ฉบับร่าง:สี่เทียนเกมส์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
  • ความคิดเห็น: บางแหล่งอ้างอิงใช้วิกิพีเดียและบล็อก Sry85 (คุย) 11:06, 13 ธันวาคม 2566 (+07)

สี่เทียนเกมส์
ชื่อย่อ3K1R
ก่อตั้งพ.ศ. 2533
จัดขึ้นทุก1 ปี
ครั้งล่าสุดพ.ศ. 2562 ณ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
ครั้งต่อไปพ.ศ. 2567 ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
วัตถุประสงค์เพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างนักศึกษาทั้ง 4 สถาบัน
เว็บไซต์https://www.facebook.com/SIETHIENGAMES
หมายเหตุมหาวิทยาลัยใดเป็นเจ้าภาพใช้ชื่อมหาวิทยาลัยนำหน้าตามหลังด้วยการเรียงชื่อมหาวิทยาลัยที่เหลือตามลำดับการเป็นเจ้าภาพ
การแข่งขัน

สี่เทียนเกมส์ (อังกฤษ: Sie Thien Games) เป็นโครงการการแข่งขันกีฬาที่สโมสรนักศึกษาคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี ทั้ง 4 สถาบัน ประกอบไปด้วย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ร่วมกันจัดขึ้นเพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างนักศึกษาทั้ง 4 สถาบัน และรักษาประเพณีอันดีงามไว้ให้นักศึกษารุ่นต่อ ๆ ไป ซึ่งทางสโมสรนักศึกษาทั้ง 4 สถาบัน ได้ร่วมกันจัดขึ้นโดยจะผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันเป็นเจ้าภาพในแต่ละปี โดยก่อนจัดการแข่งขันขึ้นนั้นมหาวิทยาลัยเจ้าภาพจะมีการเชิญมหาวิทยาทั้ง 3 สถาบัน นั้นมาร่วมโครงการสัมมนาการแข่งขันกีฬาสี่เทียนเกมส์[1] มีการประชุมหารือข้อตกลงร่วมกัน การออกกฎระเบียบการแข่งขันของแต่ละชนิดกีฬา การเยี่ยมชมสถานที่ที่จัดการแข่งขัน ซึ่งส่งผลให้เกิดประโยชน์ในหลายด้าน เช่น เกิดการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกันที่จะสร้างแนวทางในการพัฒนากิจกรรมนักศึกษาคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมให้ดียิ่ง ๆ ขึ้นไป อาจกล่าวได้ว่าเป็นการแข่งขันกีฬาประเพณีของชาวครุศาสตร์อุตสาหกรรมที่มีมหาวิทยาลัย "3 พระจอม 1 ราชมงคล (3K1R)" หรือสี่เทียน ที่หลาย ๆ คนพูดกันเป็นที่ติดหู นอกจากการแข่งขันกีฬาแล้วยังมีการประกวดกองเชียร์ เชียร์ลีดเดอร์ ขบวนพาเรด ซึ่งในตอนกลางคืนนอกจากจะมีงานเลี้ยงแล้วยังมีการแสดงของทางเจ้าภาพ การแสดงของทุกสถาบัน และยังมีการประกวด Sport Boy & Girl ของแต่ละสถาบัน พ.ศ. 2557 ได้มีเปลี่ยนชื่อเป็น Sie Thien Ambassador จนถึงปัจจุบัน ซึ่งงานนี้เป็นการรวมพลคนเรียนครูที่ใหญ่ที่สุดของสายครุศาสตร์อุตสาหกรรมกันเลยทีเดียว

ตราสัญลักษณ์ประจำการแข่งขันกีฬาสี่เทียนเกมส์[แก้]

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.)
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.)
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี (มทร.ธัญบุรี)
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.)

เปลวไฟจากเทียนสัญลักษณ์ของความเป็นครุศาสตร์ ผสานกับเปลวไฟของคบเพลิงอันเป็น สัญลักษณ์ของการแข่งขันกีฬา อยู่บนห่วงวงกลมหลากสีโดยเป็นตัวแทนจาก 4 มหาวิทยาลัย อันได้แก่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ซึ่งคล้องรวมกันบ่งบอกถึงความสมัครสมานสามัคคีในการแข่งขันกีฬาร่วมกัน และทั้งหมดได้ตั้งอยู่บนต้นเทียนซึ่งเป็นรากฐานอันสำคัญของชาวครุศาสตร์อุตสาหกรรมฯ

สีตราสัญลักษณ์ประจำการแข่งขันกีฬาสี่เทียนเกมส์จะเป็นสีประจำคณะของแต่ละสถาบัน ดังนี้

สีเขียว คือ สีประจำของคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

  สีเขียว

สีฟ้า คือ สีประจำของคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (บางปีการแข่งขันสีตราสัญลักษณ์จะใช้สีแสด สีประจำมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี)

  สีฟ้า    สีแสด

สีม่วง คือ สีประจำของคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

  สีม่วง

สีชมพู คือ สีประจำของคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

  สีชมพู

เจ้าภาพประจำการแข่งขัน[แก้]

การจัดการแข่งขันกีฬาสี่เทียนเกมส์มีการเรียงลำดับการเป็นเจ้าภาพในการจัดการแข่งขัน ดังนี้

1. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ[2]

2. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี[3]

3. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี[4]

4. สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง[5]

รายชื่อกีฬาที่ทำการแข่งขัน[6][แก้]

ทีม/สนาม[แก้]

ตาข่าย[แก้]

กีฬาอิเล็กทรอนิกส์[แก้]

กีฬาพื้นบ้าน[แก้]

ประกวด[แก้]

การจัดการแข่งขันกีฬาสี่เทียนเกมส์[แก้]

สี่เทียนเกมส์จัดขึ้นทั้งหมด 29 ครั้ง เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2533 ถึงปัจจุบันนั่นคือปี พ.ศ. 2565 โดยการจัดในแต่ละปีนั้นมีดังนี้[7]

ครั้งที่ 1 ปี พ.ศ. 2533 ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

ครั้งที่ 2 ปี พ.ศ. 2534 ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

ครั้งที่ 3 ปี พ.ศ. 2535 ณ ศูนย์กลางสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.ธัญบุรี ในปัจจุบัน)

ครั้งที่ 4 ปี พ.ศ. 2536 ณ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

ครั้งที่ 5 ปี พ.ศ. 2537 ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

ครั้งที่ 6 ปี พ.ศ. 2538 ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

ครั้งที่ 7 ปี พ.ศ. 2539 ณ ศูนย์กลางสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.ธัญบุรี ในปัจจุบัน)

ครั้งที่ 8 ปี พ.ศ. 2540 ณ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

ครั้งที่ 9 ปี พ.ศ. 2541 ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

ครั้งที่ 10 ปี พ.ศ. 2542 ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

ครั้งที่ 11 ปี พ.ศ. 2543 ณ ศูนย์กลางสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.ธัญบุรี ในปัจจุบัน)

ครั้งที่ 12 ปี พ.ศ. 2544 ณ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

ครั้งที่ 13 ปี พ.ศ. 2545 ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

ครั้งที่ 14 ปี พ.ศ. 2546 ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

ครั้งที่ 15 ปี พ.ศ. 2547 ณ ศูนย์กลางสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.ธัญบุรี ในปัจจุบัน)

ครั้งที่ 16 ปี พ.ศ. 2548 ณ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

ครั้งที่ 17 ปี พ.ศ. 2549 ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

ครั้งที่ 18 ปี พ.ศ. 2550 ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

ครั้งที่ 19 ปี พ.ศ. 2552 จัดในวันอาทิตย์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

ครั้งที่ 20 ปี พ.ศ. 2553 จัดในวันอาทิตย์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 ณ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

ครั้งที่ 21 ปี พ.ศ. 2554 จัดในวันอาทิตย์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2554 ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

ครั้งที่ 22 ปีพ.ศ. 2555 จัดในวันเสาร์ที่ 11 กุมภาพันธุ์ พ.ศ. 2555 ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

ครั้งที่ 23 ปี พ.ศ. 2556 จัดในวันเสาร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

ครั้งที่ 24 ปี พ.ศ. 2557 จัดในวันอาทิตย์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 ณ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

ครั้งที่ 25 ปี พ.ศ. 2558 จัดในวันอาทิตย์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2558 ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

ครั้งที่ 26 ปี พ.ศ. 2559 จัดในวันเสาร์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2559 ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี[8]

ครั้งที่ 27 ปี พ.ศ. 2560 ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี (เลื่อนการแข่งขันเป็นวันเสาร์ที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2561 เนื่องจากการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร)

ครั้งที่ 28 ปี พ.ศ. 2562 จัดในวันเสาร์ที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2562 ณ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง[9]

ครั้งที่ 29 ปี พ.ศ. 2563 จัดในวันเสาร์ที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2563 ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (เนื่องจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จึงเลื่อนการแข่งขันครั้งที่ 1 มาเป็นวันอาทิตย์ที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2566 และเนื่องจากเจ้าภาพไม่พร้อมจัดการแข่งขันจึงต้องเลื่อนการแข่งขันออกไปอีกครั้ง ครั้งที่ 2 เป็นวันเสาร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567)

ตราสัญลักษณ์การแข่งขันกีฬาสี่เทียนเกมส์[แก้]

ตราสัญลักษณ์การแข่งขัน วัน/เดือน/ปี ที่จัดการแข่งขัน ครั้งที่ เจ้าภาพ
1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 19 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 23 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 24 สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
29 มีนาคม พ.ศ. 2558 25 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
2 เมษายน พ.ศ. 2559 26 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
7 เมษายน พ.ศ. 2561 27 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
6 เมษายน พ.ศ. 2562 28 สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 29 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

SIE THIEN GAMES - แฟนเพจเฟซบุ๊กอย่างเป็นทางการ

  1. โครงการสัมมนาการแข่งขันกีฬาสี่เทียนเกมส์ ครั้งที่ 27
  2. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
  3. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  4. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  5. สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
  6. การแข่งขันชนิดกีฬาแบ่งตามประเภท
  7. สี่เทียนเกมส์จัดขึ้นเริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2533
  8. โครงการกีฬาสี่เทียนเกมส์ ครั้งที่ 26
  9. ครุศาสตร์ฯ มจธ.“คว้า 5 รางวัลในการแข่งขันกีฬาสี่เทียนเกมส์ ครั้งที่ 28