สตาร์ เทรค
สตาร์ เทรค Star Trek | |
---|---|
![]() โลโก้ สตาร์ เทรค ที่ปรากฏใน ดิออริจินอลซีรีส์ | |
สร้างโดย | ยีน ร็อดเดนเบอร์รี |
งานต้นฉบับ | สตาร์ เทรค: ดิออริจินอลซีรีส์ |
เจ้าของ | พาราเมาต์โกลบอล |
สื่อสิ่งพิมพ์ | |
หนังสือ | |
นวนิยาย | รายชื่อนวนิยาย |
การ์ตูน | รายชื่อการ์ตูน |
นิตยสาร |
|
ภาพยนตร์และโทรทัศน์ | |
ภาพยนตร์ | ภาพยนตร์ ดิออริจินอลซีรีส์
ภาพยนตร์ เดอะเน็กซ์เจเนอเรชัน
ภาพยนตร์รีบูต (เส้นเวลา แคลวิน)
|
ละครโทรทัศน์ | ออกอากาศทางโทรทัศน์
สตรีมมิง
|
แอนิเมชันซีรีส์ |
|
ภาพยนตร์โทรทัศน์สั้น | ชอร์ตเทรคส์ (2018–2020) |
เกม | |
ดั้งเดิม | รายชื่อเกมส์ |
เบ็ดเตล็ด | |
สวนสนุก |
|
นิทรรศการ |
|
เว็บไซต์ทางการ | |
www |
สตาร์ เทรค (อังกฤษ: Star Trek) เป็นสื่อแฟรนไชส์อเมริกันแนวนิยายวิทยาศาสตร์ สร้างโดย ยีน ร็อดเดนเบอร์รี โดยเริ่มต้นจากละครโทรทัศน์ชื่อเดียวกันที่ออกอากาศเมื่อทศวรรษ 1960 และก่อให้เกิดปรากฏการณ์วัฒนธรรมประชานิยมทั่วโลกอย่างรวดเร็ว แฟรนไชส์มีการขยายไปยังสื่อต่าง ๆ ได้แก่ ภาพยนตร์หลายเรื่อง, ละครโทรทัศน์หลายชุด, วิดีโอเกม, นวนิยายและหนังสือการ์ตูน สตาร์ เทรค เป็นหนึ่งในสื่อแฟรนไชส์ที่เป็นที่รู้จักและทำรายได้สูงสุดตลอดกาล โดยทำเงินประมาณ 1.06 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ[1][2][3]
แฟรนไชส์เริ่มต้นด้วย สตาร์ เทรค: ดิออริจินอลซีรีส์ โดยออกอากาศครั้งแรกในสหรัฐเมื่อวันที่ 8 กันยายน ค.ศ. 1966 และออกอากาศสามปีทางช่องโทรทัศน์ เอ็นบีซี ละครชุดเล่าเรื่องราวการเดินทางของยานอวกาศ ยูเอสเอส เอนเทอร์ไพรส์ ยานพาหนะสำรวจอวกาศสร้างโดย สหพันธ์แห่งดวงดาว ในช่วงศตวรรษที่ 23 โดยมีวัตถุประสงค์คือ "สำรวจโลกใหม่ที่ไม่รู้จัก เพื่อเสาะหาชีวิตใหม่ ๆ และอารยธรรมใหม่ ๆ เพื่อก้าวไปอย่างกล้าหาญ ณ ที่ซึ่งไม่เคยมีมนุษย์คนใดเคยไปมาก่อน!" ในการสร้างสรรค์ สตาร์ เทรค ร็อดเดนเบอร์รี ได้รับแรงบัลดาลใจมาจากนวนิยายชุด โฮเรโช ฮอร์นโบลเวอร์ ของ ซี. เอส. ฟอเรสเตอร์, การเดินทางของกัลลิเวอร์ ของ โจนาธาน สวิฟท์ และละครโทรทัศน์แนวตะวันตก เช่น แวกอนเทรน
เส้นเรื่องหลักของ สตาร์ เทรค ประกอบด้วย ดิออริจินอลซีรีส์, ละครโทรทัศน์แยกอีกเก้าชุด, ภาพยนตร์ชุด และการดัดแปลงเพิ่มเติมในสื่อต่าง ๆ หลัง ดิออริจินอลซีรีส์ จบ การผจญภัยของตัวละครเดิม ดำเนินต่อไปใน สตาร์ เทรค: ดิแอะนิเมเต็ดซีรีส์ จำนวน 22 ตอนและภาพยนตร์อีกหกเรื่อง ตั้งแต่ทศวรรษ 1980 เริ่มมีการกลับมาสร้างละครโทรทัศน์ สตาร์ เทรค อีกครั้ง โดยเป็นละครโทรทัศน์สามชุดที่มีเนื้อเรื่องต่อจาก ดิออริจินอลซีรีส์ และเนื้อเรื่องก่อน ดิออริจินอลซีรีส์ ได้แก่ สตาร์ เทรค: เดอะเน็กซ์เจเนอเรชัน เป็นการติดตามลูกเรือของยานอวกาศ เอนเทอร์ไพรส์ ลำใหม่ โดยดำเนินเรื่องหลังละครโทรทัศน์ชุด ดิออริจินอลซีรีส์ หนึ่งศตวรรษ, สตาร์ เทรค: ดีพสเปซไนน์ และ สตาร์ เทรค: วอยเอเจอร์ ดำเนินเรื่องช่วงเวลาในช่วงเดียวกับ เดอะเน็กซ์เจเนอเรชัน และ สตาร์ เทรค: เอนเทอร์ไพรส์ ดำเนินเรื่องก่อน ดิออริจินอลซีรีส์ ในช่วงแรกของการเดินทางระหว่างดวงดาวของมนุษย์ การผจญภัยของลูกเรือ เดอะเน็กซ์เจเนอเรชัน ดำเนินต่อไปในภาพยนตร์อีกสี่เรื่อง เมื่อปี ค.ศ. 2009 ภาพยนตร์ชุดได้รับการรีบูต ก่อให้เกิดเส้นเวลาใหม่ เรียกว่า เส้นเวลาแคลวิน โดยมีภาพยนตร์สามเรื่องถูกสร้างขึ้นที่ดำเนินเรื่องในเส้นเวลานี้ ละครโทรทัศน์ สตาร์ เทรค ล่าสุดที่ได้รับการฟื้นฟูใหม่ เริ่มต้นในปี ค.ศ. 2017 ได้แก่ ดิสคัฟเวอรี่, พิคาร์ด, ชอร์ตเทรคส์, โลเวอร์เดกส์, สตาร์ เทรค: พรอดิจี และ สเตรนจ์นิวเวิร์ลส์ สามารถรับชมได้เฉพาะบนแพลตฟอร์มดิจิทัล
สตาร์ เทรค ทำให้เกิดปรากฏการณ์ลัทธิขึ้นเป็นเวลาหลายทศวรรษ[4] แฟนของแฟรนไชส์นี้มักเรียกว่า "เทรคกี" (Trekkie) หรือ "เทรคเกอร์" (Trekkers) แฟรนไชส์ยังได้มีการขยายไปยังสื่อต่าง ๆ เช่น เกม, รูปแกะสลัก, นวนิยาย, ของเล่นและการ์ตูน สตาร์ เทรค เคยมีสวนสนุกตั้งอยู่ที่ลาสเวกัส ซึ่งเปิดเมื่อ ค.ศ. 1998 และปิดเมื่อเดือนกันยายน ค.ศ. 2008 มีสองพิพิธภัณฑ์นิทรรศการของสิ่งของต่าง ๆ ซึ่งเดินทางไปทั่วโลก ซีรีส์นั้นเต็มไปด้วยภาษาประดิษฐ์ เช่น ภาษาคลิงงอน สตาร์ เทรค ถูกนำไปล้อเลียนอยู่บ่อยครั้ง นอกจากนี้ ผู้ชมยังได้มีการผลิตผลงาน สตาร์ เทรค ด้วยตัวเอง
สตาร์ เทรค ถูกตั้งข้อสังเกตว่ามีอิทธิพลทางวัฒนธรรมเกินกว่าผลงานของนิยายวิทยาศาสตร์[5] และจุดยืนด้านสิทธิพลเมืองที่ก้าวหน้า[6] ดิออริจินอลซีรีส์ เป็นหนึ่งในรายการโทรทัศน์แรกที่มีนักแสดงหลากหลายเชื้อชาติที่ออกอากาศในสหรัฐ
แนวคิดและฉากหลัง[แก้]
ในช่วงต้นปี ค.ศ. 1964 ยีน ร็อดเดนเบอร์รี ได้เสนอโครงเรื่องย่อสำหรับละครโทรทัศน์แนวนิยายวิทยาศาสตร์ซึ่งต่อมากลายเป็น สตาร์ เทรค ถึงแม้ว่าเขาจะโฆษณาว่าเป็น แนวตะวันตกนอกโลก—เรียกว่า "แวกอนเทรน ไปยังดวงดาว"—เขาบอกเพื่อนเป็นการส่วนตัวว่าเขาลอกเลียนแบบมาจาก การเดินทางของกัลลิเวอร์ ของ โจนาธาน สวิฟท์ ตั้งใจให้แต่ละตอนมีการแสดงอยู่สองระดับ: เป็นเรื่องราวการผจญภัยที่น่าตื่นเต้นและเป็นนิทานสอนเรื่องคุณธรรม[7][8][9][10]
เรื่องราวของ สตาร์ เทรค ส่วนใหญ่แสดงให้เห็นถึงการผจญภัยของมนุษย์[b] และเอเลี่ยนซึ่งเข้าประจำการในสตาร์ฟลีต, กองกำลังด้านมนุษยธรรมและรักษาสันติภาพของสหพันธ์แห่งดวงดาว ตัวละครเอกมีความไม่เห็นแก่ตัวและจะต้องใช้อุดมคติเหล่านี้กับอุปสรรคที่ยากลำบาก
ความขัดแย้งและมิติทางการเมืองมากมายใน สตาร์ เทรค เป็นตัวแทนอุปมานิทัศน์ของความเป็นจริงในวัฒนธรรมร่วมสมัย ดิออริจินอลซีรีส์ ต้องการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในทศวรรษ 1960 เช่นเดียวกับละครโทรทัศน์ชุดหลังที่สะท้อนปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในทศวรรษนั้น ๆ ที่ออกอากาศ[11] ปัญหาที่ปรากฏในละครโทรทัศน์ ประกอบด้วย สงครามและสันติภาพ, ค่าของความจงรักภักดีส่วนบุคคล, ลัทธิอำนาจนิยม, จักรวรรดินิยม, การต่อสู้ระหว่างชนชั้น, เศรษฐศาสตร์, คตินิยมเชื้อชาติ, ศาสนา, สิทธิมนุษยชน, ลัทธิกีดกันทางเพศ, คตินิยมสิทธิสตรีและบทบาทของเทคโนโลยี[12]:57 ร็อดเดนเบอร์รี กล่าวว่า: "[ในการสร้าง] โลกใหม่ที่มีกฎระเบียบใหม่, ผมสามารถออกแถลงการณ์เกี่ยวกับเรื่องเพศ, ศาสนา, เวียดนาม, การเมืองและขีปนาวุธข้ามทวีป อันที่จริงเราใส่สิ่งเหล่านั้นลงไปใน สตาร์ เทรค เรากำลังส่งสารออกไปและโชคดีที่พวกเขาทุกคนได้รับมันจากเครือข่ายโทรทัศน์"[12]:79 "ถ้าคุณพูดถึงคนสีม่วงบนดาวเคราะห์ที่ห่างไกล, พวกเขา (เครือข่ายโทรทัศน์) ไม่เคยเข้าใจเลย พวกเขากังวลเรื่องร่องอกของผู้หญิงมากกว่า พวกเขาจะส่งคนเซ็นเซอร์ลงไปที่ฉากกองถ่ายเพื่อวัดร่องอกของผู้หญิงจริง ๆ เพื่อให้แน่ใจว่าหน้าอกของเธอไม่แสดงมากเกินไป"[13]
ร็อดเดนเบอร์รีตั้งใจให้รายการมีวาระทางการเมืองที่ก้าวหน้าเพื่อสะท้อนให้เห็นถึงการต่อต้านวัฒนธรรมที่เกิดขึ้นจากการเคลื่อนไหวของขบวนการคนหนุ่มสาว แม้ว่าเขาจะไม่เต็มใจให้ข้อมูลแก่เครือข่ายเกี่ยวกับเรื่องนี้ เขาต้องการให้ สตาร์ เทรค แสดงสิ่งที่มนุษยชาติอาจพัฒนาไปสู่ ถ้าเรียนรู้จากบทเรียนในอดีต โดยเฉพาะอย่างยิ่งโดยการยุติความรุนแรง ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือมนุษย์ต่างดาวจากดาววัลแคน ที่ในอดีตใช้แต่ความรุนแรง แต่พวกเขาเรียนรู้ที่จะควบคุมอารมณ์ของตัวเอง ร็อดเดนเบอร์รียังให้ สตาร์ เทรค ส่งสารต่อต้านสงครามและให้สหพันธ์แห่งดวงดาวเป็นเหมือนองค์การสหประชาชาติในอุดมคติที่มองโลกในแง่ดี[14] ความพยายามของเขาถูกต่อต้านโดยเครือข่ายเนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับศักยภาพด้านการตลาด เช่น พวกเขาคัดค้านการยืนกรานของร็อดเดนเบอร์รีว่า เอนเทอร์ไพรส์ ต้องมีลูกเรือหลากหลายเชื้อชาติ[15]
ประวัติการสร้าง[แก้]
เส้นเวลา[แก้]

ยุค ดิออริจินอลซีรีส์ (1965–1969)[แก้]

เมื่อต้นปี ค.ศ. 1964 ยีน ร็อดเดนเบอร์รี ได้เสนอโครงเรื่องย่อสำหรับละครโทรทัศน์ให้กับ เดซิลูโปรดักชันส์ เรียกว่าเป็น "แวกอนเทรน ไปยังดวงดาว"[16] เดซิลูทำงานร่วมกับร็อดเดนเบอร์รีในการพัฒนาโครงเรื่องจนกลายเป็นบทละครโทรทัศน์ ซึ่งต่อมาได้ไปเสนอต่อเอ็นบีซี[17]
เอ็นบีซี ออกทุนสร้างทำตอนนำร่อง มีชื่อตอนว่า "กรง (The Cage)" นำแสดงโดย เจฟฟรีย์ ฮันเตอร์ เป็น กัปตัน คริสโตเฟอร์ ไพค์ ของยานเอนเทอร์ไพรส์ เอ็นบีซีปฏิเสธตอนนำร่องนี้ แต่ว่าผู้บริหารยังคงประทับใจในแนวคิดนี้ และทำการตัดสินใจที่แปลกโดยการสั่งให้สร้างตอนนำร่องตอนที่สอง มีชื่อตอนว่า "ที่ที่ไม่มีมนุษย์คนใดเคยไปเยือนมาก่อน (Where No Man Has Gone Before)"[17]
ขณะที่เรตติงรายการในช่วงแรกนั้นสูง เรตติงเฉลี่ยหลังจบปีที่หนึ่งนั้นร่วงลงไปที่ 52 จาก 94 รายการ เอ็นบีซีขู่ว่าจะยกเลิกรายการระหว่างการออกอากาศปีที่สองเพราะไม่พอใจที่เรตติงรายการต่ำ[18] ฐานแฟนคลับของรายการ นำโดย โย ทริมเบิล ทำการรณรงค์การเขียนจดหมายร้องเรียนเป็นประวัติการณ์ให้เครือข่ายนั้นรักษารายการไว้[18][19] เอ็นบีซีต่ออายุรายการแต่ว่าย้ายเวลาออกอากาศจากช่วงไพร์มไทม์ไป "ช่วงมรณะในคืนวันศุกร์" (20:00 น. ถึง 23:00 น.) เพื่อเป็นการลดต้นทุนของรายการ[20] ร็อดเดนเบอร์รี ประท้วงด้วยการลาออกจากการเป็นผู้อำนวยการสร้างและลดการมีส่วนร่วมโดยตรงของเขาใน สตาร์ เทรค ทำให้ เฟรด ไฟร์เบอร์เกอร์ ทำหน้าที่แทนในปีที่สามซึ่งเป็นปีสุดท้ายของรายการ[c] แม้จะมีการรณรงค์เขียนจดหมายมาอีก เอ็นบีซีก็ยกเลิกรายการหลังออกอากาศได้สามปี จำนวนตอนทั้งหมด 79 ตอน[17]
การเกิดใหม่หลัง ดิออริจินอลซีรีส์ (1969–1991)[แก้]
หลังดิออริจินอลซีรีส์ถูกยกเลิก เดซิลูซึ่งตอนนั้นได้ถูกเปลี่ยนชื่อพาราเมาต์เทเลวิชันแล้ว ได้รับใบอนุญาตในการออกอากาศหลายช่อง เพื่อช่วยชดเชยค่าถ่ายทำที่เสียไป การออกอากาศซ้ำเริ่มช่วงปลายปี ค.ศ. 1969 และในช่วงปลายทศวรรษ 1970 รายการได้ออกอากาศในประเทศมากกว่า 150 ช่องและในตลาดต่างประเทศอีก 60 ช่อง ช่วยทำให้ สตาร์ เทรค เกิดการสร้างลักธิตามมามากกว่าความนิยมในช่วงออกอากาศครั้งแรก[21]
สัญญาณหนึ่งของความนิยมที่เพิ่มขึ้นของรายการนั้นคือ งานประชุม สตาร์ เทรค ครั้งแรก จัดขึ้นเมื่อวันที่ 21–23 มกราคม ค.ศ. 1972 ที่เมืองนิวยอร์ก แม้ว่าในตอนแรกนั้นคาดว่าจะมีผู้เข้าร่วมเพียงไม่กี่ร้อยคนเท่านั้น สุดท้ายมีแฟนหลายพันคนมาเข้าร่วมงานด้วย แฟน สตาร์ เทรค ยังคงเข้าร่วมงานลักษณะนี้ทั่วโลกอย่างต่อเนื่อง[22]
การประสบความสำเร็จใหม่อีกครั้งของรายการนำไปสู่แนวคิดในการฟื้นฟูแฟรนไชส์[23] ฟิลเมชันร่วมกับพาราเมาต์เทเลวิชัน สร้าง สตาร์ เทรค: ดิแอะนิเมเต็ดซีรีส์ รายการแรกหลังดิออริจินอลซีรีส์ โดยออกอากาศทางเอ็นบีซีช่วงเช้าวันเสาร์ จำนวน 22 ตอน ตอนละครึ่งชั่วโมงมากกว่าสองปี ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1973 ถึง 1974[24]:208 แม้ว่าจะมีอายุสั้น เพราะเป็นเรื่องปกติของการสร้างแอนิเมชันในช่วงเวลานั้น รายการได้รับรางวัลเอมมีหนึ่งรางวัลคือ "รายการยอดเยี่ยม" พาราเมาต์พิกเจอส์และร็อดเดนเบอร์รี เริ่มต้นพัฒนาละครโทรทัศน์ใหม่ มีชื่อว่า สตาร์ เทรค: เฟส II (Star Trek: Phase II) เมื่อเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1975 เพื่อตอบสนองต่อความนิยมใหม่ของแฟรนไชส์ การทำงานกับละครโทรทัศน์ต้องสิ้นสุดลงเมื่อช่อง พาราเมาต์เทเลวิชันเซอร์วิส ถูกยกเลิกไปก่อน
หลังความสำเร็จของภาพยนตร์นิยายวิทยาศาสตร์ สตาร์ วอร์ส (Star Wars)[d] และ มนุษย์ต่างโลก (Close Encounters of the Third Kind), พาราเมาต์ได้ปรับตอนนำร่องที่เคยวางแผนไว้ใน เฟส II นำมาสร้างเป็นภาพยนตร์ สตาร์ เทรค: บทเริ่มต้นแห่งการเดินทาง (Star Trek: The Motion Picture) ภาพยนตร์ฉายที่อเมริกาเหนือเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม ค.ศ. 1979 โดยมีความคิดเห็นที่หลากหลายจากนักวิจารณ์ ภาพยนตร์ทำเงิน 139 ล้านดอลลาร์สหรัฐทั่วโลก ซึ่งต่ำกว่าที่คาดหวังไว้แต่ก็เพียงพอที่พาราเมาต์จะสร้างภาคต่อ สตูดิโอบังคับให้ร็อดเดนเบอร์รีสละการควบคุมทางความคิดสร้างสรรค์ของภาคต่อในอนาคต
ความสำเร็จของภาคต่อ สตาร์ เทรค 2 ศึกสลัดอวกาศ (Star Trek II: The Wrath of Khan) ทำให้แฟรนไชส์กลับมาทำเงินอีกครั้ง เป็นภาพยนตร์ที่ทำกำไรได้มากที่สุดเพราะมีทุนในการสร้างต่ำ พาราเมาต์สร้างภาพยนตร์ สตาร์ เทรค หกเรื่องระหว่างปี ค.ศ. 1979 ถึง 1991 แต่ทำเงินน้อยกว่าภาพยนตร์ภาคแรก
ด้วยความนิยมของภาพยนตร์ สตาร์ เทรค ทำให้แฟรนไชส์ได้กลับมาออกอากาศทางโทรทัศน์อีกครั้ง โดยมี สตาร์ เทรค: เดอะเน็กซ์เจเนอเรชัน ออกอากาศในปี ค.ศ. 1987 พาราเมาต์เลือกที่จะออกอากาศหลายช่องแทนที่จะออกอากาศเพียงช่องเดียว[9]:545
ยุคละครโทรทัศน์หลังร็อดเดนเบอร์รี (1991–2005)[แก้]
หลัง สตาร์ เทรค: บทเริ่มต้นแห่งการเดินทาง, บทบาทของร็อดเดนเบอร์รีก็เปลี่ยนจากผู้อำนวยการสร้างเป็นที่ปรึกษาด้านความคิดสร้างสรรค์โดยมีส่วนร่วมน้อยที่สุดต่อภาพยนตร์ ในขณะที่มีส่วนร่วมอย่างมากกับการสร้าง เดอะเน็กซ์เจเนอเรชัน ร็อดเดนเบอร์รีเสียชีวิตเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม ค.ศ. 1991 ทำให้ผู้อำนวยการสร้าง ริก เบอร์แมน เข้ามาควบคุมแฟรนไชส์[12]:268[9]:591–593 สตาร์ เทรค ได้กลายเป็นที่รู้จักกันภายในพาราเมาต์ว่าเป็น "เดอะแฟรนไชส์", เพราะความสำเร็จที่ที่ยิ่งใหญ่ ทำให้เป็นเสาเต็นท์[e]ของสตูดิโออยู่บ่อยครั้งเมื่อโครงการอื่นล้มเหลว[25] เดอะเน็กซ์เจเนอเรชัน เป็นละครโทรทัศน์ สตาร์ เทรค ที่มีเรตติงสูงที่สุดและกลายเป็นรายการที่มีการออกอากาศมากที่สุดในช่วงปีสุดท้ายของการออกอากาศทั้งหมดเจ็ดปี[26] ความสำเร็จของ เดอะเน็กซ์เจเนอเรชัน ทำให้พาราเมาต์ปล่อยละครโทรทัศน์แยกออกมา ชื่อว่า ดีพสเปซไนน์ ในปี ค.ศ. 1993 ถึงแม้ว่าจะไม่เป็นที่นิยมเท่ากับ เดอะเน็กซ์เจเนอเรชัน แต่ก็มีเรตติงเพียงพอสำหรับการออกอากาศทั้งหมดเจ็ดปี
เมื่อเดือนมกราคม ค.ศ. 1995 ไม่กี่เดือนหลัง เดอะเน็กซ์เจเนอเรชัน จบลง พาราเมาต์ได้ปล่อยละครโทรทัศน์ลำดับที่สี่ ชื่อว่า วอยเอเจอร์ ความนิยมของ สตาร์ เทรค ถึงจุดอิ่มตัวในช่วงกลางทศวรรษ 1990 ด้วย ดีพสเปซไนน์ และ วอยเอเจอร์ ออกอากาศควบคู่กันไปและการฉายภาพยนตร์สามจากสี่เรื่องที่มีนักแสดงจาก เดอะเน็กซ์เจเนอเรชัน ในปี ค.ศ. 1994, 1996 และ 1998 โดยในปี ค.ศ. 1998 สตาร์ เทรค เป็นทรัพย์สินที่สำคัญที่สุดของพาราเมาต์ กำไรที่มหาศาลจาก "เดอะแฟรนไชส์" ทำให้มีเงินมากพอที่จะสนับสนุนการทำงานของสตูดิโอทั้งหมด[27] วอยเอเจอร์ กลายเป็นรายการเรือธงใหม่ของช่อง ยูไนเต็ดพาราเมาต์เน็ตเวิร์ก (UPN) และทำให้เป็นเครือข่ายหลักแรกของละครโทรทัศน์ สตาร์ เทรค ตั้งแต่ฉบับดั้งเดิม[28]
หลัง วอยเอเจอร์ จบลง ยูพีเอ็นได้ผลิต เอนเทอร์ไพรส์ ละครโทรทัศน์ที่ดำเนินเรื่องก่อน สตาร์ เทรค ฉบับดั้งเดิม เอนเทอร์ไพรส์ ไม่ได้มีเรตติงสูงเท่ากับละครโทรทัศน์ก่อนหน้านี้และยูพีเอ็นขู่ว่าจะยกเลิกรายการหลังจบปีที่สาม เหล่าแฟน ๆ ทำแคมเปญช่วยรักษารายการไว้เหมือนกับตอนที่เคยช่วยปีที่สามของ ดิออริจินอลซีรีส์ พาราเมาต์ต่ออายุ เอนเทอร์ไพรส์ สำหรับปีที่สี่ แต่ย้ายไปช่วงมรณะในคืนวันศุกร์[29] เหมือนกับ ดิออริจินอลซีรีส์ เรตติงของ เอนเทอร์ไพรส์ ร่วงในช่วงเวลานั้นและยูพีเอ็นยกเลิกรายการหลังออกอากาศจบในปีที่สี่ เอนเทอร์ไพรส์ ออกอากาศตอนสุดท้ายเมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม ค.ศ. 2005[30] กลุ่มแฟนคลับชื่อ "Save Enterprise" พยายามที่จะรักษารายการไว้โดยพยายามระดุมทุนจำนวน 30 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อออกทุนส่วนตัวให้กับปีที่ห้าของ เอนเทอร์ไพรส์[31] แม้ว่าจะรวบรวมเงินได้มากพอ แต่พยายามก็ล้มเหลว เนื่องจากพาราเมาต์ไม่รับเงินดังกล่าว[32] การยกเลิกของ เอนเทอร์ไพรส์ ทำให้การออกอากาศบนโทรทัศน์ต่อเนื่องยาวนานสิบแปดปีของ สตาร์ เทรค สิ้นสุดลง เนเมซิส ทำเงินได้ไม่ดีในปี ค.ศ. 2002 ทำให้เกิดความไม่แน่นอนต่ออนาคตของแฟรนไชส์ พาราเมาต์ได้ปลดเบอร์แมน ผู้อำนวยการสร้างของแฟรนไชส์ ออกจากการควบคุม สตาร์ เทรค
ภาพยนตร์รีบูต (เส้นเวลา แคลวิน) (2005–2016)[แก้]
เมื่อปี ค.ศ. 2005 ไวอาคอม บริษัทแม่ของพาราเมาต์ ได้แบ่งออกเป็นสองบริษัท ได้แก่ ซีบีเอสคอร์เพอเรชัน เจ้าของซีบีเอสเทเลวิชันสตูดิโอ และ ไวอาคอม เจ้าของพาราเมาต์พิกเจอส์ ซีบีเอสเป็นเจ้าของแบรนด์ภาพยนตร์ในขณะที่พาราเมาต์เป็นเจ้าของคลังภาพยนตร์และจะดำเนินการสร้างภาพยนตร์ต่อแฟรนไชส์ พาราเมาต์เป็นบริษัทแรกที่พยายามที่จะฟื้นฟูแฟรนไชส์ โดยจ้างทีมงานสร้างสรรค์ใหม่เพื่อเสริมความมั่นคงของแฟรนไชส์เมื่อปี ค.ศ. 2007 นักเขียน โรเบอร์โต โอจี และ อเล็กซ์ เคิร์ตแมน และ ผู้อำนวยการสร้าง เจ.เจ. แอบรัมส์ มีอิสระที่จะสร้างความรู้สึกใหม่ ๆ ต่อแฟรนไชส์
ทีมงานได้สร้างภาพยนตร์ลำดับที่สิบเอ็ดของแฟรนไชส์ สตาร์ เทรค: สงครามพิฆาตจักรวาล ฉายเมื่อเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2009 ภาพยนตร์มีการนำเสนอนักแสดงใหม่ที่แสดงเป็นลูกเรือของละครโทรทัศน์เดิม สตาร์ เทรค: สงครามพิฆาตจักรวาล เป็นภาพยนตร์ที่ดำเนินเรื่องก่อนหน้าละครโทรทัศน์เดิมในเส้นเวลาที่แตกต่าง ซึ่งภายหลังตั้งชื่อว่าเส้นเวลา แคลวิน ทำให้ภาพยนตร์เรื่องนี้และภาคต่อเป็นอิสระจากความจำเป็นที่จะต้องสอดคล้องกับเส้นเวลาเดิมของแฟรนไชส์ ภาพยนตร์ สตาร์ เทรค ลำดับที่สิบเอ็ดนั้นมีแคมเปญการตลาดสำหรับกลุ่มเป้าหมายที่ไม่ใช่แฟน แม้จะระบุในโฆษณาของภาพยนตร์เรื่องนี้ว่า "นี่ไม่ใช่ สตาร์ เทรค ของพ่อคุณ"[33] นอกจากนี้ภาพยนตร์จะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับแฟรนไชส์ของซีบีเอส
ภาพยนตร์เรื่องนี้ประสบความสำเร็จทั้งคำวิจารณ์และทางการเงิน โดยทำเงินมากกว่าภาพยนตร์ สตาร์ เทรค เรื่องใด ๆ ก่อนหน้านี้ (คิดเป็นดอลลาร์ที่ปรับอัตราเงินเฟ้อแล้ว)[34] ส่งผลให้ภาพยนตร์ได้รับ รางวัลออสการ์ เป็นครั้งแรกของแฟรนไชส์ (ในสาขาแต่งหน้ายอดเยี่ยม) นักแสดงหลักของภาพยนตร์ได้เซ็นสัญญาแสดงภาพยนตร์อีกสองภาค[35] ภาพยนตร์ภาคต่อ สตาร์ เทรค ทะยานสู่ห้วงมืด ฉายรอบปฐมทัศน์ที่ซิดนีย์ ออสเตรเลีย เมื่อวันที่ 23 เมษายน ค.ศ. 2013 และฉายในสหรัฐเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม ค.ศ. 2013[36] แม้ว่าภาพยนตร์ภาคต่อจะไม่ได้ทำเงินในอเมริกาเหนือมากเท่ากับภาคก่อนหน้านี้ แต่สามารถทำเงินในตลาดต่างประเทศได้อย่างมาก ทำให้ ทะยานสู่ห้วงมืด เป็นภาพยนตร์ที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในแฟรนไชส์[37] ภาพยนตร์ลำดับที่สิบสาม สตาร์ เทรค ข้ามขอบจักรวาล ฉายเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม ค.ศ. 2016[38] ภาพยนตร์ประสบปัญหาหลายอย่างก่อนเริ่มถ่ายทำและบทภาพยนตร์ผ่านการเขียนใหม่อยู่หลายครั้ง ถึงแม้ว่าภาพยนตร์จะได้รับคำวิจารณ์ที่ดี แต่กลับทำเงินได้อย่างน่าผิดหวัง[39]
การขยายของจักรวาลสตาร์ เทรค (2017–ปัจจุบัน)[แก้]
ซีบีเอส ปฏิเสธข้อเสนอต่าง ๆ ในช่วงกลางทศวรรษ 2000 ในการเริ่มต้นแฟรนไชส์ใหม่ โดยมีข้อเสนอจากบุคคลต่าง ๆ ได้แก่ ผู้กำกับภาพยนตร์ ไบรอัน ซิงเกอร์, เจ. ไมเคิล สเตรซินสกี ผู้สร้าง บาบีลอน 5 และ โจนาทาน เฟรกส์และวิลเลียม แชตเนอร์ นักแสดงจาก สตาร์ เทรค [40][41][42] บริษัทยังปฏิเสธที่จะสร้างแอนิเมชันในรูปแบบเว็บซีรีส์ด้วย[43] แม้ว่าการขาดหายไปของการออกอากาศบนโทรทัศน์ของแฟรนไชส์ แต่คลังภาพยนตร์ สตาร์ เทรค กลับสามารถเข้าถึงได้โดยผู้ชมทั่วไป เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของบริการสตรีมมิ่ง เช่น เน็ตฟลิกซ์และแอมาซอนไพร์มวิดีโอ เพื่อใช้ประโยชน์จากแนวโน้มนี้, ซีบีเอสดึงแฟรนไชส์กลับมาบนจอเล็กอีกครั้งด้วยซีรีส์ สตาร์ เทรค: ดิสคัฟเวอรี เพื่อช่วยในการเปิดตัวและดึงดูดคนให้มาเป็นสมาชิกบริการสตรีมมิ่งของตัวเองในชื่อ ซีบีเอสออลแอคเซส[44] ปีแรกของ ดิสคัฟเวอรี นั้นเปิดให้ชมเมื่อวันที่ 24 กันยายน ค.ศ. 2017 ปีที่สองเปิดให้ชมในเดือนมกราคม ค.ศ. 2019[45] ปีที่สามประกาศเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2019[46] ในขณะที่ ดิสคัฟเวอรี เปิดให้ชมในสหรัฐเฉพาะบนซีบีเอสออลแอคเซส เน็ตฟลิกซ์เป็นเจ้าของสิทธ์ในการเผยแพร่ทั่วโลก เพราะเป็นบริษัทที่ให้เงินทุนในการสร้างรายการทั้งหมด[47]
ซีรีส์ออลแอคเซสลำดับที่สอง สตาร์ เทรค: พิคาร์ด มีแพทริก สจวตกลับมารับบทเดิมเป็น ฌอง-ลุค พิคาร์ด เปิดให้ชมครั้งแรกเมื่อวันที่ 23 มกราคม ค.ศ. 2020 ผ่านแอมาซอนไพร์มวิดีโอ ซึ่งเปิดให้ชมทั่วโลก ไม่เหมือนกับ ดิสคัฟเวอรี[48] ซีบีเอสยังได้ปล่อย สตาร์ เทรค: ชอร์ตเทรคส์ ซึ่งเป็นซีรีส์รวมตอนสั้นซึ่งปล่อยระหว่าง ดิสคัฟเวอรี และ พิคาร์ด
สตาร์ เทรค ได้กลับมาอยู่ในรูปแบบแอนิเมชันอีกครั้งใน โลเวอร์เดกส์ แอนิเมชันแนวตลกผู้ใหญ่ สร้างโดยผู้เขียน ริค แอนด์ มอร์ตี้ ไมก์ แมกมาฮาน ออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม ค.ศ. 2020 บนซีบีเอสออลแอคเซส ซีรีส์แอนิเมชันอีกเรื่องหนึ่ง พรอดิจี กำลังอยู่ในขั้นตอนการพัฒนา สำหรับช่องนิคคาโลเดียน กำหนดออกอากาศในปี ค.ศ. 2021
นอกจากนี้ยังมี สตาร์ เทรค: สเตรนจ์นิวเวิร์ลส์ ซีรีส์สตรีมมิงที่ติดตามเรื่องราวของลูกเรือยานเอนเทอร์ไพรส์ โดยมีกัปตันไพค์จาก ดิสคัฟเวอรี ปีสอง เป็นกัปตัน ซึ่งได้ประกาศเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม ค.ศ. 2020[49][50]และซีรีส์เกี่ยวกับ ฟิลิปปา จอร์โจว์ ตัวละครจาก ดิสคัฟเวอรี กำลังอยู่ในขั้นตอนการพัฒนา เป้าหมายของซีบีเอสคือมีเนื้อหา สตาร์ เทรค ตลอดทั้งปีบนออลแอคเซส[51][52][53]
ละครโทรทัศน์[แก้]
ละครโทรทัศน์ สตาร์ เทรค ประกอบด้วย ละครชุดคนแสดงแปดเรื่อง, แอนิเมชันชุดสามเรื่องและละครโทรทัศน์สั้นหนึ่งเรื่อง ได้แก่ ดิออริจินอลซีรีส์, ดิแอะนิเมเต็ดซีรีส์, เดอะเน็กซ์เจเนอเรชัน, ดีพสเปซไนน์, วอยเอเจอร์, เอนเทอร์ไพรส์, ดิสคัฟเวอรี, ชอร์ตเทรคส์, พิคาร์ด, โลเวอร์เดกส์, พรอดิจี และ สเตรนจ์นิวเวิร์ลส์ รวมทั้งหมด 880 ตอน ตลอด 44 ปีของละครโทรทัศน์[f]
ชื่อ | จำนวนปี | จำนวนตอน | วันที่เผยแพร่ | เครือข่าย | ||
---|---|---|---|---|---|---|
ดิออริจินอลซีรีส์ | 3 | 79 | 8 กันยายน ค.ศ. 1966 – 3 มิถุนายน ค.ศ. 1969 | เอ็นบีซี | ||
ดิแอะนิเมเต็ดซีรีส์ | 2 | 22 | 8 กันยายน ค.ศ. 1973 – 12 ตุลาคม ค.ศ. 1974 | |||
เดอะเน็กซ์เจเนอเรชัน | 7 | 178 | 28 กันยายน ค.ศ. 1987 – 23 พฤษภาคม ค.ศ. 1994 | ซินดิเคชัน | ||
ดีพสเปซไนน์ | 7 | 176 | 4 มกราคม ค.ศ. 1993 – 31 พฤษภาคม ค.ศ. 1999 | |||
วอยเอเจอร์ | 7 | 172 | 16 มกราคม ค.ศ. 1995 – 23 พฤษภาคม ค.ศ. 2001 | ยูพีเอ็น | ||
เอนเทอร์ไพรส์ | 4 | 98 | 26 กันยายน ค.ศ. 2001 – 13 พฤษภาคม ค.ศ. 2005 | |||
ดิสคัฟเวอรี | 4 | 55 | 24 กันยายน ค.ศ. 2017 – ปัจจุบัน | ซีบีเอสออลแอกเซส พาราเมาต์+ | ||
ชอร์ตเทรคส์ | 2 | 10 | 4 ตุลาคม ค.ศ. 2018 – 9 มกราคม ค.ศ. 2020 | |||
พิคาร์ด | 3 | 30 | 23 มกราคม ค.ศ. 2020 – 20 เมษายน ค.ศ. 2023 | |||
โลเวอร์เดกส์ | 3 | 30 | 6 สิงหาคม ค.ศ. 2020 – ปัจจุบัน | |||
พรอดิจี | 2 | 20 | 28 ตุลาคม ค.ศ. 2021 – ปัจจุบัน | |||
สเตรนจ์นิวเวิร์ลส์ | 1 | 10 | 5 พฤษภาคม ค.ศ. 2022 – ปัจจุบัน |
ดิออริจินอลซีรีส์ (1966–1969)[แก้]
สตาร์ เทรค: ดิออริจินอลซีรีส์, หรือมักจะย่อว่า TOS,[g] ได้ออกอากาศครั้งแรกทางช่อง เอ็นบีซี เมื่อวันที่ 8 กันยายน ค.ศ. 1966[54] โดยรายการเล่าถึงลูกเรือของยานอวกาศ ยูเอสเอส เอนเทอร์ไพรส์ กับภารกิจห้าปี "เพื่อก้าวไปอย่างกล้าหาญ ณ ที่ซึ่งไม่เคยมีมนุษย์คนใดเคยไปมาก่อน!" ระหว่างที่ออกอากาศครั้งแรกนั้น รายการได้เข้าชิงรางวัลอูโกสำหรับการนำเสนอละครยอดเยี่ยมอยู่หลายครั้งและชนะ 2 ครั้ง[24]:231 นักแสดงประกอบด้วย:
- วิลเลียม แชตเนอร์ เป็น เจมส์ ที. เคิร์ก
- เลนนาร์ด นิมอย เป็น สป็อค
- ดีฟอเรสต์ เคลลี เป็น เลนนาร์ด แม็คคอย
- เจมส์ ดูฮาน เป็น สกอตตี
- นิเชลล์ นิโคลส์ เป็น อูฮูรา
- จอร์จ ทาเคอิ เป็น ฮิคารุ ซูลู
- วอลเทอร์ โคนิก เป็น พาเวล เชคอฟ
- มาเจล บาร์เรตต์ เป็น คริสติน ชาเปล
หลังจากออกอากาศได้ 3 ปี ช่องเอ็นบีซีก็ได้ยกเลิกรายการ โดยตอนสุดท้ายออกอากาศเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน ค.ศ. 1969[55] มีการเขียนคำร้องช่วงใกล้จะสิ้นสุดปีที่สองเพื่อที่จะรักษารายการไว้ มีนักศึกษาจากสถาบันเทคโนโลยีแคลิฟอร์เนียลงนามเป็นจำนวนมากและการที่ได้เข้าชิงรางวัลอูโกหลายครั้งอาจจะช่วยได้ อย่างไรก็ตาม รายการเป็นที่นิยมอย่างมากกับแฟน ๆ นิยายวิทยาศาสตร์และนักศึกษาวิศวกรรม แม้เนลสันเรตติงจะระบุไว้ว่ามีเรตติงต่ำ[56] ต่อมารายการมีความนิยมเพิ่มขึ้นจากการออกอากาศซ้ำและเกิดการก่อตั้งลักธิตามมา[54]
ดิแอะนิเมเต็ดซีรีส์ (1973–1974)[แก้]
สตาร์ เทรค: ดิแอะนิเมเต็ดซีรีส์ (Star Trek: The Animated Series) หรือในชื่อย่อ "TAS" ผลิตโดย ฟิลเมชัน ออกอากาศ 2 ปี ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1973 ถึง ค.ศ. 1974 โดยนักแสดงหลักจาก ดิออริจินอลซีรีส์ ยังคงมาให้เสียงตัวละครเดิม และยังมีนักเขียนบทจาก ดิออริจินอลซีรีส์ มาเขียนบทให้ ดิแอะนิเมเต็ดซีรีส์ ด้วย เนื่องจากเป็นรูปแบบแอนิเมชัน ทำให้สามารถสร้างพื้นที่ต่างดาวและสิ่งมีชีวิต ได้แปลกใหม่มากขึ้น แต่ก็ไม่ได้รับความนิยมมากนัก เนื่องจากใช้ฉากเก่ามากเกินไปและยังมีข้อผิดพลาดในการเคลื่อนไหวของแอนิเมชันและคิวดนตรี ซึ่งทำให้ชื่อเสียงของซีรีส์มัวหมอง[57] ยีน ร็อดเดนเบอร์รี มักพูดอยู่เสมอว่าแอนิเมชันนี้ไม่จัดเป็นเส้นเรื่องหลัก[58]:232 นักแสดงประกอบด้วย:
- วิลเลียม แชตเนอร์ เป็น เจมส์ ที. เคิร์ก
- เลนนาร์ด นิมอย เป็น สป็อค
- ดีฟอเรสต์ เคลลี เป็น เลนนาร์ด แม็คคอย
- เจมส์ ดูฮาน เป็น สกอตตี
- นิเชลล์ นิโคลส์ เป็น อูฮูรา
- จอร์จ ทาเคอิ เป็น ฮิคารุ ซูลู
ดิแอะนิเมเต็ดซีรีส์ เป็นซีรีส์ สตาร์ เทรค แรกที่ชนะรางวัล เอมมี เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม ค.ศ. 1975[59] ซีรีส์ได้นำกลับมาออกอากาศใหม่เป็นเวลาสั้น ๆ ทางช่อง นิคคาโลเดียน ช่วงกลางทศวรรษ 1980 และ ช่องไซ-ไฟ ช่วงกลางทศวรรษ 1990 มีการวางจำหน่ายซีรีส์นี้ในรูปแบบ เลเซอร์ดิส เมื่อช่วงกลางทศวรรษ 1980[60] รูปแบบวิดีโอเทป 11 ชุด เมื่อปี ค.ศ. 1989, รูปแบบดีวีดี เมื่อปี ค.ศ. 2006 และรูปแบบบลู-เรย์ เมื่อปี ค.ศ. 2016
เดอะเน็กซ์เจเนอเรชัน (1987–1994)[แก้]
สตาร์ เทรค: เดอะเน็กซ์เจเนอเรชัน (Star Trek: The Next Generation), หรือมักใช้อักษรย่อว่า TNG, ดำเนินเรื่องหลัง ดิออริจินอลซีรีส์ ประมาณหนึ่งศตวรรษ (2364–2370) โดยมียานอวกาศ เอนเทอร์ไพรส์ ลำใหม่ (NCC-1701-D) และลูกเรือใหม่
- แพทริก สจวต เป็น ฌอง-ลุค พิคาร์ด
- โจนาทาน เฟรกส์ เป็น วิลเลียม ไรเกอร์
- เลวาร์ เบอร์ตัน เป็น จอร์ดี ลา ฟอร์จ
- ดีนีส ครอสบี เป็น ทาชา ยาร์
- ไมเคิล ดอร์น เป็น วอร์ฟ
- เกทส์ แมคแฟดเดน เป็น เบเวอร์ลี ครัชเชอร์ (ปี 1, 3–7)
- ไดอานา มัลดอร์ เป็น แคธาริน พูลาสกี (ปี 2)
- มารินา เซอร์ทิส เป็น ดีอันนา ทรอย
- เบรนท์ สไปเนอร์ เป็น เดต้า
- วิล วีตัน เป็น เวสลีย์ ครัชเชอร์
ออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 28 กันยายน ค.ศ. 1987 และออกอากาศทั้งหมดเจ็ดปี เป็นละครโทรทัศน์ สตาร์ เทรค ที่มีเรตติงสูงที่สุดและกลายเป็นรายการโทรทัศน์ที่ออกอากาศหลายช่องแล้วมีเรตติงสูงที่สุดในช่วงปีท้าย ๆ ของการออกอากาศ เป็นตัวผลักดันให้กับละครโทรทัศน์อื่น มีความสัมพันธ์และเชื้อชาติใหม่ ๆ เกิดขึ้นใน เดอะเน็กซ์เจเนอเรชัน กลายเป็นพื้นฐานให้กับตอนใน ดีพสเปซไนน์ และ วอยเอเจอร์[26] เดอะเน็กซ์เจเนอเรชัน เข้าชิงและได้รับรางวัลเอมีหลายครั้ง—เช่น ละครโทรทัศน์ยอดเยี่ยมในปีสุดท้าย—รางวัลอูโกสองรางวัล, และรางวัลพีบอดีสำหรับรายการโทรทัศน์ยอดเยี่ยมหนึ่งตอน[61]
ดีพสเปซไนน์ (1993–1999)[แก้]
สตาร์ เทรค: ดีพสเปซไนน์ (Star Trek: Deep Space Nine), หรือมักใช้อักษรย่อว่า DS9, ดำเนินเรื่องช่วงปีสุดท้ายและทันทีหลัง เน็กซ์เจเนอเรชัน (2369–2375) ออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 3 มกราคม ค.ศ. 1993 และออกอากาศทั้งหมดเจ็ดปี สิ่งที่แตกต่างจากละครโทรทัศน์ สตาร์ เทรค อื่นคือ ดีพสเปซไนน์ ดำเนินเรื่องในสถานีอวกาศในชื่อเดียวกันมากกว่าบนยานอวกาศ นักแสดงประกอบด้วย:
- เอฟเวอรี บรูคส์ เป็น เบนจามิน ซิสโก
- เรเน ออเบอร์โจนอยส์ เป็น โอโด
- นิโคล เดอ บัว เป็น เอซรี แดกซ์ (ปี 7)
- ไมเคิล ดอร์น เป็น วอร์ฟ (ปี 4–7, รับบทเดิมจาก เน็กซ์เจเนอเรชัน)
- เทอร์รี ฟาร์เรลล์ เป็น จาดเซีย แดกซ์ (ปี 1–6)
- ซีริก ลอฟตัน เป็น เจค ซิสโก
- โคล์ม มีนีย์ เป็น ไมล์ส โอ'ไบรอัน (รับบทเดิมจาก เน็กซ์เจเนอเรชัน)
- อาร์มิน ไชเมอร์แมน เป็น ควาร์ก
- อเล็กซานเดอร์ ซิดดิก เป็น จูเลียน บาเชียร์ (ใช้ชื่อ ซูดดึก เอล-ฟาดี ตั้งแต่ 1993–1995)
- นะนา วิซิเทอร์ เป็น คีรา นีรีส
รายการเริ่มต้นหลังชาวคาร์แดสเซียยึดดาวเบจอร์ กลุ่มปลดปล่อยชาวเบจอร์ขอร้องให้สหพันธ์แห่งดวงดาวช่วยมาบริหารสถานีอวกาศใกล้กับเบจอร์หลังสหพันธ์ควบคุมสถานีได้แล้ว กลุ่มตัวละครเอกนั้นค้นพบรูหนอนที่เสถียรภาพสามารถเข้าไปแล้วไปโผล่ที่แกรมมาควอแดรนต์ได้ ทำให้เบจอร์และสถานีเป็นสถานที่สำคัญทางยุทธศาสตร์[62] รายการบันทึกเหตุการณ์ของลูกเรือของสถานี, นำโดย ผู้บัญชาการ เบนจามิน ซิสโก (เอฟเวอรี บรูคส์), และ ผู้พัน คีรา นีรีส (นะนา วิซิเทอร์)
ดีพสเปซไนน์ แตกต่างจาก เทรค ก่อนหน้านี้คือ การเล่าเรื่องที่ต่อเนื่องและยาวนาน, ความขัดแย้งของตัวละคร, และ ประเด็นทางศาสนา—ทุกองค์ประกอบนั้น นักวิจารณ์และผู้ชมต่างชื่นชมอย่างมาก แต่เป็นสิ่งที่ถูกห้ามโดยร็อดเดนเบอร์รี เมื่อเขาเป็นผู้อำนวยการสร้าง ดิออริจินอลซีรีส์ และ เน็กซ์เจเนอเรชัน[63]
วอยเอเจอร์ (1995–2001)[แก้]
สตาร์ เทรค: วอยเอเจอร์ (Star Trek: Voyager) ออกอากาศวันแรกเมื่อวันที่ 16 มกราคม ค.ศ. 1995 จนถึงวันที่ 23 พฤษภาคม ค.ศ. 2001 เป็นเวลาทั้งหมดเจ็ดปี มี เคต มัลกรูว แสดงเป็น กัปตัน แคทรีน เจนเวย์ โดยเป็นครั้งแรกของ สตาร์ เทรค ที่มีตัวละครนำเป็นผู้บังคับบัญชาหญิง[64] นักแสดงประกอบด้วย:
- เคต มัลกรูว เป็น แคทรีน เจนเวย์
- รอเบิร์ต เบลทราน เป็น ชาโคเทย์
- รอกแซน ดอว์สัน เป็น บี'ลานนา ทอร์เรส
- เจนนิเฟอร์ ลีน เป็น เคส (ปี 1–3)
- รอเบิร์ต ดันแคน แม็คนีลล์ เป็น ทอม แพรีส
- อีธาน ฟิลลิปส์ เป็น นีลิกซ์
- รอเบิร์ต พิคาร์โด เป็น เดอะ ด็อกเตอร์
- ทิม รัสส์ เป็น ทูว็อก
- เจอรี ไรอัน เป็น เซเวนออฟไนน์ (ปี 4–7)
- การ์เร็ตต์ วอง เป็น แฮร์รี คิม
วอยเอเจอร์ ดำเนินเรื่องในช่วงเวลาเดียวกันกับ ดีพสเปซไนน์ และอีกสามปีหลังรายการจบ (2371–2378) ในตอนปฐมทัศน์นั้น ยูเอสเอส วอยเอเจอร์ และลูกเรือของยาน มาคีส์ (กลุ่มกบฏสหพันธ์) กำลังถูกไล่ล่า โดยยานทั้งสองลำถูกลำแสงพาไปยัง เดลตาควอแดนต์ ซึ่งห่างจากโลกประมาณ 70,000 ปีแสง[65] ต้องเผชิญกับการเดินทางกลับสู่โลกเป็นเวลา 75 ปี ลูกเรือต้องเรียนรู้ที่จะทำงานร่วมกันเพื่อเอาชนะความท้าทายในการเดินทางที่ยาวนานและเต็มไปด้วยอันตราย และหาวิธีที่จะทำให้การเดินทางสั้นลง
เช่นเดียวกัน ดีพสเปซไนน์ ในช่วงปีแรกของ วอยเอเจอร์ แสดงความขัดแย้งระหว่างลูกเรือทั้งสองมากกว่าในช่วงตอนหลัง เช่นความขัดแย้งมักจะเกิดจากลูกเรือของสตาร์ฟีตที่ต้องทำ "ตามหลักการ" กับลูกเรือของมาคีส์ที่เป็นผู้ลี้ภัยหัวกบฏ ถูกบังคับโดยสถานการณ์ให้มาทำงานร่วมกัน ยานอวกาศ วอยเอเจอร์ ต้องเผชิญกับวัฒนธรรมและประเด็นขัดแย้งใหม่ ซึ่งเป็นไปไม่ได้ในละครโทรทัศน์ที่อยู่ในอัลฟาควอแดนต์ ในปีต่อ ๆ มามีตัวละครและวัฒนธรรมจากรายการก่อนหน้านี้ เช่น บอร์ก, คิว, ฟาเรนกี, โรมูลัน, คลิงงอน, คาร์แดสเซีย และนักแสดงจาก เดอะเน็กซ์เจเนอเรชัน
เอนเทอร์ไพรส์ (2001–2005)[แก้]
สตาร์ เทรค: เอนเทอร์ไพรส์ (Star Trek: Enterprise) หรือชื่อเดิม เอนเทอร์ไพรส์ (Enterprise) เป็นละครโทรทัศน์ที่ดำเนินเรื่องก่อน สตาร์ เทรค ฉบับดั้งเดิม ออกอากาศระหว่างวันที่ 26 กันยายน ค.ศ. 2001 ถึง 13 พฤษภาคม ค.ศ. 2005 ทางช่องยูพีเอ็น[66] เอนเทอร์ไพรส์ ดำเนินเรื่องอยู่ในช่วงทศวรรษ 2150, 90 ปีหลัง ซีฟราม คอเครน เดินทางด้วยความเร็วระดับวาร์ปครั้งแรกและประมาณ 10 ปีก่อนก่อตั้งสหพันธรัฐแห่งดวงดาว โดยละครโทรทัศน์แสดงการเดินทางของลูกเรือยานอวกาศวาร์ป 5 ลำแรกของโลกชื่อ เอนเทอร์ไพรส์ (เอ็นเอ็กซ์-01) (Enterprise (NX-01)) นักแสดงประกอบด้วย:
- สกอตต์ บาคูลา เป็น โจนาธาน อาร์เชอร์
- โจลีน บลาล็อก เป็น ที'พอล
- จอห์น บิลลิงสลีย์ เป็น ฟล็อกซ์
- ดอมินิก คีติง เป็น มัลคอล์ม รีด
- แอนโธนี มอนกอเมอรี เป็น ทราวิส เมย์เวเธอร์
- ลินดา พาร์ก เป็น โฮชิ ซาโตะ
- คอนเนอร์ ทรินเนียร์ เป็น ทริป ทักเกอร์
เอนเทอร์ไพรส์ ในช่วงแรกนั้นเป็นละครโทรทัศน์ประเภทจบในตอนเหมือนกับใน ดิออริจินอลซีรีส์, เน็กซ์เจเนอเรชัน และ วอยเอเจอร์ ต่อมาในปีที่สาม นั้นกลายเป็นละครโทรทัศน์ที่มีเส้นเรื่องเดียวตลอดทั้งปี ปีที่สี่ซึ่งเป็นปีสุดท้ายนั้นประกอบด้วยสามและสี่ตอนที่มีเนื้อเรื่องต่อเนื่องกัน ซึ่งสำรวจต้นกำเนิดขององค์ประกอบบางอย่างที่อยู่ในละครโทรทัศน์ก่อนหน้านี้ และแก้ไขข้อผิดพลาดของความต่อเนื่องบางอย่างใน ดิออริจินอลซีรีส์
เอนเทอร์ไพรส์ นั้นเริ่มต้นด้วยเรตติงที่ดี แต่เมื่อเวลาผ่านไป เรตติงกลับตกลงอย่างรวดเร็ว แม้ว่านักวิจารณ์จะชมปีที่สี่ว่าดี ทั้งแฟนและนักแสดงต่างไม่พอใจ ตอนสุดท้ายของละครโทรทัศน์ ส่วนหนึ่งเพราะว่าในตอนนั้นมุ่งเน้นไปที่นักแสดงรับเชิญจาก เน็กซ์เจเนอเรชัน มากเกินไป[67][68][69] การยกเลิก เอนเทอร์ไพรส์ เป็นการสิ้นสุดการออกอากาศของละครโทรทัศน์ สตาร์ เทรค ใหม่ ที่ออกอากาศมายาวนาน 18 ปี ซึ่งเริ่มตั้งแต่ เน็กซ์เจเนอเรชัน เมื่อปี ค.ศ. 1987
ดิสคัฟเวอรี (2017–ปัจจุบัน)[แก้]
สตาร์ เทรค: ดิสคัฟเวอรี (Star Trek: Discovery) คือซีรีส์ที่ดำเนินเรื่องก่อน ดิออริจินอลซีรีส์ ประมาณ 10 ปี[70] ออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 24 กันยายน ค.ศ. 2017 ในสหรัฐอเมริกาและแคนาดาทางช่องซีบีเอส[45] ผู้ชมที่อยู่ในสหรัฐอเมริกาสามารถรับชมผ่านบริการสตรีมมิงซีบีเอสออลแอคเซสส์เท่านั้น ส่วนผู้ชมทั่วโลกยกเว้นแคนาดาสามารถรับชมได้บนเน็ตฟลิกซ์[71]
- สนีควา มาร์ติน-กรีน เป็น ไมเคิล เบอร์นัม
- ดัก โจนส์ เป็น ซารู
- แอนโทนี แรปป์ เป็น พอล สแตเม็ตส์
- แมรี ไวส์เมน เป็น ซิลเวีย ทิลลี
- วิลสัน ครุซ เป็น ฮิวก์ คัลเบอร์
- ชาซาด ลาทิฟ เป็น แอช ไทเลอร์ / โว๊ก
- เจสัน ไอแซ็กส์ เป็น เกเบรียล ลอร์กา (ปี 1)
- แอนสัน เมาต์ เป็น คริสโตเฟอร์ ไพค์ (ปี 2)
ตัวละครหลักของซีรีส์คือ นาวาตรี ไมเคิล เบอร์นัม แสดงโดย สนีควา มาร์ติน-กรีน เป็นการสร้างความแตกต่างจาก สตาร์ เทรค เดิมที่ตัวละครนำไม่ใช่ "กัปตันของยาน" ซีรีส์เริ่มต้นด้วย ความขัดแย้งระหว่าง คลิงงอน ทคุฟม่า, ที่ต้องการจะรวมบ้านต่าง ๆ ของคลิงงอนจำนวนยี่สิบสี่ตระกูล—เรียกว่าเดอะเกรสต์เฮาส์ กับ สหพันธ์แห่งดวงดาว[72][73]
ชอร์ตเทรคส์ (2018–2020)[แก้]
สตาร์ เทรค: ชอร์ตเทรคส์ (Star Trek: Short Treks) เป็นซีรีส์รวมภาพยนตร์สั้น โดยมีเนื้อเรื่องเป็นการสำรวจฉากและตัวละครจาก ดิสคัฟเวอรี และลูกเรือยานอวกาศ เอนเทอร์ไพรส์ ของกัปตัน คริสโตเฟอร์ ไพค์[74] ตอนสุดท้ายของปีสองนั้นเป็นการเล่าเรื่องราวเพื่อนำไปสู่ สตาร์ เทรค: พิคาร์ด[75]
พิคาร์ด (2020–2023)[แก้]
สตาร์ เทรค: พิคาร์ด เป็นละครชุดต่อเนื่องเหมือนกับ ดิสคัฟเวอรี่ ออกอากาศทางช่องซีบีเอสออลเอกเซส เมื่อวันที่ 23 มีนาคม ค.ศ. 2020 ดำเนินเรื่อง 30 ปีหลัง เดอะเน็กซ์เจเนอเรชัน แสดงนำโดย แพทริก สจวร์ต กลับมารับบทเดิมเป็น ฌอง-ลุค พิคาร์ด[76] เนื่อเรื่องในปีแรก เล่าเรื่องราวของพิคาร์ดในวัยเกษียณของเขา แสวงหาการไถ่โทษจากสิ่งที่เขามองว่าเป็นความล้มเหลวในอดีต ในขณะที่เขาออกผจญภัยเพื่อช่วยลูกสาวของ เดตา เพื่อนร่วมทีมผู้ล่วงลับ นักแสดงประกอบด้วย:
- แพทริก สจวร์ต เป็น ฌอง-ลุค พิคาร์ด
- อลิสัน พิลล์ เป็น แอกเนส จูราติ
- อิซา บริโอเนส เป็น ดาจ อาชา, โซจิ อาชา และ โคเร ซุง
- มิเชล เฮิร์ด เป็น ราฟฟี มิวสิเกอร์
- ซานติอาโก กาเบรรา เป็น คริสโตบอล "คริส" ริโอส
- แฮร์รี เทรดอเวย์ เป็น นาแร็ค
- อีวาน เอวากอรา เป็น เอลนอร์
- เจอรี ไรอัน เป็น เซเวนออฟไนน์
- ออร์ลา เบรดี เป็น ลาริสและทาลลินน์
- เบรนต์ สไปเนอร์ เป็น อัลตัน ซุง, อดัม ซุง, ลอร์ และ เดตา
โลเวอร์ เดคส์ (2020–ปัจจุบัน)[แก้]
สตาร์ เทรค: โลเวอร์ เดคส์ เป็นซีรีส์แอนิเมชันแนวตลกผู้ใหญ่สร้างโดย ไมค์ แม็คมาฮาน ผู้เขียนบท ริค แอนด์ มอร์ตี้ โดยเป็นเรื่องราวของลูกเรือสนับสนุนใน "ยานลำหนึ่งของสตาร์ฟลีตที่ไม่สำคัญมากนัก"[77] ซีรีส์เปิดตัวครั้งแรกเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2020 บนซีบีเอสออลแอกเซส[78]
- ทอว์นี นิวซัม เป็น แบกเคตต์ แมริเนอร์
- แจ็ก ควีด เป็น แบรดเวิร์ด "แบรด" โบยมเลอร์
- โนเอล เวลส์ เป็น ดี'วานา เทนดี
- ยูจีน คอร์เดโร เป็น ซาแมนทาน "แซม" รัตเทอร์ฟอร์ด
- ดอว์นน์ ลูอิส เป็น แคโรล ฟรีแมน
- เจอร์รี โอ'คอนเนลล์ เป็น แจ็ก แรนซัม
- เฟรด ทาทาชัวรี เป็น แชกซ์ส
- จิลเลียน วิกแมน เป็น ที'อะนา
กำลังพัฒนา[แก้]
ซีบีเอสออลแอกเซสประกาศว่าซีรีส์คนแสดงและแอนิเมชันหลายเรื่อง กำลังอยู่ในขั้นตอนการพัฒนา[79]
นิคคาโลเดียนร่วมทุนกับซีบีเอสกำลังสร้างซีรีส์แอนิเมชันสำหรับเด็ก,[80] มีชื่อว่า โพรดิจี กำหนดเปิดตัวในปี 2021[81] ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2020 มีการประกาศซีรีส์ใหม่ชื่อว่า สตาร์ เทรค: สเตรนจ์นิวเวิร์ลส์ โดยมีนักแสดงนำ ได้แก่ อีธาน เพค, แอนสัน เมาต์ และ รีเบกกา โรเมน โดยจะกลับมารับบทเดิมจากใน สตาร์ เทรค: ดิสคัฟเวอรี ปี 2 เป็น สป็อค, คริสโตเฟอร์ ไพค์ และ นัมเบอร์ วัน ตามลำดับ[82][50] มิเชล โหย่ว จะกลับมารับบทเดิมเป็น ฟิลิปปา จอร์โจว์ ที่มาจากจักรวาลกระจกใน ดิสคัฟเวอรี ซึ่งสังกัด แซคชัน 31 ในซีรีส์ชุดแยก[83][84]
ซีรีส์อื่น ๆ ของแฟรนไชส์ที่กำลังอยู่ขั้นตอนวางแผนเพื่อพัฒนา ได้แก่ ซีรีส์ที่ดำเนินเรื่องในสถาบันสตาร์ฟลีต พัฒนาโดย สเตฟานี ซาเวจ และ จอช ชวาร์ตซ์,[85] เซติ อัลฟา ไฟว์ ซีรีส์ที่เกี่ยวกับตัวละคร ข่าน นูเนียน ซิงห์ และ เนื้อเรื่อง ศึกสลัดอวกาศ ของเขา เขียนโดย นิโคลัส เมเยอร์[85][86]
ภาพยนตร์[แก้]
พาราเมาต์พิกเจอส์สร้างภาพยนตร์ชุด "สตาร์ เทรค" ออกมาแล้วสิบสามภาค โดยภาคล่าสุดฉายเมื่อกรกฎาคม 2016[87] ในภาพยนตร์หกเรื่องแรกนั้นเป็นการผจญภัยของนักแสดงจาก "ดิออริจินอลซีรีส์" ภาพยนตร์เรื่องที่เจ็ด สตาร์ เทรค ผ่ามิติจักรวาลทลายโลก เป็นภาพยนตร์ส่งต่อจากนักแสดงดั้งเดิมไปยังนักแสดงจาก "เน็กซ์เจเนอเรชัน" แล้วสามเรื่องต่อมาก็เน้นเฉพาะนักแสดงจาก "เดอะเน็กซ์เจเนอเรชัน" อย่างเดียว
ในภาพยนตร์เรื่องที่สิบเอ็ดและภาคต่อมาเป็นเส้นเวลาต่างกันจากเส้นเวลาดั้งเดิม โดยใช้นักแสดงใหม่แสดงเป็นตัวละครจาก "ดิออริจินอลซีรีส์" เลอนาร์ด นิมอย แสดงเป็นสป็อควัยแก่ในภาพยนตร์ ให้เชื่อมโยงการเล่าเรื่องกับเส้นเวลาเก่า ซึ่งต่อมากเรียกว่าเส้นเวลาไพร์ม ส่วนเส้นเวลาที่แตกต่างมีชื่อว่า "เส้นเวลาแคลวิน" คิดค้นโดย ไมเคิลและเดนิส โอคูดะ เพื่อให้เกียรติแก่ยานอวกาศ ยูเอสเอส แคลวิน ซึ่งปรากฏครั้งแรกในภาพยนตร์เมื่อปี ค.ศ. 2009[88]
ภาพยนตร์ | วันฉายในสหรัฐ | ผู้กำกับ | ผู้เขียนบท | เนื้อเรื่องโดย | ผู้อำนวยการสร้าง |
---|---|---|---|---|---|
ดิออริจินอลซีรีส์ | |||||
สตาร์ เทรค: บทเริ่มต้นแห่งการเดินทาง | 7 ธันวาคม ค.ศ. 1979 | รอเบิร์ต ไวส์ | แฮโรลด์ ลิฟวิงสตัน | อลัน ดีน ฟอสเตอร์ | ยีน ร็อดเดนเบอร์รี |
สตาร์ เทรค 2 ศึกสลัดอวกาศ | 4 มิถุนายน ค.ศ. 1982 | นิโคลัส เมเยอร์ | แจ็ค บี. โซวอร์ดส์ | ฮาร์ฟ เบนเนตต์และแจ็ค บี. โซวอร์ดส์ | รอเบิร์ต ซัลลิน |
สตาร์ เทรค 3 ค้นหาสป็อคมนุษย์มหัศจรรย์ | 1 มิถุนายน ค.ศ. 1984 | เลอนาร์ด นิมอย | ฮาร์ฟ เบนเนตต์ | ||
สตาร์ เทรค 4 ข้ามเวลามาช่วยโลก | 26 พฤศจิกายน ค.ศ. 1986 | สตีฟ เมียร์สัน, ปีเตอร์ ไครคส์, นิโคลัส เมเยอร์และฮาร์ฟ เบนเนตต์ | ฮาร์ฟ เบนเนตต์และเลอนาร์ด นิมอย | ฮาร์ฟ เบนเนตต์ | |
สตาร์ เทรค 5 สงครามสุดจักรวาล | 9 มิถุนายน ค.ศ. 1989 | วิลเลียม แชตเนอร์ | เดวิด ลาเวอรี | วิลเลียม แชตเนอร์, ฮาร์ฟ เบนเนตต์และเดวิด ลาเวอรี | |
สตาร์ เทรค 6 ศึกรบสยบอวกาศ อวสานสตาร์เทร็ค | 6 ธันวาคม ค.ศ. 1991 | นิโคลัส เมเยอร์ | นิโคลัส เมเยอร์และแดนนี มาร์ติน ฟลินน์ | เลอนาร์ด นิมอย, ลอว์เรนซ์ คอนเนอร์และมาร์ก โรเซนตอล | ราล์ฟ วินเทอร์และสตีเวน-ชาร์ลส์ แจฟฟี |
เดอะเน็กซ์เจเนอเรชัน | |||||
สตาร์ เทรค ผ่ามิติจักรวาลทลายโลก | 18 พฤศจิกายน ค.ศ. 1994 | เดวิด คาร์สัน | โรนัลด์ ดี. มัวร์และแบรนนอน บรากา | ริก เบอร์แมน, แบรนนอน บรากาและโรนัลด์ ดี. มัวร์ | ริก เบอร์แมน |
สตาร์ เทรค: ฝ่าสงครามยึดโลก | 22 พฤศจิกายน ค.ศ. 1996 | โจนาทาน เฟรกส์ | แบรนนอน บรากาและโรนัลด์ ดี. มัวร์ | ริก เบอร์แมน, มาร์ตี ฮอร์นสไตน์และปีเตอร์ ลอริตสัน | |
สตาร์ เทรค: ผ่าพันธุ์อมตะยึดจักรวาล | 11 ธันวาคม ค.ศ. 1998 | ไมเคิล พิลเลอร์ | ริก เบอร์แมนและไมเคิล พิลเลอร์ | ริก เบอร์แมน | |
สตาร์ เทรค: เนเมซิส | 13 ธันวาคม ค.ศ. 2002 | สจวร์ต แบร์ด | จอห์น โลแกน | จอห์น โลแกน, ริก เบอร์แมนและเบรนต์ สไปเนอร์ | |
เส้นเวลาแคลวิน[89] | |||||
สตาร์ เทรค สงครามพิฆาตจักรวาล | 8 พฤษภาคม ค.ศ. 2009 | เจ.เจ. แอบรัมส์ | โรเบอร์โต โอจีและอเล็กซ์ เคิร์ตซ์แมน | เจ.เจ. แอบรัมส์และเดมอน ลินเดลอฟ | |
สตาร์ เทรค ทะยานสู่ห้วงมืด | 16 พฤษภาคม ค.ศ. 2013 | โรเบอร์โต โอจี, อเล็กซ์ เคิร์ตซ์แมนและเดมอน ลินเดลอฟ | เจ.เจ. แอบรัมส์, ไบรอัน เบิร์ก, เดมอน ลินเดลอฟ, อเล็กซ์ เคิร์ตซ์แมนและโรเบอร์โต โอจี | ||
สตาร์ เทรค ข้ามขอบจักรวาล | 22 กรกฎาคม ค.ศ. 2016 | จัสติน ลิน | ไซมอน เพกก์และดัก ยัง | เจ.เจ. แอบรัมส์, โรเบอร์โต โอจี, ลินด์ซีย์ แวเบอร์และจัสติน ลิน | |
สตาร์ เทรค 4 | รอประกาศ | รอประกาศ | จอช ฟรีดแมนกับแคเมรอน สไควส์ และลินด์ซีย์ แวเบอร์กับเจนีวา รอเบิร์ตสัน-ดวอเรต์ |
เจ.เจ. แอบรัมส์และลินด์ซีย์ แวเบอร์ |
ภาพยนตร์ที่กำลังพัฒนา[แก้]
มีการประกาศเมื่อเดือนธันวาคม 2017 ว่า เควนติน แทแรนติโน จะกำกับภาพยนตร์ สตาร์ เทรค เรต R ในบทสัมภาษณ์กับ คอนซีเควนซ์ออฟซาวด์ เมื่อเดือนธันวาคม 2019 แทแรนติโนระบุว่าเขาอาจไม่ได้กำกับภาพยนตร์เรื่องนี้[90] ต่อมาเขายืนยันว่าเขาจะไม่กำกับภาพยนตร์ สตาร์ เทรค เรื่องใด ๆ ในอนาคตเมื่อเดือนมกราคม 2020 ในบทสัมภาษณ์กับ เดดไลน์[91] ในเดือนพฤศจิกายน 2019 มีการประกาศว่าภาพยนตร์ สตาร์ เทรค เรื่องใหม่ที่ไม่เกี่ยวข้องกับภาพยนตร์ก่อนหน้านี้ กำลังอยู่ในขั้นตอนการพัฒนาและจะกำกับโดย โนอาห์ ฮอว์ลีย์[92]
หมายเหตุ[แก้]
- ↑ เผยแพร่ในชื่อ สตาร์ เทรค รายเดือน ตั้งแต่ 1995 จนถึง 2003
- ↑ ใน สตาร์ เทรค มักเรียกชื่อเผ่าพันธุ์มนุษย์ว่าเป็นชาว "เทอร์รันส์ (Terrans)" แต่ก็เกิดขึ้นไม่บ่อยนัก
- ↑ ร็อดเดนเบอร์รี ได้ร่วมเขียนบทละครโทรทัศน์สองตอนในปีที่สาม
- ↑ สตาร์ วอร์ส กลายเป็นชื่อของแฟรนไชส์, ขณะที่ภาพยนตร์เรื่องแรก, ฉายเมื่อปี ค.ศ. 1977, ถูกเปลี่ยนชื่ออย่างทางการเป็น เอพพิโซด 4: ความหวังใหม่ โดย ลูคัสฟิล์ม เมื่อปี ค.ศ. 1981
- ↑ เสาเต็นท์หมายถึงรายการหรือภาพยนตร์ที่สนับสนุนประสิทธิภาพทางการเงินของสตูดิโอภาพยนตร์หรือเครือข่ายโทรทัศน์ เปรียบเหมือนกับเสาตรงกลางของเต็นท์ซึ่งเป็นเสาที่แข็งแรงทำให้โครงสร้างของเต็นท์นั้นมั่นคง
- ↑ นับรวมทุกตอนที่ออกอากาศแล้วและนับรวมตอนใน ดิแอะนิเมเต็ดซีรีส์ และตอนนำร่องที่ไม่ได้ออกอากาศอย่าง "กรง (The Cage)" ด้วย ตอนที่เนื้อเรื่องต่อกันหลายตอนที่ไม่ได้ออกอากาศเป็นตอนเดียวจะถูกนับแยก ตอนที่มีความยาวเหมือนภาพยนตร์ตอนเดียว จะนับเป็นสองตอน เพราะถูกแยกเอาไว้สำหรับการออกอากาศในต่างประเทศและการออกอากาศหลายช่อง
- ↑ เริ่มต้นออกอากาศนั้นใช้ชื่อว่า สตาร์ เทรค (Star Trek) ต่อมาถูกขนานนามว่า ดิออริจินอลซีรีส์ (The Original Series) โดยแฟนเพื่อแยกความแตกต่างระหว่างละครโทรทัศน์ชุดอื่นและภาพยนตร์ พาราเมาต์และซีบีเอสได้ใช้ชื่อ สตาร์ เทรค: ดิออริจินอลซีรีส์ ในสื่อส่งเสริมการขายนั้นแต่นั้นเป็นต้นมา
อ้างอิง[แก้]
- ↑ Eller, Claudia (December 11, 1998). "Lower Costs Energize 'Trek' Film Profit". Los Angeles Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 12, 2015. สืบค้นเมื่อ October 12, 2020.
- ↑ "Star Trek Franchise Box Office History" เก็บถาวร มิถุนายน 12, 2020 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน The Numbers
- ↑ "44 entertainment/character properties reach $100 m in sales of licensed merchandise; 50% of sales are Disney's. - Free Online Library". www.thefreelibrary.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 24, 2021. สืบค้นเมื่อ 2021-10-24.
- ↑ Italie, Hillel (2007-07-02). "Like 'Star Wars' and 'Star Trek,' Potter is a modern phenomenon". The Seattle Times. Associated Press. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-28. สืบค้นเมื่อ 2011-10-19.
- ↑ Saadia, Manu (2017-01-13). "Why Peter Thiel Fears "Star Trek"". The New Yorker (ภาษาอังกฤษ). ISSN 0028-792X. สืบค้นเมื่อ 2017-05-28.
- ↑ Reagin, Nancy R (2013-03-05). Star Trek and History. Wiley Pop Culture and History. Hoboken, New Jersey: John Wiley & Sons. ISBN 9781118167632.
- ↑ Gibberman, Susan. "RODDENBERRY, GENE". Museum of Broadcast Communications. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-11. สืบค้นเมื่อ 2011-10-19.
- ↑ Keonig, Rachel (1986-08-29). "Roddenberry, Eugene Wesley 1921– (Gene Roddenberry)". ใน Commire, Anna (บ.ก.). Something about the Author. Vol. 45. Detroit: Gale Research. pp. 168–179. ISBN 9780810322554. ISSN 0276-816X.
- ↑ 9.0 9.1 9.2 Alexander, David (June 1994). Star Trek Creator: The Authorized Biography of Gene Roddenberry. New York: Roc. ISBN 9780451454188.
- ↑ Simon, Richard Keller (1999-11-23). "Star Trek, Gulliver's Travels, and the Problem of History". Trash Culture: Popular Culture and the Great Tradition. Berkeley: University of California Press. pp. 139–154. ISBN 9780520222236.
- ↑ Snyder, J. William, Jr (1995). "Star Trek: A Phenomenon and Social Statement on the 1960s". www.ibiblio.org. สืบค้นเมื่อ 2011-10-19.
- ↑ 12.0 12.1 12.2 Johnson-Smith, Jan (2005-01-10). American Science Fiction TV: Star Trek, Stargate and Beyond. Middletown, Connecticut: Wesleyan University Press. ISBN 9780819567383.
- ↑ Grothe, DJ (2009-05-29). "Susan Sackett - The Secular Humanism of Star Trek". www.pointofinquiry.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-10-05. สืบค้นเมื่อ 2016-09-27.
- ↑ Goulart, Woody. "Gene Roddenberry". woodygoulart.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-31. สืบค้นเมื่อ 2019-03-25.
- ↑ Whitfield, Stephen E; Roddenberry, Gene (May 1973). The Making of Star Trek. New York: Ballantine Books. ISBN 9780345234018.
- ↑ Roddenberry, Gene (1964-03-11). "Star Trek is…" (PDF). www.ex-astris-scientia.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2006-09-24. สืบค้นเมื่อ 2009-06-26.
- ↑ 17.0 17.1 17.2 Davies, Máire Messenger; Pearson, Roberta (August 2007). "The Little Program That Could: The Relationship between NBC and Star Trek". ใน Hilmes, Michele (บ.ก.). NBC: America's network. Berkeley: University of California Press. pp. 209–223. ISBN 9780520250796.
- ↑ 18.0 18.1 Solow, Herbert F; Justman, Robert H (June 1996). Inside Star Trek: The Real Story. New York: Pocket Books. pp. 377–394. ISBN 9780671896287.
- ↑ "Bjo Trimble: The Woman Who Saved Star Trek - Part 1". StarTrek.com. 2011-08-31. สืบค้นเมื่อ 2012-01-12.
- ↑ Shatner, William; Kreski, Chris (October 1993). Star Trek Memories. New York: HarperCollins. pp. 290–291. ISBN 9780060177348.
- ↑ Shult, Doug (1972-07-05). "Cult Fans, Reruns Give Star Trek an out of This World Popularity". Green Sheets. The Milwaukee Journal. Vol. 90 no. 230. Los Angeles Times New Service. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-10-10. สืบค้นเมื่อ 2011-10-19.
- ↑ "Celebrating 40 Years since Trek's 1st Convention". StarTrek.com. 2012-01-20. สืบค้นเมื่อ 2013-08-01.
- ↑ Sackett, Susan (2002-05-15). Inside Trek: My Secret Life with Star Trek Creator Gene Roddenberry. Tulsa, Oklahoma: HAWK Publishing Group. ISBN 9781930709423.
- ↑ 24.0 24.1 Turnbull, Gerry, บ.ก. (October 1979). A Star Trek Catalog. New York: Grosset & Dunlap. ISBN 9780441784776.
- ↑ Teitelbaum, Sheldon (1991-05-05). "How Gene Roddenberry and his Brain Trust Have Boldly Taken 'Star Trek' Where No TV Series Has Gone Before : Trekking to the Top". Los Angeles Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0458-3035. สืบค้นเมื่อ 2011-05-11.
- ↑ 26.0 26.1 "Star Trek - A Short History". www.ee.surrey.ac.uk. Transcribed press release originally distributed by Paramount Pictures. 1994-05-09. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-12-05. สืบค้นเมื่อ 2006-08-21.
{{cite web}}
: CS1 maint: others (ลิงก์) - ↑ Poe, Stephen Edward (April 1998). A Vision of the Future. New York: Pocket Books. pp. 49–54. ISBN 9780671534813.
- ↑ Levesque, John (2001-01-06). "UPN in search of post-'Voyager' flagship". Seattle Post-Intelligencer. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-12-05. สืบค้นเมื่อ 2009-06-30.
- ↑ "Fan Groups, Sites Rally on Behalf of Enterprise (UPDATE)". StarTrek.com. 2010-01-17. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-19. สืบค้นเมื่อ 2019-03-27.
- ↑ "Star Trek: Enterprise Cancelled!". StarTrek.com. 2005-02-03. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-01-11. สืบค้นเมื่อ 2011-10-19.
- ↑ "Uniting Star Trek Fans". www.trekunited.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-02. สืบค้นเมื่อ 2007-12-18.
- ↑ "TrekUnited Ends Campaign To Save 'Enterprise'". Trektoday.com. 2005-04-18. สืบค้นเมื่อ 2020-04-11.
- ↑ Adler, Margo (2009-05-06). "Some Older 'Star Trek' Fans May Skip This Voyage". NPR. สืบค้นเมื่อ 2011-10-19.
- ↑ Hinman, Michael (2009-06-23). "'Star Trek' Becomes Highest Grossing Franchise Film". Airlock Alpha. สืบค้นเมื่อ 2011-10-19.
- ↑ Pascale, Anthony (2008-04-06). "Paramount Already Thinking About Sequel To Abrams Star Trek". TrekMovie.com. สืบค้นเมื่อ 2011-10-19.
- ↑ Pascale, Anthony (2011-11-23). "Star Trek Sequel To Be Released May 17, 2013 – In 3D". TrekMovie.com. สืบค้นเมื่อ 2011-11-25.
- ↑ "Box Office History for Star Trek Movies". the-numbers.com. The Numbers. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-12-30. สืบค้นเมื่อ 2014-12-24.
- ↑ McNary, Dave (2014-12-13). "'Star Trek 3' Sets July 8, 2016, Release Date". Variety. สืบค้นเมื่อ 2014-12-24.
- ↑ Holmes, Brad (2018-03-26). "Why Star Trek Beyond Wasn't A Box Office Hit, According To Simon Pegg". www.cinemablend.com. สืบค้นเมื่อ 2019-01-28.
- ↑ Fitzpatrick, Kevin (2011-04-12). "Bryan Singer's TV Star Trek Details Emerge". UGO. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-04-16. สืบค้นเมื่อ 2012-01-18.
- ↑ Straczynski, J. Michael; Zabel, Bryce. "Star Trek, Reboot, 2004" (PDF). bztv.typepad.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2010-05-06. สืบค้นเมื่อ 2011-10-19.
- ↑ Fitzpatrick, Kevin (2011-04-07). "Jonathan Frakes Talks Bar Karma, Star Trek, and Yes, Gargoyles". UGO. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-04-11. สืบค้นเมื่อ 2015-08-23.
- ↑ Pascale, Anthony (2010-05-03). "Update on Star Trek: Final Frontier – The New Star Trek Animated Series That Never Was". TrekMovie.com. สืบค้นเมื่อ 2012-01-18.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ Goldberg, Lesley (2015-11-02). "'Star Trek' TV Series in the Works". The Hollywood Reporter. สืบค้นเมื่อ 2015-11-04.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ 45.0 45.1 Andreeva, Nellie (2017-06-19). "'Star Trek: Discovery' Gets September Premiere Date On CBS". Deadline Hollywood. สืบค้นเมื่อ 2017-06-20.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "Discovery Renewed for Season Three". startrek.com (ภาษาอังกฤษ). 2019-02-27. สืบค้นเมื่อ 2019-04-30.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ Bacon, Thomas (2018-11-06). "Star Trek: Discovery's Budget Reportedly Paid For By Netflix". ScreenRant. สืบค้นเมื่อ 2020-01-09.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ Littleton, Cynthia (2019-05-13). "Amazon Nabs International Rights to CBS' Jean-Luc Picard 'Star Trek' Series". Variety (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-01-09.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อSNWannounce
- ↑ 50.0 50.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อSNWordered
- ↑ Jackson, Matthew (2018-08-07). "New Star Trek Could Eventually be on All Access Year-Round, According to CBS execs". SYFY WIRE (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-04-30. สืบค้นเมื่อ 2019-04-30.
- ↑ "CBS Wants New Star Trek Shows All Year Round On All Access". TrekMovie.com. 2018-08-06. สืบค้นเมื่อ 2019-04-30.
- ↑ Lovett, Jamie (2018-08-06). "CBS All Access Plans to Have Something 'Star Trek' on at All Times". ComicBook.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2019-04-30.
- ↑ 54.0 54.1 Lee, Luaine (2006-08-18). "KRT Wire | 08/18/2006 | 'Star Trek' turns 40". San Jose Mercury News. McClatchy News. Tribune News Service. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-09-01. สืบค้นเมื่อ 2008-12-15.
- ↑ Rioux, Terry Lee (2005-02-28). From Sawdust to Stardust: The Biography of Deforest Kelley, Star Trek's Dr. Mccoy. New York: Gallery Books. pp. 194–196. ISBN 9780743457620.
- ↑ Trimble, Bjo (October 1986). Stine, Hank (บ.ก.). On the Good Ship Enterprise: My 15 Years with Star Trek (Reprint ed.). Norfolk, Virginia: The Donning Company. p. 33. ISBN 9780898652536.
- ↑ Dursin, Andre (2006-11-14). "The Aisle Seat by Andy Dursin". www.andyfilm.com. สืบค้นเมื่อ 2011-10-19.
- ↑ Ayers, Jeff (2006-11-14). Voyages of the Imagination: The Star Trek Fiction Companion. New York: Pocket Books. ISBN 9781416503491.
- ↑ "Star Trek". IMDb. สืบค้นเมื่อ 2019-03-26.
- ↑ "Star Trek Animated - The Series that ran from 1973 - 1974". www.sciencefictionbuzz.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-16. สืบค้นเมื่อ 2011-10-19.
- ↑ "Cult - Star Trek - Next Generation - Trivia". BBC. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-12-31. สืบค้นเมื่อ 2019-03-26.
- ↑ "Emissary, Part I". www.startrek.com. สืบค้นเมื่อ 2006-08-21.
- ↑ Lense. "Review of "Inter Arma Enim Silent Leges" - Star Trek Fans". scifi.about.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2003-04-07. สืบค้นเมื่อ 2006-10-29.
- ↑ Sturgis, Amy H. "Star Trek Voyager : Final Episode : Review". www.revolutionsf.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2004-01-16. สืบค้นเมื่อ 2006-08-24.
- ↑ "Star Trek: Voyager [TV Series] Synopsis - Plot Summary". Fandango. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-01-30. สืบค้นเมื่อ 2011-10-19.
- ↑ "Star Trek: Enterprise Summary". www.starpulse.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-29. สืบค้นเมื่อ 2019-03-26.
- ↑ Lee, Patrick (2005-05-14). "Star Trek: Enterprise Series Finale". www.scifi.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-01-01. สืบค้นเมื่อ 2009-01-16.
- ↑ Leao, Gustavo (2005-12-17). "Anthony Montgomery Says "These Are The Voyages..." Not an Effective Finale". trekweb.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-03-07. สืบค้นเมื่อ 2011-10-19.
- ↑ Slotek, Jim (2005-05-13). "Star Trek: E lamely goes away". Toronto Sun. p. E4.
- ↑ Ausiello, Michael; Roots, Kimberly (2016-08-10). "'Star Trek: Discovery' Spoilers: Amanda Grayson Role in CBS Reboot". TVLine. สืบค้นเมื่อ 2017-04-30.
- ↑ Frankel, Daniel (2016-12-07). "Moonves: Netflix international sales pay for entire 'Star Trek' production cost". www.fiercevideo.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-03-27. สืบค้นเมื่อ 2017-01-16.
- ↑ Hibberd, James (2017-07-17). "Star Trek: Discovery producer explains why the Klingons changed". Entertainment Weekly. สืบค้นเมื่อ 2017-07-18.
- ↑ Anderton, Ethan (2017-07-21). "Star Trek Discovery Comic-Con Exhibit Reveals Starfleet, Klingon and Vulcan Props, Costumes & Ships". /Film. สืบค้นเมื่อ 2017-07-22.
- ↑ Goldberg, Lesley (2019-01-08). "'Star Trek': Second Animated Series, More 'Short Treks' Coming to CBS All Access (Exclusive)". The Hollywood Reporter (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2019-01-13.
- ↑ "Short Treks – How Children of Mars Sets Up Star Trek: Picard". Den of Geek (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2020-01-19. สืบค้นเมื่อ 2020-08-02.
- ↑ Spencer, Samuel (January 23, 2020). "'Star Trek: Picard' Timeline: Where Does the New Series Fit in the World of 'Star Trek'?". Newsweek. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 6, 2020. สืบค้นเมื่อ August 2, 2020.
- ↑ Andreeva, Nellie (2018-10-25). "'Star Trek: Lower Decks' Animated Series Ordered By CBS All Access". Deadline Hollywood. สืบค้นเมื่อ 2018-10-25.
- ↑ Petski, Denise (July 1, 2020). "'Star Trek: Lower Decks' Gets August Premiere Date On CBS All Access; Teaser Art Unveiled". Deadline Hollywood. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 1, 2020. สืบค้นเมื่อ July 2, 2020.
{{cite web}}
: Cite ไม่รู้จักพารามิเตอร์ว่างเปล่า :|1=
(help) - ↑ Labonte, Rachel (January 13, 2020). "2 More Unannounced Star Trek TV Shows in the Works After Picard". Screen Rant. สืบค้นเมื่อ February 23, 2020.
- ↑ Otterson, Joe (2019-02-13). "'Star Trek' Animated Kids Show in the Works at Nickelodeon – Variety". Variety. สืบค้นเมื่อ 2019-02-17.
- ↑ "Nickelodeon and CBS Television Studios Announce Title of Original Animated Series, Star Trek: Prodigy" (Press release). Nickelodeon. July 23, 2020. สืบค้นเมื่อ July 23, 2020 – โดยทาง The Futon Critic.
- ↑ Otterson, Joe; Otterson, Joe (2020-05-15). "'Star Trek' Series Starring Ethan Peck as Spock, Anson Mount a Capt. Pike Set at CBS All Access". Variety (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-05-15.
- ↑ Goldberg, Lesley (2018-08-04). "Patrick Stewart to Reprise 'Star Trek' Role in New CBS All Access Series". The Hollywood Reporter. สืบค้นเมื่อ 2018-08-04.
- ↑ Patten, Dominic (2019-01-14). "Michelle Yeoh 'Star Trek' Spinoff In Development At CBS All Access". Deadline Hollywood. สืบค้นเมื่อ 2019-03-17.
- ↑ 85.0 85.1 Otterson, Joe (June 19, 2018). "Alex Kurtzman Sets Five-Year CBS TV Studios Pact, Will Oversee Expanded 'Star Trek' Universe". Variety. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 21, 2018. สืบค้นเมื่อ July 21, 2018.
- ↑ "Nicholas Meyer Gives Update On Khan Mini-Series And Talks 'Star Trek: Discovery'". TrekMovie.com. November 21, 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 1, 2019. สืบค้นเมื่อ April 1, 2019.
- ↑ "Star Trek Beyond (2016) - Release Info". IMDb. สืบค้นเมื่อ 2016-07-27.
- ↑ Agar, Chris (2016-06-28). "J.J. Abrams Star Trek Universe Is The Kelvin Timeline". ScreenRant (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2019-12-18.
- ↑ https://www.blu-ray.com/movies/Star-Trek-Trilogy-The-Kelvin-Timeline-Blu-ray/239524/
- ↑ Roffman, Michael (2019-12-16). "Filmmaker of the Year Quentin Tarantino on What's Next | Interview | Page 2". Consequence of Sound (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2020-01-22.
- ↑ Fleming, Mike (2020-01-14). "Quentin Tarantino Oscar Once Upon A Time No Star Trek, Bounty Law series". Deadline (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-01-22.
- ↑ Fleming, Mike (2019-11-19). "'Star Trek' Movie: 'Fargo's Noah Hawley In Talks To Write & Direct For Paramount". Deadline (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2019-11-19.
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
![]() |
คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ: สตาร์ เทรค |
- StarTrek.com—เว็บไซต์ สตาร์ เทรค อย่างเป็นทางการ
- [1] เว็บไซต์รวมรวมข่าวสารและบทวิจารณ์ของสตาร์ เทรคที่ "เดอะนิวยอร์กไทมส์"
- เมโมรีอัลฟา—สารานุกรม "สตาร์ เทรค" โดยใช้ข้อมูลเฉพาะแหล่งข้อมูลของแกนหลักที่ลิขสิทธิ์โดยพาราเมานต์
- เมโมรีเบตา—สารานุกรม "สตาร์ เทรค" โดยใช้ข้อมูลทั้งแหล่งข้อมูลของแกนหลักและไม่เป็นแกนหลักที่ลิขสิทธิ์โดยพาราเมานต์
- Google ร่วมฉลองครบรอบ 46 ปี Star Trek ต้นฉบับ
![]() |
บทความเกี่ยวกับภาพยนตร์นี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล ดูเพิ่มที่ สถานีย่อย:ภาพยนตร์ |