ฉบับร่าง:พระครูสาธุกิจโกศล (สิทธิชัย ฐานจาโร)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระครูสาธุกิจโกศล

(สิทธิชัย ฐานจาโร)
ชื่ออื่นผ.ศ.,ดร.พระครูสิทธิชัย
ส่วนบุคคล
เกิด8 สิงหาคม พ.ศ. 2505 (61 ปี)
นิกายมหานิกาย
การศึกษาน.ธ.เอก
ป.ธ.1-2
พธ.บ.(บริหารการศึกษา)
กศ.ม.(บริหารการศึกษา)
ค.ด.(หลักสูตรและการเรียนการสอน)
ตำแหน่งชั้นสูง
ที่อยู่วัดจำปา อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์
ตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดจำปา อำเภอเมืองสุรินทร์,เจ้าคณะตำบลในเมือง เขต2,ผู้อำนวยการหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา วิทยาลัยสงฆ์สุรินทร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตสุรินทร์

พระครูสาธุกิจโกศล (สิทธิชัย ฐานจาโร)[1] [2]ผู้ช่วยศาสตราจารย์,ดร. เป็นพระครูสัญญาบัตรเจ้าคณะตำบลชั้นเอก ปัจจุบันดำรงตำแหน่งทางพระสังฆาธิการเป็น เจ้าอาวาสวัดจำปา[3] อำเภอเมืองสุรินทร์,เจ้าคณะตำบลในเมือง เขต2 และมีตำแหน่งในสถาบันการศึกษาเป็นผู้อำนวยการหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา วิทยาลัยสงฆ์สุรินทร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตสุรินทร์

ประวัติ[แก้]

พระครูสาธุกิจโกศล (สิทธิชัย ฐานจาโร) ผู้ช่วยศาสตราจารย์,ดร.[4] มีนามเดิมว่า "สิทธิชัย เดชกุลรัมย์" เกิดเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ.2505 ภูมิลำเนาเดิม บ้านหนองติ้ว อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

วุฒิการศึกษา
การปกครองบริหารกิจการคณะสงฆ์
งานด้านการศึกษา
งานด้านการศึกษาสงเคราะห์
งานด้านการเผยแผ่
งานด้านสาธารณูปการ
  • อุโบสถ อุโบสถหลังเก่าลักษณะเป็นโบสถ์โปร่ง ผนังเปิดโล่งสามด้าน ฐานก่ออิฐถือปูน เสาไม้ขนาดใหญ่รับปีกนกสิบต้น มุงหลังคาแป้นเกร็ด หลังต่อมาเป็นอุโบสถทำด้วยไม้ทั้งหลัง หลังคามุงด้วยสังกะสี ตั้งอยู่ทิศใต้ศาลาอเนกประสงค์ อุโบสถหลังปัจจุบันสร้างขึ้นใหม่ เมื่อพ.ศ. ๒๕๑๘ มีลักษณะสถาปัตยกรรมไทย ประดับด้วยช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ ตบแต่งสวยงาม ก่อสร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก ประดิษฐานพระประธานภายในอุโบสถ มีกำแพงล้อมรอบ ปลูกต้นไม้ล้อมรอบ ปูตัวหนอนรอบกำแพงแก้ว มีขนาดกว้าง ๘.๕ เมตร ยาว ๒๔ เมตร บูรณะซ่อมแซมด้วยการทาสีใหม่ พ.ศ. ๒๕๔๒ เปลี่ยนกระเบื้องหลังคา พ.ศ.๒๕๕๓ เขียนภาพจิตรกรรมฝาผนัง ทาสีใหม่ เดินสายไฟใหม่ และเทพื้นรอบอุโบสถ พ.ศ. ๒๕๕๔ มีกำหนดเขตสีมา กว้าง ๒๔ เมตร ยาว ๔๗ เมตร (บูรณะปฏิสังขรซ่อมแซมบำรุงรักษา)
  • หอระฆัง หลังเดิมเป็นหอระฆังที่สร้างจากไม้ทั้งหลัง สูง ๓ ชั้น ตั้งอยู่ระหว่างศาลาอเนกประสงค์กับอุโบสถหลังเก่า หอระฆังหลังปัจจุบันเป็นอาคาร คศล. ๓ ชั้น ทรงไทยประยุกต์ หลังคามุงกระเบื้อง ฐานกว้าง ๔ เมตร ยาว ๖ เมตร สร้างอยู่ทิศเหนืออุโบสถ คุณพ่ออร่าม – แม่ศิริวรรณ สุรเกียรติ สร้างถวาย เมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๙
  • กุฏิพ่อคงแก้ว กะภูทิน ลักษณะทรงไทยประยุกต์ เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ๒ ชั้น หลังคามุงกระเบื้อง พื้นปูกระเบื้อง ขนาดกว้าง ๖ เมตร ยาว ๙ เมตร สร้างถวายโดย แม่ประพิศ กะภูทิน พร้อมบุตรธิดา พ.ศ. ๒๕๔๑
  • กุฏิพ่อเปล่ง - แม่พวง ช่วงชัยชนะ ลักษณะทรงไทยประยุกต์ เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ๒ ชั้น หลังคามุงกระเบื้อง พื้นปูกระเบื้อง ขนาดกว้าง ๖ เมตร ยาว ๙ เมตร สร้างถวายโดย อ.พรประไพ ช่วงชัยชนะ พ.ศ.๒๕๔๑
  • กุฏิแม่ทองอยู่ รัชตะเมธี ลักษณะทรงไทยประยุกต์ เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ๒ ชั้น หลังคามุงกระเบื้อง พื้นปูกระเบื้อง ขนาดกว้าง ๖ เมตร ยาว ๙ เมตร สร้างถวายโดย ร.อ.สนั่น - แม่จารุวรรณ โหมขุนทด พร้อมบุตรหลาน และญาติพี่น้อง พ.ศ.๒๕๔๐
  • กุฏิพ่อพิทักษ์ – แม่พุฒกรอง ฉลาดเฉลียว ลักษณะทรงไทยประยุกต์ เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ๒ ชั้น หลังคามุงกระเบื้อง พื้นปูกระเบื้อง ขนาดกว้าง ๖ เมตร ยาว ๙ เมตร สร้างถวายโดย ครูฉัตรเอก – ครูนิธิรัตน์ ฉลาดเฉลียว หล้าล้ำ พ.ศ. ๒๕๔๑
  • กุฏิรับรอง (กุฏิพ่อบุญยิ่ง - แม่ฉวี นิลฤทธิ์) ลักษณะทรงไทยประยุกต์ อาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ๑ ชั้น หลังคามุงสันไท พื้นปูกระเบื้อง ขนาดกว้าง ๕ เมตร ยาว ๑๒ เมตร สร้างถวายโดยคุณเสงี่ยม – นิตยา บุญจันทร์ พร้อมญาติธรรม และกฐินสามัคคี พ.ศ.๒๕๕๖
  • กุฏิอนุสรณ์ อ.สนอง จงอุ่นกลาง ลักษณะทรงไทยประยุกต์ เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ๒ ชั้น หลังคามุงสันไท พื้นปูกระเบื้อง ขนาดกว้าง ๗ เมตร ยาว ๗ เมตร ญาติ อ.สนอง จงอุ่นกลาง และกฐินสามัคคี พ.ศ.๒๕๕๙
  • หลังที่ ๑ ศาลาอเนกประสงค์ หลังใหญ่ เป็นอาคาร คสล.๒ ชั้น ขนาด กว้าง ๑๕ เมตร ยาว ๒๑ เมตร ลักษณะทรงไทยประยุกต์ หลังคามุงกระเบื้อง พื้นชั้นบนปูคอนกรีต พื้นชั้นล่างปูหินขัด ชั้นบนเป็นที่พำนักของพระภิกษุสามเณร ชั้นล่างเป็นที่บำเพ็ญกุศลและทำกิจกรรมต่างๆ โดยการนำของพระครูสาธุกิจโกศล และร่วมกันสร้างเมื่อ พ.ศ.๒๕๓๖
  • หลังที่ ๒ ศาลาการเปรียญลักษณะทรงไทยประยุกต์ ขนาดกว้าง ๖ เมตร ยาว ๒๑ เมตร อาคารชั้นเดียว หลังคามุงกระเบื้อง พื้นปูกระเบื้อง สร้างถวายโดย คุณแม่ประจิตร โชติประศาสตร์ อินทาระ พ.ศ.๒๕๔๔
  • หลังที่ ๓ ศาลาการเปรียญลักษณะทรงไทยประยุกต์ ขนาดกว้าง ๖ เมตร ยาว ๑๒ เมตร อาคารชั้นเดียว หลังคามุงกระเบื้อง พื้นปูกระเบื้อง สร้างถวายโดย คุณแม่คำเพิ่ม พละเสน และลูกหลาน ร.ต.ท.ยนต์ คุณแม่ปิม ประพิตรภา เมื่อ มี.ค. ๒๕๕๐
  • โรงครัว ขนาดกว้าง ๕ เมตร ยาว ๖ เมตร อาคารคอนกรีตเสริมเหล็กชั้นเดียว หลังคามุงกระเบื้อง พื้นปูกระเบื้อง สร้างถวายโดย คุณแม่ละมัย วรรณศรี พ.ศ.๒๕๔๐
  • อาคารเรียนพระปริยัติธรรม คอนกรีตเสริมเหล็ก ๒ ชั้น ๔ ห้องเรียน ขนาดกว้าง ๖.๓๐ เมตร ยาว ๑๖ เมตร หลังคามุงกระเบื้องพื้นปูกระเบื้อง สร้างถวายโดย พ.อ.สอาด - นางพันธนา ไตรพิพัตน์ พ.ศ.๒๕๔๖
  • ห้องน้ำ-ห้องสุขา ทิศเหนือศาลาอเนกประสงค์ จำนวน ๖ ห้อง ขนาดกว้าง ๑.๖๐ เมตร ยาว ๙.๒๐ เมตร หลังมุงกระเบื้อง พื้นปูกระเบื้อง สร้างโดยนายบุญชุบ – นางอำไพ สุจินพรัหมและคณะ พ.ศ.๒๕๔๖ ทิศใต้อาคารเรียนปริยัติธรรม จำนวน ๖ ห้อง ขนาดกว้าง ๑.๘๐ เมตร ยาว ๑๒ เมตร หลังมุงกระเบื้อง พื้นปูกระเบื้อง สร้างโดยเงินกฐินสามัคคี พ.ศ.๒๕๔๘ และคุณแม่ละมัย วรรณศรี และคณะ พ.ศ. ๒๕๔๙ ทิศเหนือศาลาอเนกประสงค์ จำนวน ๓ ห้อง ขนาดกว้าง ๑.๘๕ เมตร ยาว ๕ เมตร หลังมุงกระเบื้อง พื้นปูกระเบื้อง สร้างโดยกฐินสามัคคี ปี พ.ศ. ๒๕๕๑ ทิศเหนือศาลาอเนกประสงค์ จำนวน ๘ ห้อง ขนาดกว้าง ๘ เมตร ยาว ๙ เมตร หลังคามุงสันไท พื้นปูกระเบื้อง สร้างโดยกฐินสามัคคีแสะพุทธศาสนิกชนร่วมกัน ปี พ.ศ.๒๕๕๙
  • ซุ้มประตูวัด ทิศเหนือ ลักษณะทรงไทยประยุกต์ คอนกรีตเสริมเหล็ก สร้างถวายโดย แม่บุญเลี้ยง พจนาคม พ.ศ.๒๕๐๘ ทิศตะวันตก ลักษณะทรงไทยประยุกต์ คอนกรีตเสริมเหล็ก สร้างถวายโดย อ.สนอง จงอุ่นกลาง และคณะ พ.ศ.๒๕๑๖ ด้านทิศตะวันออก ลักษณะทรงไทยประยุกต์ คอนกรีตเสริมเหล็ก สร้างถวายโดย คุณแม่ฉวี นิลฤทธิ์ พ.ศ. ๒๕๔๘
  • รั้วกำแพงทิศตะวันตก พ.ศ.๒๕๕๒ บูรณปฏิสังขรณ์ ทาสีใหม่ รั้ว-ซุ้มประตูทิศตะวันตกและทิศเหนือ โดยคุณแม่ฉวี นิลฤทธิ์ และบุตรหลาน
  • ปูตัวหนอน รอบศาลาราย พ.ศ.๒๕๕๓ สร้างโดยกฐินสามัคคี รอบกำแพงแก้ว (อุโบสถ) พ.ศ.๒๕๕๔ สร้างโดยกฐินสามัคคี ทิศเหนืออุโบสถ ทิศตะวันออกหอระฆังพ.ศ.๒๕๕๗ สร้างโดยกฐินสามัคคี
  • โดมคร่อมถนนภายในวัด พ.ศ.๒๕๕๓ และ พ.ศ. ๒๕๕๕ สร้างโดยกฐินสามัคคี และพระปลัดน้อย ธนปญฺโญ พร้อมศิษยานุศิษย์ ต่อเติมโดมเชื่อมถนน และเชื่อมศาลาอเนกประสงค์กับศาลาแม่ประจิตร พ.ศ.๒๕๕๖ สร้างโดยกฐินสามัคคี
  • วางท่อระบายน้ำ - ทิศเหนืออุโบสถ พ.ศ.๒๕๕๕ สร้างโดยกฐินสามัคคี
  • ภาพพระเวสสันดรชาดก ภายในศาลาอเนกประสงค์ พ.ศ.๒๕๕๕ สร้างโดยมีเจ้าภาพ
  • โดมเชื่อมศาลาอเนกประสงค์กับศาลาราย พ.ศ.๒๕๕๕ และพ.ศ.๒๕๕๖ สร้างโดยมีเจ้าภาพ และกฐินสามัคคี โดมคร่อมบันไดศาลาอเนกประสงค์ พ.ศ.๒๕๕๗ สร้างโดยกฐินสามัคคี
  • ถนนคอนกรีตเสริมเหล็กเชื่อมถนนหลักเมือง พ.ศ.๒๕๕๖ สร้างโดยกฐินสามัคคี
  • ถนนคอนกรีตเสริมเหล็กรอบอุโบสถทางทิศเหนือและตะวันออก พ.ศ.๒๕๕๖ สร้างโดยกฐินสามัคคี
  • กำแพงทิศเหนือ - ตะวันออก - ใต้ พ.ศ.๒๕๕๖ – ๒๕๕๗ เจ้าภาพและกฐินสามัคคี
  • ประตูเลื่อนสแตนเลส พ.ศ.๒๕๕๗ สร้างถวายโดย คุณวรากร - รัตนา โรจน์จรัสไพศาล บุตร-สะใภ้และหลาน
  • โรงล้างภาชนะ ๑ หลัง โครงเหล็ก หลังคามุงสันไท พื้นปูกระเบื้อง ขนาดกว้าง ๓ เมตร ยาว ๖ เมตร พ.ศ.๒๕๕๕ สร้างโดยกฐินสามัคคี
  • โรงเก็บพัสดุอุปกรณ์ ๑ หลัง โครงเหล็ก หลังคามุงสันไท พื้นปูคอนกรีต ขนาดกว้าง ๔ เมตร ยาว ๘ เมตร พ.ศ. ๒๕๕๕ สร้างโดยกฐินสามัคคี
  • โรงจอดรถยนต์ ๑ หลัง โครงเหล็ก หลังคามุงสันไท ขนาดกว้าง ๖ เมตร ยาว ๓๘ เมตร พ.ศ. ๒๕๕๙ สร้างโดยงบประมาณจากสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติและกฐินสามัคคี
  • ได้ดำเนินการปูกระเบื้องรอบอุโบสถวัดจำปา ตำบลในเมือง อำเภอเมืองสุรินทร์ จำนวน ๒๐๐ ตารางเมตร พ.ศ.๒๕๖๒ สร้างโดยกฐินสามัคคี
รางวัลเกียรติคุณ
ลำดับสมณศักดิ์

อ้างอิง[แก้]

  1. "(สุรินทร์) ทุกวัดจัดพิธีกวนข้าวทิพย์". เนชั่นทีวี. 2015-10-26.
  2. https://so06.tci-thaijo.org/index.php/gajasara/article/view/267229
  3. "วัดจำปา". ปักหมุดเมืองไทย. 2020-08-12.
  4. "วันกตัญญูรำลึก 2565 – กิจกรรมมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย".
  5. https://surin.mcu.ac.th/?page_id=4048
  6. "คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน - โรงเรียนอนุบาลสุรินทร์". www.anubarnsurin.ac.th.