 Annual BTVA Voice Acting Awards". Behind the Voice Actors. สืบค้นเมื่อ September 22, 2014.
  51. "Scooby-Doo 2: Monsters Unleashed (2004) – Cast and Crew". AllMovie. สืบค้นเมื่อ September 23, 2014.
  52. Moody, Annemarie (October 23, 2008). "Dee Bradley Baker Discusses Voicing The Clones in Star Wars: The Clone Wars". Animation World Magazine.
  53. "New "Voicing an Army" BTS Clip from "Star Wars: The Clone Wars"". Toon Zone News. September 17, 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-12-01. สืบค้นเมื่อ 2024-04-18.
  54. Goldman, Eric (September 6, 2011). "Star Wars: The Clone Wars – What's Next for Rex?". IGN.
  55. "39th Annie Awards". Annie Awards. สืบค้นเมื่อ September 17, 2014.
  56. Manco, Emanuele (December 24, 2010). "Family Guy: It's a Trap". Fantasy Magazine (ภาษาอิตาลี). สืบค้นเมื่อ August 29, 2011.
  57. Oller, Jacob; Carter, Justin (December 10, 2020). "Star Wars' (almost) most famous clones are back in The Bad Batch first teaser". SyFy Wire. สืบค้นเมื่อ December 17, 2020.
  58. Entertainment Tonight (May 4, 2021). Star Wars: The Bad Batch: Dee Bradley Baker Breaks Down Each Clone's Voice. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-12-12 – โดยทาง YouTube.
  59. Dustin Bailey (2023-06-12). "Star Wars: Outlaws' adorable animal companion is played by the franchise's most prolific voice actor". gamesradar (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2023-06-12.
  60. Clover Studio (October 7, 2013). Viewtiful Joe. Capcom. Scene: Closing credits, Voices.
  61. Jackson, Blair (September 1, 2008). "SFP: The Magical World of "Spore"". Mix. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-10-08. สืบค้นเมื่อ September 15, 2015.
  62. 62.0 62.1 Verrier, Richard; Fritz, Ben (December 7, 2009). "Video game voice actors worry they're getting shortchanged". latimes.com. สืบค้นเมื่อ October 7, 2014.
  63. 63.0 63.1 "Video Games Live to Perform with the San Diego Symphony During Opening Night of Comic-Con". Anime News Network. สืบค้นเมื่อ October 7, 2014.
  64. 64.0 64.1 "A live look inside Blizzard's voice acting with Dee Bradley Baker and BAFTA". Blizzard Watch (ภาษาอังกฤษ). January 29, 2019. สืบค้นเมื่อ December 20, 2019.
  65. Szabo, Barbara (March 7, 2007). "Talent Agent Lectures for Mary Pickford Series". Corsair Newspaper – Santa Monica College. สืบค้นเมื่อ October 19, 2014 – โดยทาง California Digital Newspaper Collection.
  66. 66.0 66.1 66.2 Liu, Ed (September 25, 2014). "Toonzone Interviews Dee Bradley Baker & Steve Blum on How to Speak Boxtroll". Toonzone. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 1, 2015. สืบค้นเมื่อ September 30, 2014.
  67. "DT Interviews "Boxtrolls" Voice and Sound Artist, Dee Baker". Digital-Tutors Blog. สืบค้นเมื่อ October 7, 2014.
  68. "42nd Annual Annie Award Nominees". สืบค้นเมื่อ December 1, 2014.
  69. "The Boxtrolls – Movie Overview". Focus Features. NBC Universal. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 22, 2014. สืบค้นเมื่อ September 2, 2014. – Cast & Crew
  70. Hilliard, Kyle (August 2, 2014). "Lego Batman's Troy Baker On More Last Of Us And Dee Bradley Baker On Left 4 Dead". Game Informer.
  71. "The Animated Episode". Hot in Cleveland. ฤดูกาล 5. ตอน 18. กรกฎาคม 30, 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ ตุลาคม 6, 2014.
  72. Rocket Arena [@RocketArena] (October 19, 2020). "Happy jet fueled Monday! It may come as no surprise that the ever so awesome @deebradleybaker voiced our new Season 2 hero, Leef! Maybe Dee holds the key to knowing what Leef is actually saying? #LETSROCKET" (ทวีต). สืบค้นเมื่อ December 30, 2020 – โดยทาง ทวิตเตอร์.
  73. Freeman, Crispin (July 24, 2011). "Comic Con Panel with Dee Bradley Baker and Chris Borders". Voice Acting Mastery: Become a Master Voice Actor in the World of Voice Over. สืบค้นเมื่อ October 22, 2014.
  74. Rob Paulsen (July 20, 2012). "050 – Yuri Lowenthal and Tara Platt on Talkin Toons with Rob Paulsen – Weekly Voice Acting and Voice Over Tips". Talkin Tools (Podcast). Tech Jives Network. เหตุการณ์เกิดขึ้นที่ 43. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 17, 2014. สืบค้นเมื่อ November 22, 2014.
  75. Great Big Story (September 11, 2019). Meet the Voice Actor Behind Hollywood's Monsters and Creatures. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-12-12. สืบค้นเมื่อ December 17, 2019 – โดยทาง YouTube.
  76. Talkin' Toons with Rob Paulsen, episode "Dee Bradley Baker"
การอ้างอิงหนังสือ

ดูเพิ่ม[แก้]