ข้ามไปเนื้อหา

คุยเรื่องมีเดียวิกิ:Sitenotice

ไม่รองรับเนื้อหาของหน้าในภาษาอื่น
เพิ่มหัวข้อ
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

Election

[แก้]

Could you please add the message above? (Better translated)

== All community members are invited to give Board Election Candidates their endorsements. == Thanks! --Aphaia 01:34, 21 มิถุนายน 2007 (UTC)

Done. --Pi@k 08:19, 21 มิถุนายน 2007 (UTC)

ขอใช้ site notice เพื่อโครงการ WLM 2013

[แก้]
ประเภทของข้อความและระยะเวลา
  1. ใช้ในการหากรรมการ ผู้สนับสนุน ร่วมถึงขอความร่วมมือในกิจการต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง (ก.ค.-ส.ค.)
  2. ใช้ในการประชาสัมพันธ์โครงการให้เข้าร่วม (ส.ค.-ก.ย.)
  3. ใช้ในการประกาศปิดรับภาพและประกาศผล (ก.ย.-พ.ย.)
ประเภทของการแสดงผล
  1. แสดงเฉพาะผู้ใช้ไม่ล็อกอิน

--Taweethaも (พูดคุย) 20:48, 9 กรกฎาคม 2556 (ICT)

อภิปราย
  1. ข้อความส่วนหนึ่งอาจจะมาทาง m:Help:CentralNotice ด้วย ซึ่งทำเป็นประจำทุกปีอยู่แล้ว ผ่านการพิจารณาโดย meta --Taweethaも (พูดคุย) 20:48, 9 กรกฎาคม 2556 (ICT)
ลงคะแนน
  1. เห็นด้วย --Taweethaも (พูดคุย) 20:12, 9 กรกฎาคม 2556 (ICT)
สรุป
  • ประกาศครบ 14 วันแล้ว มีหนึ่งเสียงสนับสนุน ไม่มีผู้คัดค้านหรืออภิปรายเพิ่มเติม --Taweethaも (พูดคุย) 07:14, 23 กรกฎาคม 2556 (ICT)

ปิด

[แก้]

Hello, good news! Thanks to FreedomFighterSparrow and Brion, unregistered users can now hide the sitenotice again. Previously, they were forced to see it continuously.

In all cases, please use the sitenotice with care, and keep in mind that occasional visitors see sitenotices on all their visits, if they visit less than once a month or they don't click "dismiss" and save a cookie. Nemo 22:43, 24 มีนาคม 2558 (ICT)

Site notice เพื่อกิจกรรม WikiGap in Bangkok 2022

[แก้]

สวัสดีครับ อันนี้สำหรับเนื้อหาและข้อความประชาสัมพันธ์กิจกรรม WikiGap in Bangkok 2022 สามารถเริ่มประกาศจนถึงวันพุธที่ 16 มีนาคม 2565 เวลา 23:59:59 ครับ

WikiGap Bangkok 2022

ขอเชิญชวนเขียนและแก้ไขบทความเกี่ยวกับสตรีเนื่องในวันสตรีสากล
ผู้เข้าร่วมจะได้รับประกาศนียบัตรและของที่ระลึกจากผู้จัดงาน

(ลอกมาจาก Commons:Wiki Loves Monuments 2021/CentralNotice / มาจากการพูดคุยที่ meta:Talk:Wikimedia Thailand/WikiGap 2022)
--Karto1 (คุย) 16:15, 6 มีนาคม 2565 (+07)ตอบกลับ

 สำเร็จ --Geonuch (คุย) 16:27, 6 มีนาคม 2565 (+07)ตอบกลับ
@Geonuch และ Karto1: ขออภัยครับตามเข้ามาช้า ไม่แน่ใจว่าเพิ่มโลโก้และข้อความอีกนิดดีไหมครับ หรือปล่อยไว้เช่นนี้ก่อนแล้วรอดูผลการลงทะเบียนก่อนแจ้งแก้ไขเพิ่มเติมอีกที --Taweethaも (คุย) 16:31, 6 มีนาคม 2565 (+07)ตอบกลับ
@Taweetham: มีรุ่นก่อนหน้าที่ผมเห็นว่าโอเคอยู่ แต่ถ้าไม่มีอะไรปรับแก้แล้วก็ยึดข้อความตามที่เสนอใหม่ขึ้นแทนเลยได้ครับ --Geonuch (คุย) 16:43, 6 มีนาคม 2565 (+07)ตอบกลับ
@Geonuch และ Karto1: ผมยังไม่ค่อยแน่ใจโค้ดชุดนี้ครับ รอพักไว้สักหน่อย (และดูผลการลงทะเบียน) ถึงประมาณวันพุธดีไหมครับ --Taweethaも (คุย) 16:48, 6 มีนาคม 2565 (+07)ตอบกลับ
@Taweetham: รอได้ครับ อันที่จริงถ้าใครมีความสามารถในการออกแบบ ถ้าทำแล้วออกมาดีกว่าเคยทำมาก่อนหน้าก็ไม่ต้องยึดตามก็ได้ เรื่องรีบเอาลง sitenotice ผมเองก็ผิดร่วมด้วยเพราะนึกว่าทางทีมงานเตรียมอะไรกันเรียบร้อยหมดแล้ว ต้องขออภัยด้วยครับ --Geonuch (คุย) 17:23, 6 มีนาคม 2565 (+07)ตอบกลับ
อันด้านบนคือแบบแบนเนอร์ใหม่ครับ --Karto1 (คุย) 08:06, 9 มีนาคม 2565 (+07)ตอบกลับ
@Geonuch และ Karto1: พร้อมให้ดำเนินการแล้วครับ สงสัยว่าทำไมแสดงผลแต่เฉพาะในผู้ใช้ลงทะเบียนครับ ผมเข้าใจว่าเราอยากดึงดูดผู้ใช้ใหม่เข้ามาด้วยการแสดง banner เป็นการทั่วไปอย่างในอดีต แต่เหมือนว่าได้มีการปรับปรุงโปรแกรมและนโยบายบางประการที่ประสงค์ให้แสดงผลแค่เพียงผู้ใช้ลงทะเบียน อันนี้ผมเข้าใจถูกต้องไหมครับ --Taweethaも (คุย) 10:45, 9 มีนาคม 2565 (+07)ตอบกลับ
@B20180: ขอช่วยดูอีกคนครับ เผื่อตอบสนองได้เร็วกว่า --Horus (พูดคุย) 15:57, 9 มีนาคม 2565 (+07)ตอบกลับ
 สำเร็จ --B20180 (คุย) 16:14, 9 มีนาคม 2565 (+07)ตอบกลับ
@Taweetham: เข้าใจว่าคงเป็นไปตาม phab:T59732 ในข้อความก่อนหน้าเมื่อหลายปีก่อนครับ ผมพึ่งนึกได้ว่ามี m:CentralNotice อีกอันซึ่งทางเมทาจัดทำไว้ให้แสดงได้ในหลายโครงการแต่ต้องยื่นเรื่องพิจารณาหลายวัน และก็แม่แบบ AdvancedSiteNotices ซึ่งยังไม่มีการใช้งานที่นี้ครับ --Geonuch (คุย) 21:00, 9 มีนาคม 2565 (+07)ตอบกลับ
ขอบคุณมากครับ ตามไปดูแล้ว มันคือ $wgDismissableSiteNoticeForAnons และ mw:Extension:DismissableSiteNotice ซึ่งมีมานานพอสมควรนะครับ แต่ไม่รู้ว่าเปิดใช้ในวิกิพีเดียภาษาไทยเมื่อไหร่ การเปิดใช้นี้ทำจากฝั่ง WMF เพราะต้องแก้ไขจาก php ไม่ใช่แก้ค่าในเนมสเปซ MediWiki --Taweethaも (คุย) 11:25, 10 มีนาคม 2565 (+07)ตอบกลับ
@Sry85, Geonuch, B20180, และ Horus: สามารถนำแบนเนอร์ออกได้แล้วครับ ไม่จำเป็นที่จะต้องรอถึงเที่ยงคืนครับ--Karto1 (คุย) 22:02, 16 มีนาคม 2565 (+07)ตอบกลับ
 สำเร็จ--Sry85 (คุย) 22:10, 16 มีนาคม 2565 (+07)ตอบกลับ

ขอใช้ Sitenotice เพื่อแจ้งเตือนผู้ใช้ลงทะเบียนเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล

[แก้]

(ลิงก์จาก แม่แบบ:ประกาศ/หัวข้ออภิปราย ระหว่าง 20 กรกฎาคม - x สิงหาคม 2565)

เนื่องจากสถานการณ์ปัจจุบัน มีบุคคลภายนอกที่มีความเห็นต่าง/ไม่เข้าใจในการกระบวนการสร้างเนื้อหาหรือนโยบายของวิกิพีเดียหรืออาจหวังผลประโยชน์ทางการเมืองแฝงได้พยายามที่จะการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้ในวิกิพีเดียภาษาไทยในหลายช่องทาง แม้ผู้ใช้ลงทะเบียนส่วนใหญ่จะไม่มีความเกี่ยวข้องกับบทความหรือคู่กรณีก็ตาม แต่การเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล (เช่น ชื่อจริงในหน้าผู้ใช้ ฯลฯ) อาจนำไปสู่การคุกคามจากภายนอกหรือในกรณีที่เลวร้ายคือกลายเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินคดีไม่ว่าผู้ใช้นั้นจะไม่เกี่ยวข้องก็ตาม ผมจึงขอเสนอให้ใช้ Sitenotice เพื่อแจ้งเตือนผู้ใช้ลงทะเบียนให้ระมัดระวังเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลภายในวิกิพีเดียและโครงการพี่น้องเพื่อป้องกันผลกระทบซึ่งอาจมีต่อตัวผู้ใช้ได้เป็นระยะเวลาหนึ่งครับ

ตัวอย่างกรณีที่เปิดเผยต่อสาธารณะได้ (มีเรื่องบางส่วนที่ได้รับแจ้งในช่องทางส่วนตัวแต่ไม่สามารถเปิดเผยได้ ต้องขออภัย)

ขอ ping ถึงผู้ดูแลระบบที่ยังเคลื่อนไหวอยู่และบุคคลที่เกี่ยวข้องกับ WMTH @นคเรศ, พุทธามาตย์, JMKTIN, B20180, Chainwit., Pongsak ksm, Lerdsuwa, และ Timekeepertmk:,@Mda, Nullzero, Taweetham, Athikhun.suw, 2ndoct, Horus, และ Karto1: ซึ่งทุกคนนอกเหนือจากที่ ping ก็สามารถอภิปรายได้ครับ --Geonuch (คุย) 21:49, 20 กรกฎาคม 2565 (+07)ตอบกลับ

ลิงก์ facebook อันแรกเข้าไม่ได้ ลิงก์อันที่สองเป็นเรื่องเดิมตั้งแต่ 22 พ.ค. และตั้งแต่ปี 2019 ด้วยซ้ำไปนะครับ เห็นด้วยให้คุณ Geonuch ดำเนินการแจ้งข่าวสารนะครับ ผมคิดว่าทุกคนพอจะทราบอยู่แล้วว่าปัญหาคืออะไร แต่ข้อความที่จะแจ้งเกี่ยวกับการรักษาข้อมูลส่วนบุคคลและนโยบายที่เกี่ยวข้อง เราน่าจะช่วยกันร่างให้รัดกุมในอีกหน้าหนึ่งดีไหมครับ (รวมลิงก์ไปยัง หน้านโยบาย แนวปฏิบัติ เรียงความ รวมถึงลิงก์ไปยังบทความที่เกียวข้องเช่น media censorship และ press freedom) --Taweethaも (คุย) 10:13, 22 กรกฎาคม 2565 (+07)ตอบกลับ
@Taweetham: link อันแรกของคุณ Geonuch ซึ่งมาจาก facebook เป็นโพสต์ของเพจ "นักเรียนดี" ที่ระบุว่า ทางเพจรู้ที่อยู่ของคุณ Horus จากกรณีการแก้ไขบทความ รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2490 โดยถูกโพสต์ลงบนเพจเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 ครับ –– MayThe2nd (คุย) 13:19, 24 กรกฎาคม 2565 (+07)ตอบกลับ
เรื่องนี้ค่อนข้างเร่งด่วนและสำคัญ ผมจะพยายามช่วยประสานงานหลังบ้านนะครับ --Taweethaも (คุย) 13:31, 22 กรกฎาคม 2565 (+07)ตอบกลับ
เห็นด้วย เรื่องการ sitenotice และคิดว่าควรมีนโยบาย/แนวปฏิบัติเรื่องการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล ตามความเห็นของคุณ Taweetham (ซึ่งจริงๆเรื่องนี้เชื่อมโยงกับ วิกิพีเดีย:คำแนะนำสำหรับบทความที่เสี่ยงต่อความผิดตามกฎหมายความมั่นคงของไทย และสามารถยกระดับเป็นนโยบาย/แนวปฏิบัติได้ครับ) --JMKTIN (คุย) 01:11, 23 กรกฎาคม 2565 (+07)ตอบกลับ
เห็นด้วย ในหลักการ แต่คิดว่าอาจมีการพูดคุยเรื่องรายละเอียดข้อความ คำแนะนำ ฯลฯ อีกทีครับ --Horus (พูดคุย) 17:07, 23 กรกฎาคม 2565 (+07)ตอบกลับ
เห็นด้วย อาจจะต้องมีนโยบายในเรื่องนี้ เพื่อควบคุมให้ผู้ใช้ไม่เปิดเผยชื่อจริงของตัวเองในหน้าผู้ใช้และชื่อบัญชี แต่จะให้ใช้นามแฝงแทน --402359 (คุย) 17:16, 23 กรกฎาคม 2565 (+07)ตอบกลับ
เห็นด้วย ในเรื่อง sitenotice และ @Lookruk: เป็นสิทธิของผู้ใช้ที่จะเลือกใช้นามแฝงหรือใช้ชื่อจริงเป็นชื่อบัญชี รวมถึงการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลด้วยตนเองด้วย ไม่สามารถบังคับให้ใช้เฉพาะแต่นามแฝง อย่างไรก็ดี ถ้าเป็นข้อมูลมีความเสี่ยงมาก เช่น เลขบัตรประชาชน ที่อยู่ โทรศัพท์ หรือข้อมูลของผู้ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ก็สามารถแจ้งผู้ดูแลให้ซ่อนประวัติได้ครับ -- Just Sayori OK? (have a chat) 19:56, 23 กรกฎาคม 2565 (+07)ตอบกลับ
เห็นด้วย ในเรื่อง sitenotice ครับ และควรเร่งทำให้ลุล่วงให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ นอกจากนี้ผมยังเห็นด้วยกับการมีนโยบาย/แนวปฏิบัติเรื่องการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลโดยเฉพาะอย่างที่คุณ JMKTIN เสนอครับ --ชาวไทย (คุย) 08:40, 24 กรกฎาคม 2565 (+07)ตอบกลับ
เห็นด้วย --Tvcccp (cn:Yesona) (Talk) 09:53, 24 กรกฎาคม 2565 (+07)ตอบกลับ
เห็นด้วย ในเรื่อง sitenotice และเห็นด้วยกับความคิดเห็นของคุณ Just Sayori เนื่องจากการเลือกใช้ชื่อจริง หรือนามแฝง เป็นชื่อบัญชี ควรเป็นสิทธิของผู้ใช้ รวมถึงเห็นด้วยในประเด็นที่ไม่ควรเปิดเผยข้อมูลที่มีความเสี่ยงสูงบนวิกิพีเดีย –– MayThe2nd (คุย) 13:19, 24 กรกฎาคม 2565 (+07)ตอบกลับ
เห็นด้วย โดยมีหมายเหตุต่อไปนี้ --NP-chaonay (คุย) 11:57, 25 กรกฎาคม 2565 (+07)ตอบกลับ
ไม่เห็นด้วย ในการใช้ มีเดียวิกิ:Wikimedia-copyrightwarning สำหรับประกาศเพราะนอกขอบเขต และมีแม่แบบอื่นแสดงแทนอยู่แล้ว --NP-chaonay (คุย) 11:57, 25 กรกฎาคม 2565 (+07)ตอบกลับ
เป็นกลาง ในการจำกัดสิทธิการแสดงออกซึ่งข้อมูลส่วนบุคคล
ไม่เห็นด้วย ทุกกรณีในการบังคับไม่ให้แสดงข้อมูลส่วนตัวที่ยังไม่สามารถระบุตัวตรได้ชัดเจนอย่างมีนัยสำคัญ (เช่น ตำแหน่งระดับจังหวัด) NP-chaonay (คุย) 12:00, 25 กรกฎาคม 2565 (+07)ตอบกลับ

ข้อความที่อาจใช้ระบุในแบนเนอร์

[แก้]
ข้อความที่อาจใช้ระบุสำหรับการแก้ไขที่ไม่ได้ล็อกอิน
ข้อความที่อาจใช้ระบุของ sitenotice (เห็นเฉพาะผู้ใช้ล็อกอิน)

หน้าปัจจุบันคือ คุยเรื่องมีเดียวิกิ:Sitenotice (ทุกคนแก้ไขปรับปรุงได้เลย) มีไว้เพื่อเสนอการปรับปรุงของ มีเดียวิกิ:Sitenotice (เฉพาะผู้ดูแลแก้ไขได้) โดยตรง

คุณได้ล็อกอินแล้ว ประวัติการแก้ไขจะถูกบันทึกภายใต้ชื่อผู้ใช้ของคุณและข้อมูลนี้จะคงอยู่ในประวัติการแก้ไขตลอดไป ผู้อื่นยังอาจใช้ข้อมูลประวัติการแก้ไขนี้เพื่อสืบทราบตัวตนของคุณได้หากชื่อผู้ใช้ของคุณมีส่วนที่ระบุตัวตนหรือพ้องกับชื่อที่คุณใช้เป็นสาธารณะบนอินเทอร์เน็ต (โดยเฉพาะสื่อสังคมออนไลน์) โปรดอ่านและทำความเข้าใจนโยบายชื่อผู้ใช้และแนวทางป้องกันการถูกคุกคามอันเกี่ยวเนื่องจากแก้ไขวิกิพีเดียก่อนทำการแก้ไข
ข้อความที่อาจใช้ระบุใกล้กับปุ่มเผยแพร่การเปลี่ยนแปลง (เห็นทั้งผู้ใช้ล็อกอินและผู้ไม่ได้ล็อกอิน)
  • มีเดียวิกิ:Wikimedia-copyrightwarning (เฉพาะผู้ดูแลแก้ไขได้) ขอเสนอแก้ไขข้อความไว้ที่ คุยเรื่องมีเดียวิกิ:Wikimedia-copyrightwarning (ทุกคนแก้ไขปรับปรุงได้เลย - ปัจจุบันไม่มีปุ่ม "บันทึก" ข้อความควรได้รับการปรับปรุง - อาจต้องสอบถาม WMF ว่าแก้ไขเล็กน้อยได้เลยตามชื่อปุ่มหรือไม่ และจะแก้ไขอะไรเพิ่มเติมคำเตือนอื่นอีกได้หรือไม่)

หน้าที่จะเขียนใหม่เพื่อกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง

[แก้]
หน้าที่มีอยู่แล้วอาจจะลิงก์ไปถึง (จากข้อความในแบนเนอร์หรือผ่านหน้าใหม่ที่จะเขียน) (และควรแปลเพิ่มเติม)
วิกิพีเดีย
  1. วิกิพีเดีย:ชื่อผู้ใช้ (en:Wikipedia:Username policy)
  2. (en:Wikipedia:Banning_policy)
  3. วิกิพีเดีย:คำแนะนำสำหรับบทความที่เสี่ยงต่อความผิดตามกฎหมายความมั่นคงของไทย
  4. วิกิพีเดีย:อะไรที่ไม่ใช่วิกิพีเดีย (en:Wikipedia:What_Wikipedia_is_not) (ภาษาไทยยังไม่สอดคล้องกับภาษาอังกฤษ)
    1. (en:Wikipedia:What_Wikipedia_is_not#Wikipedia_is_not_censored)
    2. (en:Wikipedia:What_Wikipedia_is_not#Wikipedia_is_not_an_anarchy_or_a_forum_for_free_speech)
    3. วิกิพีเดียไม่ใช่ประชาธิปไตย (en:Wikipedia:What_Wikipedia_is_not#Wikipedia_is_not_a_democracy)
    4. (en:Wikipedia:What_Wikipedia_is_not#Wikipedia_is_not_a_bureaucracy)
    5. (en:Wikipedia:What_Wikipedia_is_not#Wikipedia_is_not_a_laboratory)
    6. (en:Wikipedia:What_Wikipedia_is_not#Wikipedia_is_not_compulsory)
  5. การขู่เข็ญและภัยคุกคาม
    1. (en:Wikipedia:Threats_to_Wikipedia)
    2. วิกิพีเดีย:งดขู่ดำเนินคดี en:Wikipedia:No legal threats
    3. en:Wikipedia:Don't overlook legal threats
    4. วิกิพีเดีย:การรับมือการขู่ทำร้ายร่างกาย (m:Threats of_harm)
  6. วิกิพีเดีย:การหมิ่นประมาท en:Wikipedia:Libel
  7. en:Wikipedia:SOPA_initiative#Summary and conclusion en:Wikipedia:Blackouts
  8. (en:Wikipedia:Don't stuff beans up your_nose)
  9. วิกิพีเดีย:แจ้งตรวจสอบหุ่นเชิด (en:Wikipedia:Sockpuppet investigations)
  10. วิกิพีเดีย:ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบ
    1. วิกิพีเดีย:ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบด้านความเสี่ยง
เมทาและมูลนิธิวิกิมีเดีย
  1. m:Help:Unified login
  2. foundation:Policy:Human_Rights_Policy
  3. foundation:Requests for user information procedures & guidelines
  4. foundation:Friendly space policy
บทความ
  1. ร่องรอยทางดิจิทัล (en:Digital footprint)
  2. (en:Internet geolocation)
  3. การตรวจพิจารณาในประเทศไทย (en:Censorship in Thailand) (en:Internet censorship in Thailand)
    1. (en:Censorship of Wikipedia)
  4. เสรีภาพสื่อ (en:Freedom of the press)
    1. (en:Self-censorship)
  5. อาชญากรรมคอมพิวเตอร์ (en:Cybercrime)
  6. en:Information_Operations_(United_States) และ en:Information_warfare
  7. สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย (en:Human_rights_in_Thailand)
  8. ปรากฏการณ์สไตรแซนด์ (en:Streisand effect)
  9. (en:Litigation involving the Wikimedia Foundation)
    1. (en:Wolfgang Werlé and Manfred Lauber)
    2. (en:Walter Sedlmayr)
  10. เกี่ยวข้องบ้างต้องการคำอธิบายก่อนเอาไปใช้
    1. ความรับผิดชอบดูเหมือนจะลดน้อยลงไปเมื่อมีหลายคนอยู่ร่วมในเหตุการณ์ en:Diffusion of responsibility
    2. คนนำตัวเข้าไปเสี่ยงภัยมากขึ้นเมื่อเข้าใจว่าจะได้รับความคุ้มครอง en:Moral hazard
    3. รายการกรณีดังอันเกี่ยวข้องกับวิกิพีเดียอันเป็นสิ่งที่เคยเกิดขึ้นแล้วในต่างประเทศและไม่จำเป็นต้องซ้ำรอยตาม en:List of Wikipedia controversies
    4. หลักการความมั่นคงปลอดภัยด้วยการปิดบังหรือไม่กล่าวถึงอาจใช้ได้ในบางกรณี แต่ก็ไม่จำเป็นจะต้องถูกต้องเสมอไป en:Security through obscurity
    5. WMF ไม่ได้อยู่ในฐานะที่จะต่อกรกับ en:State actor
    6. การตรวจสอบประวัติก่อนการสมัครงาน (en:Vetting หรือ Due diligenceen:Background_check)
ตัวอย่างกรณีที่เกี่ยวข้องจากเว็บภายนอก
  1. ประเทศสหรัฐอเมริกาขอทราบชื่อบัญชีผู้ใช้สื่อสังคมออนไลน์จากผู้ขอรับการตรวจลงตรา
    1. https://th.usembassy.gov/visas/collection-vetting-information-certain-visa-applicants/
    2. https://www.federalregister.gov/documents/2017/04/03/2017-06702/implementing-immediate-heightened-screening-and-vetting-of-applications-for-visas-and-other
  2. คำแนะนำของรัฐบาลออสเตรเลียสำหรับคนทั่วไปและสำหรับข้าราชการในการจัดการร่องรอยทางดิจิทัลและการใช้สื่อสังคมออนไลน์
    1. สำหรับคนทั่วไป https://www.digitalhealth.gov.au/sites/default/files/2020-11/Manage_your_digital_footprint.pdf
    2. สำหรับข้าราชการ https://www.homeaffairs.gov.au/commitments/files/use-of-social-media.pdf
  3. นายจ้างปัจจุบันและนายจ้างใหม่ (ฝ่ายทรัพยากรบุคคล) อาจมีความสนใจในบัญชีสื่อสังคมออนไลน์ของพนักงาน
    1. How your digital footprint can impact your career https://www.theceomagazine.com/business/hr/digital-footprint-impacts-career/
    2. Digital Footprint คืออะไร? ทำไม HR ใช้คัดเลือกพนักงานได้ https://th.hrnote.asia/recruit/digital-footprint-210630/
    3. รอยเท้าดิจิทัล : ฝ่ายบุคคลเตือน ตัวตนและความคิดเห็นในโลกออนไลน์มีผลต่อการสมัครงาน https://www.bbc.com/thai/thailand-48902824
    4. อยากรู้ค่ะ ถ้าเราเล่นพันทิปหรือแอบเล่นคอมในเวลางาน ฝ่ายไอทีจะรู้ไม๊คะ? https://pantip.com/topic/34226234

ความเห็นส่วนข้อความที่ระบุ

[แก้]
 ความเห็น ผมว่ารายละเอียดส่วนที่จะเขียนเป็นแนวปฏิบัติหรือเรียงความ อาจจะไปอภิปรายที่หน้าอื่น แล้วหน้านี้ค่อยตกลงเฉพาะข้อความที่จะใช้ประกาศดีกว่าครับ ประเดี๋ยวการอภิปรายส่วนนี้จะกลายเป็น lecture ไปเสียก่อน --Horus (พูดคุย) 12:08, 25 กรกฎาคม 2565 (+07)ตอบกลับ
เห็นด้วยครับ ข้อความอยู่ด้านบนแล้วครับ แบ่งออกเป็น มีเดียวิกิ:Anoneditwarning มีเดียวิกิ:Sitenotice และ มีเดียวิกิ:Wikimedia-copyrightwarning ซึ่งจะมีเสนอข้อความในหน้าเหล่านั้นไปเลย น่าจะครบถ้วนแล้วในสามกรณี ส่วนหน้าแนวปฏิบัติหรือเรียงความก็จะลิงก์ออกไปภายนอกเช่นกัน เพียงแต่ว่าในตอนนี้อยากให้เห็นภาพรวมเสียก่อนครับ และอยากให้ตกลงข้อความให้ชัดเจน เพราะว่าหน้าแนวปฏิบัติหรือเรียงความจะคุ้มแรงเขียนถ้ามีลิงก์เข้ามานะครับ ถ้าไม่งั้นจะไม่ใช่งาน top priority ที่ต้องรีบทำ ป.ล. ผมบีบไว้ไม่ให้เกิน 10 เรื่องต่อชุดและคิดว่าจะใช้ได้ครบในหน้าที่จะเขียนครับ --Taweethaも (คุย) 12:13, 25 กรกฎาคม 2565 (+07)ตอบกลับ
ข้อเสนอข้อความต่างๆ เสร็จไปสักพักแล้ว แต่อาจจะปรับแก้ไขให้สอดคล้องกับเนื่อหาในหน้าที่ลิงก์ไป (ซึ่งยังไม่เสร็จแต่ก็ไปได้สัก 3/4 แล้ว) วันนี้หมดแรงและหมดไอเดียแล้ว ทิ้งไว้ทำต่อพรุ่งนี้ ถ้ามีลิงก์ที่ควรจะต้องใช้ก็ฝากมาไว้ก็ได้ครับ --Taweethaも (คุย) 19:48, 30 กรกฎาคม 2565 (+07)ตอบกลับ
ขอบคุณที่รับไปเขียนให้นะครับ เดี๋ยวผมช่วยดูให้ครับ --Horus (พูดคุย) 22:41, 30 กรกฎาคม 2565 (+07)ตอบกลับ
ตอนนี้ขอให้ออกความเห็นในหน้า คุยเรื่องวิกิพีเดีย:การถูกคุกคามอันเกี่ยวเนื่องจากแก้ไขวิกิพีเดีย หน่อยนะครับ จะได้ไปสู่ขั้นต่อไป --Horus (พูดคุย) 21:36, 9 สิงหาคม 2565 (+07)ตอบกลับ

ความเห็นจาก WMF

[แก้]

ดูได้ที่ คุยเรื่องมีเดียวิกิ:Wikimedia-copyrightwarning --Taweethaも (คุย) 07:42, 21 ตุลาคม 2565 (+07)ตอบกลับ

ความเห็นหลังขึ้นประกาศ

[แก้]

สงสัยว่ามีกำหนดระยะเวลาประกาศเท่าไหร่ครับ แล้วก็จริง ๆ คิดว่าน่าจะประกาศเฉพาะ editwarning มากกว่านะครับ ประมาณว่าบางคนที่เข้ามาอ่านเฉย ๆ ก็ไม่ต้องเตือน --Horus (พูดคุย) 16:27, 21 ตุลาคม 2565 (+07)ตอบกลับ

@Horus:

  1. ตอบคำถาม: จาก วิกิพีเดีย:แจ้งผู้ดูแลระบบ#ข้อความ MediaWiki คุณ @Geonuch: เขียนว่า 14 วันครับ
  2. ตอบความคิดเห็น: ถูกต้องครับ สำหรับคนที่เข้ามาอ่านไม่จำเป็นต้องทราบคำเตือนสำหรับผู้เขียน แต่ถ้ามองว่าสร้าง awareness/compassion และนำไปสู่ expectation management ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง เหมือนโครงการขอเงินบริจาคหรือขอความร่วมมืออื่น เพียงแต่ตรงนี้เป็นการขอกันทางใจ (ขอความเห็นใจและขอความเข้าใจ) ไม่ใช่ขอเงิน Sitenotice แสดงผลเฉพาะผู้ใช้ที่ล็อกอิน เมื่อกี้ลองแบบไม่ล็อกอินก็ไม่แสดงผลครับ เข้าใจว่าส่วนใหญ่ที่ล็อกอินเข้ามาก็คือผู้เขียน ไม่ใช่ผู้ที่ประสงค์จะอ่านเป็นหลัก
  3. ความเห็นเพิ่มเติม: ผมเข้าใจว่า timing เป็นเรื่องสำคัญที่จะทำให้งานทั้งหลายสำเร็จลุล่วงไปได้นะครับ ทั้งที่เป็นงานอาสาสมัครและเป็นงานประจำ และเข้าใจว่าเราให้ความสำคัญกับเรื่องนี้กันก็พยายามจะช่วยทำให้ในทำนองตีเหล็กให้ตีตอนร้อน ปรากฏว่าพอทำเข้าจริงก็มีข้อติดขัดหลายประการทั้งภายในและภายนอก คำตอบของ WMF ที่ตอบมาแยกเป็นส่วนในเวลานานหลายเดือน รวมถึงคำตอบสุดท้ายที่เข้ามาถือว่าตอบหลังจากที่คุณ Geonuch ดำเนินการเสร็จสิ้นไปแล้ว ตรงนี้ย้ำเตือนข้อกังวลที่ว่า WMF อาจจะไม่สามารถช่วยเหลือผู้ถูกคุกคามได้ทันท่วงที อาสาสมัครและชุมชนควรรู้จักดูแลตนเองไว้ก่อน

--Taweethaも (คุย) 10:55, 22 ตุลาคม 2565 (+07)ตอบกลับ

จริง ๆ ประเด็นเรื่องความปลอดภัยก็ขึ้นเตือนมาเป็นระยะแล้วครับ อย่าง WP:112 ก็เคยขึ้นเตือนแล้ว --Horus (พูดคุย) 19:08, 22 ตุลาคม 2565 (+07)ตอบกลับ

กิจกรรม Wiki Loves Food

[แก้]

สวัสดีครับ ฝากพิจารณาขึ้นประกาศกิจกรรม Wiki Loves Food ตามที่ปรากฏในวิกิตำราภาษาไทย ดังนี้ :

Wiki Loves Food Wiki Loves Food

ขอเชิญชวนร่วมสร้างบทความเกี่ยวกับอาหารในวิกิพีเดียภาษาไทย
ตั้งแต่วันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2565 ถึง 10 มกราคม พ.ศ. 2566
ผู้เข้าร่วมที่ผ่านเงื่อนไขจะได้รับรางวัลและของที่ระลึกจากผู้จัดกิจกรรม

หรือปรับแต่งรูปแบบได้ตามความเหมาะสม จนถึงวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2566 ด้วยครับ ขอบคุณครับ --B20180 (คุย) 13:57, 14 ธันวาคม 2565 (+07)ตอบกลับ

เสนอเปลี่ยนวิธีการใช้งาน: ใช้ประกอบกับหน้าประกาศและยกเลิกการใช้ทำแบนเนอร์

[แก้]

ตาม mw:Manual:Interface/Sitenotice ผมเข้าใจว่าส่วนนี้จะเห็นเฉพาะผู้ใช้ที่ลงทะเบียนเท่านั้น ซึ่งอาจไม่ใช่กลุ่มเป้าหมายหลักของการเขียนข้อความในลักษณะป้ายแบนเนอร์ แต่เป็นผู้ใช้ที่ควรอ่านหน้าประกาศมากกว่า เป็นเวลานานแล้วที่หน้าประกาศของชุมชนถูกซ่อนไว้ด้วยการกดปุ่มแสดงการทบทวนอื่น (other review tools) จากหน้าปรับปรุงล่าสุด (recent changes) ทำให้ปฏิสัมพันธ์ในชุมชนลดลงอย่างมาก หากนำส่วนนี้กลับเข้ามาทุกคนที่ล็อกอินจะเห็นประกาศทันทีและสามารถกดปิดได้ถ้าไม่ต้องการ เพื่อไม่ให้หนักหน่วงจนเกินไปจะของดการใช้งานในลักษณะแบนเนอร์ในจุดนี้ (ไม่ได้หมายความว่าห้ามแบนเนอร์โดยถาวร แต่สามารถใช้ช่องทางอื่นในการผลักด้นแบนเนอร์สู่วิกิพีเดียภาษาไทยได้ ซึ่งแบนเนอร์เหล่านั้นจะแสดงผลแก่ทุกคนเข้าชมเว็บแบบข้อความที่ส่งจากส่วนกลาง ดีกว่ามาหลงเข้าใจว่าคนภายนอกชุมชนจะเห็นข้อความของเราจาก มีเดียวิกิ:Sitenotice ตัวอย่างของแบนเนอร์ในปัจจุบันที่ส่งมาจากส่วนกลางและเป็นภาษาไทยได้แก่ Wiki Loves Earth และ Wiki Loves Monuments)

ข้อเสนอนี้ต้องการให้มีการตรวจสอบความเข้าใจทางเทคนิคให้ถูกต้องก่อนระยะหนึ่งก่อน (ขอรบกวน @Patsagorn Y.:) หากมีความเป็นไปได้และมีความเข้าใจที่ถูกต้องตรงกันแล้วจะเสนอให้ชุมชนลงมติอีกครั้ง ความเข้าใจทางเทคนิคที่ต้องการสอบทวนคือ

  1. มีเดียวิกิ:Sitenotice มองเห็นกันแต่เฉพาะผู้ใช้ล็อกอิน
  2. เฉพาะผู้ดูแลระบบเท่านั้นที่มีสิทะิแก้ไข มีเดียวิกิ:Sitenotice แต่เราสามารถสร้างแม่แบบให้หน้าดังกล่าวดึงข้อมูลมาจากหน้าประกาศมาแสดงผลได้ อาจต้องมีการแก้ไขวิธีการจัดเรียงหน้าประกาศให้เหมาะแก่การแสดงผลตรงนี้เล็กน้อย เช่นเป็น bullet ในแนวนอน (เร็วๆ นี้ผมทำแม่แบบสำหรับ WP:DYK ที่ดึงข้อความมาแสดงผลโดยอัตโนมัติ เห็นว่าเป็นหลักการและแนวคิดเดียวกันที่น่าจะง่ายต่อการดูแล)

-- Taweethaも (คุย) 11:45, 4 กรกฎาคม 2567 (+07)ตอบกลับ

ขอเชิญปรึกษาให้ความเห็นเบื้องต้นครับ
  1. @B20180, Nullzero, Timekeepertmk, และ Geonuch: ขอปรึกษาผู้ดูแลที่แก้ไขหน้านี้ล่าสุดในรอบปีที่ผ่านมานะครับ --Taweethaも (คุย) 20:42, 12 กรกฎาคม 2567 (+07)ตอบกลับ
  2. @ชาวไทย, Tvcccp, Bebiezaza, Athikhun.suw, Harley Hartwell, Titans satanism, และ Kaoavi: ขอปรึกษาผู้ใช้หน้าประกาศล่าสุดในรอบ 1 ปีที่ผ่านมาที่ยังไม่ได้มีรายชื่อทักไปหาก่อนหน้านี้ในข้อ 1 ด้วยครับ --Taweethaも (คุย) 10:42, 13 กรกฎาคม 2567 (+07)ตอบกลับ

หลังจากคิดมาคนเดียวกว่า 2 สัปดาห์ และได้ประสบการณ์มาจาก WP:DYK เสนอโครงร่างทางเทคนิคในหัวข้อถัดไปนะครับ ตัดประเด็นเรื่องการยกเลิกออกไปก่อนและสร้างช่องทางเฉพาะไว้ให้เลย --Taweethaも (คุย) 13:36, 19 กรกฎาคม 2567 (+07)ตอบกลับ

เสนอเปลี่ยนวิธีการใช้งานให้ผู้ใช้ลงทะเบียนแก้ไขได้ง่ายขึ้นผ่านระบบประกาศ

[แก้]
ที่มาและเหตุผล
  1. วิกิพีเดียภาษาไทยในอดีตสามารถเข้าถึงหน้าประกาศได้ง่ายภายในหนึ่งคลิกผ่าน พิเศษ:ปรับปรุงล่าสุด เป็นช่องทางสื่อสารมาตรฐานที่ทำให้เกิดปฏิสัมพันธ์ในชุมชนได้ดีเวลาผ่านไป ปลายปี พ.ศ. 2556 (หลักฐาน) พิเศษ:ปรับปรุงล่าสุด ซ่อนข้อความประกาศไว้ใน มีเดียวิกิ:Recentchangestext ทำให้ต้องคลิกเพิ่มอีก 1 ขั้น ไม่สะดวกและทำให้ข้อเสนอหรือประกาศสำคัญในชุมชนไม่เข้าถึงผู้ใช้ได้อย่างทั่วถึง
  2. แบนเนอร์ใน มีเดียวิกิ:Sitenotice แก้ไขได้โดยผู้ดูแลเท่านั้น ทำให้ใช้เวลาในการขึ้นประกาศและลบประกาศ ไม่ตรงกับเวลาที่ตั้งใจประกาศ
  3. ข้อเสนอด้านล่างนี้ทำให้ผู้ใช้ลงทะเบียนสามารถแก้ไขข้อความที่จะแสดงผ่าน มีเดียวิกิ:Sitenotice ได้ผ่านหน้าย่อยของ {{ประกาศ}} ซึ่งผู้ใช้ลงทะเบียนทั้งหมดจะเห็นได้ผ่านด้านบนสุดของทุกหน้า (และสามารถกดปิดได้)
ตัวอย่างการใช้งานประการแบนเนอร์
  • ดูรูปแบนเนอร์ได้จากประวัติของแม่แบบหรือข้อความพูดคุยข้างบน
  • ดูตัวอย่างการตั้งเวลาเริ่มและสิ้นสุดการแสดงผลได้จาก WP:DYK
  • ผู้เสนอไม่แนะนำให้ใช้งานในลักษณะนี้ แต่ไม่ได้ห้าม (เสนอให้ใช้แบนเนอร์แบบทุกคนเห็นอาจจะดีกว่า)
ตัวอย่างการใช้งานประกาศข้อความ

• 7 กรกฎาคม – เสนอให้มีการบัญญัติคำว่า "Demonym" เป็น "ชาติพันธุ์นาม" • 17 กรกฎาคม – เริ่มกิจกรรม GLAM–Library 2024 • 19 กรกฎาคม – เสนอใช้ Sitenotice แสดงผลประกาศ

รายละเอียดของข้อเสนอ
  1. การส่งประกาศทั้งสองประเภทและการป้องกัน
    • ประกาศที่เป็นข้อความส่งผ่าน {{ประกาศ/หัวข้ออภิปราย}} เป็นปกติได้เลย ไม่มีเปลี่ยนแปลงแก้ไขแต่อย่างใด
    • ประกาศที่เป็นแบนเนอร์ (ถ้าจะทำไม่ได้ห้ามแต่ไม่แนะนำ) เสนอให้ส่งผ่าน {{ประกาศ/แบนเนอร์}} (ซึ่งได้สร้างขึ้นมาใหม่แล้ว) หากผู้ส่งเขียนรหัสต้นฉบับเป็นสามารถตั้งเวลาเริ่มและสิ้นสุดการแสดงผลได้เองคล้ายกับระบบใน WP:DYK หรือจะฝากกันเฝ้าเพื่อนำแบนเบอร์ขึ้นและลงได้ตามสะดวก
    • เสนอทำการป้องกัน {{ประกาศ}} ผ่าน MediaWiki:Titleblacklist เพื่อความปลอดภัยดังนี้ "แม่แบบ:ประกาศ\/.* <noedit|errmsg=Titleblacklist-Announcement-template|autoconfirmed>" ทำให้เฉพาะผู้ใช้ลงทะเบียนที่มีการแก้ไขมาแล้วระดับหนึ่งสามารถแก้ไขได้
  2. การแสดงผลประกาศทั้งสองประเภทผ่านสามช่องทาง

--Taweethaも (คุย) 13:37, 19 กรกฎาคม 2567 (+07)ตอบกลับ


เรียนเชิญลงความเห็น
ลงคะแนน
ความเห็นเพิ่มเติม
  1. ขอเสนออีกแนวทางหนึ่งที่เห็นจากวิกิพีเดียภาษาจีนทำคือใช้ Gadget ที่ชื่อว่า AdvanceSiteNotice ในการแสดงผลข้อความที่เตรียมไว้ล่วงหน้ามาแสดงครับ เท่าที่ดูคือสามารถแสดงข้อความที่แตกต่างกับสำหรับผู้ใช้ที่เข้าสู่ระบบหรือยังไม่เข้าและสามารถปรับให้แสดงผลแตกต่างกันไปตามประเทศ/เมือง/ภูมิภาคได้ด้วยครับผม (ถ้าไม่ได้ให้ consent ก็จะแสดงผลเสมอครับ) MediaWiki:Gadget-AdvancedSiteNotices.js ถ้าสนใจใช้ผมจะช่วยนำเข้ามาได้ครับ — Patsagorn 🍝 02:39, 22 กรกฎาคม 2567 (+07)ตอบกลับ
    • @Patsagorn Y.: สนใจและมีคำถาม 3 ประเด็นเบื้องต้นครับ
      (1) จะใส่ข้อมูลเข้าทางไหน ผมอ่านรหัสต้นฉบับดูหลายรอบยังมองไม่เห็นทางเข้าว่าเขาดึงข้อมูลจากหน้าไหน (เข้าใจว่าจะใส่แบนเนอร์ก็ได้ด้วยไม่ได้ห้าม)
      (2) มี geolocation ไม่แน่ใจว่าเช็คข้อมูลจาก IP ของคนที่เข้าใช้หรือเปล่า จะดูเป็น privacy vulnerability ในที่สุดหรือเปล่า (เมื่อเทียบกับช่องทางอื่นของ WMF ที่มีการใช้ geolocation สำหรับ banner deployment อยู่แล้ว)
      (3) ระยะเวลา/กระบวนการดำเนินการ ถ้าไม่นานและไม่ซับซ้อนนักผมคิดว่าใช้ทดแทนข้อเสนอนี้ได้ทันทีเลย ไม่จำเป็นต้องรอช้า ผมยินดีถอนและเปลี่ยนข้อเสนอใหม่ แต่ถ้านานหรือซับซ้อนอาจต้องรับข้อเสนอนี้ไปก่อนแล้วอีก 3-6 เดือนให้หลังค่อยอัปเกรดเป็น Gadget-AdvancedSiteNotices.js
    • --Taweethaも (คุย) 08:01, 22 กรกฎาคม 2567 (+07)ตอบกลับ